เดิม ความหมายของการกลั่นแกล้งกัน หรือที่เรียกว่า Bullying คือการข่มขู่ข่มเหง ทั้งใช้กำลังและใช้จิตวิทยาเพิกเฉยให้บุคคลนั้นรู้สึกไร้ตัวตน ส่วนคำใหม่ที่กำลังเป็นเทรนด์ตอนนี้คือ Cyber Bullying หมายถึงการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ กำลังเป็นปัญหาที่ค่อยๆ ขยายวงกว้างขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลก เพราะเผยแพร่ในวงกว้างกว่า ลบเลือนยากกว่า และสร้างความอับอายแก่ผู้ถูกแกล้งได้มากกว่า ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในกลุ่มวัยรุ่นไทย ยกตัวอย่าง เช่นการตัดต่อรูปล้อเลียน การปล่อยข่าวลือผ่านกระทู้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ดีแทคร่วมมือกับมูลนิธิ P2H (path2health) ทำช่องทางให้คำปรึกษาออนไลน์แก่เยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์หรือ Cyber bullying ในชื่อเว็บไซต์ว่า stopbullying.lovecarestation.com ด้านแพทย์จิตเวชและวัยรุ่นเด็กชี้ เด็กไทยตกเป็นผู้ถูกรังแกและเป็นทั้งผู้รังแกคนอื่นบนโลกออนไลน์มากอย่างน่าเป็นห่วง
หัวเหว่ยเปิดศูนย์ Huawei OpenLab Bangkok ในไทย ถือเป็นศูนย์วิจัยลำดับที่ 7 ของหัวเหว่ยจากทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการให้เป็นแพลตฟอร์ม ICT เพื่อองค์กรและสตาร์ทอัพ รวมถึงสถาบันการศึกษาด้วย
เราเริ่มเห็นปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น และปรากฎการณ์ที่สะท้อนความก้าวล้ำของปัญญาประดิษฐ์ คือการเอาชนะเซียนโกะของโลกอย่าง AlphaGo อย่างไรก็ตามคำถามยังคงมีอยู่ว่า แล้วด้านอื่นๆ ปัญญาประดิษฐ์จะเอาชนะมนุษย์ได้มากน้อยแค่ไหนกัน
คำถามนี้ถูกมหาวิทยาลัย Oxford และ Yale นำไปถามและสำรวจจากนักวิจัยปัญญาประดิษฐ์กว่า 350 ราย ปรากฎว่าส่วนใหญ่มองว่า ภายใน 45 ปี ปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสมากกว่า 50% ที่เอาเอาชนะมนุษย์ทุกด้าน อย่างการแปลที่น่าจะเหนือกว่าภายในปี 2024, เขียนเรียงความระดับม.ปลาย ภายใน 2026, ขับรถบรรทุก 2027, ทำงานร้านขายปลีกปี 2031, เขียนหนังสือขายดี ภายใน 2049 และผ่าตัดภายในปี 2053 ขณะที่งานของมนุษย์ทั้งหมดมีแนวโน้มจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ภายใน 120 ปี
มีงานวิจัยมากมายที่ระบุว่าการเล่นโซเชียลมากเกินไป ส่งผลต่อระดับความสุข วันนี้มีมายืนยันอีกงานคือ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale และมหาวิทยาลัย California โดยสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ Facebook กว่า 5,000 คนในช่วงสองปี โดยขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมให้แชร์ข้อมูลกิจกรรมบน Facebook พร้อมทั้งรายงานความรู้สึกสุขภาพจิตใจเป็นระยะ ผลคือการใช้ Facebook เกินมาตรฐานเฉลี่ยทำให้ความสุขและความพอใจในตัวเองของกลุ่มทดลองลดลง
