AIS เปิดโครงการ The StartUp Connect เปิดให้บริษัทใดๆ ก็ได้มาเป็นพาร์ทเนอร์กับ AIS โดยไม่ต้องเสนอผลงานผ่านการประกวด โดยบริษัทต้องมีสินค้าหรือบริการอยู่แล้ว และต้องการเข้ามาต่อยอดธุรกิจกับ AIS ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของ AIS และ Singtel Group กว่า 550 ล้านรายในภูมิภาค
ตัวอย่างสตาร์ตอัพที่ AIS สนใจคือเกม, ระบบชำระเงิน, สังคมออนไลน์, แพลตฟอร์ม on-demand economy, เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว (travel tech), ระบบ IoT และ Smart Living เป็นต้น
Fictionlog แพลตฟอร์มนักเขียน และนักอ่านนิยายออนไลน์เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันนี้ภายใต้คอนเซปต์ "Unleash Your Imagination" ให้นักอ่านสนับสนุนนักเขียนโดยตรงผ่านการเติมเงิน ประกาศจุดยืนนักเขียนต้องมีส่วนแบ่งรายได้มากขึ้น และให้ลิขสิทธิ์ผลงานเป็นของนักเขียนทั้งหมด
Fictionlog อยู่ในเครือเดียวกันกับ Storylog ผู้ก่อตั้งคนเดียวกันคือ เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์ ในงานเปิดตัว นาย เปรมวิชช์ ระบุว่า Storylog เป็นพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ ส่วน Fictionlog เป็นแพลตฟอร์มเขียน และขายนิยาย อ่านได้บทต่อบท ไม่ต้องรอจบเล่ม
Salesforce ประกาศซื้อกิจการ Quip แอพ word processor แนวใหม่ของ Bret Taylor อดีตซีทีโอของ Facebook
Quip เป็นแอพลูกผสมระหว่าง word processor กับอีเมล โดยผนวกเอาเรื่องการแก้ไขเอกสารร่วมกันระหว่างคนในทีม เข้ากับระบบแจ้งเตือน ระบบคอมเมนต์ และระบบแชทภายในแอพ เพื่อพูดคุยกันว่าเอกสารไหนถูกแก้ไขไปแล้วบ้าง ช่วยลดปัญหาของการแก้เอกสารแล้วอีเมลกันไปมาลงได้
Salesforce ซื้อ Quip ด้วยมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์ โดย Mac Benioff ซีอีโอของ Salesforce ระบุชัดเจนว่าซื้อกิจการบริษัทสตาร์ตอัพในราคาค่อนข้างแพง เพราะต้องการตัว Bret Taylor ดาวรุ่งของวงการไอทีมาร่วมงานด้วย
ผลการศึกษาจากศาสตราจารย์ Ethan Mollick จาก University of Pennsylvania ผู้ซึ่งเกาะติดโครงการ Kickstarter มาตั้งแต่การก่อตั้งในปี 2009 เผยผลการศึกษารวบรวมข้อมูลว่า ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงตอนนี้ โครงการ Kickstarter สร้างงานสร้างรายได้มามาก โดยสร้างงานประจำแล้ว 29,600 ตำแหน่ง งานพาร์ทไทม์ 283,000 ตำแหน่ง ใน 8,800 บริษัท นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมด้วยว่ามีโปรเจกต์ที่ประสบความสำเร็จจากโครงการดังกล่าวแล้ว 61,654 โปรเจกต์ สนมารถสร้างรายได้ให้ผู้จัดทำผลงาน 5.3 พันล้านดอลลาร์
วันนี้สำนักข่าว Techcrunch รายงานว่า Skully บริษัทสตาร์ทอัพผลิตหมวกกันน็อคอัจฉริยะเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับนักบิด ก่อตั้งโดยสองพี่น้อง Mitch และ Marcus Weller อยู่ในระดับซีรี่ส์ B ประกาศปิดตัวลง ส่งผลให้ลูกค้าที่สั่งจองหมวกล่วงหน้ากว่า 3,000 คน จะไม่ได้สินค้าแต่ได้รับเงินคืนแทน และยังส่งผลกรทบต่อพนักงานฟูลไทม์อีกอย่างน้อย 50 ชีวิต และบิลที่ยังไม่ได้จ่ายให้กับบริษัทผลิตวัสดุอีกด้วย
Tapsey สตาร์ตอัพสัญชาติไทย ที่ทำแอพเรียกผู้ให้บริการสำหรับบ้านเรือน เช่น เรียกช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างแอร์ หรือแม่บ้านทำความสะอาด (เรียกรวมๆ ว่า on-demand service) ประกาศปิดตัวแล้ว โดยไม่ได้ระบุเหตุผล
ทางบริษัทประกาศว่าจะดูแลลูกค้าที่จองบริการไว้ล่วงหน้า จนกว่างานทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์
