ในงาน Duocon หรืองานประชุมของ Duolingo แพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา มีประกาศของใหม่ หนึ่งในนั้นคือแพ็กเกจเรียนแบบครอบครัว หรือ Family Plan บัญชีเดียวสามารถเช้าใช้งาน Duolingo Plus หรือฟังก์ชั่นพรีเมียมของ Duolingo ได้ 6 คน เข้าถึงการใช้งานไม่มีโฆษณา
เว็บไซต์ Android Police ไปเจอ YouTube กำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่ เมื่อผู้ใช้ค้นหาคลิปใดๆ ก็ตามเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อคลิป แคปชั่น คำบรรยายคลิป ที่แสดงในผลการค้นหาจะถูกแปลเป็นภาษาท้องถิ่นของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ โดยตอนนี้พบว่าใช้งานได้ในภาษาตุรกีและโปรตุเกส และใช้งานได้ทั้งบนแอปมือถือและเดสก์ทอป เพื่อให้เห็นภาพเพิ่มเติม สามารถกดดูรูปที่แหล่งข่าวต้นทางได้
บริษัท LocalizeDirect รายงานสถิติของปี 2019 พบว่า ภาษาแปลในเกมที่มีอัตราเติบโตเพิ่มมากที่สุดในรอบ 4 ปี คือภาษาไทย ที่เติบโตถึงเกือบ 4 เท่า และภาษาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาแปลหลัก เช่น โปแลนด์ ตุรกีและเวียดนาม ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นด้วย
ภาษาที่แปลในภูมิภาคอาเซียนนับได้ว่าเติบโตได้อย่างน่าสนใจ โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มีมูลค่าตลาดเกมสูงที่สุด คาดว่าจะสร้างกำไรให้ผู้พัฒนา จนอาจจะได้เห็นเกมที่มีการแปลภาษาไทยมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ Google Assistant ประกาศเพิ่มความสามารถใหม่ Assistant's Interpreter mode สามารถแปลภาษาและการสนทนายาวๆ ได้แบบเรียลไทม์ ล่าสุดเริ่มเปิดใช้งานในโทรศัพท์ทั้ง iOS และแอนดรอยด์แล้วทั่วโลก ครอบคลุม 44 ภาษา มีภาษาไทยด้วย
ผู้ใช้งานจะต้องพูดคำสั่งให้แปล เช่น Ok Google Be my Italian interpreter, Help me speak Spanish, Interpret from Polish to Dutch, Chinese interpreter, Turn on interpreter mode เป็นต้น จากนั้นก็พูดภาษาถิ่นของตัวเอง ระบบจะแสดงคำแปลและเสียงพูดให้ทันทีที่พูดจบ
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาผมได้ร่วมแข่ง TechJam ที่ KBTG จัด และพบว่าทีม "Meow Meow :3" ผู้ชนะการแข่งขันเลือกใช้ภาษา MiniZinc ในการแก้โจทย์ปัญหา และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วเป็นทีมแรกๆ เสียด้วย
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นเลยกลับมาศึกษาภาษานี้บ้าง และพบว่ามันเป็นภาษาที่ไม่เหมือนภาษาอื่นๆ ที่คุ้นเคยเลย การเขียนโปรแกรมจะไม่ใช่การบอกลำดับการทำงานต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์ไปทำตามแล้ว แต่จะเปลี่ยนไปมองว่าผลลัพธ์ที่ต้องการนั้นมีข้อจำกัดอะไรบ้าง หลังจากเขียนข้อจำกัดต่างๆ จนครบก็ปล่อยให้คอมพิวเตอร์ไปคิดวิธีหาคำตอบเอาเอง
