เห็นได้ว่าช่วงหลังนี้อินเทลเริ่มมีการเคลื่อนไหวในความพยายามที่จะยัด GPU ลงไปบนชิปซีพียูตั้งแต่ที่ออกซีพียู Core i เป็นต้นมา แม้ว่าประสิทธิภาพจะยังไม่สู้ดีเท่าไหร่นัก แต่ก็ได้รับการปรับปรุงมาเรื่อยอย่างที่ได้เห็นล่าสุดในชิปรุ่น Sandy Bridge ที่เรียกได้ว่าพอใช้ได้แล้ว
NVIDIA ประกาศโครงการ Denver ที่จะรวมคอร์ซีพียูสถาปัตยกรรม ARM รุ่นต่อไป (ไม่ใช่แม้แต่รุ่นสูงสุดอย่าง Cortex-A15) เข้ากับ GPU ของตัวเองเพื่อเตรียมบุกตลาดเดสก์ทอปและเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงต่อไป
ข่าวนี้แถลงแทบจะพร้อมกันกับไมโครซอฟท์ที่ประกาศรองรับ ARM บนวินโดวส์รุ่นต่อไป
ไม่มีรายละเอียดใดๆ แต่ใน Engadget ก็มีการแซวกันขำๆ ว่าได้เวลาขายหุ้นอินเทลแล้ว
ที่มา - Engadget
สำนักข่าว CNET รายงานข่าววงในว่า แอปเปิลตัดสินใจจะเลิกใช้ GPU จาก NVIDIA ใน MacBook รุ่นถัดไป
เหตุผลก็เพราะหน่วยประมวลผล Sandy Bridge ของอินเทล ที่จะเปิดตัวต้นเดือนมกราคม นั้นพ่วง GPU เข้ามาด้วย และเป็น GPU ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า GPU แบบออนบอร์ดของอินเทลในปัจจุบันมาก ในโน้ตบุ๊กขนาดเล็กๆ มีเนื้อที่จำกัด ไม่มีที่ว่างพอสำหรับการ์ดจอแยก ดังนั้น Sandy Bridge จึงตอบสนองความต้องการของแอปเปิลได้เป็นอย่างดี
ส่วนโน้ตบุ๊กระดับสูงอย่าง MacBook Pro แหล่งข่าวระบุว่าจะเพิ่มตัวเลือกที่ใช้ GPU จาก AMD แทน
ขณะที่ชิปกราฟิกระดับบนๆ ของ NVIDIA กำลังขายได้ดีในซูปเปอร์คอมพิวเตอร์หลายต่อหลายเครื่อง ในฝั่ง โทรศัพท์มือถือนั้น NVIDIA กลับยังครองตลาดไม่ได้มากนักเทียบกับชิปเจ้าอื่นๆ เช่น Qualcomm ที่ครองตลาดโทรศัพท์จำนวนมาก แต่จุดขายใหม่ของ NVIDIA อาจจะเป็นการรองรับ CUDA ในชิปของตัวเองบนโทรศัพท์มือถือ
การรองรับ CUDA บนโทรศัพท์มือถือทำให้ตัวโทรศัพท์สามารถประมวลผลเฉพาะทางบางอย่าง โดยเฉพาะงานี่เกี่ยวกับภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นมากขึ้น เช่นการตรวจวัตถุจากกล้อง
Jen-Hsun Huang ซีอีโอของ NVIDIA ยอมรับว่าฝ่ายของ Android ยังตามหลังแอปเปิลในตลาดแท็บเล็ตและมือถือ แต่สิ่งที่ทีมงานของ Andy Rubin กำลังทำอยู่นั้น "มหัศจรรย์" (magical) มาก และเขากำลังรอวันที่แท็บเล็ตและมือถือฝั่ง Android รุ่นถัดไปวางตลาด
ในส่วนของแท็บเล็ต เขายอมรับว่า NVIDIA ทำงานล่าช้ากว่าที่คาด แต่ให้เหตุผลว่าเราไม่สามารถเอาระบบปฏิบัติการใดๆ มาใส่ฮาร์ดแวร์แท็บเล็ต แล้วคาดหวังว่าจะแข่งกับ iPad ได้ ซึ่งตรงนี้ต้องให้เวลาทีมพัฒนาอีกหน่อย
ที่มา - ZDNet
Sumit Gupta ผู้บริหารของ NVIDIA เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่ามหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีการทหารของจีน (National University of Defense Technology) ได้สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Tianhe-1A ซึ่งมีพลังประมวลผลสูงถึง 2.507 เพตะฟลอป (อันดับหนึ่งในปัจจุบันคือเครื่อง Jaguar ทำได้ 1.76 เพตะฟลอป)
