JustEat บริษัทในลอนดอน แพลตฟอร์มสำหรับสั่งอาหารออนไลน์และส่งถึงบ้าน ใช้หุ่นยนต์ตัวน้อยส่งอาหารให้ลูกค้าในลอนดอน จากที่ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยทดลองระบบมาก่อนหน้า ล่าสุดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว
ตัวหุ่นยนต์ตัวนี้สูงไม่ถึงเข่า รูปร่างคล้ายหม้อนึ่งติดล้อ มีช่องว่างสำหรับใส่อาหารสามารถเก็บกลิ่นไม่ให้กลิ่นอาหารฟุ้งกระจายได้ (ไม่เช่นนั้นจะเป็นเป้าหมายของบรรดาสัตว์เลี้ยงตามท้องถนน) และถ้าคนเดินผ่านไปผ่านมาอยากเซลฟี่ก็ทำไม่ได้ด้วย เพราะหุ่นยนต์ไม่ได้รับคำสั่งตรงนี้มา
Starship Technologies บริษัทพัฒนาเจ้าหุ่นยนต์ส่งอาหารนี้ บอกว่าก่อนนี้ทดลองใช้หุ่นส่งอาหารมาได้สักระยะแล้ว เพื่อดูปฏิกิริยาของคนเดินถนนต่อหุ่นยนต์ว่าเป็นอย่างไร และดูเหมือนผู้คนจะชื่นชอบมันเป็นอย่างดี
Ctrip บริษัทด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีนตอนนี้ เข้าซื้อ Skyscanner สตาร์ทอัพเทียบราคาเที่ยวบินของอังกฤษที่เป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลกในราคา 1.7 พันล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการบริการให้ครอบคลุมการจองตั๋วบิน จองโรงแรม และรถเช่า
Skyscanner เป็นสตาร์ทอัพเก่าแก่อีกแห่งก็ว่าได้ ก่อตั้งมา 13 ปีแล้วที่เอดินเบิร์ก และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีข่าวออกมาว่า ตัวบริษัทกำลังมองหาผู้เข้าซื้อ ตัวบริษัทมีมูลค่า 1 พันล้านปอนด์หลังจากผ่านการระดมทุนเมื่อเดือนมกราคม
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ว่า ขณะนี้กำลังเคลื่อนย้ายศูนย์ฯ จากชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าเอมโพเรียม ไปตั้งใหม่ที่ถนนเจริญกรุง ในพื้นที่ของไปรษณีย์กลางบางรัก คาดว่าจะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบประมาณเดือนเมษายน 2560
สมาชิกเดิมที่ยังคงสมาชิกภาพไม่ต้องเสียใจ TCDC เปิดโครงการ Co-working visa ให้ลงทะเบียนเข้าใช้งานโคเวิร์กกิ้งสเปซทั่วกรุงเทพฯ เช่น HUBBA, HUBBA-TO, Discovery HUBBA, The Hive, Draft Board, Launchpad, ฯลฯได้แบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องจองล่วงหน้าที่ coworkingvisa.tcdc.or.th ครับ ดูรายชื่อทั้งหมดได้ท้ายข่าว
บีคอน อินเตอร์เฟส สตาร์ทอัพด้านฟินเทคสัญชาติไทย ที่ได้รับการสนับสนุนโดยธนาคารกสิกรไทย พัฒนาแอพพลิเคชั่นโอนเงินสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ Global FinTech Hackcelerator ล่าสุดได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน Singapore FinTech Festival 2016 และยังได้รางวัล Developer Hub Award จาก Citigroup ด้วย
บีคอน อินเตอร์เฟส คือผลงานร่วมกันพัฒนาระหว่างทีมผู้ก่อตั้งกับทีมวิศวกรจาก KBTG (กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป) และ ABLE Lab (Achieve Better Living for Elderly Lab) ในการทำแอพเพื่อให้เหมาะกับผู้บกพร่องทางการมองเห็นและผู้สูงอายุ
