บล็อกนันเคยเขียนข่าวรู้จัก Seed เกมจัดการการปกครอง ที่ได้ Lawrence Lessig ผู้เชี่ยวชาญการเมืองมาร่วมออกแบบ เมื่อปี 2017 โดยเกมนี้ผ่านการระดมทุนแบบ crowdfunding ที่ผมได้ทำการ back ไปด้วย
หลังผ่านมา 5 ปีแบบค่อนข้างเงียบเหงาโดยมีแค่อีเมลจากเมลลิ่งลิสต์เป็นระยะ วันนี้ผมได้รับอีเมลประกาศหาผู้ร่วมทดสอบ early version จำนวน 50 คน โดยจะได้เล่นเกมตั้งแต่ 13 เมษายน 2022 - 19 เมษายน 2022 ผู้เข้าร่วมต้องทำสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA, Non Disclosure Agreement) ด้วย
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา เรื่องเริ่มต้นจากการที่มีผู้ใช้ PhakkaponP ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ใช้ Lazymaw เข้ามาแก้ไขบทความ "สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" ซึ่งเป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ในรูปแบบที่เป็นการประชาสัมพันธ์และมีความไม่เป็นกลาง ซึ่งขัดกับแนวทางความเป็นสารานุกรมของวิกิพีเดีย ก่อนที่ผู้ใช้ Lazymaw จะเข้ามาอ้างว่าตนเองเป็นคนที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากคุณสุชัชวีร์ รวมถึงอ้างว่าคุณสุชัชวีร์ได้เป็นผู้ตรวจเนื้อหาต่างๆ ด้วยตนเองว่ามีความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการขู่ดำเนินคดีกับผู้ใช้คนอื่นที่มาแก้ไขบทความ
จากข่าวเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญโดนแฮก และเปลี่ยนหน้สเว็บไซต์เป็นเพลง Death Grips - Guillotine (It goes Yah) และยังเปลี่ยนชื่อไซต์เป็น Kangaroo Court ล่าสุด กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เข้าสืบค้นบ้านผู้ต้องสงสัยและทำการจับกุมแล้ว ด้านเจ้าตัวให้การสารภาพ
หลังศาลรัฐธรรมนูญถูกแฮกเมื่อวาน วันนี้นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) แสดงความเห็นในกรณีนี้ว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าการแฮกเป็นเพียงการดิสเครดิต ไม่มีข้อมูลหายและระงับการเข้าถึงเว็บแล้ว
ส่วนระบบหลังบ้านเว็บ ก็เป็นการจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดูแล เจ้าตัวคาดว่าคงไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ และคาดว่ายูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ด อาจจะหลุดจากแอดมิน หรือแฮกเกอร์เจาะเข้ามาเอง ซึ่งทั้งหมดกำลังสืบสวนกันอยู่ และก็คาดว่าการกู้เว็บคงยาก
ตอนนี้ เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ www.constitutionalcourt.or.th ถูกแฮ็ก และเปลี่ยนหน้สเว็บไซต์เป็นเพลง Death Grips - Guillotine (It goes Yah และยังเปลี่ยนชื่อไซต์เป็น Kangaroo Court ซึ่งมีความหมายว่าศาลเตี้ยด้วย
เมื่อวานนี้ (10 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ซึ่งมีนายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เป็นผู้ปราศรัย เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Eric Adams ว่าที่นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กคนใหม่ (เพิ่งชนะเลือกตั้งแต่ยังไม่เข้ารับตำแหน่ง) ประกาศว่าจะรับเงินเดือน 3 เดือนแรกเป็น Bitcoin เพื่อกระตุ้นให้นครนิวยอร์กเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเงินคริปโต
นอกจาก Eric Adams แล้ว ยังมีนักการเมืองอีกคนในสหรัฐคือ Francis Suarez นายกเทศมนตรีของเมืองไมอามี ที่ประกาศรับเงินเดือนงวดหน้าเป็น Bitcoin ทั้งหมดด้วยเช่นกัน และทั้งสองคนต่างก็บลัฟกันว่านโยบายเรื่องคริปโตของใครเจ๋งกว่ากัน
โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเปิดตัวโซเชียลมีเดียใหม่ หลังจากถูกแบนในช่องทางหลักถาวร โดยโซเชียลใหม่ใช้ชื่อว่า Truth Social มีเป้าหมายเพื่อ "ยืนหยัดต่อต้านการกดขี่ของ Big Tech"