เครื่อง Tianhe-1A ใช้หน่วยประมวลผลจากอินเทล (ไม่ระบุรุ่น) 14,336 ตัว และ NVIDIA Tesla M2050 อีก 7,168 ตัว เครื่องนี้จะตั้งอยู่ที่ศูนย์ National Supercomputing Center ในเมืองเทียนจิน
ในงาน GPU Technology Conference 2010 ที่จัดขึ้นโดย NVIDIA นั้น
NVIDIA ออกหน่วยประมวลผลกราฟิกสำหรับโน้ตบุ๊กรุ่น GeForce 400M ซึ่งรวมเทคโนโลยีรุ่นล่าสุดของ NVIDIA มาครบถ้วน สถาปัตยกรรมพื้นฐานเป็น Fermi รองรับ DirectX11, CUDA, PhysX, 3D Vision นอกจากนี้ยังสลับการ์ดจอด้วยเทคโนโลยี Optimus
NVIDIA บอกว่ามันทำงานเร็วกว่า GeForce 300M อยู่ 40% และเร็วกว่าการ์ดจอของอินเทล 5 เท่าสำหรับการแต่งภาพ ส่วนการท่องเว็บเร็วกว่าการ์ดจอของอินเทล 50%
GeForce 400M ออกมา 7 รุ่นย่อย โดยรุ่นต่ำสุดคือ GeForce GT 415M มีหน่วยประมวลผลย่อย 48 คอร์ และรุ่นสูงสุด GeForce GTX 470M มี 288 คอร์
แม้ว่า NVIDIA จะมีผลิตภัณฑ์ตระกูล Tegra สำหรับอุปกรณ์พกพา แต่มันกลับไม่ได้รับความนิยมมากนัก (ผลิตภัณฑ์เด่นที่ใช้คือ Zune HD และ KIN) ตอนนี้เลยมีข่าววงในออกมาว่า NVIDIA กำลังซุ่มพัฒนาซีพียูสำหรับแท็บเล็ตซึ่ง "เป็นคู่แข่งโดยตรง" กับอินเทล
ในข่าวบอกว่า NVIDIA มีทีมวิศวกรที่กำลังสร้างชิปที่ "ใช้แทนชิปของอินเทลได้ทันที" โดยมันใช้เทคโนโลยีจาก Transmeta ที่ซื้อสิทธิ์มาตั้งแต่ปี 2008 ในข่าวไม่ได้พูดคำว่า x86 แต่ด้วยข้อมูลบริบทต่างๆ น่าจะเข้าใจได้ว่าหมายถึงสถาปัตยกรรม x86
นักวิเคราะห์มองว่า NVIDIA นั้นโดนบีบให้ลงมาเล่นในตลาดซีพียู เพื่อคานอำนาจ 3 เส้ากับอินเทลและเอเอ็มดี
ข่าวเก่าไปนิดแต่ยังใช้ได้อยู่ครับ รายงานจาก Mercury Research ระบุว่า ATI สามารถเอาชนะ NVIDIA ในตลาดการ์ดจอแยก (discrete graphic) เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี
ในไตรมาสที่สองของปี 2009 อันดับหนึ่งคือ NVIDIA ที่ส่วนแบ่งตลาด 59% แต่มาไตรมาสสองของปีนี้ ATI กลับขึ้นมานำด้วยตัวเลข 51% ความสำเร็จของ ATI มาจากการ์ดตระกูล Radeon 5000 ที่ออกวางขายเมื่อต้นปี และความผิดพลาดของ NVIDIA ที่วางขายการ์ดตระกูล Fermi ล่าช้ากว่ากำหนดไปมาก
สำหรับตลาดการ์ดจอออนบอร์ด (IGP) อินเทลยังนำ ATI ส่วน NVIDIA ไม่มีเอี่ยวในตลาดนี้ (ผมหาตัวเลขไม่ได้) และตลาดการ์ดจอทั้งหมด อินเทล 54.3%, ATI 24.5%, NVIDIA 19.8% ถือเป็นขาลงของ NVIDIA ซึ่งปีที่แล้วยังเป็นที่สองแบบทิ้งห่างพอสมควร
ATI แซงหน้า NVIDIA ขึ้นไปทุกทีแล้วทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและราคา โดยเฉพาะ ATI Radeon HD 5000 series ที่เปิดตัวด้วยการเป็นการ์ดจอ DirectX 11 ตัวแรก ในราคาที่เป็นเจ้าของได้ นี่คือเหตุผลที่ทำให้ ATI ก้าวอย่างรวดเร็วในระยะหลังนี้ (แถมฉุดกำไรของ AMD ขึ้นเมื่อต้นปีได้อีกต่างหาก)
