สำนักข่าวจีนรายงานอ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน ระบุว่าอินเทลได้ใบอนุญาตขายซีพียูให้กับหัวเว่ยได้ต่อไป ทำให้หัวเว่ยสามารถพัฒนาโน้ตบุ๊กต่อไปได้
แม้ว่าจะได้ชิปจากอินเทล แต่กฎห้ามบริษัทนอกสหรัฐฯ ขายชิปให้หัวเว่ยก็เพิ่งมีผลบังคับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และบริษัทผู้ผลิตชิปอื่นๆ ก็เข้าคิวรอใบอนุญาตจากสหรัฐฯ กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Macronix, Micron, SK Hynix, Qualcomm, Samsung, และ SMIC ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีสูงอื่นๆ ที่ไม่ใช้แค่ชิป เช่น เลนส์กล้อง หรือแผงวงจร หากบริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับใบอนุญาตแบบเดียวกับอินเทลก็น่าจะกระทบธุรกิจโดยรวมอย่างหนักอยู่ดี
สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ต่างประเทศหลายรายเริ่มได้ Intel Core 11th Gen รหัส "Tiger Lake" ไปทดสอบกันแล้ว จุดที่น่าสนใจคือตัวจีพียู Iris Xe (อ่านว่า "เอ็กซ์อี") ที่อิงจากสถาปัตยกรรมใหม่ Xe-LP ให้ผลการทดสอบออกมาดี ชนะจีพียูแบบออนบอร์ดของคู่แข่งคือ Radeon Vega ใน Ryzen ซีรีส์ 4000U ได้แบบทิ้งห่าง
หน่วยประมวลผลรุ่นที่นำไปทดสอบคือ Core i7-1185G7 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปสุดของ Tiger Lake ที่เปิดตัวมาในขณะนี้ ตัวจีพียู Iris Xe มีคอร์ (execution unit หรือ EU) จำนวน 96 คอร์ โดยโน้ตบุ๊กที่ทดสอบเป็นโน้ตบุ๊กตัวอย่าง (reference design) ของอินเทลเอง ยังไม่ใช่สินค้าที่วางขายจริง
หลังเปิดตัว Intel Gen 11th ไปเมื่อคืนนี้ ASUS ก็ประกาศเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่มาพร้อม Intel Gen 11th คือ ZenBook Flip S, Zenbook Flip 13, Zenbook S, Zenbook 14 Ultralight, Zenbook Pro 15 และ Expertbook B9
อินเทลเปิดตัวแบรนด์มาตรฐานโน้ตบุ๊ก Intel Evo ที่เป็นแบรนด์ต่อเนื่องจาก Project Athena โดยโน้ตบุ๊กที่จะใช้แบรนด์ Evo ได้ต้องใช้ซีพียู Core รุ่นที่ 11 ระดับ Core i5 ขึ้นไป รองรับ Thunderbolt 4 และ Wi-Fi 6 นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขประสบการณ์การใช้งานได้แก่
ตอนนี้มีโน้ตบุ๊กที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว 20 รุ่น ที่เปิดเผยออกมาแล้วได้แก่ Acer Swift 5, Asus Zenbook Flip S, Lenovo Yoga 9i, และ Samsung Galaxy Book Flex 5G
อินเทลประกาศเปลี่ยนโลโก้บริษัท นับเป็นโลโก้ที่ 3 จากโลโก้แรกในปี 1968 และโลโก้ที่สองที่มีวงกลมล้อมรอบในปี 2006 มาสูงโลโก้ใหม่ในปีนี้
โลโก้ใหม่เรียบง่ายกว่าเดิมโดยเป็นคำว่า intel คล้ายโลโก้แรกแต่ไม่มีตัว e ตกลงไปครึ่งบรรทัด โดยการเปลี่ยนโลโก้ครั้งนี้อินเทลปรับแบรนด์ย่อยทั้งหมดไปพร้อมกัน
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ 11 สำหรับโน้ตบุ๊กบางเบา พร้อมส่วนกราฟิกใหม่ Iris Xe หรือชื่อรหัส Tiger Lake ผลิตด้วยกระบวนการผลิต SuperFin 10 นาโนเมตร ตัวชิปรองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 4 และ PCIe Gen 4 ใช้แรม LPDDR4X พร้อมระบุว่าตัวควบคุมรองรับแรมแบบอื่นในอนาคตได้