Datetix แอพหาคู่เดทแนวเดียวกับ Tinder ของฮ่องกง ประกาศเข้าซื้อกิจการ Noonswoon แอพแนวเดียวกันของไทย โดยจ่ายเป็นหุ้นของ Datetix จำนวน 700,000 หุ้น มูลค่าราว 212,000 ดอลลาร์ ซึ่ง Noonswoon จะได้หุ้นนี้เมื่อผ่านไป 2 ปี
Noonswoon เป็นแอพหาคู่เดท ที่เคยชนะโครงการ AIS The Startup ปี 2013 มีกองทุนที่ร่วมลงทุนอย่าง 500 Startups และ Golden Gate Ventures (ซึ่ง SCB Digital Ventures ก็ลงทุนใน GGV ด้วย)
คุณกวิน อัศวานันท์ ซีอีโอ Noonswoon เผยว่า Noonswoon จับคู่สำเร็จแล้ว 120 คู่ แต่งงานกันแล้ว 15 คู่ ซึ่งตัวเขาก็ได้ไปร่วมงานแต่งงานด้วยถึง 3 งาน
ที่มา: Tech In Asia และ Reuters
ในงาน Digital Winners Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา วันก่อนที่จะมีการประกาศผล มีโอกาสไปเยี่ยมชม Co-working Space ในเมืองย่างกุ้งชื่อว่า Phandeeyar (พาน-ดี-ยา)
Karhoo สตาร์ทอัพแอพเรียกรถแท็กซี่ ที่เปิดให้บริการในลอนดอน, นิวยอร์ค สิงคโปร์และเทลอาวีฟ (อิสราเอล) ประกาศปิดกิจการ หลังประสบปัญหาด้านการเงินและไม่สามารถระดมทุนเพิ่มได้ ซึ่งพนักงานในลอนดอ (ไม่ทราบว่าที่อื่นเหมือนกันหรือไม่) ไม่ได้รับเงินเดือนมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว
Karhoo ก่อตั้งมาแล้ว 2 ปีโดย Daniel Ishag มีสำนักงานอยู่ใน 4 เมืองใหญ่ของโลกที่ไปเปิดให้บริการ โดยมีเป้าหมายคือขึ้นมาเป็นคู่แข่งของ Uber ให้ได้ Karhoo เคยมีข่าวว่าสามารถระดมทุนได้สูงถึง 250 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว และตั้งเป้าว่าจะระดมทุนให้ได้สูงถึง 1 พันล้านเหรียญ ก่อนที่เอกสารการเงินของ Karhoo ระบุว่าระดมทุนได้เพียง 39 ล้านเหรียญและมีรายได้รับสุทธิแค่ 1 ล้านเหรียญเท่านั้น
วันที่ 1-2 พฤศจิกายน เทเลนอร์จัดงานประกวด Digital Winners Asia ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า มีสตาร์ทอัพเอเชียร่วมชิง 9 ทีม และทีมที่ชนะเป็นสตาร์ทอัพของไทยนี้เอง คือ TakeMeTour โดยสตาร์ทอัพที่ชนะจะได้รับเงินจากเทเลนอร์นำไปต่อยอดทางธุรกิจถึง 1 แสนนอร์วีเจียนโครน หรือประมาณ 4 แสนบาท
Eatigo แพลตฟอร์มสำหรับจองร้านอาหาร ประกาศได้รับเงินลงทุนระดับ Series B จาก TripAdvisor เว็บไซต์แนะนำการท่องเที่ยวชื่อดัง
การลงทุนในครั้งนี้ ทาง TripAdvisor ใช้แบรนด์ที่ชื่อ The Fork มาลงทุน เพราะเป็นแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรูปแบบนี้โดยตรง นี้เป็นครั้งแรกที่ TripAdvisor ลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การลงทุนครั้งนี้ไม่ได้เปิดเผยตัวเลข แต่ Eatigo ออกมาบอกว่าได้รับการลงทุนครั้งนี้ รวมกับ Series A ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมารวม 530 ล้านบาท (15.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) เงินระดมทุนครั้งนี้จะนำมาใช้ขยายธุรกิจของ Eatigo เข้าสู่ประเทศอื่นๆ (ขณะนี้ Eatigo เปิดให้บริการใน 2 ประเทศคือ ไทย และ สิงคโปร์)
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ได้เปิดตัวโครงการ Digital Startup พร้อมรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนทั่วไปที่สนใจ Tech Startup ให้สามารถพัฒนาธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ
โครงการนี้เป็นโครงการระยะยาวแบ่งเป็น 5 ระยะ ระยะแรกคือการตั้งคณะทำงานจากตัวแทนสตาร์ทอัพทุกภาคส่วนและระดมความร่วมมือจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระยะที่สองเป็นการจัดฝึกอบรม 2 หลักสูตร คือระดับพื้นฐานและระดับกลาง รวมถึงจัดอบรมสัมมนากับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสริมความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระยะที่สามคือพัฒนาต้นแบบธุรกิจ ระยะที่สี่คือเข้าสู่ตลาดสากล และระยสุดท้ายคือการเพิ่มมูลค่าการลงทุน
Airbnb ได้ออกเอกสารรายงานยืนยันการเพิ่มทุนรอบล่าสุด โดยรับเงินลงทุนอีก 555.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแกนนำหลักในการลงทุนรอบนี้คือ Google Capital และ Technology Crossover Ventures
Nathan Blecharczyk ซีทีโอของ Airbnb ออกมาเปิดเผยว่าเงินลงทุนรอบล่าสุดนี้ ทำให้มูลค่ากิจการของ Airbnb เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ล้านดอลลาร์แล้ว (ปีที่แล้ว 25,500 ล้านดอลลาร์) ทั้งยืนยันว่า Airbnb ยังดำเนินงานเติบโตได้ดีและมีโอกาสอีกมาก
สิ่งที่น่าสนใจในการเพิ่มทุนครั้งนี้ ก็คือ Airbnb เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถขายหุ้นบริษัทที่ตนเองถืออยู่ออกมาได้ด้วย ซึ่งมูลค่าหุ้นที่ขายกันออกมานั้นอยู่ราว 200 ล้านดอลลาร์ การให้พนักงานสามารถขายหุ้นออกมาได้ก็ช่วยลดแรงกดดันที่ Airbnb จะต้องเข้าตลาดหุ้น เพราะพนักงานสามารถรับเงินสดได้ในอีกทางหนึ่ง
ที่มา: Bloomberg และ Boston Herald
OmniVirt สตาร์ตอัพด้าน VR ของไทยที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา (เครือเดียวกับ AdsOptimal ที่ Blognone เคยสัมภาษณ์) เข้าร่วมแข่งขัน #Promote Ads API challenge ของ Twitter และสามารถคว้าแชมป์ประจำภูมิภาคอเมริกาเหนือมาได้สำเร็จ
Ripple สตาร์ตอัพด้านระบบชำระเงินแบบกระจายศูนย์ (distributed settlement) ระดมทุนรอบใหม่ Series B เป็นเงิน 55 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนหลายราย เช่น Standard Chartered, Accenture Ventures, SBI Holdings, Santander Innoventures, Seagate และหนึ่งในนั้นมี SCB Digital Ventures บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์รวมอยู่ด้วย ถือเป็นการลงทุนในบริษัทต่างประเทศเป็นครั้งแรกของ Digital Ventures
นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหารของ Digital Ventures ระบุว่าการลงทุนใน Ripple จะช่วยให้ธนาคารมองเห็นโอกาสของบริการใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี blockchain โดยธนาคารไทยพาณิชย์ถือเป็นธนาคารไทยรายแรกที่เข้ามาลงทุนใน Ripple และทางธนาคารก็กำลังศึกษาเรื่องการโอนเงินข้ามประเทศด้วยโซลูชัน blockchain อยู่ด้วย
DigitalOcean เปิดโครงการสนับสนุนสตาร์ตอัพ โดยให้เครดิตสูงสุด 100,000 ดอลลาร์เป็นระยะเวลา 12 เดือน พร้อมกับพี่เลี้ยงในด้านเทคนิคเพื่อช่วยให้สตาร์ตอัพเข้าถึงบริการคลาวด์ได้ง่ายขึ้น
