The Royal Society เผยแพร่บทสัมภาษณ์เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 ในฐานะผู้ร่วมเขียนในชื่อที่สามของรายงานวิจัย "A DFT investigation of the blue bottle experiment: E∘half-cell analysis of autoxidation catalysed by redox indicators" (doi: 10.1098/rsos.170708) และยังเป็นนักร้องไปพร้อมกัน
บทส้มภาษณ์พูดถึงตัวงานวิจัยที่สำรวจกลไกในการทดลอง blue bottle และเสนอสูตรเคมีของกระบวนการในการทดลอง โดยรายงานวิจัยนี้เป็นชิ้นที่สองของเธอในการเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล และยังต้องทำต่อเนื่องอีกชิ้นเพื่อจบการศึกษา
นักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียภายใต้การดูแลจากสภาวิจัยแห่งชาติของออสเตรเลีย (ARC: Australia Research Council) เผยแพร่งานวิจัยชิ้นใหม่ที่เป็นการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แบบใหม่ลงวารสาร Scientific Reports
กล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวนี้เป็นแบบที่ติดกับโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ต้องใช้แสงจากภายนอกในการช่วยส่อง แต่ใช้ไฟจากแสงแฟลชของโทรศัพท์มือถือ กล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวสามารถสร้างได้จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งทีมคณะนักวิจัยจากออสเตรเลียได้เปิดไฟล์ให้ผู้สนใจสามารถเอาไปพิมพ์ได้
งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า ด้วยขั้นตอนที่น้อยกว่าในการประกอบ และความละเอียดที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์นี้ จะทำให้มีประโยชน์อีกมาก ตั้งแต่การใช้งานในห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงการใช้งานในภาคสนาม
จากเหตุการณ์ SpaceX ยิงจรวด Falcon Heavy พร้อมส่งรถยนต์ Tesla Roadster ไปยังดาวอังคาร ที่สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในสัปดาห์ก่อน
แต่สิ่งที่เดินทางไปยังดาวอังคารด้วย ไม่ได้มีแค่รถ Tesla และชุดอวกาศ Starman ในที่นั่งคนขับเพียงเท่านั้น เพราะ Elon Musk ส่งนิยายวิทยาศาสตร์ชุด "สถาบันสถาปนา" ไตรภาคแรก (Foundation Trilogy) ขึ้นไปกับ Tesla ด้วย
คืนวันพรุ่งนี้ (31 มกราคม 2018) จะมีปรากฏการณ์ "Super Blue Blood Moon" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ 3 อย่างที่เกิดพร้อมกัน ได้แก่
อิทธิพลแอพแชทสร้างพฤติกรรมบางอย่างให้ผู้ใช้ คือการตอบข้อความแชทที่คนอื่นส่งมาหาอย่างรวดเร็ว (และจะตอบเร็วเป็นพิเศษเมื่อคนรัก และครอบครัวแชทมา) ฉะนั้น ข้อความที่ขึ้นว่าอ่านแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับ สร้างผลกระทบต่อจิตใจอย่างคาดไม่ถึง
Tony D. Sampson ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย East London ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมสื่อดิจิทัลและการสื่อสาร โดยเน้นไปที่การสร้างนิสัยแบบดิจิทัล ระบุว่าการตอบแชทอย่างเร็วเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมโซเชียลมีเดีย ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนอยู่บนแพลตฟอร์มให้นานที่สุด และผลทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อข้อความขึ้นว่าอ่านแล้ว (read) แต่ไม่ตอบกลับทันที คือ ความกังวล ความรู้สึกผิด และตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองพิมพ์ออกไปว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
