แนวโน้มของสตาร์ตอัพที่น่าสนใจในช่วงหลัง เป็นสตาร์ตอัพกลุ่มที่เราเรียกกันว่า vertical นั่นคือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในอุตสาหกรรมของตัวเอง แล้วพยายามนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยโครงสร้างแบบเดิม
สตาร์ตอัพสัญชาติไทยที่ค่อนข้างโดดเด่นในเรื่องนี้คือ Vetside กับความพยายามนำเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาให้วงการสัตวแพทย์ อ่านถูกแล้วครับ สตารํตอัพด้านสัตวแพทย์
Skyscanner เว็บค้นหาตั๋วเครื่องบิน-โรงแรมจากสกอตแลนด์ (ที่มีธุรกิจในประเทศไทยด้วย) ระดมทุนเพิ่มอีก 128 ล้านปอนด์ เพื่อเตรียมขยายธุรกิจในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
Skyscanner ก่อตั้งในปี 2003 โดยเป็นเว็บแบบที่เรียกว่า online travel agency (OTA) แบบเดียวกับ Expedia หรือ Kayak ที่ผ่านมาบริษัทเคยได้เงินลงทุนจาก Sequoia และ SAP ส่วนการระดมทุนรอบล่าสุด ได้เงินจากกองทุนของรัฐบาลมาเลเซีย Khazanah Nasional Berhad และ Yahoo! Japan ทางบริษัทไม่เปิดเผยมูลค่าล่าสุดตามราคาหุ้น (valuation) แต่หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานข่าววงในว่าอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นบริษัทไอทีระดับ unicorn (มูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์) ไปอีกราย
Blognone เคยรายงานข่าวของกองทุน 500 TukTuks ซึ่งเป็นกองทุนลูกของ 500 Startups จากซิลิคอนวัลเลย์ ที่เน้นลงทุนสตาร์ตอัพในประเทศไทยไปแล้ว
สัปดาห์นี้ผมมีโอกาสได้คุยกับคุณ Dave McClure ผู้ก่อตั้ง 500 Startups ต้นฉบับจากสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ระหว่างการเดินทางเยี่ยมกองทุนต่างๆ รอบโลกพอดี เลยนำข้อมูลจากการพูดคุยมาฝากกันครับ ระดับบิ๊กบอสมาเองรับรองเจ๋งแน่นอน (นามบัตรของเขาใช้ชื่อตำแหน่งว่า Sith Lord)
ช่วงหลังเราเห็นพื้นที่ทำงาน co-working space ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนทำงานรุ่นใหม่ ในกรุงเทพตอนนี้น่าจะมีเกือบยี่สิบแห่งแล้ว และในหัวเมืองใหญ่ทั่วไทย เราก็เริ่มเห็นพื้นที่ลักษณะนี้เปิดบริการแล้วเช่นกัน
ผมมีโอกาสไปเยือน จ.ขอนแก่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้คุยกับ คุณอัจฉริยะ ดาโรจน์ และ คุณชาญณรงค์ บุริสตระกูล ผู้ก่อตั้ง Jump Space ซึ่งเป็น co-working space แห่งแรกของ จ.ขอนแก่น ได้มุมมอง แนวคิด และภาพสะท้อนอุตสาหกรรมไอทีในภาคอีสานมาเล่าให้ฟังกันครับ
กูเกิลเปิดโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพของตัวเองชื่อ Launchpad Accelerator รับสตาร์ตอัพจากประเทศกำลังพัฒนา 3 ประเทศคือ อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย เข้าบ่มเพาะเป็นเวลา 6 เดือน
สตาร์ตอัพที่ถูกคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จะได้ไปอบรมที่สำนักงานใหญ่ของกูเกิลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นกลับประเทศไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยมีพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือแบบทั้งทางไกลจากสหรัฐ และตัวแทนจากประเทศนั้นๆ สิทธิประโยชน์อื่นที่ได้รับคือเครดิตการใช้บริการคลาวด์ของกูเกิลฟรี และพื้นที่ co-working space
จุดสำคัญคือกูเกิลจะให้เงินทุนสนับสนุน (สูงสุด 50,000 ดอลลาร์หรือ 1.8 ล้านบาทต่อราย) โดยไม่เอาหุ้นด้วย
aCommerce สตาร์ทอัพแนวโลจิสติกส์สัญชาติไทยที่มีแผนจะขยายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่งได้เงินทุนก้อนใหม่จากบริษัทด้านการจัดจำหน่ายสินค้าและเวชภัณฑ์สัญชาติสวิสฯ DKSH แลกกับหุ้นส่วนจำนวน 20% โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการลงทุน
