ปัญหาจาก DigiNotar ดูจะยังไม่จบง่ายๆ เมื่อแฮกเกอร์ที่แฮก Comodo ได้โพสต์ข้อความลง PasteBin ว่าเขาเป็นผู้แฮก DigiNotar เองโดยอาศัยบั๊กที่ยังไม่ได้แพตซ์ (zero day bug) จำนวนมากพร้อมกับประกาศว่าเขายังสามารถเข้าถึง CA อื่นๆ เช่น GlobalSign
ทาง GlobalSign หลังจากได้รับคำเตือนนี้ก็หยุดให้บริการออกใบรับรองทันทีและดำเนินการตรวจสอบภายใน แม้จนตอนนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบใบรับรองปลอมจาก GlobalSign ก็ตาม
หลังการเปิดตัว FlashAir ในงาน IFA ไป วันนี้ก็มีรายงานการสาธิตการใช้งานจากทางโตชิบามาแล้ว โดยฟีเจอร์ต่างๆ นั้นคล้ายกับ Eye-Fi มากเช่นโหมดปรกติที่เมื่อเจอ Wi-Fi ที่รู้จัก มันจะส่งภาพเข้าไปยังเครื่องปลายทางเอง
แต่ที่น่าสนใจคือโหมดส่งภาพโดยตรงที่ Eye-Fi ต้องการแอพพลิเคชั่นที่อุปกรณ์ปลายทางนั้น FlashAir กลับสามารถใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่เข้าเว็บได้เข้าไปดาวน์โหลดภาพออกมาได้เลย
โตชิบาระบุว่าเตรียมจะพัฒนาการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับ Wi-Fi Direct และ DLNA ต่อไปในอนาคต
ว่าแต่ป่านนั้นกล้องรุ่นใหม่ๆ จะไม่รองรับ Wi-Fi กันในตัวเลยหรือ?
ไมโครซอฟท์เริ่มเปิดฟีเจอร์ของ Windows 8 มาให้เราดูกันเรื่อยๆ และฟีเจอร์ล่าสุดคือ Hyper-V ออกมา โดยฟีเจอร์ที่สำคัญนั้นคือ Hyper-V ที่เปิดเผยแล้วมีดังนี้
เว็บไซต์ AFP อ้างข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Korea Economic Daily ของเกาหลีใต้ ระบุว่าไมโครซอฟท์จะเปิดตัว Windows 8 บนแท็บเล็ตของซัมซุง ที่งานสัมมนา BUILD สัปดาห์หน้า (13 ก.ย.)
แหล่งข่าวของ Korea Economic Daily ระบุว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้จะเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างซัมซุงกับไมโครซอฟท์ ในการผลิตฮาร์ดแวร์ร่วมกัน
ส่วนรอยเตอร์รายงานข่าวว่า Steven Sinofsky หัวหน้าทีมวินโดวส์จะโชว์แท็บเล็ตที่รัน Windows 8 ด้วยตัวเอง และคาดว่าแท็บเล็ตจะวางขายจริงได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า เท่ากับว่าไมโครซอฟท์จะออกผลิตภัณฑ์ช้ากว่าแอปเปิลไป 2 ปีครึ่ง
สมรภูมิสมาร์ทโฟนในประเทศจีนกลายเป็นเรื่องน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ให้บริการเว็บรายใหญ่ของจีนลงมาเล่นตลาดนี้กันหมดแล้ว แถมทุกรายก็สร้างระบบปฏิบัติการของตัวเองโดยอิงจาก Android กันถ้วนหน้า
ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้าที่มาเซ็นสัญญาเรื่องสิทธิบัตร Android เพิ่มอีกสองราย คือ Acer และ ViewSonic
รายละเอียดของสัญญาไม่เปิดเผยตามเคย บอกสั้นๆ แค่ว่า Acer และ ViewSonic ได้ประโยชน์จากการขอใช้สิทธิในสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรของ Android
DROID BIONIC เป็นมือถือของ Motorola ที่ขายกับเครือข่าย Verizon ของสหรัฐ (ถือเป็น DROID อีกตัวหนึ่ง) ความน่าสนใจของมันคือเปิดตัวตั้งแต่ CES 2011 เดือนมกราคม แต่วางขายจริงไม่ได้สักที (ปล่อยให้คู่แฝดคนละฝาคือ
