โลกของหน่วยความจำแห่งอนาคตยังคงเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ ล่าสุดทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตันออกมาเผยกระบวนการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ที่เรียกได้ว่าข้อมูลที่บรรจุลงไปนั้นจะอยู่กับเราไปจนชั่วฟ้าดินสลายจริงๆ ออกมาแล้ว
กระบวนการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่นี้เรียกแบบย่อๆ ว่าการเขียนข้อมูลดิจิทัลแบบ 5 มิติด้วยเลเซอร์ femtosecond ซึ่งเมื่อแยกส่วนแล้วจะแบ่งเป็นแผ่นดิสก์แก้วที่บรรจุข้อมูลได้ 360TB ต่อชิ้น ใช้งานได้แม้จะอุณหภูมิสูงถึง 1000 องศาเซลเซียส และอยู่ได้แทบชั่วฟ้าดินสลายในอุณหภูมิห้อง (หรือ 13.8 พันล้านปีที่ 190 องศาเซลเซียส)
บุพเพสันนิวาสอาจทำงานไม่ทันใจ เทคโนโลยีเลยเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคู่ มีผลการวิจัยของ Pew Research Center ระบุว่ามีชาวอเมริกันวัยเจริญพันธุ์ (adults) กว่า 15% ใช้งานเว็บหรือแอพหาคู่ โดยในช่วงอายุ 18-24 ปี มีผู้ใช้สูงขึ้นถึงสามเท่าเมื่อเทียบกับปี 2013 และกลุ่มวัย 55 ถึง 64 ปี มีผู้ใช้สูงขึ้นสองเท่า
ข้อมูลนี้ทำการสำรวจเมื่อ 10 มิถุนายนถึง 12 กรกฎาคม 2015 กับกลุ่มตัวอย่าง 2,001 ราย เมื่อกางข้อมูลออกดูพบว่าช่วงวัยรุ่นมีการใช้เครื่องมือหาคู่ออนไลน์สูงมากกว่าปี 2013 และเมื่อขยับช่วงวัยเป็น 25-34 ปีก็เริ่มลดเท่าเดิม และไปเริ่มใช้กันเยอะกับกลุ่มผู้ใช้สูงวัย เหตุผลหลักที่มาวินคือการเดตแบบออนไลน์เป็นทางเลือกใหม่ของการพบปะผู้คน
ในเวลานี้ที่เทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติกำลังมาแรงสุดๆ งานค้นคว้าวิจัยใช้ประโยชน์งานพิมพ์นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ, งานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ทั้งการสร้างบ้าน, สร้างรถ หรือจะเพื่อการแพทย์อย่างใช้การพิมพ์ 3 มิติสร้างเนื้อเยื่อตับไว้ทดสอบยา, สร้างกระดูกเทียมก็ยังมี แน่นอนว่าสร้างหุ่นยนต์ก็ย่อมได้ แต่วันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวหน้ามากขึ้นจนสามารถทำชิ้นงานขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ส่งผลให้นักวิจัยสามารถสร้างหุ่นยนต์อสุจิได้แล้ว
ทีมนักวิจัยในโปรตุเกสพัฒนาหุ่นยนต์แบบเรือจำนวนหลายลำที่มีระบบประมวลผลและเครือข่ายประสาทเทียมในตนเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พวกมันรู้จักเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมได้เอง และตอนนี้หุ่นยนต์เหล่านั้นกำลังอยู่ในขั้นออกทดสอบกลางทะเล
งานวิจัยนี้เป็นผลงานร่วมกันของ University Institute of Lisbon และ University of Lisbon โดยมุ่งเป้าสร้างหุ่นยนต์กองเรือที่สามารถแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ทางทะเล ซึ่งไม่เพียงจะทุ่นค่าใช้จ่ายในการออกปฏิบัติภารกิจ แต่ยังลดความเสี่ยงจากการที่ต้องนำเรือปฏิบัติการที่มีมูลค่าสูงนับล้านและเจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการฝึกฝนลงพื้นที่เสี่ยงภัยจริงในทุกครั้ง
ทีมนักวิจัยได้คิดค้นเทคนิคการใช้เถ้าของใบโอ๊กที่ผ่านความร้อนสูงร่วมกับสารละลายโซเดียมมาทำเป็นแบตเตอรี่
