มีรายงานว่ากล้อง Cyber-Shot DSC-T5 ที่เลิกผลิตไปแล้วนั้น มีปัญหากับแผ่นโลหะที่เคลือบอยู่บนตัวกล้อง ทำให้ อาจจะหลุดลอก และบาดมือผู้ใช้งานได้ โดยมีกรณีที่เกิดขึ้นจริงแล้วกว่า 30 กรณี
กล้องรุ่นนี้มีการจำหน่ายในญี่ปุ่นไปแล้วประมาณ 66,000 ตัว ส่วนที่เหลือกระจายไปทั่วโลก
บ้านเราก็น่าจะมีกล้องรุ่นนี้ขาย ไม่รู้ว่าโซนี่ในประเทศไทยมีการรับคืนกันที่ไหนบ้าง?
ที่มา - PhysOrg
มีรายงานการวิจัยด้านสังคมชิ้นล่าสุดออกมาแสดงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างไอคิวและการมีเพศสัมพันธ์ ระบุว่าเด็กมัธยมปลายในสหรัฐจะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ลดลงตามไอคิวที่สูงขึ้นตามลำดับ
รายงานฉบับนี้ระบุว่าเด็กที่มีไอคิวอยู่ที่ระดับ 75-90 จะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์สูงที่สุด และค่อยๆ ลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับไอคิวที่มากขึ้น โดยเด็กที่มีไอคิวสูงถึง 120-130 นั้นจะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เพียงหนึ่งใน 1.5 ถึง 5 ของเด็กที่มีไอคิว 75-90 เท่านั้น
ปัญหาบั๊กหมายเลข 360493 ที่พบเมื่อปลายปีที่แล้วนั้นสร้างความตื่นตระหนกให้กับแฟนๆ Firefox พอสมควร ประเด็นอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือใน Firefox นั้นตัว Password Manager จะเติมรหัสผ่านให้เราเองทุกครั้งที่เราเข้าไปยังเว็บที่มี Password ในระบบ ประเด็นนี้สร้างความน่าวิตกให้กับความปลอดภัยพอสมควร
เมื่อวันก่อนทาง Yahoo! ได้เปิดตัวเครื่องมือใหม่ให้กับนักพัฒนาเว็บได้ใช้ในการตรวจสอบหาสาเหตุที่ทำให้เว็บทำงานช้าลงโดยไม่จำเป็นในชื่อว่า YSlow (เลียนแบบเสียง Why slow?) โดยซอฟต์แวร์ตัวนี้จะมาในรูปแบบของ ปลั๊กอินของ FireBug (ที่เป็นปลั๊กอินของ Mozilla อีกที) งานนี้ผมเลยเอามาทำมินิรีวิวให้ดูกันเผื่อใครจะสนใจติดตั้ง
โดยหลักๆ แล้วเครื่องมือตัวนี้จะใช้ในการตรวจสอบจุดบกพร่องในการสร้างเว็บไซต์เอาไว้ 13 ประการ เช่นการที่เว็บต้องการ HTTP Request จำนวนมาก แทนที่จะ Keep-Alive รอบเดียวจบได้ และที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือการติดตั้งเครื่องมือตัวนี้ทำให้ใช้งาน JSLint บนเว็บได้ง่ายมาก
ขณะที่ทางแคนนอนมีเลนส์ USM ใช้กันเป็นเรื่องปรกติ ทางฝั่งนิคอนนั้น เลนส์ Slient Wave ยังมีจำนวนไม่มากนัก และราคาค่อนข้างแพง งานนี้ทาง Simga ผู้ผลิตเลนส์อิสระที่มีเทคโนโลยี HSM (Hyper-Sonic Motor) อยู่ในมือจึงได้เวลาปล่อยเลนส์สองตัวที่ใช้เทคโนโลยีนี้มาให้กับผู้ใช้กล้องนิคอน
