Bluetooth 5 เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการ บริษัท ARM ก็เปิดตัวเทคโนโลยีสำหรับชิปสื่อสารไร้สาย ARM Cordio ที่รองรับ Bluetooth 5 ทันที
ARM Cordio เป็นเทคโนโลยีสำหรับการสื่อสารไร้สายระยะสั้น ที่รองรับมาตรฐาน 2 ตัวคือ Bluetooth 5 และ IEEE 802.15.4 (มาตรฐานที่ใช้กับ ZigBee และ Thread ที่เริ่มผลักดันโดย Nest Lab) และเน้นการใช้งานกับอุปกรณ์ IoT ที่กินพลังงานต่ำมาก
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศทำ Windows 10 รองรับซีพียู ARM ไปหมาดๆ และยังไม่ออกเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ต่อสาธารณะ แต่ตอนนี้เรามีแอพ x86 ตัวแรกที่ถูกพอร์ตมาเป็น ARM แล้ว นั่นคือ PuTTY เทอร์มินัลยอดนิยมบนแพลตฟอร์ม Windows
มีนักพัฒนารายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "Longhorn" ระบุว่าเขาได้ Visual Studio ARM64 เวอร์ชันที่ใช้ทดสอบภายในของไมโครซอฟท์มาใช้งาน เขาจึงนำมาคอมไพล์ PuTTY ให้เป็น ARM และประสบความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากเป็นการพัฒนาอย่างไม่เป็นทางการ เขาจึงนำไฟล์ไปเผยแพร่บนกระทู้ XDA ให้คนที่สนใจดาวน์โหลด
Qualcomm เปิดตัวซีพียู ARMv8 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ Centriq 2400 ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 10 นาโนเมตร และมีจำนวนคอร์ถึง 48 คอร์
ตอนนี้ชิปยังอยู่ระหว่างการส่งให้คู่ค่าสำคัญทดสอบก่อน แต่ทาง Qualcomm ก็สาธิต Apache Spark, Hadoop, และ Java บนชิปรุ่นใหม่นี้แล้ว
ทาง Qualcomm คาดว่าจะผลิตชิปตัวนี้เชิงการค้าได้ในครึ่งหลังปี 2017
ที่มา - Qualcomm, Qualcomm Blog
หลังจากที่เคยล้มเหลวกับ Windows RT (Windows 8 ที่รันบน ARM) ดูเหมือนไมโครซอฟท์พยายามจะแก้ตัวอีกรอบ ด้วยการจับมือกับ Qualcomm ประกาศรองรับ Windows 10 บนชิปเซ็ต Snapdragon ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM โดยคราวนี้เป็นวินโดวส์ตัวเต็มที่รันได้ทั้งโปรแกรมแบบ Win32 และ UWP
ทั้ง Qualcomm และไมโครซอฟท์ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใดๆ ออกมามากนัก โดยทาง Qualcomm ระบุแต่เพียงว่าพีซี Windows 10 ที่ใช้ Snapdragon จะมาอย่างเร็วที่สุดในปีหน้า
ที่มา - Engadget
Alibaba เตรียมใช้เซิร์ฟเวอร์ ARM ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวของ ARM ในการเดินเข้าสู่ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ที่อินเทลมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 90%
ศูนย์ข้อมูลของ Alibaba ใช้กับทั้งบริการอีคอมเมิร์ซของตัวเอง และบริการคลาวด์ Alibaba Cloud (หรือชื่อในจีนคือ Aliyun) ซึ่งเป็นคลาวด์ลักษณะเดียวกับ AWS
ความเชื่อมโยงของ ARM กับ Alibaba คือ SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ ARM เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Alibaba ในปัจจุบัน
เว็บไซต์ ZDNet รายงานข่าวลือว่าใน Windows 10 อัพเดตตัวถัดไป (Redstone 3) ที่จะออกช่วงปลายปี 2017 จะมีฟีเจอร์ใหม่ที่มีโค้ดเนมว่า "Cobalt" มันคือการเปิดให้รันแอพ x86 บนอุปกรณ์ที่ใช้ซ๊พียู ARM ผ่านอีมูเลเตอร์
ตามข่าวบอกว่าฟีเจอร์นี้มุ่งเป้าเพื่อการใช้งานแบบ Continuum คือใช้อุปกรณ์พกพา ARM ต่อจอนอกเพื่อรันแอพเดสก์ท็อป ซึ่งที่ผ่านมา ข้อจำกัดของ Continuum คือรองรับเฉพาะแอพใหม่ๆ ที่เขียนด้วย UWP เท่านั้น ไม่สามารถรันแอพเดิมๆ จำนวนมหาศาลของวินโดวส์ได้