Tapsey เป็นสตาร์ตอัพที่ได้เงินลงทุนจาก Inspire Ventures ซึ่งเป็นนักลงทุน Venture Capital แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยด้วย
ที่มา - Tapsey Facebook
Omise บริษัท Payment Gateway ในไทย ประกาศระดมทุน Series B ซึ่งรอบนี้ได้รับเงินลงทุนรวม 17.5 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลงทุนหลักคือกองทุน SBI Investment จากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี Golden Gate Ventures ที่ SCB ไปลงทุนไว้อีกด้วย โดยการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นการระดมทุน Series B ของบริษัท Fintech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
Homee แอพเปิดตัวใหม่เพื่อความสะดวกสบายในการตกแต่งบ้าน เสนอที่ปรึกษาแต่งบ้านส่วนตัวผ่านสมาร์ทโฟน ผู้ใช้สามารถแชทคุยกับดีไซเนอร์มืออาชีพ และเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ผ่านแคตตาล็อกโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงร้าน
Homee ระดมทุนได้กว่า 5 ล้านดอลลาร์ ตอนนี้อยู่ในระดับซีรี่ส์ A เรียบร้อยแล้ว หนึ่งในผู้ร่วมลงทุนมี Sean Rad CEO ของ Tinder ด้วย
Just Eat ผู้ให้บริการส่งอาหารรายใหญ่ในยุโรป ประกาศความร่วมมือกับ Starship Technologies สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์จากประเทศเอสโตเนีย เพื่อนำหุ่นยนต์ 6 ล้อ มาให้บริการส่งอาหาร โดยจะเริ่มทดลองในลอนดอนเป็นแห่งแรกเร็วๆ นี้
หุ่นยนต์ที่นำมาใช้งานนี้สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆ ได้อัตโนมัติ แต่ก็จะมีคนคอยดูแลอีกขั้นหนึ่ง สามารถข้ามถนน, หลบสิ่งกีดขวางได้, มีกล้องอยู่รอบจำนวน 9 ตัว, มีเซ็นเซอร์ตรวจจับสภาพพื้นที่ และมีระยะเบรก 30 เซนติเมตร ในเบื้องต้นหุ่นยนต์จะสามารถวิ่งส่งอาหารจากร้านไปยังลูกค้า ได้ไม่เกิน 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ด้วยความเร็วราว 4 ไมล์ต่อชั่วโมง
เมื่อหุ่นยนต์มาส่งอาหาร ลูกค้าต้องกดรหัสที่ได้รับผ่านแอพเพื่อเปิดฝา จึงสามารถนำอาหารออกได้ จากการทดสอบเบื้องต้นยังไม่พบปัญหาอาหารถูกขโมยระหว่างทาง เนื่องจากหุ่นยนต์มีระบบป้องกันสิ่งนี้อยู่แล้ว
ที่มา: VentureBeat
บริษัทลงทุน Ardent Capital ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในไทย ประกาศรวมกองทุนสตาร์ตอัพของตัวเองให้บริษัท Wavemaker Partners จากแอลแอและสิงคโปร์ดูแลแทน
ผลคือบริษัทที่ Ardent เคยไปลงทุนไว้จะอยู่ภายใต้การบริหารของ Wavemaker ซึ่งในจำนวนนี้มีบริษัทไทยอย่าง Playbasis รวมถึง HappyFresh ที่มีธุรกิจในไทยด้วย (Ardent ลงทุนในสตาร์ตอัพฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 10 บริษัท)
การทำงานบัญชีบนคลาวด์ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ มีซอฟต์แวร์หลายตัวที่ทำ คือ Xero และ Crunch Accounting เป็นต้น แต่ที่ Smacc สตkร์ทอัพสัญชาติเยอรมันระบุว่าเราต่างจากซอฟต์แวร์บัญชีอื่นๆ คือ มี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ช่วยจัดการบัญชี มีความเป็นอัตโนมัติและง่ายขึ้น เพียงแค่สแกนใบเสร็จเท่านั้น
Krungsri RISE โครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพสาย FinTech ที่ Blognone เคยรายงานข่าวไป ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบแล้ว โดยขยายเพิ่มจากที่ประกาศไว้ตอนแรก 10 ทีมเป็น 15 ทีม
