Tegra 3 เคยเป็นหน่วยประมวลผลยอดนิยมของปี 2012 ในช่วงต้นๆ ปี ก่อนจะโดนคู่แข่งคือ Snapdragon S4 แซงหน้าและกวาดลูกค้าไปได้มากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ก็คงใกล้ถึงเวลาที่เราจะเห็น Tegra 4 ออกมาโต้กลับบ้าง
เราเคยเห็นแผนการคร่าวๆ ของ NVIDIA มาก่อนหน้านี้ว่า หน่วยประมวลผลรหัส Wayne จะออกช่วงต้นปี 2013 ซึ่งล่าสุดมีข้อมูลละเอียดของ Wayne หลุดมาจากเว็บจีนชื่อ Chip Hell ครับ
ข้อมูลเท่าที่เห็นจากสไลด์ที่หลุดออกมาคือ
NVIDIA แถลงผลประกอบการไตรมาสสาม รายได้เพิ่มเป็น 1.2 พันล้านดอลลาร์ หรือเพิ่ม 15.3% จากปีก่อน และกำไร 209 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 75.6% จากปีก่อน
รายได้ของ NVIDIA เพิ่มขึ้นในทุกสายผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น GPU ทั้งสาย GeForce/Quadro รวมถึงสินค้าคอนซูเมอร์อย่างมือถือและแท็บเล็ต ที่น่าสนใจที่สุดคืออย่างหลัง เพราะแท็บเล็ตชื่อดังหลายรุ่นอย่าง Nexus 7 และ Surface ต่างก็ใช้ Tegra 3 เป็นหน่วยประมวลผล บริษัทคาดว่าปีนี้จะมีแท็บเล็ต Tegra 3 วางขายทั้งหมด 30 ล้านเครื่อง
NVIDIA ระบุว่ารายได้จากสินค้ากลุ่มที่ไม่ใช่พีซี มีสัดส่วน 30% ของรายได้ทั้งหมดแล้ว เพิ่มจากสามปีก่อนที่คิดเป็นสัดส่วนแค่ 7% ของรายได้ทั้งหมด
วงการเกมบนลินุกซ์มีความหวังครั้งสำคัญอยู่ที่การเปิดตัวบริการ Steam for Linux ที่จะพาเกมจำนวนมากมาซัพพอร์ตลินุกซ์เต็มตัว หลังการประกาศรับสมัครผู้ทดสอบเบต้าก็มีคนสมัครไปกว่า 60,000 คน และตอนนี้ผู้ร่วมทดสอบรอบแรก 1,000 คนก็ถูกเลือกและเริ่มทดสอบกันแล้ว สำหรับเวอร์ชั่นแรกจะซัพพอร์ตเฉพาะ Ubuntu 12.04 เท่านั้นก่อน ส่วนดิสโทรอื่นๆ จะซัพพอร์ตในอนาคต
พร้อมๆ กันนี้ทาง NVIDIA ก็ประกาศไดร์เวอร์ R310 สำหรับลินุกซ์ที่ให้ประสิทธิภาพดีกว่าเดิมเท่าตัว นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าเมื่อมีตลาดเกมลงมาบนลินุกซ์ ไดร์เวอร์ต่างๆ ก็ได้รับความใส่ใจกันดีขึ้น
ทีมงาน Steam ระบุว่าเมื่อทดสอบแล้วพบว่าความเข้ากันได้กับเครื่องที่หลากหลายและการทำงานมีประสิทธิภาพดีพอแล้ว จึงจะเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ Steam ทั้งหมด
NVIDIA เปิดตัวการ์ดจอตระกูล Kepler ใหม่อีกสองตัวคือ GeForce GTX 660 และ GeForce GTX 650
GeForce GTX 660 มี CUDA core จำนวน 960 คอร์, หน่วยความจำ 2GB, memory bandwidth 144 GB/s, กินพลังงาน 150 W, ต่อ SLI ได้ 2 ตัว ราคา 229 ดอลลาร์ ถือเป็นรุ่นกลางที่ลดหลั่นลงมาจาก GeForce 670 ที่เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม
GeForce GTX 650 มี CUDA core จำนวน 384 คอร์, หน่วยความจำ 1GB, memory bandwidth 80 GB/s, กินพลังงาน 64 W, ต่อ SLI ไม่ได้, ราคา 109 ดอลลาร์ น่าจะเป็น Kepler รุ่นสำหรับเดสก์ท็อปที่ถูกที่สุดไปอีกนาน (อัพเดต มี GT 640 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ถูกกว่าคือ 99 ดอลลาร์)
ความสัมพันธ์ของ NVIDIA กับโลกของลินุกซ์นั้นไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากบริษัทไม่ยอมปล่อยซอร์สไดรเวอร์ GPU ของตัวเอง และไดรเวอร์แบบปิดซอร์สก็มีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร
แต่สัญญาณความร่วมมือในช่วงหลังก็เป็นไปในทางบวกมากขึ้น เพราะวิศวกรของ NVIDIA ออกมาให้ข้อมูลว่ากำลังพัฒนาไดรเวอร์ของฟีเจอร์ Optimus (การสลับ GPU อัตโนมัติ) บนลินุกซ์อยู่ โดยจะทำงานร่วมกับนักพัฒนาสายโอเพนซอร์ส ที่เตรียมโครงสร้างของฝั่ง X.Org ให้ใช้งานร่วมกับไดรเวอร์แบบปิดของ NVIDIA ได้ดีขึ้น
ตอนนี้ไดรเวอร์ฝั่ง NVIDIA เพิ่งอยู่ในช่วงทดสอบความสามารถนี้ คนที่อยากใช้คนต้องรอกันอีกหน่อย
เพิ่งเปิดตัว ThinkPad Tablet รุ่นรัน Windows 8 ไปได้ไม่นาน ก็มีข่าวจาก The Wall Street Journal (WSJ) รายงานว่าเลอโนโว เพิ่งจับมือกับ NVIDIA เพื่อทำแท็บเล็ตรัน Windows 8 RT ตรงกับข่าวลือก่อนหน้า ที่ระบุว่าไมโครซอฟท์ให้ผู้ผลิตชิปเลือกจับมือกับผู้ผลิตตัวเครื่องทำแท็บเล็ต Windows RT แล้ว
แหล่งข่าวของ WSJ ยังพูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่เป็นโน้ตบุ๊กแบบพับซึ่งสามารถพับหน้าจอเพื่อใช้งานเป็นแท็บเล็ตได้ จากรายละเอียดแล้วน่าจะเป็นต้นแบบที่เคยโชว์ในงาน CES 2012 อย่างเจ้า IdeaPad Yoga นั่นเอง
หลังจากที่ NVIDIA ได้ประกาศ GPU รุ่นใหม่ "GK104" บนสถาปัตยกรรม Kepler ไปเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป อย่าง GeForce GTX690 และ GeForce GTX670 และการ์ดการคำนวณโดยทั่วไป (general-purpose GPU) อย่าง Tesla K10 ออกมาแล้ว คราวนี้ก็ถึงคราวการ์ดกราฟิกสำหรับมืออาชีพอย่าง Quadro เสียที
Quadro K5000 เป็นการ์ดกราฟิกสำหรับมืออาชีพที่ใช้ชิป GK104 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ว่ามาแล้วทั้งหมด โดยเป็นรุ่นที่มาแทน Quadro 5000 ซึ่งใช้ชิพรุ่นเก่าบนสถาปัตยกรรม Fermi (GF100) Quadro K5000 จะมีราคาตั้งอยู่ที่ 2,249 เหรียญสหรัฐฯ และจะเริ่มวางขายในเดือนตุลาคมปีนี้
