หลังจากที่ Qualcomm เปิดตัวมินิพีซี Snapdragon Dev Kit for Windows เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้นักพัฒนานำเครื่องไปพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับ AI PC ที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 ล่าสุดทาง Qualcomm ได้ออกมาประกาศยกเลิก Snapdragon Dev Kit พร้อมยกเลิกการสนับสนุนอุปกรณ์ และคืนเงินให้ผู้ซื้อทุกรายการทั้งที่ไม่ได้รับเครื่องหรือได้รับเครื่อง โดยไม่จำเป็นต้องคืนสินค้า
Canonical ประกาศออก Ubuntu 24.10 Developer Preview หรือ Ubuntu 24.10 Concept สำหรับชิป Snapdragon X Elite เพื่อให้นักพัฒนาสามารถช่วยปรับปรุงการใช้งาน ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่จะมากับ Ubuntu บน arm64 ในอนาคต โดย Canonical ปล่อยไฟล์สำหรับติดตั้งบนโน๊ตบุ๊ค Snapdragon X Elite ให้นำไปลองติดตั้งได้
นอกจากนี้ Canonical ยังโชว์ภาพ Ubuntu 24.10 บน Lenovo Thinkpad T14s ที่สามารถทำงานกับ Ubuntu ได้อย่างดีที่สุดตอนนี้
ลินุกซ์เริ่มรองรับชิป Snapdragon X Elite ตั้งแต่ Linux 6.11 เป็นต้นมา ตามที่ Qualcomm เคยประกาศว่ากำลังทำให้ Snapdragon X Elite รองรับลินุกซ์ไว้
Qualcomm ออกประกาศบนบล็อก Developer ของตนว่ากำลังทำงานให้ชิป Snapdragon X Elite รองรับลินุกซ์
บริษัทเริ่มส่งแพตช์เข้าเคอร์เนลลินุกซ์ให้สนับสนุน Snapdragon X Elite ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 ซึ่งแพตช์เริ่มถูกรวมเข้ามาในเคอร์เนล 6.9 รองรับการทำงานพื้นฐาน และยังมีอีกหลายแพตช์ที่น่าจะถูกรวมเข้าเคอร์เนลในอนาคต
นอกจากนี้ Snapdragon X Elite ยังรองรับการบูต UEFI-based แบบมาตรฐาน ทำให้ Grub และ system-d รองรับการบูตบนชิป Snapdragon X Elite และทาง Qualcomm ยังได้ปล่อย Debian รุ่นทดสอบที่รองรับชิป Snapdragon X Elite อีกด้วย
หลังจากที่หน่วยงานด้านคุ้มครองข้อมูลของยุโรป European Data Protection Supervisor (EDPS) ประกาศสร้างโซเชียลของตัวเอง ชื่อ EU Voice และ EU Video เมื่อสองปีก่อน
ล่าสุดทาง EDPS ได้ออกมาประกาศปิดโซเชียลของตัวเองทั้ง EU Voice และ EU Video ในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ ด้วยเหตุผลว่าครบกำหนดเวลาของโครงการ 1 ปี และขยายเพิ่มอีก 1 ปี
ทาง EDPS ได้บอกว่าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อความเป็นส่วนตัวและเน้นผู้ใช้งานเป็นหลัก สำหรับ EU Voice มีบัญชีองค์กร 40 บัญชี รวมถึงคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปและสมาชิกรัฐสภายุโรป และ EU Video มีจำนวน 6 บัญชี
xAI บริษัท AI ของ Elon Musk ได้เปิดตัวโมเดล Grok-1.5 โดยเพิ่มความสามารถรองรับข้อความขนาดยาวสูงสุด 128,000 โทเคน
นอกจากนี้ ผลการวัดประสิทธิภาพบนชุดทดสอบ (benchmark) ของโมเดล Grok-1.5 เช่น MATH ทำได้ถึง 50.6% (4-shot) และ GSM8K ทำได้ 90% (8-shot) สามารถเอาชนะโมเดล Mistral Large ของบริษัท Mistral รวมถึงโมเดล Grok-1 ที่เพิ่งแจกจ่ายโมเดลออกไป แต่ยังคงแพ้ Claude 3 Opus กับ GPT-4 ในหลายชุดทดสอบ