เลนส์สองตัวที่ว่าคือ 17-70mm F2.8-4.5 DC MACRO HSM และ 18-50mm F2.8 EX DC MACRO HSM โดยทั้งสองตัวประกอบด้วยชิ้นเลนส์ Special Low Dispersion (SLD) และ Aspherical ทั้งคู่ ส่วนตัว 18-50 นั้นยังใส่ เลนส์ ELD (Extraordinary Low Dispersion) เข้ามาด้วย
ยังไม่มีภาพตัวอย่างหรือราคาทางการจากเลนส์ทั้งสอง
หลังจากเปิดให้เหล่า Writer ได้ลงชื่อรับรองคุณ molecularck ไปก่อนหน้านี้แล้ว มติดังกล่าวก็ผ่านการรับรองจากเหล่า Writer ไปเป็นที่เรียบร้อย ตามรายชื่อผู้รับรองล่าสุดคือ sugree, pittaya, DrRider, keng, tr, elixer และ iannnnn
เนื่องในโอกาสนี้ก็ขอกล่าวต้อนรับคุณ molecularck ไว้ ณ ที่นี้ครับ
ลืมไป ที่ตรงนี้เจ้าตัวมีความรู้สึกอย่างไรช่วยมากล่าวไว้ด้วยครับ
หลังจากผมกับ mk ได้พูดคุยกันแล้ว เราสองคนขอเสนอชื่อคุณ molecularck ซึ่งมีผลงานข่าวต่อเนื่องให้กับชุมชน Blognone ในช่วงหลัง ได้ปรับขั้นเป็น Blognone's Writer ต่อไป
การเสนอครั้งนี้เป็นการขอความเห็นชอบจาก Blognone's Writer ทุกท่าน โดยการเสนอครั้งนี้จะผ่านเมื่อมี Writer จำนวนห้าคนมาลงชื่อให้ความเห็นชอบ (ไม่นับผมกับ mk)
สำหรับสมาชิกท่านอื่นๆ จะให้กำลังใจ เชียร์ หรือมีความเห็นอื่นๆ ก็มาเขียนไว้ได้ แต่ความเห็นนั้นจะไม่ถูกนับครับ
สำหรับผลงานข่าวของคุณ molecularck เข้าไปชมได้ที่ molecularck's blog
ปัญหาหลักที่เราเจอกันในการพัฒนาโปรแกรมบนเครื่องมัลติคอร์คือการเขียนโปรแกรมที่ยากลำบาก แถมเขียนไม่ดีจะช้ากว่าเขียนแบบปรกติเอาบ่อยๆ หลายๆ ค่ายจึงพยายามเสนอวิธีการเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้ความสามารถของซีพียูมัลติคอร์ได้ดี และยังง่ายต่อการเขียนโปรแกรมอยู่มาเป็นเวลานาน เช่น OpenMP หรือ Sieve C++ แต่ก็ยังไม่มีมาตรฐานใดได้รับการยอมรับกว้างขวางมากเท่าใดนัก
ช่วงหลักที่กระแสเรื่องภาวะโลกร้อนถูกจุดติดขึ้นมา เรามักจะเห็นโครงการพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมายเช่นฟาร์มกระแสลมที่ใช้กังหันขนาดใหญ่มาปั่นไฟ หรือพลังงานคลื่นทะแล ตลอดจนพลังงานจากเขื่อน
นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Jesse Ausubel จากมหาวิทยาลัย Rockefeller ได้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Nuclear Governance, Economy and Ecology ว่าการใช้พลังงานทดแทนเหล่านี้จะทำลายสิ่งแวดล้อมในที่สุดเนื่องจากการใช้พื้นที่จำนวนมหาศาล
โปรแกรมเมอร์หลายๆ คนคงรู้จักเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Singleton ที่ให้บางออปเจกต์มีเพียงชุดเดียวเสมอทั้งโปรแกรม (คล้ายๆ ตัวแปร Global) แม้จะมีข้อดีต่อความง่ายในการพัฒนาหลายๆ ด้าน การใช้ Singleton ก็มีอันตรายต่อการพัฒนาพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อโปรแกรมเมอร์ที่พัฒนาต่อยอดไม่รู้ว่ากำลังใช้งาน Singleton อยู่ ในประเด็นนี้ทางกูเกิลได้ออกโปรแกรม google-singleton-detector ที่ใช้ตรวจจับ Singleton ทั้งหมดในซอร์สโค้ดภาษาจาวา
