มีบันทึกภายในของ Intel ที่โพสต์ในเว็บพอร์ทัลสำหรับพนักงาน (ชื่อ Circuit News) หลุดออกมาสู่สาธารณะ โดยบันทึกนี้พูดถึงการกลับมาของ AMD และวิเคราะห์ว่าทำไม AMD กลับมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Intel อีกครั้ง (Why AMD is now a formidable competitor)
เนื้อหาในบันทึกนี้เริ่มต้นด้วยการย้อนประวัติศาสตร์ทั้งบริษัทว่าก่อตั้งไล่เลี่ยกัน (1968/1969) แต่ปัจจุบัน Intel มีขนาดโตกว่า AMD ถึง 10 เท่า (วัดจากรายได้ต่อปี) และ AMD ถือเป็นคู่แข่งที่โดดเด่นที่สุดของอินเทลในช่วงหลัง
จากนั้นบันทึกเล่าถึงการกลับมาของ AMD ในปี 2018 ที่มีรายได้ต่อปีเติบโต 20% ติดกันเป็นเวลาสองปีแล้ว โดย AMD มีผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตาดังนี้
เว็บไซต์ IAM รายงานว่าอินเทลเตรียมทำการขายสิทธิบัตรแบบลอตใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนที่จะตัดธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือออกไป ตามที่ได้ประกาศว่าจะยุติธุรกิจชิปโมเด็ม 5G ก่อนหน้านี้
อินเทลจะใช้วิธีการขายสิทธิบัตรทั้งหมดนี้ด้วยการประมูล โดยแบ่งชุดสิทธิบัตรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสิทธิบัตรด้านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G, 4G, 5G กว่า 6,000 รายการ และสิทธิบัตรเครือข่ายไร้สายอีก 1,700 รายการ ส่วนอีกกลุ่มเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์รวมกว่า 500 รายการ
ถึงแม้จะมีการขายสิทธิบัตรลอตใหญ่ออกมา แต่รายงานบอกว่าอินเทลก็ยังเหลือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อไร้สายอยู่เป็นจำนวนพอสมควร
อุตสาหกรรมชิปเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและตื่นตัว หลังมีคำสั่งประธานาธิบดีห้ามทำธุรกิจกับบริษัทจีน ล่าสุดมีรายงานว่าผู้ผลิตชิปสหรัฐหลายเจ้ากำลังหาทางส่งของให้ Huawei อีกครั้งตามสัญญา โดยที่ไม่ละเมิดกฎหมายที่ออกมา
บริษัทที่เริ่มกลับมาส่งมอบแล้วมี Micron ผู้ผลิตชิปแฟลชเมมโมรี, Qualcomm และ Intel โดยแหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลตรงนี้ระบุว่าบริษัทอย่าง Intel และ Micron ส่งมอบโดยไม่ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของอเมริกามาได้ราว 3 สัปดาห์แล้ว เนื่องจากตัวโรงงานที่ผลิตชิปตั้งอยู่นอกสหรัฐอยู่แล้ว ขณะที่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามส่งมอบสินค้าที่ผลิตจากนอกสหรัฐ
เว็บไซต์ DigiTimes ของไต้หวัน รายงานข่าวลือว่า อินเทลเตรียมปรับราคาของซีพียู Core Gen 8 และ Gen 9 ลงมาอีก 10-15% เพื่อต้อนรับ Ryzen Gen 3 ซึ่งจะวางขายวันที่ 7 กรกฎาคมนี้
ตามข่าวยังไม่ระบุชัดว่า ซีพียูแต่ละรุ่นย่อยจะปรับราคาลดลงเท่าใดบ้าง แต่จากระดับราคาในปัจจุบัน ก็จะลดลงมาประมาณ 25-75 ดอลลาร์ ตอนนี้อินเทลได้แจ้งการปรับราคานี้ไปยังพาร์ทเนอร์ต่างๆ แล้ว อีกไม่นานน่าจะได้เห็นการปรับลดราคาอย่างเป็นทางการ
ราคาของ Ryzen Gen 3 เริ่มต้นที่ 199 ดอลลาร์ ไปจนถึง 499 ดอลลาร์ เทียบกับซีพียูฝั่งอินเทลที่สเปกไล่ๆ กันก็ถือว่าถูกกว่าพอสมควร
