Mastercard เปิด API ของเครือข่าย blockchain ของตัวเองให้นักพัฒนาและพาร์ทเนอร์ใช้งานแล้ว
ที่ผ่านมา Mastercard เปิด API ให้นักพัฒนาภายนอกใช้งานอยู่ก่อนแล้วบนเว็บไซต์ Mastercard Developers โดยมี API ครอบคลุมบริการหลายอย่าง เช่น ส่งเงินให้กัน, แจ้งเตือนการรูดบัตร, ตรวจสอบการปลอมบัตร ฯลฯ ข่าวนี้คือการเพิ่ม API สำหรับการใช้งาน blockchain เข้ามาอีกตัวหนึ่ง
IBM ร่วมกับ KlickEx Group และ Stellar.org เปิดตัวระบบจ่ายเงินผ่านบล็อกเชนเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินทั่วโลกสำหรับทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค
ระบบบล็อกเชนของ IBM จะช่วยให้การจ่ายเงินโดยตรงระหว่างผู้โอนและผู้รับในสกุลเงินใด ๆ ก็ตาม สามารถทำได้โดยผ่านเครือข่ายของ IBM ที่มีความปลอดภัยสูง ระบบใหม่นี้จะลดระยะเวลาการโอนเงินระหว่างประเทศจากระดับวันเหลือระดับวินาที โดยตอนนี้ระบบดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา รองรับการโอนเงินข้ามประเทศใน 12 สกุลเงิน เป็นการใช้ public blockchain ในการทำธุรกรรมลักษณะนี้ครั้งแรก โดยระบบโอนเงินระหว่างประเทศปัจจุบันนั้นจะต้องผ่านตัวกลางเป็นจำนวนมาก ใช้เวลานาน ค่าใช้จ่ายสูง
Lufthansa Group สายการบินจากเยอรมนีเตรียมเข้าเป็นพาร์ทเนอร์กับ Winding Tree สตาร์ทอัพจากสวิตเซอร์แลนด์เพื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการมาใช้ในการจองตั๋วเครื่องบิน
ปัญหาของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือสตาร์ทอัพที่มีไอเดียเจ๋ง ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและอยากจะทำแอพเพื่อเสนอลูกค้า จะมีกำแพงขนาดใหญ่คือเจ้าของแพลตฟอร์มต้องไปดีลกับสายการบิน, โรงแรม หรือบริการท่องเที่ยวอื่น ๆ โดยตรง ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ประกอบกับการที่มีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดนี้อยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้ยากเข้าไปใหญ่
Oracle เปิดตัวบริการใหม่ท่ีงาน Oracle OpenWorld 2017 หลายอย่าง ตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือ Oracle Blockchain Cloud Service บริการบล็อคเชนผ่านคลาวด์
บริการของ Oracle ใช้ซอฟต์แวร์ Hyperledger Fabric ที่เป็นโอเพนซอร์ส ในแง่ฟีเจอร์คงไม่ใช่ของใหม่ เพราะ IBM ที่เป็นคนสร้าง Fabric ก็เปิดบริการ Blockchain Cloud มาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ข่าวนี้แสดงให้เห็นว่าตลาด Blockchain ภาคองค์กรเริ่มขยายใหญ่จน Oracle ต้องลงมาเล่นด้วยอีกราย ก่อนหน้านี้ Oracle เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกของโครงการ Hyperledger เมื่อต้นเดือนสิงหาคม
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทางการเงิน (Financial Services Commision - FSC) ของเกาหลีใต้ประกาศห้ามระดมทุนบนบล็อกเช่นหรือ ICO ทั้งหมด พร้อมกับประกาศว่าการซื้อขายเงินดิจิตอลจะต้องถูกตรวจสอบและควบคุมมากขึ้น
ประกาศระบุว่าผู้ที่ระดมทุนผ่าน ICO และสถาบันทางการเงินที่เข้าไปเกี่ยวข้องจะถูกลงโทษอย่างหนัก แต่ประกาศไม่ได้ระบุโทษแต่อย่างใด
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีนก็ออกคำสั่งห้ามระดมทุน ICO และหลังจากนั้นก็เริ่มมีปิดบริษํทซื้อขายเงินดิจิตอลจำนวนมาก
ที่มา - Reuters
