ความคืบหน้าล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลข้อหา Android ละเมิดสิทธิบัตร Java
เดิมทีนั้น ออราเคิลได้ยื่นฟ้องกูเกิลว่าละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 132 ชิ้น แต่เนื่องจากศาลประเมินว่าการพิสูจน์สิทธิบัตรว่าละเมิดหรือไม่นั้นกินเวลามาก จึงสั่งให้ออราเคิลลดจำนวนสิทธิบัตรที่จะฟ้องลงเหลือ 3 ชิ้น เพื่อที่ปริมาณงานของศาลจะลดลง
ข่าวนี้ฟังดูดีต่อฝ่ายกูเกิลมาก แต่เอาจริงก็ไม่ใช่แบบนั้น เพราะออราเคิลถูกบังคับให้ฟ้องเฉพาะสิทธิบัตรที่มั่นใจว่าผิดเน้นๆ จำนวน 3 ชิ้นเท่านั้น ถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริงกูเกิลก็ผิดอยู่ดี แต่ในอีกมุม กูเกิลก็สู้คดีง่ายขึ้นด้วย เพราะมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องป้องกันตัวและหาหลักฐานมาหักล้างสิทธิบัตรชิ้นใดบ้าง
ช่วงเดือนที่ผ่านมา เวลาผมเจอคนตามที่งานโทรศัพท์มือถือในที่ต่างๆ พบว่ามีหลายคนเข้ามาคุยกับผมว่าไปเจอคีย์บอร์ดตัวหนึ่งที่ดีมากๆ และเปิดให้ใช้งานฟรี ชื่อว่า Keyboard ManMan หลายๆ คนอยากรู้จักว่าคนทำคีย์บอร์ดนี้คือใครกัน หลายๆ คนบอกกับผมว่ายินดีจ่ายเงินเพื่อให้ได้ใช้งานคีย์บอร์ดนี้ และวันนี้ก็ผมก็ตามหาผู้สร้างคีย์บอร์ดตัวนี้มาสัมภาษณ์กันได้แล้ว
Howard Stringer ซีอีโอของโซนี่เขียนจดหมายลง PlayStation Blog แสดงความ "ขอโทษ" อย่างเป็นทางการต่อกรณี PlayStation Network และ Qriocity
เขาบอกว่าโซนี่ทุ่มทรัพยากรอย่างเต็มที่เพื่อแก้ปัญหานี้ และทำงานหนักกันตลอดเวลา ส่วนที่ออกมาแจ้งเตือนลูกค้าช้า เพราะแฮ็กเกอร์พรางรอยตัวเองไว้อย่างดี ทำให้ฝ่ายสืบสวนต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลถูกขโมยไปหรือไม่
Stringer ย้ำข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้วว่าจะต่ออายุสมาชิก PSN ให้อีก 1 เดือน, ให้การคุ้มครองเจ้าของบัตรเครดิตด้วยวงเงิน 1 ล้านดอลลาร์ (ต่อคน) ในอเมริกา และจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ต่อไป
Stringer ปิดท้ายว่าจะเริ่มเปิดบริการ PSN ใหม่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
หลายคนคงรู้จักเกมควบคุมเครื่องบินลงจอด Flight Control ซึ่งได้รับความนิยมบนมือถือหลายแพลตฟอร์ม (แม้จะโดน Angry Birds บดบังรัศมีในฐานะเกมมือถือที่ดังที่สุดไปก็ตาม)
วันนี้บริษัท Firemint ต้นสังกัด โดนยักษ์ใหญ่แห่งวงการเกมอย่าง EA ซื้อกิจการไปเรียบร้อยแล้ว เหตุผลก็คงชัดเจนในตัวว่า EA ต้องการรุกตลาดเกมมือถือนั่นเอง
Firemint สร้างชื่อมาจากเกม Flight Control แต่จริงๆ แล้วบริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 1999 และรับงานพัฒนาเกมมือถือให้ EA มาหลายเกมแล้ว
ก่อนหน้านี้ไม่นาน EA เพิ่งซื้อบริษัท Mobile Post Production ซึ่งเชี่ยวชาญการพอร์ตและการทำ localization ของเกมมือถือไปเช่นกัน
ช่วงนี้บ้านเราเริ่มมีแท็บเล็ตที่เป็น Android 3.0 Honeycomb เข้ามาขายบ้างแล้ว เช่น Acer Iconia A500 และกำลังจะทยอยตามเข้ามาอีกหลายตัว