ก่อนหน้านี้ aCommerce เพิ่งได้ระดมทุนรอบแรกกว่า 10.7 ล้านเหรียญไปเมื่อกลางปี 2014 ก่อนจะเพิ่มทุนอีกครั้งเมื่อกลางปี 2015 อีก 5 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยการลงทุนด้านกลยุทธ์จาก DKSH ในครั้งนี้ที่ไม่เปิดเผยจำนวนเงิน คาดว่า aCommerce จะเลื่อนการระดมทุนรอบสองออกไปซักระยะ โดยประเมินว่าจะเป็นเม็ดเงินกว่า 30 ล้านเหรียญด้วยกัน
Jason Fried ผู้ก่อตั้งบริษัท Basecamp เว็บแอพสำหรับคุยและติดตามงาน (บริษัทนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของ Ruby on Rails) ออกมาโพสต์ว่ามูลค่าบริษัท (valuation) คือ 1 แสนล้านดอลลาร์ (3.6 ล้านล้านบาท) เรียบร้อยแล้ว เยอะกว่าบริษัทสตาร์ตอัพหน้าใหม่ทุกรายที่มาแรงในตอนนี้
ตามปกติแล้ว การตีมูลค่าของบริษัทจะคิดตามราคาหุ้นที่ขายได้ในรอบล่าสุด แล้วคูณด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซึ่งกรณีของ Basecamp ขายหุ้นสัดส่วน 0.000000001% ให้นักลงทุนในราคา 1 ดอลลาร์ เมื่อคูณกลับมาแล้ว มูลค่าของบริษัทจึงเป็น 1 แสนล้านดอลลาร์นั่นเอง
กองทุนสตาร์ตอัพ 500 TukTuks ที่มีแกนหลักคือคุณกระทิง พูนผล (Disrupt University) และคุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ (Ookbee) ประกาศเพิ่มวงเงินกองทุนจากเดิม 10 ล้านดอลลาร์ เป็น 12 ล้านดอลลาร์ (430 ล้านบาท) และตั้งเป้าลงทุนในสตาร์ตอัพไทย 60-70 รายในอีก 3 ปีข้างหน้า
500 TukTuks เปิดเผยว่าตอนนี้ลงทุนในบริษัทไทยแล้ว 10 บริษัท รายชื่อบริษัททั้งหมด ได้แก่
Claim Di (เคลมดิ) สตาร์ตอัพด้านประกันรถยนต์ของไทย ที่เคยชนะโครงการ dtac Accelerate Batch #2 ปีที่แล้ว ประกาศรับทุน Series A จำนวน 2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 71 ล้านบาท) ส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าเกิน 10 ล้านดอลลาร์แล้ว
ในโอกาสเดียวกัน Claim Di ยังขยายธุรกิจของบริษัทให้ครอบคลุมบริการเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ครบวงจร (แอพเดียวเรียกได้ทุกอย่างตั้งแต่ประกัน ยันการขอความช่วยเหลือบนถนน)
บทความนี้ลงใน Fortune มาหลายเดือนแล้ว แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับบรรดาสตาร์ตอัพทั้งหลาย เลยนำมาฝากกันครับ
บทความนี้พูดถึง Brian Chesky ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Airbnb ในประเด็นว่าเขาพัฒนา "ตัวเอง" อย่างไร จากการเป็นหนุ่มถังแตกแทบไม่มีค่าเช่าห้อง จนกลายมาเป็นซีอีโอของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ความท้าทายของเขาคือจะพัฒนาตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงของบริษัทได้อย่างไร ในเมื่อเขาเองก็ไม่เคยเป็นซีอีโอมาก่อนเลย (ปัจจุบันเขาอายุ 33 ปี)
เสร็จสิ้นกันไปแล้วกับ โครงการ dtac Accelerate Batch #3 ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงกลางปี โดยได้ผู้ชนะ 3 ทีมจาก 6 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย ซึ่งทั้ง 3 ทีมจะได้รับโอกาสไปเก็บประสบการณ์ทั้งที่นอร์เวย์และซิลิคอนวัลเลย์ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตต่อไป
ในโอกาสนี้เรามาย้อนดูผลงานของทีมที่เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 6 ทีม และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมแข่งขัน dtac Accelerate Batch #3