ขออนุญาตเขียนข่าวนี้รวมกับข่าวช่องโหว่ในตอนแรกด้วยเลยนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Dave Airlie วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่กับ Red Hat ฝ่ายกราฟิก ได้แจ้งช่องโหว่ของไดรเวอร์ NVIDIA บนลินุกซ์ โดยในรายละเอียดบอกว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบช่องโหว่นี้ แต่เขาได้รับช่องโหว่นี้จากบุคคลนิรนามรายนึงซึ่งอ้างว่าได้ส่งช่องโหว่นี้กับให้ทาง NVIDIA แล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ เลย บุคคลนิรนามที่ค้นพบช่องโหว่แสดงความต้องการให้ช่องโหว่นี้ได้รับการแพตซ์โดยเร็ว เขาจึงจำเป็นต้องประกาศช่องโหว่นี้ออกสู่สาธารณะ (mailling list)
มาตรฐาน Miracast หรือการส่งข้อมูลออกจอภาพด้วย Wi-Fi เริ่มได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง Qualcomm และ TI ประกาศเข้าร่วมมาก่อนหน้าแล้ว
ผู้ผลิตชิปรายล่าสุดคือ NVIDIA ที่บอกว่ายินดีสนับสนุน Miracast อย่างเต็มที่ โดยจะรอตัวมาตรฐานอย่างเป็นทางการออกเสียก่อน แล้วจะเผยข้อมูลต่อไปว่าผลิตภัณฑ์รุ่นไหนอย่างไรบ้างที่จะใช้งาน Miracast ได้ (โดยหลักแล้วมันเป็นการส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi ดังนั้นในฝั่งของมือถือ ขอแค่ซอฟต์แวร์อัพเดตก็น่าจะเพียงพอ)
ระหว่างนี้ก็ดูวิดีโอสาธิต Tegra 3 กับ Miracast ไปก่อนครับ
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง ASUS ออกมาเล่าเบื้องหลัง Nexus 7 ไปแล้ว คราวนี้ผู้ผลิตชิปอย่าง NVIDIA ขอพูดบ้าง
Mike Rayfield ผู้บริหารฝ่าย Tegra ของ NVIDIA ให้สัมภาษณ์ว่าต้นทุนของ Nexus 7 ที่ถูกลงมาก เป็นเพราะโครงการ Kai ที่มีองค์ประกอบหลายส่วน ตั้งแต่การใช้แรม DDR3L ที่ราคาถูก, เทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าขึ้น, ต้นทุนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกลงอยู่แล้ว และการเจรจาต่อรองของ NVIDIA กับผู้ผลิตชิ้นส่วนด้วย
เขายังเผยว่ามีแท็บเล็ตอีกหลายตัวที่สร้างบนแพลตฟอร์ม Kai เช่น Acer A110 และแท็บเล็ตสำหรับเด็ก Nabi 2
เมื่อวานหลังจากมีข่าว NVIDIA ถูกไลนัสด่ากลางห้องประชุมมหาวิทยาลัย วันนี้ทาง NVIDIA ก็ออกจดหมายข่าวตอบโต้แล้ว โดยระบุว่าปัญหาของเทคโนโลยี Optimus ที่เป็นคำถามจากนักศึกษาว่าทำไมลินุกซ์จึงได้รับซัพพอร์ตเทคโนโลยีนี้ช้ากว่าแพลตฟอร์มอื่น และต้องอาศัยการซัพพอร์ตจากชุมชนผ่านทางโครงการ Bumblebee นั้นทาง NVIDIA ได้ช่วยแก้ตัวติดตั้งไดร์เวอร์และไฟล์ Readme ให้สามารถทำงานร่วมกับ Bumblebee ได้ดีขึ้น
หลังจากไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวแท็บเล็ต Surface ก็มีข่าวและข้อมูลออกมาอย่างต่อเนื่อง เลยขอมาสรุปให้ฟัง ดังนี้
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์จะจิกกัดใครต่อใครเจ็บๆ แต่การขึ้นเวทีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ก็อาจจะเป็นพัฒนาขั้นใหม่ เมื่อเขาถูกถามความเห็นต่อไดร์เวอร์ของการ์ดจอ NVIDIA ในลินุกซ์ และได้ระเบิดอารมณ์ออกมา