Truth Social ดำเนินการภายใต้บริษัท Trump Media and Technology Group โดยจะเปิดตัวเวอร์ชันเบต้าในวงจำกัดในเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าจะมีการเปิดตัวในวงกว้างขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022
ทรัมป์ยังบอกด้วยว่า เราอยู่ในโลกที่กลุ่มตอลิบานปรากฏตัวใน Twitter แต่ประธานาธิบดีอเมริกันคนโปรดของคุณก็ไม่ได้ออกมาพูดอะไร ซึ่งเขามีความรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้ออกมาแสดงและพูดผ่าน Truth Social เพื่อต่อสู้กับ Big Tech ทั้งหลาย
โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยื่นฟ้องศาลในรัฐฟลอริดา เพื่อขอให้ยกเลิกคำสั่งแบนบัญชีทวิตเตอร์ของเขา โดยที่ผ่านมา ทรัมป์พยายามดำเนินการเพื่อกู้คืนบัญชีของตัวเองมาตลอด
โดนัลด์ ทรัมป์ โดนโซเชียลมีเดียใหญ่แบนทุกแพลตฟอร์ม ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาโพสต์ยุยงให้เกิดความรุนแรงในวันที่ 6 ม.ค. หรือวันที่ม็อบขวาจัดบุกรัฐสภาสหรัฐฯ คัดค้านผลการเลือกตั้งที่โจ ไบเดน ชนะ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในประเด็นการออกหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ.2564 เป็นการบิดเบือนกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพื่อสอดแนมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน
นายปกรณ์วุฒิ วิจารณ์แนวทางการทำงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ว่าใช้การข่มขู่จับผิดคนต่อต้านรัฐบาลผ่านโซเชียลมีเดีย มากกว่าจะไปแก้ปัญหาเรื่องดิจิทัลอย่างเช่นปัญหาการทำงานของแอปหมอพร้อม, ไทยชนะ, ไทยร่วมใจ ที่เกิดปัญหามากมาย กระทบต่อประชาชนโดยตรง สร้างความสับสนเรื่องระบบการจองวัคซีน
พรรคเพื่อไทย เปิดเว็บไซต์ vote.ptp.or.th ทำแคมเปญ “ลงมติประชาชน รวมพลไล่ประยุทธ์”โดยประชาชนเข้ามากดโหวตไล่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง และสามารถกดโหวตแยกเป็นรายจังหวัดได้ โดยตอนนี้มีคนโหวตแล้วกว่าล้านครั้ง
แต่ล่าสุด มีอีกเว็บที่ทำขึ้นมาในแบบเดียวกัน แต่เป็นการลงมติสนับสนุนให้ พล.อ ประยุทธ์ อยู่ต่อ ชื่อเว็บไซต์คือ rakloongtoo.com ภายใต้ชื่อแคมเปญ ลงมติประชาชน สนับสนุนลุงตู่
จากประเด็น ส.ส. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจอ้างอิงเอกสารภายในเผยการโกงเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าปฏิบัติการ IO ล่าสุดกระทรวงกลาโหมระบุว่าเป็นเอกสารปลอม
พล.ต.สวราชย์ แสงผล โฆษกกองทัพภาคที่ 2 ชี้แจงเรื่องเอกสารว่า ลายมือชื่อของแม่ทัพภาคที่ 2 ในเอกสารสองฉบับลายมือไม่เหมือนกัน, นามสกุลพิมพ์ไม่ถูกต้อง, ลายมือชื่อรองแม่ทัพภาคที่ 2 ไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง, เลขลำดับเอกสารถึงแค่ลำดับที่ 851 ยังไม่ถึงลำดับที่ 1121 ตามเอกสารที่ผู้อภิปรายนำมาแสดง
หากยังจำกันได้ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา Facebook เผยแนวทางใหม่ ลดเนื้อหาการเมืองบนหน้าฟีด เป้าหมายคือลดความแตกแยกบนแพลตฟอร์ม และได้ทำการสำรวจผลตอบรับในสหรัฐฯว่าประสบการณ์การใช้งานเป็นอย่างไร
ล่าสุด Facebook เผยผลการสำรวจ ระบุเพียงว่าผู้คนมีผลตอบรับเชิงบวก ด้วยเหตุนี้ Facebook จึงจะขยายการสำรวจไปยัง คอสตาริกา สวีเดน สเปน และไอร์แลนด์ เพิ่มเติม
อัพเดท เพิ่มเนื้อหาฝั่งกระทรวงกลาโหม
มหกรรมแฉ IO กลับมาอีกครั้ง ในการประชุมรัฐสภา ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 31 ส.ค. 2564 โดย ส.ส. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล พร้อมเผยรายชื่อเพจอวตารในการรับหน้าที่โพสต์ด้อยค่าคนโจมตีรัฐบาล รวมถึงโพสต์ข่าวปลอมเข้าข้างรัฐบาล
