Dirk de Kok เจ้าของเว็บ Mobtest (เว็บเกี่ยวกับการทดสอบแอพบนมือถือ) ได้โพสต์เกี่ยวกับการทำงานของแอพ Facebook บนอุปกรณ์ iOS ว่าอะไรทำให้แอพตัวนี้ค่อนข้าง ”แย่” โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องของความเร็วและการโหลดเนื้อหา
จะว่าไปแอพตัวนี้มีเรทติ้งเฉลี่ยเพียงแค่ 2 ดาวจาก 5 ดาวเท่านั้น (ใน iTunes ของอเมริกา) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแอพ social network ตัวนี้ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีนักกับผู้ใช้ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ
กูเกิลมีแพลตฟอร์มโฆษณาอยู่หลายตัว ทั้งที่ทำเองอย่าง AdWords/AdSense และที่ไปซื้อมาอย่าง DoubleClick (2007) หรือ AdMob (2009)
จากที่คาดกันมานาน ในที่สุด Facebook ก็เปิดหน้าร้านรวมแอพบนแพลตฟอร์มของตัวเองในชื่อ Facebook App Center เป็นที่เรียบร้อย
รูปแบบการใช้งานคงไม่ต่างอะไรจากร้านขายแอพอื่นๆ มากนัก เพียงแต่แอพที่จะแสดงบน Facebook App Center จะคัดเลือกเฉพาะแอพคุณภาพโดยวัดจากสถิติการใช้งานเป็นหลัก มีระบบแนะนำตามรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้
Last.fm บริการฟังเพลงออนไลน์+เก็บสถิติการฟังเพลง ระบุว่ามีโอกาสโดนเจาะและรหัสผ่านของผู้ใช้ถูกนำไปเผยแพร่ โดยตอนนี้กำลังสืบสวนอยู่ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ แต่เบื้องต้นก็ขอให้ผู้ใช้ทุกคนเปลี่ยนรหัสผ่านของตัวเอง รวมถึงเปลี่ยนรหัสผ่านอันเดียวกันที่ใช้กับเว็บไซต์อื่นๆ ด้วย
ย้ำอีกรอบว่า Last.fm ยังไม่ยืนยันว่าโดนเจาะแน่หรือไม่ แต่เพื่อความปลอดภัยก็เปลี่ยนรหัสผ่านกันก่อนครับ
ที่มา - Last.fm, The Next Web
Dell เปิดตัว-อัพเกรดโน้ตบุ๊กตระกูล Inspiron รับซีพียู Ivy Bridge ดังนี้
ข่าว ARM กำลังจะบุกตลาดโน้ตบุ๊กอาจจะตั้งคำถามให้หลายๆ คนว่าแล้วเมื่อใหร่จะมีสินค้าขายจริงๆ ปรากฎว่าที่งาน Computex นั้นมีสินค้าขายกันแล้วจากโรงงานที่ชื่อว่า Thread Technology Co. (ชื่อย่อ THD) โดยโน้ตบุ๊ก N2-A เป็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู ARM Cortex A8 1.2GHz แรม 1GB, และแฟลชขนาด 8GB พร้อม Wi-Fi แบบ b/g/n โดยตัวแอนดรอยด์ถูกแก้ไขให้ต่อ 3G dongle และพอร์ตแลนแบบ USB ได้ด้วย
หลังจาก HTC เปิดตัว Desire C สมาร์ทโฟนรุ่นล่างนอกซีรีส์ HTC One ไปแล้ว ก็เปิดตัวเพิ่มอีกรุ่นนึงในชื่อ Desire V สมาร์ทโฟนจับตลาดเมนสตรีมรองรับสองซิม พร้อมกับ CDMA ในสเปคเดียวกันแต่จะใช้ชื่อว่า Desire VC ทั้งสองรุ่นนี้สเปคใกล้เคียงกับ One V ที่เปิดตัวมาก่อน แต่เพิ่มสเปคขึ้นเล็กน้อยดังนี้ครับ
Dick Costolo ซีอีโอของ Twitter ไปพูดที่งานสัมมนาของ The Economist โดยเขาเปิดเผยข้อมูลว่าตอนนี้บริษัทมีรายได้จากโฆษณาบนมือถือเยอะกว่าโฆษณาบนหน้าเว็บด้วยซ้ำในบางวัน