ผมเองได้เครื่อง Iconia A500 มาทดสอบแล้วเช่นกัน แต่นั่งคิดอยู่นานว่าจะเขียนรีวิวอย่างไรดี เพราะส่วนของระบบปฏิบัติการ Honeycomb ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะพอดู สุดท้ายสรุปว่าจะแยกเป็นตอนเฉพาะของระบบปฏิบัติการ Android 3.0 Honeycomb ไปเลย (โดยไม่เจาะจงยี่ห้อ) แล้วรีวิวแท็บเล็ตต่างๆ ที่จะตามมาในอนาคต จะเน้นที่ตัวฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพิ่มเติมอื่นๆ เท่านั้น
วันนี้ Guinness World Record ได้ทำการประกาศขึ้นสถิติใหม่อย่างเป็นทางการให้กับ LG Optimus 2X ในฐานะ สุดยอดสมาร์ทโฟนแบบดูอัลคอร์ตัวแรกของโลก ซึ่งคำว่า "ตัวแรก" ในที่นี่ หลายคนอาจจะค้านให้กับ Motorola Atrix 4G ที่เป็น Nvidia Tegra 2 เหมือนกัน แต่กรณีนี้ทาง GWR ได้แจงเพิ่มเติมว่า เป็นสมาร์ทโฟนตัวแรกที่ทำตลาดแบบ Worldwide ไม่ได้จำหน่ายแค่ในประเทศเท่านั้น รายละเอียดสถิติดูได้จากทาง GWR ได้โดยตรงครับ
คำว่า 4G สำหรับหลาย ๆ คนอาจจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่รองรับความเร็วสูงถึง 100Mbps ซึ่งเป็นเกณฑ์ความเร็วที่ ITU ได้ประกาศไว้ในทศวรรษที่แล้ว ไม่ใช่เท่านั้น พวกเราก็เคย "สำรอง" ความหมายของคำว่า 4G เอาไว้สำหรับเครือข่ายที่ใช้ระบบ LTE และ WiMAX แต่ดูเหมือนตอนนี้สงครามความเร็วเครือข่ายมือถือในสหรัฐกำลังทำให้ความหมายของคำว่า 4G เปลี่ยนไป
บริษัทวิจัยด้านมือถือชื่อ research2guidance จากเยอรมนี ประเมินการเติบโตของจำนวนแอพใน Android Market และ iPhone App Store และพยากรณ์ว่า Android Market จะมีแอพแซง iPhone App Store ในเดือนสิงหาคมปีนี้
ช่วงหลังๆ Android Market มีจำนวนแอพใหม่มากกว่า iPhone App Store แล้ว โดยเดือนเมษายนที่ผ่านมา Android Market มีแอพใหม่ 28,000 ตัว ส่วน iPhone App Store มี 11,000 ตัว
ปัจจุบัน Android Market มีแอพเกือบ 3 แสนตัว และ iPhone App Store มี 3.8 แสนตัว ส่วนเดือนสิงหาคมที่จะเป็น "จุดตัด" ทั้งสองค่ายจะมีแอพ 4.25 แสนตัว
เว็บไซต์ AV-Test ซึ่งเป็นสถาบันทดสอบโปรแกรมแอนตี้ไวรัสอิสระ นำซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสจำนวน 22 ตัวมาทดสอบ โดยใช้กรณีทดสอบตามสภาพใช้งานจริงๆ ของผู้ใช้ (real world test) ผลปรากฏว่ามีซอฟต์แวร์ที่ "ผ่านเกณฑ์" ขั้นต่ำของ AV-Test จำนวน 17 ตัว
สำหรับ Microsoft Security Essentials หรือ MSE ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไมโครซอฟท์แจกฟรีสำหรับผู้ใช้วินโดวส์แท้ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของ AV-Test แต่กลับได้คะแนนส่วนของการป้องกันไวรัสและมัลแวร์ใหม่ๆ ไม่เยอะนัก (2.5 เต็ม 6 อันดับรองบ๊วย) ได้คะแนนส่วนการซ่อมแซมระดับปานกลางคือ 3.5 เต็ม 6 และได้คะแนน usability (ไม่หน่วงเครื่องและไม่แจ้งผิด) เกือบเต็ม 5.5 เต็ม 6
SemiAccurate อ้างว่าพวกเขาได้ยินมาว่าแอปเปิลจะเริ่มเปลี่ยนหน่วยประมวลผลจากของอินเทล มาเป็น ARM แทน เมื่อชิป ARM เริ่มที่ทำงานที่ 64-bit ได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานับจากนี้ไปอีก 2 ปีเป็นอย่างต่ำ