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง ก็น่าจะทำให้แพลตฟอร์ม Windows 10 Mobile น่าสนใจขึ้นมาก และสอดคล้องกับข่าว Surface Phone ที่ลือกันมานานอีกด้วย
เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ ARM เปิดตัวจีพียู Mali-G71 รุ่นใหม่ ที่อยู่บนสถาปัตยกรรมใหม่ Bitfrost (ชื่อรุ่นจะเริ่มด้วย G ซึ่งต่างไปจากของเดิมที่เป็น T) มาวันนี้ ARM ส่งจีพียู Bitfrost ตัวที่สองสู่ตลาดในชื่อ Mali-G51
Mali-G51 เป็นจีพียูระดับกลาง (mainstream) ที่จับตลาดต่ำกว่า Mali-G71 แต่ก็มีฟีเจอร์ครบถ้วน การที่มันอยู่บนสถาปัตยกรรม Bitfrost แปลว่ารองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Vulkan และมีประสิทธิภาพดีพอสำหรับความละเอียด 4K และงาน AR/VR (ถือเป็นจีพียูราคาถูกที่สุดของ ARM ในตอนนี้ที่รองรับงานระดับนี้ได้) ถ้าเทียบประสิทธิภาพกับ Mali-T830 รุ่นปัจจุบันแล้ว Mali-G51 มีประสิทธิภาพดีกว่า 60%, ประหยัดพลังงานกว่า 60%, ขนาดเล็กลง 30%
Terry Myerson หัวหน้าทีม Windows ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ ZDNet มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขอเขียนแยกข่าวตามประเด็นนะครับ
ZDNet ถามเขาว่าเพราะเหตุใดไมโครซอฟท์ยังทำ Windows Mobile ต่อไป แม้มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1% และทำไมไม่หยุดพักไปก่อนแล้วค่อยกลับมาทำใหม่ในอนาคต
คำตอบของ Myerson คือไมโครซอฟท์ต้องการลงทุนกับ Windows Mobile ต่อ เพราะมันมีเทคโนโลยีสำคัญ 2 อย่างคือการเชื่อมเครือข่ายมือถือ (cellular connectivity) และใช้หน่วยประมวลผล ARM ซึ่งสองอย่างนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อวงการเทคโนโลยีในอนาคต แม้ตัวอุปกรณ์จะพัฒนากลายเป็นอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่โทรศัพท์ก็ตาม
ARM เปิดตัวสินค้าที่เป็นพิมพ์เขียวซีพียูสำหรับอุปกรณ์ IoT รุ่นต่อไปชุดใหญ่ โดยเน้นความปลอดภัย และความสามารถในการอัพเดต
ชิป Cortex-M23 และ Cortex-M33 เป็นพิมพ์เขียวของ ARMv8-M ชุดแรกที่รองรับ TrustZone เสริมความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กมาก โดยตัว Cortex-M23 มีฐานมาจาก Cortex-M0+ และ Cortex-M33 จะมีส่วนคำนวณเลขทศนิยมทำให้ใกล้เคียงกับ Cortex-M3 และ Cortex-M4 ตอนนี้ชิปทั้งสองรุ่นมีผู้ผลิตหลักๆ เช่น Analog Devices, Microchip, NXP, STMicroelectronics ซื้อสิทธิ์การผลิตไปแล้ว
ส่วนการเชื่อมต่อไร้สาย ARM เปิดตัว Cordio พิมพ์เขียวชิป Bluetooth 5 ที่รองรับ ZigBee และ Thread
ARM เปิดตัวชิป SoC ใหม่ Cortex-R52 ที่ออกแบบมาสำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น หุ่นยนต์หรือรถยนต์ไร้คนขับ
ปกติแล้วเราคุ้นเคยกับชิปของ ARM อย่าง Cortex-A สำหรับสมาร์ทโฟนทั่วไป และ Cortex-M สำหรับงานไมโครคอนโทรลเลอร์หรือ IoT ส่วนซีพียูรหัส R ย่อมาจาก "Real-time" สำหรับงานที่ต้องการรันกับระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์ ก่อนหน้านี้ ARM เคยออกหน่วยประมวลผล Cortex-R5 มาก่อนแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา SoftBank บริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่นได้ประกาศเข้าซื้อ ARM Holdings บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม ARM ด้วยมูลค่าราว 1.2 ล้านล้านบาท โดยตอนนี้ทาง SoftBank ประกาศว่าทางบริษัทเข้าซื้อ ARM สำเร็จเรียบร้อยแล้ว และจะยังให้อิสระ ARM ในการบริหารงานต่อไป
