Bloomberg รายงานความคืบหน้าการสรรหาซีอีโอคนใหม่ของ Uber ล่าสุด ซึ่งตอนนี้มีรายชื่อตัวเลือกเหลือไม่ถึง 6 คน คาดว่าจะยื่นข้อเสนอพร้อมเริ่มงานซีอีโอได้เร็วที่สุด ต้นเดือนกันยายนนี้
แม้ไม่มีข้อมูลรายชื่อตัวเลือกที่มีอยู่ทั้งหมดออกมา แต่แหล่งข่าวยืนยันว่าหนึ่งในตัวเก็งคือ Meg Whitman ซึ่งปัจจุบันเป็นซีอีโอของ Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE (เคยมีรายชื่อในข่าวลือตอนแรก) อย่างไรก็ตามโฆษกของ HPE ได้ชี้แจงต่อข่าวดังกล่าวว่า Meg ยังต้องการทำงานที่ HPE ต่อไปจนกว่าภารกิจจะลุล่วง
ประเทศอินเดียมีระบบยืนยันตัวตนประชาชนในชื่อเรียกว่า Aadhaar เป็นการยืนยันตัวตนผ่านส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ม่านตา ลายนิ้วมือ เป็นต้น แม้ระบบดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความเป็นส่วนตัวมาก แต่มีแหล่งข่าววงในระบุว่าสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจในอินเดียเจ้าใหญ่ เช่น Airbnb, Uber และ Ola ก็เตรียมนำระบบนี้มายืนยันตัวผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มด้วย
Uber และ Ola บริการแชร์รถ กำลังพิจารณาใช้ Aadhaar มาตรวจสอบและยืนยันตัวตนของคนขับรถ ในขณะที่ Airbnb ก็กำลังมองหาระบบยืนยันตัวตนมาใช้กับเจ้าของห้องเช่า แหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลเป็นบุคคลในสามบริษัทดังกล่าว พวกเขาไม่เปิดเผยตัวตนเพราะยังไม่มีข้อมูลที่เป็นทางการออกมาจากบริษัท
Uber ประกาศว่าจะหยุดให้บริการในมาเก๊า ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งเป็นการประกาศหยุดให้บริการเป็นครั้งที่สอง (ก่อนหน้านี้เมื่อกันยายน 2016)
ในการประกาศหยุดให้บริการครั้งที่แล้ว Uber ให้เหตุผลว่าประสบปัญหาในการทำธุรกิจทางด้านกฎหมาย ส่วนครั้งนี้ก็ให้เหตุผลคล้ายกัน โดยปิดท้ายหวังว่าจะมีโอกาสได้กลับมาให้บริการในมาเก๊าอีกครั้ง
Bloomberg รายงานข่าวลือจากวงในว่า นักลงทุนหลายรายใน Uber กำลังหาวิธีขายหุ้นบางส่วนออกไป
ปัจจุบัน Uber มีนักลงทุนประมาณ 500 ราย ที่มูลค่าบริษัท 69 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของบริษัทในช่วงหลังส่งผลให้นักลงทุนชุดแรกๆ (ที่ซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำ) ต้องการกระจายความเสี่ยงโดยลดสัดส่วนหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ลง
นักลงทุนรายสำคัญที่ Bloomberg ระบุชื่อคือ Benchmark ซึ่งถือหุ้น Uber จำนวนมาก และมีบทบาทสำคัญในการบีบซีอีโอ Travis Kalanick ให้ลาออก แต่นอกจาก Benchmark แล้วก็ยังมีนักลงทุนรายอื่นๆ พยายามขายหุ้น Uber ที่ถือครองอยู่ให้กองทุนขนาดใหญ่กว่ามารับช่วงไปแทน
ภารกิจค้นหาซีอีโอ Uber ยังคงดำเนินต่อไป โดยล่าสุด Kara Swisher แห่ง Recode มีอัพเดตล่าสุดว่าตัวเลือกที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ได้ตอบรับข้อเสนอกันอย่างไรบ้าง
Uber ประกาศถอยทัพในรัสเซียและประเทศใกล้เคียง โดยจะนำธุรกิจเรียกรถยนต์ในรัสเซียไปควบกิจการกับบริการเรียกรถ Yandex.Taxi ของ Yandex ยักษ์ใหญ่ของวงการไอทีรัสเซีย