ข่าวใหญ่ในแวดวงวิทยาศาสตร์สัปดาห์นี้ คือการยืนยันว่าพีระมิดคูฟูแห่งเมืองกิซา ประเทศอียิปต์ มี "ช่องว่าง" ขนาดใหญ่อยู่ภายในที่ยังอธิบายไม่ได้ว่าสร้างไว้เพื่ออะไร โดยใช้เทคนิคการตรวจจับอนุภาคมูออน (muon) ที่วิ่งผ่านพีระมิดทั้งอัน แล้วตรวจสอบจากการสะท้อนของอนุภาคว่ามีช่องโพรงหรือไม่ (รายละเอียดดูในเว็บไซต์ ScanPyramids และ Nature)
การค้นพบครั้งนี้ส่งผลให้มีแฟนๆ ของเกม Assassin’s Creed Origins ภาคล่าสุดที่ใช้ฉากหลังเป็นอียิปต์เช่นกัน ไปแซวว่าเกมต้องออกแพตช์ใหม่ เพื่ออัพเดตพีระมิดให้มีช่องว่างตามแล้วล่ะ
เมื่อกลางปีที่แล้ว Google ได้ออกแอพ Science Journal บน Android ที่ช่วยเก็บสถิติจากเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์สำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็ก ๆ
ล่าสุด Google ปรับปรุงแอพ Science Journal ใหม่ โดยเพิ่มฟีเจอร์ให้ใส่โน้ตและรูปภาพเพิ่มเติมจากข้อมูลที่เก็บจากเซนเซอร์เอาไว้ และเพิ่มฟีเจอร์ให้เล่นกับเซนเซอร์ได้อีก 3 แบบ รวมถึงสามารถเก็บ snapshot ของข้อมูลเซนเซอร์ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ได้ด้วย
นอกจากนี้ แอพ Science Journal ก็มีพาร์ทเนอร์อย่าง California Academy of Sciences, New York Hall of Science และ Science Buddies สร้างกิจกรรมให้ทำในแอพเพิ่มเติมอีก 20 แบบ อย่างเช่นการติดสปริงเข้ากับมือถือ หรือวัดการเคลื่อนไหวของล้อจักรยาน
Berliner Morgenpost เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมัน เปิดเว็บไซต์แบบ Interactive เทียบขนาดของภูเขาน้ำแข็ง "ลาร์เซน ซี" ที่กำลังแตกตัวจากทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งภูเขาน้ำแข็งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้
ด้วยความหนา 200 เมตรและกินพื้นที่ 6,000 ตร.กม. ผู้เขียนลองลากกราฟิกมาวางไปเหนือกรุงเทพฯ พบว่ามันมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่นี้เสียอีก! (กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 1,569 ตร.กม.)
การแตกตัวนี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ หลังเฝ้าดูรอยร้าวบนชั้นน้ำแข็งนี้มากว่า 10 ปี ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ ภูเขาน้ำแข็งจะแตกตัวออก และลอยตามกระแสลมขึ้นไปทางเหนือจนเป็นอันตรายต่อการเดินเรือขนส่ง
ยานอวกาศ Juno ของ NASA โคจรใกล้ "จุดแดงยักษ์" (Great Red Spot) ของดาวพฤหัส และส่งภาพถ่ายความละเอียดสูงกลับมาถึงโลก ช่วยให้มนุษย์ได้เห็นภาพจุดแดงยักษ์แบบชัดๆ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน
ยาน Juno ถูกยิงขึ้นอวกาศตั้งแต่ปี 2011 และทำภารกิจโคจรรอบดาวพฤหัสมาเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ล่าสุด Juno เข้าไปใกล้ผิวดาวพฤหัสโดยลอยอยู่เหนือขอบเมฆ 3,500 กิโลเมตร เพื่อถ่ายภาพจุดแดงยักษ์นี้มา
จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสมีขนาดยาวประมาณ 16,000 กิโลเมตร (เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกยาว 12,742 กิโลเมตร) และถูกมนุษย์ค้นพบครั้งแรกในปี 1830
แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันแพทย์จำนวนหนึ่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบัน MIT เผยว่า การกินขี้มูกดีต่อสุขภาพ เป็นแหล่งรวมแบคทีเรียดี ไม่เป็นของสกปรกที่ร่างกายต้องกำจัดออกอีกต่อไป