บริษัท Mercury Research ได้สำรวจจำนวนการส่งการ์ดกราฟิกออกขายของ ATI และ NVIDIA พบว่า 51% มาจากค่าย ATI ซึ่งเพื่มขึ้น 10% จากปีที่แล้ว นี่เป็นแค่ยอดส่งขายสำหรับการ์ดจอแยกของโน้ตบุ๊กเท่านั้นนะครับ (รวมตัวโน้ตบุ๊กเองด้วย)
อย่างไรก็ตาม Intel ยังคงส่วนแบ่งการตลาดถึง 54% ในตลาดกราฟิกแบบติดตั้งมากับ Chipset
ถึงเวลาอัพเกรดสินค้าทั้งหมดของ NVIDIA ให้กับการ์ดในตระกูล Quadro ซึ่งมักติดตั้งในเครื่องระดับ workstation ราคาแพงๆ ทั้งหลาย การ์ดที่ออกมามีสี่ตัวด้วยกันคือ
และเช่นเดิมคือการ์ดเหล่านี้สามารถต่อ SLI ได้ทำให้เราอาจจะใช้ GPU ที่มีแรม 12GB กับ 896 CUDA core ได้ "ถ้าเงินถึง"
ราคายังไม่แจ้ง
สงครามน้ำลายของอินเทลและ NVIDIA ยังคงเป็นมหากาพย์ขนาดยาวให้เราได้อ่านเรื่อยๆ ล่าสุด David Kirk วิศวกรอาวุโสของ NVIDIA ก็ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับสินค้าตระกูล Knight ของ Intel ที่เปิดตัวไปเมื่อเกือบสองเดือนที่แล้ว ว่าเขาไม่คิดว่าอินเทลจะมีความได้เปรียบใดในการออกแบบระบบประมวลผลแบบผสมเช่นนี้ และที่จริงแล้วอินเทลประสบความสำเร็จน้อยมากในการออกแบบเครื่องและซอฟต์แวร์สำหรับการประมวลผลแบบขนาน
NVIDIA เปิดตัว Parallel Nsight ซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมเพื่อการประมวลผลแบบขนานบนหน่วยประมวลผลกราฟิก หรือ GPU โดย Parallel Nsight เป็นเครื่องมือเสริมที่ผนวกเข้ากับ Microsoft Visual Studio ทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาโปรแกรมด้วย CUDA หรือ DirectCompute ได้ง่ายและสะดวก ทั้งนี้ Parallel Nsight ได้จัดเตรียม debugger สำหรับค้นหาและแก้ไขบั๊ก และ analyzer สำหรับบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน CPU และ GPU อีกด้วย
ข่าว Android เล็กๆ หลายอัน ขอรวบเป็นอันเดียว
ขอรวบข่าวการ์ดจอใหม่ของ NVIDIA เป็นสองข่าวเลยละกันนะครับ ทาง NVIDIA ได้ออกการ์ดจอในตระกูล Fermi สองตัวที่จับคนละตลาดกัน
ตัวแรกคือ GeForce GTX 465 เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการ์ดจอตระกูล Fermi ในราคาที่ (พอ) เอื้อมถึง ถ้านับตามศักดิ์แล้ว มันเป็นการ์ดจอ Fermi อันดับสามรองจาก GTX 480 รุ่นท็อป และ GTX 470 รุ่นรองท็อป (รายละเอียดของ GTX 480/470 รวมถึงสถาปัตยกรรม Fermi อ่านได้ใน ในที่สุดมันก็มา NVIDIA GTX 480 การ์ดจอตัวแรกตระกูล Fermi)
ความแตกต่างที่สำคัญคือ GTX 465 ลดจำนวนห้องเครื่องภายในลง
นอกจาก "กองทัพแท็บเล็ตถล่มโลก" แล้ว ในงาน Computex ยังมี "กองทัพ 3D" มาชิงตำแหน่งพระเอกของงาน และเจ้าแห่ง 3D บนพีซีอาจไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก NVIDIA?
