นอกจาก Cisco Cius แท็บเล็ตสำหรับการใช้งานทางธุรกิจ Cisco ยังมีผลิตภัณฑ์อีกตัวที่มีลักษณะเป็นแท็บเล็ตเหมือนกัน
ชื่อของมันคือ Home Energy Controller เป็นแท็บเล็ตแบบตั้งโต๊ะหน้าจอ 7" หน้าที่ของมันก็ตามชื่อคือเอาไว้ตรวจสอบการใช้พลังงานภายในบ้าน แนวคิดจะล้ำๆ หน่อยแต่หลักการคือใช้ Home Energy Controller บริหารจัดการปลั๊ก, thermostat, อุปกรณ์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ให้ไม่ทำงานเกินกว่าที่ใช้เพื่อประหยัดพลังงาน ดูวิดีโอประกอบเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
Cisco ได้ประกาศ Tablet ตัวใหม่ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจ โดยใช้ชื่อว่า Cius เนื่องจากว่า Cius นั้นไม่ใช่อุปกรณ์จำพวกเราท์เตอร์หรือสวิทชิ่งฮับ ดังนั้นมันจึงใช้ OS ที่ชื่อว่า Android แทนที่จะเป็น IOS ครับ
ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับ Cius เบื้องต้น Cisco กล่าวว่า Cius จะรองรับการสตรีมข้อมูลวีดีโอแบบ HD, การประชุมวีดีโอในเวลาจริงแบบหลายกลุ่ม (Real-time video, multi-party conferencing) และฟีเจอร์พื้นฐานต่าง ๆ ของ Tablet เช่น การส่งข้อความ อีเมล และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
สเปคคร่าว ๆ ของ Cius เป็นดังนี้ครับ
จะเป็นอย่างไรเมื่อยักษ์สื่อสารอย่าง Cisco มาเปิด social network กับเขาบ้าง?
คำตอบคือ Quad บริการ social network สำหรับองค์กร หน้าตามันจะคล้ายๆ Twitter หรือ Facebook คือแสดง timeline บ่งบอกสถานะอัพเดตของผู้ใช้ (สามารถใช้ร่วมกับระบบจัดการเอกสารองค์กรอย่าง SharePoint หรือ Documentum ได้ ทำนองว่าสร้างเอกสารใหม่แล้วแสดงข้อความอัพเดต)
แต่ไหนๆ เป็น Cisco เจ้าแห่งระบบสื่อสารมาทำเอง จะทำแค่นี้คงไม่สมราคา เราจึงสามารถสื่อสารกับเพื่อนๆ ในองค์กรได้ทันที ผ่าน IM (Jabber ที่ถูกซื้อมา) และวิดีโอ (WebEx หรือ Cisco Unified Presence) ได้อีกด้วย
และเพื่อให้เข้าสมัย Cisco จะออกโปรแกรม Quad บน iPad กับ iPhone ในเร็วๆ นี้
หลังการเปิดตัวสินค้าไปเมื่อวานนี้มีสองประเด็นคือ การเปิดตัวโปรโตคอล FaceTime และการเปลี่ยนชื่อ iPhone OS 4 เป็น iOS4 ซึ่งถ้าเราตามข่าวไอทีมานานเราจะพบว่าทั้งสองชื่อนั้นดูจะคุ้นๆ
ปรากฏว่า FaceTime นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทในชื่อเดียวกันที่เคยมีเรื่องกับบริษัท Thomson Reuters เมื่อปี 2008 โดยแอปเปิลได้เข้าไปซื้อสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้าแบบขาด และบริษัท FaceTime กำลังจะประกาศชื่อใหม่ในเร็ววันนี้
ส่วน iOS นั้นมีชื่อเหมือนกับ Cisco IOS ทางซิสโก้เองก็ประกาศว่าได้มีการให้สิทธิ์กับทางแอปเปิลเพื่อใช้ชื่อ IOS แล้วแต่ในส่วนของซิสโก้นั้นคงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันเพราะ IOS เองเป็นสินค้าหลักของซิสโก้มากว่า 20 ปีแล้ว
หลังจาก Cisco ซื้อบริษัท Pure Digital ผู้ผลิตกล้องวิดีโอพกพา Flip ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องใช้ง่าย เวลาผ่านมาหนึ่งปี เราเริ่มเห็นผลงานของทีม Flip เมื่อยามต้องอยู่ใต้ยักษ์ใหญ่อย่าง Cisco แล้ว
ทีมงาน Flip นำความถนัดเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ใช้ง่าย มาผสมกับความเข้มแข็งของ Cisco ในตลาดอุปกรณ์เครือข่าย ออกมาเป็น Valet เราเตอร์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน ที่มีจุดขายคือตัดปัญหาการเซ็ตระบบเครือข่ายออกไป