ปัญหาของไดร์เวอร์การ์ดจอบนลินุกซ์นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน ผู้ผลิต (รวมถึง NVIDIA และ ATI) มักอ้างความลับทางการค้าทำให้ไม่ยอมเปิดซอร์สโค้ดของไดร์เวอร์หลัก ทำให้มีปัญหาทุกครั้งที่ต้องอัพเกรดเคอร์เนล ขณะที่ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชุมชนช่วยกันดูแลนั้นจะมีปัญหาเรื่องการอัพเกรดน้อยกว่า แต่ก็รองรับฟีเจอร์ในการ์ดน้อยกว่าเช่นกัน ไลนัสระบุว่ายิ่ง NVIDIA ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มากเพียงใด ก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับลินุกซ์มากขึ้นและซัพพอร์ตให้ดีกว่านี้
ข่าวลือก่อนเริ่มงาน WWDC สำหรับฝั่ง MacBook Pro ว่าอาจจะเปลี่ยนค่ายการ์ดจอจาก AMD (ที่เพิ่งเปลี่ยนมาไม่นาน) กลับไปใช้การ์ดจอของ NVIDIA อีกครั้ง หลังจากมีภาพหลุดบอร์ด MacBook Pro รุ่น 15" ตัวใหม่จากฟอรัมประเทศจีนชื่อว่า WeiPhone
ใครมีแผนจะซื้อโน้ตบุ๊กมาเล่นเกมคงต้องจำชื่อรุ่น GTX 680M กันไว้ดีๆ เพราะ NVIDIA นำจีพียูสถาปัตยกรรม Kepler ตัวใหม่ล่าสุดมาลงโน้ตบุ๊กแล้ว
NVIDIA GeForce GTX 680M ถือเป็นการ์ดจอ Kepler ตัวท็อปที่มาลงโน้ตบุ๊ก มันได้ฟีเจอร์ของรุ่นพี่ๆ มาครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น Optimus, CUDA, PhysX, 3D Vision 2, SLI โดยโน้ตบุ๊กตัวแรกที่จะวางขายพร้อม GTX 680M ก็คือ Alienware M17x (จีพียูเดี่ยว) และ M18x (จีพียูคู่) ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม คนที่เล็งโน้ตบุ๊กที่ใช้การ์ด GeForce 600M Series ต้องดูกันละเอียดหน่อย เพราะหลายรุ่นยังใช้สถาปัตยกรรม Fermi ตัวเก่าอยู่ครับ
ยุคสมัยของ Tegra 3 เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น โดย Mike Rayfield ผู้บริหารของ NVIDIA ให้สัมภาษณ์กับนักวิเคราะห์การเงินว่าเราจะได้เห็นอุปกรณ์ที่ใช้ Tegra 3 ทำตลาดประมาณ 30 รุ่นตลอดทั้งปีนี้ โดยอุปกรณ์จำนวน 15 รุ่นจะมีราคาต่ำกว่า 200 ดอลลาร์
NVIDIA ยังเน้นตลาดจีนอย่างเข้มข้น โดยอุปกรณ์ 18 รุ่นตั้งเป้าเจาะตลาดจีนเป็นหลัก เทียบกับปีที่แล้วที่ NVIDIA มีสินค้าบุกตลาดจีนเพียง 5 รุ่นเท่านั้น
อุปกรณ์ที่น่าจับตาที่สุดในช่วงนี้คงเป็น NVIDIA "Kai" ที่เพิ่งมีข่าวมาเมื่อเร็วๆ นี้
ที่มา - Android Central
วันนี้ NVIDIA จัดงานพบปะกับนักลงทุน ซึ่งผู้บริหาร Rob Csonger ก็ให้ข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ "Kai" ที่ตั้งใจออกมาจับแท็บเล็ตราคาถูก