คณะแพทย์ระบุว่าการกินขี้มูกช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เกาะตามฟัน และยังสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ แผลในกระเพาะอาหาร และแม้แต่เชื้อ HIV คณะวิจัยยังทดลองสร้างยาสีฟันและหมากฝรั่งที่มีสารสกัดจากน้ำมูกเพื่อพิสูจน์การทดลอง
เมื่อคืนนี้ NASA ประกาศการค้นพบครั้งสำคัญ ว่าพบระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์ขนาดเดียวกับโลกถึง 7 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ และมี 3 ดวงที่อยู่ในตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ (habitable zone คือไม่ใกล้หรือไกลจากดาวฤกษ์มากเกินไป)
NASA ตั้งระบบสุริยะนี้ว่า TRAPPIST-1 และตั้งชื่อดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงตามตัวอักษร b-h การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นการพบดาวเคราะห์ที่น่าจะอาศัยอยู่ได้จำนวนเยอะที่สุด ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียว ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงมีความเป็นไปได้ที่จะพบ "น้ำ" ในรูปแบบของเหลว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต
ความฝันถึงอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ต้องคอยชาร์จไฟอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oulu ประเทศฟินแลนด์ ค้นพบวัสดุชนิดใหม่ในกลุ่ม Perovskite Crystal มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนพลังงานแสง ความร้อน และการเคลื่อนไหวให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้พร้อมกัน
วัสดุดังกล่าวถูกเรียกว่า KBNNO (ตามสูตรเคมี) มีคุณสมบัติเป็น Ferroelectric โดยนักวิทยาศาสตร์ทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง พร้อมตรวจวัดความเปลี่ยนของอุณหภูมิและความดัน พบว่า KBNNO สามารถเปลี่ยนพลังงานทั้งสามเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
หลังกรณี จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ระเบิดเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว เมื่อคืนนี้ SpaceX กลับมาปล่อยจรวดใหม่อีกครั้งหลังพักไปนาน และล่าช้ากว่าที่ประกาศไว้เดิมเล็กน้อย
ภารกิจนี้ของ SpaceX คือการยิงดาวเทียมวงโคจรต่ำ 10 ดวงให้บริษัท Iridium ภายใต้โครงการ Iridium NEXT ที่จะยิงดาวเทียมอย่างน้อย 70 ดวงขึ้นชั้นบรรยากาศ จรวด Falcon 9 ยิงขึ้นจากฐานทัพอากาศ Vandenberg Air Force Base ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ผลการยิงจรวดคราวนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ดาวเทียมถูกปล่อยในชั้นบรรยากาศ และจรวด Falcon 9 ก็ร่อนลงมาจอดในฐานกลางทะเลตามแผน
สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ หลังจากโลกเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเต็มตัวคือ สุขอนามัยที่ดีขึ้น เพราะมีงานวิจัยมากมายเหลือเกินที่ยืนยันว่า เงินสดโดยเฉพาะเงินสดสหรัฐฯเป็นที่รวมตัวของเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆนานา
งานวิจัยดังกล่าวชื่อว่า dirty money ระบุว่าบนพื้นผิวธนบัตรดอลลาร์มีเส้นใยและรอยแยกที่ใหญ่ เชื้อโรคและแบคทีเรียเข้าไปอาศัยอยู่ได้มาก ยิ่งธนบัตรค่าเงินน้อยๆ ยิ่งมีการจับจ่ายสูง แบคทีเรียก็สูงตาม แบคทีเรียบางชนิดอยู่ได้เป็นเดือน นอกจากนี้ธนบัตร 1 - 100 ดอลลาร์ หมุนเวียนใช้กันมือต่อมือเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 4-15 ปี (ข้อมูลจากธนาคารกลางสหรัฐฯ)
