จากปัญหาของเกม SimCity ภาคล่าสุด จนผู้เล่นจำนวนมากไม่พอใจและเรียกร้องขอคืนเงินค่าเกม
ทาง EA ก็ออกมาให้ข้อมูลผ่าน Twitter @OriginInsider แล้วว่า เกม SimCity ที่ซื้อแบบดิจิทัลดาวน์โหลดผ่านร้าน Origin นั้นไม่มีนโยบายคืนเงินให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นนโยบายที่ EA ปฏิบัติกับเกมบน Origin ทุกเกมอยู่แล้ว
ตัวแทนของ Origin ให้สัมภาษณ์ว่าการคืนเงินจะเกิดได้ในกรณีพิเศษจริงๆ และกรณีเซิร์ฟเวอร์ SimCity ล่มนั้นไม่เข้าข่ายแต่อย่างใด นอกจากนี้ Origin ยังปฏิเสธข่าวลือว่าลูกค้าที่ขอคืนเงินจะถูกแบนว่าไม่เป็นความจริงเลย
ส่วนปัญหาเซิร์ฟเวอร์ตอนนี้ทีมงาน Maxis ผู้พัฒนาเกม SimCity กำลังรีบแก้ไขอยู่
Google Play ฉลองครบหนึ่งปีที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อนี้ ([ข่าวเปลี่ยนชื่อจาก Android Market เป็น Google Play](http://www.blognone.com/news/30417/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-google-play-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5)) โดยแจกส่วนลดและสินค้าดิจิทัลต่างๆ มากมาย
ข่าวนี้ต่อจากข่าวลือว่ากูเกิลเตรียมเปิดบริการเพลงแบบสตรีมมิ่ง โดยมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามาว่ากูเกิลบรรลุข้อตกลงกับค่ายเพลงใหญ่ Warner Music Group เรียบร้อยแล้ว และกำลังเจรจากับค่ายเพลงอื่นๆ อย่าง Universal และ Sony อยู่
ที่น่าสนใจคือบริการเพลงออนไลน์ของกูเกิลไม่ได้มีเพียงตัวเดียว แต่แยกเป็น 2 ตัวใต้แบรนด์ YouTube และ Google Play
บริการเพลงแบรนด์ YouTube จะเก็บค่าสมาชิกและไม่มีโฆษณา คาดว่าบริการนี้จะรวมถึงมิวสิควิดีโอด้วย ส่วน Google Play จะมีทั้งการขายแยกเพลงแบบปกติ และการฝากไฟล์บนกลุ่มเมฆ (music locker) แบบที่ Amazon/iTunes ทำอยู่
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าววงในว่า Tim Cook ซีอีโอของแอปเปิลได้พบปะกับ Jimmy Iovine ซีอีโอของ Beats เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื้อหาของการพูดคุยเกี่ยวกับ Project Daisy บริการเพลงออนไลน์ของ Beats ที่เคยแถลงข่าวไปเมื่อเดือนมกราคม นอกจากนี้ยังพูดกันเรื่องประเด็นทั่วๆ ไปเกี่ยวกับวงการเพลงด้วย
ในการประชุมครั้งนี้ยังมี Eddy Cue หัวหน้าฝ่ายอินเทอร์เน็ตของแอปเปิล และแกนหลักของ iTunes Music Store เข้าร่วมด้วย แต่โฆษกของทั้งสองบริษัทปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้รับเชิญจากซัมซุงประเทศไทยไปร่วมงาน Samsung Forum 2013 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก็ลงข่าวด่วนอย่าง ทดลองจับ Samsung Galaxy Note 8.0 ไปบ้างแล้ว