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์ Techsauce จัดงานสัมมนาด้านสตาร์ตอัพ Start it Up ซึ่งผมได้เข้าร่วมด้วย หัวข้อที่ได้เข้าฟังคือ Think like Silicon Valley and how to apply with Thai startups โดยมีวิทยากร 3 ท่านที่เคยมีประสบการณ์ในซิลิคอนวัลเลย์มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ดังนี้
ถัดจากประเด็นของบริษัท Theranos ก็มีประเด็นของบริษัทใหม่มาอีกแล้ว รอบนี้คือบริษัท uBeam ที่คุยว่ามีเทคโนโลยีชาร์จไฟไร้สายแบบระยะไกล ด้วยการส่งคลื่นอัลตร้าซาวด์ (ultrasound) รับเงินลงทุนมากมายแต่กลับไม่เคยมีใครเห็นตัวผลิตภัณฑ์ของจริงเลย
บริษัทสตาร์ตอัพที่ร้อนแรงที่สุดรายหนึ่งในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาคือ Theranos บริษัทด้านอุปกรณ์ตรวจเลือด ที่ก่อตั้งโดย Elizabeth Holmes ซีอีโอหญิง (ปัจจุบันอายุ 31 ปี แต่ก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2003 ตอนอายุ 19 ปี)
จุดเด่นของ Theranos คือผลิตภัณฑ์ด้านการตรวจเลือดแนวใหม่ที่ไม่ต้องเจาะเลือดแบบเดิม แต่ใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กที่เป็นสิทธิบัตรของบริษัท เก็บตัวอย่างเลือดเพียงไม่กี่หยด และได้ผลตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ถือเป็นการปฏิวัติวงการตรวจเลือดไปอย่างสิ้นเชิง โซลูชันของ Theranos อ้างว่าลดค่าใช้จ่ายด้านการตรวจเลือดลงได้มาก บริษัทเซ็นสัญญากับร้านขายยารายใหญ่อย่าง Walgreens และระบุว่ามีสัญญากับบริษัทยารายใหญ่ของโลกอย่าง Pfizer
Flipboard ผู้พัฒนาแอพอ่านข่าวสไตล์นิตยสารรายแรกๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2010 จนมีรายอื่นออกแอพคล้ายกันมาอย่างต่อเนื่อง และถูกคาดการณ์ว่าจะมีอนาคตอันสดใส ล่าสุดเริ่มไม่สู้ดีแล้วหลังจากธุรกิจเริ่มชะลอการเติบโต ประกอบการผู้บริหารทยอยลาออกอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปี 2013 ตอนที่ Edward Snowden ออกมาแฉมหกรรมแฮ็กระดับโลกของ NSA จนเป็นข่าวใหญ่ ผู้อำนวยการของ NSA ตอนนั้นคือนายพล Keith Alexander
แรงกดดันจากข่าว Snowden ส่งผลให้ Alexander ประกาศเกษียณอายุตัวเองในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน อย่างไรก็ตาม เขาแค่เกษียณอายุจาก NSA เท่านั้นแต่ยังทำงานอยู่ และงานใหม่ของเขาคือเปิดสตาร์ตอัพด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัยในชื่อ IronNet CyberSecurity
Blognone เคยเขียนถึง AdsOptimal สตาร์ตอัพคนไทยในซิลิคอนวัลเลย์ไปแล้วครั้งหนึ่ง บริษัทนี้ทำเครือข่ายโฆษณา (ad network) เน้นไปที่เว็บสำหรับอุปกรณ์พกพา (mobile web) เป็นหลัก
แต่ล่าสุดเมื่อโลกไอทีเริ่มขยับไปสนใจเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ดังที่เราเห็นจากข่าวของ Oculus Rift หรือ Google Cardboard ทางบริษัท AdsOptimal เองก็เดินหน้าพัฒนาระบบโฆษณาของตัวเองให้รองรับเทคโนโลยี VR เช่นกัน
dtac Accelerate โครงการผลักดันสตาร์ทอัพไทย และวงการสตาร์ทอัพไทย ได้ประกาศผู้ชนะประจำโครงการปีที่ 3 จำนวน 3 ทีม จาก 6 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
ทีมผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
NetApp เป็นบริษัทสตอเรจที่ก่อตั้งในปี 1992 สมัยที่โลกของอุปกรณ์เครือข่ายเพิ่งเริ่มต้น แนวคิดของบริษัทคือต้องการสร้างระบบสตอเรจที่ใช้ง่ายและราคาถูกกว่าเจ้าตลาดในสมัยนั้น
NetApp เติบโตจากสตาร์ตอัพที่มีผู้ก่อตั้งเพียง 3 คน เข้าตลาดหุ้นและกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับ Fortune 500 ในท้ายที่สุด ผมโชคดีที่ได้ฟังเรื่องราวของ NetApp จากปากของผู้ก่อตั้ง Dave Hitz ด้วยตัวเองในงาน NetApp Insight 2015