Costolo พูดถึงกระแสอุปกรณ์พกพาว่า Twitter พร้อมสำหรับการใช้งานแบบนี้อยู่แล้ว เพราะต้นกำเนิดของ Twitter มาจากข้อความบนมือถือ (140 ตัวอักษร) มาตั้งแต่แรก ดังนั้นจะต่างไปจาก Facebook ที่ออกแบบมาสำหรับเว็บ และกำลังประสบปัญหาปรับตัวให้เข้ากับการใช้งานบนมือถือลำบาก
เขาบอกว่า Twitter เตรียมแพลตฟอร์มโฆษณาบนมือถือมาสักพักแล้ว เพียงแต่เลือกเปิดตัวแพลตฟอร์มโฆษณาบนเว็บก่อน และตอนนี้รายได้ทั้งสองส่วนตีคู่คี่กันอยู่ (Twitter ยังไม่เคยเปิดเผยรายได้ต่อสาธารณะ)
Samsung ChatON แอพสำหรับแชทของซัมซุงเดินทางมาถึง Windows Phone แล้ว ถือเป็นแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนรายใหญ่รายสุดท้ายที่ได้แอพตัวนี้
ข่าวนี้ต่อจากข่าวไม่ยืนยันก่อนหน้านี้ บอร์ด กทค. มีความเห็นสัญญา CAT-True ขัด พ.ร.บ. มาตรา 46
ล่าสุด คณะอนุกรรมการพิจารณาการทำสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3 จีในรูปแบบเอชเอสพีเอระหว่างบมจ.กสท โททรคมนาคม และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ลงมติเรียบร้อยแล้ว โดยมีความเห็นว่าสัญญา CAT-True ขัดกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 46 จริงตามข่าวก่อนหน้านี้
ทางอนุกรรมการยังไม่แถลงข่าวเรื่องนี้เอง (แต่ผู้สื่อข่าวได้ข่าวแล้ว?) โดยจะส่งเรื่องเข้าบอร์ดโทรคมนาคม (กทค.) และน่าจะมีแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า
ซัมซุงยังคงดาหน้าเปิดตัวบริการบนกลุ่มเมฆอย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตัว Music Hub ไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ล่าสุดกำลังจะเปิดตัวระบบเกมบนกลุ่มเมฆสำหรับเล่นบนทีวี โดยใช้เทคโนโลยีจาก Gaikai
สำหรับบริการที่ว่านี้ภายในปี 2012 จะมีเฉพาะทีวีซีรีส์ 7000 เท่านั้นที่จะได้ใช้ เนื่องจากรุ่นดังกล่าวใช้ชิปประมวลผลระดับดูอัลคอร์ ซึ่งเพียงพอที่จะสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีได้่ และการควบคุมทำได้ผ่านคอนโทรลเลอร์แบบไร้สาย หรือมีสายก็ได้ รวมถึงเม้าส์ และคีย์บอร์ดด้วย แต่สิ่งสำคัญคือต้องต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงพอ
ในที่สุดโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (OTPC) ที่เราติดตามกันมานานก็ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เพราะวันนี้ (7 มิ.ย.) ช่วงบ่ายที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "แท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (OTPC)" และทำพิธีมอบแท็บเล็ตชุดแรก 1,000 เครื่องให้ตัวแทนเด็กนักเรียนไทย 4 ภาคไปเรียบร้อย
งานวันนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการนำแท็บเล็ตมาใช้กับการศึกษาของบ้านเราเท่านั้น จากนี้ไปเราต้องช่วยกันติดตามความคืบหน้าและผลลัพธ์ของโครงการในประเด็นต่างๆ เช่น ความเหมาะสม ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ฯลฯ กันต่อไปครับ
