ในขณะที่แฝดคนละฝาอย่าง LibreOffice เดินหน้าไปได้ดี มีนักพัฒนา-บริษัทร่วมวงสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ต้นฉบับอย่าง OpenOffice ที่
งานนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง 9to5Mac กับ นาย Steven Troughton-Smith นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวไอร์แลนด์ พยายามที่จะทำการจุดธูปเชิญคุณ Siri มาเข้าประทับยัง iPhone 4 โดยตอนนี้สามารถนำฟีเจอร์ต่างๆ มาได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง (แต่ในวีดีโอไม่ได้แสดงการสั่งงานด้วยเสียงไว้)
สิ่งที่น่าสงสัยก็คือผลจากการพอร์ต Siri สามารถทำงานบน iPhone 4 ได้แบบไม่มีปัญหาเรื่องสมรรถนะของเครื่องเลยแม้แต่น้อย เหลือเพียงเรื่องการติดต่อกับ Server บริการของ Apple เอง แต่ในเมื่อเรื่องของฮาร์ดแวร์ไม่เป็นปัญหาแล้ว ทำไม Apple จึงเลือกที่จะไม่ใส่ Siri ลงใน iPhone 4?
วีดีโอหลังเบรคครับ
แม้ว่า Siri จะถือว่าเป็นจุดขายที่สำคัญของ iPhone 4S ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าผู้ใช้งาน iPhone 4S นอกสหรัฐฯ จะไม่สามารถใช้งานมันได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้ที่อยู่นอกสหรัฐฯ ต้องการสอบถามข้อมูลทุกชนิดที่เกี่ยวกับสถานที่
หากผู้ใช้ที่อยู่ในประเทศแคนนาดาต้องการถามว่า "ผมอยู่ที่ไหน" (Where am I?) Siri จะตอบตรง ๆ เลยว่า "ฉันไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลแผนที่และเส้นเดินทางในประเทศแคนนาดาได้" ปัญหาในลักษณะนี้ผู้ใช้ในสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ก็พบกับปัญหาเดียวกัน
Cnet ได้รายงานถึงบทวิเคราะห์จาก Ashok Kumar นักวิจัยตลาดของ Rodman & Renshaw ว่าไอโฟนรุ่นต่อไป คือโปรเจคที่สตีฟ จ็อบส์ ได้มีส่วนร่วมมากที่สุด ตั้งแต่ขั้นตอนการวางคอนเซ็ป ไปจนถึงดีไซน์ขั้นสุดท้าย
ในบทวิเคราะห์นี้ Kumar ได้บอกว่าไอโฟนรุ่นต่อไปที่ว่านี้จะมีตัวเครื่องที่บางกว่าเดิม และหน้าจอที่ใหญ่กว่าเดิม แม้ว่าขนาดของตัวเครื่องจะไม่แตกต่างไปจาก iPhone 4S มากนักก็ตาม (หนึ่งในสิ่งที่แย่ที่สุดของ iPhone 4S คือหน้าจอที่เล็กกว่าเครื่องรุ่นอื่น ๆ ในตลาด) โดยไอโฟนตัวต่อไปน่าจะมีพร้อมกับ LTE
โมโตโรล่าได้เปิดหน้าเว็บนับถอยหลังไปสู่วันที่ไปตรงเข้ากับวันประกาศ Ice Cream Sandwich ของกูเกิลและซัมซุงพอดี โดยได้เขียนคำโฆษณาไว้ว่า "Faster. Thinner. Smarter. Stronger."