Disney Research ร่วมกับมหาวิทยาลัย ETH Zürich แห่งสวิตเซอร์แลนด์ พัฒนาโครงการ Vertigo ซึ่งเป็นการสร้างหุ่นยนต์แบบรถที่สามารถวิ่งได้ทั้งบนพื้นและบนผนัง แม้ว่าผนังนั้นจะไม่เรียบก็ตาม (และโดยหลักการแล้ววิ่งกลับหัวไปตามเพดานก็ย่อมได้)
มีผลการวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์บน The Royal Society แห่งสหราชอาณาจักร พบคำตอบเกี่ยวกับมิตรภาพบนโลกออนไลน์ว่า แม้จะมีเพื่อนออนไลน์เยอะแค่ไหน ก็มีเพื่อนสนิทบนนั้นเพียงไม่กี่คน
Robin Dunbar ผู้วิจัยสำรวจผู้ใช้ Facebook 3,375 คนพบว่าแต่ละคนมีเพื่อนในนั้นเฉลี่ย 150 คน มีเพื่อนที่จริงใจประมาณ 14 คนและมีเพียง 4 คนเท่านั้นที่สนิทและคุยกันบ่อยที่สุด ซึ่งตรงตามแนวโน้มของโลกออฟไลน์ที่เขาเคยวิจัยมาก่อนหน้าว่าเพื่อนที่สนิทสนมก็จะมีจำนวนไม่เยอะ เพราะต้องใช้เวลาด้วยกันมากนั่นเอง
เขาสรุปว่า "เมื่อคุณต้องการไหล่ไว้ซบระบาย คุณต้องการแค่ไหล่ของจริง ซึ่งโลกออนไลน์ตอบสิ่งนี้ไม่ได้"
ทีมวิจัย CSAIL แห่งสถาบัน MIT ได้เผยแพร่คลิปแสดงความสามารถของอัลกอริทึมที่พัฒนามาสำหรับโดรน ทำให้มันสามารถบินผ่านพื้นที่ซึ่งมีสิ่งกีดขวางจำนวนมากได้อย่างแม่นยำ
ห้องวิจัยปัญญาประดิษฐ์ของ Baidu Research ในซิลิคอนวัลเลย์ประกาศปล่อยซอฟต์แวร์ Warp-CTC (Connectionist Temporal Classification) เป็นซอฟต์แวร์จัดกลุ่มข้อมูล (classification) สำหรับข้อมูลเป็นลำดับ โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache ทำให้คนทั่วไปสามารถนำไปใช้ต่อได้แม้จะนำไปใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะหรือซอฟต์แวร์เพื่อการค้า
แนวทางการใช้งานของ Warp-CTC ที่สำคัญคือการจดจำเสียง โดยทาง Baidu ใช้ Warp-CTC เป็นส่วนประกอบของ Deep Speech แต่พบว่า CTC ใช้ซีพียูเปลืองมากทำให้ต้องไปใช้ชิปกราฟิกมาช่วยประมวลผล
WARP-CTC ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานทั้งบนซีพียูธรรมดาและการ์ดกราฟิกของ NVIDIA ผ่านทาง CUDA
ทีมนักวิจัยของกูเกิลออกมาเผยความคืบหน้าของการใช้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับงานวิจัยด้าน AI หลังจากในปี 2013 กูเกิลจับมือกับ NASA ซื้อคอมพิวเตอร์ของบริษัท D-Wave ไปใช้งาน
D-Wave เคยประกาศความสำเร็จในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ในวงการวิจัยเองกลับมีข้อโต้เถียงกันมากว่า D-Wave ใช้งานได้จริงแค่ไหน (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่า)
ผลการวิจัยของกูเกิลพบว่าในโจทย์บางประเภทที่มีตัวแปรเกือบ 1,000 ค่า ระบบของ D-Wave ทำงานได้เร็วกว่าอัลกอริทึมแบบเดิมๆ ทั้ง simulated annealing และ Quantum Monte Carlo มาก บางครั้งทำงานเร็วกว่ากันถึง 108 เท่าด้วยซ้ำ ซึ่งทางทีม Quantum Artificial Intelligence ของกูเกิลจะเดินหน้าพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวงการควอนตัมคอมพิวเตอร์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์บางรายก็ยังตั้งข้อสังเกตกับผลการวิจัยของกูเกิล รายละเอียดอ่านได้จาก Phys.org
ที่มา - Google Research Blog
Elon Musk แห่ง Tesla Motors และ Sam Altman ซีอีโอของบริษัทลงทุนชื่อดัง Y Combinator จับมือเปิดตัวบริษัทวิจัยแบบไม่หวังผลกำไร OpenAI เพื่อศึกษาวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) แบบไม่ต้องพึ่งพาบริษัทใหญ่อย่างกูเกิลหรือไมโครซอฟท์