ทางนักพัฒนาโปรแกรมนี้ได้ชี้แจงไว้ว่าการใช้งาน Singleton นั้นเหมาะสมกับหลายๆ กรณี แต่หลายๆ ครั้งแล้วมักมีการใช้งานที่ผิดพลาดทำให้เกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้ง โปรแกรมตัวนี้จึงไม่ใช่โปรแกรมเพื่อขจัด Singleton ออกมาซอฟต์แวร์ทั้งหมด แต่ช่วยชี้ให้เห็นว่าในส่วนใดบ้างที่มีการใช้งาน
หนึ่งในธุรกิจที่รอดจากฟองสบู่ดอตคอมในยุคแรกมาได้อย่าง Amazon.com ยังคงแสดงความแข็งแกร่งในโลกธุรกิจต่อไปเมื่อมีการประกาศผลกำไรไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่าไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วกว่าสามเท่าตัว
กำไรของ Amazon.com ในไตรมาสที่สองประจำปีนี้อยู่ที่ 78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 22 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ส่วนรายได้สุทธินั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จาก 2.14 พันล้านดอลลาร์เป็น 2.88 พันล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือยอดขายอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์นั้นเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 55 เป็น 970 ล้านดอลลาร์แล้ว
ทาง Amazon.com เชื่อว่าไตรมาสที่สามนี้ยอดขายน่าจะเกิน 3 พันล้านดอลลาร์ไปได้
ที่มา - PhysOrg
แม้ว่าสายไฟเบอร์ออปติกส์จะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ และมีข้อดีเหนือสายทองแดงหลายๆ อย่าง แต่ทุกวันนี้มันก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนักโดยเฉพาะในบ้านและสำนักงานขนาดเล็ก เนื่องจากค่าติดตั้งที่แพงมาก เพราะสายไฟเบอร์นั้นทนต่อความโค้งงอได้ไม่ดี ทำให้มันต้องการการติดตั้งอย่างระมัดระวังไม่ให้สายโค้งเกินมาตรฐาน และการเดินสายระยะทางไกลๆ ก็อาจจะต้องการรางเฉพาะเพื่อให้สายทำงานได้
หลังจากฝ่าฟันปัญหามายาวนาน ทางบริษัท Quanta ก็เริ่มเดินสายการผลิตเครื่อง OLPC อย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยยังไม่เปิดเผยชื่อประเทศกลุ่มแรกที่สั่งซื้อเครื่องชุดนี้แต่อย่างใด
ทางโครงการ OLPC เคยให้ข้อมูลไว้ว่าโครงการนี้จะเริ่มเดินสายการผลิตได้เมื่อมียอดซื้อเกินกว่าสามล้านเครื่องขึ้นไป ทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าตอนนี้มีหลายประเทศเริ่มโครงการนี้อย่างจริงจังหรือมีการสั่งซื้อจากประเทศไหนจำนวนมากถึงเพียงนี้ หรือทาง Quanta จะยอมผลิตโดยไม่ต้องรอยอดถึงที่เคยบอกไว้
ถึงตอนนี้ก็ค่อนข้างแน่แล้วว่าเครื่อง OLPC ชุดแรกจะเดินทางไปถึงประเทศที่สั่งซื้อภายในเดือนตุลาคมนี้