เมื่อวันที 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการไมโครซอฟท์ประเทศไทย ระบุว่าบริการ Speech-to-Text ที่อยู่ในชุดบริการ Microsoft Cognitive Services กำลังจะรองรับภาษาไทย ในเร็วๆ นี้โดยจะเปิดตัวเป็นทางการวันที่ 24 กันยายนในงาน Microsoft Ignite ที่ออร์แลนโด
บริการ Speech-to-Text นับเป็นบริการสำคัญของกลุ่มบริการ AI บนคลาวด์ โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Google Cloud, Amazon, IBM Watson, และ Azure ล้วนมีบริการนี้ทั้งสิ้น แต่มีเฉพาะกูเกิลเท่านั้นที่รองรับภาษาไทยในตอนนี้
ยังไม่มีข้อมูลว่าจะ Azure จะรองรับภาษาใดเพิ่มพร้อมกับภาษาไทยบ้าง ตอนนี้บริการรองรับเฉพาะภาษา อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน
มีเทคนิคมากมายที่ช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ Duolingo แพลตฟอร์มและแอพสอนภาษาต่างประเทศชื่อดังเชื่อว่าใช้ได้ผลก็คืออาศัยน้ำเปลี่ยนนิสัย และนี่จึงเป็นที่มาของ Brewolingo คราฟท์เบียร์ที่จะทำให้พูดภาษาใหม่ๆ ได้ลื่นไหลไม่ต้องมัวเคอะเขินกระดากปาก
เบียร์ Brewolingo มีด้วยกัน 4 แบบ 4 รสชาติ โดยบรรจุขนาดเดียวกันหมด 12 ออนซ์ โดยเบียร์แต่ละรสก็มีดีกรีแตกต่างกันไป ได้แก่ แบบฉลากเขียว Spring Season-Owl (5.0%), แบบฉลากม่วงIndia Pale Owl (8.2%), แบบฉลากแดง Mad Amber Owl (5.6%) และแบบฉลากดำ Night Owl Stout (9.6%)
Google ประกาศว่า Google Maps ในตอนนี้รองรับการใช้งานเพิ่มอีก 39 ภาษา โดยเป็นทั้งการเพิ่มภาษาในเมนูการใช้งานต่างๆ ของ Google Maps ตลอดจนข้อความในระบบนำทาง
Google บอกว่าภาษาทั้ง 39 ภาษานี้ ถูกใช้งานโดยผู้คนมากกว่า 1.25 พันล้านคนจากหลายประเทศในทวีปยุโรป, เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งงานนี้ภาษาท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเราก็มากันเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ ภาษาพม่า, ภาษาเขมร, ภาษามาเลย์, ภาษาลาว, ภาษาอินโดนีเซีย, ภาษาฟิลิปปินส์ และภาษาเวียดนาม
Google เผยอัพเดทการพิมพ์ด้วยเสียงรองรับภาษาท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลกเป็น 30 ภาษาท้องถิ่น จนตอนนี้สามารถรองรับพิมพ์ด้วยเสียง 119 ภาษาแล้ว นอกจากนี้ยังอัพเดทให้พูดภาษาอังกฤษและพิมพ์ออกมาเป็นอีโมจิได้ด้วย
เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติวันนี้ เพจ THOTH ZOCIAL ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการตลาด เผยข้อมูลคำที่คนไทยมักเขียนผิดในโซเชียล โดยรวบรวมข้อมูลจากการเก็บข้อมูลสาธารณะผ่านโซเชียลช่องทางต่างๆ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม - 20 กรกฎาคม ปีนี้ ซึ่งคำว่า "นะคะ" เขียนผิดเป็น "นะค่ะ" มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ 948,640 ครั้ง
เหล่าวิศวกรชีววิทยาแห่ง MIT ได้สร้างภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ด้วยการเขียนโปรแกรมดังกล่าว พวกเขาจะสามารถออกแบบวงจรรหัสพันธุกรรมให้แก่เซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อกำหนดลักษณะเฉพาะของเซลล์นั้นได้
