เราเห็นเทคนิคการสร้างเฟรมจากผู้ผลิตการ์ดจอ ทั้ง DLSS 3 ของ NVIDIA และ FSR 3 ของ AMD ล่าสุดฝั่งอินเทลก็เริ่มขยับแล้ว ด้วยการนำเสนอเปเปอร์เทคนิค ExtraSS ในงาน SIGGRAPH Asia 2023 ที่ซิดนีย์เมื่อสัปดาห์ก่อน
เทคนิคการสร้างเฟรมของอินเทลเรียกว่า ExtraSS โดยเป็นการต่อยอดจากเทคนิคการอัพสเกลภาพ Intel XeSS ที่มีอยู่ก่อน ความแตกต่างของ ExtraSS กับ DLSS 3/FSR 3 คืออินเทลใช้วิธีการสร้างเฟรมแบบ Extrapolation ในขณะที่ค่ายอื่นใช้วิธี Interpolation
สัปดาห์ที่แล้วอินเทลเปิดตัวชิป Core Ultra และ Xeon รุ่นที่ 5 โดยชูจุดขายด้าน AI เต็มรูปแบบ หลังงานในช่วงถามตอบนักข่าว Pat Gelsinger ก็ออกมาพูดถึง NVIDIA ว่ามีความได้เปรียบจาก CUDA ไม่มากนัก และทั้งอุตสาหกรรมก็กำลังย้ายการพัฒนาไปอยู่บน layer ที่สูงขึ้นเป็นภาษา Python เพื่อให้พอร์ตโมเดลไปมาได้
เขาระบุว่าในตอนนี้หากโมเดลฝึกเสร็จแล้วก็มีทางเลือกในการรันที่ต่างๆ และระบบการรันนั้นก็มักไม่ต้องการ CUDA อีกแล้ว และเขาเชื่อว่าชิปฝั่งรันโมเดลนั้นเป็นตลาดกระแสหลักในอนาคต (where the game will be)
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ Xeon รุ่นที่ 5 ชื่อรหัส Emerald Rapids อัพเกรดจาก Xeon Scalable รุ่นที่ 4 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยยังสามารถอัพเกรดในเครื่องเดิมได้ ความเปลี่ยนแปลง ได้แก่
อินเทลเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ Core Ultra หรือโค้ดเนม Meteor Lake ที่เคยประกาศข่าวไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากการปรับแบรนด์ใหม่ครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ยังใส่ชิป NPU สำหรับเร่งการประมวลผล AI และเป็นชิปรุ่นแรกที่ใช้กระบวนการ Intel 4 (EUV) รุ่นใหม่ล่าสุดของอินเทลด้วย
Core Ultra ยังใช้เลขห้อยหลัง 5, 7, 9 แบบเดียวกับที่เราคุ้นเคย และมีตัวอักษรห้อยบอกการใช้พลังงานคือ H (28 วัตต์หรือสูงกว่า) ใช้จีพียู Arc กับ U (15 วัตต์หรือต่ำกว่า) ใช้จีพียู Intel Graphics สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเลขประจำรุ่นซีพียูลดลงมาเหลือ 3 หลัก แทนระบบเลข 4 หลักแบบเดิม
Ericsson เปิดตัวชิปประมวลผลสัญญาณ Ericsson Silicon รุ่นใหม่ที่ใช้กับอุปกรณ์เครือข่าย 5G Advanced แบรนด์ RAN (Radio Access Networks) Compute จำนวนทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ได้แก่รุ่นอินดอร์ (6678, 6672) และรุ่นเอาท์ดอร์ (6372, 6355)
จุดเด่นของชิป Ericsson Silicon รุ่นใหม่คือประสิทธิภาพการประมวลผลที่ดีขึ้น รองรับปริมาณทราฟฟิกได้เพิ่มขึ้น 4 เท่า และประหยัดพลังงานขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ชิปตัวนี้เป็นชิปแบบคัสตอมที่ Ericsson ออกแบบขึ้นเอง และประเด็นที่น่าสนใจคือใช้วิธีจ้างโรงงานอินเทล (Intel Foundry Service หรือ IFS) โดยใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ Intel 4 ด้วย
Tavis Ormandy จาก Project Zero ของกูเกิลรายงานถึงช่องโหว่ Reptar (CVE-2023-23583) ที่อาศัย bit ที่ไม่ได้ใช้งานของคำสั่ง MOVSB ที่ใช้ย้ายข้อมูลเข้าไปยัง register เมื่อรันคำสั่งที่ผิดพลาดแบบนี้อย่างจงใจจะทำให้ซีพียูหลุดไปสู่สถานะที่ไม่ได้กำหนดการทำงานไว้ ส่งผลให้เครื่องแครชไปได้ทั้งเครื่อง แม้จะรันโค้ดอยู่ใน virtual machine ที่ถูกจำกัดสิทธิ์ไว้ก็ตาม
