เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว IBM ประกาศว่าได้เพิ่มโครงการ OpenZika ซึ่งเป็นโครงการประมวลผลข้อมูลเพื่อวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Zika เข้า World Community Grid (WCG) โครงการประมวลผลแบบกระจาย (grid computing) เพื่องานที่ไม่แสวงหาผลกำไร
โครงการ OpenZika เป็นความร่วมมือระหว่าง Federal University of Goias ของบราซิล ร่วมกับมูลนิธิ Oswalso Cruz, Rutgers University's New Jersey Medical School, Collaborations Pharmaceuticals และ Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences ของ University of California San Diego ซึ่งจะร่วมกันหาการดื้อยาของไวรัส Zika
โครงการนี้เปิดแล้วบน WCG โดยไม่จำกัดแพลตฟอร์มที่ใช้รันสำหรับการประมวลผล ใครสนใจสามารถเพิ่มเข้าไปได้ทันทีครับ
ที่งาน IEEE International Memory Workshop ในปีนี้ IBM โดยนักวิจัยจาก IBM Research ประกาศความสำเร็จในการทำให้หน่วยความจำแบบ PCM (phase-change memory) สามารถเก็บข้อมูลได้ 3 บิตต่อหนึ่งเซลล์อย่างเป็นทางการ และถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับแนวทางการเก็บข้อมูลในอนาคต
นักวิจัยจากทีม CSAIL แห่ง MIT ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ Origami หุ่นยนต์ที่พับได้ (อันเป็นที่มาของชื่อของมัน) ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานในพื้นที่จำกัด ซึ่งหลังจากเริ่มนำออกแสดงในปี 2014 เป็นครั้งแรก ซึ่งตอนนี้หุ่นยนต์ Origami รุ่นล่าสุดที่มีนักวิจัยของ University of Sheffield และ Tokyo Institute of Technology มาช่วยพัฒนาด้วย ก็ได้รับการปรับปรุงจนกลายมาเป็นหุ่นยนต์เพื่อการปฏิบัติงานในร่างกายมนุษย์
บริษัทวิจัยข้อมูล 1010data ออกมาเปิดเผยเบื้องต้นถึงรายงานการวิจัยของตนเองที่ระบุว่า แท็บเล็ตแบบ 2-in-1 ลูกผสม (เรียกว่า "laplet") เช่น Surface กำลังได้รับความนิยมและถือเป็นกลุ่มแท็บเล็ตที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
บริษัทระบุว่า แม้ Apple iPad จะยังครองส่วนแบ่งได้ที่ 32.5% ของตลาดรวมทั้งหมด แต่แท็บเล็ตกลุ่มลูกผสมเหล่านี้กำลังกินส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ Surface Book ของ Microsoft สามารถทำส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นได้ถึง 9% ทำให้ Microsoft มีส่วนแบ่งในตลาดเป็นอันดับสองที่ 25% เมื่อเทียบกับไตรมาสแล้ว ขณะที่ Apple กลับมียอดส่งมอบ iPad คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงนัก
รายงานวิจัยฉบับเต็มจะเผยสู่สาธารณะในสัปดาห์หน้าครับ
Disney Research ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้พัฒนาแท็ก RFID ที่มีราคาถูก ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่และสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ภายใน 200 มิลลิวินาที หรือเรียกได้ว่าแทบจะจับการเคลื่อนได้แบบเรียลไทม์ ขณะที่แท็ก RFID ทั่วไปต้องใช้เวลาประมาณ 2 วินาที
ทีมวิจัยเรียกระบบนี้ว่า RapID พร้อมทั้งโชว์ความสามารถเบื้องต้น ผ่านเกมอย่าง tic-tac-toe (หรือที่เรียกกันว่า XO) หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการโต้ตอบของคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบ RapID นี้ ซึ่งนอกจากจะสามารถตรวจจับวัตถุได้เร็วแล้ว ยังสามารถบอกความเร็วที่วัตถุเดินทางผ่านแท็กได้อีกด้วย
ที่มา - Engadget
Human Media Lab แห่ง Queen’s University แคนาดา เผย HoloFlex งานวิจัยมือถือรองรับการแสดงผลโฮโลกราฟิกที่บิดงอได้ตัวแรกของโลก