ทางเว็บ Engadget ไม่แน่ใจว่าโมโตโรล่า จะเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตที่จะประกาศเปิดตัวโทรศัพท์มือถือที่ใช้งาน Ice Cream Sandwich ด้วยไปพร้อม ๆ หรือเปล่า โดยมือถือที่ว่านี้อาจจะเป็น Motorola Spyder ที่มีกระแสข่าวออกมาระยะหนึ่งแล้วก็ได้
กดเข้ามาอ่านต่อ มีวีดีโอทีซเซอร์ให้ชมครับ
ที่มา - Engadget
แม้ว่าแอปเปิลได้บอกไว้แล้วว่า iPhone 4S รุ่นที่วางขายแบบไม่ติดสัญญาและไม่มีการล็อคกับเครือข่ายใดในสหรัฐจะวางขายในช่วงเดือนพฤศจิกายนก็ตาม แต่เว็บ 9to5Mac ได้รายงานว่าร้าน Apple Store บางแห่งในสหรัฐก็ได้เริ่มจำหน่ายไอโฟนรุ่นดังกล่าวแล้ว
iPhone 4S รุ่นปลดล็อคมีวางจำหน่ายอยู่ที่ 649 ดอลลาร์ (ประมาณ 19,500 บาท) สำหรับรุ่น 16GB, 749 ดอลลาร์ (ประมาณ 22,500 บาท) สำหรับรุ่น 32GB และ 829 ดอลลาร์ (ประมาณ 25,000 บาท) สำหรับรุ่น 64GB
นั่นแปลว่าสาวกเครื่องหิ้ว อาจจะได้เห็น iPhone 4S วางขายตามห้างร้านต่าง ๆ ในอีกไม่นานนี้อย่างแน่นอนครับ
ที่มา - 9to5Mac
ไมโครซอฟท์ได้ออกมาเล่าเบื้องหลังการปรับปรุง Task Manager บน Windows 8 ซึ่งก็เป็นหนึ่งในการปรับปรุงที่สำคัญที่สุดอีกสิ่งหนึ่ง
Task Manager เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ตัวหนึ่งที่มากับระบบปฏิบัติการ Task Manager ปรากฏโฉมใน Windows 3.x เป็นครั้งแรก โดยแต่เดิมนั่นมีวตถุประสงค์เพื่อใช้สลับหรือปิด (end task) โปรแกรมที่เปิดอยู่ได้ และนับตั้งแต่นั่นเรื่อยมา Task Manager ก็ได้รับการปรับปรุงและเพิ่มเติมฟังก์ชันเรื่อยมาจนถึง Windows รุ่นปัจจุบัน แต่สิ่งหนึ่งที่แทบไม่เคยเปลี่ยนไปเลยคือหน้าตาของ Task Manager นั่นเอง
ไมโครซอฟท์ก็ต้องการปรับปรุง Task Manager เช่นกัน เลยได้สำรวจผู้ใช้งานว่าใช้ทำอะไรบ้าง ไมโครซอฟท์จะได้ปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องต่อไป
ดร. Joel Yang แห่ง Institute of Materials Research and Engineering (IMRE) ของประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับนักวิจัยของ institute of Singapore’s Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) และ National University of Singapore (NUS) รายงานความสำเร็จในการเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ด้วย NaCl (หรือสูตรเคมีของเกลือแกงนั่นเอง)
Sony Ericsson รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2011 มีกำไรสุทธิเป็นศูนย์ หรือไม่กำไรไม่ขาดทุน ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่ขาดทุนถึง 50 ล้านยูโร แต่ก็แย่กว่าไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้วที่มีกำไร 49 ล้านยูโร ทั้งนี้ยอดขายรวมอยู่ที่ 1,586 ล้านยูโร คิดเป็นจำนวนโทรศัพท์ที่ขายได้ 9.5 ล้านเครื่อง
ตัวเลขที่ออกมาดีมากคือราคาขายเฉลี่ยต่อเครื่องที่สูงถึง 166 ยูโรต่อเครื่อง ทั้งนี้เป็นผลจากสมาร์ทโฟนรุ่น Xperia ที่คิดเป็นยอดขายถึง 80% ของยอดขายรวมทั้งหมดในไตรมาสนี้ โดย Xperia นั้นมียอดส่งมอบไปแล้วถึง 22 ล้านเครื่องนับตั้งแต่เปิดตัว นอกจากนี้ Sony Ericsson ประเมินว่าตนเองมีส่วนแบ่งยอดขายถึง 11% ในกลุ่มสมาร์ทโฟน Android