ท่ามกลางกระแสโน้ตบุ๊คบางเบาที่แต่ละเจ้าทยอยเปิดตัวแข่งกัน ก็มีไลน์ใหม่คือโน้ตบุ๊คสายผสมด้วยการเอาโน้ตบุ๊คแบบเก่ามาทำให้บางลง (แต่ไม่เท่าพวก Ultrabook) อย่างเช่น Slimnote ของเอเซอร์
ในงาน Computex ที่ใกล้จะจบลงแล้ว ASUS ได้เปิดตัวโน้ตบุ๊คซีรีส์ใหม่ในชื่อ S-Series โน้ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14"-15.6" วัสดุเป็นอลูมิเนียม ตัวเครื่องบางเพียง 21 มม. น้ำหนักอยู่ที่ 2-2.3 กก. ส่วนสเปคอื่นๆ มีดังนี้
ออราเคิลเปิดตัว Oracle Cloud ที่ปรับเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจของบริษัทไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากซอฟต์แวร์แทบทุกตัวที่เคยขายให้องค์กรไปติดตั้งเอาเอง ถูกยกขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆและให้บริการแบบ hosted service แทน
แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ (ไมโครซอฟท์ก็ทำมาแล้วกับ Office 365 ซึ่งมันคือ Exchange/SharePoint เวอร์ชันกลุ่มเมฆ) แต่สิ่งที่น่าสนใจคือออราเคิลมีผลิตภัณฑ์และบริการเยอะมาก การยกทุกอย่างขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆจึงทำให้บริการน่าสนใจมากทีเดียว
Larry Ellison เองก็ใช้ตรงนี้เป็นจุดขายโดยพูดว่า "the most comprehensive Cloud on the planet Earth" และเขาบอกว่าเตรียมการเรื่องนี้มา 7 ปีเต็ม
Oracle Cloud แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ครับ
หลังจากเริ่มวางขายมาตั้งแต่เดือนเมษายนของปี 2011 ตอนนี้ RIM ตัดสินใจเลิกขาย BlackBerry PlayBook รุ่นความจุ 16GB แล้ว เหลือเพียงรุ่น 32GB และ 64GB เท่านั้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ RIM เป็นผู้ยืนยันว่าเลิกวางขายรุ่น 16GB แล้วจริงๆ โดยบอกว่ารุ่นที่มีความจุสูงกว่าจะให้คุณค่ากับผู้ใช้ได้มากกว่า แต่หลายฝ่ายคาดกันว่าที่ RIM เลิกขายรุ่น 16GB เป็นเพราะได้กำไรน้อย จึงพยายามดันรุ่นที่ความจุสูง และมีกำไรเยอะกว่าแทน ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งในแผนการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทด้วย
ที่มา - N4BB
ต้องรอดูว่าเครื่องรุ่นใหม่ๆ ของ RIM จะยังมีรุ่น 16GB อยู่อีกไหม :P
เมื่อครั้งงาน MWC 2012 ต้นปีนี้ Facebook เคยแถลงข่าวทำระบบ carrier billing หรือการลงบัญชีค่าใช้จ่ายกับบิลค่ามือถือของโอเปอเรเตอร์ ช่วยให้การซื้อสินค้าผ่าน Facebook Credits ทำได้สะดวกขึ้นมาก (ไม่ต้องจ่ายตรงเองแต่ลงบิลค่ามือถือหรือหักจากบัตรเติมเงินแทน)
วันนี้ Facebook ประกาศว่าเริ่มใช้ระบบนี้แล้ว โดยจะเริ่มกับโอเปอเรเตอร์ในสหรัฐและสหราชอาณาจักรก่อน จากนั้นจะขยายไปยังโอเปอเรเตอร์ในประเทศอื่นๆ อีกกว่า 60 ประเทศต่อไป
Galaxy S III เพิ่งประกาศข่าววางจำหน่ายในสหรัฐไปไม่กี่วัน แอปเปิลก็ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างรวดเร็วโดยยื่นฟ้องศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือว่า Galaxy S III ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง และขอให้ศาลสั่งห้ามขาย Galaxy S III ในสหรัฐ