อินเทลทดสอบซีพียูรุ่นใหม่เทียบกับ AMD Ryzen 7 4800U เป็นหลักเพื่อยืนยันว่าผลการทดสอบการใช้งานประสิทธิภาพดีกว่าทุกประเภท ด้านกราฟิกอินเทลระบุว่า Iris Xe สามารถคอนฟิกจำนวนคอร์ได้สูงสุด 96 EU ประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการเล่นเกมยุคใหม่ เช่น Borderlands 3, Far Cry New Dawn, และ Hitman 2 ที่ระดับ 1080p รองรับข้อมูลแบบ INT8 ในตัวสำหรับการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์
ในการแถลงทางวิดีโอ Intel Platform Advantage Virtual Briefing เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา Intel พูดถึงการเลือกใช้เบนช์มาร์คต่างๆ วัดสมรรถนะของซีพียู
ปกติเบนช์มาร์คมี 2 แบบ คือแบบสังเคราะห์ จำลองงานบางอย่างมาให้ซีพียูทำ เช่น Cinebench หรือ 3DMark กับแบบที่เรียกรันแอพที่คนใช้จริงๆ เช่น Sysmark 25 หรือ MobileMark ที่รันแอพจริงบนเครื่อง เช่น Google Chrome, Microsoft Office และแอพตระกูล Adobe
อินเทลระบุว่า เบนช์มาร์คแบบรันแอพจริงสะท้อนประสิทธิภาพการใช้งานจริงได้ดีกว่าแบบสังเคราะห์ ที่ AMD ตระกูล Ryzen 4000 มีคะแนนนำอินเทลอยู่ในช่วงนี้
ในงาน Intel Architecture Day 2020 เมื่อวันก่อน นอกจากการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยประมวลผล Tiger Lake อินเทลยังเปิดเผยข้อมูลของจีพียูซีรีส์ Xe ที่จะจับตลาดทุกระดับ ตั้งแต่การ์ดจอแบบออนบอร์ดไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์
Xe (อ่านว่า เอ็กซ์อี) เป็นความพยายามครั้งใหญ่ของอินเทลในการกลับเข้าสู่ตลาดจีพียูอีกครั้ง หลังจากล้มเหลวมาตลอด (ถ้ายังจำ Larrabee กันได้) และถึงขั้นต้องดึง Raja Kouduri อดีตหัวหน้าฝ่าย Radeon จาก AMD เข้ามาทำงานด้วย (Raja เป็นคนพรีเซนต์หลักของงานรอบนี้)
อินเทลจัดงาน Architecture Day 2020 โดยหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Raja Koduri นำทีมมาเล่าแผนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้ สินค้าหลักที่ทุกคนให้ความสนใจย่อมหนีไม่พ้นซีพียูโค้ดเนม Tiger Lake ที่จะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด
อินเทลเริ่มให้ข้อมูลของ Tiger Lake มาตั้งแต่ต้นปี มันจะเป็น SoC สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีทั้งซีพียูและจีพียูมาในตัว (อินเทลใช้คำเรียกว่า XPU)
ของใหม่ใน Tiger Lake มีทั้งซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ Willow Cove, จีพียูตัวใหม่ Xe-LP และการผลิตแบบใหม่ 10nm SuperFIN
Mediatek เปิดตัวชิปโมเด็ม 5G รุ่น MediaTek T700 ที่เซ็นสัญญาสร้างกับ Intel เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ชิปจะรองรับทั้ง 4G LTE และ 5G แบบ dual-mode (stand alone, non-standalone) ในย่านความถี่ต่ำกว่า 6GHz และใช้ซ็อคเก็ต M2 ในโน้ตบุ๊ก
Tillie Kottmann ที่ปรึกษาไอทีชาวสวิสผู้โพสต์ข้อมูลหลุดอยู่เป็นระยะ โพสต์ไฟล์ข้อมูลที่ระบุว่าหลุดจากอินเทลจำนวนมากถึง 20GB โดยส่วนมากเป็นเอกสารออกแบบ, เนื้อหาฝึกสอนภายใน, ซอร์สโค้ด, และชุดพัฒนาสำหรับพันธมิตรต่างๆ
ไฟล์ที่หลุดออกมาเช่น เครื่องมือติดตั้ง Intel ME สำหรับจัดการเครื่อง, ซอร์สโค้ด BIOS สำหรับแพลตฟอร์ม Kabylake, ชุดพัฒนา bootloader สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์, ไดร์เวอร์กล้องสำหรับ SpaceX, ไปจนถึงพิมพ์เขียวออกแบบชิป Xeon ในภาษา Verilog
อินเทลประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ หลังแถลงผลประกอบการไตรมาส 2/2020 ที่มาพร้อมข่าวร้าย 7 นาโนเมตรเลื่อนไปอีก 6 เดือน