Yandex จะถือหุ้น 59.3% ในบริษัทใหม่ที่ควบรวมกันแล้ว (ยังไม่มีชื่อเรียก) ส่วน Uber จะถือหุ้น 36.6% แลกกับการอัดเงินเข้าไปอีก 225 ล้านดอลลาร์ บริษัทใหม่มีลูกค้านับเป็นการเรียกรถ 35 ล้านครั้งต่อเดือน มีมูลค่าบริษัทที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์
ประเทศที่มีผลคือรัสเซีย คาซัคสถาน อาเซอร์ไบจาน อาร์เมเนีย เบลารุส จอร์เจีย คาดว่ากระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2017
ท่ามกลางดราม่าทั้งหลายที่อูเบอร์ประสบพบเจอ ดูจะไม่สะเทือนผลประกอบการและความต้องการอยากใช้บริการแชร์รถนัก วันนี้ อูเบอร์แถลงว่ามียอดใช้บริการทะลุ 5,000 ล้านเที่ยวแล้ว
อูเบอร์เปิดบริการในปี 2010 โดยยอดใช้งานอูเบอร์ทะลุ 1,000 ล้านเที่ยวตอนปลายปี 2015 และพุ่งสูง 2,000 ล้านเที่ยวเมื่อปีที่แล้วนี้เอง และมียอดเที่ยวโดยสารแตะ 5,000 ล้านเที่ยวในวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา
Equal Rights Center องค์กรผู้ดูแลด้านสิทธิและความเท่าเทียม ได้ฟ้อง Uber ว่าบริษัทเพิกเฉยต่อการเข้าถึงบริการของผู้พิการ โดยจากการฟ้องร้องขององค์กรนั้นบอกว่า Uber ละเมิดกฎหมาย Disabilities Act และ D.C. Human Rights Act เนื่องจากทางบริษัทเลือกที่จะไม่นำรถยนต์ที่รองรับการใช้วีลแชร์เข้ามาเป็นตัวเลือกใน UberX และกีดกันผู้ที่ใช้วีลแชร์ในวอชิงตัน ดีซี
Uber เคยเปิดตัวบริการที่ชื่อว่า Uber Access มาแล้ว ซึ่งผู้โดยสารสามารถเรียกใช้ UberASSIST หรือ UberWAV ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้วีลแชร์ได้ แต่เนื่องจาก Uber Access ไม่ได้เปิดให้บริการในทุกที่ที่มี Uber ให้บริการ
Fair Work Ombudsman หน่วยงานตรวจสอบด้านการจ้างงานของออสเตรเลียได้เริ่มกระบวนการสืบสวน Uber ในด้านวิธีการรับพนักงาน หลังจากที่กลุ่มของผู้ขับรถ Uber ต้องการสถานะของลูกจ้างไม่ใช่สถานะของพาร์ทเนอร์ตามที่ Uber กล่าวอ้าง
ทั้งนี้ คาดว่าทางหน่วยงานต้องการที่จะใช้กฎหมายในการบีบให้ Uber ทำตามกฎของสถานที่ทำงาน และจ่ายเงินค่าจ้างพนักงานรวมถึงให้ผลประโยชน์เมื่อเกษียณเหมือนกับลูกจ้างตามบริษัททั่วไป
ทั้งนี้ Uber ยังคงแก้ต่างโดยให้เหตุผลว่าบริษัทให้อิสรภาพกับพาร์ทเนอร์มากกว่า โดยทางบริษัทให้ข้อมูลกับ Reuters ทางอีเมลว่าพาร์ทเนอร์ชาวออสเตรเลียกว่า 60,000 คนเลือกขับรถกับ Uber เพราะว่าต้องการจัดตารางเวลาและเป็นนายของตัวเอง ซึ่งทางบริษัทยินดีร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อตอบคำถามทุกอย่างที่ต้องการ
เดิมเราสามารถเรียก Uber พร้อมกำหนดพิกัดสำหรับรับคนหรือเพื่อนเพิ่มได้อยู่แล้ว แต่ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด Uber เปิดให้ผู้ใช้เรียกรถให้ไปรับคนอื่นได้โดยตรง โดยคนเรียกเป็นคนออกค่าโดยสารให้
เมื่อแอพตรวจจับว่าพิกัดที่ถูกกำหนดให้รถไปรับ กับพิกัดของผู้ใช้เป็นคนละที่กัน แอพจะถามขึ้นมาว่าเป็นการเรียกรถให้ตัวเองหรือคนอื่น หากเลือกคนอื่น แอพจะให้ผู้ใช้เลือกผู้โดยสารจากสมุดรายชื่อ (contact/address book) ก่อนจะส่งลิงก์สำหรับติดตามรถและข้อมูลของคนขับไปให้สำหรับการติดต่อ ขณะที่คนขับก็จะได้รับชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้โดยสารเช่นกัน
