อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย 2 ตัวในงานสัมมนา RSA 2018
ตัวแรกคือ Intel Threat Detection Technology (IDT) เป็นชุดของฟีเจอร์ในระดับฮาร์ดแวร์ ที่ช่วยให้ซอฟต์แวร์ตรวจจับมัลแวร์ทำงานได้ดีขึ้น ฟีเจอร์สองอย่างแรกของ IDT ประกอบด้วย
Intel ประกาศให้ผู้ใช้ Intel Remote Keyboard แอปบนสมาร์ทโฟนสำหรับควบคุม NUC และ Compute Stick ให้ลบแอปออกจากตัวเครื่อง หลังพบช่องโหว่ระดับวิกฤติ 3 ช่องโหว่ ที่เปิดช่องให้แฮกเกอร์โจมตีและสามารถส่งคำสั่งผ่านคีย์บอร์ดและรันโค้ดได้ด้วยสิทธิระดับผู้ใช้
Intel ประกาศให้ผู้ใช้ Intel Remote Keyboard ทั้งหมดลบแอปนี้ทิ้งเสีย โดยไม่มีการออกแพตช์อุดช่องโหว่แต่อย่างใด โดยทางโฆษกของ Intel ระบุว่าบริษัทมีแผนจะระงับการให้บริการแอปนี้แต่แรกอยู่แล้ว โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้นพบบั๊กนี้
ที่มา - ThreatPost
อินเทลประกาศปรับแผนการออกแพตช์ (microcode) อุดช่องโหว่ Spectre (Variant 2) ให้กับซีพียูรุ่นเก่า โดยล้มเลิกแผนการออกแพตช์ให้ซีพียูเก่าๆ บางรุ่นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น เป็นรุ่นที่มีคนใช้น้อย หรือ มีฟีเจอร์บางอย่างช่วยลดผลกระทบจากช่องโหว่อยู่แล้ว
ซีพียูรุ่นที่ถูกยกเลิกแพตช์เป็นซีพียูรุ่นที่ค่อนข้างเก่า (มาก) มีรายชื่อดังนี้ (เรียงตามโค้ดเนม)
นอกจาก Core i9 บนโน้ตบุ๊ก และตราสัญลักษณ์ i5+/i7+/i9+ อินเทลยังไม่หยุดแค่นั้น เพราะมีการออกซีพียู Core 8th Gen บนเดสก์ท็อปเพิ่มเติมอีกชุดใหญ่
Core 8th Gen บนเดสก์ท็อปรอบนี้เพิ่มมาอีก 9 รุ่นย่อย ถือเป็นการเปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อปชุดที่สาม นับจากการเปิดตัวชุดแรกในเดือนกันยายน 2017 และชุดที่สองที่เพิ่มจีพียู AMD ในเดือนมกราคม
การเปิดตัว 8th Gen Core บนโน้ตบุ๊กที่มีฟีเจอร์ Intel Optane สำหรับช่วยเร่งความเร็วการเข้าถึงสตอเรจ (อ่านเรื่อง Intel Optane คืออะไร) ทำให้ตอนนี้อินเทลมีสินค้า Optane ครบทั้งบนเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก และได้เวลาของการขาย 'ซีพียูพ่วงสตอเรจ' แล้ว
สิ่งที่อินเทลทำคือออกแบรนด์ Core i5+/i7+/i9+ การมีเครื่องหมาย + เข้ามา แปลว่าคอมพิวเตอร์นั้นใช้ซีพียู 8th Gen ของอินเทล บวกกับ Intel Optane ให้เสร็จสรรพ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงประสิทธิภาพ ทั้งในแง่การประมวลผล และการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เร็วขึ้นถึง 4.7 เท่า (สำหรับเกม) และ 1.7 เท่า (สำหรับไฟล์มีเดีย)
จากที่เคยมีข่าวหลุดว่า อินเทลจะออก Core i9 เวอร์ชันโน้ตบุ๊ก วันนี้อินเทลก็ได้ฤกษ์เปิดตัว Core i9 for mobile อย่างเป็นทางการ
ซีพียูที่อินเทลเปิดตัวชุดใหม่เรียกว่า 8th Gen Intel Core เช่นเดิม ประกอบด้วย Core i5/i7/i9/Xeon ที่ใช้สถาปัตยกรรม Coffee Lake ตัวเดียวกับ 8th Gen บนเดสก์ท็อป (เท่ากับว่าแบรนด์ Core 8th Gen บนโน้ตบุ๊กมีสองสถาปัตยกรรมย่อยคือ Kaby Lake Refresh ที่เปิดตัว ก.ย. 2017 และ Coffee Lake ที่เปิดตัววันนี้ ตอนซื้อต้องเช็คดีๆ ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไหน)