งานวิจัยในปี 2010 จากนักวิจัยชาวออสเตรเลียระบุว่า ธนบัตรสหรัฐฯมีแบคทีเรีย 10 ตัว/พื้นที่ 1 ตร.ซม. มีเชื้อโรคเยอะกว่าธนบัตรออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เนื่องจากธนบัตรสหรัฐฯทำจากฝ้ายและลินิน จึงดูดแบคทีเรียได้มากกว่าธนบัตรออสเตรเลียและแคนาดาที่ทำจากโพลีเมอร์ ด้านนักวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐฯทำงานวิจัยในปี 2002 ระบุว่า เชื้อโรคบนธนบัตรก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบและการติดเชื้อร้ายแรงอื่นๆ
ยังจำภาพการเทลูกบอลสีดำนับไม่ถ้วนลงอ่างเก็บน้ำในลอสแองเจลิสได้หรือไม่ การทดลองดังกล่าวหวังจะช่วยลดการระเหยของน้ำแก้ปัญหาน้ำแล้งที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานในลอสแองเจลิส
หนึ่งปีผ่านไปพิสูจน์แล้วว่าวิธีนี้ได้ผล เพราะตัวลูกบอลสีดำหรือ shade ball มีคุณสมบัติช่วยดูดความร้อน รังสียูวี ป้องกันการระเหยของน้ำ อีกทั้งยังเก็บรักษาน้ำให้ปลอดภัยจากมลภาวะภายนอกได้จริง และยังคุมพวกวัชพืชน้ำไม่ให้เติบโตเต็มอ่างด้วย
ทีมนักฟิสิกส์จาก CERN สามารถทดลองตรวจวัดปฏิสสาร (antimatter) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยทำการผลิต antihydrogen ซึ่งเป็นปฏิสสารของไฮโดรเจนขึ้นหลังจากใช้ความพยายามในการสร้างเป็นเวลานานเนื่องจาก antihydrogen สลายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเจอกับสสารปกติ ทีมวิจัยได้ออกแบบสนามแม่เหล็กแรงสูงที่สามารถจับอนุภาคนี้ไว้หลังจากนั้นจึงใช้เลเซอร์ความเข้มสูงยิงไปยังอนุภาคดังกล่าวเพื่อตรวจดูช่วงสเปกตรัมของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปของแสงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชั้นพลังงานของโพสิตรอน (positron)
สหภาพเคมีนานาชาติ (International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC) มีมติอย่างเป็นทางการ ประกาศชื่อธาตุใหม่ 4 ตัวในตารางธาตุ ได้แก่
อุปสรรคสำคัญสำหรับการเดินทางในอวกาศคือเชื้อเพลิงสำหรับขับเคลื่อนยาน ยานอวกาศที่เดินทางระยะไกลจำเป็นต้องแบกเชื้อเพลิงจำนวนมากจนบางครั้งน้ำหนักบรรทุกส่วนใหญ่ต้องใช้สำหรับการขนเชื้อเพลิง แต่ปัญหานี้อาจกลายเป็นอดีตเมื่องานวิจัยเครื่องยนต์ EmDrive ได้รับการ Peer Review และพบว่าสามารถใช้งานได้จริง
ดูเหมือนอนาคตอันไม่สดใสที่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อนจะพอมีแสงสว่างเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ บังเอิญค้นพบวิธีสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถแปลงน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเอทานอลโดยตรง โดยมีประสิทธิภาพถึง 63%
ความบังเอิญนี้เกิดขึ้นเมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการทดลองขั้นแรกในการเปลี่ยนน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเมทานอล แต่กลับพบว่าเมื่อลองผ่านไฟฟ้า 1.2 โวลต์ไปที่ตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งคาร์บอนขนาดนาโนเคลือบด้วยไนโตรเจน ซึ่งมีอนุภาคทองแดงขนาดนาโนติดอยู่ ผลที่ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่ปลายแท่งคาร์บอนซึ่งเปลี่ยนสารตั้งต้นให้กลายเป็นเอทานอลได้โดยตรง
นักโบราณคดีค้นพบคัมภีร์ไบเบิลโบราณที่แหล่งขุดค้น En-Gedi ในอิสราเอล คัมภีร์ฉบับนี้เขียนบนหนังสัตว์และถือเป็นไบเบิลที่เก่ามากๆ เล่มหนึ่งของชาวยิวโบราณ (อายุยังไม่แน่ชัดว่าเก่าแค่ไหน แต่ถือเป็นคัมภีร์อีกชุดที่เก่าใกล้เคียงกับ Dead Sea Scroll) ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า และน่าจะช่วยให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ยิวในอดีตได้ดีขึ้น