หลายๆ คนแถวๆ นี้อาจจะได้ยินชื่อของ MOO บริษัทรับพิพม์ภาพภ่ายในแบบเล็กๆ กันมาบ้างแล้ว สินค้าที่ได้รับความนิยมมากๆ ของบริษัทนี้คือ mini card ที่สามารถเลือกภาพจาก Flickr มาพิมพ์เป็นนามบัตรได้ทันที ตอนนี้บริษัทนี้อาจจะเป็นที่สนใจของสาวๆ ที่เล่น Flickr กันมากขึ้น ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่ StickerBooks ที่เป็นสติกเกอร์เล่มเล็กๆ จำนวน 90 ภาพ
ที่น่าสนใจคือบริษัทนี้คิดค่าส่งอัตราเดียวทั่วโลกมาตั้งแต่แรก และตอนนี้ในช่วงเปิดตัวสินค้าใหม่นี้ค่าส่งฟรี ดังนั้นถ้าใครมีรูปใน Flickr เยอะๆ อาจจะสนใจกัน
ที่มา - MOO
ตามหนังวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ (หรือเก่าๆ ก็ตาม) เรามักเห็นหุ่นยนต์แมลงตัวเล็กเป็นดารากันเป็นประจำ ความฝันเช่นนั้นกำลังจะกลายเป็นจริงขึ้นมาเมื่อนักวิทยาศาสร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ประกาศความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์แมลงวันที่สามารถบินได้จริง ในขนาดเพียง 3 เซนติเมตรเท่านั้น
ความยากในการสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็กนั้นคือการสร้างชิ้นส่วนเช่นฟันเฟืองต่างๆ ให้มีความแม่นยำเพียงพอต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นชิ้นส่วนเหล่านี้มักสร้างด้วยกระบวนการเดียวกับการสร้างไอซีในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาต่อชิ้นแพงมากจนไม่สามารถสร้างอุปกรณ์จำนวนมากเพื่อประกอบเป็นหุ่นยนต์ได้
กฏหมายใหม่เริ่มบังคับใช้ไปไม่ถึงสองวันทางไอซีทีก็ถูกลองของไปแล้ว ด้วยยกแรกกับการเปลี่ยนหน้าเว็บ โดยเว็บหลายเป็นรูปธงชาติไทย พร้อมรูปของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ด้านล่างกลายเป็นรูปพลเอกสนธิพร้อมทั้งถ้อยคำด่าทออีกจำนวนหนึ่ง
นายวิษณุ มีอยู่ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าทางไอซีทีกำลังเตรียมสอบสวนหาตัวผู้กระทำมาดำเนินการ โดยมีการประสานงานไปทางตำรวจและเจ้าหน้าที่แล้ว
หวังว่าเจ้าหน้าที่ของกระทรวงนี้จะอ่านเมลกันนะ
หลังจากปล่อยแฟนๆ รอกันมานานเกินคาด โดยที่หลายๆ คนโล่งใจว่าราคากล้องของตัวเองจะไม่ตกเร็วเกินไปมาได้พักใหญ่ๆ ดูเหมือนว่าแคนนอนกำลังจะเปิดตัว EOS 40D ในเร็วๆ นี้แล้ว เมื่อชื่อของมันถูกระบุจากทาง CIPA ว่าเป็นกล้องตัวล่าสุดของแคนนอนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PictBridge
รายการจากทาง CIPA เพิ่งได้รับการอัพเดตไปเมื่อวันก่อน และยังไม่มีการยืนยันว่ารายการนี้เป็นความผิดพลาดในการประสานงานที่ไม่รอการเปิดตัวกล้อง หรือเป็นการพิมพ์ผิด
หรือไม่ก็ไม่มีใครสนใจจะปกปิดการเปิดตัวสินค้าแบบแอปเปิล?