HoloFlex ใช้เทคนิคความคลาดเคลื่อนกันของวิดีโอที่เกิดขึ้นเมื่อมองวัตถุจากจุดสองจุด (motion parallax) และการถ่ายภาพสามมิติ (stereoscopy) เพื่อสร้างเอฟเฟคภาพสามมิติบนหน้าจอสัมผัสแบบ Flexible Organic Light Emitting Diode (FOLED) ความละเอียด 1080p โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม ทั้งนี้ภาพจะถูกแบ่งการแสดงผลเป็นเซลล์วงกลมกว้าง 12 พิกเซล แสดงผลบนเลนส์ฟิชอายสามมิติบิดงอได้จำนวน 16,000 เลนส์
นักวิจัยจาก Future Interfaces Group มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ได้เผยงานวิจัย SkinTrack ที่ใช้ผิวหนังโดยรอบอุปกรณ์ลักษณะสายรัดข้อมืออย่างสมาร์ทวอชเป็นทัชแพดของอุปกรณ์ได้
SkinTrack ประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ อิเล็กโทรดสี่คู่ที่ถูกฝังอยู่ในสายรัดข้อมือเพื่อจับสัญญาณที่ถูกส่งจากวงแหวนใต้อุปกรณ์ เพื่อแปลงตำแหน่งนิ้วเป็นตำแหน่งบนแกน X และ Y แล้วแปลงการเคลื่อนไหวของนิ้วเป็นคำสั่งในการสั่งการต่างๆ อีกที
ลองดูคลิปนำเสนองานวิจัยได้ที่ท้ายข่าว
ที่มา: TechRadar
ที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินข่าวความพยายามของ Microsoft ในการพัฒนาเทคโนโลยีการสัมผัสแบบสามมิติ หรือ 3D Touch (ลองดูข่าวเก่า) ล่าสุด Microsoft Research แผนกวิจัยของ Microsoft ได้ออกมาสาธิต 3D Touch แบบใหม่ที่เรียกว่า Pre-Touch Sensing โดยระบุว่าจะเข้ามาช่วยเปลี่ยนวิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาร์ทโฟนใหม่หมด
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ (Cardiff university's School of Engineering) ได้คิดค้นเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เลือดแม้แต่หยดเดียว ซึ่งค่อนข้างเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตลอดทั้งวัน
ผู้ป่วยเพียงแค่ติดเครื่องตรวจวัดไว้กับผิวหนังเท่านั้น ก่อนที่ตัวเครื่องจะส่งข้อมูลดิบทั้งหมดไปประมวลและแสดงผลผ่านแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยศาสตราจารย์ Adrian Porch หนึ่งในผู้คิดค้นยืนยันถึงความปลอดภัยของของคลื่นไมโครเวฟ เนื่องจากมีระดับต่ำกว่าที่โทรศัพท์มือถือปล่อยออกมาถึงกว่า 1 พันเท่า
อาจถือเป็นข่าวดีสำหรับนักวิจัยสายสุขภาพที่กำลังพิจารณาจะใช้ ResearchKit ในการวิจัย เมื่อ IBM ประกาศว่าจะแจกพื้นที่เก็บข้อมูลให้กับนักวิจัยและโครงการวิจัยที่ใช้ ResearchKit ซึ่งได้รับอนุมัติให้ทำวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรม (IRB) ของสถานศึกษาแล้ว ขนาด 1 TB ฟรีเป็นระยะเวลา 3 ปี
เงื่อนไขนอกจากจะต้องใช้ ResearchKit ซึ่งต้องผ่านการอนุมัติจาก IRB ของมหาวิทยาลัยก่อน ขนาดของพื้นที่เก็บข้อมูลที่ให้จะได้ 1 TB เป็นระยะเวลา 3 ปี (ผ่านมาตรฐาน HIPAA) ส่วนบริการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ IBM Watson อย่าง Watson Analytics นั้น จะต้องเสียเงินเพิ่มต่างหาก
ใครสนใจสามารถเข้าไปชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่นี่ครับ
ที่มา - iMedicalApps
ในช่วงที่ผ่านมา เรามักจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Data: PHD) จากอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับวงการแพทย์เองยังมีข้อกังขาในการใช้ข้อมูลเหล่านี้อยู่ (ตัวอย่างเช่นกรณีของ Apple ResearchKit) รวมไปถึงความกังวลจากตัวผู้ใช้เอง เรื่องนี้ทำให้คณะนักวิจัยจาก University of California, San Diego และ University of California, Irvine ร่วมกันทำวิจัยถึงปัญหาในการนำเอาข้อมูล PHD เหล่านี้มาใช้ ซึ่งผลสรุปออกมาว่ายังมีอุปสรรคในการนำออกไปใช้ แต่ผู้ใช้เองยินดีแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้หากนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อสาธารณะ