Bloomberg อ้างแหล่งข่าววงในว่า แอปเปิลเตรียมเปลี่ยนซีพียูของแมค จากปัจจุบันใช้ซีพียูอินเทล มาเป็นซีพียูที่ออกแบบเองในปี 2020 เป็นอย่างเร็ว
โครงการนี้มีโค้ดเนมว่า Kalamata อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลทั้งหมดจะต้องทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลทุกตัวไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Apple Watch, Apple TV ต่างใช้ซีพียูของแอปเปิลหมดแล้ว เหลือเพียงคอมพิวเตอร์ตระกูลแมคอินทอชเท่านั้นที่ยังใช้ซีพียูของบริษัทอื่นอยู่
อย่างไรก็ตาม ไม่มีการยืนยันว่าแอปเปิลจะเดินหน้าตามแผนนี้ 100% และอาจยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอีก
สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐฯ (USPTO) เปิดเผยแบบฟอร์มขอจดสิทธิบัตรชิปเร่งความเร็วการขุดบิตคอยน์ของอินเทลที่ยื่นไว้ตั้งแต่ปี 2016 เป็นชิปแบบ System on Chip ที่ออกแบบเพื่อเร่งความเร็วการคำนวณบล็อคโดยเฉพาะ
ฮาร์ดแวร์ออกแบบมาเพื่อคำนวณค่าแฮชสำหรับบล็อคของบิตคอยน์โดยเฉพาะ โดยเป็นฮาร์ดแวร์สำหรับคำนวณค่าแฮช SHA-256 ของข้อความขนาด 1024 บิต มีการปรับแต่งกระบวนการคำนวณค่าแฮชเพื่อให้คำนวณข้อมูลบางส่วนก่อนใส่ค่า nonce
อินเทลระบุว่าการออกแบบเช่นนี้ทำให้ชิปขุดมีประสิทธิภาพในแง่พื้นที่ชิป และอัตราการใช้พลังงานดีกว่าเดิม
ฟอร์มจดสิทธิบัตรระบุว่าการออกแบบนี้รวมทั้งการทำชิปแบบ ASIC และการใช้ FPGA ตอนนี้ไม่มีข้อมูลว่าอินเทลผลิตชิปนี้แล้วหรือไม่ หรือมีการใช้ขุดจริงที่ใดแล้วบ้าง
จากเหตุการณ์ รถยนต์ไร้คนขับของ Uber ชนคนเดินเท้าเสียชีวิตรายแรก ส่งผลให้คู่แข่งร่วมวงการหลายรายต่างระงับการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับชั่วคราว
แต่อินเทลที่เพิ่งซื้อกิจการ Mobileye บริษัทพัฒนาชิพสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติกลับสวนกระแส ด้วยการนำฟุตเตจวิดีโอจากกล้องของรถ Uber มาวิเคราะห์ และบอกว่าระบบของ Mobileye สามารถป้องกันการชนเคสนี้ได้ แม้ใช้เฉพาะภาพจากกล้องวิดีโอเท่านั้น
อินเทลรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหา Spectre/Meltdown ว่าตอนนี้ได้ออก microcode สำหรับซีพียูทุกรุ่นที่ออกใหม่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทั้งหมดแล้ว และขอให้ทุกคนพยายามอัพเดตระบบสม่ำเสมอ แต่ที่สำคัญคือซีพียูรุ่นต่อไปที่จะออกใหม่ในปลายปีนี้ จะแก้ไขการโจมตี Spectre variant 2 ในตัวชิปมาแต่แรก
ชิปที่ถูกแก้ปัญหาก่อน ได้แก่ Xeon Scalable (Cascade Lake) และ Core Gen 8 ที่กำลังจะออกใหม่ครึ่งหลังของปีนี้
ที่มา - Intel
The Wall Street Journal รายงานข่าวสืบเนื่องจากว่าที่มหาดีลวงการเซมิคอนดักเตอร์ที่ Broadcom จะซื้อกิจการ Qualcomm โดยบอกว่า Intel เองกำลังจับตาดูดีลนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากสองบริษัทควบรวมกันสำเร็จจริง จะทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และเป็นผลเสียกับ Intel
