เมื่อเดือนมกราคม 2020 อินเทลเริ่มโชว์ข้อมูลของ Tiger Lake ซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นหน้าที่จะเป็นผู้สืบทอด Ice Lake ในปัจจุบัน (และน่าจะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด)
เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี อินเทลเริ่มโหมโฆษณา Tiger Lake โดยส่งของขวัญ (เป็นเมล็ดดอกลิลลี่สีส้ม ที่บางคนเรียก tiger lily) และบัตรเชิญไปยังนักข่าวสายไอทีในต่างประเทศแล้วว่า "พบกันช่วงกลางปีนี้" (This Summer ซึ่งหมายถึงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม)
หลังจากที่ Linus Torvalds เปิดเผยว่าเปลี่ยนมาใช้ซีพียู Threadripper 3970X ของ AMD แทน Intel ครั้งแรกในรอบ 15 ปี ล่าสุดเจ้าตัวก็เปิดเผยสเปคทั้งหมดของคอมชุดใหม่แล้ว พร้อมเผยด้วยว่าซีพียูเก่าคือ i9-9900k (ที่เจ้าตัวรู้สึกว่า Threadripper คอมไพล์เคอร์เนลทดสอบเร็วกว่า 3 เท่า)
Linus บอกว่าเกณฑ์ในการเลือกซีพียูใหม่คือคุ้มค่าเงินที่สุด ซีพียูตอนแรกจะเลือก Ryzen 9 3950X แต่ก็รู้สึกว่าเป็นการอัพเกรดที่ไม่ต่างจากเดิมมาก ก่อนจะจบที่ Threadripper เพราะไหน ๆ ก็อัพเกรดแล้วก็เล่นใหญ่ไปเลย แม้จะกังวลเรื่องเสียง (จากระบบระบายความร้อน) แต่ก็ดูคุ้มค่ากว่า Xeon นอกจากนี้เขาบอกด้วยว่าไม่แคร์ GPU เท่าไหร่ เลยไม่ได้ซื้อแยก ดังนั้นก่อนหน้านี้ที่เลือก Intel ส่วนหนึ่งก็เพราะมี GPU ในตัวด้วย
Linus Torvalds เล่าในอีเมลกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ว่าเขาเพิ่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยเลือกซีพียูเป็น AMD Threadripper 3970X และเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีที่เขาไม่ได้ใช้ซีพียูอินเทล
Linus ยังเล่าว่าเครื่องใหม่ของเขาทำให้การคอมไพล์เคอร์เนลทดสอบเร็วขึ้นถึง 3 เท่าจากเดิม (ไม่ได้บอกว่าเครื่องเดิมใช้ซีพียูรุ่นใด)
Threadripper 3970X เป็นซีพียูรุ่นรองท็อปของ AMD ในปัจจุบัน มีจำนวน 32 คอร์ 64 เธร็ด เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ส่วนรุ่นท็อปสุดตอนนี้คือ Threadripper 3990X ที่เป็น 64 คอร์ 128 เธร็ด เปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2020
ใครอยู่ที่วงการ Wi-Fi มาบ้างคงคุ้นกับชื่อ Killer Wi-Fi ในฐานะชิปที่ชูจุดเด่นเรื่องความเร็วและประสิทธิภาพของการส่งข้อมูล และนำไปใช้งานโดยแบรนด์เกมมิ่งพีซีหลายยี่ห้อ ล่าสุดอินเทลประกาศซื้อกิจการ Rivet Networks ต้นสังกัดของแบรนด์ Killer แล้ว
อินเทลให้เหตุผลว่าซื้อ Rivet Networks เพราะมีเทคโนโลยีด้าน W-Fi ที่โดดเด่น และมีฐานลูกค้ากลุ่มเกมเมอร์-ผู้ใช้ที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพ
สื่อเมืองนอกเริ่มปล่อยผลการเบนช์มาร์คซีพียู Intel 10th Gen มาแล้ว โดยรุ่นที่ Intel ส่งให้สื่อทดสอบคือ Core i9-10900K, Core i7-10700K และ Core i5-10600K
