วันนี้ ARM ผู้ผลิตชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่เปิดตัวชิปรุ่นใหม่ในซีรีส์ Cortex-R ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ เพราะตัวชิปซีรีส์นี้ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผลแบบเรียลไทม์ที่เน้นความรวดเร็วในการตอบสนอง ต่างกับ Cortex-A ที่คุ้นเคยซึ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่า
ชิป Cortex-R รุ่นใหม่มาในรหัส Cortex-R8 ออกแบบมาเพื่อใช้กับโมเด็ม LTE Advanced Pro และ 5G รวมถึงคอนโทรลเลอร์ในหน่วยความจำยุคใหม่โดยเฉพาะ ด้วยประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้าเท่าตัว (R7) ซึ่งในเคสของหน่วยความจำ จะสามารถเพิ่มความจุได้อีก 4 เท่าตัว และเพิ่มประสิทธิภาพได้มากถึง 300% ถ้าหากใช้ชิป Cortex-R8
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว ระบุว่าในงานประชุมนักลงทุนวันที่ 11 นี้ Qualcomm จะประกาศว่าได้รับการ "สนับสนุน" จากกูเกิล ลูกค้ารายใหญ่ตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์
แหล่งข่าวนี้ระบุว่าสองบริษัททำงานด้วยกันมาเป็นเวลานานแล้ว และกูเกิลสัญญาว่าจะซื้อซีพียูจาก Qualcomm หากสามารถพัฒนาประสิทธิภาพซีพียูได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
เดือนตุลาคมที่ผ่านมา Qualcomm เปิดเผยว่ากำลังออกแบบชิป ARM เพื่อใช้ในเซิร์ฟเวอร์ตามข่าวเก่า
ความคืบหน้าล่าสุดคือเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Qualcomm ประกาศความร่วมมือกับรัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวของจีน ก่อตั้งบริษัทร่วมค้า Guizhou Huaxintong Semi-Conductor Technology ขึ้น บริษัทนี้จะเน้นการออกแบบ การพัฒนา และการขายชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงในจีน
Qualcomm ให้เหตุผลของการเปิดบริษัทร่วมค้าว่าจีนเป็นตลาดเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และ Qualcomm จะเปิดบริษัทลงทุนในกุ้ยโจว เพื่อนำร่องในการลงทุนในจีนของ Qualcomm ในอนาคตอีกด้วย
มีคนพบประกาศรับสมัครงานของไมโครซอฟท์ ตำแหน่ง Senior Project Manager ในฐานะ OS Foundation PM โดยระบุความรับผิดชอบว่า จัดทำแผนสนับสนุน ARM64 ให้สอดคล้องกับอัพเดต Windows 10 โค้ดเนม Redstone
ARM เปิดตัว ARM Performance Libraries สำหรับผู้ที่ต้องการการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ประสิทธิภาพสูงบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทีี่ใช้ซีพียู ARMv8-A ตัวอัลกอริทึมถูกปรับแต่งมาเพื่อการใช้งานวงจรประมวลผลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การปรับแต่งมีตั้งแต่การรันหลายเธรด, ใช้คำสั่งในกลุ่ม SIMD, และคอมไพล์ด้วยคอมไพล์เลอร์รุ่นล่าสุด ตัวไลบรารีเหล่านี้เพื่อการค้าได้แก่ BLAS, LAPACK, และ FFT ส่วนฝั่งโอเพนซอร์สทาง ARM ปรับแต่งโค้ดให้กับโครงการต่างๆ เช่น ATLAS, OpenMPI, NumPy, หรือ TAU ได้ทันที และในชุดไลบรารีก็จะมีไบนารีที่คอมไพล์โดยทาง ARM มาให้
ARM ลงทุนพัฒนา mbed OS อย่างหนักตั้งแต่เปิดตัวในปีที่แล้ว จากรุ่นเบต้า ในงาน TechCon ทาง ARM ก็ปล่อยรุ่น Technology Preview ออกมา โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญหลายอย่าง
ARM เปิดสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งใหม่ ARMv8-M สำหรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ แม้จะเป็นสถาปัตยกรรมตระกูล ARMv8 แต่ ARMv8-M จะรับคำสั่ง 32 บิตเท่านั้น โดยจะนำสถาปัตยกรรมนี้มาใช้กับซีพียูในตระกูล Cortex-M ที่มีราคาถูกขนาดเล็ก เช่น ชิป EMW3165 ก็ใช้ Cortex-M4