Cisco เปิดตัวเราเตอร์ตัวท็อปรุ่นใหม่ CRS-3 ในตระกูล Carrier Routing System (CRS) ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลสูงถึง 322 Terabit ต่อวินาที
เจ้า CRS-3 ตัวนี้เร็วกว่าเราเตอร์ตัวท็อปของ Cisco รุ่นก่อนหน้าคือ CRS-1 ถึง 3 เท่าตัว และ Cisco บอกว่ามันเร็วกว่าเราเตอร์คู่แข่งถึง 12 เท่า Cisco เปรียบเปรยความเร็วของมันว่า สามารถดาวน์โหลดหนังสือทั้งหมดจากห้องสมุดของสภาคองเกรสสหรัฐได้ภายใน 1 วินาที, รองรับให้คนจีนทั้งหมดคุย video call พร้อมกันได้ และส่งข้อมูลภาพยนตร์ทั้งหมดที่เคยสร้างขึ้นมาภายใน 4 นาที
Cisco โฆษณาว่า CRS-3 ออกแบบมารองรับอินเทอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และช่วย ISP ลดค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟ และการบำรุงรักษาได้มาก
John Chambers ซีอีโอของ Cisco บริษัทด้านเครือข่ายอันดับหนึ่งของโลก ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า "ผมไม่สนใจทำสมาร์ทโฟน"
อย่างไรก็ตาม Chambers เสริมว่า Cisco รักทุกคนที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย และสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เหล่านั้น แนวทางของ Cisco อยากเป็นพันธมิตรกับ RIM, Apple และ Palm ในการวางระบบเครือข่ายที่เติบโตขึ้นตามสมาร์ทโฟนมากกว่า
การซื้อกล้องวิดีโอ Flip ทำให้ Cisco รุกเข้าตลาดผู้ใช้ตามบ้าน และนักวิเคราะห์มองว่าตลาดกล้องวิดีโอพกพาเริ่มจะซ้อนทับกับสมาร์ทโฟนแล้ว (ข่าวเก่า เปรียบคุณภาพวิดีโอ iPod nano vs Flip SD)
เราๆ ท่านๆ คงใช้ Web 2.0 กันจนเป็นเรื่องปรกติ แต่สำหรับลูกค้าระดับองค์กรนั้นเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ใหม่มาก นับแต่การประกาศ WebEx รุ่นใหม่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ตอนนี้ Cisco ก็เปิดตัวซอฟต์แวร์อีกชุดใหญ่
การเปิดตัวบริการเพิ่ม 60 ตัวอาจจะดูน่าตกใจ แต่จริงๆ แล้วการเปิดตัวนี้จำนวนหนึ่งก็เป็นการอัพเกรด WebEx ที่เรารู้กันก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนที่เพิ่มมาคงเป็นซอฟต์แวร์วิกิ (Cisco Enterprise Collaboration Platform), การแท็กเอกสารต่างๆ ในเครือข่ายได้ (Cisco Pulse), และเว็บเมลที่เป็น AJAX เต็มรูปแบบ (Cisco WebEx Mail)
ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นสำหรับเราๆ ท่านๆ แต่ถ้าใครทำงานดูแลเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรใหญ่ๆ อาจจะได้เวลาเตรียมเงิน
InfoWorld ได้รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 มิ.ย.) ว่าบริษัทซิสโก้ได้ประกาศใบรับรอง (certification) ระดับใหม่ ในชื่อ Cisco Certified Architect (CCA) ซึ่งระดับจะสูงกว่า CCIE ในปัจจุบัน โดย CCA เป็นการผสมผสานระหว่างความรู้ในการประยุกต์ใช้ในการทำงาน (know-how) ด้าน networking engineering ของ CCIE เดิมกับความรู้ด้านบริการจัดการ (MBA) สำหรับนิยามของ CCA โดยซิสโก้เป็นดังนี้:
The Cisco Certified Architect certification recognizes the architectural expertise of network designers who can support the increasingly complex networks of global organizations and effectively translate business strategies into evolutionary technical strategies.