Reuters รายงานอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องว่าผู้ผลิตชิปในสหรัฐที่เคยเป็นซัพพลายเออร์ให้ Huawei ซึ่งรวมถึง Qualcomm และ Intel ได้เจรจาพูดคุยและล็อบบี้กระทรวงพาณิชย์ให้ผ่อนปรนมาตรการแบน Huawei
บริษัทอ้างว่าผลิตภัณฑ์อย่างสมาร์ทโฟน, โน้ตบุ๊คหรือเซิร์ฟเวอร์โดยปกติใช้ชิ้นส่วนที่มีการใช้งานกันทั่วไปอยู่แล้ว และไม่น่าจะสร้างปัญหาด้านความมั่นคงเหมือนกรณีอุปกรณ์ 5G โดยการโต้แย้งครั้งนี้จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อช่วย Huawei แต่เพื่่อช่วยบริษัทและคนอเมริกัน
เป็นข่าวเก่าตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2019 โดยอินเทลแถลงเรื่องนี้ต่อนักลงทุนถึงแผนการของบริษัทในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ที่จะเปลี่ยนตัวเองจากผู้ผลิตซีพียูสำหรับพีซี ขยายมาเป็นผู้ผลิตชิปสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่พีซีด้วย
เรื่องที่น่าสนใจคือแผนการพัฒนากระบวนการผลิต 7 นาโนเมตร ที่อินเทลระบุว่าจะทำได้ภายในปี 2021
อินเทลเปิดตัว Core 10th Gen "Ice Lake" ในภาพใหญ่ไปแล้ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดของตัวผลิตภัณฑ์ออกมา
โชคดีว่า Dell เปิดตัวโน้ตบุ๊ก XPS 13 2-in-1 (7390) ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นแรกที่ใช้ซีพียู Core 10th Gen ทำให้เรารู้ข้อมูลของซีพียูตัวนี้มากขึ้น และล่าสุดมีเบนช์มาร์คของโน้ตบุ๊กตัวนี้หลุดออกมา ทำให้พอเห็นภาพว่า Core 10th Gen มีประสิทธิภาพแค่ไหน
เบนช์มาร์คตัวนี้มาจากชุดทดสอบ Geekbench โดยระบุรุ่นซีพียูเป็น Core i7-1065 G7 มี 4 คอร์ 8 เธร็ด, คล็อคพื้นฐาน 1.5GHz, คล็อคสูงสุด 3.48GHz, แรม 32GB
วันนี้ อินเทลเปิดตัว 10th Gen Core หรือโค้ดเนม "Ice Lake" โดยให้ข้อมูลของสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove, จีพียูตัวใหม่ Gen11, กระบวนการผลิต 10 นาโนเมตร และฟีเจอร์ของตัวซีพียู (Thunderbolt 3 และ Wi-Fi 6) โดยไม่ให้รายละเอียดของรุ่นผลิตภัณฑ์ซีพียูเลย
ข้อมูลอย่างเป็นทางการของอินเทล บอกเพียงว่าซีพียูชุดแรกจะเป็นรหัส U (รุ่นกินไฟต่ำสำหรับโน้ตบุ๊ก) และรหัส Y (รุ่นกินไฟต่ำมาก), มีตั้งแต่ Core i3 จนถึง Core i7, จำนวนคอร์สูงสุด 4 คอร์ 8 เธร็ด, คล็อคสูงสุด 4.1GHz และโน้ตบุ๊กจะวางขายจริงช่วงปลายปี 2019
ส่วนข้อมูลบนเวทีแถลงข่าวก็บอกเพียงว่าจะมีรุ่นย่อย (SKU) ทั้งหมด 11 รุ่นเท่านั้น
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ 10 หรือ Ice Lake สำหรับโน้ตบุ๊ก (ตระกูล U และ Y) พร้อมกับระบุว่าเริ่มส่งมอบสินค้าให้กับผู้ผลิตแล้ว โดยปรับกระบวนการผลิตเป็น 10 นาโนเมตร และเปลี่ยนแกนซีพียูเป็น Sunny Cove พร้อมส่วนกราฟิกเป็น Iris Plus ที่ประสิทธิภาพเพิ่มกว่ารุ่นเดิมประมาณเท่าตัว
ตระกูล Y ในรุ่นที่ 10 นี้จะปล่อยความร้อนที่ 10 วัตต์ สามารถคอนฟิกเพิ่มพลังประมวลผลเป็น 12 วัตต์ ใช้แรม LPDDR4