เหตุผลที่ SoftBank เข้าซื้อบริษัท ARM Holdings นั้น เพื่อเป็นการคว้าโอกาสจาก IoT เนื่องจากชิพสถาปัตยกรรม ARM มักจะเป็นตัวเลือกของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน รวมถึงอุปกรณ์พกพาหลายเจ้า โดย SoftBank มีประวัติลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น ผู้ให้บริการ Sprint ในสหรัฐ, ซื้อหุ้น Alibaba ในจีน และ Snapdeal ในอินเดีย เป็นต้น
ARM พยายามบุกตลาดระดับสูงขึ้นกว่าโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมาเป็นเวลานานแต่จนตอนนี้ดูจะยังไม่ประสบความสำเร็จนัก ที่งาน Hot Chip ปีนี้ทาง ARM ก็เปิดตัวชุดคำสั่งใหม่ที่จะทำให้ ARM สามารถประมวลผลในคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้ดีขึ้น
ชุดคำสั่ง Scalable Vector Extension (SVE) เปิดให้ผู้ออกแบบซีพียูสามารถรับคำสั่งเพื่อประมวลผลข้อมูลแบบเวคเตอร์ได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ ARM จะมีชุดคำสั่ง NEON อยู่ก่อนแล้ว แต่ SVE จะเปิดให้รองรับเวคเตอร์ขนาดไม่คงที่ได้ (vector-length agnostic - VLA) เมื่อซีพียูมีเวคเตอร์ใหญ่ขึ้นก็จะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วย
นอกจากขนาดเวคเตอร์ที่ไม่คงที่แล้ว ตัวรีจิสเตอร์ในการประมวลผลเองก็สามารถปรับแต่งได้ระหว่าง 128 บิต ถึง 2048 บิต
อินเทลประกาศความร่วมมือกับ ARM รองรับชุดบล็อคออกแบบพื้นฐาน Artisan Physical IP สำหรับผลิตชิปในโรงงานของอินเทล ทำให้ลูกค้าที่ต้องการสั่งผลิตซีพียูสามารถใช้บล็อกพื้นฐานในการออกแบบซีพียูของตัวเองได้ โดย LG Electronics เป็นลูกค้ารายแรกที่ประกาศสั่งผลิตชิป ARM ด้วยเทคโนโลยีสูงสุด 10nm
อินเทลเปิดธุรกิจรับผลิตชิปมาตั้งแต่ปี 2010 และผลิตชิปที่เป็นคอร์ ARM มาตั้งแต่ปี 2013 แต่ก่อนหน้านี้โรงงานของอินเทลไม่เคยซัพพอร์ตบล็อคซีพียูเหล่านี้โดยตรง
SoftBank ประกาศเข้าซื้อ ARM Holdings ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม ARM ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ด้วยมูลค่าดีลสูงถึง 24 พันล้านปอนด์ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท)
ซีอีโอของ SoftBank กล่าวว่า ARM Holdings จะยังดำเนินการเป็นอิสระต่อไป โดย ARM จะช่วยให้บริษัทคว้าโอกาสจาก Internet of Things ได้
SoftBank มีประวัติลงทุนด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งซื้อผู้ให้บริการ Sprint ในสหรัฐ ซื้อหุ้น Alibaba ในจีนและ Snapdeal ในอินเดีย เป็นต้น
ที่มา: SoftBank ผ่าน Windows Central
หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันว่า SoftBank บริษัทโทรคมนาคมญี่ปุ่น ซื้อกิจการ ARM Holdings บริษัทจากสหราชอาณาจักรผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีซีพียูตระกูล ARM ด้วยมูลค่า 24.3 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
Financial Times ระบุว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ SoftBank ซื้อ ARM ช่วงนี้เป็นเพราะกรณี Brexit ส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนตัวลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับเงินเยน ความแตกต่างของค่าเงินทำให้ SoftBank จ่ายเงินน้อยลงมาก