มีรายงานว่าขณะนี้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ของผู้ผลิตหลักทั้ง 4 รายอย่าง Western Digital, Seagate, Hitachi และ Toshiba กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทย หลายโรงงานต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ส่วนโรงงานที่ยังผลิตได้ก็ประสบปัญหาการตัดกระแสไฟฟ้าและเส้นทางขนส่งที่ตัดขาด ตลอดจนโรงงานซัพพลายเออร์ก็ล้วนหยุดสายการผลิตเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ทุกรายต่างพยายามสต็อกสินค้าคงคลังไว้ให้มากที่สุด เนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีเป็นช่วงที่มียอดขายสูงสุด
ความเคลื่อนไหวของซอฟต์แวร์บนเดสก์ท็อปดูจะเงียบๆ ลงไปในช่วงหลัง เนื่องจากซอฟต์แวร์บนเว็บและมือถือมาแรงกว่ามาก
ซอฟต์แวร์สำนักงานอย่าง LibreOffice หลังจากเคลียร์ปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของโครงการได้ (โดยแยกตัวออกมาจากออราเคิลเพื่อตั้ง The Document Foundation ดูแลกันเอง) วันนี้ที่งาน LibreOffice Conference ทางมูลนิธิ The Document Foundation ก็ประกาศแผนงานสำหรับอนาคตของ LibreOffice แล้ว
LibreOffice ประกาศออกเวอร์ชันใหม่อีก 2 อย่าง คือ รุ่นที่เป็นเว็บแอพ (ซึ่งสร้างด้วยเทคโนโลยี GTK+ และ HTML5 Canvas) และรุ่นแท็บเล็ต Android/iPad ซึ่งจะใช้วิธีพอร์ต LibreOffice ไปรันบนแท็บเล็ตก่อน จากนั้นจะพอร์ตไปยังอุปกรณ์ที่เล็กกว่าแท็บเล็ตต่อไป
ChatON แพลตฟอร์มการส่งข้อความแบบกลุ่มของซัมซุง ที่ลงใน bada 2.0 เป็นระบบปฏิบัติการแรก ก้าวเข้าสู่โลกของ Android แล้ว
ซีอีโอ Michael Dell ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวที่งาน Dell World 2011 บอกว่าบริษัทของเขากำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Windows 8 ร่วมกับไมโครซอฟท์อย่างใกล้ชิด และเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ Windows 8 ที่หลากหลายจาก Dell อย่างแน่นอน
เขาพูดถึง Android ว่าเป็นโอกาสอีกทางหนึ่งของบริษัท แต่ตลาดกลับไม่ตอบรับอย่างที่คาด เขาพูดถึงความล้มเหลวของ Dell Streak ว่าบริษัทจะไม่สนใจผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่ง แต่จะสนใจเรื่องโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้ามากกว่า
เขายังพูดถึงธุรกิจพีซีของ Dell ว่ายังเป็นยุทธศาสตร์หลักของบริษัท โดยบอกว่าตอนนี้ในโลกของเรามีพีซีจำนวน 1.5 พันล้านเครื่อง และตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 2 พันล้านภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แสดงให้เห็นว่าพีซียังมีความสำคัญอยู่มาก
กูเกิลมีบริการที่เกี่ยวข้องกับเพลงคือ Google Music ซึ่งเป็นบริการที่ "ฝากไฟล์เพลง" ไว้บนกลุ่มเมฆของกูเกิล แต่ไม่มีการ "ขายเพลง" แบบเดียวกับ iTunes หรือ Amazon MP3 ซึ่งทำให้บริการไม่สมบูรณ์เท่าไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
แต่ล่าสุดมีรายงานว่า กูเกิลกำลังเจรจากับค่ายเพลงต่างๆ เพื่อขายเพลง MP3 ผ่านอินเทอร์เน็ตเช่นกัน โดยน่าจะเปิดตัวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
