HPE เคยออกมายอมรับว่าฝั่งตลาดเซิร์ฟเวอร์เองก็กำลังประสบปัญหาซีพียูขาดตลาดเช่นเดียวกับฝั่งพีซี ล่าสุด HPE ออกมาแจ้งต่อลูกค้า แนะนำให้พิจารณาทางเลือกซีพียูอื่นแทนที่ Xeon (Cascade Lake) ที่กำลังขาดตลาดอยู่
HPE คาดการณ์ว่าปัญหาซีพียูเซิร์ฟเวอร์ขาดแคลนนี้จะลากยาวไปตลอดทั้งปี 2020 กินระยะเวลาทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 18 เดือน ปัจจัยหลัก ๆ ไม่ใช่แค่อินเทลผลิตไม่ทัน แต่รวมถึงการขยายตัวของคลาวด์ ทำให้ผู้บริการคลาวด์รายใหญ่ ๆ อย่าง AWS, Google, Microsoft มีความต้องการซีพียูเซิร์ฟเวอร์เยอะขึ้น ทำให้ลูกค้าอินเทลที่มีจำนวนซื้อน้อยกว่าอย่าง HPE หรือ Dell ต้องรอคิวเข้าไปอีก
ปกติแล้ว เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับที่เราเห็นมักใช้ radar/lidar ร่วมกับกล้องเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรอบตัวรถ ก่อนให้อัลกอริทึมตัดสินใจว่าจะขับรถอย่างไร
แต่ Mobileye บริษัทอุปกรณ์ไร้คนขับจากอิสราเอล (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของอินเทล ซื้อมาปี 2017) ก็โชว์ความสำเร็จในการใช้กล้องเพียงอย่างเดียว ขับรถในเมืองที่มีสภาพแวดล้อมซับซ้อนได้อย่างไม่มีปัญหา (เป็นสภาพแวดล้อมจริงในเมือง ไม่ใช่ถนนจำลอง)
Mobileye โชว์คลิปสาธิตการขับรถในกรุงเยรูซาเลม ความยาว 27 นาที ใครสนใจแนวทางของ Mobileye สามารถรับชมกันได้ (ในรถยังมีระบบ radar/lidar อยู่ด้วยเช่นกัน แนวคิดของ Mobileye คือมีทั้งสองระบบเพื่อตรวจสอบกันและกัน)
เราเห็นมาตรฐานการบีบอัดวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มมีผู้ใช้งานเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง YouTube หรือ Facebook
ข้อดีของ AV1 คือบีบอัดวิดีโอได้มากขึ้น (อาจสูงถึง 60% เมื่อเทียบกับ codec รุ่นก่อนอย่าง H.264 AVC) แต่ก็มีข้อเสียคือต้องใช้เวลาบีบอัดนานขึ้น ซึ่งปัญหาข้อนี้จะค่อยๆ ถูกแก้ไขเมื่อซอฟต์แวร์เข้ารหัสวิดีโอ (encoder) ถูกปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ประกาศใช้ AV1 คือ Netflix ที่ร่วมมือกับอินเทล พัฒนาซอฟต์แวร์ encoder ประสิทธิภาพสูงชื่อ SVT-AV1 ร่วมกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (SVT-AV1 เปิดซอร์สโค้ดบน GitHub)
กลางปีที่แล้ว อินเทลเปิดตัวซีพียูแบรนด์ Core 10th Gen สถาปัตยกรรม Ice Lake/10 นาโนเมตร โดยยังมีเฉพาะซีพียูกินไฟต่ำรหัส U (15 วัตต์) และ Y (9 วัตต์) เท่านั้น
วัฏจักรของ Ice Lake ไม่น่าอยู่กับเรานานนัก เพราะอินเทลเพิ่งเปิดตัว Tiger Lake ที่เป็นภาคต่อของซีพียู 10 นาโนเมตร แต่อัพเกรดจีพียูเป็น Xe ที่คุยว่าแรงกว่าของเดิมมาก กำหนดการออก Tiger Lake ระบุคร่าวๆ ว่า "ภายในปีนี้"
ที่งาน CES นอกจากซีพียูชุดใหม่ๆ แล้วอินเทลยังเปิดตัวเครื่อง NUC Ghost Cayon ที่เป็นเครื่องแบบโมดูล สามารถติดตั้งการ์ดจอแยกได้สูงสุดถึง RTX 2070 หรือจะเปลี่ยนโมดูลซีพียูในอนาคตก็เป็นไปได้