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลของ Kai ชัดเจนนัก บริษัทบอกแค่ว่าต้องการนำพลังของ Tegra 3 มาจับตลาดแท็บเล็ตราคาถูก 199 ดอลลาร์ โดยยังคงพลังระดับควอดคอร์และทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 4.0 ICS อยู่ แต่ก็มียุทธศาสตร์อื่นๆ ในการลดต้นทุนการผลิต และลดพลังงานที่หน้าจอใช้งานลงมา
คาดว่า Kai เป็นฮาร์ดแวร์ต้นแบบของแท็บเล็ต Tegra 3 ที่กำหนดส่วนประกอบให้เหมาะสม และปรับแต่งให้เข้าที่ร่วมกับระบบปฏิบัติการ ไม่แน่ว่ามันอาจเป็นขุมพลังภายใน Nexus Tablet ที่มีข่าวลือกันมาตลอดก็เป็นได้
เราเห็นเทคโนโลยี virtualization และกลุ่มเมฆสำหรับซีพียูกันมาเยอะแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของจีพียูกันบ้างครับ
ยักษ์ใหญ่แห่งวงการจีพียูอย่าง NVIDIA เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ตัวรวด อย่างแรกคือแพลตฟอร์ม GPU virtualization ที่ใช้กับระบบเดสก์ท็อปเสมือน (virtual desktop infrastructure - VDI) ภายในองค์กร ช่วยเร่งความเร็วของกราฟิกบนเดสก์ท็อปได้มากขึ้น
แพลตฟอร์มตัวนี้ชื่อว่า NVIDIA VGX มันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์เป็นบอร์ดพิเศษไว้เสียบกับเซิร์ฟเวอร์ VDI ยี่ห้ออื่นๆ ผ่านพอร์ต PCI Express บอร์ดตัวนี้เสียบจีพียูได้ 4 ตัว, แรม 16GB นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ VGX GPU Hypervisor สำหรับสร้างจีพียูเสมือน และ NVIDIA User Selectable Machines (USMs) ไว้จัดสรรทรัพยากรแก่ผู้ใช้แต่ละคน
ก่อนหน้านี้ข่าวลือเกี่ยวกับ MacBook Pro ใหม่ให้ข้อมูลไม่ชัดเจนนักเรื่องการ์ดจอ แต่ตอนนี้มีรายงานเข้ามาเพิ่มว่าแอปเปิลได้เลือกกลับมาใช้ NVIDIA อีกครั้งหลังจากใช้ AMD มาได้ซักระยะ โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากทั้ง ABC News และ The Verge แล้ว โดยคาดว่ารุ่นที่แอปเปิลได้เลือกใช้คือ GeForce GT 650M ตามข่าวก่อนหน้านี้
NVIDIA แถลงผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปี (นับถึงสิ้นเดือนเมษายน 2012) รายรับรวมอยู่ที่ 925 ล้านดอลลาร์ หักแล้วเหลือกำไร 60 ล้านดอลลาร์ โดยรวมแล้วถือว่าดีปานกลาง แต่เทียบสัดส่วนแล้วรายได้ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน
NVIDIA คาดว่าปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก Kepler ที่ทยอยออกสู่ตลาดแล้ว ส่วนอุปกรณ์พกพาที่ใช้ Tegra 3 ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์
เราเห็นจีพียูตระกูล "Kepler" หรือ GeForce 600 Series รุ่นท็อปๆ อย่าง GeForce GTX 680 และ GeForce GTX 690 กันไปแล้ว
แต่เกมเมอร์ตัวจริงย่อมรู้ดีว่า การ์ดรุ่นท็อปออกมาโชว์สมรรถนะเพื่อการประชาสัมพันธ์มากกว่า ส่วนการ์ดที่ซื้อกันจริงๆ เป็นรุ่นรองลงมาที่ราคาย่อมเยาลงมาด้วย ซึ่งล่าสุด NVIDIA ออกรุ่นรองคือ GeForce GTX 670 มาแล้ว