DigitalOcean ระบุว่าบริษัทเองเคยผ่านโครงการ Techstars มาก่อน และรู้ว่าระบบพี่เลี้ยงมีประโยชน์ต่อสตาร์ตอัพเพียงใด ขณะที่เครดิตช่วยเหลือจะทำให้สตาร์ตอัพไม่ต้องกังวลกับโครงสร้างพื้นฐานจนเกินไป
เงื่อนไขของผู้เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากโครงการ accelerator หรือได้รับเงินทุนจาก VC มาก่อน และได้รับเงินทุนมาแล้วไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์ และเปิดบริษัทมาไม่เกิน 2 ปี
ที่มา - DigitalOcean
GrabGas สตาร์ทอัพสัญชาติมาเลเซีย บริการส่งแก๊สหุงต้มผ่านแอพพลิเคชั่น ที่ได้รับรางวัลสตาร์ทอัพจาก Digi Accelerate (Digi เป็นบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายในมาเลเซีย ภายในเครือ Telenor) และได้รับเม็ดเงินลงทุนจาก Digi กว่า 62,000 ดอลลาร์
ล่าสุดทาง Digi ออกมาประกาศว่าจะไม่ลงทุนให้ GrabGas แล้ว ส่วนเหตุผลที่ Digi ขอหยุดไว้กลางทางนั้นไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นปัญหาภายในของตัว GrabGas เอง
Rocket Internet เจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพและธุรกิจออนไลน์อีกหลายเจ้า และยังเป็นเจ้าของเดิมของ Lazada ออกมาประกาศผลประกอบการบริษัทว่าขาดทุนถึง 691 ล้านดอลลาร์ แต่ยังคงคาดหวังว่าจะกลับมาทำกำไรภายในสิ้นปี 2017 ส่วนสาเหตุการขาดทุนทางบริษัทระบุว่าเป็นปัญหาในกลุ่ม Global Fashion Group หน่วยธุรกิจที่เป็นเจ้าของ Zalora
เมื่อมาดูตัวเลขย้อนหลังจะพบว่ากิจการสินค้าแฟชั่น-อีคอมเมิร์ซในเครือ Rocket Internet มีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากในปี 2015 ที่มีมูลค่าถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์ ลงมาเหลือเพียง 1.1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม 2016
Hello คือชื่อบริษัทสตาร์ทอัพเกิดใหม่ที่กำลังส่งผลงานเข้าระดมทุนในโครงการ Kickstarter ซึ่งก็คืออุปกรณ์สำหรับประชุมงานในรูปแบบ video conference ประชุมคุยงานได้แม้อยู่ที่บ้าน และปรับใช้เป็นกล้องวงจรปิด เชื่อมต่อได้กับทุกอุปกรณ์ แจ้งเตือนเมื่อเกิดความเคลื่อนไหวผิดปกติได้ด้วย
ด้านมืดสตาร์ทอัพยังคงมีและดำเนินอยู่ต่อไป ล่าสุดมีกรณีโกงเงินพนักงานของบริษัทตัวเอง โดยเอาสลิปเงินเดือนปลอมที่ผ่านการแต่งรูปภาพให้ดูเหมือนของจริง ส่งให้พนักงานเพื่ออ้างว่าจ่ายเงินเดือนตามปกติ แต่เอาเข้าจริงไม่มีเงินเข้าบัญชี
เรื่องนี้เจ้าทุกข์คืออดีตพนักงาน Penny Kim เขียนลงในบล็อกและมีคนเข้าไปอ่านมากมาย
HappyFresh บริการส่งสินค้าอาหารของสดจากร้านค้าปลีกออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น ให้บริการในแถบอาเซียนประกาศถอนออกจากตลาดสองแห่งคือ ไต้หวัน และ ฟิลิปปินส์ โดยจะโฟกัสที่ตลาดอีกสามแห่งที่เหลือ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ส่งผลกระทบต่อพนักงานกว่าพันคน แต่ตอนนี้ยังไม่เปิดเผยตัวเลขพนักงานที่ต้องถูกให้ออก
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการบริษัท Genee ผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับนัดหมายการประชุมต่างๆ ให้อัตโนมัติ โดยนำเทคนิคด้าน AI มาช่วยแก้ปัญหา