การปฏิบัติหน้าที่มีการมอบหน้าที่ชัดเจน ดังนี้ กรมทหารราบที่ 3 ให้ไปดูเพจ จอมยุทธ กรมทหารราบที่ 8 ให้ไปดูเพจเรื่องงานไม่ขยับ เรื่องกินตับขอให้บอก กรมทหารราบที่ 16 ให้ไปดูเพจ ชาวไทยร่วมมือ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 ให้ไปดูเพจ ระดม Teen กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ดูเพจ อีหยังกะด้อกะเดี้ย กรมทหารม้าที่ 7 ดูเพจ ผู้ชายลายพราง พร้อมเผยภาพห้องปฏิบัติการ IO โดยมีผู้บังคับบัญชาคอยชี้เป้าเพจที่ต่อต้านรัฐบาล พร้อมส่งสัญญาณให้ IO เข้าไปโพสต์โจมตี
The New York Times รายงานโดยอ้างอิงบุคคลวงในว่า Facebook เตรียมตั้งคณะกรรมการเพื่อมาดูเรื่องการเลือกตั้งโดยเฉพาะ ทำหน้าที่ตัดสินใจว่า Facebook ควรมีแนวทางอย่างไรในช่วงเลือกตั้ง เตรียมประกาศตั้งคณะทำงานในฤดูใบไม้ร่วงนี้ เพื่อให้ทันต่อการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ในปี 2022
คณะทำงานจะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำในเรื่องสำคัญอย่างเช่น ความเป็นไปได้ของโฆษณาทางการเมืองและสิ่งที่ควรทำเกี่ยวกับข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น
วันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บังคับใช้ข้อกำหนดที่ห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
วันนี้ (10 ส.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ระบุว่านายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดให้ยกเลิก ตามข้อกำหนดมาตร 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29)
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือที่รู้จักกันในโลกออนไลน์ชื่อว่า Tony Woodsome เปิดเว็บไซต์ใหม่ Thaksin Official เป็นเว็บรวมแนวคิดทางการเมืองและวิสัยทัศน์ทั้งในรูปแบบวิดีโอ และพอดแคสต์ Good Monday โดยมีแท็กไลน์หลักสำหรับเว็บไซต์คือ "เราต้องมีความหวังในวันนี้และวันพรุ่งนี้"
ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับ Facebook อีกครั้ง โดยเรื่องราวเริ่มต้นจากคณะนักวิจัยจากสถาบัน New York University เปิดโครงการวิจัย NYU Ad Observatory เพื่อศึกษาว่าผู้โฆษณาทางการเมืองเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่างไร กลุ่มไหนที่เป็นเป้าหมายบ้าง
เมื่อโครงการวิจัยเปิดตัวบนแพลตฟอร์ม Facebook ก็ประกาศปิดการใช้งานบัญชี แอป เพจ และการเข้าถึงแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับ Ad Observatory Project โดยให้เหตุผลว่าละเมิดความเป็นส่วนตัว มีการเข้าไปเก็บข้อมูลผู้ใช้ จึงต้องระงับเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งของ FTC แต่กลายเป็นว่า FTC ออกมาบอกว่าที่ Facebook ทำนั้นไม่ถูกต้อง ที่สำคัญ FTC ยังไม่ได้รับแจ้งจาก Facebook เรื่องระงับเพจโครงการวิจัยเลย
ตอนนี้กำลังมีประเด็นใหญ่เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ โดย Amnesty International และสำนักข่าวใหญ่ 17 แห่ง เช่น The Guardian, Washington Post ออกรายงานเปิดโปงว่ามัลแวร์ Pegasus ของบริษัท NSO Group ในอิสราเอล มีรัฐบาลหลายประเทศนำไปใช้งานสอดส่อง โดยพบว่ามี นักเคลื่อนไหว นักข่าว นักการเมือง ถูกติดตามตัวด้วย แม้ NSO Group จะยืนยันว่าขายเครื่องมือให้รัฐบาลไปติดตามกลุ่มก่อการร้ายและอาชญากร
จากประเด็นอินเดียออกกฎควบคุมเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียเข้มงวดขึ้น บังคับบริษัทโซเชียลต้องดำเนินการตามคำขอทางกฎหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อลบโพสต์และเปิดเผยว่าเนื้อหามาจากไหน ซึ่งกดดันบริษัทโซเชียลมีเดียอย่างมาก
