รองประธานฝ่ายการตลาดของแอปเปิล Phil Schiller ได้ลบบัญชีใช้งานของเขาบน Instagram ที่เขาใช้นามว่า "@schiller" และให้สาเหตุว่า Instagram ได้ทำการ "jump the shark" หรือ "ลดคุณภาพลงเกินการเยียวยา" แล้วหลังจากที่เปิดให้บริการกับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ Android
แน่นอนว่าในฐานะที่เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดทั้งหมดของแอปเปิล เขาต้องเคยเห็น Instagram เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดึงให้ผู้ใช้เลือก iOS ก่อนแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยก่อนหน้านี้ Instagram เองก็ได้ถูกเลือกนำมาเป็นโชว์เคสบน App Store หลาย ๆ ครั้งรวมถึงการได้รับตำแหน่ง App of the Year จากแอปเปิล
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวว่ามีคนเห็น Tim Cook ซีอีโอของแอปเปิลไปที่สำนักงานของบริษัทเกมชื่อดัง Valve ทำให้เกิดข่าวคาดเดาต่างๆ นานาว่า Cook กำลังจะทำโครงการร่วมกับ Valve หรือไม่
Gabe Newell ผู้ก่อตั้ง Valve ให้สัมภาษณ์ทาง podcast กับเว็บไซต์ Seven Day Cooldown ปฏิเสธข่าวลือทั้งหมด เขาบอกว่าหลังข่าวออกมา ทุกคนใน Valve ก็สอบถามกันให้วุ่นว่ามีใครนัดคุยกับ Cook หรือผู้บริหารคนใดของแอปเปิลบ้าง แต่สุดท้ายก็พบว่าไม่มีใครสักคนได้เจอกับคนของแอปเปิลเลย
Gabe พูดถึง Cook ว่าดูแล้วเขาน่าจะเป็นคนฉลาด แต่ก็ไม่เคยเจอตัวจริงๆ
ที่มา - Kotaku
ต่อจาก โนเกียรายงานผลประกอบการไตรมาสแรก ขาดทุนตามคาด ทาง Stephen Elop ก็ออกมาพูดถึงยอดขายของ Lumia ว่าไปได้ดีในตลาดสหรัฐ แต่ในบางประเทศ (เช่น อังกฤษ) ก็ยังต้องต่อสู้กันต่อไป
เขาบอกว่าราคาของมือถือ Android จากผู้ผลิตฝั่งเอเชียนั้นลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นช่องว่างของระดับราคาที่โนเกียต้องแก้ไข เขาบอกว่ายุทธศาสตร์ของโนเกียคือกดราคาของมือถือตัวเองให้ "ต่ำลงมาก" (deeply down) เพื่อให้แข่งขันในตลาดได้มากขึ้น
Elop ไม่ได้พูดชัดว่าโนเกียจะลดราคา Lumia ลงเมื่อไร (คาดว่าไม่น่าจะใช่ในเร็ววันนี้) ดังนั้นคนที่เล็ง Lumia ชุดแรกในไทยก็น่าจะซื้อได้โดยไม่ต้องกังวลอะไรมากครับ
ผู้บริหารของ Qualcomm ออกมาเตือนว่าซีพียู Snapdragon โดยเฉพาะรุ่น S4 อาจมีปัญหาสินค้าขาดตลาด เพราะกำลังการผลิตไม่พอ
Steve Mollenkopf ซีเอฟโอของ Qualcomm ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของบริษัทเองที่ประเมินความต้องการ Snapdragon ต่ำเกินไป และพยายามแก้ปัญหาโดยเสนอชิป Fusion 2 ของตัวเองแทน (ผมหาข้อมูลของ Fusion 2 ไม่เจอนะครับ ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรกันแน่) รวมไปถึงการจ้างโรงงานผลิตซีพียูรายอื่นๆ ช่วยผลิตเพิ่มเติมให้ (ปัจจุบัน Qualcomm ใช้บริการของ TSMC)
อย่างไรก็ตาม Qualcomm ก็ยอมรับว่าเป็นไปได้สูงที่ผู้ผลิตมือถือจะเปลี่ยนไปใช้ซีพียูของคู่แข่งแทน Snapdragon ซึ่งเป็นเรื่องปกติของอุตสาหกรรมอยู่แล้ว