แม้กล่องมีขนาดเล็ก แต่ระบบจ่ายไฟจ่ายได้ 500 วัตต์ ตัวเมนบอร์ตรองรับแรม DDR4 สูงสุด 64GB ทางฝั่งอินเทลนั้นยังไม่แจ้งราคา แต่ SimpleNUC ตัวแทนจำหน่ายในอังกฤษก็เปิดราคาโดยคอนฟิกต่ำสุดใช้ซีพียู Core-i5 เริ่มส่งมอบได้ในเดือนมีนาคมนี้ ราคา 911 ปอนด์ หรือประมาณ 36,000 บาท
อินเทลโชว์การทำงานซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก Tiger Lake ในงาน CES โดยจะเป็นซีพียูตัวแรกที่ใช้ส่วนกราฟิกจาก Intel Xe พร้อมกับระบุว่าประสิทธิภาพจะอยู่ระดับเดียวกับการ์ดจอแยก (discrete-level integrated graphics)
Tiger Lake จะใช้กระบวนการผลิต 10nm+ รองรับ Thunderbolt 4 และจะเริ่มส่งมอบซีพียูในกลุ่มนี้ภายในปีนี้
ส่วนกราฟิก Intel Xe นั้นอินเทลประกาศไว้แต่แรกว่าจะมีตั้งแต่รุ่นราคาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ไปจนถึงการ์ดแยกสำหรับเกมเมอร์ และการ์ดสำหรับศูนย์ข้อมูล โดยตัวการ์ดแยกรุ่นแรกคือ DG1 นั้นทางอินเทลก็ยังพรีวิวให้ดูโดยไม่ได้แจ้งรายละเอียดมากนัก
ที่มา - Intel
ปีที่แล้ว เราเห็นอินเทลออกซีพียู Core 10th Gen มาสองชุดคือ Ice Lake-U แบบ 10 นาโนเมตร และ Comet Lake-U แบบ 14 นาโนเมตร ทั้งสองชุดเป็นซีพียูรหัส U กินไฟต่ำ เหมาะสำหรับโน้ตบุ๊กสายบางเบา
ปีนี้ อินเทลเริ่มโชว์ข้อมูลของ Comet Lake-H ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงขึ้น (อัตรา TDP ที่ 45 วัตต์) สำหรับโน้ตบุ๊กเวิร์คสเตชันและเกมมิ่งบ้าง รวมถึงพีซีแบบ NUC ตัวใหม่รหัส Ghost Canyon แล้ว
ตอนนี้ยังมีข้อมูลของ Comet Lake-H ไม่เยอะนัก บอกเพียงว่า Core i7 จะมีคล็อคแตะ 5GHz และ Core i9 จะไปไกลกว่า 5GHz ด้วย
อินเทลประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท Habana Labs ผู้ผลิตชิปทั้งสำหรับการฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์และการรันโมเดล มูลค่าการซื้อขาย 2,000 ล้านดอลลาร์หรือ 60,000 ล้านบาท
Habana Labs มีสินค้าหลักสองตัว คือ Gaudi ชิปฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ขยายระบบได้มาก และบริษัทระบุว่าประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ชิปกราฟิกถึง 4 เท่าตัว อีกตัวคือ Goya ชิปรันโมเดล (inference) ประสิทธิภาพสูง รันโมเดล ResNet-50 ได้ที่ 15,453 ภาพต่อวินาที
Forrest Norrod ผู้บริหารฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD ไปพูดที่งานของธนาคาร Barclays พูดถึงการแข่งขันระหว่าง AMD กับอินเทล ที่รอบปีนี้ AMD ทำผลงานได้ดีมาก
เขาบอกว่าซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD แพ้อินเทลมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานประมวลผลเธร็ดเดียวหรือเธร็ดน้อยๆ ปัญหานี้ถูกแก้ไขใน EPYC Rome ที่ปรับปรุงเรื่อง instruction per clock (IPC) จนทำให้ประสิทธิภาพต่อเธร็ดของ Rome ดีกว่าแล้ว