ในงานแถลงข่าวของ NVIDIA ทางบริษัทได้ประกาศแนวคิด "3D PC" หรือคอมพิวเตอร์พีซีที่สามารถเล่น 3 มิติได้ การที่พีซีใดๆ จะแบรนด์ 3D PC ไปแปะจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
NVIDIA โชว์ต้นแบบแท็บเล็ตของตนเอง (ได้รับการออกแบบโดย Foxconn) มีรายละเอียดดังนี้
ส่วนหน้าตาและความลื่นไหลจะเป็นอย่างไรดูได้จากภาพและวีดีโอคลิปท้ายข่าวครับ
เดิมทีนั้น เจ้าของโน้ตบุ๊กต้องดาวน์โหลดไดรเวอร์การ์ดจอจากผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก ซึ่งก็ไม่ค่อยอัพเดตมากนัก ทำให้การเล่นเกมบนโน้ตบุ๊กไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ภายหลังค่ายสีเขียว NVIDIA ได้ทำไดรเวอร์ตระกูล Verde ออกมาให้ดาวน์โหลดโดยตรง แต่ความสามารถก็ยังเทียบไม่ได้กับไดรเวอร์ตระกูล GeForce ของเดสก์ท็อป
ตอนนี้ NVIDIA ปรับนโยบายอีกครั้ง ไดรเวอร์ตระกูล Verde ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งเทียบเท่า GeForce มีฟีเจอร์เท่าเทียมกันทุกประการ (เช่น CUDA, DirectCompute, OpenCL) การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงสะท้อนให้เห็นถึงตลาดโน้ตบุ๊กที่โตแซงเดสก์ท็อป และความพยายามของ NVIDIA ในการผลักดัน CUDA ด้วย
เรื่องชักจะบานปลายเรื่อยๆ กับสองมหาจำเริญผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกอีกรอบระหว่าง Intel และ NVIDIA ที่เคยคุยโวโม้กระจายสาดน้ำลายกันไว้ คราวก่อนโน้นฟัดเหวี่ยงกันเรื่องการผลิตชิปเซ็ต คราวนี้มีเรื่องใหม่ ผู้บริหารของ NVIDIA ได้ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ท้องถิ่นของซานฟรานซิสโกว่า Intel มีความพยายามที่จะดึงลูกค้าไม่ให้หันไปซื้อ GPU ของพวกเขา เห็นได้จากการยัดชิป GPU และ Northbridge ลงใน CPU ตระกูล i ในบางรุ่นแล้ว (ซื้อโพรเซสเซอร์ทีเดียวจอด ไม่ต้องซื้อการ์ดจอเพิ่ม) ซึ่งทำให้ NVIDIA เสียรายได้ไปจากตลาดกราฟิกพอควร สิ่งต่อไปที่คนไม่ต้องเดาก็ทายถูกก็คือการฟ้อง Intel และอาจเป็นไปได้ว่าทางเล
NVIDIA ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชิป Tegra 2 ซึ่งทาง NVIDIA หมายมั่นจะใช้เป็นหัวใจหลักในตลาดคอมพิวเตอร์แบบพกพาและสมาร์ทโฟน ซึ่งมีคู่แข่งหลักๆ คือ Apple A4, TI OMAP และ Qualcomm Snapdragon โดยชิปตัวนี้จะเป็น System-on-a-Chip (SoC) ซึ่งรวมเอาหน่วยประมวลผลที่ทำหน้าที่แตกต่างกันเอาไว้ถึง 8 คอร์ด้วยกัน
โดยหน่วยประมวลผลทั้ง 8 หน่วยนั้นประกอบด้วย