ในภาพรวมคือ Intel มีประสิทธิภาพการทำงานแบบคอร์เดียวที่ดีกว่าฝั่ง AMD (ในเทียร์เดียวกัน) โดยเฉพาะด้านเกมมิ่ง (Intel ถึงโปรโมทตอนเปิดตัวว่า World's Fastest Gaming Processor) ขณะที่งานที่ใช้หลายคอร์ เช่น การเรนเดอร์หรือการเข้ารหัส ยังคงตามหลัง AMD เช่นเคย ส่วนการใช้พลังงานสูงสุด (ค่า PL2) เฉลี่ยก็ยังคงสูงกว่า AMD เช่นกัน อย่าง Core i9-10900K ใช้กำลังไฟสูงสุดที่ 254W และ i7-10700K ที่ 207W (TDP 125W) เทียบกับ R9 3950X (TDP 105W) ตัวท็อปที่ใช้แค่ 144.76W เท่านั้น
หลังจากเปิดตัว Core 10th Gen สำหรับเดสก์ท็อปได้ประมาณ 2 สัปดาห์ อินเทลก็เติมสินค้าให้ครบไลน์ด้วยการเปิดตัวซีพียู Core 10th Gen กลุ่ม vPro สำหรับโน้ตบุ๊ก-เดสก์ท็อปฝั่งธุรกิจตามมา
Core 10th Gen vPro ที่เปิดตัวชุดนี้ มีทั้งซีพียูกลุ่มโน้ตบุ๊ก (รหัส H และ U) และซีพียูกลุ่มเดสก์ท็อป (Comet Lake-S) ซึ่งรวมถึงซีพียูกลุ่ม Xeon Workstation (รหัส W) ด้วย
หลัง Intel เปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อป 10th Gen ไป ทำให้ปัจจุบันซีพียูในท้องตลาดมีมากมายหลายรุ่นไปหมด ตัวเลขก็เยอะขึ้นจนอาจทำให้ผู้บริโภคปวดหัวกันได้ วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอการเปรียบเทียบสเปกเบื้องต้นซีพียูของทั้งสองค่าย ในระดับต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยผู้บริโภคอีกแรงในการเลือกซื้อซีพียูที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบัน
อินเทลและไมโครซอฟท์เผยแพร่งานวิจัยการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ STAMINA (STAtic Malware-as-Image Network Analysis) ที่มีแนวคิดสำคัญคือการสร้างปัญญาประดิษฐ์มาจับมัลแวร์แทนที่การจับจากค่าแฮชหรือความเหมือนของโค้ดแบบเดิมๆ แต่อาศัยโมเดลปัญญาประดิษฐ์แบบ deep learning มาหารูปแบบมัลแวร์แทน
แนวทางของงานวิจัยนี้อาศัยการแปลงภาพชนิดไบต์ต่อไบต์มาเป็นพิเซล จากนั้นย่อภาพให้เหลือขนาดเท่าที่โมเดลปัญญาประดิษฐ์รองรับ โดยใช้โมเดลจัดหมวดหมู่ภาพ Inception v1 ที่ฝึกกับข้อมูล ImageNet มาก่อนแล้วเป็นตัวตั้งต้น จากนั้นออกแบบส่วนท้ายของโมเดลเสียใหม่เพื่อการทำนายว่าเป็นมัลแวร์หรือไม่ แล้วจึงนำโมเดลมา fine tune ด้วยข้อมูลมัลแวร์เกือบห้าแสนตัวผสมเข้ากับไบนารีไม่มุ่งร้าย
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว AMD เปิดตัว Ryzen 3 เดสก์ท็อป 3100 และ 3300X ซึ่งเป็นซีพียูแกน Zen 2 ระดับล่างสุด (ราคา 99/129 ดอลลาร์) ล่าสุดมีผลการทดสอบเบนช์มาร์คของ Ryzen 3 3100 และ 3300X ออกมาในสื่อต่างประเทศแล้ว
เว็บไซต์ AnandTech รีวิว Ryzen 3 3100 และ 3300X โดยนำไปเทียบกับ Core i7-7700K (7th Gen) ซีพียูตัวท็อปของอินเทลในปี 2017 (เลือกเทียบกับตัวนี้เพราะเป็น 4 คอร์ 8 เธร็ดเท่ากันกับ Ryzen 3 โดยถือเป็น Core i7 รุ่นสุดท้ายที่เป็นควอดคอร์)
ดูเหมือนว่าชิป Intel 10th Gen สถาปัตยกรรม Ice Lake 10nm ใน Macbook Pro 13 นิ้วรุ่นใหม่ จะเป็นชิปที่ไม่เคยเปิดตัวที่ไหนมาก่อน และเป็นรุ่นที่ถูกผลิตมาเพื่อให้ Apple ใช้เป็นเจ้าเดียว (อย่างน้อยก็ตอนนี้)