สงครามฟ้องร้องของแอปเปิลต่อซัมซุง ยังขยายแนวรบต่อไปเรื่อยๆ จากที่มีข่าวมาแล้วทั้งในสหรัฐ ยุโรป เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย
ถึงแม้ Google+ จะมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละนิดหน่อยทุกสัปดาห์ แต่ฟีเจอร์สำคัญที่หลายคนรอคอยคือ การเปิด API ให้นักพัฒนา-แอพภายนอกเรียกใช้ กลับยังไม่มาสักที
ข่าวล่าสุดจาก TechCrunch ระบุว่าทีม Google+ จะเริ่มแจก API ให้นักพัฒนาระดับ Trusted Tester บางรายลองใช้ในอีก 2-3 วันข้างหน้า เพื่อทดสอบโค้ดและข้อมูลในเอกสาร ก่อนจะเริ่มขยายกลุ่มทดสอบในวงกว้างขึ้นช่วง 2-3 สัปดาห์ถัดไป
กูเกิลไม่บอกว่านักพัฒนาระดับ Trusted Tester ต้องทำอย่างไรบ้าง แต่บริษัทในสังกัดของ Google Ventures (หน่วยลงทุนของกูเกิล) บางรายจะได้สิทธินี้ด้วย
คนธรรมดาอย่างพวกเราๆ คงต้องรอกันต่อไปอีกสักพัก แต่ข่าวนี้ก็เป็นสัญญาณอันดีว่า "ใกล้แล้ว"
ข้อได้เปรียบของยักษ์ใหญ่ที่มีบริการหลายชนิด ก็คือสามารถแถม/พ่วงโปรโมชันระหว่างบริการต่างๆ ของตัวเองได้ง่าย
คราวนี้ Amazon เริ่มจับคู่บริการใหม่ของตัวเอง 2 อย่างเข้าด้วยกัน นั่นคือ Amazon Appstore (แอพมือถือ) กับ AWS (กลุ่มเมฆ) โดยโปรโมชันล่าสุด ออกมาเชิญชวนให้นักพัฒนาแอพบน Android ส่งแอพขึ้นไปขายที่ Amazon Appstore เพราะจะแถมเครดิตมูลค่า 50 ดอลลาร์ในการรันแอพพลิเคชันบน AWS ด้วย
Adobe ออกแอพ-บริการตัวใหม่ชื่อ Carousel (อ่านว่า คารูเซล แปลว่าม้าหมุนในภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งอธิบายแบบง่ายๆ มันคือ "Dropbox สำหรับรูปภาพ" (ส่วน Adobe บอกว่ามันคือ Lightroom รุ่นบนมือถือ)
Adobe Carousel จะเป็นแอพพลิเคชันที่อยู่บนหลายแพลตฟอร์ม (จะเริ่มจาก iOS/Mac OS X แล้วมี Android/Windows ตามมาในปีหน้า) ไฟล์ภาพทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ Adobe และเราสามารถเข้าถึงรูปภาพทั้งหมดของเราได้ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์อะไร
ไมโครซอฟท์ประกาศผ่านบล็อก Building Windows 8 ว่า Windows 8 จะมี Hyper-V ฟีเจอร์ด้าน virtualization ที่เคยมีเฉพาะใน Windows Server
ไมโครซอฟท์ระบุว่า Hyper-V จะใช้ได้กับ Windows 8 รุ่น 64 บิตเท่านั้น (แต่รัน Guest OS แบบ 32 บิตได้) โดยซีพียูจะต้องรองรับ Second Level Address Translation (SLAT) ซึ่งมีในซีพียูสมัยใหม่ทุกตัวอยู่แล้ว (ใครใช้ซีพียูอะไรก็เช็คกันเอง) และแรมขั้นต่ำ 4GB
ยิ่งใกล้วันเปิดตัวที่คาดว่าเป็นปลายเดือนนี้ ข่าวลือก็ยิ่งเยอะขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ iPhone รุ่นถัดไปหรือที่เรียกกันว่า iPhone 5 สำหรับวันนี้ขอนำเสนอสองข่าวครับ
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่าบริการบนกลุ่มเมฆของแอปเปิลที่ชื่อ iCloud น่าจะทำงานอยู่บน AWS ของอเมซอนและ Azure ของไมโครซอฟท์จริง ก็เกิดคำถามว่าแล้วตกลงศูนย์ข้อมูลขนาดมหึมาที่แอปเปิลลงทุนสร้างด้วยเงินเป็นพันล้านดอลลาร์ ซึ่งสตีฟ จ็อบส์เองได้
ความคืบหน้าของคดีฟ้องร้องระหว่างออราเคิล-กูเกิล เรื่องสิทธิบัตรของ Android/Java