ภารกิจของ OpenAI คือวิจัยเรื่อง AI เพื่อเป็นสมบัติของมนุษยชาติ โดยไม่ต้องคำนึงเรื่องกำไรแบบเดียวกับห้องวิจัยของบริษัทใหญ่ ไอเดียของ OpenAI มาจากความกังวลของ Elon Musk และผองเพื่อนว่าบริษัทใหญ่ๆ จะทุ่มงบวิจัยด้าน AI จนก้าวหน้ามาก (และอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในระยะยาว)
หน่วยงานวิจัยของ Microsoft Asia เปิดซอร์สโค้ดซอฟต์แวร์ Distributed Machine Learning Toolkit (DMTLK) สำหรับการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยประมวลแบบกระจายศูนย์บนคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง
ไมโครซอฟท์ระบุว่าเปิดซอร์สโค้ดซอฟต์แวร์ชุดนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยด้าน machine learning มากขึ้น ในชุดซอฟต์แวร์นอกจากตัวโปรแกรมหลัก ยังมีตัวอย่างอัลกอริทึมให้อีก 2 แบบ และตัวช่วยประมวผลภาษาธรรมชาติ Distributed Word Embedding ด้วย
โค้ดทั้งหมดเขียนด้วย C++ ใช้สัญญาอนุญาตแบบ MIT ดาวน์โหลดได้จาก GitHub
ผู้สนใจรายละเอียดของโครงการ ดูได้จาก DMTK.io
Toyota Motor Corporation ประกาศตั้งบริษัทลูกด้านการวิจัยชื่อ Toyota Research Institute Inc. (TRI) โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ศูนย์กลางของย่านซิลิคอนวัลเลย์ของสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานอีกแห่งตั้งอยู่ใกล้ Massachusetts Institute of Technology (MIT) สถาบันการศึกษาชื่อดังด้านวิศวกรรม
TRI จะเน้นการวิจัยด้าน AI และหุ่นยนต์เป็นพิเศษ เป้าหมายของกลุ่มโตโยต้าคือต้องการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต และเตรียมรับมือสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ โดยหวังว่า TRI จะเชื่อมระหว่างวงการวิจัยเชิงวิชาการ และการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกวางขายจริงเข้าด้วยกัน
สหรัฐฯ มีกฎหมาย DMCA ที่ระบุว่าการข้ามมาตรการป้องกันการแก้ไขงานลิขสิทธิ์ เช่น DRM หรือระบบล็อกซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามกฎหมายอนุญาตให้หอสมุดรัฐสภา (Library of Congress - LoC) ประกาศข้อยกเว้นจากมาตรานี้ได้ทุกๆ สามปี และปีนี้ทาง LoC ยอมรับข้อเสนอใหม่ ให้การดัดแปลงแก้ไขซอฟต์แวร์รถยนต์ได้รับการยกเว้น
ข้อยกเว้นนี้ทำให้นักวิจัยสามารถเข้าดัดแปลง ตรวจสอบความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ในรถยนต์ โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องด้วยกฎหมาย DMCA
ทาง EFF ที่เป็นผู้ยื่นเสนอขอยกเว้นครั้งนี้ ยืนยันว่ากฎหมาย DMCA มีปัญหาในตัวเอง และกระบวนการขอเว้นที่ล่าช้าเช่นนี้เป็นเรื่องไม่จำเป็น แต่การได้รับยกเว้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี
นักวิจัยจาก MIT ได้พัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้สัญญาณ Wi-Fi เพื่อระบุตัวตนของมนุษย์ผ่านกำแพง โดยนักวิจัยได้สร้างอุปกรณ์ชื่อ RF-Capture ซึ่งจะปล่อยสัญญาณไร้สายเพื่อวิเคราะห์การสะท้อนกลับ และเพื่อดูว่ามีลักษณะเหมือนมนุษย์หรือไม่