หลายทีมที่เข้ารอบก็เป็นทีมค่อนข้างมีชื่ออยู่แล้ว เช่น Piggipo ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย dtac Accelerate Batch 2 หรือ Pay Social บริษัทในเครือ efrastructure ของคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ส่วนทีมอย่าง iTAX, Meefund, Satangdee ก็ออกงานสตาร์ตอัพอยู่เรื่อยๆ และเป็นที่รู้จักในวงการ
ขั้นต่อไปคือทั้ง 15 ทีมจะต้องเข้าแคมป์บ่มเพาะแบบเข้มข้นนาน 8 สัปดาห์
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เตรียมตั้ง ชมรมผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลรายใหม่ (Tech Startup Club) ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 40 แห่งทั่วประเทศไทยภายในปีนี้ เพื่อสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลรุ่นใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรม
นายศุภชัย จงศิริ รักษาการผู้อำนวยการ SIPA บอกว่าในนิยามของ SIPA มองว่า Tech Startup คือธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีแล้วมาทำธุรกิจ โดยรวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีไอเดียแต่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ ไปจับกลุ่มกับผู้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นผู้ประกอบการต่อไป ขณะนี้ไทยยังมี Tech Startup ไม่มาก เพราะปัญหาการขาดกำลังคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และขาดทักษะในการสร้างธุรกิจใหม่บนพื้นฐานของนวัตกรรมดิจิทัล
สำหรับชมรม Tech Startup Club จะเป็นเครือข่ายความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยปีนี้ SIPA ตั้งเป้าเปิดชมรม 40 แห่ง, มีบุคคลากรที่มีความพร้อมเป็นผู้ประกอบการใหม่ 800 ราย และเกิด "แนวคิดดิจิทัล" รูปแบบใหม่ 300 โครงการ ตอนนี้ SIPA กำลังอยู่ระหว่างการคัดเลือกสถาบันศึกษาที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ
ซัมซุงประกาศลงทุนวิจัยด้าน IoT ในสหรัฐอเมริกาเป็นเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์ในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยจะกระจายงานไปยังศูนย์วิจัยของซัมซุง 3 แห่งคือ Samsung Strategy and Innovation Center, Global Innovation Center, Samsung Research America
Wall Street Journal รายงานว่าเงินก้อนนี้จะถูกแบ่งไปใช้ลงทุนวิจัยภายในบริษัท และการลงทุนในสตาร์ตอัพอื่นอย่างละครึ่งเท่าๆ กัน (อีกสักพักเราคงเห็นซัมซุงไล่ลงทุนในบริษัท IoT มากขึ้น) Oh-Hyun Kwon รองประธานและซีอีโอของซัมซุงบอกว่าบริษัทกำลังผลักดัน IoT เข้ามาเป็นแกนกลางของยุทธศาสตร์ด้วย
ในขณะที่โครงการทำรถยนต์อัตโนมัติของ Apple ยังคลุมเครือ กลุ่มอดีตวิศวกรที่มีส่วนสำคัญในการผลิต iPod และ iPhone ของ Apple ออกมาเปิดบริษัทชื่อว่า Pearl Automation Inc. เพื่อเดินหน้าเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป้าหมายของบริษัทคือผลิตอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรถไร้คนขับ โดยผลิตภัณฑ์แรกจะเป็นกล้องติดด้านหลังรถ เปิดขายเต็มที่ในสหรัฐฯช่วงเดือนกันยายน ตอนนี้เปิดให้พรีออเดอร์แล้ว
ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้านั่งตำแหน่งผู้อำนวยการบริษัท Scentrics Information Security Technologies Limited ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว และตอนนี้บริษัทนี้กำลังหาทุนเพิ่มเติม