คณะนักวิจัยสรุปว่า ประเด็นสำคัญมีอยู่ 6 ประเด็นหลัก ดังนี้
ระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียม GPS หรือ Global Positioning System ถูกคิดค้นโดย The Aerospace Corp หน่วยงานวิจัยที่แยกตัวมาจากกองทัพอากาศสหรัฐ (ปัจจุบันมีสถานะเป็นบรรษัทอิสระที่ไม่หวังผลกำไร และได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ) มาตั้งแต่ปี 1966
ล่าสุดมีเอกสารของ The Aerospace Corp เผยแพร่ต่อสาธารณะ ระบุว่ากำลังพัฒนาระบบบอกพิกัด (Positioning, Navigation, and Timing - PNT) แบบใหม่ภายใต้โค้ดเนมว่า Project Sextant
Project Sextant ไม่ใช่ GPS 2.0 ที่พัฒนาขึ้นจากของเดิม แต่ต้องการพัฒนาแนวทางใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะตอนที่คิดระบบ GPS ขึ้นมา มุ่งใช้งานด้านการทหารเป็นหลัก อีกทั้งเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์-การสื่อสารยังไม่พัฒนาเท่ากับสมัยนี้
เว็บไซต์ Healthcare IT News ซึ่งเป็นเว็บข่าวด้านการแพทย์และเทคโนโลยี ระบุว่างานวิจัยชิ้นล่าสุดของคณะแพทย์จาก Harvard Medical School ที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Journal of the American Medical Informatics Association (JAMIA) เผยให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record: EMR) ในกรณีของผู้ป่วยจิตเวช มีการเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ข้อมูลจาก EMR เหล่านั้นไม่สามารถใช้วิเคราะห์และรักษาผู้ป่วยที่มีโรคทางจิตได้อย่างแม่นยำ
เว็บไซต์ข่าวไอทีด้านความปลอดภัย Naked Security ของ Sophos รายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยจากคณะวิจัยร่วมจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ วิทยาเขตเออร์บานา แชมเปญ, มหาวิทยาลัยมิชิแกน และ Google ที่มีผลสรุปว่า กว่าครึ่งของไดรฟ์ USB (มักจะเรียกสั้นๆ ว่า thumb drive) ที่ทำตกหรือสูญหาย มักจะถูกเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้เผยแพร่มัลแวร์อื่นๆ ได้โดยง่าย
นักวิจัย CSAIL แห่งสถาบัน MIT พัฒนาระบบ Wi-Fi ที่สามารถรับรู้ตำแหน่งของผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับมันอยู่ ที่ไม่ใช่แค่รู้ว่ามีกี่ชิ้น แต่มันสามารถรู้ตำแหน่งที่ชัดเจนได้ว่าห่างออกไปเท่าไหร่จาก access point ในทิศทางไหน ชื่อของโครงการวิจัยนี้คือ Chronos
Chronos ใช้วิธีจับเวลา "time-of-flight" ซึ่งหมายถึงระยะเวลาที่สัญญาณจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ถูกส่งมายังอุปกรณ์ Wi-Fi มันสามารถจับเวลาได้แม่นยำระดับที่ว่าค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนนั้นมีแค่เพียง 0.47 ns หรือไม่ถึงครึ่งของหนึ่งในพันล้านวินาทีเท่านั้น
กลุ่มนักวิจัยแห่ง University of Illinois ประสบความสำเร็จในการทำลายสถิติการส่งข้อมูลผ่านใยแก้วนำแสง โดยพวกเขาทำได้ 57Gbps แบบไม่มีข้อมูล error เลย
ทีมวิจัยนี้นำโดย Milton Feng ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ร่วมด้วยศาสตราจารย์กิตติคุณ Nick Holonyak Jr. และนักวิจัยอีก 2 คน คือ Michael Liu และ Curtis Wang พวกเขาทำการส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี VCSEL ซึ่งให้สัญญาณแสงที่แรงและมีประสิทธิภาพในการทำงานดี ส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วที่ติดตั้งในบริเวณอุณหภูมิห้องปกติไม่ง้อระบบทำความเย็นใดๆ และแม้ทดสอบในสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็น 85 องศาเซลเซียส ก็ยังสามารถส่งข้อมูลได้เร็วระดับ 50Gbps