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ARMv8-M จะมีฟีเจอร์ TrustZone มาในตัว ทำให้ชิปรุ่นเล็กๆ ก็สามารถใส่ความสามารถด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม แยกโซนระหว่างฟีเจอร์ปกติกับฟีเจอร์สำคัญ เช่น การสร้างกุญแจเข้ารหัส หรือการตรวจสอบซอฟต์แวร์อัพเดต
พร้อมกับ TrustZone ในตัวซีพียู ARMv8-M กำหนดมาตรฐานบัส ARM AMBA 5 AHB5 ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกซีพียูแล้วระบุได้ว่าอุปกรณ์ชิ้นใดเป็นอุปกรณ์ที่ไว้ใจได้
ARM เปิดตัวซีพียู Cortex-A35 เน้นการประหยัดพลังงานและต้นทุนการผลิตที่ถูก โดยการวางตลาดตัว Cortex-A35 จะเป็นการอัพเกรด Cortex-A7 ในทุกวันนี้มาเป็นสถาปัตยกรรม ARMv8-A ที่รองรับคำสั่ง 64 บิตแล้ว
Cortex-A35 จะมีประสิทธิภาพการประมวลผลต่อพลังงาน ดีกว่า Cortex-A7 20% ที่คำสั่ง 32 บิต พื้นที่ซีพียูเมื่อผลิตด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรจะลดลง 25% สามารถคอนฟิกได้ต่ำที่สุด คือ คอร์เดี่ยว พร้อมแคช 8KB ใช้พื้นที่ผลิต 0.4 ตารางมิลลิเมตร เท่านั้น ส่วนพื้นที่ผลิตจริงต้องขึ้นกับผู้ผลิตว่าจะคอนฟิกอย่างไร โดยสามารถเลือกใส่แคชได้ 64KB สองชุดสำหรับข้อมูลและคำสั่ง แคช L2 อีก 1MB และคำสั่งพิเศษอื่นๆ เช่น NEON และ Crypto
ARM ยักษ์ใหญ่แห่งชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพา ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่สาม รายได้เพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อนเป็นยอดรวม 243.1 ล้านปอนด์ ส่งให้กำไรสุทธิขึ้นไปอยู่ที่ 85.9 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 32%
ARM ระบุว่าในไตรมาสที่ผ่านมาส่งมอบชิปไปมากถึง 3,600 ล้านชุด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 20% โดยมาจากการเติบโตในอุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากสมาร์ทโฟน อาทิ โทรทัศน์ และบรรดาเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ และมีลูกค้ามาใช้งานสิทธิบัตร ARM เพิ่มขึ้นอีก 38 สัญญา ส่งให้รายได้ในส่วนของค่าสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นถึง 37% ด้วยกัน
แผนในอนาคตของ ARM ยังคงเน้นการขยายตลาดจากสมาร์ทโฟนมากขึ้น โดยเน้นไปที่อุปกรณ์ไอทีสวมใส่ได้ และ IoT เพื่อให้รองรับอุปกรณ์หลากประเภทยิ่งขึ้น
Roseapple Pi (ชมพู่) เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้ชิป Actions 500 รุ่นเดียวกับ Lemon Pi ที่ระดมทุนผ่านทาง Indiegogo และตัวบอร์ดเองก็ใกล้เคียงกันมาก เพราะใช้พิมพ์เขียวตั้งต้นจาก Actions Semi เหมือนกัน
บอร์ดใส่แรมมาให้ 2GB ตั้งแต่แรก มีออปชั่นให้ติดตั้ง eMMC เพิ่มเติมได้ บนตัวบอร์ดมีพอร์ต HDMI, USB 2.0/3.0, CSI2, DSI, อีเธอร์เน็ต 100Mbps, พร้อมพอร์ต I/O อีก 40 ขา
ราคายังไม่แจ้ง แต่ Lemon Pi ขายราคาเพียง 35 ดอลลาร์แถมเพิ่มแรมเป็น 2GB แล้วเหมือนกัน ราคาของ Roseapple Pi ก็อาจจะใกล้เคียงกัน
เคยประกาศไว้นานว่ามีแผนจะเข้าไปลุยตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วย ตอนนี้ Qualcomm ออกมาโชว์ชิป ARM รุ่นก่อนผลิตจริงสำหรับแผนนี้เป็นครั้งแรกแล้ว
ชิปตัวที่ว่าจะต่างจากที่ใช้ในซีรีส์ Snapdragon อย่างมาก ตัวชิปมีซีพียู ARMv8-A ทั้งหมด 24 คอร์ ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อตู้สตอเรจ และ PCIe ระดับเซิร์ฟเวอร์ โดยในงานได้ทดสอบรัน KVM Linux hypervisor, OpenStack DevStack และให้ผู้ใช้มาลองรัน Wordpress บน Apache