กรุงเทพฯ (19 กันยายน 2560) – Krungsri Blockchain's Interledger พลิกโฉมโลกการเงินในภาคธุรกิจ ไทย เมื่อ กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน)) และ IRPC (บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)) ร่วมประกาศความสําเร็จนํานวัตกรรม Krungsri Blockchain's Interledger มาใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศ แบบเรียลไทม์เป็นครั้งแรกในการซื้อ-ขายน้ำมันระหว่างไออาร์พีซีและคู่ค้าในต่างประเทศ
ตลาดการระดมทุนด้วยการขายคอยน์ (initial coin offering หรือ ICO) ยังร้อนแรงต่อไป และเราเห็นโครงการระดมทุน ICO ทำลายสถิติใหม่กันอยู่เรื่อยๆ
ล่าสุดโครงการ Filecoin ที่ประกาศระดมทุนเพื่อสร้างเครือข่ายสตอเรจแบบกระจายศูนย์ สามารถระดมทุนจากคนทั่วไปได้ 205.8 ล้านดอลลาร์ บวกกับที่ระดมได้จากนักลงทุน VC รายใหญ่อีก 52 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นสถิติใหม่ 257 ล้านดอลลาร์ แซงหน้าโครงการ Tezos เจ้าของสถิติเดิม 232 ล้านดอลลาร์
แนวคิดของ Filecoin คือเปิดให้เช่าพื้นที่เก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ โดยผู้เช่าจะต้องจ่ายเป็นเหรียญ Filecoin (ที่นำออกมาขายระดมทุนก่อนในรอบนี้)
ที่มา - Coindesk
SoftBank และ Sprint ประกาศจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือบล็อกเชนใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เหล่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มาใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า Carrier Blockchain Study Group หรือ CBSG
สมาชิกก่อตั้งเริ่มต้นนั้นมีเพียง SoftBank, Sprint และ TBCASoft สตาร์ทอัพผู้พัฒนาบริการบล็อกเชนสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม โดยตอนนี้สมาชิกทั้งสามกำลังเริ่มต้นทดสอบระบบแพลตฟอร์มจ่ายเงินข้ามผู้ให้บริการ โดยใช้เครื่องมือบล็อกเชนจาก TBCASoft และในตอนหลังก็เริ่มมีผู้ให้บริการโทรศัพท์อีกเจ้าของไต้หวันคือ Far EasTone มาเข้าร่วมกลุ่มด้วย
Paris Hilton ออกมาสนับสนุนการระดมทุนของบริษัท LyndianCoin ที่ระบุว่าเป็น "คลาวด์การตลาดสำหรับบล็อคเชน" พร้อมกับทวีตระบุว่า "ทีมงานของเธอ" กำลังระดมทุนจากทั้งในสิงคโปร์และลอนดอน
LyndianCoin ประกาศระดมทุนผ่านโทเค็น LDN จำนวน 20 ล้าน LDN ที่ราคา LDN ละ 5 ดอลลาร์ รวมมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลาระดมทุน 4 สัปดาห์ รวมโทเค็นทั้งหมด 40 ล้าน LDN และจะมีการขายในราคาถูกให้กับที่ปรึกษาจำนวน 2 ล้าน LDN
LyndianCoin ระบุว่าโทเค็นที่ขายไป จะสามารถใช้บริการด้านการตลาดจากบริษัท Gravity4 บริษัทแม่ของ LyndianCoin และสามารถนำไปซื้อพื้นที่โฆษณาได้ในอนาคต รวมถึงใช้เข้าถึงบริการล่วงหน้าก่อนการเปิดตัวจริง
รัฐบาลของรัฐอิลลินอยส์ (Illinois) ในสหรัฐอเมริกา เตรียมทำโครงการนำร่องเทคโนโลยี blockchain มาใช้เก็บข้อมูลสูติบัตรของประชาชน
โครงการนี้เป็นการเก็บเอกสารยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (digital identity) ไว้ในสายโซ่ blockchain โดยเมื่อมีเด็กเกิดใหม่ หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจะนำข้อมูลต่างๆ เช่น ชื่อ วันเกิด เพศ กลุ่มเลือด มาเก็บไว้ใน chain แล้ว sign เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูล
ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China - PBOC) ออกประกาศสั่งห้ามระดมทุนบน blockchain (initial coin offering - ICO) ทั้งหมด พร้อมกับสั่งให้โครงการที่เริ่มไปแล้วให้คืนเงินกลับสู่นักลงทุน
ประกาศของ PBOC มีการคาดการณ์มาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว หลังจากปีนี้มีการระดมทุนในโครงการต่างๆ จากจีนถึง 65 โครงการ รวมมูลค่าสูงถึง 13,000 ล้านบาท และมีนักลงทุนกว่าแสนคน