ไมโครซอฟท์รีเสิร์ชเผยงานวิจัย holoportation ที่ใช้เทคโนโลยีการจับภาพมนุษย์ในสามมิติไปแสดงผลในอีกสถานที่หนึ่งได้แบบเรียลไทม์ โดยใช้อุปกรณ์ที่แสดงผลโลกเสมือนจริงอย่าง HoloLens ในการมองเห็น สนทนา และโต้ตอบกับคนที่ teleport แบบเสมือนในสามมิติ ราวกับว่าทั้งสองอยู่สถานที่เดียวกัน
ใครนึกภาพไม่ออกก็ลองดูคลิปนำเสนอได้ที่ท้ายข่าว
ที่มา: ไมโครซอฟท์รีเสิร์ช
กองทุนวิจัยกลาโหมสหรัฐฯ หรือ DARPA ที่เคยให้ทุนกับงานวิจัยสำคัญๆ อย่าง อินเทอร์เน็ตหรือรถยนต์ไร้คนขับประกาศแข่งงานวิจัยครั้งใหม่เป็นการสร้างระบบจัดสรรคลื่นความถี่ตามการใช้งานจริง และให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้จัดสรร โดยใช้ชื่อรายการแข่งขันว่า Spectrum Collaboration Challenge (SC2)
DARPA ระบุว่าแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ทุกวันนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ คลื่นความถี่บางส่วนถูกจัดสรรให้กับการใช้งานที่ต้องการคลื่นจำนวนมาก ทำให้การใช้งานหนาแน่นจนเกินความจำเป็น DARPA จึงสนับสนุนให้มีการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ (machine learning) ขึ้นมาจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วงเวลาที่รวดเร็วกว่าทุกวันนี้ (machine timescales)
สัญญาณไฟจราจรถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 โดยสัญญาณไฟจราจรถือเป็นอุปกรณ์ช่วยการจราจรตรงทางแยก แต่ในอนาคตที่รถยนต์กำลังจะไร้คนขับอย่างเต็มตัวแล้ว เทคโนโลยีที่ใช้มานับร้อยปีอาจต้องเปลี่ยนใหม่
นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจาก MIT ได้เสนอสัญญาณไฟจราจรยุคใหม่ ใช้วิธีการจัดตาราง (จากรายงานใช้คำว่า Slot-based Intersections หรือ SI) โดยใช้ทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เนื่องจากเมื่อรถกลายเป็นรถยนต์ไร้คนขับแล้ว การจะเปลี่ยนไปใช้ระบบจัดตารางการจราจรตรงทางแยกจึงเป็นไปได้ เพราะว่ารถยนต์แต่ละคันสามารถคุยกับคอมพิวเตอร์ หรือคุยกันระหว่างรถยนต์ได้ ฉะนั้นการจัดตารางก็จะให้รถยนต์คุยกับคอมพิวเตอร์
Face2Face คือชื่อของงานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ที่จับเอาท่าทางการแสดงสีหน้าของคนคนหนึ่งไปใส่ในคลิปวิดีโอเพื่อเปลี่ยนการขยับริมฝีปากและการแสดงสีหน้าของคนในวิดีโอนั้นได้
งานวิจัยนี้เป็นผลงานร่วมกันระหว่าง University of Erlangen-Nuremberg, Max Planck Institute for Informatics และ Stanford University โดยทีมวิจัยได้พัฒนาระบบตรวจจับใบหน้าของนักแสดงต้นแบบเพื่อจับการแสดงสีหน้า การขยับริมฝีปากขณะพูด การยักคิ้วหลิ่วตา แล้วแก้ไขภาพบุคคลเป้าหมายในคลิปวิดีโอให้แสดงสีหน้าและขยับปากตามต้นแบบได้แบบสดๆ
นอกจากจะโชว์หูฟัง Concept N ที่ล้ำโลกด้วยการให้เสียงโดยไม่ต้องสวมหู (ไปสวมคอแทน) ในงานเดียวกัน Sony ยังมีสินค้าต้นแบบอีกชิ้นมาโชว์อย่างโปรเจคเตอร์ที่แปลงร่างโต๊ะให้กลายเป็นหน้าจอสัมผัสได้ในชื่อ Interactive Tabletop
Interactive Tabletop เป็นร่างผสมระหว่างโปรเจคเตอร์ เซ็นเซอร์จับความลึก และเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวไว้ในตัวเดียว การใช้งานทำได้ด้วยการฉายไปที่โต๊ะ (หรือพื้นที่เรียบๆ) ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้นิ้วในการ input ข้อมูลบนโต๊ะที่ได้กลายเป็นหน้าจอสัมผัสขนาดใหญ่ได้ทันที