ในคำฟ้องของแอปเปิลระบุว่า Galaxy S III ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Galaxy Nexus ที่แอปเปิลฟ้องละเมิดสิทธิบัตรไปก่อนหน้านี้ โดยสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องมีสองรายการคือเรื่อง unified search และเรื่อง links for structures
ด้านโฆษกของซัมซุงแถลงว่า Galaxy S III จะวางขายตามกำหนดเดิมคือวันที่ 21 มิถุนายนนี้ และบอกว่ายินดีจะต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ข่าวหลุดเพิ่มเติมของ iPhone รุ่นต่อไปเพิ่มจากข่าวก่อนหน้า คราวนี้เป็นข้อมูลจากบริษัทวิเคราะห์ตลาดสัญชาติไต้หวัน KGI ที่ทำตารางเปรียบเทียบสเปคกล้องของ iPhone ทุกรุ่นที่เคยเปิดตัวมา ในนั้นมีรายละเอียดของ iPhone 5 อยู่ด้วย
รายละเอียดกล้องของ iPhone 5 นั้นใช้เซนเซอร์กล้องหลังตัวเดียวกับที่ใช้ใน iPhone 4S คือ Sony IMX 105 ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล แต่รูรับแสงกว้างกว่าเดิมเล็กน้อยเป็น f2.2 ส่วนกล้องหน้าเปลี่ยนไปใช้เซนเซอร์ของ OmniVision ตัวใหม่ เซนเซอร์ใหญ่ขึ้น และเพิ่มความละเอียดเป็นระดับ HD เรียบร้อย
ความยากลำบากในการพัฒนาแอพลงบนแอนดรอยด์เป็นเรื่องที่ทุกคนทราบกันดี เนื่องด้วยปัญหา fragmentation จากทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และมีข่าวจากนักพัฒนา บริษัทวิจัย ฯลฯ ออกมายืนยันเรื่องนี้อยู่เป็นระยะๆ
คราวนี้ลองมาฟังความเห็นจาก Max Weiner หัวหน้าฝ่ายทำแอพแอนดรอยด์ของ Pocket (ก่อนหน้านี้ชื่อ Read It Later) ที่เขียนบล็อกเบื้องหลังการทำแอพบนแอนดรอยด์ว่าไม่ได้ลำบากมากนัก และจริงๆ มันค่อนข้างจะน่าสนุกด้วยซ้ำ
ใครที่ตามข่าวจอภาพมาตลอด อาจเคยได้ยินชื่อของ Nanosys ผู้ผลิตฟิล์มที่ช่วยขยายการแสดงผลสีของจอ LCD ได้ ด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า "Quantum Dot Enhancement Flim (QDEF)" เมื่อครั้งเปิดตัวในงาน SID 2011 ทีมของ Nanosys ถึงกับบอกว่าฟิล์ม QDEF นี้ทำให้ จอ LCD สามารถแสดงผลสีได้ใกล้เคียงกับ OLED โดยไม่กินไฟมากเท่า OLED และราคาไม่แพง
ผ่านไปหนึ่งปี ตอนนี้ Nanosys ประกาศจับมือกับบริษัทผลิตฟิล์มรายใหญ่อย่าง 3M แล้ว โดย 3M จะเป็นผู้ผลิตฟิล์มที่ใช้เทคโนโลยี QDEF สู่ตลาด รวมถึงทำหน้าจอ LCD ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวรวมมาด้วย แต่ยังไม่กำหนดเวลาว่าจะขายเมื่อไร
Nanosys บอกว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้จอ LCD มีขอบเขตการแสดงผลสีกว้างขึ้นราว 50% ดีแค่ไหนต้องลองดูกันเองในคลิปท้ายข่าวครับ
ซัมซุงประกาศลงทุนในกิจการเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนธุรกิจสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่กำลังไปได้สวย โดยลงเม็ดเงินไปถึง 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงไลน์การผลิตแผ่นเวเฟอร์สำหรับผลิตซีพียูตัวใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งจะได้แผ่นเวเฟอร์ขนาด 300 มม. ในสถาปัตยกรรมขนาด 20 และ 14 นาโนเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2013