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือฝ่าย Systems Architecture and Client Group (TSCG) จะถูกแตกออกเป็น 5 หน่วยย่อย และทุกหน่วยขึ้นตรงกับซีอีโอ Bob Swan
ประเด็นที่น่าสนใจในงานแถลงผลประกอบการ Q2/2020 ของอินเทลคือบริษัทยอมรับว่า กระบวนการผลิตขนาด 7 นาโนเมตรต้องช้ากว่าแผน 6 เดือน
อินเทลบอกว่าปัญหามาจากเรื่อง yield (อีกแล้ว) ที่ทำได้ช้ากว่าเป้าหมายไป 12 เดือน ตอนนี้บริษัทสามารถหาสาเหตุของปัญหาในกระบวนการผลิตได้แล้วและคาดว่าจะไม่มีอุปสรรคอะไรอีก แต่อินเทลก็เตรียมแผนสำรองไว้แล้ว ซึ่งรวมถึงการจ้างโรงงานอื่นผลิตชิปให้แทน โดยชิปกราฟิกตัวใหม่ Ponte Vecchio สำหรับตลาดศูนย์ข้อมูล ที่มีกำหนดวางขายปลายปี 2021 หรือต้นปี 2022 จะใช้โรงงานของบริษัทอื่นมาร่วมผลิตให้ด้วย (ไม่ระบุชื่อว่าที่ไหน)
อินเทลรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 รายได้รวม 19,728 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 5,105 ล้านดอลลาร์
อินเทลรายงานเรื่องแผนการออกซีพียู 7 นาโนเมตร ว่าจะเลื่อนออกไปอีกประมาณ 6 เดือน จากที่เคยให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ ทำให้แผนการออกเลื่อนไปราว 12 เดือนที่จากเคยระบุไว้ตอนแรก
รายได้จากกลุ่มที่เกี่ยวกับพีซี (PC-Centric) 9,496 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% ส่วนกลุ่มสินค้าศูนย์ข้อมูล (Data Center) รายได้รวมเพิ่ม 43% เป็น 7,117 ล้านดอลลาร์
Ford ประกาศความร่วมมือกับ Mobileye บริษัทเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (สถานะคือเป็นบริษัทลูกของอินเทลมาตั้งแต่ปี 2017) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนการขับขี่ (driver-assistance) ร่วมกัน
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Mobileye จะนำเทคโนโลยีของตัวเองชื่อ EyeQ (ประกอบด้วยชิป SoC และซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพ) มาใช้กับระบบช่วยขับขี่ Ford Co-Pilot360 โดยถือเป็นระบบช่วยขับขี่ระดับ 1 และ 2 ตามนิยาม advanced driver assistance systems (ADAS) อย่างการเบรกอัตโนมัติ คุมพวงมาลัย การรักษาเลน เป็นต้น
นอกจากนี้ Ford ยังจะแสดงโลโก้ของ Mobileye ตามจุดต่างๆ อย่างในหน้าจอ Ford Sync โดยรถยนต์ที่จะใช้งานระบบนี้เริ่มจากรถกระบะ F-150 และ Mustang Mach-E รุ่นหน้า
Linus Torvalds สาปส่งชุดคำสั่ง AVX-512 หลังพบว่าซีพียู Alder Lake ไม่มีฟีเจอร์นี้ โดยระบุว่า “ผมหวังว่า AVX512 มันจะตายอย่างเจ็บปวดไปซะที” พร้อมเสนอว่า Intel ควรใช้พื้นที่ชิปทำอย่างอื่น เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพคอร์หรือเพิ่มจำนวนคอร์แบบเอเอ็มดี
มูลค่าบริษัท (market capitalization) ของบริษัท NVIDIA แซงหน้าอินเทลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์บริษัท โดยตัวเลขขณะที่เขียนข่าว NVIDIA มีมูลค่าบริษัท 253 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอินเทลมีมูลค่า 245 พันล้านดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญมาจากราคาหุ้นของ NVIDIA ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่หุ้นของอินเทลเพิ่มมาประมาณ 15% เท่านั้นในช่วงเวลาเดียวกัน
