มีพนักงานของอะโดบีตอบคำถามในฟอรั่มของบริษัท ใจความดังนี้
ที่มา: อะโดบี ผ่าน Ars Technica
หลังจากที่ Opera ได้ปล่อย Opera 10.50 Beta for Mac มาให้ได้ทดสอบกัน ซึ่งมีจุดเด่นๆ ดังนี้
ตอนนี้ทาง Computerworld ได้ทำการทดสอบ quick JavaScript benchmarks พบว่า Opera 10.50 Beta for Mac สามารถประมวลผลได้เร็วกว่า Safari 4 ที่ราวๆ 10% (ส่วน Nightly Build ช้ากว่าเป็นเท่าตัว) และยังเร็วกว่า Chrome อีกด้วย (ดูภาพประกอบการทดสอบได้จากที่มา)
อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างความเร็วนี้อาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนัก
บริษัท AdMob ซึ่งเป็นผู้นำด้านโฆษณาในโปรแกรมบนมือถือ (ปัจจุบันเป็นของกูเกิลไปแล้ว) เปิดเผยสถิติที่เก็บได้จากโปรแกรมที่ลงโฆษณา
สถิติบอกว่าคนใช้ iPod touch โหลดโปรแกรมมากที่สุด เฉลี่ย 12.1 ตัวต่อเดือน ตามมาด้วย iPhone ซึ่งเฉือน Android เล็กน้อย และ Palm webOS ตามลำดับ
สัดส่วนของโปรแกรมจ่ายเงินกับโปรแกรมฟรีก็เป็นไปตามที่คาด คือยังไม่เยอะมาก อย่างในกรณีของ iPod touch มีคนเสียเงินโปรแกรมเพียง 1.6 ตัวต่อเดือนเท่านั้น (จากทั้งหมด 12.1 ตัว) ตัวเลขอื่นๆ ดูได้จากกราฟครับ
ที่มา - AdMob
โฆษกของไมโครซอฟท์ตอบคำถามบางประการเกี่ยวกับ Windows Phone Starter Edition
แปลว่าตอนนี้ไมโครซอฟท์มีระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือถึง 3 ตัว คือ Windows Phone 7, Windows Phone Classic และ Windows Phone Starter? - ZDNet
เมื่อปี 2008 กูเกิลได้เปิด Gmail Labs สำหรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Gmail ที่ให้ผู้ใช้ทดสอบก่อนว่าเวิร์คแค่ไหน ถ้าโอเคแล้วค่อยนำไปใส่ใน Gmail จริงๆ ที่ผ่านมากูเกิลก็ทยอยเพิ่มฟีเจอร์เข้ามาใน Gmail Labs มากมาย เช่น แปลจดหมายด้วย Google Translate, ค้นกูเกิลจากหน้า Gmail, Undo Send
ฟีเจอร์ที่คนใช้กันแพร่หลายบางตัว ก็ถูกเพิ่มเข้ามาใน Gmail สายหลักบ้าง เช่น Tasks ล่าสุดกูเกิลคัดเข้ามาเพิ่มอีกทีเดียว 6 อย่างพร้อมกัน
ผมคิดว่าผู้อ่าน Blognone มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแอพพลิเคชันบนมือถือเป็นอย่างดี แอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนนี่คงไม่ต้องพูดถึง (เพราะเราโหมข่าวกันอยู่ทุกวัน: P) แต่จริงๆ แล้ว แอพพลิเคชันบนมือถือนั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยของ feature phone โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเกม Java ME ทั้งหลาย ผมเชื่อว่าสมัยก่อนมีหลายๆ คนซื้อมือถือเพราะมันรัน Java ME ได้แล้วมันรู้สึกดี (ทั้งๆ ที่จริงๆ ก็ไม่ค่อยได้ใช้กันเท่าไร) อย่างน้อยผมก็คนนึงละ
เรื่องมีอยู่ว่า Thibault Imbert กับ Michael Chaize ได้ทดสอบการเล่น Flash Player 10.1 บน Nexus One (วิดีโอสาธิตอยู่ที่ Vimeo) ซึ่งพบว่าแบตเตอรี่ลดลงอย่างรวดเร็ว อยู่ได้เพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น เรื่องนี้ถูกขยายผลโดย John Gruber บล็อกเกอร์สายแมคชื่อดัง และเว็บแมคชื่อ Macgasm ตั้งข้อสังเกตว่า Flash บนมือถือจะไปได้จริงๆ งั้นหรือ