ที่มา - BBC
Ilya Segalovich ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Yandex เว็บค้นหารายใหญ่ของรัสเซีย (ตลาดหนึ่งที่กูเกิลยังเจาะไม่เข้า) ให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ตอบโต้คำสัมภาษณ์ของ Sergey Brin เรื่อง Apple/Facebook กีดกันการแข่งขันบนอินเทอร์เน็ต
Segalovich บอกว่าแพลตฟอร์มปิดของ Apple เป็นปัญหากับอินเทอร์เน็ตจริง แต่กูเกิลก็ไม่ใช่ว่าเปิดกว้างเต็มที่ เขาพูดถึง Chrome ที่บังคับใช้กูเกิลเป็นเครื่องมือค้นหาหลัก ไม่เปิดโอกาสให้เลือก Yandex หรือ Bing ที่เป็นคู่แข่งของกูเกิล และพูดถึง Android ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ "กึ่งเปิด" ที่นักพัฒนาภายนอกไม่สามารถเข้าร่วมได้
Amazon ต่อยอดบริการกลุ่มเมฆของตัวเองได้อย่างน่าสนใจ เพราะเดิมทีการรันงานบน EC2 หรือบริการในกลุ่ม AWS ผู้ใช้งานจะต้องหาซอฟต์แวร์ไปติดตั้งกันเอง ทาง Amazon เตรียมให้เฉพาะตัวระบบฮาร์ดแวร์เสมือนเท่านั้น
แต่หลังจากมี AWS Marketplace แล้ว ลูกค้าของ AWS สามารถเลือกซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้จากหน้าเว็บได้เลย และเมื่ออยากใช้งานก็แค่คลิกปุ่มซื้อได้เช่นเดียวกับซื้อสินค้าอื่นๆ ของ Amazon จากนั้นตัวซอฟต์แวร์จะติดตั้งบนระบบของ AWS ให้ทันที (ดูวิดีโอประกอบ) ส่วนวิธีการคิดเงินค่าซอฟต์แวร์ก็คิดตามระยะเวลา (รายชั่วโมงหรือรายเดือน) คล้ายๆ กับ AWS ด้วย
บริษัท Twitter ประกาศให้การสนับสนุน Apache Software Foundation ในทางการเงิน กฎหมาย และความช่วยเหลือระดับองค์กรอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในโครงการที่ Twitter ใช้งานอยู่
โครงการหลักที่ทาง Twitter พูดถึงคือ Apache Mesos ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการคลัสเตอร์ ปัจจุบัน Twitter บอกว่ามีคอมพิวเตอร์ที่รัน Mesos อยู่เป็น "หลักร้อย" ภายในองค์กร
ส่วนโครงการอื่นๆ ที่เอ่ยชื่อคือ Cassandra, Hadoop, Mahout, Pig และยังมีอีกหลายโครงการที่ Twitter จะเข้าร่วมสนับสนุนให้พัฒนาขึ้น เรียกได้ว่า Twitter เองได้ซอฟต์แวร์ดีๆ ไปใช้ และวงการโอเพนซอร์สก็ก้าวหน้าไปพร้อมกัน
นอกจากไมโครซอฟท์ได้ออกมาพูดถึงฟีเจอร์สำหรับการใช้งานเชิงธุรกิจบน Windows 8 Enterprise แล้ว วันนี้บริษัทได้ออกมาพูดถึง Windows 8 เช่นกัน
ไมโครซอฟท์รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ตามปฏิทินการเงินของบริษัท กำไรสุทธิ 5.1 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 6% เป็น 1.74 หมื่นล้านดอลลาร์
เมื่อแยกรายได้ตามส่วนธุรกิจ กลุ่มเซิร์ฟเวอร์เติบโตโดดเด่นถึง 14% โดยเป็นผลจาก SQL Server และ System Center, กลุ่ม Windows โต 4% โดยมีตัวเลขการใช้ Windows 7 ในองค์กรแล้วถึง 40%, กลุ่มสินค้าธุรกิจ (Office) เติบโต 9%, กลุ่มออนไลน์โต 6% แต่ก็ยังขาดทุนเพิ่มอีก 300 ล้านดอลลาร์ และกลุ่มบันเทิง (Xbox) ลดลง 16% ซึ่งเป็นไปตามสภาพตลาดเกม
ที่มา: ไมโครซอฟท์