เป็นประเด็นกันมานานมาก ถึงความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์สวมใส่ประเภท Fitness Tracker ในแง่ของความถูกต้องของข้อมูลด้านสุขภาพที่ตรวจจับและแสดงผลออกมา ซึ่งงานวิจัยล่าสุดจากนักวิจัย Stanford ก็ชี้ไปในทิศทางลบว่า ตัวเลขแคลอรี่ที่ Fitness Tracker แสดงนั้นไม่มีความแม่นยำเลย
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์เกี่ยวกับระบบไหลเวียน (Cardiovascular Medicine) จากมหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งเก็บข้อมูลจาก Apple Watch, Basis Peak, Fitbit Surge, Microsoft Band, Mio Alpha 2, PulseOn และ Samsung Gear S2 กับอาสาสมัคร 60 คน
กูเกิลจริงจังกับงานด้าน deep learning ถึงขนาดออกแบบชิปประมวลผลเองในชื่อ TPU (Tensor Processing Unit) โดยในงาน Google I/O 2017 กูเกิลก็เปิดตัว TPU รุ่นที่สอง ที่มีความสามารถมากขึ้น
เป้าหมายของกูเกิลคือนำ TPU ขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ เพื่อให้นักวิจัยหรือคนที่ต้องการเทรน AI ให้เร็วกว่าทำเอง เข้ามาเช่าใช้งาน แต่ในช่วงแรกเพื่อเปิดโอกาสให้คนลองใช้กันมากๆ กูเกิลเลยสร้างคลาวด์พิเศษ TensorFlow Research Cloud (TFRC) ให้กลุ่มนักวิจัยใช้งานกันฟรีๆ
นอกจากปัญหาด้านกฎหมายท้องถิ่น แรงงาน Uber ยังต้องเจอข่าวฉาวในบริษัท ข่าวการเมืองมาอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดการทดลองระบบรถไร้คนขับใน Pittsburgh อาจต้องสะดุดเพราะข่าวฉาวของ Uber เอง แต่ Uber ก็ยังสู้ต่อ ล่าสุดเปิดศูนย์วิจัยรถไร้คนขับในโตรอนโต ประเทศแคนาดาแล้ว ถือเป็นศูนย์วิจัยแรกที่ไปตั้งในต่างประเทศด้วย
อีกเหตุผลที่ Uber เลือกโตรอนโต อาจเป็นเพราะโตรอนโตตอนนี้กำลังเฟื่องฟูมากเรื่องเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ว่ากันว่าจะเป็นซิลิคอนวัลเล่ย์แห่งที่สอง
หัวหน้าศูนย์วิจัยใหม่ของ Uber คือ Raquel Urtasun ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้าน Machine Learning และ Computer Vision ในมหาวิทยาลัยโตรอนโต และยังร่วมมือกับสถาบัน Vector ที่วิจัย AI ด้วย
การสร้างท่าทางเคลื่อนไหวของตัวละครในเกมเป็นงานสำคัญของการพัฒนาเกมที่ต้องอาศัยการบันทึกท่าทางจากนักแสดงไว้ล่วงหน้าที่มีต้นทุนสูง หรือมีเทคนิคการสร้างท่าทางเคลื่อนไหวจากการประมาณการท่าเคลื่อนไหวอื่นๆ ล่าสุดงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Edinburgh อาศัยเครือข่ายนิวรอนเพื่อการสร้างท่าเคลื่อนไหวได้อย่างสมจริง
Phase-Functioned Neural Networks เป็นเครือข่ายนิวรอนที่มี Phase-Function เข้าควบคุมน้ำหนักระหว่างนิวรอน
ความได้เปรียบหลักของการสร้างท่าทางเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคใหม่นี้คือมันใช้หน่วยความจำเพียงประมาณ 10 เมกกะไบต์ และไม่กินเวลาประมวลผลมากนัก ขณะที่ได้ท่าทางเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ การใช้งานในเกมจริงๆ จึงเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโตและโรงพยาบาลเด็กในโตรอนโตเปิดเผยผลวิจัยว่า เด็กเล็กวัยกำลังหัดเดินหากใช้อุปกรณ์มือถือ-แท็บเล็ตมากเกินไป อาจส่งผลพัฒนาการการเดินและพูดช้าลง