ARM ประกาศโครงการ mbed OS มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้โครงการก็ใกล้พร้อมใช้งานโดยออกมาเป็นรุ่นเบต้าแล้ว
ซอฟต์แวร์และบริการที่ปล่อยออกมาพร้อมกัน ได้แก่
วันนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) IBM ประกาศความร่วมมือกับ ARM บริษัทชิปบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่ของโลก โดยทาง IBM จะขยายความสามารถของแพลตฟอร์ม IoT (Internet of Things) ของตนเองที่มีชื่อว่า IBM IoT Foundation ให้รองรับกับอุปกรณ์สายที่ใช้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมของ ARM ด้วย ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของแพลตฟอร์ม ARM mbed IoT Device สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มของ IBM ได้ทันที
นอกจากนั้นแล้ว IBM ยังถือโอกาสนี้ เปิดตัวบริการ IoT for Electronics ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถเก็บข้อมูลจากตัวตรวจจับต่างๆ (sensors) ของอุปกรณ์แล้วนำมาวิเคราะห์ได้ทันทีแบบเรียลไทม์
Hardkernel ผู้ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจากเกาหลีใต้เปิดตัวบอร์ด ODROID-C1 ที่ขนาดและราคาใกล้เคียงกับ Raspberry Pi B+ มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ถึงรอบอัพเกรดมาเป็น ODROID-C1+ ราคาเริ่มต้น 37 ดอลลาร์แพงกว่าเดิม 2 ดอลลาร์
ความเปลี่ยนแปลงของ ODROID-C1+ เป็นส่วนย่อยๆ เท่านั้น โดยซีพียูและแรมยังเหมือนเดิม แต่จุดอัพเกรดได้แก่ เปลี่ยนพอร์ต HDMI มาใช้พอร์ตเต็มที่หาสายได้ง่ายกว่า, มีฮีตซิงก์ในตัว, มีพอร์ต I2S สำหรับส่งสัญญาณเสียง, ใช้สายชาร์จ micro USB จ่ายไฟได้, รองรับ micro SD รุ่นใหม่ๆ
หนังสือพิมพ์จีน Guangzhou's 21st Century Business Herald รายงานอ้างคำสัมภาษณ์ของเลขาธิการพันธมิตรผู้ผลิตโทรศัพท์ในจีน (Mobile Phone China Alliance) ระบุว่า Xiaomi กำลังพัฒนาชิป ARM ของตัวเองอยู่
ก่อนหน้านี้รายงานงบการเงินไตรมาสสองของ ARM (PDF) ระบุว่าได้เซ็นสัญญาให้สิทธิผลิตซีพียูกับ "ผู้ผลิตรายใหญ่ในจีน" หนึ่งรายโดยไม่ได้บอกว่าเป็นบริษัทใด
เอเอ็มดีร่วมมือกับ 96Boards กลุ่มวางมาตรฐานคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อให้มีอินเทอร์เฟซเป็นมาตรฐาน ออกสเปคบอร์ด 96Boards Enterprise Edition ใช้ซีพียู AMD Opteron A1100
บอร์ดรุ่นใหม่นี้จะรองรับแรม SODIMM สองช่อง, PCIe, USB, SATA, และแลนกิกะบิต ซัพพอร์ตลินุกซ์สายเรดแฮททั้ง CentOS, Fedora, และ RHEL
ตัวบอร์ดวางขายครึ่งหลังของปีนี้ ราคาบอร์ดยังไม่แจ้ง แต่ทาง CNX Software คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 300 ถึง 400 ดอลลาร์
ถึงไมโครซอฟท์จะกล่าวว่า Windows 10 Mobile จะทำงานบนมือถือและแท็บเล็ตขนาดเล็ก แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการดังกล่าวบนแท็บเล็ตสถาปัตยกรรม ARM เลย แต่ล่าสุดเว็บไซต์ ITHome ในจีนเผยภาพแท็บเล็ตไม่ระบุรุ่นรัน Windows 10 Mobile โดยแท็บเล็ตดังกล่าวมีหน้าจอที่ความละเอียด 1024x768 พิกเซล และใช้ชิป Rockchip RK3288 ซึ่งอยู่บนสถาปัตยกรรม ARM Cortex-A17
คงต้องตามกันต่อว่าท้ายที่สุด Windows 10 Mobile บนแท็บเล็ตขนาดเล็กที่ใช้ชิปสถาปัตยกรรม ARM จะเป็นอย่างไรครับ