งาน Samsung Forum 2013 เน้นการอธิบายข้อมูลของสินค้าใหม่ๆ ประจำปีนี้ให้กับสื่อและตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก ไม่ได้เป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สุดๆ แบบเดียวกับงาน CES/MWC หรืองานแถลงข่าวเฉพาะกิจของซัมซุงเอง
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์หลายตัวที่โชว์ในงานก็น่าสนใจ และเป็นตัวสะท้อนทิศทางของซัมซุง (ซึ่งตอนนี้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกไอทีไปแล้ว) ในระยะยาวได้เป็นอย่างดีครับ โพสต์นี้ก็ขอสรุปประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจับตาดังนี้
และแล้ว Xbox Live ก็กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีภาพยนตร์มาฉายเปิดตัวเป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ชื่อ Pulp เป็นภาพยนตร์อินดี้จากฝั่งอังกฤษ กำกับโดย Adam Hamdy และ Shaun Magher เนื้อหาเป็นภาพยนตร์ตลกเกี่ยวกับการตามล่าแก๊งหนังสือการ์ตูน
ผู้สร้าง Adam Hamdy ให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่าวงการภาพยนตร์อินดี้ทุนต่ำในอังกฤษมีโอกาสฉายในโรงน้อยลง และการออกเป็นแผ่นดีวีดีโดยตรงก็ไม่ดีอย่างที่คิด เพราะธุรกิจภาพยนตร์ดีวีดีเริ่มตกต่ำเช่นกัน เขาจึงตัดสินใจเลือกฉายบน Xbox Live เนื่องจากมีต้นทุนการจัดจำหน่ายที่ต่ำกว่า
ส่วนผู้จัดการของ Xbox Live ก็ให้สัมภาษณ์ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีกลุ่มเป้าหมายตรงกับฐานผู้ใช้ของ Xbox เป็นอย่างดี และไมโครซอฟท์ยินดีสนับสนุนภาพยนตร์ดีๆ แบบนี้อยู่แล้ว
คนแถวนี้คงรู้จัก Shazam บริการ "แท็ก" เพลงจากเสียงที่ได้ยิน (ใช้เทคนิค sound fingerprint สำหรับการเทียบว่าเป็นเพลงอะไร) โดยบริษัทหารายได้จากการขายเพลงอีกต่อหนึ่ง ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้า 300 ล้านราย และมีผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ในหลักหลายสิบล้านราย
ช่วง 1-2 ปีมานี้ Shazam พยายามขยายตลาดเป็นการแท็กรายการทีวีมากขึ้น โดย Shazam เก็บข้อมูลของรายการทีวีทุกรายการในบางประเทศ (เช่น สหรัฐหรือสหราชอาณาจักร) เมื่อผู้ใช้เปิด Shazam ฟังเสียงของรายการทีวีที่ฉายอยู่ ก็จะได้ข้อมูลต่างๆ ของรายการทีวีนั้นอย่างครบถ้วน เช่น ชื่อตอน คำอธิบาย เพลงประกอบในเรื่อง ทวิตเตอร์ของผู้ประกาศข่าว ข้อมูลเสริมของสินค้า (ในกรณีแท็กโฆษณา) ฯลฯ
คาดกันว่าโมเดลการหาเงินแบบใหม่ของ YouTube ใกล้จะเปิดใช้งานแล้ว หลังจากมีคนตาดีไปพบโค้ดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในแอพ YouTube บนแอนดรอยด์ที่เพิ่งอัพเดต โดยโค้ดที่พบคือสองสตริงนี้
You can only subscribe to this paid channel on your computer.
You can only unsubscribe from this paid channel on your computer.