ทีมนักวิจัยจาก Microsoft research ได้เผยงานวิจัยที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของแล็ปท็อปด้วยแนวทางใหม่ ที่ไม่ได้มุ่งไปในการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่แต่เปลี่ยนไปเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์จัดการแบตเตอรี่ที่ฉลาดกว่าเดิมแทน
ไมโครซอฟท์เรียกงานวิจัยนี้ว่า Software Defined Batteries โดยใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยร่วมกับการผนวกเอาแบตเตอรี่หลายประเภท (ที่มีคุณสมบัติในการคายประจุ/ชาร์จประจุต่างกัน) มารวมไว้ด้วยกัน ต่างจากอุปกรณ์ในปัจจุบันที่ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพียงประเภทเดียวและจัดการโดยระบบที่อยู่บนตัวฮาร์ดแวร์
ทีมวิจัย WeakDH ที่เคยเปิดเผยช่องโหว่ Logjam ตีพิมพ์รายงานวิจัย ประเมินค่าใช้จ่ายในการเจาะกระบวนการแลกกุญแจ Diffie-Hellman (DH) ที่ขนาด 1024 บิตแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายในการเจาะระบบเข้ารหัสนี้น่าจะง่ายพอที่ NSA จะเจาะการเข้ารหัส และเอกสารของ Edward Snowden ที่หลุดออกมาชี้นำให้เห็นว่า NSA อาจจะใช้กระบวนการนี้ในการเจาะการเชื่อมต่อเข้ารหัสสำคัญๆ หลายจุด
ทีมวิจัยร่วมกันสามชาติ เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, และสิงคโปร์ แถลงผลงานวิจัยการสร้างค่าที่มีค่าแฮช SHA1 ตรงกัน (SHA1 collision) ด้วยต้นทุนเพียง 75,000 ถึง 120,000 ดอลลาร์หากเช่าเครื่องจาก Amazon EC2 จากเดิมที่ Bruce Schneier เคยประมาณการณ์ว่าปี 2015 จะใช้ทุนประมาณ 700,000 ดอลลาร์
งานวิจัยนี้แสดงความง่ายของการสร้างข้อมูลที่มีค่าแฮชตรงกัน จากฟังก์ชั่น SHA1 compression function โดยคลัสเตอร์ของทีมวิจัยสามารถปลอมค่าแฮชจากฟังก์ชั่นนี้ได้ในเวลาเพียง 10 วัน แม้ว่าจะไม่ได้แสดงการปลอม SHA1 โดยตรง แต่ทีมงานวิจัยก็ระบุว่ากระบวนการปลอมค่าจากฟังก์ชั่นที่นำเสนอแสดงให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะปลอมค่า SHA1 โดยตรงด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าที่เคยคาดกันมาก
เมื่อสองวันที่แล้ว (14 กันยายน) รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ประกาศจัดตั้งโครงการที่เรียกว่า "Smart Cities" ที่จะเน้นด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเมืองต่างๆ เช่น การลดความแออัดด้านการจราจรหรือการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น ภายใต้วงเงินลงทุนกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5 พันล้านบาท)
ความฝันอย่างหนึ่งของมนุษย์คือการติดต่อกันโดยเพียงแค่นึกคิดก็สามารถคุยกันได้ และถึงแม้ว่าจะมีโทรศัพท์มือถือเข้ามาช่วยแล้ว แต่หลายๆ คนอาจจะยังต้องการให้ไปไกลกว่านั้น คือเพียงแค่นึกถึงก็สามารถโทรหากันได้ทันที ทั้งหมดอาจจะยังคงเป็นเพียงความฝันอยู่ แต่งานสำรวจงานวิจัย (literature review) ชิ้นล่าสุดที่ตีพิมพ์ออกมาอาจจะช่วยให้มนุษย์สามารถติดต่อเช่นนั้นได้จริงๆ
กูเกิลรายงานถึงโครงการวิจัย Unison เป็นโครงการเพื่อการเก็บข้อมูลพัฒนาระบบออกเสียงจากข้อความ (text-to-speech - TTS) จากภาษาที่มีข้อมูลน้อย (low resource languages) โดยเลือกภาษาบังคลาเทศ และใช้อาสาสมัครที่เป็นพนักงานของกูเกิลเองมาช่วยพูดให้เสียง