ขณะที่รุ่น U ปล่อยความร้อนที่ 15 วัตต์ คอนฟิกเพิ่มพลังประมวลผลได้ถึง 25 วัตต์ สามารถใช้แรมได้ทั้ง DDR4 และ LPDDR4 รองรับชิปกราฟิกภายนอกพร้อมการสวิตช์เปลี่ยนชิปกราฟิก
อินเทลเผยข้อมูลเบื้องต้นของ 10th Generation Core Processor ใน Keynote Computex 2019
รายละเอียดเบื้องต้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 10 นาโนเมตร และ Graphics Engine รุ่นที่ 11 โดยจะเริ่มที่ตระกูล Mobile ก่อน ในส่วนของ SKUs ยังไม่เปิดเผย
ที่มา - Intel Keynote Computex 2019
อินเทลเปิดตัวซีพียูใหม่ที่งาน Computex 2019 โดยนำซีพียู Core i9-9900K (เปิดตัวครั้งแรกเดือนตุลาคม 2018) มาอัพเกรดเป็น Core i9-9900KS (Special Edition) โดยสามารถบูสต์คล็อคของคอร์ทั้ง 8 คอร์ขึ้นไปแตะ 5GHz พร้อมกันได้
Core i9-9900K ตัวเดิมสามารถบูสต์คล็อคแตะ 5GHz ได้อยู่แล้ว แต่สามารถบูสต์ได้แค่ 2 คอร์จาก 8 คอร์เท่านั้น (ถ้าบูสต์ทั้ง 8 คอร์พร้อมกันจะได้แค่ 4.7GHz) การอัพเกรดเป็น Special Edition ก็ช่วยเพิ่มความแรงให้อีกหน่อย
จากกรณี กูเกิลแบนการทำธุรกิจกับ Huawei ตามคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐที่เซ็นโดย Donald Trump
นอกจากกูเกิลแล้ว ยังมีบริษัทสหรัฐอีกจำนวนมากที่จะถูกห้ามทำธุรกิจกับ Huawei ซึ่งเว็บไซต์ Bloomberg ก็รายงานข่าวว่า บริษัทผลิตชิปสัญชาติอเมริกันทั้งหลาย ตั้งแต่ Intel, Qualcomm, Broadcomm, Xilinx ก็แจ้งพนักงานให้เตรียมตัวหยุดทำธุรกิจกับ Huawei แล้วเช่นกัน
นักวิจัยได้ค้นพบช่องโหว่ใหม่ในซีพียูของอินเทล ซึ่งสามารถขโมยข้อมูลสำคัญได้โดยตรงผ่านโปรเซสเซอร์ โดยรูปแบบของช่องโหว่นี้คล้ายกับ Meltdown หรือ Spectre ที่อาศัยช่องโหว่จากการออกแบบซีพียูให้ทำงานเร็วขึ้น หรือ speculative execution โดยตั้งชื่อช่องโหว่นี้ว่า ZombieLoad และแจ้งอินเทลให้รับทราบตั้งแต่เดือนที่แล้ว
กระบวนการทำงานนั้นอาศัยการช่วงเวลาที่มีข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมากที่ทำงานไม่ได้ เกิดการเรียกไมโครโค้ดเพื่อป้องกันการแครช ทำให้แอปต่าง ๆ สามารถอ่านข้อมูลโดยตรงผ่านซีพียูได้
ตลาดจีพียูปี 2019-2020 จะกลับมาร้อนระอุอีกครั้ง เพราะมีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาท้าทายบัลลังก์ของ NVIDIA หลายตัว ทั้ง AMD Radeon Navi ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ และฝั่งอินเทลที่จะหวนคืนตลาดจีพียูอีกรอบในปี 2020 ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ Xe
ล่าสุดอินเทลเขียนบล็อกอธิบายข้อมูลของสถาปัตยกรรม Xe เพิ่มเติม โดยบอกว่าจะพัฒนาควบคู่ไปกับซีพียู Xeon เพื่อให้ซีพียู-จีพียูทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จีพียูกลุ่ม Xe จะจับตลาดหลากหลาย ตั้งแต่ฝั่งไคลเอนต์ไปจนถึงศูนย์ข้อมูล และ Xe จะรองรับการเร่งความเร็ว Ray Tracing ที่ระดับฮาร์ดแวร์ด้วย
เราคงต้องอยู่กับปัญหาซีพียูอินเทลขาดตลาดไปอีกสักพัก โดยผู้บริหารอินเทลตอบคำถามในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 1/2019 ว่าภาวะขาดตลาดจะลากยาวไปจนถึงไตรมาสที่สามของปีนี้