เมื่อบวกกับแต้มต่อของ AMD ในเรื่องกระบวนการผลิตที่เริ่มเหนือกว่าอินเทล (7 นาโนเมตร vs 10 นาโนเมตร) ตอนแรก AMD มองว่าทำได้เสมอกับอินเทลก็ดีใจแล้ว แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะสามารถแซงหน้าอินเทลได้ (We didn't dream that we would be ahead)
อินเทลออกแพตช์เฟิร์มแวร์ซีพียู หลังนักวิจัยรายงานถึงการโจมตี Plundervolt ที่สามารถอ่านข้อมูลออกจากส่วน Software Guard Extensions (SGX) ได้สำเร็จ
SGX เป็นแยกการทำงานของโค้ดออกจากซีพียูปกติ ทำให้เราสามารถรักษาความปลอดภัยข้อมูลภายในแม้คนร้ายจะถือสิทธิ์ root ของระบบปฎิบัติการหลักก็ตาม การป้องกันนี้มีประโยชน์สำหรับข้อมูลชั้นความลับลึกมากๆ เช่น กุญแจเข้ารหัสเว็บ
ทีมวิจัยอาศัยการปรับความต่างศักย์ของไฟที่จ่ายเข้าซีพียู โดยเมื่อปรับลดความต่างศักย์ลงถึงค่าหนึ่งซีพียูจะเริ่มทำงานผิดพลาดในบางคำสั่ง เช่น คำสั่งคูณเลขที่ใช้พลังงานสูง นักวิจัยอาศัยการคำนวณตำแหน่งหน่วยความจำของโค้ดใน SGX ให้ผิดพลาดจนไปเขียนข้อมูลลงหน่วยความจำที่แฮกเกอร์ควบคุมไว้แทน
ประเด็นเรื่องซีพียูอินเทลขาดตลาด เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตพีซี จนทำให้แผนการส่งมอบสินค้าต้องเลื่อนออกไป และกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินด้วย ก่อนหน้านี้ Dell ออกมายอมรับว่าได้รับผลกระทบ และระบุว่าจะแก้ไขด้วยการใช้ซีพียูจาก AMD มากขึ้น
ฝั่งผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ตอนนี้มี Hewlett Packard Enterprise (HPE) ออกมายอมรับปัญหานี้เช่นกัน โดยซีอีโอ
Antonio Neri ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ The Register ว่าบริษัทต้องเลื่อนการส่งมอบเซิร์ฟเวอร์ในไตรมาส 4/2019 ออกไปบางส่วน
อินเทลเปิดตัวชิปควบคุมคอมพิวเตอร์ควอนคัมโดยใช้ชื่อ Horse Ridge ที่เป็นเขตที่อากาศเย็นของรัฐโอเรกอน โดยตัวชิปรับคำสั่งแล้วแปลงคำสั่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อควบคุมคิวบิตในคอมพิวเตอร์ควอนตัม
ตัวชิป Horse Ridge ตอนนี้ทำงานได้ที่ 4 เคลวิน ซึ่งอะตอมแทบจะหยุดนิ่ง แต่โดยทั่วไปคอมพิวเตอร์ควอนตัมต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้มาก อาจจะอยู่ที่ระดับมิลลิเคลวินเท่านั้น โดยอินเทลกำลังวิจัยคิวบิตแบบ silicon spin ที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงกว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมทั่วไป เป้าหมายคือคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ตัวคิวบิตและตัวชิปควบคุมทำงานที่อุณหภูมิเดียวกัน
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่าอินเทลยังไม่สามารถแก้ปัญหาซีพียูขาดตลาดได้ จนทำให้ผู้ผลิตพีซีเริ่มได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีซีพียูครบตามที่ต้องการ