แอปเปิลเป็นบริษัทที่ลงทุนกับสถาปัตยกรรม ARM มากพอสมควร โดยชิป ARM เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์ที่ใช้งาน iOS ของแอปเปิลตั้งแต่ไอโฟน ไปจนถึงสินค้าใหม่อย่างไอแพ็ด นอกจากนี้แอปเปิลได้เข้าซื้อ P.A. Semi และ Intrinsity บริษัทที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ARM ทำให้แอปเปิลสามารถดีไซน์ชิป ARM ด้วยตัวเองได้
ภายหลังที่ รองประธานโซนี่ออกแถลงเกี่ยวกับการล่มของ PlayStation Network ซึ่งโซนี่ก็ได้ให้บริการ PlayStation Plus หรือ Qriocity เป็นเวลา 30 วัน แต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยเหล่าผู้เสียหายที่โดนขโมยข้อมูลบัตรเครดิตไปแล้วได้อุ่นใจขึ้น
โซนี่จึงได้เสนอ "AllClear ID Plus" การป้องกันบัตรเครดิตจากบริษัท Debix ฟรีเป็นเวลาหนึ่งปีเต็มให้กับเหยื่อที่ถูกโจมตี PSN และ Qriocity เฉพาะผู้ที่อยู่ในสหรัฐ
การป้องกันบัตรเครดิตของบริษัท Debix จะทำการตรวจสอบการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาตและมีวงเงินประกันคุ้มครองสูงถึงหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้ที่ประสงค์จะใช้งานต้องสมัครบริการนี้ภายในวันที่ 18 มิถุนายนนี้
รวมสามข่าวที่เกี่ยวกับกรณีเซิร์ฟเวอร์ของโซนี่ถูกแฮ็กนะครับ
ข่าวแรก หลังโซนี่ชี้แจ้งกับวุฒิสภาของสหรัฐว่า กลุ่ม Anonymous อาจเป็นคนเจาะระบบของ PlayStation Network ทางกลุ่ม Anonymous ก็ออกแถลงการณ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว และยืนยันว่าแกนนำของกลุ่มไม่มีนโยบายขโมยข้อมูลบัตรเครดิต
แนวทางที่ผ่านมาของกลุ่ม Anonymous จะเน้นโจมตีบริษัทที่เป็นศัตรูกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (เช่น กรณีของ Wikileaks) อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Anonymous เป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ จึงยังมีความเป็นไปได้ว่าสมาชิกบางส่วนไม่ได้ยึดตามมติของกลุ่ม - VentureBeat
Google Earth for Android ออกรุ่นใหม่แล้ว ฟีเจอร์ใหม่คือแสดงสิ่งปลูกสร้าง 3 มิติ (แบบใส่ texture) และเพิ่มแถบ action bar สำหรับเข้าถึงคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ
นอกจากนี้ Google Earth รุ่นนี้ยังปรับแต่งให้เหมาะกับแท็บเล็ต Android 3.0 Honeycomb ด้วย โดยใช้ประโยชน์จากหน้าจอที่กว้างขึ้น เช่น แสดงภาพหรือข้อมูลจากเลเยอร์ต่างๆ ซ้อนทับลงไปบนหน้าจอได้โดยไม่ต้องสลับโหมด
Google Earth ใช้ได้กับ Android 2.1 ขึ้นไปครับ
ที่มา - Google Mobile Blog
บริษัท comScore ได้เปิดเผยผลสำรวจตลาดโฆษณาออนไลน์ในสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2011 พบว่ามีโฆษณาถูกแสดงไปประมาณ 1.1 ล้านล้านครั้ง ในจำนวนนี้ถูกแสดงบน Facebook กว่า 346,455 ล้านครั้ง หรือเกือบ 1 ใน 3 ของโฆษณาทั้งหมด