เดิมทีอินเทลคาดว่าภาวะซีพียูขาดตลาดจะแก้ได้ภายในไตรมาสที่สอง แต่มาถึงตอนนี้ แผนการของอินเทลก็ขยายเป็นไตรมาสที่สามไปแล้ว
อินเทลประกาศว่าทุ่มงบประมาณอีก 1.5 พันล้านดอลลาร์เพื่อขยายกำลังการผลิต 14 นาโนเมตรของเดิม และข่าวดีก็คือ อินเทลกำลังจะเริ่มผลิตซีพียู 10 นาโนเมตรเป็นจำนวนมากได้แล้ว
ข้อมูลนี้สืบเนื่องจากที่อินเทลประกาศถอนตัวจากธุรกิจชิปโมเด็ม 5G ขณะเดียวกันก็มีข่าวว่าแอปเปิลยอมยุติคดีความกับ Qualcomm เนื่องจากต้องการซัพพลายชิป 5G สำหรับ iPhone รุ่นใหม่ โดย The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวระบุว่าแอปเปิลได้เคยเจรจาเพื่อขอซื้อกิจการ ส่วนธุรกิจชิปโมเด็ม 5G ของอินเทลตั้งแต่ปีที่แล้ว
รายงานบอกว่าทั้งสองฝ่ายมีการเจรจาหาข้อสรุปเป็นเวลานานหลายเดือน จนกระทั่งแอปเปิลมายุติคดีความกับ Qualcomm ได้ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อกิจการจากอินเทลแล้ว และเมื่อแจ้งข้อมูลไป อินเทลจึงตัดสินใจประกาศถอนตัวจากธุรกิจชิป 5G นั่นเอง
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2019 รายได้รวม 16,061 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 3,974 ล้านดอลลาร์
Bob Swan ซีอีโออินเทลกล่าวว่าทีมงานยังโฟกัสเพื่อหาโอกาสใหม่ในตลาด รวมทั้งเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ออกมา โดยเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล
รายได้จากกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล (Data-Centric) ลดลง 5% ขณะที่สินค้ากลุ่มพีซีรายได้เพิ่ม 4% กลุ่มที่กระทบเยอะที่สุดคือชิปสำหรับศูนย์ข้อมูลเนื่องจากยอดขายที่ลดลงในตลาดจีน
ที่มา: อินเทล
อินเทลเพิ่งโชว์ซีพียู Core 9th Gen สำหรับโน้ตบุ๊กไปเมื่อวันก่อน แต่ทุกคนก็ทราบดีว่า Core 9th Gen ถือเป็นซีพียูขัดตาทัพของอินเทล ที่เป็นการอัพเดตเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างรอ "ตัวจริง" อย่างซีพียูรหัส Ice Lake ที่เปลี่ยนทั้งสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove และใช้กระบวนการผลิต 10 นาโนเมตร
อินเทลนำต้นแบบของ Ice Lake มาโชว์เมื่อต้นปี และในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด บริษัทก็ยืนยันว่า Ice Lake จะออกวางขายจริงในช่วงปลายปีนี้ตามแผนเดิมที่ประกาศไว้
อินเทลเปิดตัว Core 9th Gen มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 แต่ที่ผ่านมาก็จำกัดเฉพาะซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปเท่านั้น ทำให้คนที่อยากอัพเกรดโน้ตบุ๊ก อาจยังลังเลอยู่เพราะรอให้ Core 9th Gen สำหรับโน้ตบุ๊กออกมาก่อน
วันนี้อินเทลเปิดตัว 9th Gen Intel Core Mobile Processors ชุดแรกออกมาแล้ว โดยเป็นซีพียูห้อยท้ายรหัส H ที่เน้นประสิทธิภาพสูง (และเกมมิ่ง) ออกมาก่อน ส่วนกลุ่มกินพลังงานต่ำที่เป็นรหัส U/Y นั้นยังไม่ออกมา
ซีพียู 9th Gen รอบนี้มีตั้งแต่ Core i9, i7, i5 โดยทั้งหมดมีค่าพลังงาน TDP 45 วัตต์เท่ากัน เปิดตัวมาทั้งหมด 6 รุ่นย่อย ดังนี้