จากโค้ดที่ว่านั้นตรงไปตรงมาว่า YouTube น่าจะมีแผนเปิดบริการสมัครเพื่อดูช่องวิดีโอแบบเสียเงินแล้ว ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรคงต้องรอการเปิดตัวจริงอีกทีครับ
ที่มา - Android Police
หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานข่าววงในว่ากูเกิลกำลังเจรจากับค่ายเพลงต่างๆ เพื่อเตรียมเปิดบริการเพลงออนไลน์แบบสตรีมมิ่งในเร็วๆ นี้
บริการเพลงออนไลน์ของกูเกิลจะไม่ต่างจากเพลงออนไลน์อื่นๆ ในท้องตลาดอย่าง Spotify หรือ Deezer มากนัก โดยจะมีบริการทั้งแบบจ่ายเงินเพื่อฟังเพลงไม่จำกัดจำนวน และบริการแบบมีโฆษณา
คาดว่ากูเกิลน่าจะต่อยอดบริการนี้จาก Google Music ที่ขายเพลงแบบดาวน์โหลดผ่าน Google Play
ที่มา - Financial Times (ต้องเป็นสมาชิก), CNET
บริษัท Ziff Davis เจ้าของเว็บไซต์ไอทีหลายแห่ง ประกาศปิดกิจการเว็บเกมในเครือ 3 เว็บคือ 1UP.com, GameSpy และ UGO.com รวมถึงปลดพนักงานลงบางส่วน โดยพนักงานที่ยังอยู่ต่อจะถูกย้ายไปรวมกับเว็บเกมใหญ่ IGN
เป้าหมายของ Ziff Davis เป็นเรื่องการลดรายจ่ายที่ซ้ำซ้อนจากการมีเว็บเกมในมือหลายเว็บ ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเหลือ IGN เพียงเว็บเดียว
GameSpy ถือเป็นเว็บเกมเก่าแก่ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1999 ส่วน 1UP ก็เปิดกิจการมาเกือบ 10 ปีแล้วเช่นกัน เว็บเหล่านี้ถือเป็นแหล่งรวมเนื้อหาคุณภาพสูงของวงการ แต่ไม่สามารถอยู่รอดทางธุรกิจได้นั่นเองครับ
Billboard ชาร์ตอันดับเพลงฮิตของสหรัฐอเมริกา ประกาศจับมือกับ YouTube และ Nielsen นำยอดชมมิวสิควิดีโอบน YouTube เข้ามาคิดคะแนนเพื่อจัดอันดับเพลงแล้ว
ในอดีต อันดับเพลงบน Billboard คิดคะแนนจากยอดขายแผ่นและความถี่ของการเปิดเพลงบนคลื่นวิทยุ แต่ภายหลังก็เริ่มนำข้อมูลการเล่นเพลงแบบใหม่ๆ เช่น การสตรีมมิ่งบน Spotify เข้ามาคิดคะแนนด้วย ล่าสุดก็เป็นคิวของ YouTube นั่นเอง
หลักการคิดคะแนนเพลงจาก YouTube จะนับทั้งมิวสิควิดีโออย่างเป็นทางการ และมิวสิควิดีโอที่ผู้ใช้สร้างเอง (โดยใช้ไฟล์เสียงเพลงอย่างเป็นทางการ) และเริ่มคิดคะแนนจาก YouTube ในชาร์ทเมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์)
ทิศทางของ Xbox นั้นชัดเจนมานานว่าเป็นได้มากกว่าเครื่องเล่นเกม แต่ตัวแทนของไมโครซอฟท์คือ Yusuf Mehdi ผู้บริหารฝ่าย Interactive Entertainment Business ก็เพิ่งพูดชัดเป็นครั้งแรกว่าไมโครซอฟท์กำลังเฝ้ามองการเปลี่ยนผ่าน Xbox 360 จากเครื่องเล่นเกมมาเป็น "คอนโซลเพื่อความบันเทิง"
ปัจจุบันมี Xbox 360 ในท้องตลาดประมาณ 76 ล้านเครื่อง ผู้ใช้ในสหรัฐมีอัตราการใช้งานเฉลี่ย 87 ชั่วโมงต่อเดือน และตอนนี้มีคนใช้งานด้านบันเทิง (ไม่นับเกม) รวมกันแล้ว 18 พันล้านชั่วโมง โดยการใช้งานที่สำคัญคือชมภาพยนตร์จาก Netflix
Mehdi ยังบอกว่า PS3 เป็นคอนโซลเพื่อความบันเทิงที่ไม่ดีนัก และ Xbox รุ่นหน้าจะให้ประสบการณ์ความบันเทิงที่ "ยิ่งใหญ่และพรีเมียม"