ตลาด e-Book อาจเป็นของยอดฮิตประจำปีนี้ เพราะนินเทนโดประกาศว่า Nintendo DSi XL (ชื่อในญี่ปุ่นคือ DSi LL) ซึ่งจะขายในสหรัฐเดือนมีนาคมนี้ จะสามารถอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย
นินเทนโดจะขาย "หนังสือคลาสสิก" จำนวน 100 เรื่องในวันที่ 14 มิถุนายน โดยตั้งราคาที่ 19.99 ดอลลาร์ต่อทั้งชุด ตอนนี้ยังไม่มีรายชื่อหนังสือทั้ง 100 เรื่อง แต่ตามข่าวบอกว่ามีทั้งหนังสือของ Shakespeare และ Mark Twain ผู้อ่านสามารถปรับขนาดตัวอักษรได้ตามต้องการ
นินเทนโดบอกว่าไม่ได้ตั้งใจจะลุยตลาด e-Book เท่าไรนัก แต่มันช่วยให้การเล่น DSi นั้นสนุกมากขึ้น
หนังสือพิมพ์ Daily Telegraph รายงานว่าคณะกรรมการของ EU ได้รับการร้องเรียนจากเว็บไซต์ในยุโรป 3 ราย ได้แก่ Foundem จากอังกฤษ, Ciao จากฝรั่งเศส (ซึ่งเป็นของไมโครซอฟท์) และ ejustice.fr จากฝรั่งเศส ว่ากูเกิลได้ใช้กลเม็ดเอาเว็บเหล่านี้ออกจากผลการค้นหาของตัวเอง เนื่องจากว่าเว็บเหล่านี้ให้บริการสืบค้นเช่นเดียวกับกูเกิล
ภายหลังกูเกิลได้เอาเว็บเหล่านี้กลับมาคืนในผลการค้นหา ซึ่ง Foundem ระบุว่ามีทราฟฟิกเพิ่มขึ้นทันทีถึง 10,000% หลังกลับมาในผลค้นหาแล้ว
กูเกิลปฏิเสธว่าผลการค้นหามาจากอัลกอริทึมของกูเกิลเอง อย่างไรก็ตามคณะกรรมการของ EU ได้ส่งจดหมายไปยังกูเกิลให้ตอบคำถามทางเทคนิคบางอย่างแล้ว
Ryan King วิศวกรของ Twitter ให้สัมภาษณ์กับบล็อก MyNoSQL ว่า Twitter มีแผนจะเปลี่ยนจากฐานข้อมูล MySQL ไปใช้ Apache Casandra ในเร็วๆ นี้ ด้วยเหตุผลเรื่องการขยายตัวของข้อมูล
ตอนนี้ Twitter ใช้คลัสเตอร์ MySQL ที่ใช้ memcache เข้าช่วย แต่พบว่าต้องใช้คนดูแลรักษามาก แถมอัตราการส่งข้อมูลยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดขึ้นมาที่ 50 ล้านครั้งต่อวันแล้ว (ข่าวเก่า Twitter มีผู้ส่งข้อความกว่า 600 ครั้งต่อวินาที) เราอาจบอกได้ว่า Twitter โตขึ้นมาถึงระดับที่ relational database เริ่มรับไม่ไหว
เมื่อไม่นานมานี้ Opera เพิ่งจะปล่อย Opera 10.50 Beta มาให้ลองใช้กัน วันนี้ Opera ยังคงฟิตไม่เลิก ได้ปล่อย Opera 10.50 Beta 2 มาให้ทดสอบกันแล้วครับ
ใน Beta 2 สิ่งที่เปลี่ยนไปเด่นๆ มีดังนี้
AMD ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์แบบใช้พลังงานต่ำเพื่อใช้ต่อกรกับอินเทลบ้างแล้ว โดยแพลตฟอร์มนี้มีชื่อว่า Adelaide มีรายละเอียดสำคัญๆ ดังนี้
เบราว์เซอร์หลักแต่ละตัวในตลาดตอนนี้ ต่างก็มี Developer Tools เป็นของตัวเอง ซึ่ง Opera ก็มี Developer Tools ของตัวเองเช่นกัน ในชื่อว่า Dragonfly
ไม่กี่วันก่อน Opera ได้ออกมาประกาศโอเพนซอร์สให้กับ Dragonfly เป็นที่เรียบร้อย โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ BSD ผู้ที่สนใจสามารถใช้ Mercurial เชื่อมต่อเข้าไปยัง Opera Dragonfly STP-1 repository ได้ทันที ส่วนเอกสารประกอบสามารถหาอ่านได้ใน Wiki
ที่มา : Opera Dragonfly
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของกูเกิลถูกตั้งข้อหาในอิตาลี (ข่าวเก่า) ศาลในกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ได้ตัดสินว่าจำเลยสามคนมีความผิดฐานละเมิดสิทธิส่วนบุคคล มีโทษรอลงอาญาหกเดือน แต่ไม่ต้องรับผิดข้อหาหมิ่นประมาท ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นศาลยกฟ้อง