โดยแนวทางหนึ่งที่ Intel เตรียมการไว้ หากดีลนี้ไม่สำเร็จด้วยเหตุใดก็ตาม Intel จะเป็นฝ่ายเสนอซื้อกิจการ Broadcom เข้ามาเอง
Broadcom มีสินค้าหลักคือชิปบลูทูธ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอุปกรณ์มือถือและอุปกรณ์เครือข่ายทุกชนิด จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ Intel ต้องการซื้อกิจการมาให้ได้
อินเทลเปิดตัว Intel Optane SSD 800P สตอเรจตระกูล Optane รุ่นเล็กที่สุดในตอนนี้ หลังจากครึ่งปีก่อนเปิดตัวรุ่น 900P ที่ราคาเริ่มต้นสูงกว่าหมื่นบาท
Optane SSD 800P มีสองรุ่น คือ 58GB และ 118GB ทาง Gizmodo ระบุว่าราคารุ่นเล็กอยู่ที่ 130 ดอลลาร์ รุ่นใหญ่อยู่ที่ 200 ดอลลาร์ เทียบกับ 900P ที่รุ่น 280GB อยู่ที่ 389 ดอลลาร์แล้วก็นับว่าราคาไม่ได้ถูกลงแต่อย่างใด
อินเทลปล่อยแพตช์ป้องกันการโจมตี Spectre แบบที่ 2 (variant 2) ให้สำหรับซีพียู Broadwell Xeon E3, Broadwell U/Y, Haswell H,S และ Haswell Xeon E3 ให้กับผู้ผลิตแล้ว
อินเทลออกแพตช์ชุดแรกให้กับ Skylake และ Karby Lake แต่ก็ต้องถอนแพตช์กลับและออกแพตช์เวอร์ชั่นใหม่ หลังจากแพตช์ตัวแรกทำให้เครื่องไม่เสถียร
แพตช์สำหรับซีพียูจำนวนมากยังอยู่ในระดับเบต้ารอการทดสอบ เช่น Broadwell Server EX, Haswell Server EX, Ivy Bridge, Sandy Bridge เป็นต้น
ที่มา - ThreatPost
อินเทลเปิดตัวโครงการ AI: In Production ที่จะทำให้นักพัฒนาสามารถนำโครงการปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นสินค้าได้ง่ายขึ้น หลังจากกลางปีที่แล้วอินเ้ทลเริ่มขาย Neural Compute Stick ชิปปัญญาประดิษฐ์สำหรับนักพัฒนา
อินเทลระบุว่าตัว Neural Compute Stick นั้นขายได้นับหมื่นชิ้นแล้ว แต่การเสียบบอร์ดลูกผ่าน USB ก็อาจจะไม่เหมาะกับงานบางประเภท ที่ต้องการบอร์ดเชื่อมกับซีพียูด้วยความเร็วสูงขึ้น หรืออาจจะต้องการออกแบบสินค้าที่รูปร่างไม่เหมาะกับ compute stick
อินเทลประกาศความร่วมมือกับผู้ผลิตพีซีหลายราย เช่น Dell, HP, Lenovo รวมถึงไมโครซอฟท์ เตรียมผนวกชิปโมเด็ม 5G ซีรีส์ Intel XMM 8000 ไปกับโน้ตบุ๊กและพีซีพกพาในครึ่งหลังของปี 2019
อินเทลระบุว่าชิปโมเด็ม 5G ของตัวเองทุกตัวจะรองรับ eSIM เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ อินเทลยังโชว์ชิป Wi-Fi รุ่นใหม่ที่รองรับมาตรฐาน 802.11ax ด้วย
แนวคิดเรื่องพีซีที่ต่อเน็ตตลอดเวลา กำลังกลายเป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ก็เพิ่งประกาศแผน Always Connected PC ผ่านความร่วมมือกับ Qualcomm
ที่มา - Intel
ช่องโหว่ Meltdown/Spectre ถูกพบมาตั้งแต่กลางปี 2017 และกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้เป็นวงกว้าง สัปดาห์ที่ผ่านมาอินเทลก็ออกมาปรับนโยบายโครงการรายงานช่องโหว่ (bug bounty) เพื่อให้ครอบคลุมช่องโหว่ประเภทนี้แล้ว