สำหรับรายการอันดับรองๆ ลงไปนั้นได้แก่ Yahoo! อยู่ที่ 112,511 ล้านครั้ง, ไมโครซอฟท์ 53,592 ล้านครั้ง, AOL 33,454 ล้านครั้ง, กูเกิล 27,993 ล้านครั้ง ที่เหลือเป็นบริษัทผลิตรายการดั้งเดิมเช่น Fox, CBS, และ Viacom เป็นต้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือในฝั่งผู้ซื้อนั้น มีบริษัทที่เรารู้จักกันเช่น AT&T เป็นอันดับหนึ่ง, Netflix อยู่อันดับที่ 6, และ Groupon อยู่อันดับที่ 7
ความวุ่นวายในประเด็นสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ Java ยังไม่จบลงง่ายๆ โดยระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาลนี้ทางออราเคิลก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ Apache Foundation เปิดเผยการสื่อสารกับกูเกิลและ Open Handset Alliance ตลอดจนพนักงานอื่นๆ ของกูเกิล โดยเฉพาะในประเด็นสัญญาอนุญาตของ Java SE และ Apache Harmony
เนื่องจาก Android นั้นใช้ไลบรารีจำนวนมากจาก Apache Harmony ซึ่งไม่เคยได้รับการรับรองว่าผ่าน Java TCK เนื่องจากติดข้อสัญญาอนุญาตของตัว TCK เอง การที่ออราเคิลดึง Apache เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เป็นไปได้ว่าออราเคิลกำลังพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่า Apache Harmony เองก็ละเมิดสิทธิบัตรของออราเคิล ซึ่งทำให้ Android ละเมิดไปด้วย (ดูข่าวเก่า)
แม้ในแง่เทคโนโลยีแล้ว NVIDIA จะดูน่าตื่นเต้นกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ แต่เนื่องจากไม่มีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองอย่างจริงจัง ทำให้ตลาดพีซีของ NVIDIA ดูจะมีปัญหาในยุคที่ GPU ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ CPU แน่นขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนแบ่งล่าสุดของ NVIDIA อยู่ที่ 20% เท่านั้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่อยู่ที่ 22.5% และไตรมาสแรกของปีที่แล้วอยู่ที่ 28% เป็นผู้ผลิตหลักรายเดียวที่มียอดจำหน่ายลดลง
ที่หลายคนคิดไม่ถึงคือเมื่อรวมตลาดกราฟิกรวมแล้ว ตอนนี้อินเทลเป็นผู้ส่งมอบชิปกราฟิกมากที่สุดในโลกด้วยส่วนแบ่งถึง 54.4% เทียบกับปีที่แล้วที่ 49.6% จากการที่รวม GPU เข้าไปในซีพียูแทบทุกรุ่น ส่วน AMD นั้นยังอาการ "ทรง" ด้วยส่วนแบ่ง 24.8% เทียบกับไตรมาสที่แล้ว 24.2% และไตรมาสแรกของปีที่แล้ว 21.5%
หมายเหตุ: ข่าวนี้มีศัพท์เทคนิคด้านการเข้ารหัสค่อนข้างมาก อ่านรายละเอียดกันเองตามลิงก์ Wikipedia ที่ให้ไว้นะครับ
LastPass ซอฟต์แวร์ช่วยจัดการรหัสผ่านแบบข้ามแพลตฟอร์ม รายงานว่ามีทราฟฟิกไม่ปกติเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง และแปลว่าข้อมูลของผู้ใช้ซึ่งได้แก่ อีเมล, salt ของเซิร์ฟเวอร์ และ hash ของรหัสผ่านที่ถูก salt แล้ว อาจจะถูกเจาะไปด้วย (ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกเจาะไปจริง)