ก่อนหน้านี้รุ่นสูงสุดของซีพียู Intel 10th Gen ที่เป็นสถาปัตยกรรม Ice Lake ที่มีในโน้ตบุ๊กตามท้องตลาด และมีข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Intel คือรุ่น Core i7-1065G7 (TDP 15 W ปรับได้ถึง 25 W) มีคล็อกสปีดที่ 1.3 GHZ และบูสต์ได้ถึง 2.9 GHz เท่านั้น ส่วนรุ่น Core i5 สูงสุด รหัส 1035G7 (TDP 15 W ปรับได้ถึง 25 W เช่นกัน) มีความเร็วคล็อกที่ 1.2 GHz และบูสต์ได้ถึง 3.7 GHz
อินเทลประกาศเข้าซื้อกิจการ Moovit สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มวางแผนเส้นทางการเดินทางจากอิสราเอล ด้วยมูลค่าราว 900 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นดีลที่มาเสริมกับธุรกิจรถยนต์ไร้คนขับ ต่อจากการซื้อกิจการ Mobileye ผู้พัฒนาชิปรถยนต์ไร้คนขับเมื่อ 3 ปีก่อน
แอปของ Moovit มีผู้ใช้งานกว่า 800 ล้านบัญชีทั่วโลก รองรับข้อมูลเส้นทางใน 3,100 เมือง ของ 102 ประเทศ ระบบถูกดีพลอยลงในยานพาหนะเกือบ 60 ล้านคัน จากผู้ผลิตรถยนต์ 25 ราย
Bob Swan ซีอีโออินเทล กล่าวว่าอินเทลต้องการเข้ามาเปลี่ยนเกมของธุรกิจเทคโนโลยีในรถยนต์ ต่อจาก Mobileye มาถึง Moovit ทำให้อินเทลมีเทคโนโลยีในมือที่ครบมากขึ้น
Intel เปิดตัวซีพียู Core รุ่นใหม่ที่ก็ยังคงนับเป็นรุ่นที่ 10 ในตระกูล Comet Lake-S (14 นาโนเมตร) สำหรับเดสก์ท็อปหลังเปิดตัว Comet Lake-H สำหรับโน้ตบุ๊กไปก่อนหน้านี้
การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ คือการเพิ่มจำนวนคอร์และเธรด รวมถึงทุกรุ่นตั้งแต่ Core i3 จะได้เทคโนโลยี hyper-threading แล้ว ไล่ไปตั้งแต่ Core i9 ได้ 10 คอร์ 20 เธรด Core i7 ได้ 8 คอร์ 16 เธรด, Core i5 ได้ 6 คอร์ 12 เธรดและ Core i3 ได้ 4 Core 8 เธรด รหัสย่อยแบ่งเป็น F ไม่มีชิปกราฟิคและ K ที่เป็นโอเวอร์คล็อกเช่นเดิม
ปกติแล้วคนที่ใช้จีพียูอินเทล จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เวอร์ชันของ OEM (ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กหรือผู้ผลิตบอร์ด) ด้วยเหตุผลเรื่องการคอนฟิกและปรับแต่งให้เข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ทั้งระบบ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ OEM มักไม่ค่อยขยันอัพเดตไดรเวอร์จีพียูสักเท่าไรนัก
ล่าสุด อินเทลแก้ปัญหานี้ด้วยการเปิดอัพเดตไดรเวอร์ตรง (generic driver) ผู้ที่อยากได้ไดรเวอร์จีพียูอินเทลเวอร์ชันล่าสุด สามารถดาวน์โหลดได้จาก หน้าเว็บของอินเทล โดยตรง (รองรับซีพียูอินเทล 6th Gen ขึ้นไป และต้องเป็น Windows 10 v1709 ขึ้นไป)
ช่วงนี้หลายๆ คน อาจต้องทำงานจากบ้าน หรือต้องยกโน้ตบุ๊กเปลี่ยนที่ทำงานบ่อยๆ เพราะที่ทำงานลดวันเข้าออฟฟิศ หรือน้องๆ นักเรียนนักศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์ อาจจะอยากได้โน้ตบุ๊กที่มีน้ำหนักเบาแต่ใช้งานได้ครบครันสักเครื่อง ไว้ทำงานให้คล่องตัวได้ทุกที่ วันนี้ผู้เขียนมี Acer Swift 5 โน้ตบุ๊กในตระกูล Swift หรือไลน์บางเบาของ Acer ที่ขึ้นชื่อเรื่องความกะทัดรัด และน้ำหนักที่เบากว่าหนึ่งกิโล แต่ประสิทธิภาพไม่แพ้ใครมาแนะนำ
อินเทลรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 19,828 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 5,661 ล้านดอลลาร์
Bob Swan ซีอีโออินเทล กล่าวว่าโฟกัสสำคัญของอินเทลในไตรมาสที่ผ่านมา คือการดูแลพนักงานให้ปลอดภัย สนับสนุนซัพพลายเชน พาร์ทเนอร์ และยังส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้เป็นปกติ ท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายมากนี้ เขายังเสริมว่าเทคโนโลยีกลายเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีบทบาทในโลกตอนนี้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังระบุว่าอินเทลสามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเวลามากกว่า 90%
หลังจากปล่อยให้ AMD ทำคะแนนนำไปก่อนกับซีรีส์ Ryzen 4000 วันนี้ Intel ไม่ยอมแพ้ กลับมาท้าชนด้วยซีพียูโน้ตบุ๊ก Core 10th Gen สถาปัตยกรรม Comet Lake H (14nm) รหัส H ที่พุ่งเป้าไปที่เหล่าเกมเมอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มีตัวท็อป Core i9-10980HK 8 คอร์ 16 เธรด ที่บูสต์ได้สูงสุดถึง 5.3GHz โดยรวมที่เปิดตัวในซีรีส์ดังนี้
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ร่วมมกับอินเทล สร้างโมเดลตรวจสอบหากลิ่นของสารเคมีอันตราย 10 ตัวบนชิป Loihi ที่จำลองการทำงานแบบสมองของมนุษย์
ความพิเศษของโมเดลนี้ คือการฝึกโมเดลสามารถทำได้แบบ "ทันที" นั่นคือชิปสามารถรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่รับสารที่ใช้ฝึกอย่างชัดเจนเพียงไม่กี่ครั้ง หลังจากนั้นโมเดลบนชิปยังคงสามารถตรวจสอบกลิ่นได้อย่างแม่นยำ แม้จะเจอสารเคมีเดิมในสภาพที่มีสัญญาณรบกวนสูง
สารเคมีที่ใช้ทดสอบกลิ่นรอบนี้ยังคงเป็นสารเคมีที่ตรวจสอบได้ง่าย เช่น อะซีโตน, แอมโมเนียร์, หรือมีเธน แต่ในอนาคตทีมวิจัยจะพัฒนาให้เข้าใจเช่นกลิ่นสตรอเบอรี่คนละพันธุ์ที่เคมีอาจจะต่างกันแต่ก็เป็นกลิ่นกลุ่มเดียวกัน
อินเทลประกาศแนวทางรับมือกับโรค COVID-19 ในช่วงนี้ โดยให้พนักงานพยายามทำงานที่บ้านเท่าที่หน้าที่จะอำนวย และพนักงานที่ต้องเดินทางไปทำงานก็จะมีนโยบายทิ้งระยะห่างระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดคนในโรงอาหารหรือห้องประชุม โดยแนวทางนี้ก่อนหน้านี้ใช้เฉพาะสำนักงานอินเทลในจีนเท่านั้น
นอกจากแนวทางการทำงานแล้ว อินเทลยังออกมาตรการช่วยเหลือพนักงาน โดยพนักงานที่เคยได้ค่าจ้างรายชั่วโมงไม่ว่าจะเป็นพนักงานอินเทลเองหรือพันธมิตรภายนอก จะได้รับค่าจ้างเต็มไปอย่างน้อยอีกสองเดือน ส่วนพนักงานที่มีลูกหรือพ่อแม่สูงอายุแล้วโรงเรียนหรือบ้านพักคนชราปิด ทางอินเทลจะเปิดให้เบิกค่าผู้ดูแลได้ 15 วัน
กลุ่มนักวิจัยร่วมกันเสนอช่องโหว่ Load Value Injection (LVI) ที่ของซีพียูอินเทล (อาจกระทบ ARM และ IBM ด้วย) โดยช่องโหว่ทำให้แฮกเกอร์ที่สามารถรันโค้ดในเครื่อง อ่านค่าจากหน่วยความจำที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น การอ่านค่าจากเคอร์เนล, หรืออ่านค่าจาก SGX ที่รักษาความลับระบบ