ทาง xAI ยังประกาศว่าโมเดล Grok-1.5 จะเปิดให้ใช้งานผ่าน 𝕏 เร็ว ๆ นี้และเปิดรับสมัครพนักงานดูแลงาน Infra อีกด้วย
ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปในประเทศไทยเกิน 4% ได้เป็นครั้งแรก ตามข้อมูลสถิติจากเว็บ StatCounter ที่เป็นเว็บเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ
จากหัวข้อ "Desktop Operating System Market Share Thailand" ได้แสดงส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปในประเทศไทย พบว่า ลินุกซ์เดสท็อปสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากถึง 4.42% เมื่อเดือนธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งในประเทศไทยเกิน 4% ตั้งแต่เว็บ StatCounter ได้บันทึกสถิตินี้มาเมื่อมกราคม 2009 จนถึงปัจจุบัน
SCB 10X เปิดตัว Typhoon-7b เป็นโมเดลสร้างข้อความ หรือ LLM ภาษาไทยที่เอาชนะโมเดลทุกตัวในภาษาไทยตอนนี้ และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ GPT-3.5 ในภาษาไทย
การวัดผลประสิทธิภาพของโมเดลในภาษาไทย ทาง SCB 10X ได้พัฒนาชุดทดสอบวัดผลประสิทธิภาพโมเดล LLM ภาษาไทยชื่อ ThaiExam โดยวัดด้วยข้อสอบสำหรับเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายและข้อมูลด้านการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในประเทศไทย พบว่าประสิทธิภาพโมเดล Typhoon-7b เหนือกว่าทุกโมเดลที่ปล่อยฟรีในภาษาไทยและมีคะแนนเทียบเท่ากับ GPT-3.5
เมื่อวานนี้ทาง FreeBSD ได้ปล่อย FreeBSD 14.0 รุ่นเสถียรอย่างเป็นทางการตัวแรกของรุ่น 14 โดยรุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญดังนี้
ใครที่ใช้งาน FreeBSD อยู่สามารถปรับรุ่นได้แล้ววันนี้
ที่มา: FreeBSD 14.0-RELEASE Announcement - FreeBSD และ Phoronix
กูเกิลได้ลงประกาศเลิกวางจำหน่ายสินค้ายี่ห้อ Fitbit ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ประกาศครั้งนี้จะมีผลกระทบเฉพาะการวางจำหน่วยสินค้ากับบริการต่ออายุ Fitbit Premium อัตโนมัติโดยให้สมัครต่ออายุใหม่หลังจากหมดการต่ออายุ ส่วนประกัน บริการหลังการขายยังคงมีอยู่ต่อไป
ประเทศที่กูเกิลประกาศหยุดวางจำหน่าย Fitbit ใน EU มีดังนี้ โครเอเชีย, ประเทศเช็กเกีย, เอสโตเนีย, ฮังการี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย และ สโลวะเกีย
ส่วนประเทศ/เขตปกครองในเอเชียที่หยุดวางจำหน่าย Fitbit มีดังนี้ ประเทศไทย, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และฟิลิปปินส์
TII (หรือ Technology Innovation Institute) เป็นสถาบันเทคโนโลยีของอาบูดาบี ได้เปิดตัวโมเดล Falcon ที่ขนาด 180 พันล้านพารามิเตอร์ ในชื่อ Falcon 180B ที่ถูกฝึกบนชุดข้อมูลกว่า 3.5 ล้านล้านโทเคน (จำนวนหน่วยย่อยของคำในทางงานประมวลผลภาษาธรรมชาติ) บนการ์ดจอ 4,096 ตัว ด้วยเวลาประมาณ 7,000,000 ชั่วโมงของการ์ดจอ หลังจากที่เคยเปิดตัว Falcon 40B มาก่อนโดน Llama 2 แซงในเวลาต่อมาด้วยขนาด 70 พันล้านพารามิเตอร์ที่ใหญ่กว่า