การวิจัยเก็บข้อมูลจากเด็ก 900 คนที่ใช้มือถือและแท็บเล็ต และใช้เครื่องมือตรวจวัดพัฒนาการเพื่อประเมินการพัฒนาการพูดของเด็ก พบว่า ทุกๆ 30 นาทีที่เด็กใช้ไปกับการเลื่อนหน้าจอ เท่ากับความเสี่ยงในการพูดล่าช้าเพิ่มขึ้น 49%
แพทย์ระบุว่า เด็กวัยนี้ต้องพัฒนาสมองตัวเองด้วยการเดินและการสื่อสารกับสิ่งรอบข้าง หากปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอ แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อพัฒนาการทางการสื่อสารกับผู้อื่น
การได้เข้าทำงานบริษัทไอทีชื่อดังในสหรัฐฯ ไม่ได้การันตีความเสมอภาคในการทำงานเสมอไป ผลวิจัยในสหรัฐฯเผยว่า 40% ของคนที่ลาออกจากงานไอทีในสหรัฐฯ มีสาเหตุเพราะการเลือกปฏิบัติ (unfairness) กลั่นแกล้งกันในที่ทำงาน (bullying) รวมถึงทัศนคติคนวงการไอทีที่ค่อนข้างเหยียดเพศ-เหยียดสีผิว
ผลสำรวจจาก Kapor Center for Social Impact และ Harris Poll สำรวจคนทำงานไอทีในสหรัฐฯ 2,000 คน ที่ลาออกจากงานไอทีในรอบสามปีที่ผ่านมา เผยว่าผู้หญิง 1 ใน 10 ต้องเจอประสบการณ์การคุกคามทางเพศ (unwanted sexual attention) และ 1 ใน 4 คนที่เป็นคนผิวสีลาออกจากงานไอทีเพราะต้องเจอกับการเลือกปฏิบัติ (discrimination)
ที่งาน F8 2017 วันที่สอง มีการโชว์เทคโนโลยีแปลงคลื่นสมองออกมาเป็นข้อความ พิมพ์ตัวอักษรได้ทันทีเพียงแค่คิดเท่านั้น
เทคโนโลยีนี้เป็นผลงานของ Building 8 แล็บฮาร์ดแวร์ของ Facebook ที่เพิ่งดึงตัว Regina Dugan หัวหน้าทีม ATAP ของกูเกิลและอดีตผู้อำนวยการทีมวิจัยของ DARPA มาคุมทีม
ทีมนักวิจัยของ Facebook ใช้วิธีดักจับคลื่นที่ตำแหน่งเฉพาะของสมอง ตอนนี้เทคโนโลยียังอยู่ระหว่างการพัฒนาเซ็นเซอร์ที่ดีกว่าเดิม และจะนำไปสร้างเป็นอุปกรณ์สวมใส่ในอนาคต โดย Facebook ตั้งเป้าว่าต้องการให้เราพิมพ์ได้เร็ว 100 คำต่อนาที
ผลการสำรวจจาก Zendrive เผยว่า คนสหรัฐฯส่วนใหญ่ยังคงใช้มือเล่นโทรศัพท์ระหว่างขับรถ แม้จะรู้ว่ามันผิดกฎหมาย และอาจก่อให้เกิดอันตรายบนท้องถนนก็ตาม
Zendrive ทำการสำรวจคนขับรถทั่วไปถึงสามล้านคนในรอบสามเดือนที่ผ่านมา คำนวณเป็นทริปขับรถได้ 570 ล้านทริป ผลวิจัยพบว่า 88 ใน 100 ทริป คนขับใช้สมาร์ทโฟนระหว่างขับรถ คิดเป็น 3.5 นาทีต่อชั่วโมงที่ใช้ไปกับการเล่นโทรศัพท์
ยิงนับวันมนุษย์ก็ยิ่งสามารถพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้ก้าวล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกล่องดำ (black box) ที่มนุษย์ไม่เข้าใจกระบวนการทำงาน หากนับเฉพาะวงการแพทย์ งานวิจัยเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถคาดการณ์ วิเคราะห์และประเมิณอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้แม่นยำกว่าแพทย์นั้นก็มีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
อย่างล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม (University of Nottingham) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอัลกอริทึมสำหรับ Machine Learning ในการประเมินความเสี่ยงและคาดการณ์การเกิดอาการหัวใจวาย โดยอาศัยปัจจัยและแนวทางในการประเมินความเสี่ยงจาก the American College of Cardiology/American Heart Association (ACC/AHA)