แอปเปิลออกมาประกาศความสำเร็จของ iTunes Store ว่าตั้งแต่เปิดบริการมา ยอดขายเพลงแตะ 25 พันล้านครั้งเป็นที่เรียบร้อย
เพลงที่ 25 พันล้านคือ “Monkey Drums” (Goksel Vancin Remix) ของ Chase Buch โดยผู้ซื้อเป็นหนุ่มชาวเยอรมันที่ได้บัตรของขวัญมูลค่า 10,000 ยูโร ไปซื้อเพลงอื่นๆ บน iTunes Store ในอนาคตต่อไป
Eddy Cue ผู้บริหารของแอปเปิลที่คุมบริการและซอฟต์แวร์บนอินเทอร์เน็ต ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันแอปเปิลขายเพลงได้ 15,000 เพลงต่อนาที
สถิติก่อนหน้านี้ของแอปเปิลคือ 20 พันล้านเพลงเมื่อเดือนกันยายน 2012
ยุทธศาสตร์ซอฟต์แวร์ของซัมซุงในช่วงหลังคือการสร้าง "บริการออนไลน์" แบบข้ามแพลตฟอร์ม ซึ่งเราเห็นกันชัดเจนจากแอพแชต Samsung ChatOn ที่มีให้ใช้บนมือถือแทบทุกค่าย
ล่าสุดซัมซุงเตรียมต่อยอดยุทธศาสตร์นี้โดยขยายบริการเพลงออนไลน์ Music Hub ของตัวเอง ไปยังอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นๆ ด้วย
ซัมซุงยังไม่ระบุว่า Music Hub จะใช้งานบนระบบปฏิบัติการใดได้บ้าง แต่เนื่องจากตัวแอพ Music Hub มีให้ดาวน์โหลดบน Google Play อยู่แล้ว ก็คาดว่าชุดแรกน่าจะเป็นมือถือแอนดรอยด์ยี่ห้ออื่นๆ นั่นเอง
การขยาย Music Hub มายังมือถือยี่ห้ออื่นๆ จะทำให้ซัมซุงกลายเป็นผู้เล่นอีกรายในตลาดเพลงออนไลน์ แข่งกับผู้เล่นรายอื่นอย่าง Amazon, Google, Sony, Spotify, Rdio เป็นต้น
เมื่อปีที่แล้วโนเกียเปิดตัว Nokia Music บริการเพลงออนไลน์สำหรับมือถือ Windows Phone (ที่ใช้งานได้ฟรีในสหรัฐ)
วันนี้โนเกียให้ข้อมูลของ Nokia Music+ บริการแบบพรีเมียมที่คิดค่าบริการรายเดือน โดยไม่จำกัดการดาวน์โหลดเพลงมาฟังแบบออฟไลน์ คุณภาพเสียงสูงขึ้น 8 เท่า (ไม่ระบุบิตเรต) มีฟีเจอร์เนื้อเพลง และฟังผ่านเว็บแอพได้โดยไม่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือ
Nokia Music+ จะเปิดตัวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ค่าสมาชิกจะอยู่ราว 3.99 ดอลลาร์/ยูโรต่อเดือน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ
ที่มา - Nokia Conversations
ต่อจากข่าว Windows Azure Media Services ระบบกลุ่มเมฆสำหรับมัลติมีเดียบนโลกออนไลน์ วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดบริการนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
กลุ่มเป้าหมายของ Media Services คือผู้ให้บริการสื่อที่มีเนื้อหาของตัวเอง (เช่น ภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ) แล้วต้องการทำระบบสตรีมมิ่งสำหรับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แต่ไม่อยากลงทุนทำเซิร์ฟเวอร์เอง ก็สามารถเข้ามา "เช่าใช้" แพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์แทนได้
Jimmy Iovine ซีอีโอ Beats ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับบริการสตรีมเพลงของบริษัทชื่อ Daisy เนื่องจาก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า Beats ต้องการจะขยายบริษัทให้ครอบคลุมวงการเพลงให้มากกว่าเดิม และได้ซื้อ MOG เว็บไซต์ให้บริการเพลงไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา (ข่าวเก่า) โดยให้สัมภาษณ์กับ AllThingsD ในหลายประเด็นด้วยกัน เช่น