Huaxintong Semiconductor Technology ที่เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Qualcomm และมณฑลกุ้ยโจวของจีน ประกาศซื้อสิทธิ์การผลิตซีพียู ARMv8-A สถาปัตยกรรม 64 บิตจาก ARM เพื่อผลิตซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์
ความพยายามของ Qualcomm ที่จะผลิตซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์มีข่าวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และเมื่อต้นปีจึงประกาศบริษัทในจีนที่จับตลาดจีนเป็นหลัก ตอนนี้บริษัทใหม่ก็ซื้อสิทธิ์ ARMv8-A สถาปัตยกรรมเดียวกับที่ Qualcomm เคยโชว์ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวต้นแบบ
Ameba Arduino บอร์ดพัฒนาจาก Realtek ผู้ผลิตชิปเน็ตเวิร์ครายใหญ่ แกนกลางเป็นชิป Realtek RTL8195AM ตัวซีพียูเป็น Cortex-M3 รองรับการเชื่อมต่อทั้ง Wi-Fi, NFC, หรือแม้แต่อีเธอร์เน็ต (ต้องใช้บอร์ดเสริม)
ตัวซีพียูทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 166 MHz รอมขนาด 1 MB มีฮาร์ดแวร์เข้ารหัสในตัว ตัวซอฟต์แวร์สามารถใช้ Arduino IDE หรือจะใช้ชุด SDK ที่เป็น mbed + FreeRTOS ก็ได้เช่นกัน
ราคา 24.99 ดอลลาร์ไม่รวมค่าส่ง
ฟูจิตสึผู้ผลิตซุปเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่จากญี่ปุ่นประกาศในงาน ISC 2016 ระบุว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องต่อไปจะใช้ชิปที่รันชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม ARM จากเดิมที่ฟูจิตสึเคยเน้นชิปสถาปัตยกรรม SPARC มาโดยตลอด
ซีพียูที่ใช้นี้จะออกแบบใหม่โดยรับชุดคำสั่ง ARMv8 การเชื่อมต่อระหว่างซีพียูจะใช้ระบบ Tofu ของฟูจิตสึเอง
ฟูจิตสึได้รับว่าจ้างจากศูนย์วิจัย RIKEN ให้สร้างซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ Post-K ที่น่าจะเปิดใช้งานในปี 2020 โดยมีพลังประมวลผลระดับ 1,000 PFLOPS (เครื่อง Sunway TaihuLight ของจีนตอนนี้มีพลังประมวลผล 125.4 PFLOPS)
แม้จะใช้สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8 แต่ในการนำเสนอในงาน ISC ทางฟูจิตสึก็เน้นว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นของบริษัทเอง
Orange Pi อัพเดตบอร์ด Orange Pi PC ที่เปิดตัวมาปีที่แล้ว ด้วยการเพิ่ม eMMC ขนาด 8GB และ Wi-Fi 802.11b/g/n โดยเพิ่มราคาจาก 15 ดอลลาร์เป็น 19.99 ดอลลาร์
ตัวเสาอากาศเชื่อมต่อผ่านพอร์ต uFL และราคาบอร์ดรวมค่าเสาอากาศมาแล้ว
อุปกรณ์อื่นๆ ยังเหมือนเดิม คือ Allwinner H3 แรม 1GB, 100Mbps Ethernet, USB 2.0 3 พอร์ต, HDMI, GPIO 40 ขา, ไมโครโฟน, ตัวรับรีโมตอินฟราเรด
ค่าส่งมาไทย 3.43 ดอลลาร์
ซีพียู ARM รุ่นหลังๆ มักมีฟีเจอร์ TrustZone เพื่อรันเฟิร์มแวร์แยกส่วนออกจากระบบปฎิบัติการหลัก เชื่อมต่อถึงกันด้วย shared memory เพื่อเก็บรักษาข้อมูลความลับเช่นกุญแจลับ หรือระบบถอดรหัส DRM ในชิป Broadcom BCM2737 สำหรับ Raspberry Pi 3 เองก็มีฟีเจอร์นี้อยู่ในชิปด้วย แต่โครงการ Raspberry Pi ก็ไม่ได้ออกซอฟต์แวร์มาใช้ฟีเจอร์นี้แต่อย่างใด ตอนนี้บริษัท Sequitur Labs ผู้พัฒนาระบบความปลอดภัย IoT ร่วมกับ Linaro ก็พอร์ตเฟิร์มแวร์ Linaro OP-TEE มารันบน Raspberry Pi 3 ได้แล้ว