ธุรกิจชิปโมเด็มดูจะไม่ใช่ที่ทางของอินเทลสักเท่าไร บริษัทเริ่มเข้ามาขายชิปโมเด็ม LTE ในปี 2013 โดยมีลูกค้าสำคัญคือแอปเปิลที่ใช้ใน iPhone แต่ก็มีปัญหามากมาย ทั้งคดีสิทธิบัตรที่ Qualcomm ฟ้องแอปเปิล และปัญหาของอินเทลเอง ที่มีข่าวว่าแอปเปิลจะเลิกสั่งซื้อ
ล่าสุด อินเทลประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะถอนตัวจากธุรกิจชิปโมเด็ม 5G สำหรับสมาร์ทโฟน และจะพิจารณาว่าจะทำชิปโมเด็ม 4G/5G สำหรับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ (เช่น พีซี/IoT) ต่อหรือไม่ แต่บริษัทยืนยันว่าจะลงทุนในธุรกิจอุปกรณ์เครือข่าย 5G ต่อไป
MindFactory.de เว็บไซต์ขายชิ้นส่วนไอทีรายใหญ่ของเยอรมนีและยุโรป เผยสถิติยอดขายซีพียูในช่วงประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ต้นปี 2019) ผลคือซีพียูของ AMD ขายดีกว่าซีพียูจากอินเทลในสัดส่วน 2:1 (ถ้าเอาตัวเลขแบบเป๊ะๆ คือ 69% vs 31%)
ซีพียูซีรีส์ที่ขายดีที่สุดหนีไม่พ้น Ryzen รุ่นที่สอง โค้ดเนม Pinnacle Ridge ที่มียอดขายถึง 48% ของซีพียูทั้งหมดรวมทุกค่าย ตามมาด้วย Coffee Lake Refresh หรือ Core 9th Gen ของอินเทล ยอดขาย 17%
อินเทลเปิดตัวชิปตระกูล Agilex FPGA ชิปโปรแกรมได้สำหรับงานประมวลผลเฉพาะทางที่ต้องการวงจรเฉพาะ โดยตัวชิปรวมมีพลังประมวลผลที่ 40 TFLOPS (FP16) เทียบกับ Tesla V100 ที่มีพลังประมวลผล 112 TFLOPS (FP16)
Agliex มีความได้เปรียบที่การทำงานใกล้ชิดกับซีพียูได้มาก โดยมีฟีเจอร์
อินเทลเริ่มส่งมอบชิปให้ลูกค้าบางส่วนแล้ว และชิปจะเปิดขายทั่วไปในไตรมาสสามปีนี้
อินเทลเปิดตัว Xeon Scalable รุ่นที่สอง Cascade Lake ที่เคยเปิดรายละเอียดบางส่วนเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยเปิดทั้งชุดตามระดับสูงสุดคือ Platinum, Gold, Silver, และ Bronze ตามลำดับ
ข่าวสำคัญอีกอย่างที่แถลงในงาน GDC 2019 คือประกาศเรื่องจีพียูของอินเทล ที่เปิดตัวสถาปัตยกรรมจีพียูรุ่นใหม่ Gen11 (ออกปีนี้) ก่อนจะข้ามไปเป็น Intel Xe ที่พลิกโฉมจีพียูอินเทลในปี 2020
ปัจจุบันจีพียู HD/UHD/Iris ของอินเทลในท้องตลาดนับรวมๆ เป็น Gen9/Gen9.5 ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2016 โดยอินเทลเคยพยายามอัพเกรดเป็น Gen10 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 10 นาโนเมตร แต่ไม่สำเร็จเพราะปัญหาเรื่องกระบวนการผลิต เลยล่าช้าและข้ามมาเป็น Gen11 ทีเดียวเลย (รอบนี้เป็น 10 นาโนเมตร FinFET แล้ว)
ผู้ที่ใช้จีพียูออนบอร์ดของอินเทล คงคุ้นเคยกับโปรแกรม Intel Graphics Control Panel ที่อยู่กันมานาน และหน้าตาก็เริ่มดูล้าสมัย ต่างจากหน้าตาของแอพคู่แข่งทั้ง NVIDIA/AMD ที่พัฒนาไปมากแล้ว
ล่าสุดในงาน Game Developers Conference 2019 อินเทลก็เปิดตัวแอพเวอร์ชันใหม่ชื่อว่า Intel Graphics Command Center (IGCC) ที่ปรับโฉมหน้าตาใหม่หมด ใช้พื้นหลังโปร่งแสงดูทันสมัย, พัฒนาเป็นแอพแบบ Modern ดาวน์โหลดได้จาก Microsoft Store โดยตรง และ มีฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างกดคลิกเดียวเพื่อปรับแต่งประสิทธิภาพของเกมให้ดีขึ้น