อดีตยักษ์อินเทอร์เน็ตอย่างยาฮูเกาะกระแสสมาร์ทโฟนได้ไม่ค่อยดีนัก แอพมีไม่เยอะมากและที่มีอยู่ก็ไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่ล่าสุดผู้บริหารที่คุม Flickr และ Yahoo! Mail ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider บอกว่ากำลังปรับปรุงใหม่ จะเห็นผลงานในเร็วๆ นี้
Steve Douty ผู้บริหารที่ดูแล Flickr ยอมรับว่าแอพมือถือสำหรับถ่ายและแชร์ภาพอย่าง Instagram/Color นั้นทำออกมาได้ดี และแอพ Flickr บน iOS ยังตามหลังแอพเหล่านี้อยู่มาก ตอนนี้เรื่องแอพกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของ Flickr และเราเห็นแอพรุ่นบน WP7 ไปแล้ว เขาสัญญาว่าเราจะได้เห็นแอพคุณภาพระดับเดียวกันบน Android/iOS ในเร็วๆ นี้
ที่มา - Business Insider
เว็บไซต์ BGR ปล่อยข่าวลือที่เกี่ยวกับ BlackBerry ออกมาสองข่าว
ข่าวแรกคือ PlayBook รุ่นหน้าจะออกวางขายช่วงปลายปีนี้ น่าจะเป็นจอ 10" และจะใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ทำแอพสำคัญๆ เสร็จแล้ว
ข่าวที่สอง มือถือ BlackBerry รุ่นใหม่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS 7 อาจเลื่อนวันวางจำหน่ายออกไป (โดยไม่ระบุสาเหตุ) อย่างมือถือที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุด BlackBerry Bold 9900 เดิมบอกว่าขายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ อาจเลื่อนเป็นเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป (ส่วนมือถืออื่นๆ น่าจะเปิดตัวที่งาน BlackBerry DevCon เดือนตุลาคม)
Reuters รายงานว่าทั้ง Facebook และกูเกิลกำลังจะหาทางซื้อ Skype โดยซีอีโอของ Facebook นาย Mark Zuckerberg เองกำลังตัดสินใจว่าจะเข้าซื้อ Skype เลยดีหรือไม่ โดยการเข้าซื้อในครั้งนี้อาจจะอยู่ที่ 3 ถึง 4 พันล้านดอลลาร์ แต่แหล่งข่าวอีกแหล่งหนึ่งรายงานว่าทั้ง Facebook และกูเกิลต้องการที่จะเข้าร่วมธุรกิจในลักษณะ Joint-venture กับ Skype มากกว่าจะเข้าซื้อ
สำหรับตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ มากมายเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเรื่องนี้ แต่ผลประโยชน์ที่สองบริษัทนี้จะได้รับจากการเข้าร่วมงานหรือเข้าซื้อ Skype ค่อนข้างชัดเจน เมื่อทั้งสองบริษัทล้วนแล้วแต่มีบริการที่เกี่ยวกับการเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสาร บริการบนโทรศัพท์มือถือ และธุรกิจที่เกี่ยวกับการโฆษณา
หมายเหตุ mk: ผมไปงานนี้เหมือนกันแต่ยังไม่ได้เขียนเสียที เลยขอบล็อกของคุณ @fordantitrust มาลงแทน (ต้นฉบับ) โดยเปลี่ยนชื่อเรื่องเล็กน้อยให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นหน่อยครับ
งานจัดเมื่อวันพุธที่ 27 เมษายน 2554 เวลา 18.00 น. ที่ ร้านฟาลาเบลล่า (สถานีรถไฟฟ้าราชดำริ) คนไม่เคยไปเลยงงๆ นิดๆ แต่หาใน Google Maps ก็ดูจะไม่ยากเท่าไหร่ ซึ่งผมไปสายนิดหน่อย ไปเจอ @markpeak ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ก็เลยเดินไปด้วยกัน
แจ้งทราบ! รูปภาพทั้งหมดจากกล้อง @ipats ครับ -/\-
