Applied Micro ผู้ผลิตซีพียู ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์ตระกูล X-Gene ประกาศผลปประกอบการไตรมาสสี่ ปีบัญชี 2015 รายงานรายได้ 37 ล้านดอลลาร์ ขาดทุน 15.1 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งปีรายได้ 156 ล้านดอลลาร์ ขาดทุน 55 ล้านดอลลาร์
แม้รายได้จะไม่ดีนัก แต่ Applied Micro ประกาศสองเรื่องในงานประชุมผู้ถือหุ้น เรื่องแรกคือ Paypal เริ่มใช้งานซีพียูของ X-Gene แล้ว และอ้างว่าค่าติดตั้งศูนย์ข้อมูลที่ใช้ X-Gene นั้นมีราคาเพียงครึ่งเดียวของศูนย์ข้อมูลทั่วไป และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ที่ 1 ใน 7 ของศูนย์ข้อมูลทั่วไป
เรื่องที่สองคือยอดขายในปีที่ผ่านมา ระบุว่าบริษัทสามารถทำยอดขายได้เกินเป้าหมื่นชุดในปีที่แล้ว
ซีพียู ARM รุ่นใหม่ๆ ทุกวันนี้สามารถแบ่งงานตามความต้องการพลังประมวลผลสองระดับที่เรียกว่า big.LITTLE แต่วันนี้ MediaTek ก็เปิดตัว Helio X20 (MT6797) ซีพียูสิบคอร์ที่แบ่งระดับประมวลผลออกเป็นสามระดับ TINY.medium.huge
ซีพียูสามระดับ จะเริ่มจาก Cortex-A53 1.4GHz สี่คอร์ ทำงานเมื่อระบบต้องการพลังประมวลผลต่ำสุด, Cortex-A53 2.0GHz สี่คอร์เมื่อต้องการพลังประมวลผลปานกลาง, และ Cortex-A72 สองคอร์เมื่อต้องการพลังประมวลผลสูงสุด
MediaTek อ้างว่าแนวทางออกแบบนี้ทำให้ซีพียูกินพลังงานน้อยลงเมื่อต้องการพลังประมวลผลต่ำๆ ขณะที่เมื่อต้องการพลังประมวลผลสูงๆ ก็ยังมีคอร์แรงๆ ให้ใช้งาน ตัวเลขที่ระบุตอนนี้คือ Antutu 5.6 จะได้คะแนนมากกว่า 70,000 คะแนน
CERN เป็นหน่วยงานที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงประมวลข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเดือนที่แล้ว Liviu Vâlsan นักวิจัยใน CERN ก็นำเสนอรายงานการวัดประสิทธิภาพซีพียูสี่ตระกูล ได้แก่ IBM POWER 8 Turismo, Applied Micro X-Gene 1, Intel Atom Avoton C2750, และ Intel Xeon E3-1285L
ซีพียูทุกตัวเป็น 8 เธรดยกเว้น POWER 8 ที่มีถึง 32 เธรดใน 4 คอร์ เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วยชุดทดสอบ HEP-SPEC06 พบว่าประสิทธิภาพแซงหน้าซีพียูทุกตัวเมื่อรันที่ 16 เธรดขึ้นไป แต่เมื่อรันด้วยชุดทดสอบ Geant 4 ที่เป็นซอฟต์แวร์จำลองการเดินทางของอนุภาค ประสิทธิภาพของ Xeon กลับดีกว่ามาก
Gigabyte เปิดตัวเมนบอร์ด MP30-AR0 และเซิร์ฟเวอร์ R120-P30 ที่ใช้ซีพียู AppliedMicro X-Gene ที่ภายในเป็น ARMv8 จำนวน 8 คอร์
ยังไม่เปิดราคาทั้งเซิร์ฟเวอร์และเมนบอร์ด
เอเอ็มดีเปิดตัว Hierofalcon ซีพียู ARM Cortex-A57 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์สื่อสาร สเปคของซีพียูออกแบบมาเพื่องานเฉพาะทาง โดยเฉพาะมันไม่มีวงจรกราฟิกในตัว
สเปคส่วนที่เหลือค่อนข้างแรง
หลังจาก Hierofalcon ปีนี้จะ Project Skybridge ที่เป็นซีพียูให้เลือกได้ทั้ง x86 และ ARM ส่วนปีหน้าจะเปิดตัวซีพียู K12 ที่ดัดแปลงจาก ARM ปกติไป