บั๊กนี้เกิดจากฟีเจอร์ Fast Short Repeat Move (FSRM) ที่เป็นฟีเจอร์สำหรับย้ายสตริงด้วยความเร็วสูง ในซีพียูที่เปิดฟีเจอร์นี้ไว้และสั่งคำสั่ง MOVSB โดยใส่ค่า prefix ของ register ให้ผิดพลาดอย่างจงใจ ซีพียูจะหลุดเข้าไปอยู่ใน state ที่ผิดพลาดและ halt หยุดการทำงานไปเลย โดย FSRM นั้นเพิ่มเข้ามาตั้งแต่ซีพียู Ice Lake ขึ้นมา
MLCommons เปิดผลทดสอบ MLPerf 3.1 การทดสอลคอมพิวเตอร์ฝึกปัญญาประดิษฐ์โดยช่วงหลังความสนใจไปอยู่ที่การฝึกโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language model - LLM) รอบนี้ NVIDIA ยังคงสามารถโชว์เครื่องที่ฝึกได้เร็วที่สุด จากบริษัทที่ส่งผลทดสอบเข้าร่วม 3 รายหลัก คือ NVIDIA, Intel, และ Google
NVIDIA อาศัยเครื่อง NVIDIA Eos ภายในมีชิป NVIDIA H100 ทั้งหมด 10,752 ใบ จำนวนมากกว่าเครื่องเดิมที่เคยส่งผลทดสอบ 3 เท่าตัว เวลาฝึก GPT3 เหลือเพียง 3.9 นาทีเท่านั้น และยังได้พลังประมวลผลเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า คิดเป็นประสิทธิภาพการสเกลเครื่อง 93%
Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล ประกาศในงาน Intel Innovation Day Taiwan ว่าบริษัทจะเริ่มทดสอบกระบวนการผลิตขนาด 18A ในไตรมาส 1 ปี 2024 แล้ว ซึ่งยังเดินหน้าไปตามแผนเดิมของบริษัทที่จะผลิตจริงในปี 2025
ยุทธศาสตร์ของอินเทลในยุค Gelsinger คือต้องการทวงความเป็นผู้นำในแง่กระบวนการผลิตกลับคืนมา หลังจากติดหล่ม 14nm อยู่นานหลายปี และโดนคู่แข่งอย่าง TSMC และซัมซุงแซงหน้าไปไกล แนวทางของ Gelsinger คือเร่งอัพเกรดกระบวนการผลิต 5 ครั้งให้ได้ภายใน 4 ปี (5 nodes in 4 years) ซึ่งล่าสุดยังเดินหน้าได้ตามแผน
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2023 รายได้รวมลดลง 8% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 14,158 ล้านดอลลาร์ กำไรสุทธิอยู่ที่ 310 ล้านดอลลาร์ ตามบัญชี GAAP
ส่วนธุรกิจ Client Computing (พีซี) รายได้ 7,867 ล้านดอลลาร์ ลดลง 3% กลุ่ม Data Center and AI 3,814 ล้านดอลลาร์ ลดลง 10% จากการแข่งขันในตลาดที่มากขึ้น รวมถึงภาพรวมตลาดก็หดตัว กลุ่ม Network and Edge รายได้ 1,450 ลดลง 32% Mobileye รายได้ 530 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 18% และธุรกิจรับผลิตชิป Intel foundry รายได้โตเกือบ 4 เท่าตัว เป็น 311 ล้านดอลลาร์
อินเทลเปิดตัวซีพียู Intel Core 14th Generation สำหรับเดสก์ท็อป โค้ดเนม Raptor Lake-S Refresh ตามข่าวที่หลุดมาก่อนหน้านี้ โดยซีพียูกลุ่มนี้ยังนับ Gen ตามระบบเดิม ต่างจากซีพียูโน้ตบุ๊กที่เปลี่ยนไปใช้แบรนด์ใหม่ Core Ultra แทนแล้ว
ซีพียูชุดแรกมีทั้งหมด 6 รุ่นย่อย โดยแบ่งเป็นรุ่น K ที่มีจีพียู UHD 770 และ KF ที่ไม่มีจีพียู ได้แก่
อินเทลประกาศแผนแยกธุรกิจกลุ่ม PSG หรือ Programmable Solutions Group ออกไปเป็นบริษัทอิสระ เพื่อให้มีความคล่องตัวและสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น โดยให้ Sandra Rivera รองประธานของอินเทลเป็นซีอีโอใหม่ของธุรกิจนี้ คาดว่าจะมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2024 เป็นต้นไป จากนั้นบริษัทใหม่นี้จะไอพีโอเข้าตลาดหุ้นภายใน 2-3 ปี