ด้วยภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ ไม่ว่าใครก็สามารถออกแบบฟังก์ชั่นของเซลล์ได้ เช่น สั่งให้เซลล์ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและทำการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนด จากนั้นพวกเขาก็จะสร้างรหัสพันธุกรรมขึ้นมาตามโปรแกรมที่เขียนเอาไว้ ก่อนจะนำไปใส่ไว้ในเซลล์สิ่งมีชีวิต
ต้นปีที่ผ่านมา Google เพิ่มฟีเจอร์แปลภาษาป้ายข้อความให้ Google Translate โดยเพียงแค่เปิดแอพแล้วเลือกการแปลโดยเปิดกล้อง แอพก็จะแปลภาษาข้อความที่ปรากฏในกล้องให้เองอัตโนมัติ โดยรองรับการแปล 7 ภาษายุโรป มาวันนี้ฟีเจอร์ดังกล่าวรองรับภาษาอื่นๆ เพิ่มอีก 20 ภาษา และที่สำคัญคือรองรับภาษาไทยแล้ว
Google ปล่อย Chrome รุ่นสำหรับนักพัฒนาเวอร์ชันใหม่ 45.0.2453.0 ซึ่งเริ่มเห็นรูปร่างของฟีเจอร์การตรวจการสะกดคำในหลายภาษาได้พร้อมกัน
ก่อนหน้านี้ Chrome สามารถตรวจการสะกดคำผิดได้อยู่แล้ว แต่ทำได้แค่ทีละภาษา ซึ่งผู้ใช้ต้องเป็นผู้เลือกเองว่าจะให้มันตรวจการสะกดภาษาใด หากในการใช้งานจริงของผู้ใช้ ต้องการพิมพ์ข้อความหลายภาษาสลับกันไปมาและตรวจการสะกดคำทั้งหมด ผู้ใช้จะต้องเลือกตั้งค่า Chrome เอง ซึ่งถือว่าค่อนข้างยุ่งยากน่ารำคาญใจ นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาความสามารถนี้ใน Chrome เวอร์ชันใหม่
นาย Chris Reykdal สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมายต่อคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎร (The Washington State House of Representatives Committee on Higher Education) กำหนดให้ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถใช้แทนภาษาต่างประเทศในการพิจารณาสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐได้
ที่ผ่านมา นักเรียนที่ต้องการสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ จำเป็นต้องเรียนภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษาเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา
นักวิจัยของ MIT พัฒนาภาษาใหม่สำหรับการสร้างเว็บ ให้ชื่อว่า Ur/Web โดยรวมเอาเทคโนโลยีสำคัญสำหรับการพัฒนาเว็บมาไว้ด้วยกัน
Apple เพิ่มความสามารถให้แก่ iWork for iCloud ชุดโปรแกรมสำนักงานที่ทำงานผ่านเว็บ โดยเพิ่มการรองรับภาษาใหม่อีก 8 ภาษา และมีการปรับปรุงให้ผู้ใช้เปลี่ยนชื่อไฟล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้ง Pages, Numbers และ Keynote จะรองรับการใช้งานเพิ่มสำหรับภาษาโปรตุเกส (บราซิล), ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ญี่ปุ่น, จีน และสเปน โดย Pages นั้นจะพิเศษกว่าตรงที่ยังรองรับการใช้งานในภาษาอาหรับและฮีบรูด้วย
นอกจากนี้ในการใช้งานทั้ง 3 โปรแกรมที่ว่ามา ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์เอกสารได้แม้ในขณะที่เปิดเอกสารเพื่อแก้ไขเนื้อหาในไฟล์อยู่ก็ตาม