GTX 670 ใช้จีพียู Kepler แบบเดียวกับ GTX 680 แต่ลดจำนวน CUDA core และสัญญาณนาฬิกาลงมา ผลเบนช์มาร์คของ NVIDIA ที่เอามันไปรันเทียบกับ Radeon 7950 ระบุว่าประสิทธิภาพดีกว่า 45% และกินพลังงานน้อยกว่า 18%
ปี 2011 ที่ผ่านมานั้นนับเป็นปีแรกที่วงการสมาร์ทโฟนได้ใช้ชิปแบบดูอัลคอร์กันอย่างกว้างขวาง ล่าสุดผลบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Strategy Analytics ได้ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขของชิปดูอัลคอร์ว่าปีที่ผ่านมามีการใช้ชิปดูอัลคอร์เป็นสัดส่วนเทียบกับทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 20% โดยมีซัมซุงเป็นแชมป์ผู้ผลิตชิปดูอัลคอร์ที่กวาดไปถึง 60% จากจำนวนชิปดูอัลคอร์ทั้งหมด
Strategy Analytics เผยว่าผู้ผลิตรายอื่นอย่าง NVIDIA, Qualcomm และ Texus Instruments ต่างก็พยายามแข่งขันกับซัมซุง โดยมีเจ้าที่ทำได้ดีที่สุดคือ Qualcomm ที่กินไปได้ 16% จากความได้เปรียบที่มีชิปบางตัวรองรับ LTE แล้ว แม้แต่สมาร์ทโฟนซัมซุงบางรุ่นที่ใช้ LTE ยังต้องเปลี่ยนมาใช้ชิปจาก Qualcomm เลย
NVIDIA เปิดตัว GeForce GTX 690 การ์ดจอที่แรงที่สุดตัวใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นจาก GeForce GTX 680 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม โดยใช้ GPU รหัส "Kepler" สองตัวทำงานร่วมกัน
นับรวมจำนวนคอร์ทั้งหมดแล้ว GTX 690 จะมี CUDA core 3,072 คอร์ ซึ่งบริษัทบอกว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแทบจะเป็นเท่าตัวของ GTX 680 เลย และนอกจากนี้เรายังสามารถเอา GTX 690 สองตัวมาต่อกันผ่าน SLI (รวม Kepler 4 ตัว) ได้อีกด้วย
หน้าตาของ GTX 690 ก็ออกแบบมาให้สวยงามสมกับเป็นการ์ดรุ่นท็อปสุดในขณะนี้ (ภาพตามลิงก์) ราคาขายตัวละ 999 ดอลลาร์ เริ่มขาย 3 พฤษภาคมนี้
ตัวแทนของ NVIDIA ส่งกราฟแสดงประสิทธิภาพของ GPU บนอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ พีซี เครื่องเกมคอนโซล และสมาร์ทโฟนให้กับเว็บไซต์ AnandTech
ในกราฟของ NVIDIA แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของ GPU บนสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และน่าจะแซง GPU ของคอนโซลรุ่นปัจจุบัน (กราฟของ NVIDIA ใช้ Xbox และ Xbox 360 อ้างอิง) ในช่วงปี 2013-2014 นี้
ข้อมูลพวกนี้อาจช่วยให้บริษัทเกมทั้งหลายต้องหันมามองเกมบนอุปกรณ์พกพากันอย่างจริงจังได้แล้ว
ชิป Tegra 3 หรือ Kal-El ของ NVIDIA เปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว มาถึงวันนี้มันเริ่มเก่า และโดนซีพียูรุ่นใหม่ๆ ของคู่แข่งแซงหน้าในเรื่องประสิทธิภาพไปไม่น้อย