สถานการณ์ของกูเกิลในแนวรบด้านเพลงออนไลน์ยังไม่ค่อยดีนัก เพราะ Google Music เปิดมาได้ 5 เดือนแต่ก็ยังจุดไม่ติดเท่าที่ควร แถมคู่แข่งอย่างแอปเปิลก็กำลังจะเปิดบริการ iTunes Match ในเร็วๆ นี้ (ส่วน Amazon มีครบทั้ง MP3 Store และ Cloud Drive)
หลังจากมีข่าวคดีความกันมานาน ศาลออสเตรเลียก็อนุมัติคำขอของแอปเปิล สั่งห้ามซัมซุงขาย Galaxy Tab 10.1 จนกว่าคดีจะสิ้นสุด (ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน)
ตัวแทนของซัมซุงแสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินของศาล แต่ก็บอกว่าจะเดินหน้าตามกระบวนการกฎหมายต่อไป และมั่นใจว่าซัมซุงจะชนะคดีสิทธิบัตรอีกคดี ที่ซัมซุงฟ้องแอปเปิลกลับในออสเตรเลีย
นักวิเคราะห์ในออสเตรเลียประเมินว่า การที่แอปเปิลชนะศึกเล็กๆ ในรอบนี้ ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ Android ในออสเตรเลียไม่น้อย เพราะซัมซุงถือเป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาด Android นั่นเอง
ที่มา - ZDNet
จุดแข็งที่สำคัญของ Google+ คือการเชื่อมมันเข้ากับบริการสารพัดชนิดที่กูเกิลมีอยู่ และการ "ขายพ่วง" รอบล่าสุดคือ YouTube กับ Google+
การแชร์วิดีโอจาก YouTube มาสู่ Google+ สามารถทำได้นานแล้ว (รวมถึงการดูวิดีโอด้วยกันใน Hangouts) แต่รอบนี้กูเกิลเปิดให้ผู้ใช้ดึงวิดีโอที่เพื่อนๆ แชร์ใน Google+ ไปแสดงบนหน้าแรกของ YouTube ได้เช่นกัน โดยจะต้องเข้าไปตั้งค่าใน YouTube Settings และเชื่อมบัญชีของ YouTube กับ Google+ เข้าด้วยกันครับ
ที่มา - +Nirav Metha, ReadWriteWeb
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่อไปเรื่อยๆ ล่าสุดได้ Quanta ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จากไต้หวันมาร่วมวงอีกหนึ่งราย
Quanta เป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ODM) รายใหญ่ของโลก (ควบคู่ไปกับ Foxconn) มีผลงานอย่าง BlackBerry PlayBook และ Kindle Fire
สัญญาที่ไมโครซอฟท์เซ็นกับ Quanta ในครั้งนี้จะคุ้มครองสินค้าของ Quanta ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ Chrome OS ส่วนรายละเอียดว่ามีสิทธิบัตรอะไรบ้าง และมูลค่าของสัญญาเป็นเท่าไร พวกนี้ไม่เปิดเผยครับ
กูเกิลยังคงประกาศปิดบริการเพิ่มเติมครับ ตามที่เคยบอกไว้ว่าเพื่อให้บริษัททุ่มความสำคัญไปที่ผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ประกาศปิด Google Labs,
หลังจากเวลาผ่านไปเนิ่นนานตั้งแต่การประกาศเข้าซื้อสไกป์อย่างเป็นทางการจากไมโครซอฟท์ ในที่สุดสไกป์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์เรียบร้อยแล้ว
นับตั้งแต่ที่ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อสไกป์มาเรื่องนี้ก็เงียบไปจนหลาย ๆ คน (รวมถึงผมด้วย) เข้าใจว่ามันจบไปแล้ว แม้แต่ข่าวใน Blognone เองก็ไม่มีเรื่องนี้เลย กลับมีแต่ข่าวของสไกป์ร่วมกับ iPad, Facebook, Android และ PS Vita จนเมื่อเดือนที่แล้วผมถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วถึงรู้ว่ามันยังไม่เรียบร้อย เมื่อเรื่องทั้งหมดเรียบร้อยก็มีการประกาศอย่างเป็นทางการบนหน้าหลักของสไกป์และคำชี้แจงของ Tony Bates ซึ่งเป็น CEO ของสไกป์