Genee ก่อตั้งในปี 2014 เพื่อแก้ปัญหาการนัดหมายคุยงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนเยอะ แต่ละคนว่างไม่ตรงกัน และถ้าเลื่อนประชุมทีก็ต้องนัดคนใหม่ทั้งหมด สิ่งที่ Genee ทำคล้ายกับการเป็นเลขานุการให้เรา (เพียงแต่เป็น AI) โดยให้สิทธิ Genee เข้าถึงอีเมล จากนั้น Genee จะอ่านและตีความอีเมล พร้อมหาช่วงเวลาว่างและส่งอีเมลนัดหมายการประชุมให้เราเลย
บริการ Genee จะปิดตัวในวันที่ 1 กันยายนนี้ ทีมงานของบริษัทจะย้ายมาทำงานกับไมโครซอฟท์ในส่วน Office 365
dtac ได้จัดงานนำเสนอผลงานของสตาร์ทอัพจากโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ dtac Accelerate Batch 4 ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนอกจากทีมที่ได้รับรางวัลที่ Blognone รายงานไปแล้วนั้น สตาร์ทที่ได้นำเสนอผลงานในครั้งนี้มีดังนี้ครับ
เมื่อวานนี้ โครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพ dtac Accelerate Batch 4 จัดงานนำเสนอผลงาน (demo day) โดยมีทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 10 ทีมมานำเสนอ ผลการตัดสินคือ
Marcus และ Mitch Weller ผู้ก่อตั้ง Skully บริษัทสตาร์ทอัพทำหมวกกันน็อคอัจฉริยะ ซึ่งปิดตัวไปแล้วเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ถูกอดีตเจ้าหน้าที่บัญชีฟ้องร้อง ฐานนำเงินบริษัทไปใช้ส่วนตัว เช่น เที่ยวคลับเปลื้องผ้า เที่ยวต่างประเทศ
ตามคำฟ้องของ Isabelle Faithauer อดีตเจ้าหน้าที่บัญชี บอกว่าสองพี่น้อง Weller นำเงินในบัญชีของบริษัทไปใช้ส่วนตัว และเรียกร้องให้ Faithauer ปกปิดค่าใช้จ่ายที่แท้จริง ให้ทำเป็นว่าค่าใช้จ่ายนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ใช้จ่ายเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ตัวอย่างการใช้จ่ายที่ผิดกฎหมายของสองพี่น้องในคดีความนี้ได้แก่ เช่าอพาร์ทเมนท์ส่วนตัวในเขต Marina ใน San Francisco, มีการจ่ายเงิน 80,000 ดอลลาร์ ในการไปเที่ยวจีน, เช่ารถ Lamborghini ในทริปส่วนตัว, มีค่าใช้จ่ายในคลับเปลื้องผ้า 2,000 ดอลลาร์ เป็นต้น
ที่มา - Business Insider
เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา dtac ได้เชิญคุณ Fadi Bishara ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการก่อตั้งสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้ง BlackBox ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพของตัวเอง มาพูดคุยและแสดงทัศนะ ผมมีโอกาสได้ไปฟังพบว่ามุมมองของคุณ Fadi ต่อวงการสตาร์ทอัพไทยค่อนข้างน่าสนใจและอาจมีประโยชน์เลยนำมาฝากกันครับ
JB Straubel ผู้เสนอไอเดียให้ Tesla ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนกับรถยนต์ของบริษัท ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของ Tesla ได้ร่วมลงทุนในสตาร์ตอัพชื่อ Axiom Energy (อ่านว่า แอ็กเซี่ยม) ดำเนินธุรกิจผลิตแบตเตอรี่พลังน้ำเกลือที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2013 การลงทุนคราวนี้มีผู้ร่วมลงทุนหลายราย เช่นกลุ่มศิษย์เก่า MIT, Victory Capital และ JB Straubel ก็เป็นหนึ่งในนั้น รวมเงินได้มากถึง 2.5 ล้านดอลลาร์ (ราว 87 ล้านบาท)