หลังจากเขี่ย Snapdragon รุ่นล่าสุดออกจาก Galaxy S6 และใช้ชิป Exynos ของตัวเองแทนเมื่อไม่นานมานี้ ล่าสุดมีข่าวว่าซัมซุงมีแผนจะยกระดับชิปบนอุปกรณ์พกพาของตัวเองไปอีกขั้นด้วยการออกแบบชิปของตัวเองแบบเดียวกับที่ Qualcomm และ Apple ได้ทำไว้
แหล่งข่าวระบุว่า Lee Jae-yong รองประธานของซัมซุงได้กำชับกับบรรดาผู้บริหารว่าซัมซุงต้องพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้ทำได้มากกว่าแค่ออกแบบอุปกรณ์พกพา แต่ลึกไปถึงการออกแบบชิปภายในด้วย ซึ่งไปในทิศทางเดียวกับที่นักวิจัยออกมาบอกไว้ว่าส่วนธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์จะเติบโตขึ้นเพื่อมาทดแทนยอดขายสมาร์ทโฟนที่กำลังชะลอตัวลง
MediaTek ผู้ผลิตชิปสำหรับอุปกรณ์โมบายราคาถูกเปิดตัวสินค้าหลายตัวในงาน MWC ที่บาเซโลน่า การประกาศที่สำคัญคือการประกาศรองรับ Chrome OS บนชิป Helio X10 หรือ MT6795 และการเปิดตัวชิป MT8173
MT6795 เป็นชิป ARMv8 64 บิตที่ใช้คู่คอร์ซีพียูเป็น Cortex-A53 และ Cortex-A57 อย่างละสี่คอร์เพื่อสลับกันทำงานตามโหลดประมวลผลตามแนวคิด big.LITTLE ประสิทธิภาพโดยรวมของมันแรงกว่า Snapdragon 810 มาก โดยข่าวลือก่อนหน้านี้ระบุว่า Meizu MX4 รุ่นที่วางขายนอกประเทศจีนก็จะใช้ชิปรุ่นนี้เช่นกัน
ไอบีเอ็มร่วมมือกับ ARM ออกชุด Ethernet IoT Starter Kit เป็นชุดรวมระหว่างบอร์ด Freescale K64F ที่มีขายก่อนหน้านี้แล้วและบอร์ดเสริม mbed Application shield ที่มีเซ็นเซอร์, จอภาพ, และอินพุตเอาไว้ในตัว
ความพิเศษของชุดพัฒนานี้คือมันต่อเข้ากับบริการ IoT Foundation ได้ทันทีจากซอฟต์แวร์ที่มีมาให้ในเครื่อง เมื่อลงทะเบียนเครื่องเข้ากับบริการแล้วจะสามารถเปิดให้บอร์ดรายงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ทันที
ยังไม่ระบุราคาทั้งชุดพัฒนาและบริการคลาวด์ แต่ค่าบริการคลาวด์ใช้งานฟรี 30 วัน
เลอโนโวประกาศความร่วมมือกับ Science and Technology Facilities Council (STFC) ร่วมกันวิจัยคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงในงานเฉพาะทาง
ทางเลอโนโวจะพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ใหม่จาก NeXtScale ที่ซื้อกิจการเซิร์ฟเวอร์ต่อมาจากไอบีเอ็ม โดยใช้ซีพียู Cavium ThunderX ที่เป็น ARMv8 ตู้ขนาด 6U จะมีเซิร์ฟเวอร์ 12 ชุด รวมจำนวนคอร์ทั้งหมด 1,152 คอร์
ทางเลอโนโวระบุว่างานวิจัยนี้จะมุ่งปรับให้เซิร์ฟเวอร์ใหม่เหมาะกับงานเฉพาะทางบางด้านเป็นหลัก
คู่แข่งร่วมประเทศอย่างแอลจี และซัมซุงยังคงเร่งเครื่องกันแบบหายใจรดต้นคอ หลังจากซัมซุงเพิ่งเปิดตัวชิป Exynos รุ่นใหม่ที่รองรับ 64 บิตไปได้ไม่กี่วัน ทางแอลจีก็ออกมายอมรับแล้วว่ากำลังพัฒนาชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาอยู่จริง และจะรองรับ 64 บิตด้วย
ชิปของแอลจีตัวนี้จะมาแทนรุ่นก่อนหน้าที่เคยจะใช้กับ LG G3 ด้วยการจับคู่ซีพียู ARM Cortex-A57 ควอดคอร์ กับ Cortex-A53 ควอดคอร์เข้าด้วยกัน ซึ่งถูกโละแผนไปแล้ว เปลี่ยนเป็นการใช้ซีพียูรุ่นใหม่ Cortex-A72 จับคู่กับ Cortex-A53 แทน โดยเคลมว่าประสิทธิภาพจะเหนือกว่าชิปทั่วไปถึง 50 เท่าด้วยกัน ส่วนฝั่งจีพียูจะใช้ Mali-T800 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่เช่นกัน
ทยอยเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ สำหรับ ARM ที่กำลังเข้าสู่ยุคของ 64 บิต ล่าสุดเปิดตัวชิปรุ่นใหม่มาสามตัวรวดอย่าง ARM Cortex-A72, Mali T880 และ CoreLink CCI-500
เริ่มต้นกันที่ตัวแรกสุด ARM Cortex-A72 เป็นซีพียูตัวแรงที่จะมาแทน Cortex-A57 ที่เพิ่งลงตลาดไปได้ไม่นาน ประสิทธิภาพของ Cortex-A72 จะแรงกว่าเรือธงของปีก่อนอย่าง Cortex-A15 ถึง 3.5 เท่าตัว แต่กินพลังงานน้อยกว่าถึง 75% ในประสิทธิภาพเท่ากัน โดยชิปรุ่นนี้รองรับการผลิตแบบ FinFET+ ที่ขนาด 16 นาโนเมตร และใช้งานร่วมกับ Cortex-A53 เพื่อใช้งาน big.LITTLE ได้
อีกตัวที่เปิดมาพร้อมกันอย่าง ARM Mali T880 ที่แรงกว่าจีพียูรุ่นปัจจุบันอย่าง Mali T720 ถึง 1.8 เท่า แต่กินพลังงานน้อยกว่า 40% และแรงพอจะรองรับ 4K ได้ทุกกระบวนท่าแล้ว
Raspberry Pi เปิดตัวบอร์ดคอมพิวเตอร์จิ๋วรุ่นใหม่ คือ Raspberry Pi 2 Model B เปลี่ยนชิปใหม่เป็น BCM2836 เร่งความเร็วประมวลผลเป็น Cortex-A7 4 คอร์ และเพิ่มแรมเป็น 1GB จากเดิม 512MB
ภาพบอร์ดรุ่นใหม่แสดงว่าตัวบอร์ดยังเหมือนรุ่น B+ แทบทุกประการ ต่างไปแค่ตัวซีพียูหลักเท่านั้น
ชิป Cortex-A7 น่าจะทำความเร็วต่อคอร์ดีกว่าชิปตัวเดิมที่เป็น AMR11 มาก โดยรวมแล้วประสิทธิภาพการประมวลผลจะดีขึ้นประมาณ 6 เท่าตัว ส่วนกราฟิกเองก็เพิ่มสัญญาณนาฬิกาจากเดิม 700MHz เป็น 900MHz
ตามที่ได้เห็นว่าชิปประมวลผลที่รองรับ 64 บิตมีให้เห็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน แม้ว่าราคาจะยังสูงด้วยความที่ชิปตัวที่ออกมายังกระจุกตัวอยู่ที่รุ่นกลางถึงรุ่นบนอยู่ แต่เจ้าพ่อวงการอย่าง ARM ก็ออกมาทำนายว่าราคาเริ่มต้นของสมาร์ทโฟนที่ใช้ LTE และรองรับ 64 บิต จะตกลงเหลือเพียง 70 เหรียญ หรือประมาณ 2,300 บาท ภายในปีนี้
การทำนายในครั้งนี้ของ ARM ยังระบุไปอีกว่า ครึ่งหนึ่งของสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่ขายในปีนี้จะใช้ชิปซีรีส์ ARMv8 ซึ่งรองรับ 64 บิตแล้ว และฟีเจอร์ที่ใช้ชีวมิติ (biometrics) อย่างการสแกนลายนิ้วมือ จะเพิ่มเข้าไปในหมู่ฟีเจอร์เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น
Rockchip เปิดตัวสินค้าชุดใหญ่ที่งาน CES โดยสินค้าสำคัญได้แก่ ชิป SoFIA 3G-R, RK3368, และ RK3036
SoFIA 3G-R ยังไม่เปิดรายละเอียดออกมามากนัก แต่ระบุว่าเป็น Atom 64 บิตที่มีโมเด็ม 3G ในตัว สำหรับโทรศัพท์ราคาถูก อินเทลเปิดตัว SoFIA มาตั้งแต่กลางปีที่แล้วตอนนี้ก็ชัดเจนว่าผู้ผลิตรายหนึ่งคือ Rockchip ครับ
RK3368 ชิปแรงสุดในสายการผลิต เป็น ARMv8 64 บิต 8 คอร์ พร้อมชุดพัฒนา Android 5.0 สำหรับแท็บเล็ตและทีวีในปีนี้
NVIDIA เปิดตัวซีพียูรุ่นต่อไปของตัวเองในชื่อ Tegra X1 เป็นรุ่นต่อจาก K1 ที่ใช้ส่วนกราฟิก Kepler ตอนนี้ X1 อัพเกรดมาเป็นสถาปัตยกรรม Maxwell พร้อมกับเปลี่ยนตัวคอร์ซีพียูเป็น 64 บิต
ในงานเปิดตัวทาง NVIDIA ระบุว่าประสิทธิภาพของ X1 จะสูงกว่า K1 อย่างน้อย 1.5 เท่าตัว