เว็บไซต์ MIT Technology Review ชี้ประเด็นปัญหาใหม่ของโลก AI ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากเทคนิค Deep Learning คือ AI เก่งขึ้นมากจนผู้สร้างมันขึ้นมาก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่ามันทำงานได้อย่างไร
การเรียนรู้ของ AI ตามแนวทาง Deep Learning จะแบ่งงานย่อยๆ เป็นจำนวนมาก และทำงานหลายชั้นซ้อนกันเหมือนเส้นประสาทของมนุษย์ โดย AI จะเรียนรู้รูปแบบจากข้อมูลปริมาณมหาศาล แล้วสร้างโมเดลของตัวเองขึ้นมา ในยุคที่ AI ยังไม่ซับซ้อนมาก เราอาจเข้าใจโมเดลที่มันสร้างขึ้นได้ไม่ยากนัก แต่พอมาถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์อาจเริ่มตามมันไม่ทันแล้ว
ปัญญาประดิษฐ์คืออนาคตของโลก และแคนาดาก็กำลังจะก้าวมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในเทคโนโลยีประเภทนี้ ล่าสุดตั้งศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์ใหม่ Vector Institute ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ศูนย์วิจัย RBC มีเป้าหมายคือเพิ่มขีดความสามารถปัญญาประดิษฐ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และจะเป็น 1 top 5 สถานที่ที่ดีที่สุดของโลกในการพัฒนานวัตกรรม AI และในอีกทางหนึ่งก็คือพยายามให้แคนาดาน่าดึงดูดสำหรับยอดฝีมือด้านเทคโนโลยีต่างชาติด้วย
ไฟล์ JPEG แม้จะมีขนาดเล็กมาก แต่ปกติภาพตามขอบเส้นต่างๆ ก็มักแสดงร่องรอยของการเข้ารหัส (artifact) เอาไว้ในภาพทำให้ภาพดูแตกไปบ้าง ตอนนี้กูเกิลก็เปิดตัว Guetzli โปรแกรมเข้ารหัส JPEG ที่ทำให้ภาพมีร่องรอยน้อยลง
Forcepoint ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์และโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เผยผลสำรวจผู้เชี่ยวชาญไอที 1,250 คน ว่ามีความกังวลเรื่องปัญหาความปลอดภัย จากพฤติกรรมผู้ใช้งานมากกว่าการโจมตีภายนอก และการลงทุนป้องกันเยอะ ใช่ว่าจะป้องกันข้อมูลในองค์กรได้ดีเสมอไป
ผลวิจัยจากคณะแพทย์จากสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐฯ (American Heart Association’s Epidemiology and Prevention/Lifestyle) เผย 27.5% ของคนเล่นโปเกมอนโกเดินเป็นระยะทางถึง 10,000 ก้าวต่อวัน ถือเป็นเรื่องดีต่อคนอเมริกันที่มีแนวโน้มการขยับร่างกายน้อยลง และเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้นในยุคหลัง
คณะวิจัยรับสมัครผู้ใช้ iPhone จำนวน 167 คน ที่เล่นเกมนี้อยู่แล้ว มาทดลองระหว่าง 15-30 กรกฎาคมปีที่แล้ว โดยผู้วิจัยขอให้ผู้เล่นแคปเจอร์หน้าจอผ่านแอพพลิเคชั่น iPhone Health ส่งให้เพื่อรวบรวมข้อมูล ผลคือก่อนเล่นเกมโปเกมอนพวกเขาเดินเฉลี่ยวันละ 5,678 ก้าว หลังเล่น จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาเป็น 7,654 ก้าว