ช่วงนี้โฆษณาใน Blognone ผู้สนใจท่านใดอยากมีอะไรมาโฆษณาก็ลงโฆษณากับเราได้
สนใจติดต่อ lewcpe at gmail dot com
แม้ตลาดไอทีกำลังบูมอีกครั้งในสหรัฐด้วยกระแส Web 2.0 แต่ตอนนี้ดูเหมือนสื่อแบบเก่าๆ กำลังกระอักเลือดอย่างหนัก เมื่อบรรดาบล็อกทั้งหลายกำลังเข้ามาช่วงชิงพื้นที่โฆษณากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยในปีนี้นิตยสารเช่น Business 2.0 มียอดโฆษณาตกลงไปร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วน PC Magazine นั้นตกลงไปถึงร้อยละ 38.8
เว็บที่เริ่มเข้ามาแทนที่สื่อเดิมๆ อย่างหนักๆ ในช่วงหลังๆ ก็เป็นบล็อกที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆ เช่น TechCrunch, GigaOM เป็นต้น โดยตอนนี้สื่อที่โดยกระทบหนักๆ คือสื่อด้านไอทีเป็นหลัก แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ว่าสื่อด้านอื่นๆ จะโดนตามไปด้วย
Blognone ก็เปิดรับโฆษณานะครับ :P
ดูเหมือนว่าการเปิดโรงงานใหม่ของแคนนอนจะเป็นการตอบโต้การลงทุนของทางโซนี่ เมื่อนักข่าวของทาง DPReview ได้พบว่าก่อนหน้าที่ทางแคนนอนจะประกาศลงทุนโรงงานใหม่อยู่หลายวันทางโซนี่ได้ประกาศลงทุนในโรงงานแบบเดียวกันเป็นมูลค่าถึง 60,000 ล้านเยน โรงงานใหม่นี้จะตั้งอยู่ในศูนย์ของทางโซนี่ในเขต Kumamoto โดยกินพื้นที่กว้าง 5,000 ตารางเมตร (นับเฉพาะส่วนที่เป็น Clean Room) ทำหน้าที่ผลิตชิป CMOS เพื่อใช้ในงานโทรศัพท์ และกล้องดิจิตอล
การลงทุนกินช่วงเวลาสามปีตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2009 เพื่อเสริมกำลังผลิต CMOS ที่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยก่อนหน้านี้ทางโซนี่ได้รับโรงงานในศูนย์เดียวกันให้มาผลิต CMOS อย่างต่อเนื่องอยู่ก่อนแล้ว
สงสัยจะหมดยุคเถียงกันว่า CMOS กับ CCD ใครดีกว่ากันแล้วแฮะ
หลังจากครองตลาดส่วนใหญ่มาได้เป็นเวลานาน เดือนที่ผ่านมาส่วนแบ่งตลาดเสิร์ชของกูเกิลก็ต่ำกว่า ร้อยละ 50 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยตกจากร้อยละ 50.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 49.5 สวนทางกับไมโครซอฟท์ โดยไมโครซอฟท์โตขึ้นถึงร้อยละ 36 ไปอยู่ที่ร้อยละ 13.2
น่าสนใจว่าหลายสำนักวิเคราะห์การเติบโตแบบก้าวกระโดดของไมโครซอฟท์ไว้ว่ามาจากการเปิดตัว Live Search Club ที่มีการเล่นเกมเพื่อชิงรางวัล โดยเกมเหล่านั้นต้องใช้บริการ Live Search ร่วมด้วยเสมอๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีการสร้างบอทเพื่อเล่นเกมเหล่านี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทำให้บอทเข้าใช้บริการ Live Search อย่างหนักในช่วงเดือนที่ผ่านมา
ยังไม่มีการวิเคราะห์ว่าการเติบโตของ Live Search นี้มาจากบอทเป็นจำนวนเท่าใด
เนื่องจากระบบตรวจสอบพิกัดตอนนี้เกือบทั้งโลกต้องพึ่งพิงดาวเทียม GPS (Global Positioning System) ทำให้กลุ่มสหภาพยุโรปไม่มั่นใจในประเด็นของความมั่นคงเลยมีการสร้างระบบดาวเทียมของตัวเองขึ้นมาใช้งานในชื่อโครงการ Galileo
ปัญหาคือความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นจากสองโครงการนั้นไม่สร้างประโยชน์ให้เท่าที่ควรเนื่องจากทั้งสองระบบทำงานร่วมกันไม่ได้ ในประเด็นนี้จึงมีการเจรจากันระหว่างสองค่าย และได้ข้อตกลงที่ว่าดาวเทียมทั้งสองระบบ จะทำงานที่ย่านความถี่เดียวกัน
ข้อตกลงนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการที่ทั้งสองระบบทำงานที่ความถี่เดียวกัน จะทำให้เครื่องรับสามารถใช้เสาอากาศชุดเดียวกันรับข้อมูลจากดาวเทียมทั้งสองชุด เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการหาพิกัดได้
โลกโอเพนซอร์สในช่วงหลักเริ่มรุกคืบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี จะเห็นว่า Ubuntu ในรุ่น Gusty Gibbon เองก็มีรุ่น Mobile Edition มาให้เริ่มลองกันแล้ว นอกจากนี้ยังมีโทรศัพท์มือถือ และเครื่องแนว UMPC ตลอดจนเราท์เตอร์ทั้งหลายอีกเยอะ แต่เนื่องจากโครงการค่อนข้างกระจัดกระจาย อินเทลจึงอาศัยความได้เปรียบที่เป็นผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่ ออกมาเปิดตัวโครงการ Moblin ที่เน้นการสนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้ทำงานบนแพลตฟอร์มของอินเทลเองได้ดียิ่งๆ ขึ้น
โดยทั่วไปแล้วการเกิดขึ้นของโครงการนี้ก็ไม่มีอะไรน่าแปลกใจ เพราะอินเทลเองก็เป็นผู้ผลักดันรายใหญ่ของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจคือการทำมาตรฐานให้มีการเปิดกว้างเช่นนี้ ในอนาคตเราอาจจะสามารถซื้อมือถือมาลงโปรแกรมกันตามใจชอบก็ได้
หลายๆ คนที่ตามข่าวกล้องดิจิตอลมาเรื่อยๆ คงรู้กันว่าแคนนอนนั้นมีแนวทางการใช้งานเซ็นเซอร์ที่ต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เพราะแคนนอนนั้นใช้งานเซ็นเซอร์ในเทคโนโลยี CMOS เป็นหลัก ต่างจากเจ้าอื่นๆ ที่ใช้ CCD แทบทั้งหมด แต่การใช้งาน CMOS ในทุกวันนี้เองทางแคนนอนก็ยังใช้งานเฉพาะในกล้อง DSLR และกล้องคอมแพคระดับสูงเท่านั้น เนื่องจากกำลังผลิตมีจำกัด โดยกล้องรุ่นเล็กจะมีการสั่ง CCD จากผู้ขายรายอื่นๆ เช่น โซนี่ มาใช้ในการผลิตแทน
แต่หลังการเปิดตัวโรงงานแห่งใหม่ แคนนอนจะมีกำลังการผลิต CMOS ต่อปีเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากเดิมสามล้านชิ้นต่อปีกลายเป็น 6 ล้านชิ้นต่อปีโดยประมาณ ทำให้มีแนวโน้มว่าแคนนอนกำลังเตรียมตัวเปลี่ยนเซ็นเซอร์มาใช้งาน CMOS มากขึ้นเรื่อยๆ
อินเทลและโครงการ OLPC หาจุดร่วมมือกันได้ในที่สุดเพื่อสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ราคาถูกเพื่อเด็กนักเรียนหลังจากที่ต้องฝ่าฟันสงครามน้ำลายระหว่างสองโครงการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ไม่มีความแน่ชัดว่าความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด แต่ที่แน่ๆ คือทางอินเทลจะส่งคนเข้ามานั่งเป็นบอร์ดของทาง OLPC ด้วย โดยทางอินเทลระบุว่าโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ต้องการความร่วมมือมากกว่าการใช้นักพัฒนาเพียง 15 คนในโครงการ OLPC ในตอนนี้
ส่วนทางเอเอ็มดีซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของโครงการ OLPC มาช้านานได้กล่าวว่ายินดีที่ทางอินเทลจะเข้ามาร่วมมือกับทางโครงการ และความร่วมมือในเชิงบวกจะส่งผลดีต่อโอกาสของเด็กๆ ในโลก