ฟีเจอร์นี้ Uber ระบุว่าเปิดให้บริการใน 30 ประเทศทั่วโลกก่อนจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ส่วน Uber ไทยผมตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่มีฟีเจอร์นี้ครับ
Uber ประเทศไทยเปิดบริการใหม่ชื่อว่า uberFLASH เป็นการเรียกรถที่อยู่ใกล้ผู้ใช้ที่สุดมารับ ให้บริการทั้งรถแบบ uberX, UberBlack และรถแท็กซี่ทั่วไป เบื้องต้นเปิดให้ทดลองใช้งานเฉพาะในกรุงเทพมหานครก่อน
uberFLASH ให้บริการเหมือนการเรียกรถในประเภทอื่นๆ อัตราค่าโดยสารคิดอัตราเดียวกับ uberX จุดเด่นคือแอพจะหารถที่ใกล้ที่สุดให้กับผู้ใช้งาน โดยจะมีทั้ง uberX, UberBlack และยังมีรถแท็กซี่ทั่วไปที่เข้าร่วมบริการนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการความเร่งด่วนมีรถให้บริการอย่างแน่นอน หากไม่พอใจประเภทรถที่แอพเลือกให้ สามารถกดยกเลิกได้ แต่จะมีค่ายกเลิกการเดินทาง 45 บาท
ผู้ใช้ในกรุงเทพมหานครสามารถใช้งาน uberFLASH ได้แล้ววันนี้ ส่วนบริการ uberX กับ UberBLACK ยังเปิดให้บริการตามปกติ
ที่มา : Uber Blog
ถึงแม้ Uber จะไล่ผู้ก่อตั้ง Otto ที่ขโมยเอกสาร Waymo ออกไปแล้วก็ตาม ทว่าปมความขัดแย้งระหว่าง Uber กับ Waymoยังคงดำเนินต่อไปในกระบวนการชั้นศาล
เอกสารการไต่สวนที่เปิดเผยออกมาล่าสุดชี้ว่า Waymo ยื่นฟ้องเพิ่มเติมต่อศาล โดยอ้างคำพูดจากฝั่ง Uber เองว่า Travis Kalanick ที่ตอนนี้เป็นอดีตซีอีโอ Uber ไปแล้ว รู้เรื่องที่ Anthony Levandowski ผู้ก่อตั้ง Otto และอดีตพนักงาน Waymo แอบขโมยเอกสารลับสุดยอดออกมาจากที่ทำงานเก่า ก่อนจะสั่งให้ Levandowski ทำลายเอกสารนั้นทั้งหมด
สิงคโปร์ประกาศแนวทางการควบคุมรถส่วนตัวที่ให้บริการโดยสาร (private hire car) มาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายก่อนกฎข้อแรกคือการลงทะเบียนและติดสติกเกอร์จะมีผลบังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม ทางขนส่งทางบกสิงคโปร์ก็ออกมาแถลงตัวเลขว่ามีใบสมัครเข้ามาแล้วถึง 39,000 คน และได้รับอนุมัติไปแล้วถึง 33,000 คน
นอกจากตัวคนขับต้องตรวจสุขภาพและลงทะเบียนแสดงความจำนงที่จะสอบใบขับขี่รถส่วนตัวให้บริการโดยสารแล้ว ตัวรถเองก็ต้องติดสติกเกอร์แสดงตนว่าเป็นรถที่ให้บริการโดยสาร โดยตอนนี้มีรถติดสติกเกอร์ไปแล้ว 27,000 คัน
ขึ้นชื่อว่าเป็นซีอีโอผู้บุกเบิกอูเบอร์ ก็น่าจะสร้างบารมีและความเชื่อถือจากพนักงานอูเบอร์ได้พอสมควร จากเหตุการณ์ Travis Kalanick ซีอีโออูเบอร์ลาออก มีพนักงานไม่ต่ำกว่า 1,000 คน เรียกร้องไปยังบอร์ดบริหาร ให้เขากลับมา
พนักงานอูเบอร์กว่าพันคนร่วมลงนามในจดหมายเรียกร้องไปยังบอร์ดบริหารอูเบอร์ ให้ Travis Kalanick กลับมาทำงานต่อ โดยจดหมายเป็น Google Docs พนักงานคนอื่นสามารถลงชื่อเพิ่มเติมได้ และจนถึงตอนนี้มีพนักงานลงชื่อคิดเป็น 10% ของพนักงานอูเบอร์ทั้งหมดแล้ว (ไม่รวมคนขับ)