Meltdown/Spectre เป็นกลุ่มการโจมตีโดยใช้ข้อมูลข้างเคียง (side-channel attack) คือระยะเวลาการเข้าถึงแคชเพื่อหาข้อมูลจากตำแหน่งอื่น ที่ปกติแล้วซอฟต์แวร์ไม่มีสิทธิ์อ่าน การโจมตีโดยใช้ข้อมูลข้างเคียงนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ตั้งแต่เสียงพัดลม, ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
ชิพคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ในงานวิจัย คือชิพแบบ superconducting ที่บริษัทใหญ่ๆ อย่างกูเกิล, IBM, และอินเทลกำลังวิจัยสร้างอยู่ และชิพแบบ trapped ion ที่ใช้เลเซอร์ในการดักจับไอออนและแก้ไขสถานะของคิวบิต
แต่โลกของการวิจัยชิพควอนตัมก็ไม่ได้จบอยู่ที่สองแบบนี้เท่านั้น ก่อนหน้านี้ อินเทลเคยประกาศไว้ว่ากำลังวิจัยชิพที่ทำจากซิลิคอนด้วยเช่นกัน โดยเชื่อว่าชิพซิลิคอนนี้จะมีขนาดเล็กกว่าชิพแบบอื่นเมื่อมีจำนวนคิวบิตเท่ากัน สามารถคงสถานะของคิวบิตได้นานกว่า สามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงกว่าชิพแบบ superconducting ได้ และที่สำคัญคือ อินเทลมี know-how ในการสร้างชิพจากซิลิคอนอยู่แล้วด้วย
อินเทลเปิดตัวซีพียู Xeon D รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นชิป SoC สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก เช่น edge computing ที่ประมวลผลข้อมูลจาก IoT ก่อนส่งขึ้นคลาวด์
Xeon D รุ่นแรกออกในปี 2015 และถูกอัพเกรดมาแล้วหลายครั้ง รุ่นล่าสุดใช้รหัสว่า Xeon D-2100 ใช้แกน Skylake-server ตัวเดียวกับ Xeon รุ่นใหญ่ มีหลายรุ่นย่อยให้เลือกตามสมรรถนะ ตั้งแต่ 8-18 คอร์
นอกจากซีพียูแล้ว ตัว SoC ของ Xeon D-2100 ยังรองรับพอร์ต 10 GbE x4, Serial ATA x16 และมีชุดคำสั่ง Intel AVX-512 กับฟีเจอร์ Intel QuickAssist Technology (QAT) ช่วยเร่งการเข้ารหัส-ถอดรหัสข้อมูลด้วย
หลังอินเทลออก Core 8th Gen รหัส U สำหรับโน้ตบุ๊ก ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2017 แต่ยังจำกัดเฉพาะ Core i5 และ i7 สำหรับโน้ตบุ๊กรุ่นกลางบนขึ้นไป
วันนี้ อินเทลก็ออก Core i3 ที่เป็น 8th Gen ตามมา โดยมีรุ่นย่อยเดียวคือ Core i3-8130U สเปกคือ 2 คอร์ 4 เธร็ด (ลดลงจาก i5/i7 ที่เป็น 4 คอร์), สัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่ 2.2GHz อัดขึ้นไปได้สูงสุด 3.4GHz, จีพียู Intel UHD 620, รองรับแรม DDR4 2400MHz, อัตราใช้พลังงาน TDP 15 วัตต์ (สเปกละเอียด)
อีกไม่นานเราคงเริ่มเห็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ Core i3 8th Gen ทยอยเปิดตัว
โอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อคืนที่ผ่านมา นอกจากไฮไลต์สำคัญคือการเดินเข้าสู่สนามพร้อมกันของนักกีฬาทั้งสองเกาหลีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีเป็นประจำในโอลิมปิกทุกครั้ง คือการแปรอักษรเป็นรูปห้าห่วงโอลิมปิก ซึ่งครั้งนี้ไม่ได้ใช้คนจำนวนมากเหมือนเช่นอดีต แต่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ นั่นคือโดรนจำนวนถึง 1,218 ตัว ซึ่งเป็นผลงานของอินเทล หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันครั้งนี้นั่นเอง
อินเทลออกแพตช์แก้ปัญหาช่องโหว่ Spectre รอบใหม่ หลังพบปัญหาทำเครื่องรีบูต จนต้องระงับแพตช์ตัวเก่าชั่วคราว
แพตช์รอบสองถูกส่งให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM และพาร์ทเนอร์เรียบร้อยแล้ว โดยยังครอบคลุมเฉพาะซีพียูสองรุ่นคือ Skylake กลุ่ม Core (รหัส H/S) และ Core m (รหัส U/Y) เท่านั้น ส่วนซีพียูรุ่นอื่นๆ ทั้งที่ใหม่กว่าอย่าง Skylake-X กับ Kaby Lake และซีพียูรุ่นเก่ากว่า จะตามมาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
สำหรับผู้ใช้ต้องรออัพเดตเฟิร์มแวร์จากผู้ผลิตอีกทีหนึ่ง หลังจากรับโค้ดของอินเทลเพื่อนำไปอัพเดตเฟิร์มแวร์ของตัวเอง
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์นอกรอบ KB4078130 สำหรับถอนแพตช์แก้การโจมตี Spectre ด้วยการอัพเดต microcode ในซีพียู โดยเป็นการอัพเดตหลังผู้ใช้จำนวนหนึ่งรายงานว่าอัพเดตนี้ทำให้เครื่องรีบูตเอง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วอินเทลเพิ่งออกแพตช์ใหม่อีกครั้งเพื่อแก้ปัญหาเครื่องรีบูตนี้
ไมโครซอฟท์เปิดทางให้ผู้ดูแลระบบเลือกเปิดแพตช์นี้เองได้ด้วยการตั้งค่าใน registry โดยระบุว่าควรเปิดกลับมาหลังอินเทลยืนยันว่าแก้ปัญหาแล้ว อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังไม่มีรายงานการโจมตีด้วยเทคนิคนี้แต่อย่างใด
ปีนี้อินเทลผลประกอบการก็มีคำถามว่าอินเทลจะปล่อยชิปที่ป้องกันการโจมตี Meltdown/Spectre ในระดับชิป (in-silicon) ได้เมื่อใด Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลก็ตอบผู้ถือหุ้นแล้วว่าน่าจะออกได้ภายในไตรมาสสี่ปีนี้
ตอนนี้ชิปรุ่นใหม่ๆ มีฟีเจอร์ PCID (Post-Context Identifier) ที่ช่วยให้แพตช์ KPTI ไม่กระทบต่อประสิทธิภาพนัก แต่หากชิปรุ่นใหม่ที่มีฟีเจอร์ป้องกันการโจมตีมาในตัวก็อาจจะส่งผลกระทบน้อยลงจนถึงไม่มีผลเลย
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2017 รายได้รวม 17,053 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิ 687 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีสหรัฐ ทำให้บริษัทต้องลงค่าใช้จ่ายครั้งเดียวเพิ่มราว 5,400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากไม่มีรายการนี้ก็ยังมีกำไร
Brian Krzanich ซีอีโออินเทลกล่าวว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ที่ออกมาดี เป็นผลจากการเน้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูล นอกจากนี้การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจอย่างหน่วยความจำ, Programmable solutions หรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ก็เริ่มให้ผลตอบแทนที่ชัดเจน และส่งผลให้อินเทลเติบโตขึ้นต่อเนื่อง
จากแพตช์ป้องกัน Spectre/Meltdown ของอินเทลมีปัญหาทำให้เครื่องบางรุ่นรีบูตบ่อย อินเทลออกมาประกาศอีกรอบว่าหาสาเหตุของปัญหารีบูตเจอแล้ว และออก "แพตช์แก้แพตช์" ให้พาร์ทเนอร์ทดสอบแล้ว เมื่อทดสอบเสร็จเรียบร้อยดีจึงจะออกอัพเดตให้คนทั่วไปใช้งาน (ไม่บอกกำหนดเวลา)
อินเทลแนะนำให้ลูกค้าหยุดให้แพตช์ตัวเดิมไปก่อน และขอให้พาร์ทเนอร์เร่งทดสอบแพตช์ตัวใหม่ เพื่อออกแพตช์ตัวจริงให้ได้เร็วขึ้น