South China Morning Post อ้างแหล่งข่าวที่เป็นธุรกิจที่ระดมทุนไปแล้ว ระบุว่าตอนนี้กำลังประเมินผลกระทบจากคำสั่งนี้อยู่
Loopring สตาร์ตอัพพัฒนาตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แบบไร้ศูนย์กลางจากจีน เปิดระดมทุนบน blockchain หรือ ICO เป็นผลสำเร็จ ได้เงินไปถึง 120,000 ETH หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท จากผู้ลงทุนถึง 9,776 ราย
ปีนี้มีบริษัทจีนระดมทุนผ่าน ICO แล้วถึง 65 ครั้ง จนตอนนี้สมาคมธุรกิจการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตจีน (National Internet Finance Association of China - NIFA) ออกมาเตือนว่าการลงทุน ICO มีความเสี่ยงสูง และการปล่อยให้มีการลงทุนสูงต่อไปอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
สัญญาของ Loopring เป็นแบบ ERC20 สัญญาการทำ ICO อยู่ที่ 0xEF68e7C694F40c8202821eDF525dE3782458639f และจะซื้อด้วยสัญลักษณ์ LRC
สำนักข่าว Caixin Global จากจีนอ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน ระบุว่าสัปดาห์หน้าธนาคารกลางจีน (PBOC) และกรรมการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์จีน (CSRC) จัดประชุมเพื่อหาทางกำกับดูแลการระดมทุนบน blockchain หรือ initial coin offering (ICO) หลังจากศึกษาแล้วพบว่าครึ่งปีแรกของปีนี้มีการระดมทุนไปแล้วถึง 2,600 ล้านหยวนหรือกว่า 13,000 ล้านบาท จากนักลงทุนรวมกว่าแสนคน
แหล่งข่าวระบุว่าการประชุมมีขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยหาแนวทางการจำกัดปริมาณการลงทุน, บังคับเปิดเผยข้อมูล, บังคับแจ้งเตือนความเสี่ยงแก่นักลงทุน, หรืออาจจะสั่งห้ามไปทั้งหมด
IBM ประกาศความร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ตและบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่หลายราย เช่น Walmart, Kroger, Nestlé, Unilever, Dole ทำระบบติดตามซัพพลายเชนอาหารสดด้วย blockchain
ระบบนี้จะใช้ IBM Blockchain Platform ที่พัฒนาจากเทคโนโลยีของโครงการ Hyperledger มาติดตามเส้นทางเดินของวัตถุดิบอาหารสด ตั้งแต่จากฟาร์มผ่านกระบวนการต่างๆ มายังซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้ตรวจสอบกลับได้ว่าอาหารแต่ละแพ็คมีที่มาอย่างไร และแก้ปัญหาความปลอดภัยของอาหาร (food safety) ได้ง่ายขึ้น เพราะสืบเสาะต้นตอได้ง่ายถ้าพบอาหารที่ปนเปื้อน
ASUS B250 Mining Expert เปิดตัวเมนบอร์ด ASUS B250 Mining Expert เมนบอร์ดที่ออกแบบมาเมื่อการขุดเงินดิจิตอลโดยเฉพาะ โดยตัวเมนบอร์ดเป็น PCIe x1 จำนวนถึง 18 ช่อง วางเรียงกัน สามแถว
การติดตั้งการ์ดปกติคงทำไม่ได้ แต่สำหรับเครื่องขุดเงินมักต่อสายแยกออกไปอยู่แล้วก็คงไม่ใช่เรื่องยากนักที่จะติดตั้งจนเต็ม
แม้ว่าจะมี PCIe มาถึง 18 ช่องแต่ไดร์เวอร์ของทั้ง AMD และ NVIDIA รองรับการติดตั้งการ์ดจอเพียง 8 ใบต่อเครื่อง แต่สามารถติดตั้งสองยี่ห้อพร้อมกันได้ยี่ห้อละ 8 ใบรวมเป็น 16 ใบ (มีผู้ใช้บางคนระบุว่าสามารถติดตั้งได้เกินนั้น)
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Coco Framework ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับรัน blockchain ในองค์กร
ไมโครซอฟท์ระบุว่าข้อจำกัดของเครือข่าย public blockchain อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum คือประมวลผลช้า (Ethereum ทำได้ 20 ธุรกรรมต่อวินาที) และใช้พลังงานในการประมวลผลมาก ในขณะที่ blockchain ในองค์กรมีรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป เพราะสมาชิกในเครือข่ายคือหน่วยงานที่รู้จักตัวตนกันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติบางอย่างแบบที่เครือข่าย public blockchain มี