ท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูองค์กร ของ Uber บริษัทได้ออกมาตรการใหม่เพื่อเอาใจคนขับรถ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการฟื้นฟู 180 วัน ด้วยการเพิ่มตัวเลือกให้ทิปกับคนขับโดยตรงภายในแอป
นอกจากทิป คนขับยังมีโอกาสได้เงินเพิ่มจากมาตรการใหม่ ที่หากลูกค้าปล่อยให้คนขับรอนานเกิน 2 นาที พร้อมทั้งลดระยะเวลาที่ลูกค้าจะสามารถกดยกเลิกรถโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (5 เหรียญ) จากเดิม 5 นาทีเหลือ 2 นาที
ในส่วนของทิปนั้น Uber จะมอบใหคนขับทั้งหมด ไม่มีการหัก แต่ค่าปรับจากการปล่อยให้คนขับรอนานเกิน รวมถึงค่าธรรมเนียมยกเลิกรถนั้น Uber จะหักเงินส่วนหนึ่งเช่นเดิม
The New York Times รายงานเบื้องหลังการบีบ Travis Kalanick ออกจากตำแหน่งซีอีโอของ Uber ว่าซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างมาก
เดิมทีนั้น Kalanick สร้างพันธมิตรในบริษัทไว้มากมาย ทั้งระดับบริหารและระดับบอร์ด โดยพันธมิตรคนสำคัญของเขาคือ Bill Gurley นักลงทุนจากบริษัท Benchmark Capital ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของ Uber
จากการลาออกของ Travis Kalanick ซีอีโอ Uber สื่อก็เริ่มคาดกันต่อว่าบอร์ดบริหารจะเลือกใครมาทำหน้าที่นี้ต่อจากเขา ซึ่งเป็นภารกิจที่ไม่ง่ายนัก Uber เป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากิจการสูงถึง 69,000 ล้านดอลลาร์ มีธุรกิจดำเนินงานอยู่ทั่วโลก และช่วงที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่างที่ต้องแก้ไข
ก่อนหน้านี้ Kalanick ได้ประกาศหาซีโอโอมาร่วมงาน ซึ่งบอร์ดก็ได้รายชื่อมาหลายคน เมื่อเขาประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอ ก็เป็นไปได้ว่าตัวเลือกที่เดิมจะมาเป็นซีโอโอ น่าจะได้รับข้อเสนอมาเป็นซีอีโอเลย ซึ่งรายชื่อเด่นที่แหล่งข่าวเปิดเผยข้อมูลมามีดังนี้
หลังจากปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้า Uber ก็ได้ประกาศโครงการ 180 Days of Change เพื่อผลักดันให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกับคนขับรถ Uber ซึ่งผู้บริหารใช้คำว่า เป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญกับบริษัท แต่ที่ผ่านมายังดูแลได้ไม่ดีพอ (ประกาศนี้ออกมาก่อนที่ซีอีโอ Travis Kalanick จะลาออก)
เพียงไม่กี่วันหลังจาก Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber ประกาศพักงานชั่วคราว ล่าสุดเขาประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างถาวรแล้ว
การลาออกของ Kalanick เกิดจากการเรียกร้องของผู้ถือหุ้น 5 รายใหญ่ที่ต้องการให้เขาลาออกทันที ซึ่ง Kalanick ขอเวลาปรึกษากับบอร์ดและนักลงทุนบางรายสักพัก ก่อนตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งซีอีโอวันนี้ แต่เขาจะยังมีตำแหน่งเป็นบอร์ดของบริษัทต่อไป
Kalanick ออกแถลงการณ์ว่าเขารัก Uber มากกว่าทุกสิ่งในโลก นี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่เขาก็รับข้อเสนอของนักลงทุนเพื่อให้ Uber เดินหน้าต่อไปได้