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ร่วมมือกับ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) เปิดตัวระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ dg.th เพื่อให้การแชร์ลิงก์ ของหน่วยงานภาครัฐไทยได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยระบบจะมีการป้องกันการทำลิงก์ที่ไม่เหมาะสม ด้วยการเพิ่มการกรองคำที่ไม่เหมาะสม หากใช้งานคำดังกล่าวจะต้องได้อนุมัติจากผู้ดูแลหน่วยงานนั้น
สำหรับบริการย่อลิงก์หน่วยงานรัฐในต่างประเทศก่อนหน้านี้ มีบริการย่อลิงก์ 1.usa.gov ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการในลักษณะคล้ายกัน
หากหน่วยงานรัฐไทยหน่วยงานใดสนใจ สามารถติดต่อ DGA ได้ตามรายละเอียดการติดต่อในเว็บไซต์ dg.th
สำนักข่าว WebProNews ได้รายงานว่า ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 3% ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยอ้างอิงจากข้อมูล Statcounter ที่รายงานส่วนแบ่งตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปทั่วโลก เดือนมิถุนายนปีนี้ ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง 3.07% ได้เป็นครั้งแรกในตลอดช่วงเวลากว่า 30 ปีของลินุกซ์
จากสถิติของเดือนมิถุนายน อันดับแรก คือ Windows ครอง 68.23% อันดับสอง MacOS ครอง 21.32% อันดับสาม Chrome OS ครอง 4.13% และอันดับสี่ลินุกซ์ครอง 3.07%
Debian ได้ออกรุ่นใหม่ของเคอร์เนล GNU Hurd แบบไม่เป็นทางการ ชื่อ Debian GNU/Hurd 2023 ตามหลังจาก Debian ตัวหลักที่ออกเวอร์ชั่น 12 ในชื่อ Bookworm
โดยเคอร์เนล GNU Hurd ซึ่งเป็นหนึ่งในเคอร์เนลระบบปฏิบัติการที่ Debian รองรับการพอร์ต โดยเปลี่ยน Debian ที่เป็นดิสโทรเคอร์เนลลินุกซ์ให้เป็นเคอร์เนล Hurd
ปัจจุบัน Debian GNU/Hurd 2023 ยังคงรองรับเฉพาะ i386 และสามารถสร้างแพ็คเกจได้ประมาณ 65% ของ Debian ส่วนการรองรับ APIC, SMP และ 64 บิตยังคงอยู่ในช่วงปรับปรุง
ใครสนใจสามารถทดลองโหลดไปเล่นได้ตามลิงก์นี้
วันนี้ทาง PyThaiNLP กับสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย AIReserach.in.th ได้เปิดตัวโมเดล WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) โมเดลแชทแบบ ChatGPT รองรับทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเวียดนาม, และภาษาอื่น ๆ ออกสู่สาธารณะ โดยเปิดซอร์สโค้ดทั้งหมด ชุดข้อมูล และโมเดล ให้สามารถนำไปใช้งานต่อได้แบบฟรี ๆ รวมถึงเทรนต่อได้ โดยโค้ดเป็น Apache License 2.0 ส่วนโมเดลใช้ CC BY-SA 4.0