ความน่าสนใจอย่างยิ่งคือ Dave Hitz ยังทำงานกับ NetApp มาตลอดยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา โดยที่เขาและทีมผู้ก่อตั้งไม่เคยมีใครเป็น CEO เลยด้วยซ้ำ
หน่วยลงทุน InVent ในเครือ Intouch ประกาศเข้าลงทุนใน Golfdigg ผู้พัฒนาแอพจองสนามกอล์ฟผ่านสมาร์ทโฟน ถือเป็นบริษัทสตาร์ตอัพลำดับที่ 7 ที่ InVent เข้าไปลงทุน (บริษัทก่อนหน้านี้คือ Playbasis)
Golfdigg เป็นหนึ่งในผู้ชนะการแข่งขัน AIS The StartUp 2014 เมื่อปีที่แล้ว และได้รับการลงทุนจาก InVent ซึ่งอยู่ในเครือ Intouch เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ Golfdigg ยังทำโปรโมชั่นร่วมกับ Traveler SIM ของ AIS จับตลาดลูกค้าต่างชาติที่สนใจเข้ามาเล่นกอล์ฟในเมืองไทยด้วย
เหม่ยถวน (Meituan :美团) เว็บไซต์ขายดีลแบบเดียวกับ Grupon ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Alibaba และเตี่ยนผิง (Dianping : 大众点评·) แอพพลิเคชันรีวิวร้านอาหารที่มี Tencent เป็นผู้สนับสนุน ได้ประกาศควบรวมกิจการกันเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยที่บริษัทใหม่จะยังคงแบรนด์เดิมเอาไว้และบริหารงานแยกจากกัน ซึ่ง Tencent คาดการณ์ว่าการควบรวมกิจการคราวนี้จะทำให้บริษัทใหม่มีส่วนแบ่งในตลาดสูงถึง 80% กลายเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Online-to-Offline (O2O) ท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุดในจีน
เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมงานประกาศผล AIS The Startup 2015 ซึ่งก็ได้แชมป์เรียบร้อยคือทีม Flow Account ซอฟต์แวร์บัญชีออนไลน์
อย่างไรก็ตาม ในงานยังมีการออกบูตของสตาร์ตอัพอีกจำนวนมาก เลยเก็บบรรยากาศ + ข้อมูลเล็กน้อยมาฝากกันครับ ต้องออกตัวก่อนว่าบางบูตคนเยอะ อาจไม่ได้ไปดูหรือยืนฟัง ทำให้ไม่สามารถเก็บภาพมาได้ทั้งหมดนะครับ
งานประกวด AIS The StartUp 2015 เดินทางมาถึงรอบชนะเลิศ โดยมีทีมเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 10 ทีม และมาแข่งขันนำเสนอ (pitching) กันช่วงบ่ายวันนี้
ทีมที่ชนะใจกรรมการ คว้ารางวัลชนะเลิศคือทีม Flow Account ซอฟต์แวร์บัญชีออนไลน์สำหรับธุรกิจ SME ได้เงินรางวัลจาก AIS จำนวน 1 ล้านบาท และเงิน 2,000 ดอลลาร์จาก Samsung Asia
โครงการ dtac Accelerate ปี 2015 เชิญนักลงทุนชื่อดังระดับเอเชียมาเป็น mentor ให้ความรู้กับทีมสตาร์ตอัพที่ผ่านเข้ารอบ หนึ่งในนักลงทุนที่ทาง dtac เชิญมาคือ Jeffrey Paine ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทลงทุน Golden Gate Ventures ซึ่งเป็น venture capital (VC) จากประเทศสิงคโปร์
Golden Gate Ventures ก่อตั้งเมื่อปี 2012 ในสิงคโปร์ เน้นการลงทุนใน early state สตาร์ทอัพอย่าง Seed Round และ Series A ลงทุนไปแล้วกว่า 25 บริษัททั่วภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และมีแผนจะลงทุนเพิ่มในภูมิภาคนี้อีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐจากการระดมทุนรอบล่าสุด
ลองนึกภาพ จู่ๆ คุณก็อยากทำอาหาร อยากแสดงฝีมือเอาใจเจ้ากวางน้อยกับไม้แขวนเสื้อในมือ ทว่าขี้เกียจออกไปหาวัตถุดิบตามตลาดสด
ตอนนี้โลกเรามีอีคอมเมิร์ซแบบใหม่อย่าง Instacart เป็นระบบรับฝากซื้อของชำ (grocery) ไปส่งถึงบ้านภายในหนึ่งชั่วโมง แถมไม่สดมีคืนเงิน ที่บอกว่าเป็นระบบฝากซื้อเพราะโมเดลนี้ไม่มีสต๊อกของ แล้วเขาบริหารจัดการอย่างไร วันนี้ Blognone มีเรื่องราวของสตาร์ตอัพรายนี้มาฝากกัน