NVIDIA ถือเป็นบริษัทที่รายได้เติบโตมาตลอด แม้เจอวิกฤต COVID ยังมีรายได้เพิ่มถึง 33% แถมมีเงินจ่ายโบนัสพนักงาน มูลค่าบริษัทยังมีโอกาสเติบโตได้อีกจากการเปิดตัวการ์ด Ampere ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ส่วนมูลค่าบริษัทของ AMD ในฐานะเพื่อนร่วมวงการ อยู่ที่ 64 พันล้านดอลลาร์
อินเทลเปิดตัวสเปกของ Thunderbolt 4 ที่ทิ้งช่วงจาก Thunderbolt 3 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นเวลา 5 ปี
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคุ้นเคยว่าพอร์ต USB กับ Thunderbolt เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่ช่วงหลังๆ มาตรฐานสองค่ายเริ่มควบรวมกัน ตั้งแต่ Thunderbolt 3 ที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C และล่าสุดคือ USB 4 ที่พัฒนาขึ้นจากสเปกของ Thunderbolt 3 อีกที
พอมี Thunderbolt 4 เข้ามาอีกตัว เลยชวนสับสนว่าความต่างของ Thunderbolt 3, 4, USB 4 คืออะไรกันแน่
Jio Platforms ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเบอร์หนึ่งของอินเดีย ยังเป็นบริษัทร้อนแรงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอินเทลประกาศเข้าลงทุนเป็นเงิน 250 ล้านดอลลาร์ แลกกับหุ้น 0.39% ผ่านกองทุน Intel Capital โดยเป็นการซื้อหุ้นของ Jio ที่มูลค่ากิจการ 65,000 ล้านดอลลาร์
Wendell Brooks ประธาน Intel Capital กล่าวว่า Jio Platforms มีจุดเด่นคือการโฟกัสไปที่ด้านวิศวกรรม เพื่อทำให้บริการดิจิทัลมีต้นทุนต่ำและเข้าถึงคนจำนวนมาก สอดคล้องกับแนวทางของอินเทล ที่ต้องการสร้างเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน
หนึ่งในข่าวใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในวงการนักพัฒนาคือการย้ายสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของแอปเปิลจาก x86 ไป ARM ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันไปว่า เพราะแอปเปิลต้องการรวมแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมของทั้ง iPhone/iPad และ MacBook ให้ไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม François Piednoël อดีตวิศวกรของ Intel ให้สัมภาษณ์กับ PCGamer เผยว่าหนึ่งในสาเหตุที่แอปเปิลเปลี่ยนไปใช้ ARM เพราะปัญหาเรื่องคุณภาพที่เกิดขึ้นกับซีพียูสถาปัตยกรรม Skylake ของ Intel (Comet Lake เป็น Skylake รุ่นที่ 4) ที่แอปเปิลต้องคอยแก้ เลยเป็นเหมือนฟางที่ค่อย ๆ ขาดในมุมของแอปเปิล โดย Piednoël ใช้คำว่า Skylake นั้นแย่แบบผิดปกติ (abnormally bad) ขณะที่แอปเปิลก็เป็น OEM ที่ยื่นเรื่องว่าเจอปัญหาเยอะที่สุดด้วย
ที่มา - PCGamer
จากประเด็น แอปเปิลย้าย macOS ไปสู่สถาปัตยกรรม ARM หลายคนคงสงสัยว่าอินเทลจะว่ายังไงบ้าง
อินเทลออกแถลงการณ์ผ่าน AppleInsider ระบุว่าแอปเปิลยังเป็นลูกค้าของอินเทลอยู่ และอินเทลจะสนับสนุนแอปเปิลต่อไปตามปกติ โดยยกภารกิจของอินเทลในการผลักดันวงการพีซี และกล่าวถึงชิป Tiger Lake ที่จะออกในปีนี้ว่าจะช่วยให้พีซีก้าวหน้าต่อไป
Tim Cook เองก็ระบุว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ ARM จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งระหว่างนี้จะขายเครื่องแมคที่เป็นซีพียูอินเทล
นอกจากซีพียูเซิร์ฟเวอร์ Intel ยังเปิดตัว SSD ซีรีส์ D7 ด้วย 2 รุ่นคือ D7-P5500 และ D7-P5600 อินเทอร์เฟสเป็น PCIe 4.0 U.2 ทั้งคู่ ชิป NAND เป็น 3D TLC ขนาด 96 เลเยอร์ form factor ขนาด 2.5 นิ้ว หนา 15 มม.