อย่างไรก็ตาม การดัดแปลงซอฟต์แวร์ public blockchain มาใช้กับตลาดองค์กรกลับไม่ประสบความสำเร็จนัก เพราะมันออกแบบมาสำหรับเครือข่ายเปิดมาตั้งแต่แรก ไมโครซอฟท์จึงพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้าง Coco ขึ้นมาสำหรับตลาดองค์กรโดยเฉพาะ
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์สหรัฐฯ (เทียบเท่ากลต. ของไทย) ออกรายงานการระดมทุนในองค์กรเสมือน เช่น การขายโทเค็น, การทำ initial coin offering (ICO) ต่างๆ เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริง
เมื่อเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ที่เปิดขายหลักทรัพย์เหล่านี้ต้องมาลงทะเบียนกับกลต. และถูกกำกับดูแล พร้อมให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนแบบเดียวกับหลักทรัพย์อื่นๆ
ธนาคารกสิกรไทยประกาศเปิดบริการทำหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อคเชนเป็นเจ้าแรกของโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อคเชนจาก IBM ผ่านโครงการ Hyperledger หลังทดสอบการให้บริการบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยไปก่อนหน้านี้แล้ว
บริการนี้จะช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีลูกค้าจำนวนมาก สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้าทั้งหมดบนมาตรฐานเดียว ไม่ต้องใช้กระดาษ ปลอดภัย ตรวจสอบได้และปลอมแปลงยาก โดยทางกสิกรไทยระบุว่าระบบถูกออกแบบมาให้เอื้อกับการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารต่างๆ ได้ในอนาคตด้วย
ทางกสิกรไทยคาดว่าปีนี้จะมีการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ราว 20% และคาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 35% โดยเป็นสัดส่วนที่ใช้ผ่านบล็อกเชนอยู่ที่ 5%
ที่มา - งานแถลงข่าว
กลุ่มพันธมิตร Enterprise Ethereum Alliance (EEA) เพิ่งก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2017 โดยมีไมโครซอฟท์และอินเทลเป็นแกนนำ และมีธนาคารรายใหญ่ของโลกอย่าง JP Morgan และ Santander เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง
เวลาผ่านมาอีกไม่กี่เดือน กลุ่ม Enterprise Ethereum Alliance ประกาศรายชื่อสมาชิกใหม่เพิ่มอีกชุดใหญ่ จนตอนนี้ EEA มีสมาชิกเกิน 150 องค์กรแล้ว ถือเป็นกลุ่มผลักดันเทคโนโลยี blockchain รายใหญ่ที่สุดของโลกในทันที
สมาชิกชุดใหม่มีทั้งบริษัทไอที (Cisco) ธนาคาร (Scotiabank) บริษัทบัตรเครดิต (Mastercard) มหาวิทยาลัย และสตาร์ตอัพด้าน blockchain อีกจำนวนมาก (รายชื่อสมาชิกทั้งหมด)
เราเริ่มเห็นหลายบริษัทในหลายอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดเป็นกรณีของบริษัท Daimler AG ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน (ผู้ผลิต Mercedes-Benz) ได้ทดลองนำเอาระบบบล็อคเชนจากโครงการ Hyperledger มาใช้งานกับระบบการเงินของบริษัท
จุดประสงค์ของ Daimler คือต้องการนำบล็อคเชนมาเป็นตัวกลางในกระบวนการด้านการเงินระหว่างบริษัทและนักลงทุน ที่ปกติจะเสียเวลาราวๆ 10 สัปดาห์เมื่อผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร ขณะที่การทดสอบระบบบล็อคเชนที่ทุกอย่างทำผ่านระบบดิจิทัล 100% ปรากฎว่าช่วยให้กระบวนการข้างต้นเร็วขึ้นอย่างมาก (considerably faster)
ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัวเป็นผู้นำนวัตกรรมทางการเงินเข้าทดสอบผ่าน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่มีการประกาศเมื่อวานนี้ โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เข้าร่วม
บริการของธนาคารไทยพาณิชย์จะเปิดให้ผู้ที่อยู่ในญี่ปุ่นสามารถโอนเงินเยนผ่านตู้เอทีเอ็มของบริษัท SBI Remit หรือโอนผ่านที่ทำงานไปรษณีย์ญี่ปุ่น เข้ามายังบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสกุลบาทได้ภายในเวลาเพียง 20 นาที
มีคนไทยอาศัยในญี่ปุ่นตอนนี้ประมาณ 40,000 คนและมีการโอนเงินเยนมายังประเทศไทยประมาณปีละหนึ่งหมื่นล้านบาท หลังจากนี้ทางธนาคารมีแผนจะเพิ่มบริการเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ให้ครบทุกภูมิภาค เช่น อเมริกาเหนือ, ยุโรป, และเอเชียแปซิฟิก
บริษัทที่ปรึกษาด้านไอที Accenture ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ นำเทคโนโลยี blockchain มาสร้างโซลูชันการยืนยันตัวบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจของ UN ที่พยายามแก้ปัญหาประชากรโลก 1.1 พันล้านคนที่ยังไม่มีวิธีการยืนยันตัวตนใดๆ
Accenture เปิดตัวโซลูชันนี้ในงานประชุม ID2020 ที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติที่นิวยอร์ก โซลูชันต้นแบบของ Accenture ใช้เทคโนโลยี Enterprise Ethereum Alliance ที่ไมโครซอฟท์ร่วมก่อตั้ง และรันอยู่บน Azure
ที่ผ่านมา วงการ cryptocurrency และ blockchain ได้รับความนิยมล้นหลาม ส่งผลให้ความต้องการการ์ดจอเพื่อเอาไปขุดเหมืองเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมีข่าวลือเกี่ยวกับการดัดแปลงการ์ดจอเพื่อใช้ขุดเหมืองโดยเฉพาะ ล่าสุดก็เริ่มมีบางคนปิ๊งไอเดียว่า แล้วถ้าเอาคอมพิวเตอร์ควอนตัมไปขุดเหมืองแทนล่ะ จะขุดเร็วขนาดไหน
คำตอบคือ ขุดเร็วกว่าการ์ดจอแน่ๆ แต่ “มันอาจจะเร็วเกินไปจนไปทำลายระบบ blockchain” ได้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ การมาของคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะทำให้ระบบ blockchain ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ เพราะมันสามารถทำลายกลไกการเข้ารหัสและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้อีกด้วย
เกาหลีใต้ประกาศกลุ่มทดลองการใช้ blockchain เพื่ออำนวยความสะดวกในงานลอจิสติก โดยใช้จัดการประวัติสินค้า ตั้งแต่ที่ผลิต, แปรรูป, และการขนส่ง เพื่อป้องกันการแก้ไขสถานที่ผลิตสินค้าไปจนถึงการโฆษณาเกินจริง
องค์กรที่เข้าร่วมทดสอบครั้งนี้ ได้แก่ ศุลกากรเกาหลีใต้, กระทรวงทะเลและประมง (Ministry of Oceans and Fisheries), บริษัทขนส่งทางทะเลฮุนได (Hyundai Merchant Marine), ไอบีเอ็มเกาหลีใต้, และ KT net
ทางศุลกากรเกาหลีระบุว่าหากโครงการนี้สำเร็จ กระบวนการเคลียร์ศุลกากรจะง่ายลง และลดต้นทุนลอจิสติกโดยรวม
Toyota Research Institute (TRI) หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของ Toyota ร่วมมือกับ MIT Media Lab มีแผนจะนำเทคโนโลยี Distributed Ledger มาใช้งาน โดยตอนนี้กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีนี้ในหลายแง่มุม เพื่อพิจารณาถึงรูปแบบการใช้งานจริงบนรถยนต์
Chris Ballinger ผู้อำนวยการฝ่าย Mobility Services และ CFO ของ TRI ระบุว่าบริษัทอาจจะนำบล็อกเชนในการเก็บข้อมูลการขับขี่จากรถยนต์บนท้องถนนนับล้านๆ คัน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติทั้งในแง่ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
นอกจาก MIT แล้ว Toyota ยังร่วมมือกับสตาร์ทอัพอีกหลายเจ้า ที่นำบล็อกเชนไปใช้งานด้านต่างๆ อาทิ ประกัน, บริการ Car Share และ Car Pool