ก่อนหน้านี้อินเทลก็แยกบริษัทส่วนธุรกิจพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ Mobileye ออกเป็นบริษัทอิสระ และไอพีโอเข้าตลาดหุ้นเมื่อปีที่แล้ว จึงคาดว่าส่วนธุรกิจ PSG จะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน
ASUS ทำพิธีเซ็นสัญญาซื้อธุรกิจ Next Unit of Computing (NUC) จากอินเทล ตามที่ประกาศไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม
ในเบื้องต้น ASUS จะรับช่วงการผลิตและขาย NUC รุ่นเดิม 10th-13th Gen (เริ่มขายมาตั้งแต่ 1 กันยายน เพิ่งมาทำพิธีเซ็นสัญญา) ส่วนในระยะยาวก็จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ NUC รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดต่อไป
ASUS ตั้งหน่วยธุรกิจ NUC BU ขึ้นมาใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ว่าต้องการขายสินค้า edge computing สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดย ASUS จะรับโอนพนักงานของอินเทลมาจำนวนหนึ่งด้วย
อินเทลประกาศวางขายซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ 5th Gen Xeon Scalable โค้ดเนม Emerald Rapids ในวันที่ 14 ธันวาคม 2023 (พร้อมกับ Core Ultra ของฝั่งโน้ตบุ๊ก)
การออก Xeon 5th Gen ช่วงปลายปี ทำให้ปีนี้อินเทลออก Xeon ได้ถึง 2 รุ่นคือ 4th Gen Xeon Sapphire Rapids เมื่อเดือนมกราคม หลังจากล่าช้ามานานหลายปี และออก 5th Gen ตามต่อทันทีได้ตอนปลายปี ถือเป็นสัญญาณอันดีว่าอินเทลเริ่มกลับเข้ามาอยู่ในร่องในรอยมากขึ้นแล้ว
อินเทลเผยรายละเอียดของซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นถัดไป รหัส Meteor Lake หรือชื่อแบรนด์ใหม่ Intel Core Ultra ว่าจะเริ่มวางขาย 14 ธันวาคม 2023
ข้อมูลหลายอย่างของ Meteor Lake เป็นสิ่งที่เคยประกาศมาก่อนแล้ว แต่อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมบ้าง เช่น
อินเทลประกาศบรรลุข้อตกลงที่จะขายหุ้น IMS Nanofabrication (IMS) คิดเป็น 10% ให้กับ TSMC เป็นเงิน 430 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ TSMC ให้มูลค่า IMS ที่ 4.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมูลค่านี้เท่ากับราคาที่อินเทลขายหุ้น IMS 20% ให้กองทุน Bain Capital ก่อนหน้านี้
อินเทลบอกว่าหลังดีลขายหุ้นนี้ บริษัทยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน IMS ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินงานแยกออกจากอินเทล มี Dr. Elmar Platzgummer เป็นซีอีโอ
IMS เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี Multi-Beam Mask Writer ซึ่งใช้ในการพัฒนา EUV ที่เป็นพื้นฐานเทคโนโลยีของการผลิตชิปขั้นสูง โดยอินเทลซื้อกิจการ IMS มาในปี 2015
อินเทลเปิดตัวมาตรฐานการเชื่อมต่อ Thunderbolt 5 ซึ่งเป็นรุ่นถัดจาก Thunderbolt 4 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยอินเทลบอกว่าแบนด์วิธในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 เท่าจาก Thunderbolt 4