Tegra X1 จะมีคอร์ ARM 64 บิตทั้งหมด 8 คอร์ และคอร์กราฟิก Maxwell อีก 256 คอร์ เทียบกับการ์ดรุ่นสูงๆ อย่าง GTX 980 นั้นจะมีคอร์กราฟิกทั้งหมด 2048 คอร์
ในงานประชุมนักลงทุนของ Qualcomm ปีนี้มีแผนใหม่แกะกล่องสำหรับบุกตลาดใหม่ประกาศออกมาในงานด้วย นั่นก็คือการประกาศบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วยชิป ARM อย่างเป็นทางการ
แม้ว่าจะประกาศลุยตลาดเซิร์ฟเวอร์แล้ว แต่ทาง Qualcomm ยังไม่ได้บอกรายละเอียดของชิป ARM ที่จะงัดมาใช้แต่อย่างใด แต่น่าจะใช้สถาปัตยกรรม ARMv8-A ที่ออกแบบมาเพื่อเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ (และมี HP ที่จับไปทำเซิร์ฟเวอร์จริงๆ แล้ว) อันมีจุดเด่นเรื่องอัตราการบริโภคพลังงานต่ำมาก
ชิป ARM ที่ประสิทธิภาพดีขึ้นในช่วงหลังทำให้หลายคนเริ่มหวังว่าเราจะเห็นชิป ARM ในเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความฝันนี้คงยังห่างไกลเมื่อผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่อย่างอเมซอนกลับระบุว่า ARM ยังพัฒนาไม่เร็วพอ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงต้นทุนรวม
ประเด็นสำคัญ คือ ค่าพลังงานที่อินเทลยังคงสามารถตอบสนองได้ดีกว่า โดยผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างอเมซอนจำเป็นต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในระยะยาวมากกว่าราคาต่อชิปเพียงอย่างเดียว
ARM มีข้อได้เปรียบที่มีชิปกินพลังงานต่ำมากแต่ประสิทธิภาพชิปก็ต่ำไปด้วย สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์ที่ต้องการประสิทธิภาพพลังงานดีๆ แล้วนำซีพียูไปแบ่งขายได้ ความได้เปรียบนี้คงไม่ช่วยให้ ARM บุกศูนย์ข้อมูลได้
เว็บไซต์ Neowin และ ZDNet สัมภาษณ์ไมโครซอฟท์เรื่อง Microsoft Band มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
ARM เปิดตัวสินค้าชุดใหม่เป็นคอร์กราฟิกในตระกูล Mali ได้แก่ Mali-V550, Mali-DP550, และ Mali-T800
คอร์ Mali-V550 เป็นส่วนเข้ารหัสวิดีโอ รองรับการบีบอัดวิดีโอที่ 1080p/60fps และสามารถทำงานพร้อมกันได้ถึง 8 คอร์ให้บีบอัดวิดีโอที่ 4K/120fps ได้ การใช้งานหลักอาจจะอยู่ที่โทรศัพท์มือถือระดับสูง หรือกล้องวิดีโอ
คอร์ Mali-DP550 เป็นคอร์ประมวลสัญญญาณภาพ เช่นการปรับขนาดภาพ, หมุนภาพ, หรือปรับแต่งภาพแบบอื่นๆ สามารถรวมภาพเข้าด้วยกันสูงสุด 7 ชั้น
สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าววงในว่าไมโครซอฟท์กำลังพัฒนา Windows Server บนสถาปัตยกรรม ARM อยู่ในขณะนี้ ซึ่งสะท้อนทิศทางของโลกเซิร์ฟเวอร์ที่เราเริ่มเห็นซีพียู ARM ทำตลาดมากขึ้น (เช่น โครงการ Moonshot ของ HP)
ตามข่าวบอกว่าไมโครซอฟท์ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเปิดตัว Windows Server เวอร์ชัน ARM หรือไม่ และตัวแทนของไมโครซอฟท์ก็ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้
ที่ผ่านมาเราเห็นไมโครซอฟท์ออกระบบปฏิบัติการสำหรับ ARM อย่าง Windows RT มาแล้ว ความพร้อมในแง่ของการแปลง Windows Server ไปเป็น ARM ก็คงมีอยู่บ้างในระดับหนึ่ง ที่เหลือคงขึ้นกับแผนธุรกิจของไมโครซอฟท์เป็นหลักว่าจะสนใจตลาดนี้หรือไม่