หลังจากที่กระแส ChatGPT ได้สร้างปรากฏการณ์ในวงการคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ทั้ง Bing นำมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบค้นหา, Google เปิดตัว Bard ที่ใช้ LaMBDA มาเพื่อแข่งกับ Bing และอื่น ๆ แต่ผู้ใช้งาน ChatGPT คงเจอปัญหาเวลาใช้งาน ChatGPT กับภาษาไทยแล้วทำงานช้ามาก เพราะ ChatGPT ไม่ได้ฝึกฝนด้วยชุดข้อมูลภาษาไทย นอกจากนั้น ChatGPT ยังเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ OpenAI และไม่ได้เป็น Open Source (ไม่เปิดเผยชุดข้อมูลที่ใช้ฝึกสอน-ไม่เปิดเผย Source Code)
วันนี้ Common Voice ของ Mozilla ซึ่งเป็นโครงการรับบริจาคเสียงเพื่อทำชุดข้อมูลเสียงสาธารณะสำหรับระบบรู้จำเสียง ได้เปิดรับบริจาคเสียงภาษาลาวแล้ว โดยภาษาลาวเป็นภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท (Kra–Dai languages) ภาษาที่สองถัดจากภาษาไทยใน Common Voice
คนไทย/คนลาว ที่สามารถอ่านข้อความอักษรลาวได้ สามารถเข้าไปร่วมบริจาคได้ครับ โดยเข้าไปที่ https://commonvoice.mozilla.org/lo
สำหรับวิธีการบริจาคเสียงง่าย ๆ เพียงแค่กดปุ่มไมโครโฟน จะเห็นข้อความให้อ่าน ให้กดอัด แล้วพูดตามข้อความกำหนด แล้วกดหยุด หากประโยคที่ได้มาไม่ถูกใจสามารถกดข้ามได้ เสร็จแล้วกด ส่ง ได้
หลังจากทาง Innersloth ผู้พัฒนาเกม Among Us ซึ่งเคยเป็นเกมยอดนิยมในช่วงสถานการณ์โควิดเมื่อสองปีก่อน ได้ประกาศเตรียมเพิ่มโหมดเล่นซ่อนหาไปเมื่อปีก่อน มาวันนี้ Innersloth ได้เปิดตัวโหมดเล่นซ่อนหา พร้อมเล่นตั้งแต่ 9 ธันวาคม
สำหรับโหมดเล่นซ่อนหา "Hide n Seek mode" โดยให้ Imposter หา Crewmate ซึ่งต้องทำภารกิจพร้อมซ่อนตัวไม่ให้ถูกจับได้แล้วถูกฆ่าโดย Imposter ตามเวลาที่กำหนด
เล่นได้ฟรีทุกแพลตฟอร์ม ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมเป็นต้นไป
หลังจากที่ภาษาไทย เราได้ช่วยกันผลักดันให้โครงการ Common Voice ของ Mozilla เปิดรับบริจาคเสียงภาษาไทยได้เป็นที่สำเร็จเมื่อ 1 ปีก่อน มาวันนี้ขอเชิญชวนคนไทย/คนลาวที่อ่านหรือพิมพ์ภาษาลาวได้ มาช่วยกันผลักดันให้ Common Voice เปิดรับบริจาคเสียงภาษาลาวกัน
หลังจากที่ PINE64 ได้เปิดตัว PineNote เครื่องอ่านอีบุ๊คจอ e-ink ที่โฆษณาว่าลงลินุกซ์ได้ไปเมื่อปีก่อน มาวันนี้ ผมได้สั่งซื้อ PineNote มาเพื่อลองใช้งานกับพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เลยถือโอกาสหยิบมารีวิวกันครับ
วันนี้ 24 กันยายน ค.ศ.2022 ทางทีมพัฒนา PyThaiNLP ได้ปล่อยแพ็กเกจประมวลผลภาษาไทย PyThaiNLP รุ่น 3.1 บนภาษาไพธอนอย่างเป็นทางการ
สำหรับ PyThaiNLP 3.1 สรุปการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
- เพิ่ม Dependency Parsing สำหรับวิเคราะห์โครงสร้างทางภาษาไทย
- เพิ่มการทับศัพท์ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และอื่น ๆ ให้กลายเป็นภาษาไทย ผ่านแพ็กเกจ wunsen
- เพิ่มแบบจำลองการสรุปข้อความ mt5 สำหรับภาษาไทยตัวใหม่
- เพิ่ม Thai-NNER (Thai Nested Named Entity Recognition) หรือตัววิเคราะห์นิพจน์หลายชั้น โดยสามารถวิเคราะห์ข้อความภาษาไทยได้ละเอียดกว่า Named Entity Recognition ตรงที่สามารถวิเคราะห์นิพจน์ย่อยได้