ประเทศสิงคโปร์ตื่นตัวมากจริงๆ เรื่องภัยไซเบอร์ มหาวิทยาลัย NUS หรือ National University of Singapore สร้างแล็บแห่งใหม่เน้นวิจัยเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ National Cybersecurity R&D Laboratory หรือ NCL ให้นักวิจัยสร้างโซลูชั่นและแพลตฟอร์มแบบ one stop service ในการทำงานดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ ป้องกันแก้ไขภัยคุกคามที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
NCL ยังได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิทำวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์ในสิงคโปร์ หรือ National Research Foundation (NRF) ด้วย ด้านธุรกิจเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์จะได้รับผลประโยชน์ด้วย คือ NCL จะนำเสนอโซลูชั่นให้บริษัทเหล่านั้น เพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณในการจัดการภัยไซเบอร์
เป็นประเด็นดราม่ากันมาหลายต่อหลายครั้งเรื่องการทำเว็บการ์ตูนมังงะเถื่อน ที่นำฉบับสแกนมาแปลให้อ่านกัน หลังต้นฉบับเพิ่งเสร็จได้ไม่นาน ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจกันได้ว่า เว็บเถื่อนเหล่านี้ทำให้ยอดขายของมังงะฉบับรวมเล่มตกลงไปไม่มากก็น้อย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา งานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของเว็บเถื่อนต่อรายได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์ มักเป็นเรื่องของภาพยนตร์ ซีรีส์หรือเพลงเสียส่วนใหญ่ ขณะที่การ์ตูนหรือมังงะแทบไม่มีเลย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford เปิดเผยผลการวิจัยที่สามารถคิดค้นแบตเตอรี่ที่ดับไฟได้ด้วยตัวเอง หากเกิดลัดวงจรหรือโอเวอร์ฮีทขึ้นมา ด้วยสารหน่วงไฟ (Fire Retardant) ที่ชื่อว่า Triphenyl Phosphate (TPP)
สาร TPP จะถูกฝังไว้อยู่ในโพลีเมอร์เชลล์ ที่อยู่ภายใต้แบตเตอรี่อีกที ซึ่งหากอุณหภูมิของแบตเตอรี่สูงขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง โพลีเมอร์จะละลายและปล่อยสาร TPP ออกมา โดยนักวิจัยกลุ่มนี้ได้พูดถึงการทดลองวิธีอื่นๆ เพื่อป้องกันแบตเตอรี่ลุกไหม้ด้วย แต่ทุกวิธีก่อนหน้านี้ล้วนแล้วแต่ลดประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ หรือป้องกันได้ไม่ดีเท่าที่ควร
Samsung คงดีใจเมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำตัวดับไฟขนาดเล็กบรรจุในแบตเตอรี่ลิเธียม และจะทำงานอัตโนมัติด้วยการปล่อยสารหน่วงไฟออกมาเมื่ออุณหภูมิในแบตเตอรี่สูงเกินขีดจำกัด
ผลงานวิจัยปรากฏอยู่ในวารสาร Science Advances รายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุตัวดับไฟเป็นลิเธียม ที่เคลือบด้วยโพลีเมอร์อีกชั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวคั่นระหว่างแบตเตอรี่กับสารหน่วงไฟ ถ้าอุณหภูมิสูงแตะ 160 องศาจะทำให้โพลีเมอร์ละลาย และสารหน่วงไฟจะทำงาน จากการทดลองปฏิบัติพบว่าตัวดับไฟนี้สามารถดับความร้อนในแบตเตอรี่ลงได้ภายใน 0.4 วินาที