ARM ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่สามประจำปีนี้ รายได้รวม 195.5 ล้านปอนด์ เพิ่มจากปีที่แล้ว 12% ส่วนกำไรเพิ่มเป็น 101.2 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 9% ทั้งกำไรและรายได้เพิ่มจากไตรมาสที่แล้วทั้งคู่
สัญญาการใช้สิทธิบัตร ARM ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอีก 43 สัญญา เป็น ARMv8-A ไป 7 สัญญา และชิปกราฟิก Mali อีก 4 สัญญา ภายในไตรมาสสามมีชิป ARM ส่งมอบทั้งหมด 3 พันล้านชุด
รายได้เฉลี่ยต่อชิปของ ARM ลดลง 9% สาเหตุหลักคือชิปขนาดเล็กที่ค่าสิทธิบัตรถูกกว่าได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก ขณะที่ชิประดับสูงสำหรับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมีอัตราการเติบโตช้ากว่า
ในระหว่างที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เจ้าอื่นประกาศอัพเดต Lollipop กันอุตลุต พี่ใหญ่ของวงการสมาร์ทโฟนอย่างซัมซุงก็มีประกาศเช่นกัน แต่เป็นการเปิดตัวชิป SoC รุ่นใหม่ Exynos 7 Octa อย่างเป็นทางการ
Exynos 7 Octa ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 20 นาโนเมตร แบบ HKMG เป็นชิปแปดคอร์ที่รวมพลังกันระหว่าง ARM Cortex-A57 และ Cortex-A53 อย่างละสี่คอร์เข้าด้วยกัน แน่นอนว่าเป็น ARMv8 แล้วจึงรองรับการประมวลผลแบบ 64 บิตได้ด้วย แม้ว่าซัมซุงจะไม่ได้พูดถึงก็ตาม
ตัวจีพียูที่มาด้วยกันเป็น ARM Mali T-760 ที่แรงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 74% และรองรับการเล่นเกมบนสมาร์ทโฟนได้แทบทุกแบบ แม้แต่สามมิติก็ยังไหว
ในขณะที่ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่างอินเทลนั้นบุกตลาดอุปกรณ์พกพาสุดตัวทั้งสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ฝั่งคู่แข่งอย่างเอเอ็มดีกลับเงียบไปถนัดตา และหนึ่งปีที่ผ่านมามีผู้ผลิตนำชิปไปทำแท็บเล็ตเพียง 1 รุ่นถ้วนๆ แต่ดูเหมือนเอเอ็มดียังไม่ยอมแพ้ในตลาดนี้ และมีรายงานว่าจะบุกอีกครั้งในช่วงปลายปี 2015
ARM เปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์ยุค Internet of Things (IoT) ชื่อ mbed โดยประกอบด้วยซอฟต์แวร์ 2 ส่วน
โครงการ Moonshot ของเอชพีที่เน้นเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กคอร์จำนวนมากเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบเบลดเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2011 ตอนนี้มีเบลดใหม่มาเพิ่มอีกสองรุ่น ได้แก่ M800 และ M400
M800 ใช้ซีพียู Texas Instruments KeyStone Cortex-A15 4 คอร์ทำงานที่ 1GHz ในตัวซีพียูมี DSP C66x อีก 8 ชุด รองรับแรม 32GB ต่อเบลด เน้นงานประมวลผลสัญญาณ เช่น ระบบ VoIP ที่ต้องประมวลข้อมูลเสียงจำนวนมากๆ
M400 ใช้ซีพียู Applied Micro X-Gene เป็น ARMv8 64 บิต 8 คอร์ รองรับแรม 64GB เน้นงานที่ต้องการ I/O สูงๆ เช่น ระบบแคชเว็บ
ทางเอชพียกตัวอย่างลูกค้าที่ใช้งานเซิร์ฟเวอร์ Moonshot อยู่แล้วคือ PayPal ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า