โดยหลักสูตรอบรมสำหรับผู้ที่ต้องการ CCA จะเป็นการฝึกทำงานร่วมกับผู้บริการในสายผลิตภัณฑ์ระดับ C-level (C-level line-of-business executives) เพื่อที่จะแปลความต้องการทางธุรกิจไปยังระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
ช่วงปีที่ผ่านมาเรามีชุดออฟฟิศออนไลน์ให้ใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ Google Docs, Adobe Acrobat.com และ Zoho แต่ดูเหมือนว่าทางซิสโก้คิดว่าตลาดนี้ยังไม่อิ่มตัว และมีช่องว่างให้ทางซิสโก้เข้ามาแทรกได้
ซิสโก้ระบุว่าบริษัทกำลังพิจารณาที่จะพัฒนาส่วนเสริมของ WebEx ซึ่งเป็นบริการประชุมออนไลน์ของซิสโก้ให้เพิ่มความสามารถในการแก้ไขเอกสารเพิ่มเข้ามา
บริการ WebEx นั้นมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 59 ดอลลาร์ต่อเดือน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเท่าใหร่นักที่ทางซิสโก้จะยอมให้บริการออนไลน์หลายๆ ตัวที่มีความสามารถในการประชุมออนไลน์เหมือนกัน (แม้จะได้แค่ chat อย่างเดียว) เข้ามาแทรกในตลาดของซิสโก้ไปเรื่อยๆ
หลังจากฟ้องกันมาครึ่งปี ทางซิสโก้ก็ได้ตกลงนอกศาลกับ Free Software Foundation (FSF) ที่จะเปิดเผยซอร์สโค้ดทั้งหมดตามที่ถูกเรียกร้อง พร้อมกับสนับสนุนทางการเงินอีกจำนวนหนึ่ง
ทาง FSF นั้นระบุว่ายินดีกับการร่วมมือของซิสโก้ในครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตามทาง FSF จะดำเนินการตรวจสอบซิสโก้ต่อไป
ยังไม่มีการยืนยันรายชื่อที่แน่ชัดว่าสินค้าตัวไหนบ้างที่จะมีการเปิดเผยซอร์สโค้ดออกมา แต่สินค้าในตระกูล LinkSys จำนวนมากนั้นใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เป็น GPL
ที่มา - FSF
ผมคิดว่าบริษัทไอทีระดับ "ใหญ่ไม่มาก" ที่รักษาที่มั่นของตัวเองได้อย่างแข็งแกร่ง มีกำไรแม้อยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วสู่บริษัทขนาด "ใหญ่มาก" มีด้วยกันสองบริษัท นั่นคือ Oracle และ Cisco วันนี้เป็นเรื่องของ Cisco
Cisco ยังเดินหน้าปฏิบัติการซื้อแหลกต่อไป ล่าสุดประกาศว่าต้องการซื้อกิจการ Pure Digital Technologies ผู้คิดค้นกล้องวิดีโอ Flip Video
Flip เป็นกล้องแฮนดี้แคมสำหรับถ่ายวิดีโอที่มีเพียงปุ่มเดียวคือปุ่มอัด ออกมาจับตลาดคนที่ต้องการถ่ายวิดีโอแบบง่ายๆ ไม่ต้องการฟีเจอร์ที่ซับซ้อน เมื่อรวมกับรูปทรงของกล้องที่แบนเหมือนโทรศัพท์มือถือ ขนาดเล็กพกพาสะดวก ราคาไม่แพงมากนัก สีสันสดใส และความสามารถในการแชร์วิดีโอบน YouTube/MySpace ได้ง่าย ทำให้ Flip กลายเป็นปรากฎการณ์ในหมู่วัยรุ่นของฝรั่งอย่างรวดเร็ว (ขายไปได้แล้ว 2 ล้านตัว) ตอนนี้ Flip มี 4 รุ่น รุ่นต่ำสุดราคา 129 ดอลลาร์
หลังจากครองตลาดเน็ตเวิร์คได้เกือบจะเบ็ดเสร็จ ซิสโก้ก็ประกาศบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างเต็มรูปแบบแล้วในปีนี้ หลังจากส่งสัญญาณมาตั้งแต่สองปีก่อนด้วยการเปิด API ให้นักพัฒนาเข้าพัฒนาซอฟต์แวร์บน IOS ได้