โครงการทำภาพถ่ายทางอากาศนอกจากแบบใช้ดาวเทียมที่มีราคาแพงอย่างกูเกิลแล้ว ยังมีโครงการโอเพนซอร์สที่ใช้อุปกรณ์บ้านๆ เช่น บอลลูนและว่าวร่วมกับกล้องดิจิตอลธรรมดา เพื่อสร้างภาพมุมสูง โดยหน่วยงานที่ชื่อว่า The Public Laboratory for Open Technology and Science และตอนนี้กูเกิลก็เริ่มรวมภาพจากหน่วยงานนี้เข้ามาในฐานข้อมูลของ Google Earth แล้ว โดยจะอยู่ในส่วนของ Historical Imagery ที่กูเกิลจะเก็บภาพเก่าๆ ไว้
Mark Shuttleworth ประกาศว่าเอชพีได้ตัดสินใจรองรับ Ubuntu บนเครื่อง Proliant แล้ว โดยการใช้ Ubuntu จะไม่ทำให้ลูกค้าเสียซัพพอร์ตไป
การซัพพอร์ตตัวซอฟต์แวร์จะเป็นหน้าที่ของ Canonical ต่อไป และเซิร์ฟเวอร์เอชพีจะยังไม่มีการติดตั้ง Ubuntu มาให้แต่อย่างใด
ก้าวนี้อาจจะเป็นก้าวแรกของการก้าวเข้ามาในตลาดองค์กรของ Canonical ที่ตามรอยรุ่นพี่อย่าง Redhat แต่จะสำเร็จหรือไม่อาจจะต้องอาศัยความพยายามมากกว่าการรองรับแต่ไม่ได้ช่วยขายเช่นนี้
ที่มา - ExtremeTech
EMC บริษัทแม่ของ RSA (ที่ถูกแฮกข้อมูล SecurID ปีที่แล้ว) และ VMWare ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2011 อย่างน่าประทับใจด้วยรายได้ 5.1 พันล้านดอลลาร์ และกำไร 587 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 11% และ 23% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และเป็นไตสมาสที่ 9 ที่ผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
EMC อาศัยสามกระแสในโลกไอทีระดับองค์กร คือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ, การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), และความปลอดภัย (trust) ที่ EMC ซื้อบริษัทตลาดเหล่านั้นมาไว้ในมือได้ทั้งหมด ส่วนสินค้าของ EMC เองคือระบบสตอร์เรจนั้นบริษัทระบุว่ากำลังทำตลาดได้ดีในตลาดระดับกลาง ที่เติบโตถึง 26% จากปีที่แล้ว
ออราเคิลถูกหน่วยงานกำกับโฆษณาแห่งชาติของสหรัฐฯ (National Advertisement Division - NAD) เตือนเรื่องโฆษณาที่เปรียบเทียบระหว่างเซิร์ฟเวอร์ SPARC SuperCluster T4-4 กับ IBM Power 795 ที่ระบุว่าเซิร์ฟเวอร์ของออราเคิลนั้นเร็วเป็นสองเท่าและราคาถูกกว่า 3.3 ล้านดอลลาร์ ว่าการโฆษณาว่าเร็วกว่าสองเท่านั้นสามารถตีความได้ผิดว่าเซิร์ฟเวอร์ของออราเคิลนั้นเร็วกว่าสองเท่าในทุกรณี และราคา 4.5 ล้านดอลลาร์ของไอบีเอ็มก็เทียบราคารวมกับ storage ไม่ได้เทียบเฉพาะตัวเซิร์ฟเวอร์
งานนี้หน่วยงานกำกับระบุให้ออราเคิลระบุให้ชัดเจนว่าจะเปรียบเทียบกับสินค้ารุ่นใดและรายละเอียดเช่นใดของคู่แข่ง และให้หยุดการอ้างว่า "SPARC SuperCluster T4-4 รันออราเคิลและจาวาเร็วกว่าเครื่องที่เร็วที่สุดของไอบีเอ็มสองเท่าตัว"
ปัจจุบันมีผู้ใช้บางส่วนยังคงใช้ MobileMe และอาจจะไม่รู้จัก iCloud เลยด้วยซ้ำ (ทั้งที่ปิดบริการไปนานแล้ว) และทาง Apple เองก็ได้ให้นักพัฒนา