ตามหลักเกณฑ์พิจารณาคดีแพ่งทั่วไป ผู้พิพากษาจะต้องให้คู่ความทั้งสองฝ่ายเจรจากันเองก่อน (เพื่อลดภาระของศาลในการพิจารณาคดี) ซึ่งผู้พิพากษา William Alsup ได้สั่งให้ทั้งสองฝ่ายเสนอชื่อ "ผู้บริหารระดับสูง" เป็นตัวแทนของบริษัทมาเจรจาไกล่เกลี่ยคดีกันต่อหน้าศาล
ฝ่ายออราเคิลเสนอ Safra Catz ประธานบริษัท (ไม่ใช่ประธานบอร์ด) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองเพียงซีอีโอ Larry Ellison คนเดียวในบริษัท เป็นหัวหน้าทีมเจรจา และแถมด้วย Thomas Kurian รองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์
ส่วนฝ่ายกูเกิลเสนอ Andy Rubin รองประธานอาวุโสฝ่ายมือถือ และ Kent Walker รองประธานฝ่ายกฎหมายของกูเกิล เป็นตัวแทนเจรจา
หลังจากตั้งรับอย่างเดียวมาพักใหญ่ ป้อมค่าย Android เริ่มเปิดเกมรบกับฝ่ายตรงข้าม ด้วยสรรพาวุธสิทธิบัตรที่กูเกิลแจกให้กับเหล่าขุนพลทั้งหลาย
HTC เปิดฉากยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลรัฐเดลาแวร์ ในคดีละเมิดสิทธิบัตรคดีใหม่ บอกว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 4 ชิ้น ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่กูเกิลซื้อมาจาก Motorola (ก่อน Motorola แยกบริษัทเป็นสองซีก) และมาขายสิทธิให้ HTC อีกต่อหนึ่ง
สิทธิบัตรชุดนี้เกี่ยวกับการอัพเกรดซอฟต์แวร์ผ่านระบบไร้สาย, การส่งข้อมูลระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์กับชิปสนับสนุนอื่นๆ, วิธีการเก็บการตั้งค่าของผู้ใช้ และการซิงก์ contact ระหว่างแอพพลิเคชันกับโมเด็มรับส่งคลื่นวิทยุ
ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลที่ HTC ฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตรได้แก่ Mac, iPhone, iPad, iPod, iCloud, iTunes
คำถามที่พบบ่อยหลังข่าว HP จะแยกธุรกิจพีซีออกไป ก็คือ "แล้ว HP จะทำอะไรต่อ" คำตอบแบบยาวๆ หน่อยก็คือธุรกิจพีซีเป็นเพียงแค่ 1/3 หรือ 1/4 ของ HP เท่านั้น ยังมีธุรกิจอื่นอีกเยอะ เช่น เครื่องพิมพ์ เซิร์ฟเวอร์ โซลูชัน
คำตอบแบบสั้นกว่าก็ยกตัวอย่างได้ด้วยข่าวนี้ นั่นคือ HP Cloud Services ที่จะออกมาแข่งกับ AWS โดยตรง
หลังยาฮูปลด Carol Bartz ซีอีโอของบริษัท ก็เรียกประชุมพนักงานทั้งบริษัทจำนวน 13,500 คน เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ท่ามกลางกระแสข่าวว่ายาฮูจ้างที่ปรึกษาภายนอกประมวลทางเลือกของบริษัท ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการขายบริษัทรวมอยู่ด้วย
Eric Schmidt ไปพูดที่งาน Dreamforce ของบริษัท Salesforce เมื่อสัปดาห์ก่อน และเขาพูดถึงระบบปฏิบัติการ Android รุ่นใหม่รหัส "Ice Cream Sandwich" ว่าจะออกช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้
ข่าวนี้จะสอดคล้องกับข่าวลือของ Nexus Prime ที่น่าจะออกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ Google TV ที่ถูกแปลงเป็น Honeycomb จะตกรุ่นทันที คำถามคือกูเกิลจะข้ามไปออก Google TV ภาค Ice Cream Sandwich เลยหรือไม่
ที่มา - Android and Me
ข่าวนี้มาช้าไปนิดหน่อย ...