ล่าสุด ทวิตเตอร์ ยอมทำตามกฎใหม่ แต่งตั้ง Vinay Prakash หรือผู้ที่จะมารับเรื่องร้องเรียนเพื่อปฏิบัติตามกฎไอทีใหม่ในประเทศ บังคับต้องเป็นคนอินเดียเท่านั้น และต้องจัดทำ "รายงานเพื่อความโปร่งใส" เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้ใช้ในอินเดียระหว่างวันที่ 26 พ.ค.-25 มิ.ย. 2021 ตามข้อกำหนดอื่นภายใต้กฎหมายไอทีฉบับใหม่ด้วย
วันที่ 8 มิถุนายน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาดูข้อกฎหมายและศึกษากฎระเบียบการออกกฎหมายเพื่อควบคุมเนื้อหาในสื่อออนไลน์และการนำเสนอในโซเชียลมีเดีย
นายอนุชา บอกเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใช้เวลานานในการฟ้องร้องดำเนินคดีไม่ทันการต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยคำสั่งการนี้ไม่ใช่ให้ไปเขียนกฎหมาย แต่ให้ไปศึกษากฎหมายจากต่างประเทศ โดยประยุทธ์ยกตัวอย่างประเทศอินเดียที่มีกฎหมายดูแลเรื่องนี้อย่างชัดเจน
จากกรณีโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งทรงอิทธิพลในโซเชียลมีเดียมาก แม้เนื้อหาจะขัดต่อหลักสิทธิพลเมืองและกฎแพลตฟอร์ม ก็ตาม Facebook เองก็เคยยืนกรานว่า ถ้อยคำของประธานาธิบดี คือสิ่งที่ประชาชนมีสิทธิ์รับรู้ และแพลตฟอร์มไม่มีสิทธิ์ปิดกั้น แต่เหตุการณ์บุกรัฐสภาสหรัฐฯเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้โซเชียลมีเดียต้องกลับมาคิดใหม่ เพราะอิทธิพลของทรัมป์ส่งผลต่อโลกจริงมากกว่าที่คิด
ล่าสุด มีรายงานอ้างอิงแหล่งข่าวภายใน Facebook 2 ราย ระบุว่า Facebook จะเปลี่ยนนโยบาย บังคับใช้กฎแพลตฟอร์มกับนักการเมืองด้วย โดยจะแถลงนโยบายต่อสังคมเร็วๆ นี้
Instagram เผยกับ Financial Times ว่า กำลังปรับปรุงอัลกอริทึมใน Stories ให้แสดงเนื้อหาที่อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น หลังพนักงาน Instagram ร่วม 50 คนแสดงความกังวลว่าผู้ใช้งานมองไม่เห็นเนื้อหาสนับสนุนชาวปาเลสไตน์
โฆษก Instagram ระบุว่า ตอนนี้แพลตฟอร์มกำลังจัดอันดับการแสดงเนื้อหาให้เท่าเทียมกันทั้งเนื้อหาออริจินัล และเนื้อหาที่คนนำไปโพสต์ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้โพสต์อิงกับสถานการณ์ด่วนถูกพบเจอมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้ที่แชร์โพสต์เกี่ยวกับความขัดแย้งล่าสุดในฉนวนกาซาเพิ่มขึ้น แต่วิธีการตั้งค่าแอปของ Instagram ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อจำนวนคนที่เห็นโพสต์มากกว่าที่คาดไว้
Facebook ประกาศทดสอบความเห็นผู้ใช้งานทั่วโลก เกี่ยวกับความรู้สึกเวลาเห็นโพสต์ใดๆ บนหน้าฟีด ซึ่ง Facebook จะนำผลสำรวจไปปรับอัลกอริทึมการแสดงเนื้อหาใหม่ โดย Facebook จะให้ตอบแบบสอบถามด้านล่างโพสต์ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับโพสต์นี้ โพสต์นี้สร้างแรงบันดาลใจหรือไม่ ในระดับใด
National Archives and Records Administration หรือ NARA คือหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ที่รับผิดชอบการเก็บรักษาบันทึกสำคัญทางประวัติศาสตร์ของรัฐบาล รวมถึงทวีตจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล แม้คนๆ นั้นจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว บัญชี Twitter จะยังเก็บไว้เป็นบันทึกเป็น archive และตัวบัญชีนั้นคนทั่วไปยังเข้าถึงได้
ซึ่งไม่ใช่กับกรณีโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้สร้างวีรกรรมน่าจดจำมากมาย โดยล่าสุด เว็บไซต์ Politico รายงานว่า นอกจากทรัมป์จะโดนแบนจากแพลตฟอร์มแล้ว archive ของเขาก็จะไม่ถูกเก็บไว้ เรียกได้ว่าโดนแบนหายไปจากแพลตฟอร์มอย่างถาวร
Jason Miller ที่ปรึกษาของโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยกับ Fox News ว่า ทรัมป์กำลังจะกลับสู่โลกโซเชียลมีเดียอีกครั้งในไม่กี่เดือนข้างหน้า ด้วยแพลตฟอร์มของตัวเอง