สำหรับตลาดชิปบนมือถือนั้นปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2016 และมี HTC เป็นผู้ผลิตมือถือที่ใช้ชิปขนาดเล็กที่สุด (28 นาโนเมตร) ส่วนซัมซุงเองเพิ่งเปลี่ยนไปใช้ 32 นาโนเมตรเมื่อครั้งออกชิป Exynos Quad เมื่อตอนต้นปี
อันนี้เป็น press ข่าวจาก IBM ประเทศไทย แต่ผมเห็นว่าเป็นตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเป็นประโยชน์ในบ้านเรา ก็นำมาลงเป็นข่าวเสียหน่อยครับ เผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจให้องค์กรอื่นๆ นำมาใช้กันบ้าง
เรื่องก็คือ IBM จับมือกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล (business analytics) ของ IBM มาช่วยกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวี อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ร่วมกับหน่วยงานภาคีของศูนย์วิจัยฯ เช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ กรุงเทพมหานคร เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงเทพฯ
เมื่อเกือบหนึ่งปีมาแล้วเคยมีข่าว Mozilla เริ่มโครงการ WebAPI ช่วยให้เว็บแอพทำงานได้เหมือนแอพบนมือถือ โดยมีเป้าหมายไปใช้กับระบบปฏิบัติการ
เราเคยเสนอข่าวว่าราคาฮาร์ดดิสก์จะปรับลงช้าๆ ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมในไทยที่ส่งผลให้กำลังการผลิตในโลกลดลงอย่างมาก คราวนี้ Fang Zhang นักวิเคราะห์จาก IHS iSuppli ได้ประเมินสถานการณ์ว่ากำลังการผลิตฮาร์ดดิสก์จะกลับมาเป็นปกติเหมือนช่วงก่อนน้ำท่วมได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่ถึงตอนนั้นราคาฮาร์ดดิสก์โดยเฉลี่ยก็จะไม่ปรับลดลง เนื่องจากตลาดฮาร์ดดิสก์ตอนนี้ก็อยู่ในภาวะกึ่งผูกขาด ตั้งแต่เกิดการควบรวมของซีเกทกับซัมซุง และ Western Digital กับ Hitachi GST ทำให้ผู้ผลิตสองรายใหญ่นี้ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 85% จึงมีอำนาจพอที่จะควบคุมราคาฮาร์ดดิสก์ไม่ให้ปรับ
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายขีดความสามารถของแพลตฟอร์ม Windows Azure อีกหลายอย่าง
ในส่วนของ Azure ที่เป็น PaaS แบบเดิม ไมโครซอฟท์เพิ่มไลบรารีภาษา Python และ Java เข้ามา (จากเดิมที่รองรับ .NET, PHP, Node.js) ออกปลั๊กอินสำหรับ Eclipse/Java, รองรับ MongoDB, ใช้งาน Memcached สำหรับภาษาที่ไม่ใช่ตระกูล .NET และรองรับ Apache Solr/Lucene
สำหรับงานด้านเว็บก็มี Windows Azure Web Sites ที่รองรับเฟรมเวิร์คด้านการพัฒนาเว็บหลายตัว เช่น ASP.NET, PHP, Node.js รวมไปถึง CMS ยอดนิยมอย่าง WordPress, Joomla!, Drupal, Umbraco, DotNetNuke โดยเชื่อมต่อกับ MySQL หรือ Windows Azure SQL ก็ได้