หลังพลาดท่า ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง ATI ออก Radeon HD 5870 เป็นการ์ดจอ DirectX 11 ตัวแรกไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ทางยักษ์เขียว NVIDIA ก็ประสบปัญหาในการผลิต "Fermi" หน่วยประมวลผลกราฟิกสถาปัตยกรรมใหม่ จนต้องเลื่อนวันวางขายมาเป็นปี 2010 ส่งผลให้ ATI ครองความเป็นเจ้าแห่งการ์ดจอมาได้ยาวกว่าปกติถึง 6 เดือน (นานๆ จะทำได้สักที)
ช่วงหลังๆ บริษัทผลิตชิปกราฟิกเริ่มยอมโอเพนซอร์สไดร์เวอร์กันมากขึ้นแต่การซัพพอร์ตก็มักจะอยู่ในระดับสองมิติเท่านั้น ข่าวดีคือใน Fedora 13 นั้นตัวไดร์เวอร์ Nouveau จะรองรับการทำงานสามมิติ และทาง Fedora นั้นก็ยอมรับเอาโค้ดนี้ไปใช้งานใน Fedora 13 แล้ว
จุดเด่นของไดรเวอร์โอเพนซอร์สคือมันรองรับฟังก์ชั่นการทำงานร่วมกับเคอร์เนลได้ดีกว่า เช่น kernel-mode-setting ที่ช่วยให้ X.Org สามารถทำงานนอกสิทธิ์ root ได้ โดยทาง Adam Williamson ทีมงานของ RedHat ระบุว่าได้ทดสอบไดร์เวอร์ตัวนี้กับ Spring RTS framework, Compiz, Neverball, Foobillard, และ Quake 3 แล้วพบว่าทำงานได้ดี
เอเซอร์เปิดตัว Aspire One 532G เน็ตบุ๊กที่ใช้ Pine Trail ร่วมกับชิปเซ็ต ION2 จุดเด่นที่เห็นชัดมากคือมันจะเป็นเน็ตบุ๊กที่รองรับวีดีโอขนาด 720P ในตัว และเล่น 1080P ได้เมื่อต่อจอภาพภายนอกผ่านพอร์ต HDMI ส่วนเรื่องของการใช้พลังงานนั้น 532G จะใช้เทคโนโลยี Optimus เพื่อสลับการทำงานระหว่างชิปภายในของอินเทลกับชิปของ NVIDIA โดยเสียเวลาเพียงเล็กน้อย โดยเอเซอร์อ้างว่าอายุแบตเตอรี่ของ 532G นั้นจะยาวนานถึง 10 ชั่วโมง
ION เป็นชนวนเหตุแห่งการวิวาทระหว่างอินเทลและ NVIDIA มาเนิ่นนานโดยเฉพาะเมื่ออินเทลใส่ชิปกราฟิกลงไปใน Pine Trail ก็ดูเหมือนจะเป็นการปิดช่องทางไม่ให้ NVIDIA เข้ามาชิงส่วนแบ่งไปได้อีก แต่ ION2 ของ NVIDIA ก็เป็นการโต้กลับอีกครั้ง
ปัญหาโลกแตกของกราฟิกส์บนโน้ตบุ๊คคือถ้าต้องการความแรงก็จะกินแบตเตอรี่ โน้ตบุ๊คหลายรุ่นจึงมีชิปกราฟิกส์สองตัวที่มีสวิตช์ไว้ให้ผู้ใช้สลับเองว่าต้องการความแรงหรือต้องการถนอมแบตเตอรี่ แต่การสลับสวิตช์นั้นค่อนข้างยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไป มีช่วงเวลาที่หน้าจอมืดไปเฉยๆ และอาจทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย วันนี้ Nvidia ได้ปล่อยเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า Optimus ในการสลับการ์ดจอให้โดยอัตโนมัติครับ