การประกาศครั้งนี้สร้างแรงกระทบให้กับพันธมิตรของซิสโก้เองเช่น ไอบีเอ็มและเอชพีมากพอสมควร โดยไอบีเอ็มนั้นระบุว่าไม่ใช่เรื่องปรกติที่บริษัทไอทีจะเป็นทั้งพันธมิตรและคู่แข่งในเวลาเดียวกัน (ซิสโก้บังคับให้ไอบีเอ็มเลือก???) ส่วนเอชพีนั้นบลั๊ฟทันทีว่าสิ่งที่ซิสโก้ประกาศว่ากำลังจะขายนั้นเอชพีขายอยู่แล้วในวันนี้
ไอบีเอ็มขายสินค้าของซิสโก้ในปีที่แล้วเป็นมูลค่าสองพันล้านดอลลาร์
จะถือว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ router ก็น่าจะได้นะครับ
Cisco ร่วมมือกับ Trend Micro ออกบริการที่เรียกว่า Home Network Defender โดยเป็นการเอาซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยของ Trend Micro มาใส่ใน router แบรนด์ Linksys (บางรุ่น) ของ Cisco
การเอาไฟร์วอลล์มาใส่ router ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นอกจากนั้นมันยังมีฟีเจอร์ด้าน network monitoring, parental control และ intrusion blocking มาให้ด้วยในตัว router และมันมาพร้อมกับซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส+มัลแวร์ของ Trend Micro ให้ลงแยกบนพีซีอีก 4 license ทั้งหมดนี้ต้องเสียค่าสมาชิกรายปี 59.99 ดอลลาร์ (ซื้อแต่ router มาใช้ก็ได้แต่จะไม่ได้ฟีเจอร์ Home Network Defender) ถ้าหาร 4 เป็นค่าแอนตี้ไวรัส ผมว่าก็คุ้มอยู่นะ
ยักษ์ใหญ่จอมซื้อกิจการในโลกไอทีนั้นมีไม่กี่เจ้า หลักๆ ได้แก่ไมโครซอฟท์ กูเกิล ออราเคิล และ Cisco
คราวนี้เป็นคิวของ Cisco แต่ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการเช่นเคย เป็นแค่การอ้างแหล่งข่าววงในจากนักวิเคราะห์การเงินในวอลล์สตรีทเท่านั้น มีเสียงร่ำลือว่า Cisco อาจจะซื้อ VMware ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่หุ้นส่วนใหญ่นั้นถือโดยบริษัท EMC โดย Cisco อาจจะเจรจาซื้อจาก EMC แล้วค่อยรับซื้อจากนักลงทุนอื่นๆ ต่อไป
ถ้าข่าวนี้เป็นจริงก็ค่อนข้างมีน้ำหนัก เพราะ VMware นั้นต่อยอดไปกันได้กับผลิตภัณฑ์ด้านเครือข่ายและโซลูชันองค์กรที่ Cisco มีอยู่
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีมานี้ ที่ดังที่สุดคงเป็น Linksys WRT54G ที่ใช้ลินุกซ์และมีการปล่อยซอร์สโค้ดทั้งหมดออกมา ทำให้เกิดโครงการอย่าง OpenWRT ที่ดูแลลินุกซ์สำหรับอุปกรณ์เน็ตเวิร์คขึ้นมา
แม้การนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปใช้งานเพื่อการค้าจะเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ดูเหมือนว่าซิสโก้จะไม่ได้ทำตามข้อกำหนดในสัญญาอนุญาตอย่างครบถ้วนนัก จนนำมาซึ่งการฟ้องซิสโก้จาก Free Software Foundation (FSF)