Tom Sweet ซีเอฟโอของ Dell ให้สัมภาษณ์กับ Yahoo Finance แล้วว่าทางออกของ Dell คือหันไปใช้ซีพียูจาก AMD แทน เขาบอกว่า Dell มีใช้งานซีพียู AMD อยู่บ้างแล้ว และกำลังทดลองใช้งานซีพียูจาก AMD ให้มากขึ้น
Sweet ยังประเมินว่าสถานการณ์ซีพียูอินเทลขาดตลาดน่าจะยังมีผลต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งหลังของปี 2020 แล้วจึงเริ่มคลี่คลาย
สำนักข่าว Pulse News จากเกาหลีใต้อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนว่าอินเทลกำลังสั่งผลิตซีพียูเดสก์ทอปโดยใช้โรงงาน Samsung Electronics เพื่อแก้ปัญหาซีพียูขาดตลาดที่กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ที่ผ่านมาอินเทลผลิตซีพียูในโรงงานของตัวเองเป็นหลักเสมอ แม้จะมีการใช้โรงงานอื่นบ้างแต่ก็ไม่ใช่ซีพียูตัวหลักๆ สำหรับเดสก์ทอปหรือโน้ตบุ๊ก และครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่อินเทลใช้โรงงานภายนอกผลิตสินค้าหลัก หลายปีก่อนกำลังผลิตของโรงงานอินเทลเองเคยเหลือพอที่จะรับจ้างผลิตชิปให้บริษัทภายนอก แต่เหตุการณ์ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเปลี่ยนไปมาก จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทำให้จำนวนคอร์ในซีพียูรุ่นสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อกลางปีนี้ เราเห็นข่าวอินเทลขายธุรกิจชิปโมเด็มให้แอปเปิล ด้วยมูลค่าราว 1,000 ล้านดอลลาร์ กรณีของแอปเปิลนั้นชัดเจนว่าต้องการสร้างชิปโมเด็ม 5G ของตัวเอง แทนการพึ่งพา Qualcomm ที่เป็นคดีความกัน
แต่ในฝั่งของอินเทลก็เกิดคำถามว่า อินเทลยังสนใจธุรกิจชิปโมเด็มอีกหรือไม่ แม้ธุรกิจทำชิปโมเด็มในมือถือของอินเทลไม่ประสบความสำเร็จนัก (มีแอปเปิลเป็นลูกค้าอยู่รายเดียว) แต่ทิศทางของตลาดโน้ตบุ๊กก็เริ่มผนวกชิปโมเด็มเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน (อินเทลมี Project Athena ที่เป็นข้อกำหนดว่าโน้ตบุ๊กต้องมีชิปโมเด็ม)
ภาวะซีพียูอินเทลขาดตลาด เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2018 จากปัญหาความต้องการซีพียูที่พุ่งสูง ทั้งในตลาดเซิร์ฟเวอร์ (จากการเติบโตของคลาวด์) และตลาดไคลเอนต์ (ยอดขายพีซีกลับมาเติบโต)
อินเทลเคยประกาศไว้ตอนแถลงผลประกอบการไตรมาส 1/2019 ว่าสินค้าจะยังขาดตลาดต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 3/2019 แต่ตอนนี้เราเข้าสู่ไตรมาส 4 กันเรียบร้อยแล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น และต้องเรียกว่าแย่ลงด้วยซ้ำ
ล่าสุดอินเทลต้องออกจดหมายขอโทษต่อลูกค้าและพาร์ทเนอร์ลงเว็บไซต์ ยอมรับแต่โดยดีว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาซีพียูขาดตลาดได้ตามที่สัญญาไว้