ทั้งสองรุ่นมีอัตราการอ่านข้อมูลต่อเนื่อง 7,000MB/s เขียนต่อเนื่อง 4,300MB/s อ่านสุ่ม (4k) 1M IOPS เขียนสุ่ม P5500 อยู่ที่ 130,000 IOPS ส่วน P5600 ที่ 260,000 IOPS โดยรุ่น P5500 มีความจุขนาด 1.92TB, 3.84TB และ 7.68TB ค่า DWPD อยู่ที่ 1 ระยะเวลาประกัน 5 ปี ส่วน P5600 มีขนาด 1.6TB, 3.2TB, 6.4TB ค่า DWPD อยู่ที่ 3 ระยะประกันเท่ากัน
อินเทลเปิดตัวชิป Xeon Scalable รุ่นที่ 3 ชื่อรหัส Cooper Lake สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ในกลุ่ม 4 และ 8 ซ็อกเก็ต โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการรองรับข้อมูลแบบ bfloat16 ที่นิยมใช้งานกลุ่มปัญญาประดิษฐ์
การที่อินเทลรองรับคำสั่งแบบ bfloat16 นับเป็นความพยายามในการรวมเอาความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์เข้าไว้ในสินค้าทั้งชุด ตั้งซีพียู, ชิปกราฟิก Xe ที่อยู่ระหว่างพัฒนา, FPGA และชิปเฉพาะทางอย่าง Movidius โดย bfloat16 แปลงข้อมูลแบบเลขทศนิยมให้ความละเอียดต่ำลง ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น แต่โมเดลจำนวนมากกลับพบว่าความแม่นยำโดยรวมของโมเดลนั้นเกือบจะเท่าเดิม แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่าตัว
อินเทลเปิดตัวซีพียูตระกูล Lakefield ที่ออกแบบมาให้กินพลังงานต่ำและมีขนาดชิปเล็กมาก โดยตัวชิปมีขนาด 12x12 ตารางมิลลิเมตรเท่านั้น และกินพลังงานต่ำ ที่สำคัญคือแพ็กเกจรองรับการติดตั้งแรมลงไปในแพ็กเกจโดยตรงทำให้ขนาดบอร์ดโดยรวมจะมีขนาดเล็กลงมาก แต่ข้อจำกัดสำคัญคือแรมจะมีตัวเลือก 4GB และ 8GB ในช่วงแรกเท่านั้น
มีข่าวลือมานานเรื่องการเปลี่ยนชิป Intel ใน MacBook มาเป็นชิปที่แอปเปิลพัฒนาเองมานาน ล่าสุด Bloomberg รายงานอ้างอิงคนในว่าแอปเปิลเตรียมจะประกาศเรื่องนี้บนเวที WWDC ที่จะจัดวันที่ 22 มิถุนายนนี้
ชิปของแอปเปิลบน MacBook จะใช้สถาปัตยกรรมของ ARM ซึ่งนักพัฒนาจะมีเวลาประมาณ 1 ปีเป็นอย่างน้อยในการแก้ไขโค้ดให้รองรับบนสถาปัตยกรรม ARM (สินค้าจะออกปีหน้า) ตัวชิปจะเป็น SoC ที่มีชิปประมวลผล, ชิปกราฟิคและชิป AI รวมอยู่ด้วยกัน โดยแอปเปิลกำลังพัฒนาอยู่อย่างน้อย 3 รุ่น รุ่นแรกจะเป็นการพัฒนาต่อยอดจากชิป A14 ที่จะอยู่ใน iPhone รุ่นถัดไป