ยักษ์ใหญ่วงการสื่อสารอย่าง Cisco เข้าซื้อกิจการบริษัท Jabber, Inc. ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย
การซื้อกิจการนี้ชัดเจนว่า Cisco ต้องการรุกเข้าตลาด collaboration ในระดับองค์กร ซึ่งก่อนหน้า Cisco ซื้อบริษัทที่ใกล้เคียงกันอย่าง PostPath และ WebEx มาแล้ว ตลาด IM ในองค์กรนี้มีผู้เล่นระดับใหญ่หลายราย เช่น IBM (Lotus Sametime) และ Microsoft Office Communications Server เป็นต้น
Jabber, Inc. เป็นบริษัทของผู้พัฒนาโปรโทคอล XMPP/Jabber โดยเน้นขายโซลูชันด้าน IM ภายในองค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีผลิตภัณฑ์อย่าง Jabber XCP และ JabberNow ส่วนการพัฒนาโปรโทคอล XMPP นั้นไม่มีผลกระทบเพราะยังเป็นโอเพนซอร์สอยู่เช่นเดิม
หลังจากเริ่มมีการรับรองมาตรฐาน 802.11n กันไปแล้ว ตอนนี้เครือข่ายไร้สายความเร็วสูงก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นตามลำดีบ ล่าสุดทางมหาวิทยาลัย Duke ก็ร่วมมือกับทางซิสโก้ติดตั้งเครือข่าย 802.11n ทั่วมหาวิทยาลัยแล้ว
การติดตั้งครั้งนี้ทำให้มีพื้นที่ให้บริการเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงทั้งหมดหกล้านตารางฟุต โดยใช้แอกเซสพอยต์ของทางซิสโก้ทั้งหมด 2,500 ชุด และการติดตั้งเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงนี้ทำให้บุคคลากรและนิสิตกว่า 45,000 คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการแบนวิดท์สูงเช่นวีดีโอและเสียงได้อย่างเต็มที่
บ้านเรามีที่ไหนเริ่มติดตั้งกันแล้วบ้างรึเปล่า....
ที่มา - Yahoo! Biz (Press Release)
อุปกรณ์เน็ตเวิร์คของทางซิสโก้นั้นแม้จะมีชื่อมาค่อนข้างนานแล้ว แต่เนื่องจาก IOS นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่ปิดไม่ให้นักพัฒนาอื่น เข้าถึง API ใดๆ เพื่อพัฒนาความสามารถขึ้นแต่อย่างใดทำให้ความสามารถของ IOS ถูกจำกัดอยู่แค่เท่าที่ทางซิสโก้พัฒนามาให้เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ทาง Juniper ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงในอุปกรณ์เครือข่ายระดับสูงก็ได้เปิด API ให้นักพัมนาไปก่อนหน้านี้แล้วในชื่อว่า JUNOScript แต่ของทางซิสโก้นั้นยังเป็นการประกาศแผนการและยังไม่มีการออก API มาจริงๆ แต่อย่างใด
ซอฟต์แวร์เฮ้าส์บ้านเราลองพัฒนาโปรแกรมแนวๆ นี้ขายก็น่าจะรุ่งเหมือนกันนะ
ผลสำรวจรายได้ของชาวไอทีจาก Cert Magazine ประจำปีนี้ แยกตามค่ายแล้ว ซิสโก้ยังคงเป็นแชมป์อีกสมัย ตามมาด้วย ออราเคิล, ซัน, ไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ ตามลำดับ
สถิติที่น่าสนใจมีดังนี้
หลังจาก Cisco เข้าซื้อ Linksys ไปเมื่อปี 2003 และยังคงทำตลาดด้วยแบรนด์เดิมมาตลอด แต่แล้วล่าสุดผู้บริหารก็ออกมาประกาศยกเลิกการใช้งานแบรนด์ดังกล่าว และจะเริ่มทำตลาดทั้งหมดด้วยชื่อ Cisco แทน