ข่าวนี้ดูจะเก่าไปหน่อย แต่ก็ยังพอมีประโยชน์กับผู้ที่อยากลองเล่น Windows 8 บนเครื่องแมคนะครับ
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Parallels Desktop 7 ได้รับการอัพเดตล่าสุดเป็นเวอร์ชัน v7.0.14924 โดยเวอร์ชันนี้ได้เพิ่มการสนับสนุน Windows Developer Preview (หรือที่เราเรียกกันว่า Windows 8) นอกจากนั้นอัพเดตดังกล่าวยังได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรม อาทิ การใช้ซีพียูอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อ Parallels Desktop อยู่ในสภาวะ idle และปรับปรุงในด้านความเข้ากันได้กับ Quicken 2011, Autodesk 3DS Max 2012 อีกด้วย ใครที่ใช้อยู่สามารถอัพเดตผ่านโปรแกรมได้เลยครับ
ที่มา: Electronista
จากที่มีข่าวว่า Hulu บริการทีวีผ่านเน็ตที่สื่อใหญ่ในสหรัฐหลายเจ้าลงขันกันทำ ต้องการขายกิจการให้กับเจ้าของรายใหม่ และมีข่าวลือออกมามากมายว่ามีคนสนใจซื้อหลายราย (ทั้งกูเกิล ไมโครซอฟท์ ยาฮู แอปเปิล มากันครบ - ข่าวเก่าหมวด Hulu)
ข่าวต่อจาก ระบบเซิร์ฟเวอร์ BlackBerry ในยุโรปล่มติดกันสามวัน สหรัฐเริ่มโดนด้วย สรุปสถานการณ์ล่าสุดคือระบบกลับคืนมาหมดแล้ว แต่ระยะเวลาที่ล่มก็รวมทั้ง
คนแถวนี้คงรู้จักบริการย่อลิงก์ยอดนิยมอย่าง bitly (เปลี่ยนชื่อจาก bit.ly แล้วนะครับ) ซึ่งตอนนี้เปิดบริการที่น่าสนใจคือ search engine
แต่ระบบค้นหาของ bitly ต่างไปจากระบบค้นหาแบบดั้งเดิมอย่างกูเกิล เพราะ bitly จะไม่มี spider/crawler ไล่สแกนหน้าเว็บ แต่จะใช้ฐานข้อมูล URL จำนวนมหาศาลที่ถูกส่งเข้ามาสร้างลิงก์ย่อ (มากถึงวันละ 80 ล้านลิงก์!) ผลก็คือ bitly จะแสดงลิงก์ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนั้นได้ดีกว่า (ซึ่งบางลิงก์บางเพจ อาจจะใหม่จนยังไม่มี PageRank ด้วยซ้ำ) ส่วนการจัดอันดับความสำคัญของลิงก์ bitly ก็ดูจากอัตราการคลิกลิงก์นั่นเอง
ตอนนี้ระบบค้นหาของ bitly ยังอยู่ในขั้นเบต้า และอนาคตจะเปิดให้บริการในฐานะ bitly Enterprise
iFixit ได้ทำการแกะเครื่อง iPhone 4S ออกมาอย่างที่เคยทำมากับไอโฟนทุกรุ่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ต่างจาก iPhone 4 ที่ออกเมื่อปีที่แล้วมากนัก โดยส่วนที่น่าสนใจมีดังนี้
เว็บ 9to5Mac ได้เข้าไปพบกับคลิปวีดีโอ YouTube ชิ้นหนึ่งที่มีคนญี่ปุ่นได้พยายามที่จะทดสอบ Siri ด้วยการถามคำถามด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงญี่ปุ่น โดยจากในวีดีโอเราจะเห็นได้เลยว่า Siri มีปัญหาในการตีความคำถามที่ถามไปทุกครั้ง
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าสำเนียงคนญี่ปุ่นที่ทำการทดสอบนี้ ค่อนข้างที่จะแรง(มาก) และผมเชื่อว่าสำเนียงภาษาอังกฤษแบบคนไทย ที่จะออกเสียงตัวอักษรต่าง ๆ ชัดเจนกว่า อาจจะสามารถใช้งาน Siri ได้มากกว่าคนญี่ปุ่นคนนี้แน่นอน
ในคลิป มีจุดตลกนิดนึงด้วย เมื่อผู้ทดลองชาวญี่ปุ่นรายนี้พยายามที่จะพูดว่า "read texts" แต่ Siri กลับได้ยินว่า "read dick" … กดอ่านต่อเข้ามาดูคลิปได้เลยครับ