แบนด์วิธในการส่งข้อมูลปกติจะอยู่ที่ 80 Gbps ตามที่เคยให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ แต่สามารถใช้การส่งข้อมูลแบบ Bandwidth Boost ที่เพิ่มขาส่งข้อมูลเป็น 120 Gbps เหมาะกับงานของสายครีเอเตอร์ เกมเมอร์ และมืออาชีพที่เน้นงานแสดงผลประสิทธิภาพสูงสุด รองรับการแสดงผลระดับ 8K หลายหน้าจอ
ASUS นำสินค้ากลุ่ม NUC มาขึ้นหน้าเว็บอย่างเป็นทางการแล้ว หลังประกาศรับช่วงสินค้ากลุ่ม NUC ต่อจากอินเทลเมื่อเดือนกรกฎาคม
สินค้า NUC ชุดแรกที่ขายโดย ASUS ได้แก่ NUC 13 Pro สำหรับภาคธุรกิจ และ NUC 13 Extreme สำหรับกลุ่มเกมเมอร์ โดยเป็นเครื่องรุ่นเดียวกับของอินเทลทุกประการ แม้กระทั่งโลโก้คำว่า Intel NUC ก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่าตามที่ Arm เตรียมนำบริษัทไอพีโอซื้อขายในตลาดหุ้น ล่าสุดมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายรายตกลงที่จะร่วมลงทุนผ่านไอพีโอด้วยเช่นกัน
บริษัทที่ระบุถึงได้แก่ Apple, NVIDIA, Alphabet, AMD, Intel, Samsung Electronics, Cadence Design Systems และ Synopsys โดยจะร่วมลงทุนที่มูลค่ากิจการราว 5-5.5 หมื่นล้านดอลลาร์
ข้อมูลบอกว่า Apple, NVIDIA และอีกหลายบริษัท จะซื้อหุ้นเป็นมูลค่ารายละประมาณ 25-100 ล้านดอลลาร์ โดยมองเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ เนื่องจากทุกรายต่างเป็นลูกค้าสำคัญของ Arm อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามบริษัทที่ระบุว่าปฏิเสธร่วมลงทุนรอบนี้คือ Amazon ซึ่งไม่ได้ให้ข้อมูลว่าทำไม
ในงาน TechTour.MY อินเทลพูดถึงการบุกตลาดปัญญาประดิษฐ์ ว่ายังมีโอกาสที่อินเทลจะบุกตลาดปัญญาประดิษฐ์่ว่าตลาดกว้างกว่าการใช้ชิปพลังประมวลผลสูงๆ มาฝึกปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่มาก และอินเทลยังน่าจะบุกตลาดเหล่านั้นได้
Alexis Crowell ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายโซลูชั่นเทคโนโลยี, ซอฟต์แวร์, และบริการของ Intel Asia Pacific พูดถึงการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ว่ายังมีงานขนาดเล็กที่ใช้งานกับชิปอื่นๆ นอกจาก GPU หรือแม้แต่งานแบบ LLM ที่อินเทลยังคงพยายามผลักดัน Gaudi2 โดย Crowell ระบุว่าตลาดกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ทำให้น่าจะมีพื้นที่ให้ผู้ผลิตชิปหลายรายในตลาด
มีเอกสารหลุดของ MSI ให้ข้อมูลของซีพียู Intel 14th Gen Core "Raptor Lake-S Refresh" สำหรับเดสก์ท็อป ที่จะเปิดตัวในเดือนกันยายนนี้ ประเด็นคือ ประสิทธิภาพของ 14th Gen ดีขึ้นจาก 13th Gen เฉลี่ยเพียง 3% เท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าเป็นแกน Raptor Lake ตัวเดียวกัน และใช้กระบวนการผลิต 10nm (Intel 7) เหมือนกัน
ตารางของ MSI ให้ข้อมูลว่าเราจะได้เห็น 14th Gen Core อย่างน้อย 3 รุ่นย่อยในชุดแรกคือ Core i5-14600K, Core i7-14700K, Core i9-14900K
ซีพียูบางรุ่นย่อย เช่น Core i7-14700K มีได้อัพเกรดคอร์เพิ่ม คือ 8P+12E เทียบกับรุ่นเดียวกันตัวก่อน Core i7-13700K ที่ใช้ 8P+8E ทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17% จากจำนวน E-core ที่เพิ่มขึ้น