Scentrics ระบุว่ามีเทคโนโลยีเข้ารหัสสำหรับการส่งต่อข้อความที่ปลอดภัย แต่ยังสามารถถอดรหัสได้เมื่อได้รับคำร้องขอจากเจ้าหน้าที่ โดยตอนนี้มีรายงานว่าลูกค้ารายแรกของบริษัทคือผู้ให้บริการสื่อสารรายหนึ่งในสิงคโปร์ ที่ซื้อเทคโนโลยีนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Smart Nation ของรัฐบาล
เมื่อวานนี้ Mark Zuckerberg โพสต์ Facebook ประกาศว่ามูลนิธิใหม่ที่ก่อตั้งโดยเขาและ Priscilla Chan ภรรยา ลงทุนในสตาร์ทอัพจากแอฟริการายหนึ่งชื่อว่า Andela ที่สร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างโปรแกรมเมอร์ชาวแอฟริกาให้มีโอกาสทางการงานในบริษัทไอทีรายใหญ่ ส่วนเม็ดเงินลงทุนมีรายงานข่าวว่าสูงถึง 24 ล้านดอลล่าร์
Capsules เป็นสตาร์ทอัพขายเสื้อผ้าออนไลน์ ที่มีเป้าหมายลดปริมาณเสื้อผ้าต่อคน ให้ลูกค้าซื้อเสื้อผ้าน้อยกว่าที่เคยซื้อ หวังช่วยลดการใช้แรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ผิดกฎหมาย
วิธีการทำงานของ Capsules เริ่มจากมีพาเลทสี แบบเสื้อผ้าให้ผู้ใช้เลือกผ่านแอพพลิเคชั่น จากนั้นโปรแกรมจะทำการ mix and match ให้ลูกค้าดูก่อนจะกดสั่งซื้อ เพื่อให้ลูกค้าแน่ใจว่า เสื้อผ้าชิ้นนี้สามารถนำไปจับคู่ใส่กับอีกหลายชิ้นได้หลายแบบ ใส่ได้หลายโอกาส นอกจากนี้ ทาง Capsules ยังรับบริจาคเสื้อผ้าจากผู้ใช้ เพื่อลดจำนวนเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วอีกด้วย
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตั้งบริษัทลูกชื่อ Digital Ventures ทำ FinTech วันนี้ Digital Ventures ประกาศลงทุนครั้งแรก โดยเข้าไปลงทุนในกองทุน Golden Gate Ventures (GGV) ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ตอัพภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ผ่านมา GGV ลงทุนในสตาร์ตอัพไทยหลายราย เช่น Claim Di, Omise, Orami, Stamp, Noonswoon, ServisHero เป็นต้น โมเดลของกองทุน GGV คือบริหารเงินจากกองทุนหรือบริษัทยักษ์ใหญ่อีกทอดหนึ่ง ที่ผ่านมา GGV ได้เงินลงทุนจาก Temasek, Naver รวมถึง Eduardo Saverin หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Facebook ด้วย (ขนาดของกองทุนตอนนี้มากกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ไม่เปิดเผยว่า SCB ลงทุนเท่าไรใน GGV)
Anna Fang ซีอีโอของ ZhenFund บริษัท Venture Capital ของจีน ขึ้นเวทีงานสัมมนา Converge ของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ที่ฮ่องกง
พิธีกรถามเธอว่าถ้ารัฐบาลจีนอยากให้นวัตกรรมเติบโตขึ้น 10 เท่า และสามารถทำได้เรื่องเดียว รัฐบาลควรทำอย่างไร คำตอบของ Anna คือขอให้รัฐบาลอยู่เฉยๆ (stay away) จะดีที่สุด
เธอยกตัวอย่างกรณีการกู้เงินแบบ P2P (P2P lending) ซึ่งรัฐบาลไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือกำกับดูแลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผลออกมาดีเพราะปล่อยให้ตลาดจัดการตัวเอง
ไมโครซอฟท์ประกาศตั้งทีมลงทุนชื่อ Microsoft Ventures เพื่อลงทุนในสตาร์ตอัพระยะแรก ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์มีเอี่ยวกับสตาร์ตอัพอยู่ 2 ทางคือการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัพที่เปิดมาระยะหนึ่งแล้ว กับโครงการ Microsoft Accelerator ที่ช่วยบ่มเพาะบริษัทเกิดใหม่ ยังขาดเครื่องมือสำหรับสนับสนุนสตาร์ตอัพระยะที่อยู่ตรงกลาง ซึ่ง Microsoft Ventures เข้ามาเติมเต็มช่องว่างตรงนี้
เบื้องต้น Microsoft Ventures จะโฟกัสไปที่เมืองซานฟรานซิสโก ซีแอทเทิล นครนิวยอร์ก และกรุงเทลอาวีฟของอิสราเอล ก่อนจะขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในอนาคต ส่วนธุรกิจที่ไมโครซอฟท์สนใจก็สอดคล้องกับตัวธุรกิจหลัก ตั้งแต่คลาวด์ที่ต่อยอด Azure, ต่อยอด Windows/HoloLens หรือสร้างผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ Office 365