ข่าวหลุดล่าสุดจาก KDDI ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อสำนักข่าว Sumahon!! ได้เหลือบไปเห็นภาพตัวเครื่อง HTC ที่ใช้รหัสว่า ISW13HT และยังได้แอบล้วงไปอีกว่า มันจะเป็นซีรีย์ใหม่ ชื่อว่า J Series
ส่วนสเปคที่หลุดมา จะใช้ Qualcomm Snapdragon S4, จอ 4.3 นิ้ว qHD, แรม 1 GB, หน่วยความจำภายใน 16 GB รองรับ MicroSD card, Android 4.0 Ice Cream Sandwich ที่มาพร้อมกับ Sense 4.0 อีกเช่นเคย และรองรับ WiMAX
แต่หลุดครั้งนี้ ไม่ได้แค่หลุดสเปค แต่ดันหลุดขนาดด้วยซึ่งมีขนาด 66x132x10 มิลลิเมตร และหนัก 142 กรัม และจะมาตอนฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นนี้ครับ
โนเกียรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2012 ออกมาขาดทุนสุทธิ 428 ล้านยูโร จากรายได้รวม 7,355 ล้านยูโร ลดลง 29.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยส่วนของธุรกิจโทรศัพท์มือถือนั้นอาการหนักหน่อยคือมีรายได้ 4,246 ล้านยูโร ลดลงถึง 40% (ตรงกับที่บริษัทคาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) โดยจำหน่ายโทรศัพท์ได้ 82.7 ล้านเครื่อง (ลดลง 24%) คิดเป็นสมาร์ทโฟน 11.9 ล้านเครื่อง (ลดลง 51%) และโทรศัพท์อื่นๆ 70.8 ล้านเครื่อง (ลดลง 16%)
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของนักพัฒนาบน Android คือมีจำนวนรุ่นมือถือในท้องตลาดเยอะมากจนทดสอบได้ยาก ครั้นจะซื้อมาทดสอบทุกรุ่นก็คงไม่ไหวแน่ ทำให้สุดท้ายก็ต้องทดสอบแค่มือถือยอดนิยมบางรุ่นเท่านั้น
Sony เล็งเห็นปัญหานี้ของนักพัฒนา (ซึ่งจะส่งผลต่อมือถือของบริษัทเองมีแอพน้อยลงด้วย) จึงเปิดโครงการ Device Loaner Program ให้นักพัฒนา "ขอยืม" มือถือตระกูล Xperia หลากหลายรุ่น (รวมตัวล่าสุดอย่าง Xperia S) ไปทดสอบแอพได้ฟรีเป็นเวลา 30 วัน
โครงการนี้เล็งเป้านักพัฒนาในสหรัฐและแคนาดาเป็นหลัก แต่ถ้านักพัฒนานอกประเทศเหล่านี้จ่ายค่าส่ง-ภาษีเองไหว (และพร้อมจะส่งมันกลับภายใน 30 วัน) ทาง Sony ก็ยินดีส่งให้ด้วยครับ
หลังถูก Zynga ซื้อไปเมื่อเดือนก่อน แอพเกมวาดรูปทายคำ Draw Something ก็ออกอัพเดทใหญ่ทั้งบน iOS และ Android โดยคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากให้มีมานานแล้ว ได้แก่
ต่อจากข่าว ยืนยันแล้ว Windows 8 มี 3 รุ่นย่อย: ปกติ, Pro, RT ไมโครซอฟท์ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมของ Windows 8 Enterprise ซึ่งเป็นรุ่นเฉพาะสำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ ไม่มีขายทั่วไป
Windows 8 Enterprise จะมีฟีเจอร์เท่ากับ Windows 8 Pro ทุกประการ แล้วเพิ่มฟีเจอร์อีกบางส่วนเข้ามา เช่น
PlayStation Suite SDK เปิดทดสอบแบบวงปิด ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ตอนนี้มันเข้าสู่สถานะ Open Beta เปิดกว้างแก่นักพัฒนาทั่วไปแล้ว
โนเกียประเทศไทย เปิดให้จอง Nokia Lumia ทั้งสามรุ่นที่จะทำตลาดในบ้านเราแล้ว (900, 800, 710) โดยเริ่มให้จองวันพรุ่งนี้ (20 เมษายน) ที่โนเกียช็อป
ข้อมูลทางเทคนิคของแต่ละรุ่นคงหาอ่านกันเองได้นะครับ เอาเรื่องสีที่มีขายและราคาดีกว่า