แม้ว่า Chrome จะเป็นเว็บเบราว์เซอร์ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมบนหลายแพลตฟอร์ม แต่ผู้ใช้ชาวไทยหลายคนก็เจอปัญหาเรื่องการใช้งานกับภาษาไทยที่ไม่สามารถลบพยัญชนะหรือสระได้ตามที่ต้องการ จนต้องหนีไปใช้เว็บเบราว์เซอร์ตัวอื่นเพื่อเลี่ยงความยุ่งยากดังกล่าว
แต่ล่าสุดบัญชี Twitter ของ Google Thailand ได้ทวีตข้อความระบุว่า Chrome สำหรับอุปกรณ์ Android รุ่นล่าสุดได้รับการแก้ไขปัญหานี้แล้ว โดยผู้ใช้สามารถอัพเดต Chrome เป็นรุ่นใหม่นี้ได้ทันที
ที่มา - @GoogleThailand
Google ทำการปรับปรุงให้ Gmail บริการอีเมลของตนเองรองรับการใช้งานกับภาษาต่างๆ เพิ่มอีก 13 ภาษา รวมแล้วตอนนี้ Gmail สามารถใช้งานได้กับ 71 ภาษา
13 ภาษาที่ว่านี้ได้แก่ ภาษาอาฟริกัน, อาร์เมเนียน, อาร์เซอร์ไบจัน (Azeri), จีน (ฮ่องกง), ฝรั่งเศส (แคนาดา), กาลีเซียน, จอร์เจียน, เขมร, ลาว, มองโกล, เนปาล, สิงหล และภาษาซูลู
สิ่งที่น่าสนใจคือ 71 ภาษาที่ใช้งาน Gmail ได้ในขณะนี้ คิดเป็น 94% ของการใช้ภาษาสื่อสารระหว่างกันของประชากรอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เรียกได้ว่า Google เข้าใกล้เป้าหมายแห่งโลกอินเทอร์เน็ตที่ไร้พรมแดนภาษาไปอีกนิดแล้ว
ที่มา - Ubergizmo
โปรแกรม E.P. Speak & Listen ใช้สำหรับช่วยในการหัดฟังและออกเสียงคำในภาษาอังกฤษ มีการทำงานสองอย่างคือ (1) การแปลงข้อความเป็นเสียงพูด และ (2) แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ โดยอาศัยความสามารถในการออกเสียงและรู้จำเสียงของแอนดรอยด์รุ่น 2.2 ขึ้นไป
ยกตัวอย่างเราอยากออกเสียงคำว่า "test" ถ้าเราพอรู้อยู่แล้วว่าคำนี้ออกเสียงอย่างไร เราก็กดที่ปุ่ม Listen (หมายความว่าโปรแกรมเป็นฝ่ายฟัง) เมื่อเราพูดเสร็จโปรแกรมจะแสดงคำที่คิดว่าเราพูดออกมา เรียงตามลำดับความใกล้เคียง เช่น ออกมาเป็น "test, tests, text, teste, testing" เราสามารถกดที่แต่ละคำเพื่อฟังว่าแต่ละคำออกเสียงอย่างไรเพื่อเปรียบเทียบได้อีกด้วย
ท่ามกลางเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศอียิปต์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา Twitter ได้มองเห็นโอกาสและตัดสินใจทดสอบระบบการแปลภาษาอัตโนมัติ โดยเลือกใช้งานกับผู้ใช้บางรายในอียิปต์
Twitter ได้ทำการแปลข้อความทวีตของบรรดาผู้นำฝ่ายต่างๆ ของอียิปต์ ซึ่งรวมทั้งอดีตประธานาธิบดี Mohammed Morsi, ผู้นำฝ่ายปฏิวัติ Mohammed ElBaradei และผู้นำกลุ่ม Arab Spring อย่าง Wael Ghonim โดยข้อความของบรรดาผู้นำเหล่านั้นได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติ
การแสดงผลคำแปลภาษาอังกฤษนี้ จะปรากฏแก่ผู้ใช้งาน Twitter ที่ไม่ได้ตั้งค่าภาษาที่ใช้งานเป็นภาษาอารบิก โดยเครื่องมือที่ใช้ในการแปลก็คือ Bing Translator ของ Microsoft
Google Drive ประกาศการอัพเดตใหม่ รองรับการใช้งานเพิ่มอีก 18 ภาษา รวมทั้งภาษาของประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเขมร, ลาว และมาเลย์ด้วย