อินเทลเปิดพาสื่อมวลชนทั่วโลกชมโรงงงานผลิตชิปในปีนัง ในชื่องาน TechTour.MY แสดงให้เห็น supply chain ของกระบวนการผลิตชิปว่ามีขั้นตอนที่ซับซ้อนเพียงใดบ้าง และโรงงานในมาเลเซียมีส่วนร่วมในสายการผลิตและการพัฒนาชิปรุ่นใหม่ของอินเทลมากน้อยเพียงใด
โรงงานของอินเทลในมาเลเซียนั้นเป็นโรงงานนอกสหรัฐฯ แห่งแรกของอินเทล เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1972 เริ่มต้นจากโรงงานที่มีพนักงานหนึ่งร้อยคน จนขยายมาเป็น 16 อาคาร รวมพื้นที่ใช้สอย 650,000 ตารางเมตร (7 ล้านตารางฟุต) และอินเทลโชว์ตัวเลขว่าที่ผ่านมาลงทุนในมาเลเซียไปแล้ว 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเตรียมลงทุนเพิ่มอีก 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อประมาณ 1 ปีที่แล้วพอดี อินเทลเปิดตัวจีพียู Intel Arc ชุดแรก ที่รันเกมยุคใหม่ DirectX 12 ออกมาประสิทธิภาพดี แต่มีปัญหากับเกมเก่าๆ ที่เป็น DirectX 11 ลงไป ซึ่งอินเทลยอมรับปัญหาและสัญญาว่าจะแก้ผ่านไดรเวอร์
ในรอบปีที่ผ่านมา อินเทลทยอยอัพเดตไดรเวอร์และปรับปรุงประสิทธิภาพของเกม DirectX 9 (เช่น Counter-Strike หรือ League of Legends) ให้ดีขึ้นกว่าเดิมแล้ว ล่าสุดอินเทลออกไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่ ปรับปรุงเกม DirectX 11 ให้เฟรมเรตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19% และในกรณีที่ดีที่สุดเพิ่มขึ้นถึง 33%
อินเทลประกาศความร่วมมือกับ Synopsys ผู้สร้างซอฟต์แวร์ออกแบบชิปชื่อดัง เพื่อขยายความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์ EDA (electronic design automation) และทรัพย์สินทางปัญญา แบบแปลนชิปต่างๆ ของ Synopsys ให้ทำงานร่วมกับกระบวนการผลิต Intel 3 และ Intel 18A ของธุรกิจรับจ้างผลิตชิป Intel Foundry Services (IFS)
ผลคือบริษัทออกแบบชิปที่ไม่มีโรงงาน และใช้ซอฟต์แวร์ของ Synopsys จะเข้าไปจ้างอินเทลผลิตชิปได้ง่ายขึ้นในอนาคต (เมื่อ Intel 3 เริ่มใช้งานในปี 2024, ตอนนี้ยังเป็น Intel 7 ที่ใช้ใน Raptor Lake) ตามแผนธุรกิจ IDM 2.0 ของอินเทล ที่เปิดโรงงานของตัวเองให้คนนอกเข้ามาจ้างผลิตได้ด้วย
อัพเดต: อินเทลยืนยันการยกเลิกดีลซื้อกิจการนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
โดยอินเทลแถลงว่าบริษัทได้หารือร่วมกับ Tower Semiconductor มีข้อตกลงที่จะยกเลิกดีลซื้อขายกิจการ ซึ่งประกาศไว้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่า 5.4 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากไม่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งอินเทลจะจ่ายค่ายกเลิกสัญญานี้เป็นเงิน 353 ล้านดอลลาร์ ให้กับ Tower
Pat Gelsinger ซีอีโออินเทลกล่าวว่าแผนงาน IDM 2.0 ของบริษัทยังคงเดินหน้าต่อไป และอินเทลจะมองหาโอกาสเพื่อร่วมมือกับ Tower ต่อไปในอนาคต
ซอฟต์แวร์ของวงการ AI ตอนนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่โครงการ PyTorch ที่ริเริ่มโดย Facebook/Meta แต่ปีที่แล้ว 2022 โอนโครงการมาให้ PyTorch Foundation ดูแลแทน
PyTorch เป็นเหมือนซอฟต์แวร์ AI หลายๆ ตัวที่ยุคแรกรองรับเฉพาะจีพียู NVIDIA เท่านั้น แต่ภายหลังในยุค PyTorch 2.0 ก็รองรับจีพียู AMD มากขึ้น โดยมีศักดิ์ฐานะเท่ากับจีพียู NVIDIA แล้ว ไม่ต้องรออัพเดตตามหลังอีกต่อไป