คดีนี้ เกิดขึ้นจากการที่มีวิดีโอถูกนำขึ้นไปยังเว็บไซต์กูเกิลวิดีโอในปี 2006 โดยแสดงภาพของเด็กนักเรียนซึ่งเป็นดาวน์ซินโดรมถูกรังแก โดยแสดงอยู่เป็นเวลาประมาณสองเดือนก่อนถูกนำออก วิดีโอดังกล่าวติดอยู่ในลิสต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดด้วย เหตุการณ์ในวิดีโอเกิดขึ้นในเมืองตูริน ประเทศอิตาลี เยาวชนที่มีส่วนรวมในการทำร้ายถูกพิจารณาคดีในศาลเยาวชน
ในรายงานจาก Juniper Research (ฉบับเดียวกับข่าว Mobile Cloud) มีอีกประเด็นที่น่าสนใจคือแอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์นั้กำลังทำให้เกิดแอพลิเคชั่นแบบอิงกับตำแหน่งของผู้ใช้มากขึ้น จนตลาดรวมน่าจะมีมูลค่าถึง 12.7 พันล้านดอลลาร์หรือกว่าสี่แสนล้านบาท
จุดแข็งของแอพลิเคชั่นแบบอิงกับตำแหน่งนั้นคือการโฆษณาที่ทำได้ตรงเป้าหมายกว่ารูปแบบอื่นมาก เช่นทุกวันนีที่มี SMS ส่งมาถึงเราเมื่อเราเข้าไปยังงานอีเวนต์สักงาน แต่หากมีแอพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมสูงๆ ก็เป็นไปได้ที่จะยิงโฆษณาตามตำแหน่งของผู้รับโดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเหมือนเช่นการส่ง SMS ทุกวันนี้ ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือการขายแอพลิเคชั่นใหม่ๆ
เมื่อกลางปีที่แล้ว YouTube ออกข้อความเตือนผู้ใช้ IE6 ให้อัพเกรด แต่นั่นเป็นแค่การเตือน ในที่สุด YouTube จะหยุดการสนับสนุน IE6 อย่างสิ้นเชิง ในวันที่ 13 มีนาคมนี้
ถ้าเข้า YouTube ด้วย IE6 หลังวันที่ 13 มีนาคม ส่วนของวิดีโอจะถูกบังด้วยคำเตือนจาก YouTube ให้อัพเกรดเบราว์เซอร์ ซึ่งผู้ชมสามารถกดลิงก์ continue เพื่อรับชมวิดีโอได้ปกติ แต่ฟีเจอร์ของ YouTube ต่อจากนี้จะไม่ทำมาเพื่อ IE6 อีกแล้ว (ภาพประกอบตามข่าว)
เบราว์เซอร์ที่ YouTube แนะนำได้แก่ Chrome (ไม่ระบุเวอร์ชัน), Opera 10, IE8, Safari 4 และ Firefox 3.6
รายงานการวิจัยจาก Juniper Research บอกว่าตลาด mobile cloud computing (แอพพลิเคชันบนมือถือที่เชื่อมต่อกับกลุ่มเมฆ เช่น Gmail บนมือถือ) จะเติบโตถึง 88% ระหว่างปี 2009-2014 โดยปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ แต่จะขึ้นไปสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.1 แสนล้านบาท)
ปัจจัยหนุนที่สำคัญได้แก่
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าไมโครซอฟท์จะควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ใช้แบรนด์ Windows Phone 7 Series เข้มงวดกว่าเดิมมาก ชนิดว่าถ้าฮาร์ดแวร์ไม่ถึงขั้นก็ไม่มีสิทธิ์ใช้ แต่ในตอนนี้กลับยังไม่มีรายละเอียดของสเปกฮาร์ดแวร์ออกมามากนัก
แต่พนักงานของไมโครซอฟท์ที่ออสเตรเลียสองคนคือ Michael Kordahi กับ Andrew Coates ได้หลุดเรื่องนี้ออกมาในรายการ Podcast ชื่อ “Frankly Speaking” ว่า Windows Phone 7 จะมีสเปกฮาร์ดแวร์ทั้งหมด 3 แบบ (ต้นฉบับใช้คำว่า chassis)
ต่อจาก N900 ผมก็ได้รับคำเชิญจากโนเกียประเทศไทย (อีกแล้ว) ไปร่วมงาน Showcase Nokia 2010 ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของโนเกียในภูมิภาคอาเซียน และปีนี้วนมาจัดที่เมืองไทยพอดี
สถานที่จัดงานอลังการมากครับ เป็นโกดังริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตกแต่งสำหรับงานนี้เป็นพิเศษ และการเดินทางต้องนั่งเรือไป!