ภาคต่อของ ผู้ก่อตั้ง TechCrunch หันไปทำกองทุนสำหรับกิจการหน้าใหม่ CrunchFund ถ้ายังไม่ได้อ่านตอนแรก ควรย้อนกลับไปอ่านก่อนนะครับ
สมรภูมิ Smart TV เริ่มระอุขึ้นมาเรื่อยๆ โดย LG ซึ่งประกาศสร้างแพลตฟอร์มทีวีของตัวเอง ประกาศความเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตทีวีอีกสองรายคือ Sharp และ Philips เพื่อให้แอพของแพลตฟอร์มนี้ทำงานได้บนทีวีทั้งสามยี่ห้อ
ปีนี้ดูจะเป็นปีที่เอเอ็มดีทำได้ดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ มากเมื่อสินค้าที่ประกาศไว้ล่วงหน้าเริ่มวางตลาดได้โดยไม่ต้องรอนานเกินไปนัก โดยสินค้าตัวล่าสุดคือ AMD Opteron 6200 ซึ่งเป็นชิปในตระกูล Opteron ตัวแรกที่ใช้สถาปัตยกรรม Bulldozer รวมเวลานับตั้งแต่การเปิดตัวเมื่อปีที่แล้วเอเอ็มดีก็ใช้เวลาวางตลาดไปถึง 10 เดือน
Taiwan Economics News อ้างแหล่งข่าวจากสองบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ส่งให้แอปเปิลสำหรับใช้ใน iPad และ Macbook คือ Simplo Technology และ Dynapack International Technology ว่าตอนนี้ทั้งสองบริษัทกำลังทดลองผลิตแบตเตอรี่สำหรับใช้ใน iPad รุ่นถัดไป โดยมีขนาดที่บางลง เบาลง และใช้งานได้นานขึ้น โดยสายการผลิตหลักกำหนดเริ่มในไตรมาสแรกของปี 2012
อย่างไรก็ตามด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทำให้ราคาของแบตเตอรี่ในสเปกนี้สูงกว่าแบตเตอรี่ตัวเดิม 20-30% ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อเริ่มสายการผลิตเต็มแล้วราคาจะลดลงได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้แล้ว iPad รุ่นหน้าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นมากน้อยแค่ไหน
เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้ว เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างซอฟแวร์ที่ฝั่ง โอเพนซอร์ส (ต่อไปจะเรียก OSS) กับฝั่ง Proprietary Software (ต่อไปจะเรียก PS) ก็จะมีการถกเถียง แลกเปลี่ยนประเด็นและความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นประเด็นเดิม ๆ หัวข้อเดิม ๆ ที่ผมอ่านมาตั้งแต่เริ่มสนใจพัฒนาซอฟแวร์ใหม่ ๆ (ราว ๆ ปี 2002 เห็นจะได้)
จากการลงข่าว WikiLeaks: ไมโครซอฟท์และ BSA กังวลต่อแนวทางโอเพนซอร์สของไทย ใน blognone และก็เหมือนทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ก็จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งพอจะสรุปเป็นความคิดเห็นมีอยู่ 2 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้