Intel NUC ภายใต้รหัสพัฒนา Frost Canyon ที่เคยมีข่าวหลุดออกมา ตอนนี้ Intel ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในชื่อ NUC 10 ใช้ซีพียู Intel Core รุ่นที่ 10 โดย Intel เคลมว่า NUC รุ่นใหม่นี้ออกแบบมาเพื่อโฮมออฟฟิศหรือธุรกิจขนาดเล็ก มีรุ่น Kits ที่ให้ผู้ใช้เลือกสตอเรจ, แรมและระบบปฏิบัติการมาติดตั้งได้ด้วยตัวเอง
Intel NUC 10 จะแชร์สเปกโดยรวมร่วมกันตามนี้:
ที่งาน Supercomputing 2019 อินเทลเปิดตัวชิปกราฟิกชื่อรหัส Ponte Vecchio โดยออกแบบมาสำหรับงานศูนย์ข้อมูลเพื่อการประมวลผลข้อมูลแบบขนาน มากกว่าจะใช้แสดงกราฟิกจริงๆ
Ponte Vecchio ใช้สถาปัตยกรรม Intel Xe ผลิตที่เทคโนโลยี 7 นาโนเมตร ภายในแพ็กเกจมีหน่วยความจำในตัวเชื่อมต่อกับตัวชิปกราฟิกแบบแบนวิดท์สูง และเชื่อมต่อกับชิปอื่นภายนอกด้วยระบบเชื่อมต่อ Compute Express Link
Intel NUC มินิพีซีจากอินเทลมีข่าวหลุดจากเว็บไซต์ของประเทศจีนชื่อ Kgula ว่า NUC รุ่นใหม่ภายใต้โค้ดเนม Frost Canyon จะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ โดยทาง Liliputing กล่าวว่ามินิพีซีรุ่นใหม่นี้จะติดตั้งซีพียู Intel 10th Gen สถาปัตยกรรม Comet Lake และเลือกได้ตั้งแต่ Intel Core i3, i5, i7 แต่กราฟิกการ์ดบนซีพียูจะเป็น Intel UHD Graphics เท่านั้น
ตัวเครื่องของ Intel NUC รุ่นใหม่นี้จะมีสองขนาด โดยขนาดเล็กจะติดตั้งสตอเรจได้แค่ SSD แบบ M.2 เท่านั้น ส่วนขนาดใหญ่จะรองรับทั้ง SSD แบบ M.2 และฮาร์ดดิสก์ SATA ขนาด 2.5 นิ้ว รองรับแรมสูงสุด 64GB ส่วนสเปกของซีพียู Intel ทั้งสามรุ่นมีดังนี้:
ทีมวิจัยรายงานช่องโหว่ Zombieload v2 หรือ CVE-2019-11135 ช่องโหว่การอ่านหน่วยความจำที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยอาศัยกระบวนการทำงานของชุดคำสั่ง TSX (transactional memory) ทำให้โปรเซสมุ่งร้ายสามารถอ่านข้อมูลในหน่วยความจำที่ไม่มีสิทธิ์ เช่น กรณีการใช้เครื่องเสมือน (virtual machine - VM) บนคลาวด์ เครื่องที่มุ่งร้ายก็อาจจะไปอ่านข้อมูลของเครื่องอื่นได้
ซีพียูที่ได้รับผลกระทบเป็นซีพียูที่รองรับชุดคำสั่ง TSX และต้องเปิดคำสั่ง TSX Asynchronous Abort (TAA) ไว้ โดยรวมแล้วมีซีพียูที่ได้รับผลกระทบ เป็นตระกูล Whiskey Lake (Core รุ่นที่ 8 ตระกูล U), Cascade Lake (Xeon Scalable รุ่นที่ 2), และ Coffee Lake R (Core รุ่นที่ 9)
อินเทลเปิดตัวชิปปัญญาประดิษฐ์ชุดใหม่ NNP-T1000 และ NNP-I1000 คู่ชิปสำหรับการฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการรันโมเดล
ชิป NNP-T1000 (Spring Crest) เป็นชิปสำหรับฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ ประสิทธิ์ภาพ 119 TOPS สำหรับการคำนวณ bfloat16 มีแรมบนชิปโดยตรง 60MB จุดขายสำคัญคือการสื่อสารประสิทธิภาพสูงระหว่างชิป ที่สามารถรันโมเดล เช่น Resnet-50 หรือ BERT ที่การ์ด 32 ใบบนเครื่องเดียวกัน และยังได้ประสิทธิภาพ 95% ของพลังประมวลผลดิบ (near linear scaling) ทำให้ฝึกโมเดลขนาดใหญ่มาก เช่น BERT-large ที่มีขนาดใหญ่กว่า 500MB โดยยังได้ประสิทธิภาพสูง