ทำไม Daisy ถึงแตกต่างจากคนอื่น
บริการสตรีมเพลงอื่น ๆ กลั่นกรองข้อมูลที่ตรงใจผู้รับได้ช้า แต่ Daisy ทำได้เร็วกว่า
Cisco โชว์ฟีเจอร์ใหม่ของ Videoscape Unity เพิ่มความสามารถอัดรายการทีวีไว้บนกลุ่มเมฆได้ แทนการใช้เครื่องบันทึกวิดีโอแบบเดิมๆ ที่ผู้ชมต้องติดตั้งไว้ที่บ้าน
แต่เดิมนั้น Videoscape Unity เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ Cisco สร้างขึ้นมาเพื่อเน้นจำหน่ายแก่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ผู้ชมที่ใช้บริการดังกล่าวจะสามารถรับชมรายการทีวีแบบสดๆ ผ่านทางอุปกรณ์ใดก็ได้ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต รวมทั้งใช้งานร่วมกับระบบ social network ผิดกับช่องรายการทั่วไปที่ไม่มี Videoscape Unity ซึ่งจะจำกัดให้ผู้ชมดูรายการผ่านทางทีวีเท่านั้น
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของวงการอีบุ๊กครับ เพราะเจ้าของคอนเทนต์รายใหญ่อย่างสำนักพิมพ์ Pearson เข้ามาถือหุ้นบางส่วนในบริษัท Nook Media ที่ทำธุรกิจด้านอีบุ๊กโดยตรงแล้ว
Pearson เป็นสำนักพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ธุรกิจที่สำคัญคือตำราเรียนทุกระดับชั้น ส่วน Nook Media เป็นบริษัทใหม่ที่เครือร้านหนังสือ Barnes & Noble แยกสายธุรกิจอีบุ๊กของตัวเองออกมา และมีไมโครซอฟท์มาร่วมถือหุ้นด้วย
เดิมทีสัดส่วนหุ้นใน Nook Media คือ Barnes & Noble ถือ 82.4% และไมโครซอฟท์ถือ 17.6% แต่ Pearson เข้ามาถือหุ้น 5% โดยลงเงิน 89.5 ล้านดอลลาร์ ทำให้สัดส่วนหุ้นเดิมลดลงเล็กน้อย (เหลือ 78.2% และ 16.8% ตามลำดับ)
หนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ ประกาศโปรโมทชันสำหรับลูกค้าที่สมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์เวอร์ชันออนไลน์ โดยลูกค้าที่สมัครสมาชิกออนไลน์นาน 18 เดือน (สัปดาห์ละ 4 ปอนด์) มีสิทธิซื้อแท็บเล็ต Nexus 7 รุ่น 32GB ในราคาพิเศษ 50 ปอนด์ (2,500 บาท) จากปกติที่ขายเครื่องละ 199 ปอนด์
สมาชิกแบบออนไลน์ของ The Times จ่ายเงินแล้วสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้ทั้งบนเว็บ มือถือ และแท็บเล็ต โดยแอพของ The Times มีให้ดาวน์โหลดบน iPad/Android
ทาง The Times ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมถึงเลือกแถม Nexus 7 แต่บอกเพียงว่าโปรโมชันนี้ได้รับเสียงตอบรับดีมากในช่วงแรก
News Corporation ประกาศยุติการทำนิตยสารข่าวบนแท็บเล็ตอย่าง The Daily อย่างเป็นทางการแล้ว ด้วยสาเหตุที่ว่า ไม่สามารถทำยอดผู้อ่านได้ตรงตามเป้าที่ตั้งไว้ โดย News Corporation กล่าวว่า หลังวันที่ 15 ธันวาคมนี้ The Daily จะถูกรวมเข้าไปอยู่ในคอลัมน์หนึ่งในนิตยสารข่าวชื่ออื่นที่คนรู้จักกันดี อย่างเช่น New York Post เป็นต้น