ARM ผู้ผลิตชิปบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่ของโลก ประกาศเปิดตัว Cortex-M ไลน์ใหม่สำหรับรองรับอุปกรณ์ประเภท Internet of Things (IoTs) โดยเฉพาะ ซึ่งใช้ฐานมาจาก Cortex-M4
Cortex-M สำหรับ IoT จะออกแบบใหม่เพื่อโฟกัสที่การลดอัตราบริโภคพลังงาน โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะลดเหลือ 1 วัตต์ เพื่อให้กินพลังงานน้อยลง 60% และอนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใส่เซ็นเซอร์เข้าไปในชิปได้
นอกจากนี้ Cortex-M จะรองรับ Bluetooth 4.2 ที่สามารถเข้าถึงหน่วยความจำเพื่อให้ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงอาจรองรับ LTE อีกด้วย
ผู้ผลิตชิปตัวนี้จะเป็น TSMC แต่ยังไม่ระบุว่าจะได้เห็นตัวจริงกันเมื่อไรครับ
Allwinner เปิดตัวซีพียู Allwinner A64 ซีพียูใช้คอร์เป็น Cortex-A53 จำนวนสี่คอร์รองรับแอนดรอยด์ 5.1 ตั้งแต่แรกจุดเด่นของชิปตัวนี้ คือ ราคาเพียงชิปละ 5 ดอลลาร์
ชิปตัวนี้ทำมาเพื่อแท็บเล็ตโดยเฉพาะ รองรับทั้งพอร์ต HDMI, และการถอดรหัสวิดีโอ 4K
Applied Micro ผู้ผลิตซีพียู ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์ตระกูล X-Gene ประกาศผลปประกอบการไตรมาสสี่ ปีบัญชี 2015 รายงานรายได้ 37 ล้านดอลลาร์ ขาดทุน 15.1 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งปีรายได้ 156 ล้านดอลลาร์ ขาดทุน 55 ล้านดอลลาร์
แม้รายได้จะไม่ดีนัก แต่ Applied Micro ประกาศสองเรื่องในงานประชุมผู้ถือหุ้น เรื่องแรกคือ Paypal เริ่มใช้งานซีพียูของ X-Gene แล้ว และอ้างว่าค่าติดตั้งศูนย์ข้อมูลที่ใช้ X-Gene นั้นมีราคาเพียงครึ่งเดียวของศูนย์ข้อมูลทั่วไป และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอยู่ที่ 1 ใน 7 ของศูนย์ข้อมูลทั่วไป
เรื่องที่สองคือยอดขายในปีที่ผ่านมา ระบุว่าบริษัทสามารถทำยอดขายได้เกินเป้าหมื่นชุดในปีที่แล้ว
ซีพียู ARM รุ่นใหม่ๆ ทุกวันนี้สามารถแบ่งงานตามความต้องการพลังประมวลผลสองระดับที่เรียกว่า big.LITTLE แต่วันนี้ MediaTek ก็เปิดตัว Helio X20 (MT6797) ซีพียูสิบคอร์ที่แบ่งระดับประมวลผลออกเป็นสามระดับ TINY.medium.huge
ซีพียูสามระดับ จะเริ่มจาก Cortex-A53 1.4GHz สี่คอร์ ทำงานเมื่อระบบต้องการพลังประมวลผลต่ำสุด, Cortex-A53 2.0GHz สี่คอร์เมื่อต้องการพลังประมวลผลปานกลาง, และ Cortex-A72 สองคอร์เมื่อต้องการพลังประมวลผลสูงสุด
MediaTek อ้างว่าแนวทางออกแบบนี้ทำให้ซีพียูกินพลังงานน้อยลงเมื่อต้องการพลังประมวลผลต่ำๆ ขณะที่เมื่อต้องการพลังประมวลผลสูงๆ ก็ยังมีคอร์แรงๆ ให้ใช้งาน ตัวเลขที่ระบุตอนนี้คือ Antutu 5.6 จะได้คะแนนมากกว่า 70,000 คะแนน
CERN เป็นหน่วยงานที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงประมวลข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเดือนที่แล้ว Liviu Vâlsan นักวิจัยใน CERN ก็นำเสนอรายงานการวัดประสิทธิภาพซีพียูสี่ตระกูล ได้แก่ IBM POWER 8 Turismo, Applied Micro X-Gene 1, Intel Atom Avoton C2750, และ Intel Xeon E3-1285L
ซีพียูทุกตัวเป็น 8 เธรดยกเว้น POWER 8 ที่มีถึง 32 เธรดใน 4 คอร์ เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วยชุดทดสอบ HEP-SPEC06 พบว่าประสิทธิภาพแซงหน้าซีพียูทุกตัวเมื่อรันที่ 16 เธรดขึ้นไป แต่เมื่อรันด้วยชุดทดสอบ Geant 4 ที่เป็นซอฟต์แวร์จำลองการเดินทางของอนุภาค ประสิทธิภาพของ Xeon กลับดีกว่ามาก
Gigabyte เปิดตัวเมนบอร์ด MP30-AR0 และเซิร์ฟเวอร์ R120-P30 ที่ใช้ซีพียู AppliedMicro X-Gene ที่ภายในเป็น ARMv8 จำนวน 8 คอร์
ยังไม่เปิดราคาทั้งเซิร์ฟเวอร์และเมนบอร์ด