ภาษาทั้งหมดที่ Google รองรับการใช้งานเพิ่มเติมในครั้งนี้ ได้แก่ แอฟริกัน, เอธิโอเปีย, บาสก์, จีน (ฮ่องกง), เอสโตเนีย, ฝรั่งเศส (แคนาดา), กาลิเซีย, ไอซ์แลนด์, เขมร, ลาว, มาเลย์, เนปาล, เปอร์เซีย, สิงหล, สเปน (ละตินอเมริกา), สวาฮิลี, อูรดู และซูลู
จากการอัพเดตในครั้งนี้ทำให้ปัจจุบัน Google Drive รองรับการใช้งานทั้งหมด 65 ภาษาแล้ว ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้สามารถพิมพ์เอกสารในภาษาเหล่านี้ได้แล้ว อย่างไรก็ตามการตั้งค่าเมนูของ Google Drive ยังทำได้ไม่ครบทุกภาษา และฟีเจอร์ตรวจการสะกดคำก็ยังสามารถใช้งานได้เฉพาะบางภาษาเท่านั้น
วันนี้ทางกูเกิลได้เปิด Google Search ภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งภาษาในหน้าแรกของการค้นหาแล้ว โดยทางกูเกิลนั้นได้นำเอาตัวอักษรตัวอย่างที่ชื่อว่า Myanmar 3 หรือ MM3 ซึ่งเป็นอักขระมาตรฐานสากล ที่สอดคล้องกับทุกโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ (Unicode-compliant) มาใช้กับหน้าแรกและระบบการค้นหาของ Google Search
พร้อมกันนี้ระบบ Google Search ภาษาพม่ายังสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในพม่าได้ด้วย อาทิ ภาษาม้ง, ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาบาลี, ภาษาปะหล่องรูไม และ ภาษาไทยใหญ่ เป็นต้น และถ้าใครอยากลองค้นหาในรูปแบบภาษาพม่าก็ลองเข้าไปที่ www.google.com.mm ได้เลย
สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีแป้นพิมพ์ภาษาพม่า ทางกูเกิลได้มีการใส่แป้นพิมพ์เสมือนไว้ในกล่องค้นหาเรียบร้อยแล้ว
พจนานุกรมภาษาอังกฤษ Oxford Dictionaries ประกาศเพิ่มคำศัพท์ใหม่ๆ จากโลกเทคโนโลยีและวัฒนธรรมไซเบอร์อีกหลายคำ
ความหมายของคำเหล่านี้และรายการคำอื่นๆ ที่ถูกเพิ่มเข้ามา อ่านได้ที่ Herald Suns
กูเกิลเปิดตัวส่วนเสริมบน Chrome ตัวใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกพูดภาษาต่างชาติจากภาษาอังกฤษกว่า 64 ภาษาในชื่อ Language Immersion for Chrome ที่พัฒนาด้วยเอนจินจาก Google Translate
หลักการทำงานของส่วนเสริมตัวนี้คือการเปลี่ยนบางคำจากในบทความภาษาอังกฤษบนหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ให้เป็นภาษาอื่น โดยสามารถเลือกความยากง่ายของประโยคได้ทั้งสิ้นสี่ระดับ โดยประโยคที่เปลี่ยนไปเป็นภาษาอื่นจะมีกรอบสีฟ้าขึ้นมา เวลาเอาเม้าส์ไปวางไว้ก็จะออกเสียงให้ฟัง ถ้าคลิกที่คำจะกลับเป็นภาษาอังกฤษดังเดิม
นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงแต่อ่านคำพูดจากปาก ยังสามารถบอกความแตกต่างของแต่ละภาษาได้อีกด้วย
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย Anglia พัฒนาเทคโนโลยีนี้โดยคำนวนจาก การขยับปากของผู้ทดสอบจำนวน 23 คน ซึ่งสามารถพูดได้สองภาษาถึงสามภาษา
โดยเจ้าเครื่องที่ว่านี้สามารถระบุภาษาพูดในแต่ละภาษาได้อย่างแม่นยำมาก อีกทั้งยังสามารถระบุถึงคำของภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อาระบิก, จีนกลาง, จีนกวางตุ้ง, อิตาลี, โปแลนด์และรัสเซีย