เหตุผลที่แบรนด์ Linksys ยังคงอยู่หลังจากเข้าซื้อกิจการนั้นก็เป็นเพราะชื่อของ Linksys เป็นที่คุ้นเคยต่อกลุ่มผู้ใช้ในสหรัฐฯ มากกว่า แต่เหตุผลนั้้นจะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เมื่อตลาดของ Cisco กว้างขึ้นเป็นระดับสากล
จุดประสงค์หลักๆ ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ การให้ตัวแทนจำหน่าย Linksys เดิม สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Cisco ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังต้องการเข้าไปจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ถึงขั้นสร้างแผนกใหม่ เพื่อรับผิดชอบด้านนี้โดยตรงเลยทีเดียว
Cisco และมหาวิทยาลัย Duke ล่าสุดออกมาเผยว่า iPhone ไม่ใช่ต้นตอปัญหา WLAN ของมหาวิทยาลัยล่ม
Tracy Futhey โฆษกของมหาวิทยาลัยได้ออกมากล่าวว่า "หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยได้พยายามแก้ไขปัญหานี้กับ Cisco และแอปเปิล จริง ๆ แล้วปัญหานี้เกิดจากระบบของ Cisco เองที่สนับสนุนการใช้งานหลาย protocol"
สำหรับทาง Cisco เองนั้นก็ได้บอกว่าทางบริษัทได้พยายามหาต้นเหตุของปัญหานี้ทั้งกับทางมหาวิทยาลัยเองและแอปเปิล สุดท้ายทางบริษัทก็ได้ทำการแก้ไขระบบเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นก็ไม่เจอปัญหานี้อีกเลย
ความเร็วของบรอดแบนด์ที่เข้าไปยังบ้านเรือนทั้งหลายกำลังเร็วขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่แล้วในญี่ปุ่นก็มีการเปิดตัวบริการบรอดแบนด์แบบไฟเบอร์ออปติกส์ กันไปด้วยความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาทีกันไปแล้ว ในตอนนี้ดูเหมือนว่าความเร็จจะไม่ได้หยุดนิ่งอยู่แค่นั้น เมือนักวิจัยชาวสวีเดนได้ทดสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วถึง 40 กิกะบิตต่อวินาทีเข้าไปยังบ้านของแม่นักวิจัยผู้หนึ่ง
การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบการเข้าสัญญาณแบบใหม่ที่ทำความเร็วสูงได้ระยะทางกว่า 2000 กิโลเมตรโดยไม่ต้องมีการทวนสัญญาณแต่อย่างใด โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Cisco นั่นเอง
เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป ข้อสอบ Cisco CCNA จะปรับปรุงใหม่เพิ่มเติมเนื้อหาเครือข่ายไร้สาย ความปลอดภัย และยังสอบได้สองแบบเหมือนเดิมคือ
วิธี ก. สอบสองวิชา ICND1 640-822: CCNA Part 1/CCENT ICND2 640-816: CCNA Part 2
หรือ วิธี ข. สอบวิชาเดียว CCNA 640-802: CCNA Composite
เมื่อก่อน สอบสองวิชาจะต้องสอบให้ครบทั้งสองถึงจะได้ CCNA ส่วนอันใหม่สอบผ่านวิชาแรกจะได้ CCENT (Cisco Certified Entry Networking Technician) มาก่อน
นอกจากนั้นยังเพิ่มราคาอีกวิชาละ 25 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐอีกด้วย
ที่มา - Certcities.com