เมื่อเวลาประมาณ 00:21 น. ที่ผ่านมา มีรายงานจากผู้ใช้งานเครือข่าย TrueMove H ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตบนเครือข่าย 4G/5G ได้ ทำให้ #ทรูล่ม ขึ้นอันดับที่สองของทวิตเตอร์ไทย โดยในขณะนี้ ณ เวลาที่เขียนข่าว (01:25 น.) ยังไม่มีประกาศชี้แจงจากทาง TrueMove H ออกมา
ที่มา: ค้นพบด้วยตัวเอง
PayPal ประเทศไทยประกาศเตรียมเปิดบริการ (อีกครั้ง) โดยให้ผู้ใช้งานเดิมของ PayPal ในไทย โอนย้ายบัญชีมาไทย พร้อมยืนยันตัวตนด้วยแพลตฟอร์ม National Digital ID (NDID) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม และจะทำการโอนย้ายบัญชี ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปีนี้ เป็นต้นไป
หลังจากที่ผมเขียนมาร่วมกันบริจาคเสียงพูดภาษาไทยด้วย Mozilla Common Voice ลง Blognone ครบ 1 ปี บทความนี้ผมจะมาเขียนบทความว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อได้รับเสียงภาษาไทยบริจาคจำนวนมากถึง 300 กว่าชั่วโมง แต่ก็ยังคงต้องการรับบริจาคเสียงกับตรวจเสียงเพิ่มเติม
หลังจากที่ทาง Mozilla ปล่อยชุดข้อมูล Common Voice รุ่นที่ 7 ออกมา ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ได้เทรนโมเดล Automatic Speech Recognition ภาษาไทยโดยวัดประสิทธิภาพจาก Common Voice ที่แบ่งใหม่พบว่า มีความแม่นยำทัดเทียมกูเกิลแล้ว ซึ่งถือเป็นโมเดล Automatic Speech Recognition ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพมากตัวหนึ่ง
หลังจากที่ LINE ได้ออกแอปพลิเคชัน LINE บน AppGallery เมื่อสองปีก่อน
ล่าสุด LINE ได้ออกประกาศว่า ตั้งแต่ วันที่ 7 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน LINE บน Huawei Mobile Services จะไม่สามารถดาวน์โหลดและอัปเดตแอปฯ LINE และแอปฯ ในเครือบน Huawei AppGallery ได้อีกต่อไป โดยให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนไปดาวน์โหลดไฟล์ APK จากเว็บไซต์ LINE แทน แต่บางฟังก์ชันจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น การแจ้งเตือน (Push Notification)
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Mozilla ผู้พัฒนา Firefox ได้ประกาศผ่านบล็อกว่า กำลังทำงานร่วมมือกับ Meta เพื่อเสนอตัวชี้วัดระบุที่มาของโฆษณาที่ชื่อว่า Interoperable Private Attribution หรือ IPA เพื่อติดตามและวัดอัตราความสำเร็จของการยิงโฆษณาออนไลน์โดยที่ยังเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
IPA มีเป้าหมายให้ผู้ลงโฆษณาสามารถระบุที่มาของโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่สามารถติดตามหรือกำหนดโปรไฟล์ผู้ใช้งานได้
หลังจากที่ทาง Mozilla ออกประกาศมา ได้เกิดกระแสแง่ลบออกมาจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีคนพบว่าประกาศดังกล่าวไม่ได้ประกาศในทวิตเตอร์ของ Mozilla เหมือนกับประกาศอื่น ๆ ที่ผ่านมา