ในรุ่นต้นแบบที่ Sony นำมาโชว์ในงาน SXSW มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่ตอบสนองกับหนังสือ Alice in Wonderland โดยสามารถลากตัวละครในเรื่องออกมาจากหนังสือได้ด้วยนิ้ว และนำไปตอบสนองกับสิ่งอื่นๆ ภายนอก เช่นถ้วยชาได้
จากที่ดู Sony โชว์ของในครั้งนี้ Interactive Tabletop น่าจะนำไปใช้ในงานเพื่อการศึกษาได้ไม่ยาก ส่วนจะออกมาเป็นรูปร่างเมื่อไหร่ หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป
ที่มา - The Verge
Lorrie Cranor ประธานนักเทคโนโลยีของ FTC (คณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ) และยังเป็นศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของสถาบัน Carnegie Mellon ได้เขียนบทความอธิบายว่าการที่ผู้ดูแลระบบกำหนดให้ผู้ใช้ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่บ่อยๆ ส่งผลเสียต่อความปลอดภัยของระบบแทนที่จะเป็นผลดี
หลังจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แหวกแนวจากที่เคยมาหลายชิ้น ล่าสุด Sony ออกมาประกาศเปิดตัวโครงการวิจัยใหม่ในชื่อ Future Lab Program ที่จะเปิดรับความเห็นจากผู้ใช้มารวมกับเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อปั้นแนวคิด และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาแล้ว
ตามรายละเอียดของโครงการ Future Lab Program จะเป็นตรงกลางที่แผนกวิจัยของ Sony จะได้เข้าถึงความเห็นของผู้ใช้ ในขณะที่ผู้ใช้ก็จะได้มีส่วนร่วมกับแนวคิดที่จะได้ใช้เทคโนโลยีทันสมัยสุดๆ เพื่อให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยมีชิมลางมาแล้วหนึ่งชิ้นในโค้ดเนม "N" หูฟังแนวทางใหม่ที่ใช้งานได้แม้ไม่ต้องเสียบสิ่งใดเข้าไปในหูก็สามารถรับฟังเสียงเพลงได้ ซึ่งตอนนี้ก็คงได้แต่เดากันไปก่อน Sony จะเผยรายละเอียดเพิ่มเติมออกมา
Sony จะนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบของโครงการ Future Lab Program ไปโชว์ใน SXSW งานด้านสื่อสมัยใหม่ และเทคโนโลยีที่จะจัดขึ้นในเมืองออสติน มลรัฐเทกซัสวันที่ 12 มีนาคมนี้
ที่มา - Sony
ทีมนักวิจัยของ MIT โชว์ผลงานการพัฒนา SensorTape เซ็นเซอร์วัดแสงและตรวจจับการเคลื่อนไหวออกแบบในรูปของเทปกาว เพื่อใช้สำหรับงานพัฒนาต่างๆ โดยผู้พัฒนาสามารถติดเซ็นเซอร์เข้ากับวัตถุหรือชิ้นงานอื่นได้โดยสะดวก
ทีมผู้พัฒนา SensorTape นั้นประกอบไปด้วย Artem Dementyev, Cindy Hsin-Liu Kao และ Joe Paradiso แห่ง MIT Media Lab โดยพวกเขาทำเทปกาว ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์และไฟ LED เพิ่มเข้าไป มันสามารถตรวจวัดแสงและรับรู้ถึงการโก่งบิดของตัวแถบเซ็นเซอร์เองได้โดยอาศัยเซ็นเซอร์วัดอัตราเร่งและไจโรสโคป เหล่าเซ็นเซอร์แต่ละหน่วยจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยอาศัยสารตัวนำไฟฟ้าที่ถูกพิมพ์ลงบนฟิล์ม
เวลาดูภาพถ่ายใดๆ ถ้าในภาพนั้นมีสถานที่สำคัญ เราคงบอกได้ไม่ยากว่าภาพนั้นถูกถ่ายที่ไหน แต่ถ้าเป็นภาพธรรมดาไม่มีอะไรพิเศษ การแยกแยะสถานที่ถ่ายภาพนั้นย่อมยากขึ้นเยอะ ต้องอาศัยบริบทต่างๆ เช่น ต้นไม้ สถาปัตยกรรม ฯลฯ เข้าช่วย (ลองท้าทายความสามารถด้วยการเปิดเว็บ Geoguessr ที่ดึงภาพจาก Street View มาให้เราทายว่าอยู่ที่ไหนในโลก)
ทีมวิจัยของกูเกิลเปิดตัว PlaNet ปัญญาประดิษฐ์ที่เกิดจากการเทรน deep learning ตัวใหม่ สามารถคาดเดาได้ว่าภาพนั้นถูกถ่ายจากที่ไหน ด้วยความแม่นยำที่เหนือกว่ามนุษย์ด้วยซ้ำ