Garrett Camp ผู้ร่วมก่อตั้ง Uber โดยเขาเป็นผู้ที่ไม่ได้มีบทบาทมากนักในการดำเนินงานของบริษัท (เพราะบทบาทดำเนินงานมักจะเป็นของซีอีโอผู้ถูกพักงาน Travis Kalanick ซะส่วนใหญ่) ได้ออกมาให้ความเห็นผ่านทาง Medium ของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์ของ Uber ในปัจจุบัน ในชื่อหัวข้อ “Uber’s path forward”
Camp กล่าวว่า Uber เป็นบริษัทที่เติบโตเร็วมาก จึงทำให้การเติบโตสำคัญมาก ในรอบปีที่ผ่านมา Uber จะโฟกัสไปที่การเติบโต แต่ล้มเหลวในการสร้างระบบที่ทุกบริษัทต้องใช้เพื่อรองรับการเติบโต Uber จึงต้องปรับองค์กรใหม่ ฟังพนักงานและผู้ขับรถมากขึ้น ให้ความสำคัญกับผู้ขับรถมากขึ้น
Jane Doe (นามสมมติ) หญิงสาวที่ถูกข่มขืนโดยคนขับอูเบอร์ในอินเดียเมื่อปี 2014 ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทต่อบริษัทอูเบอร์และอดีต ผู้บริหาร Emil Michael กับ Eric Alexander รวมทั้ง Travis Kalanick CEO ที่พักงานแบบไม่มีกำหนดด้วย เนื่องจากพยายามเข้าถึงข้อมูลการแพทย์ของเหยื่อ และตั้งข้อสงสัยว่าเหตุการณ์ข่มขืน มีบริษัทแท็กซี่ในอินเดียที่เป็นคู่แข่งกับอูเบอร์ในท้องถิ่นอยู่เบื้องหลัง
หลังจากซีอีโอ Travis Kalanick พักงานไม่มีกำหนด และผู้บริหารอันดับสองของบริษัท Emil Michael ลาออก อำนาจหน้าที่บริหารบริษัทจึงค่อยๆ ตกเป็นของคณะกรรมการ โดยเว็บไซต์ Yahoo! Finance สอบถามไปยังผู้ใกล้ชิดกับอูเบอร์ ได้รายชื่อมา
14 คน ดังนี้
David Bonderman หนึ่งในคณะบอร์ดของอูเบอร์ลาออกจากบอร์ด หลังแสดงความเห็นเรื่องบทบาทผู้หญิงในการทำหน้าที่เป็นบอร์ดของบริษัทในทางลบ
ช่วงระหว่างที่บอร์ดกำลังพิจารณาบทบาทผู้บริหารอูเบอร์ Arianna Huffington หนึ่งในคณะประชุมแสดงความเห็นว่าจะทำอย่างไรให้บอร์ดผู้บริหารมีผู้หญิงมากขึ้น ขณะที่ Bonderman ก็ออกความเห็นว่า "นี่แหละ ยิ่งทำให้เห็นว่า ผู้หญิงมักจะเป็นพวกช่างพูด"
ตามข่าวก่อนหน้านี้ว่า Uber มีการประชุมบอร์ดเพื่อหาข้อยุติปัญหาภายในหลายอย่าง โดยประเด็นสำคัญคือการพิจารณารายงานสรุป จากที่ปรึกษาผู้ตรวจสอบอิสระ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ ภายในองค์กร รวมทั้งข้อเสนอแนะ รวม 47 ข้อเสนอ ซึ่งบอร์ดได้ลงมติที่จะปฏิบัติตามแต่ไม่ใช่ทุกข้อเสนอ
ยังไม่มีผลการประชุมบอร์ดอูเบอร์ ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ Emil Michael รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจก็ลาออกจากอูเบอร์แล้ว หลังเป็นศูนย์กลางของข่าวฉาวอูเบอร์ทั้งปวง และติดโผรายชื่อที่บอร์ดอูเบอร์กำลังพิจารณาบทบาทด้วย โดยผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทน Micheal คือ David Richter รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ของอูเบอร์
Michael นอกจากเป็นคนสนิทของ Travis Kalanick แล้ว เขายังเป็นผู้บริหารอันดับสองของอูเบอร์ด้วย Michael ส่งอีเมลหาพนักงานทุกคนหลังจากบอร์ดอูเบอร์ประชุมพิจารณาบทบาทผู้บริหารร่วม 7 ชั่วโมง เนื้อหาอีเมลคร่าวๆ คือเขาลาออก คนที่จะมาแทนคือ David Richter เขามั่นใจมากว่า Richter จะนำบริษัทต่อไปได้อย่างดีเยี่ยม เขาภูมิใจที่ได้ร่วมระดมทุนซึ่งอูเบอร์ทำได้มากที่สุดอย่างที่บริษัทอื่นทำไม่ได้