ใครที่ยังคิดว่า "แมคไม่มีไวรัส" แบบที่แปะตามหน้าร้านขายแมคในบ้านเรา อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย CSIS Security Group ออกมาเตือนภัยว่าตอนนี้ในบอร์ดใต้ดินของแฮ็กเกอร์ มีคนสร้าง "ชุดสร้างมัลแวร์" สำหรับแมคขึ้นมาขายแล้ว ชุดเครื่องมือนี้มีชื่อว่า Weyland-Yutani BOT ประกอบด้วยเครื่องมือพื้นฐานหลายอย่างสำหรับการสร้างมัลแวร์ โดยผู้ที่ซื้อชุดเครื่องมือนี้ไปจะสามารถปรับแต่งเพื่อสร้างมัลแวร์ของตัวเองได้ง่าย
มัลแวร์จากชุด Weyland-Yutani BOT สามารถโจมตีเครื่องแมคได้หลายทาง ทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือสร้างฟอร์มบนเว็บเพื่อ inject โค้ดเจาะเข้ามาทาง Firefox บนแมคได้ ตามรายงานบอกว่ากำลังจะสนับสนุน Chrome และ Safari ในเร็วๆ นี้
ระบบอีเมลองค์กรถูกครอบครองตลาดโดย Microsoft Exchange มายาวนาน แต่ช่วงหลังก็เริ่มโดนรุกตลาดจากระบบเมลบนกลุ่มเมฆ โดยเฉพาะคู่กัดสำคัญ Google Apps (จริงๆ ก็มียี่ห้ออื่นอีกมากแต่คงไม่สำคัญเท่า)
Google Apps รุกตลาดอีเมลองค์กรด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า คือคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่า Exchange Server ก่อนแบบของไมโครซอฟท์ ทำให้มีลูกค้าองค์กรย้ายไปใช้ Google Apps แทน Exchange จำนวนไม่น้อย
วันนี้ไมโครซอฟท์ออกมาโต้กลับ Google Apps แล้ว โดยใช้แคมเปญว่า "The Hidden Google Tax" หรือค่าใช้จ่ายแฝงที่มากับผลิตภัณฑ์ของกูเกิล
ไมโครซอฟท์บอกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับ Google Apps แค่ 50 ดอลลาร์ต่อปีก็จริง แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกไม่น้อย แบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่
หน่วยย่อยที่สุดของการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ยังเป็น "ทรานซิสเตอร์" ที่ทำหน้าที่ปล่อย/ปิดกั้นการไหลของอิเล็กตรอน ซึ่งจะกลายมาเป็นสถานะ 0 หรือ 1 ในโลกของคอมพิวเตอร์
ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ (ดังที่เราได้ยินข่าวว่าผลิตที่ระดับกี่นาโนเมตร) แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่มีการสร้างทรานซิสเตอร์ขึ้นมาก็คือ "ทิศทาง" การไหลของอิเล็กตรอนที่จะไหลในแนวระนาบ (2D) เท่านั้น สิ่งที่อินเทลประกาศในวันนี้คือความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า Tri-Gate ซึ่งส่งกระแสอิเล็กตรอนในแนวบน-ล่างได้ด้วย (เพิ่มมาอีกมิติเป็น 3D)
อธิบายเป็นตัวหนังสือก็เข้าใจยาก ดูภาพดีกว่าครับ
เมื่อมีอัพเดตใหม่ ๆ สำหรับอุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิล ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องทำการ Sync อุปกรณ์นั้น ๆ เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม iTunes ติดตั้งอยู่เพื่อที่จะทำการอัพเดต แต่ 9to5Mac รายงานว่าแอปเปิลอาจจะเปลี่ยนมาใช้การอัพเดตแบบ Over-the-air (OTA) ผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายคล้าย ๆ กับมือถือ Android ตั้งแต่ iOS 5 เป็นต้นไป