LVI อาศัยการล่อให้ซีพียูอ่านค่าหน่วยความจำมุ่งร้าย หากเงื่อนไขโค้ดของเหยื่อครบถ้วนก็จะสามารถส่งข้อมูลออกไปยังหน่วยความจำของแฮกเกอร์ได้
George Davis ซีเอฟโอของอินเทลไปพูดที่งานประชุมของ Morgan Stanley ยอมรับว่าอินเทลล้าหลังคู่แข่งในเรื่องกระบวนการผลิต เขาคาดว่าอินเทลจะกลับมา "ตีเสมอ" ในเรื่องกระบวนการผลิต (process parity) เมื่อเริ่มผลิตชิประดับ 7 นาโนเมตรในช่วงปลายปี 2021 และจะพลิกกลับมาแซงได้ตอน 5 นาโนเมตรช่วงหลังจากนั้น (ไม่ระบุช่วงเวลา)
Davis บอกว่าตอนนี้อินเทลเข้าสู่ยุค 10 นาโนเมตรแล้ว โดยนับจาก Ice Lake (Core 10th Gen) แม้ยังมีชิปส่วนที่ใช้ 14 นาโนเมตรอยู่เยอะก็ตาม ขั้นถัดไปอินเทลจะปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็น 10nm+ (เพิ่มตัว +) ในชิป Tiger Lake ที่จะวางขายในปี 2020 นี้
อินเทลเปิดตัวรุ่นย่อยของ Xeon Scalable รุ่นที่สองเพิ่มเติม หลังจากเปิดตัวทั้งชุดเมื่อปีที่แล้ว โดยเพิ่มรุ่นย่อยของตระกูล 6200, 5200, 4200, และ 3200 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่ม Xeon Platinum
อินเทลเปิดตัวสินค้าชุดใหม่ที่ตั้งใจจะเปิดตัวในงาน Mobile World Congress แต่งานล่มไปเสียก่อน โดยสินค้าหลักที่เปิดตัวคือ Intel Atom P5900 ซีพียูสำหรับสถานีฐานอุปกรณ์เครือข่าย 5G
อินเทลระบุว่าบริษัทยังชิงส่วนแบ่งตลาดชิปอุปกรณ์เครือข่ายได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีส่วนแบ่งชิปสำหรับสถานีฐาน (base station) สูงกว่า 40% ภายในปี 2021 และ Atom P5900 นี้เองก็มีผู้ผลิตเตรียมออกอุปกรณ์แล้ว ทั้ง Ericsson, Nokia, และ ZTE
Intel, Vivo, NTT เป็นบริษัทชุดล่าสุดที่ประกาศไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 เนื่องจากปัญหาไวรัสโคโรนา ถัดจาก LG, Ericsson, NVIDIA, Amazon, Sony ที่ประกาศถอนตัวไปก่อนหน้านี้
จากปัญหาบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มถอนตัวไม่เข้าร่วมงาน ทำให้สมาคม GSMA ในฐานะผู้จัดงานต้องหาวิธีรับมือ โดยสื่อสเปน El Periódico รายงานว่า GSMA จะประชุมกันในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อหารือกันว่าจะยกเลิกงานหรือไม่
เว็บไซต์ Wccftech อ้างข่าวลือจากแหล่งข่าวไม่ระบุตัวว่า อินเทลเตรียมแก้ปัญหาซีพียูขาดตลาด ด้วยการจ้างบริษัทอื่นช่วยผลิตให้ และบริษัทที่ว่านี้คือ GlobalFoundries ซึ่งเคยเป็นโรงงานของ AMD (ปัจจุบันแยกขาดเป็นอิสระจากกันแล้ว และ AMD ใช้โรงงาน TSMC)
อินเทลรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2019 มีรายได้รวม 20,209 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน เป็นสถิติใหม่สูงสุดของไตรมาส และมีกำไรสุทธิ 6,905 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Bob Swan กล่าวว่าในปีที่ผ่านมา อินเทลได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากการเน้นเจาะตลาดที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในการจัดการ เคลื่อนย้าย และเก็บข้อมูล แนวโน้มนี้จะยังดำเนินต่อไปในปีนี้