ผลงานวิจัยมีเป้าหมายที่ความปลอดภัยของแบตเตอรี่ลิเธียมบนยานพาหนะ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าการระเบิดก็เกิดขึ้นได้บนโทรศัพท์มือถือเช่นกัน คณะวิจัยระบุว่าแบตเตอรี่สมัยนี้มีความหนาแน่นสูงขึ้น ปัญหาความปลอดภัยที่มาพร้อมแบตเตอรี่ก็เพิ่มขึ้นด้วย
มหาวิทยาลัย United Nations University เผยรายงานพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชียตะวันออกและอาเซียนเพิ่มจำนวนมากถึง 63% ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี คิดเป็นจำนวน 12.3 ล้านตัน
โดยตัวเลขเฉลี่ยน้ำหนักขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนประชากรในเอเชียคิดเป็น 10 กก./คน ประเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือฮ่องกง มี 21.7 กก./คน ตามด้วยสิงคโปร์ คิดเป็น 19.95 กก./คน และ ไต้หวัน 19.13 กก./คน
ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนประชากรน้อยคือ กัมพูชา 1.10 กก./คน เวียดนาม 1.34 กก./คน ฟิลิปปินส์ 1.35 กก./คน
ในรายงานระบุสาเหตุหลักที่ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมาก คือ มีสินค้าจำพวกนี้มากขึ้น มีผู้บริโภคสินค้านี้เพิ่มขึ้น ระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์ลดลง การนำเข้าสินค้าทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้ไม่ได้ตระหนักว่าควรจะเอาอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วไปไว้ที่ไหนที่ไม่ใช่ถังขยะ ไม่มีนโยบายกระตุ้นที่ดีพอ รัฐบาลไม่มีกฎหมายจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะด้วย
ManpowerGroup หนึ่งในบริษัทจัดหางานที่ใหญที่สุดในโลกทำรายงาน "The Skills Revolution" ว่าด้วยหุ่นยนต์กับการจ้าง ชี้ให้เห็นว่า หุ่นยนต์ จะเปลี่ยนแปลงการจ้างงานในอนาคตอย่างไรบ้าง
Manpower สำรวจนายจ้างกว่า 18,000 คน ใน 6 สาขาอุตสาหกรรม โดยรวมการจ้างงานในอนาคตระยะสั้นยังสดใส แต่บางประเทศเช่นอินเดีย คนทำงานอาจร้อนๆ หนาวๆ เพราะนายจ้างเล็งจะใช้หุ่นยนต์แทนที่คนมากที่สุด ด้านทักษะความสามารถ คนไอทีคือคนที่อนาคตสดใสที่สุด ที่น่าเป็นห่วงคือการเงินการบัญชี
Omidyar Network ของ Pierre Omidyar (ผู้ก่อตั้ง eBay) ร่วมกับ Reid Hoffman (ผู้ก่อตั้ง LinkedIn) และมูลนิธิ Knight Foundation ลงเงินกัน 27 ล้านดอลลาร์ ก่อตั้งกองทุนวิจัย AI เพื่อมวลชน โดยเน้นการใช้งาน AI ที่อย่างมีจรรยาบรรณและมีการควบคุมดูแลที่ดี
กองทุนนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Ethics and Governance of Artificial Intelligence Fund โดยมีหน่วยงานภาคการศึกษา The MIT Media Lab ของสถาบัน MIT และศูนย์ the Berkman Klein Center for Internet & Society ของ Harvard University มาช่วยสนับสนุน กองทุนจะให้เงินกับโครงการวิจัยด้าน AI ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่จำกัดเฉพาะสายงานไอที แต่ครอบคลุมไปถึงนักสังคมศาสตร์ นักปรัชญา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย นโยบาย และด้านศาสนา-ความเชื่อ