ทางโครงการพัฒนาเครื่องมือที่ชื่อว่า ChitChat เป็นเว็บแอพที่บันทึกเสียงตามข้อความที่กำหนด สำรวจเสียง, รบกวนในห้อง, และเล่นไฟล์ที่บันทึกไปแล้ว อุปกรณ์ทั้งชุดมีราคาไม่ถึง 2,000 ดอลลาร์ ส่วนประโยคที่ต้องอ่าน ใช้เวลาบันทึกเสียงทั้งหมด 3 วัน บันทึกครั้งละ 250 ประโยค แต่ละครั้งใช้เวลา 30-60 นาที รวมทั้งหมด 2000 ข้อความ โดยเลือกข้อความจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูล Wikipedia
ยังมีเทคโนโลยีแบตเตอรีที่หวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาแบตเตอรี่ไม่ทันสเปคในสมัยนี้ออกมาเรื่อยๆ ล่าสุดทีมนักวิจัยของญี่ปุ่นเพิ่งโชว์ผลงานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนโปร่งใสที่ชาร์จไฟได้ผ่านแสงอาทิตย์ในตัว
ผลงานวิจัยนี้มาจากมหาวิทยาลัยโคกะคุอินที่ประเทศญี่ปุ่น ที่พัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนด้วยวัตถุดิบแบบเดียวกับในท้องตลาด แต่ลดความหนาของขั้วไฟฟ้า (electrode) ลงมาเหลือเพียง 80-90 นาโนเมตร ซึ่งทำให้ตัวแบตเตอรี่เกือบจะโปร่งใส
Microsoft Research โชว์ตัวโครงการใหม่ของทีมวิจัยในชื่อ MobileFusion ที่เปลี่ยนอุปกรณ์พกพาที่มีกล้องให้กลายเป็นเครื่องสแกนสามมิติสำหรับนำไปใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติได้ทันที
กระบวนการทำงานของ MobileFusion เริ่มด้วยการจำลองกล้องของอุปกรณ์พกพาให้ทำงานได้เหมือนเครื่องสแกนสามมิติ โดยการถ่ายภาพต่อเนื่อง แล้วนำมาประกอบกัน ทีเด็ดของระบบนี้อยู่ตรงที่ไม่ต้องต่ออุปกรณ์เสริมเพื่อให้ใช้งานได้ และไม่ต้องการอินเทอร์เน็ตในระหว่างใช้งานอีกด้วย
ทีมวิจัยเคลมว่าโมเดลสามมิติจาก MobileFusion ความละเอียดสูงพอจะนำไปใช้พิมพ์สามมิติได้สบายๆ และมีแผนจะทำให้ใช้งานได้กับอุปกรณ์พกพาจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น Windows Phone, Android หรือ iOS ในอนาคตอีกด้วย
ทีมวิจัยจาก MIT เตรียมนำเสนอระบบไฟล์ที่ทนทานต่อความเสียหายหากคอมพิวเตอร์แครชไปในเวลาใดๆ ก็ตามระหว่างการเขียนไฟล์
ก่อนหน้านี้ระบบไฟล์มีการออกแบบเพื่อให้ทนทานต่อการแครชของคอมพิวเตอร์ ที่อาจจะหยุดทำงานไปบางเวลา หรืออาจจะไฟดับไปกลางคัน ทีมงานระบุว่าการออกแบบก่อนหน้านี้อาจจะทนทานต่อการแครชในเวลาใดๆ แต่ไม่เคยมีใครพิสูจน์จริงๆ ว่าหากมีการแครชระหว่างการทำงานช่วงที่ไม่คาดคิด จะมีบางช่วงที่ระบบไฟล์เสียหายได้หรือไม่
วงการเครื่องพิมพ์สามมิติกำลังจะก้าวไปอีกขั้นแล้ว หลังจากทีมวิจัยของ MIT เพิ่งปล่อยผลงานวิจัยตัวใหม่ ว่าด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติที่รองรับการพิมพ์หลากหลายวัสดุในชื่อ MultiFab
เจ้าเครื่องพิมพ์สามมิติ MultiFab ที่ว่านี้เป็นผลงานของศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CSAIL) ซึ่งรองรับการพิมพ์สามมิติหลากหลายวัสดุ มากถึง 10 ชนิดในเวลาเดียวกัน (เทียบกับเครื่องพิมพ์ในท้องตลาดที่ทำได้ราว 4 ชนิด) ยังพิมพ์ด้วยความละเอียดถึง 13 ไมครอน และใช้พิมพ์วัสดุได้หลากหลายตั้งแต่พลาสติก แก้ว หรือแม้กระทั่งแผ่นวงจรพิมพ์ และสายไฟ จึงสามารถใช้พิมพ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่แต่เดิมต้องพิมพ์แยกชิ้นมาประกอบภายหลัง เป็นการพิมพ์ครั้งเดียวได้เลย