ตัวซอฟต์แวร์จะปล่อยจริงวันที่ 11 นี้ และการติดตั้งต้องใช้สายดีบักเพิ่มเติม
ARM เปิดตัวคอร์ซีพียูรุ่นใหม่ Cortex-A73 สถาปัตยกรรม ARMv8-A รองรับการผลิตด้วยเทคโนโลยี 10 นาโนเมตร และทำงานได้ที่สัญญาณนาฬิกา 2.8GHz ประสิทธิภาพรวมแบบทำงานต่อเนื่องเพิ่มจาก Cortex-A72 ขึ้นไป 30%
จุดเด่นของ A73 คือประสิทธิภาพพลังงานจะสูงกว่า A72 ทำให้ไม่จำเป็นต้องลดสัญญาณนาฬิกาลงเมื่อทำงานต่อเนื่อง ประสิทธิภาพแบบทำงานต่อเนื่องจึงเกือบเท่ากับประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับการเชื่อมต่อกับคอร์ประสิทธิภาพต่ำลงเพื่อประหยัดพลังงานก็ยังสามารถใช้ Cortex-A53 หรือ Cortex-A35
ARM เปิดตัวซีพียูตระกูล Cortex-A32 เป็นซีพียูระดับล่างสุดที่ใช้สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่มีเฉพาะคำสั่ง 32 บิตเท่านั้น นับเป็นซีพียู ARMv8 ตัวแรกที่มีเฉพาะชุดคำสั่ง 32 บิต
จุดเด่นสำคัญของ A32 คือประสิทธิภาพดีขึ้นมา ทาง ARM ระบุว่าประสิทธิภาพเทียบกับ Cortex-A7 ดีขึ้นถึง 25% สำหรับเทคโนโลยีการผลิต 28 นาโนเมตร ใช้พื้นที่ซิลิกอนเพียง 0.25 ตารางมิลลิเมตร และกินพลังงานเพียง 4mW เมื่อทำงานที่ 100MHz จุดเด่นอีกอย่างคือมันรองรับ TrustZone ทำให้กระบวนการรักษาความปลอดภัยทำได้ดีขึ้น
วันนี้ ARM ผู้ผลิตชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่เปิดตัวชิปรุ่นใหม่ในซีรีส์ Cortex-R ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ เพราะตัวชิปซีรีส์นี้ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผลแบบเรียลไทม์ที่เน้นความรวดเร็วในการตอบสนอง ต่างกับ Cortex-A ที่คุ้นเคยซึ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่า
ชิป Cortex-R รุ่นใหม่มาในรหัส Cortex-R8 ออกแบบมาเพื่อใช้กับโมเด็ม LTE Advanced Pro และ 5G รวมถึงคอนโทรลเลอร์ในหน่วยความจำยุคใหม่โดยเฉพาะ ด้วยประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้าเท่าตัว (R7) ซึ่งในเคสของหน่วยความจำ จะสามารถเพิ่มความจุได้อีก 4 เท่าตัว และเพิ่มประสิทธิภาพได้มากถึง 300% ถ้าหากใช้ชิป Cortex-R8
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว ระบุว่าในงานประชุมนักลงทุนวันที่ 11 นี้ Qualcomm จะประกาศว่าได้รับการ "สนับสนุน" จากกูเกิล ลูกค้ารายใหญ่ตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์
แหล่งข่าวนี้ระบุว่าสองบริษัททำงานด้วยกันมาเป็นเวลานานแล้ว และกูเกิลสัญญาว่าจะซื้อซีพียูจาก Qualcomm หากสามารถพัฒนาประสิทธิภาพซีพียูได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
เดือนตุลาคมที่ผ่านมา Qualcomm เปิดเผยว่ากำลังออกแบบชิป ARM เพื่อใช้ในเซิร์ฟเวอร์ตามข่าวเก่า
ความคืบหน้าล่าสุดคือเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Qualcomm ประกาศความร่วมมือกับรัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวของจีน ก่อตั้งบริษัทร่วมค้า Guizhou Huaxintong Semi-Conductor Technology ขึ้น บริษัทนี้จะเน้นการออกแบบ การพัฒนา และการขายชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงในจีน
Qualcomm ให้เหตุผลของการเปิดบริษัทร่วมค้าว่าจีนเป็นตลาดเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และ Qualcomm จะเปิดบริษัทลงทุนในกุ้ยโจว เพื่อนำร่องในการลงทุนในจีนของ Qualcomm ในอนาคตอีกด้วย