ชิปตัวนี้เป็นความร่วมมือกับไปตู้ ในฐานะผู้ใช้คนแรกๆ
อินเทลเปิดตัว Core i9-9900KS Special Edition บูสต์คล็อคแตะ 5GHz พร้อมกัน 8 คอร์ มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่ชิปประสบปัญหาล่าช้าจนเพิ่งวางขายได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เราคงต้องถือว่า Core i9-9900KS Special Edition คือซีพียูเดสก์ท็อปของอินเทลที่แรงที่สุดในตอนนี้ (และน่าจะถือเป็นซีพียูตัวท็อปสุดของยุค 14 นาโนเมตรแล้ว) ซึ่งอินเทลก็โฆษณาว่ามันคือซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปเกมมิ่งที่ทรงพลังที่สุด
ถ้ายังจำกันได้ อินเทลมีสินค้าซีพียูกลุ่ม 10th Gen สองสายคือ Ice Lake ที่เป็น 10 นาโนเมตร และ Comet Lake ที่เป็น 14 นาโนเมตร
ก่อนหน้านี้ อินเทลเปิดตัวซีพียูกลุ่ม Comet Lake กลุ่มโน้ตบุ๊ก U-Series และ Y-Series ในระดับ Core i3, i5, i7 ออกมา ล่าสุดอินเทลทยอยเปิดตัว Comet Lake ในระดับที่ต่ำกว่านั้นอีกเพิ่มเติม ได้แก่ Pentium Gold และ Celeron
ซีพียูใหม่ออกมา 2 ตัวคือ Pentium 6405U (2 คอร์ 4 เธร็ด, คล็อค 2.4GHz) และ Celeron 5205U (2 คอร์ 2 เธร็ด, คล็อค 1.9GHz)
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 รายได้รวม 19,190 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ถือเป็นสถิติใหม่สูงสุดประจำไตรมาส และมีกำไรสุทธิ 5,990 ล้านดอลลาร์
อินเทลแบ่งกลุ่มธุรกิจเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพีซี (PC-centric) รายได้ส่วนนี้ลดลง 5% ขณะที่กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (Data-centric) รายได้เพิ่มขึ้น 6%
Bob Swan ซีอีโออินเทลกล่าวว่าหลายปีที่ผ่านมา อินเทลได้ปรับยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูล ซึ่งไตรมาสที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจนี้ก็เติบโตจนมีรายได้มากกว่าเกือบครึ่งหนึ่งของอินเทลแล้ว และคาดว่าไตรมาสที่ 4 ก็จะเติบโตทำสถิติใหม่อีกครั้ง
อินเทลเปิดตัวสถาปัตยกรรมภายใน (microarchitecture) สำหรับซีพียูพลังงานต่ำในชื่อ Tremont ที่เป็นตัวต่อจาก Goldmont Plus ที่ใช้ในซีพียู เช่น Pentium J5005, Celeron J4105, Pentium N5000 เป็นต้น โดยตัวสถาปัตยกรรม Tremont รองรับซีพียู 1-4 คอร์ ปรับขนาดแคชได้ 1.5-4.5MB
แม้จะเป็นซีพียูพลังงานต่ำ แต่อินเทลก็พยายามเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อรันโปรเซสแบบเธรดเดียวให้สูงขึ้น ชุดถอดรหัสคำสั่ง (instruction decode) เพิ่มขึ้นสองเท่าตัวเป็น 6 ชุด ตัวซีพียูสามารถรันคำสั่งไม่เรียงลำดับ (out-of-order) ได้มากกว่า 200 คำสั่ง โดยเฉลี่ยประสิทธิภาพดีขึ้นกว่า Goldmont Plus 30%
ฟีเจอร์คำสั่ง รองรับการเข้ารหัสหน่วยความจำแล้ว พร้อมกับการยืนยันซอฟต์แวร์ที่รันบนซีพียู (Boot Guard)