ปัญหาคือคัมภีร์ฉบับนี้ถูกม้วนเอาไว้ และมันเก่ามากถึงขนาดถ้าคลี่ออกมา มันคงผุผังทันที นักโบราณคดีจึงไม่สามารถทำอะไรกับมันได้มาเป็นเวลาเกือบ 50 ปีแล้ว
Ig Nobel รางวัลงานวิจัยที่เน้นความฮาเป็นหลัก ประกาศผลรางวัลประจำปี 2016 โดยปีนี้ไม่มีคนไทยได้รับรางวัล
รายงานของไทยที่เคยได้รับรางวัล Ig Nobel ได้แก่ รายงานเทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดต่อคืนองคชาติที่ถูกเฉือนขาดในประเทศสยาม รับรางวัลปี 2013 และกองบัญชาการตำรวจนครบาลให้รางวัลกับตำรวจที่ไม่รับเงินสินบน รับรางวัลปี 2015
รางวัลในปีนี้ได้แก่
ปกติเราอาจจะเคยได้ยินมายาคติที่ว่า ผู้หญิงผมบลอนด์ (ในกรณีชาวยุโรป-อเมริกัน) ดูสวยแต่ไม่ฉลาด แต่ถ้าลองไปดูทำเนียบซีอีโอที่เป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ รวมถึงผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างฮิลลารี คลินตัน ต่างก็มีผมบลอนด์ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผลการวิจัยช่วยบอกได้
สถิติจาก Jennifer Berdahl และ Natalya Alonso อาจารย์ที่ University of British Columbia's Sauder School of Business ระบุว่าทำเนียบผู้นำองค์กร 500 บริษัท (CEOs of S&P 500 companies) มีไม่มากนักที่เป็นผู้หญิง แต่เกือบครึ่งเป็นคนผมบลอนด์
เวลาเข้าไปค้นหางานวิจัยในเว็บไซต์ NASA อาจต้องปวดหัวกับข้อมูลงานวิจัยจำนวนมากที่ถาโถมเข้ามา ล่าสุด NASA เปิดช่องทางค้นหางานวิจัยใหม่อีกช่องทางชื่อว่า PubSpace ที่ทางสถาบันหวังว่าจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหางานวิจัยง่ายกว่า รวมถึงเป็นการเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น ไม่เป็นงานขึ้นหิ้งอย่างเดียว
PubSpace คือแหล่งรวมงานวิจัยทั้งของนาซ่าเอง และของสถาบันต่างๆที่สนับสนุนโดยนาซ่า แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามสถาบันที่ทำการวิจัย แต่ก่อนจะเข้าถึงไฟล์ได้ต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนก่อนเพราะเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาล ทุกงานวิจัยเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี งานแต่ละชิ้นมีอายุ 1 ปีหลังจากเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์แล้ว
เดือนกรกฎาคมโดยปกติเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในรอบปีของทั่วโลก ซีกโลกเหนือมีมวลดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซึ่งมวลดินทำให้เกิดความร้อนเร็วกว่า ล่าสุดองค์การนาซ่าระบุ กรกฎาคมปีนี้ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาตั้งแต่ปี 1880 อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม 0.55 ดีกรี
ในอเมริกาเหนือ ทางตอนใต้รวมถึงมลรัฐเท็กซัสและทางตอนเหนือของเม็กซิโกจะร้อนที่สุดในภูมิภาค สาเหตุที่ร้อนขึ้นเพราะสภาพความแปรปรวนทางอากาศและกิจกรรมของคนก็มีส่วนสำคัญให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นได้
ที่มา - The Weather Channel
ไอบีเอ็มประกาศความสำเร็จในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการวินิจฉัยโรคลูคิเมียเคสหายากภายในเวลาเพียง 10 นาที เทียบกับกระบวนการการแพทย์ปกติที่ใช้เวลาวินิจฉัยถึง 2 สัปดาห์