นายมาซาฮิโระ อิโนอุเอะ ประธานบริษัทยาฮูเจแปน เปิดใจกับนิตยสาร Nikkei Business เมื่อ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีใจความส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงว่า เขาไม่คิดว่าบริการของกูเกิลนั้น "เจ๋ง" (ต้นฉบับใช้ "สุโก้ย") ถ้าไม่มีกฎหมาย ก็ทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง สิ่งที่จะทำได้โดยอยู่ในกฎนั้นมีจำกัด บริการของกูเกิลที่คนคิดว่าเจ๋ง ก็มักเป็นพวกที่อยู่ในเกรย์โซน โดยเขาให้ความเห็นแยกตามบริการว่า
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทั่วโลกรวมถึงชาวไทยสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Microsoft Security Essentials ชุดป้องกันมัลแวร์ตัวใหม่ที่เป็นภาษาท้องถิ่นได้แล้ว
ใครที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ หากหน้าเว็บภาษาอังกฤษ ให้คลิกปุ่ม Download Now แล้วเลือก Locale or Language เป็น Thai ตามลำดับ
ที่มา: Notebook SPEC
มีงานสำรวจล่าสุดจาก RBC/ChangeWave พบกว่า 13% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความตั้งใจที่จะซื้อ iPad ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับการสำรวจเดียวกันนี้กับ iPhone เมื่อปี 2007 ที่มีเพียง 9%
เหตุผลหนึ่งที่สำคัญน่าจะเป็นเรื่องของราคาที่เริ่มต้นเพียงแค่ $499 เนื่องจากเมื่อปี 2007 มีถึง 28% ที่ระบุว่าจะไม่ซื้อเพราะ iPhone แพงเกินไป ในขณะที่มีเพียง 8% เท่านั้นสำหรับ iPad นอกจากนี้แล้ว 19% ระบุว่าสนใจจะซื้อรุ่น 16GB Wi-Fi ($499) ในขณะที่อีก 19% ระบุว่าจะซื้อรุ่น 64GB 3G ($829)
การสำรวจนี้ยังพบว่าการที่ไม่มีกล้อง Flash และมัลติทาสก์ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และคนส่วนใหญ่ตั้งใจที่จะใช้ iPad แทนเน็ตบุ๊กมากกว่าการเป็นเครื่องอ่านอีบุ๊ก โดยมี 68% ตั้งใจจะใช้เล่นเน็ต 44% เช็คอีเมล และ 37% ใช้อ่านอีบุ๊ก
มีคนไปสังเกตเห็นว่าเลอโนโวได้อัพเดทสเปกเครื่อง ThinkPad x100e โดยสเปกที่เพิ่มขึ้นมาและน่าจะให้เลือกตอนสั่งประกอบเองได้มีดังนี้
ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะวางขายเมื่อไร และราคาเท่าไรครับ
ที่มา: เลอโนโว ผ่าน Electronista
หลังจากที่อินเทลพยายามผลักดันแพลตฟอร์ม x86 ของตัวเองลงมาสู่ตลาดคอมพิวเตอร์พกพา รวมถึงการประกาศจะเข้ามาลุยกับ ARM ในตลาดโทรศัพท์มือถือในปี 2011 กับชิป Medfield (ข่าวเก่า) คราวนี้ถึงคิวของ ARM โต้กลับบ้างแล้วครับ โดย ARM ได้เปิดเผยรายละเอียดซีพียูยุคหน้าของตัวเองซึ่งมีรหัสพัฒนาว่า Eagle โดยเจ้าตัว Eagle นี้ยังคงเป็นซีพียูในตระกูล Cortex A ที่ใช้กันแพร่หลายในตลาดโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กในปัจจุบัน ซึ่งรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
รายงานจากบล็อกของ Twitter เกี่ยวกับสถิติการใช้งานในช่วงสามปีที่ผ่านมานั้นพบว่ายอดการ Tweet (ส่งข้อความ) นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 5,000 ครั้งต่อวันในปี 2007 มาเป็น 300,000 ครั้งต่อวันในปี 2008 และ 2.5 ล้านครั้งต่อวันในปี 2009 และล่าสุดในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นมีถึง 50 ล้านครั้งต่อวันเลยทีเดียว เมื่อคำนวณแล้วก็จะออกมาอยู่ที่ประมาณ 600 ครั้งต่อวินาที
สถิติการใช้งานนี้อ้างว่าไม่ได้นับรวม Tweet ที่มาจากบัญชีผู้ใช้ที่หมายหัวว่าเป็นสแปม แต่ไม่ได้บอกว่านับอย่างไรอย่างแน่ชัด คาดว่าอาจรวมทั้งทวีตที่ถูกส่งโดยอัตโนมัติจากบริการต่างๆ และการ Retweet (ส่งข้อความซ้ำกระจายข่าว) ไว้ด้วยครับ