สำหรับ 300 คนแรกที่จอง Lumia แต่ละรุ่นจะได้ของแถมเพิ่มเติมอีก รายละเอียดอ่านกันเองตามประกาศของโนเกียครับ
แนวทางการทิ้งธุรกิจฮาร์ดแวร์ (ยกเว้นเซิร์ฟเวอร์) และไปโฟกัสกับซอฟต์แวร์และบริการของไอบีเอ็มนั้นชัดเจนมาตั้งแต่การขายธุรกิจพีซีให้กับเลอโนโว วันนี้ไอบีเอ็มก็ขายธุรกิจ Retail Store Systems (RSS) ออกไปอีกครั้งให้ รอบนี้ขายให้กับโตชิบาในราคา 850 ล้านดอลลาร์
ธุรกิจ RSS ของไอบีเอ็มครองตลาดอยู่ 22% ทั่วโลก มียอดขายรวม 1,150 ล้านดอลลาร์ มีพนักงานในธุรกิจนี้หนึ่งพันคน
บริษัทที่จะเข้ามาซื้อ RSS นี้ คือ Toshiba TEC ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจแคชชียร์, ระบบหน้าร้าน, ธนาคาร, โรงแรม ฯลฯ โดยหลังการซื้อขายไอบีเอ็มและ Toshiba TEC จะเป็นพันธมิตรกันทำโครงการ "Smart Commerce" ของไอบีเอ็มต่อไป
บริการเครือข่ายสังคมที่เน้นกลุ่มเพื่อนสนิทอย่าง Path ได้ทำการเพิ่มทุนรอบล่าสุดอีก 40 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้ารวมกับทุนก่อนหน้านี้จะเป็นทั้งหมด 51 ล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่ากิจการประเมินแล้วอยู่ที่ 250 ล้านดอลลาร์ โดยความน่าสนใจของการเพิ่มทุนรอบนี้คือผู้มาร่วมลงทุนมีคนดังหลายรายอย่าง ซีอีโอสุดแนวแห่งเครือ Virgin Group, Yuri Milner นักลงทุนชาวรัสเซียที่มีหุ้นทั้งใน Facebook, Zynga, Twitter และ Mark Pincus ซีอีโอแห่ง Zynga
คำถามที่ว่าเครือข่ายของอเมซอนใหญ่แค่ไหนรวมถึงมีเซิร์ฟเวอร์กี่เครื่องเป็นคำถามที่อเมซอนไม่เคยเปิดเผยข้อมูล แต่รายงานวิเคราะห์จากบริษัท DeepField Networks ก็อาจจะแสดงให้เห็นภาพความยิ่งใหญ่ของศูนย์ข้อมูลของอเมซอนได้บ้าง เมื่อตัวเลขสรุประบุว่า อเมซอนสร้างทราฟิกเข้าออกจากศูนย์ข้อมูลของตัวเองคิดเป็น 1% ของอินเทอร์เน็ตทั้งหมด, ผู้ใช้ 1/3 ของอินเทอร์เน็ตต้องเกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อวัน, และเครือข่ายกระจายคอนเทนต์ (Content Delivery Network - CDN) ของอเมซอนนั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก
การวิเคราะห์อาศัยความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายในสหรัฐฯ โดยตัดข้อมูลในส่วนที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลกันเองออกไป
บริการบล็อกที่มาแรงแบบเงียบๆ อย่าง Tumblr กำลังจะเริ่มหาโฆษณาแล้ว
David Karp ผู้ก่อตั้งบริษัทได้ประกาศที่งานสัมมนา Ad Age Digital Conference ว่ารูปแบบของโฆษณาในขั้นต้น จะให้แบรนด์ต่างๆ สามารถซื้อสล็อตโฆษณาในส่วนของ Tumblr Radar ซึ่งเป็นการคัดเลือกโพสต์ที่น่าสนใจมาแสดง
การขายโฆษณานี้เป็นจุดเริ่มต้นของ Tumblr ในเรื่องการสร้างรายได้ ส่วนในอนาคตต่อไป Tumblr จะเพิ่มการทำรายได้ โดยเปิดให้ผู้ใช้โฆษณาโพสต์ของตัวเอง และเพิ่มธีมแบบคิดเงินด้วย
ปัจจุบัน Tumblr มีบล็อกจำนวน 52 ล้านบัญชี และมีจำนวนโพสต์ทั้งหมดประมาณ 2.1 หมื่นล้านโพสต์