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร่วมมือกับ RISE ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (corporate accelerator) เปิดตัวโครงการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัพด้าน FinTech ในชื่อว่า Krungsri RISE
โครงการจะเปิดรับสมัครสตาร์ตอัพสาย FinTech จำนวน 10 ราย เข้าร่วมแคมป์บ่มเพาะธุรกิจนาน 8 สัปดาห์ เพื่อเร่งสปีดการเติบโตของสตาร์ตอัพ ก่อนช่วยหานักลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศมาช่วยลงทุนต่อไป
จุดเด่นของ Krungsri RISE นอกจากเน้นสตาร์ตอัพด้าน FinTech ยังมีเรื่องโปรแกรมการบ่มเพาะที่ไม่ตายตัว แต่ปรับตามความต้องการของผู้เข้าร่วม, เชิญผู้เชี่ยวชาญและสตาร์ตอัพรุ่นพี่มาแนะนำและให้ประสบการณ์, พื้นที่ทำงานที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า (ชิดลม) อีกทั้งไม่มีข้อกำหนดเรื่องการถือหุ้นของสตาร์ตอัพที่เข้าร่วมโครงการด้วย
สัญญาณว่าวงการสตาร์ตอัพในสหรัฐเริ่มหยุดความร้อนแรงลง เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบริษัท Agari เจ้าของเทคโนโลยีตรวจสอบอีเมลปลอม (phishing) ประกาศระดมทุนรอบใหม่ Series D อีก 22 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุน 7 บริษัท (รวมแล้วระดมทุนมาทั้งหมด 45 ล้านดอลลาร์)
สตาร์ตอัพกลุ่มความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นกลุ่มบริษัทที่นักลงทุนให้ความสนใจมากอยู่ช่วงหนึ่ง (ปีที่แล้ว มียอดเงินระดมทุนรวมถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์) แต่ในปีนี้ สถานการณ์ด้านการระดมทุนถดถอยลงมาก และ Agari ถือเป็นบริษัทล่าสุดที่ระดมทุนได้สำเร็จ (บริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 2009) ซึ่งซีอีโอ Pat Peterson ก็ยอมรับว่าการระดมทุนรอบนี้ยากขึ้นมาก
ปัจจุบันกระแสความนิยมในการเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอล หรือการทำสตาร์ทอัพกำลังมาแรงเป็นกระแส ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และบริษัท ดิจิตัล เวนเจอร์ส จำกัด ก็เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมในงาน Startup Thailand 2016 ที่ผ่านมา
โดยไฮไลท์สำคัญคือกิจกรรม Exclusive Mentoring Session from SCB ที่มีเหล่ากูรูสตาร์ทอัพถึง 18 คน มาเผยเคล็ดลับต่างๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์สำหรับนักธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นอย่างมาก โดย Blognone ขอเสนอเคล็ดลับเด็ดจาก 4 กูรูสตาร์ทอัพ ดังนี้
ยุคนี้ใครก็ทำสตาร์ทอัพ แม้แต่ Sundar Pichai ซีอีโอของ Google ก็ออกมายอมรับว่า บริษัทมีแผนจะตั้งศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับพนักงานในชื่อ Area 120
ซีอีโอ Google ระบุว่าโครงการนี้ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากนัก โดยเหตุผลในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ ก็เพื่อต้องการสนับสนุนและผลักดันให้พนักงานคิดโปรเจ็คใหม่ๆ รวมถึงผลักดันพนักงานที่อยากจะกลายเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งปกติ Google เองก็จะอนุญาตให้พนักงานใช้เวลาประมาณ 20% ของเวลางานในแต่ละวัน ไปกับโปรเจ็คอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานหลักอยู่แล้ว
ที่มา - Forbes