นอกจากนี้ News Corporation จะนำพนักงานด้านเทคนิคสำหรับการทำแอพย้ายไปยัง New York Post ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นการปิดตำนานหนังสือพิมพ์ดิจิทัลชื่อดังอย่าง The Daily ไปตลอดกาล
ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นชินกับหน้าตาเดิม ๆ ของ Engadget กันอยู่แล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ ถ้าหากลองเข้าไปที่หน้าเว็บ Engadget ก็พบว่า มันไม่เหมือนเดิม ใช่แล้วครับ ตอนนี้เว็บไซต์ Engadget ปรับหน้าตาใหม่แล้ว ให้เร็วขึ้น และเรียบขึ้นนั่นเอง (รู้สึกเหมือนคอนเซปต์ Windows 8 style-UI เลย)
โดยการออกแบบหน้าเว็บไซต์ของ Engadget ต้องการออกแบบให้เรียบขึ้น แต่การเข้าหน้าเว็บเพจกลับเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงผลได้ดีในหลายแพลตฟอร์ม เช่นสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ฯลฯ
สามารถพบกับประสบการณ์ใหม่ได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ Engadget
โซนี่เปิดตัวบริการใหม่ Xperia Lounge ศูนย์รวมคอนเทนต์ดิจิทัลจากเครือโซนี่ มีทั้งเพลง หนัง เกม และรายการกีฬาจากเครือโซนี่
แอพ Xperia Lounge สามารถดาวน์โหลดได้จาก Play Store ใช้ได้กับแอนดรอยด์ 2.3 ขึ้นไป โดยไม่จำกัดค่ายว่าต้องเป็นมือถือตระกูล Xperia ครับ
ที่มา - Sony Mobile, Android Guys
Spotify บริการเพลงออนไลน์แบบสตรีมมิ่ง ระดมเงินลงทุนรอบใหม่ 100 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุนหลายราย โดยครึ่งหนึ่งของเงินจำนวนนี้มาจากสถาบันการเงินใหญ่อย่าง Goldman Sachs
แต่ที่น่าสนใจคือ 10% ของเงินจำนวนนี้มาจาก Coca-Cola บริษัทเครื่องดื่มที่ทุกคนรู้จักกันดี งานนี้ทั้งสองบริษัทไม่ได้แถลงข่าวใดๆ แต่ก็เป็นสัญญาณว่าโค้กเองก็เริ่มมองหาพันธมิตรบนโลกออนไลน์มากขึ้น และอาจใช้ความสัมพันธ์นี้ช่วยผลักดัน Spotify ขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ นอกจากสหรัฐและยุโรปด้วย
โค้กเป็นบริษัทที่ใช้การตลาดผ่านดนตรีและศิลปินเยอะมาก การลงทุนครั้งนี้อาจบ่งชี้ว่าในอนาคตโค้กสนใจทำตลาดดนตรีออนไลน์มากขึ้น นอกเหนือจากการตลาดดนตรีแบบออฟไลน์ที่มีอยู่เดิม
ฝรั่งเศสกำลังพิจารณาบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ Google จ่ายเงินให้กับสำนักข่าวในฝรั่งเศสสำหรับทุกลิงก์ข่าวในหน้าค้นหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า Google จะตกลงยอมความกับสำนักข่าวในฝรั่งเศสเรื่องส่วนแบ่งรายได้จากการโฆษณาสำเร็จหรือไม่
การแถลงข่าวในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส François Hollande ได้เชิญ Eric Schmidt เข้าพูดคุยกันเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยประธานาธิบดีได้แจ้งอย่างชัดเจนว่าจะผลักดันกฎหมายใหม่ทันทีหาก Google ไม่สามารถยุติข้อพิพาทกับสำนักข่าวเรื่องเงินค่าโฆษณาได้ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายเนื้อหาเดียวกันกับที่เยอรมันเพิ่งเห็นชอบฉบับร่างไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา