สงสัยคนอื่นเค้าจะคิดว่าคนอ่าน Blognone เป็นแรงงานมีฝีมือเชื่อถือได้ เลยมีคนติดต่อมาให้ผมหาคนให้อยู่เสมอๆ ซึ่งเอาจริงแล้วผมก็ไม่ค่อยรู้จักคนอ่านซักเท่าไร กระนั้นเลยอย่าให้เสียโอกาส เรามาเปิดตลาดนัดแรงงาน กันดีกว่า
Blognone Jobs ไม่มีอะไรมาก เป็น forum ธรรมดา สมาชิกทุกคนสามารถโพสต์ได้ทันที ซึ่งก็เปิดรับทั้งหมดไม่ว่าจะหานายจ้าง หาลูกจ้าง หางานพารท์ไทม์ หรือแม้กระทั่งหาที่ฝึกงาน ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยได้เลยครับ
หมายเหตุ: เรียกย่อๆ ได้ว่า BJ (อันนี้จงใจ) หมายเหตุ 2: ประกาศรับสมัครงานกับ Blognone Jobs จะผ่านสายตาคนอ่านมากกว่า... คนต่อวัน (ดูสถิติ) แถมตรงกลุ่มเป้าหมาย โฆษณาสุดๆ :P
Ars Technica มีบทความแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ IPv6 แนะนำให้อ่านถ้าคุณเคยเห็นชื่อ IPv6 ผ่านๆ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร
หัวข้อ
ข้อมูลทั้งหมดเคยลงในบทความอื่นๆ มาเยอะแล้ว เพียงแต่อันนี้ไม่ยาวมาก แถมอ่านง่าย มีภาพประกอบชัดเจน
ที่มา - Ars Technica
บริษัท Wikia ของ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia (Wikia ให้บริการโฮสต์ Wiki แบบกลุ่ม อย่างงาน YouFest ก็ใช้ Wikia) ได้เผยแผนการพัฒนาเสิร์ชเอนจินที่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขผลการค้นหาได้ถ้าไม่ถูกใจ
Gil Penchina ซีอีโอของ Wikia บอกว่าเสิร์ชเอนจินตัวนี้ยังไม่มีกำหนดทำตลาด แต่มีเป้าหมายจะชิงส่วนแบ่ง 5% ของตลาดเสิร์ชมูลค่า 7 พันล้านเหรียญ โดยหารายได้จากโฆษณาเช่นเดียวกับรายอื่น
ผมคิดว่ารูปแบบคงออกมาคล้ายๆ Open Directory Project ผสมกับลิงก์ภายนอกที่อยู่ในด้านล่างสุดของ Wikipedia แต่ละหน้า
ที่มา - Inside Bay Area
สำหรับคนที่ลองเล่น Ubuntu แล้วพบว่าปัญหาพวกการติดตั้ง codec หรือไดรเวอร์ต่างๆ ที่ต้องทำด้วยตัวเองเป็นเรื่องกวนใจ บ่นไปก็คงไม่มีประโยชน์เพราะพวกนี้เป็นปัญหาทางกฎหมาย ทางออกที่ง่ายกว่าคือใช้ LinuxMint
ในขณะที่ Ubuntu ออกทุกหกเดือน LinuxMint ออกเร็วกว่านั้นมาก ทุก 1-2 เดือน ในเวอร์ชันล่าสุด 2.2 ก็มีของหลายอย่างที่ไม่มีใน Ubuntu เช่น ธีม (สำหรับคนที่ไม่ชอบสีน้ำตาลคงจะดีใจ), เมนูและ control panel ใหม่ของ GNOME (แบบเดียวกับของ SUSE), ไดรเวอร์ WiFi, Codec ต่างๆ, โปรแกรมเสริมที่ไม่ใช่โอเพนซอร์สอย่าง Flash 9 หรือจาวา เป็นต้น รายละเอียดลองอ่านได้จาก Release Notes
งาน Desktop Matter จบลงแล้ว ช่วงนี้งานสัมนาจาวาที่น่าสนใจค่อนข้างชุม ในงานมีการประกาศยั่วน้ำลายให้รู้จัก Nimbus ซึ่งจะเป็นโอเพนซอร์ส L&F (Look and Feel) ตัวใหม่ ชนิดทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม และมีความเป็นไปได้สูงจะกลายเป็นจาวา L&F ตั้งต้นมาตรฐานตัวต่อไปในอนาคต
เดิมที Nimbus เป็นเพียง GTK theme ที่ใช้ใน OpenSolaris เท่านั้น แต่ในงาน Desktop Matter คุณ Ben Galbraith ประกาศว่า ซันจะพอร์ต Nimbus มาเป็น Swing L&F ที่ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์มตัวต่อไป ดูตัวอย่าง Nimbus แล้ว คนแถวนี้ที่เกลียด Metal/Ocean คงจะรู้สึกดีขึ้นบ้าง :)
กูเกิล Guice (อ่านออกเสียงเหมือน Juice) เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กที่โดดร่วมเข้าแข่งขันในสนาม IoC เฟรมเวิร์ก โดยมีไอเดียคือใช้แต่ annotation ล้วนๆ
IoC (Inversion of Control) หรืออีกชื่อที่เท่กว่า dependency Injection กลายเป็นแบบรูปที่ฮิตติดลมบน ตั้งแต่ Rod Johnson นำเสนอ Spring ซึ่งเป็นทางเลือกที่แตกต่างจาก JavaEE 4 แต่ Spring โตมาในยุคที่ใครๆ ก็ใช้ XML ในการทำคอนฟิคไฟล์
การมาของ Java 5 ได้ทิ้งมรดกที่สำคัญหลายอย่างไว้ หนึ่งในนั้นคือ annotation การใช้ annotation โผล่มาได้จังหวะที่คนทนไม่ไหวกับ XML พอดี และการนำ annotation มาใช้แก้เกมใน Java EE 5 ช่วยลดขั้นตอน เป็นอะไรที่ตรงตัวและช่วยให้การทำงานเป็นสามัญสำนึกมากขึ้น
เป็นข่าวมาสักพักแล้วสำหรับเครื่องเล่นโซนี่ตระกูล NW-A800 ออกมาด้วยกัน 3 รุ่นคือ NW-A808, NW-A806 และ NW-A805 มีขนาดความจุ 8-4-2 กิกะไบต์ตามลำดับ (เหมือน iPod Nano เป๊ะ) พร้อมหน้าจอขนาด 2 นิ้ว QVGA LCD แสดงรายละเอียดที่ 240×320 สนับสนุนไฟล์เสียง MP3, ATRAC3, ATRAC3plus, WMA และวีดิโอ MPEG4 video (AVC แบบที่ใช้กับ PSP) ฉะนั้นไฟล์แบบ DivX และ WMV ต้องแปลงก่อนโดยโซนี่จะรวมโปรแกรม Image Converter 3 มาให้ด้วยซึ่งจะเป็น Walkman รุ่นแรกที่ได้ เพราะปกติจะให้เฉพาะ VAIO และ PSP
มีทั้งหมดสี่สี ดำ/ขาว/น้ำเงิน*/ชมพู โดยรุ่น 8GB มีเพียงสามสี เงิน/น้ำเงิน*/ดำ ขณะนี้มีวางจำหน่ายเปิดจองแล้วที่อังกฤษกับญี่ปุ่น สนนราคาที่ญี่ปุ่นตัว 8GB 32,800 เยน (~9,000 บาท)
หลังจากเราถูกมือมืดที่ไม่ยอมแสดงตัวบล็อคเว็บที่มีประโยชน์ไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง จนอดคิดไม่ได้ในไม่ช้าเราอาจจะเข้าวิกิพีเดียไม่ได้อย่างไม่มีเหตุผล หรือเข้ากูเกิลไม่ได้เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสม?
แทนที่เราจะมานัั่งโวยวายกันทุกครั้ง แล้วรอให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองออกโทรทัศน์แสดงวิสัยทัศน์ว่าการบล็อคเว็บจะเป็นผลดีแต่เยาวชนของชาติต่างๆ นาๆ โดยไม่พูดถึงว่าการบล็อคเว็บที่ผ่านมาสร้างความเดือนร้อนไปเพียงใด อีกทั้งไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าที่อ้างว่ามีประโยชน์ต่างๆ นั้นมีจริงเพียงใด คนอ่าน Blognone ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่กับอินเทอร์เน็ตกันค่อนข้างมาก (แอบอู้งานมาอ่านกันตอนบ่ายๆ เยอะ) คิดว่าเราจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไรกันบ้างครับ
ตั้งแต่ประมาณเวลาสี่ทุ่มในวันที่ 9 มีนาคม 2550 กระทรวงไอซีทีเริ่มมาตรการบล็อคเว็บอันดับ 8 ของไทยอย่าง YouTube ลงอย่างเป็นทางการ ด้วยการ Redirect เว็บเข้าสู่เว็บกระทรวงไอซีทีโดยตรง โดยยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุที่บล็อคว่ามีต้นเหตุมาจากอะไร
การบล็อกครั้งนี้นับเป็นการบล็อคเว็บที่ได้รับความนิยมสูงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง หลังจากสองเดือนก่อนหน้านี้ได้มีการบล็อกเว็บ CNN.com ไปในคืนที่พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับทาง CNN
ข่าวดีจากงาน EclipseCon อีกแล้ว คราวนี้ออราเคิลประกาศโอเพนซอร์ส TopLink ORM ให้ Eclipse เป็นผู้ดูแลแบบยกกระบิแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น EclipseLink ส่วน TopLink จะเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ออราเคิลไว้อินทริเกรตใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ในเครือของตัวเอง
ซิกม่า หนึ่งในผู้ผลิตเลนส์รายใหญ่ของโลก เปิดตัวเลนส์อภิมหาเทเลซูม (Ultra-Telephoto Zoom) ความยาวโฟกัส 200-500 มิลลิเมตร โดยที่รูรับแสง 2.8 ตลอดช่วง!!!
สำหรับเจ้า Sigma APO 200-500mm F2.8 EX DG ตัวนี้เป็นเลนส์ระดับมืออาชีพที่มีขนาดใหญ่มากๆ (ดูภาพ) ถึงกับต้องมีจอ LCD ไว้บอกระยะโฟกัสโดยเฉพาะ และต้องใส่ฟิลเตอร์ที่ท้ายเลนส์แทน (เลนส์หน้ากว้างๆ มักจะต้องใช้แบบนี้ครับ) และซิกม่ายังกลัวว่าระยะ 200-500 จะไม่พอ(ยังไม่ได้นับใส่กับกล้องดิจิทัลแล้วต้องมีตัวคูณนะครับ) ยังมี APO TELE CONVERTER 2x EX DG II มาไว้เพิ่มระยะเป็น 400-1000 อีกต่างหาก
วันนี้โซนี่ได้ออกมาประกาศโครงการ Playstation Home ครับ ซึ่งเป็นโลกเสมือนจริงที่จำกัดเฉพาะผู้เล่น Playstation เท่านั้น ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือคล้ายๆ กับเกม Second Life ซึ่งอนุญาติให้ผู้เล่นอัพโหลดตัวละครของตัวเอง มีบ้าน (เสมือนจริง) ของตัวเอง และอาศัยอยู่ร่วมกัน
จนถึงตอนนี้ก็มีภาพตัวอย่างออกมาที่ Gizmodo ครับ ส่วนโซนี่เองก็ได้เปิดเว็บไซต์สำหรับช่วงเบต้าของโครงการนี้ออกมาแล้วด้วย (แต่ัยังสมัครไม่ได้)
ที่มา - Gizmodo, Playstation Home Beta
เราดู keynote ของสตีฟ จ็อบส์กันมาเยอะแล้ว มาดู keynote ของไอดอลแห่งวงการเกมอย่างชิเงรุ มิยาโมโต้กันบ้างดีกว่า สำหรับคนที่ไม่รู้จัก มิยาโมโต้เป็นพ่อของมาริโอ้, ดองกี้คอง และเซลด้าครับ keynote อันนี้มิยาโมโต้มาพูดในงาน Game Developers Conference 2007 ซึ่งดูชื่อก็จะเห็นได้ว่าจับตลาดนักพัฒนาเกมโดยเฉพาะ
หลังจากเปิดตัวแบบสุดเท่ด้วยการปล่อยให้ Mii ของตัวเองออกมาบนจอก่อน มิยาโมโต้ได้พูดถึงแนวคิดในการพัฒนาเกม 3 ประเด็นใหญ่ๆ
IBM ร่วมมือกับกลุ่มค้นคว้าจานบิน Anomalies Network เปิดตัวเสิร์ชเอนจินสำหรับหาข้อมูล UFO ชื่อ UFOCrawler
เจ้า UFOCrawler นี้ใช้เอนจิน IBM OmniFind Yahoo! Edition enterprise ซึ่งค้นหาจากดัชนีเว็บของ Yahoo! แต่เพิ่มข้อมูลจานบินที่ Anomalies Network มีสะสมไว้เป็นจำนวนมากเข้าไปอีก นอกจากเรื่องจานบินก็ยังมีเรื่องผี, ทฤษฎีสมคบคิด และปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้อีกด้วย
ผมลองเสิร์ชหาผีไทย ปรากฎว่ายังทำไม่ได้แฮะ
ที่มา - NetworkWorld
หลังจากมีข่าวว่า Dell เตรียมซัพพอร์ตลินุกซ์เพราะผู้ใช้เรียกร้อง (ข่าวเก่า) ฝั่งคู่แข่งตัวเอ้อย่าง HP ก็ไม่ต่างกัน
หัวหน้าฝ่ายโอเพนซอร์สของ HP ให้ข้อมูลว่ากำลังเจรจากับลูกค้าที่สั่งซื้อพีซีล็อตพิเศษที่ติดตั้งลินุกซ์มาตั้งแต่โรงงาน โดยมีจำนวนเครื่องเป็น "หลักพัน" (ในคำสัมภาษณ์ใช้คำว่า multi-thousands of units) และส่งผลให้บริษัทมีความพร้อมในการซัพพอร์ตลินุกซ์มากขึ้นี้ เดิมทีเครื่อง HP บางรุ่นก็สั่งพรีโหลดลินุกซ์ได้ เพียงแต่ปริมาณการสั่งของลูกค้ายังไม่เยอะนัก
นอกจาก Dell กับ HP ก็ยังมี Lenovo ที่เป็นพันธมิตรกับ Novell ในการติดตั้ง SLED 10 มาให้แต่แรกเช่นกัน
Adobe วางแผนจะปล่อย Apollo beta ในปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยเราอาจจะได้เห็นบางส่วนของ เจ้า Apollo นี้ใน งาน ApolloCamp ที่ Adobe จัดขึ้นที่ San Francisco ในวันที่ 16 มีนาคม
และจากบล็อกของ Mike Chambers ซึ่งเป็น Developer Relations for Apollo ทำให้รู้ว่า public alpha release build for labs นั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในรุ่นอัลฟานี้จะเน้นไปที่ Flex developer ส่วน HTML developer ก็ยังสามารถทดลองใช้งานได้ แต่จะไม่มีคู่มือออกมาให้
สงคราม HD DVD กับ Blu-ray กำลังครุกกรุ่น ไหนจะสงคราม OpenXML/OpenDocument อีก คราวนี้ถึงคราวมาตรฐานรูปภาพกันบ้าง
ไมโครซอฟท์เตรียมส่งฟอร์แมตรูปภาพของตัวเอง "Microsoft HD Photo" เข้าสู่กระบวนการขอ ISO
ต้องบอกกันก่อนว่าฟอร์แมตรูปภาพที่ครองตลาดในปัจจุบันก็คือ JPEG ครับ ใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 โน่น (15 ปีมาแล้ว) ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 ก็ได้ออกตัวปรับปรุงคือ JPEG 2000 ซึ่งก็ดีกว่าเก่า แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากปัญหาสิทธิบัตร ในปัจจุบันจะเห็นว่า อุปกรณ์แทบทุกชิ้นที่แสดงรูปภาพได้ก็จะต้องรองรับ JPEG กันหมด
ลูกผสมที่ว่าก็คือผสมระหว่างหน่วยความจำแบบ NAND (flash memory) กับฮาร์ดดิสก์แบบเดิมครับ
ฮาร์ดดิสก์ลูกผสมนี้ออกมาในซีรีส์ MH80 มีความจุ 80GB, 120GB และ 160GB พร้อมด้วยหน่วยความจำแฟลช 128MB หรือ 256MB ตัวฮาร์ดดิสก์ออกมาในขนาด 2.5 นิ้วครับ (ใช้กันในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค)
หลังจากเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว วันนี้ Picasa Web Album ซึ่งเป็นบริการเก็บภาพของ Google (ซื้อมา) ก็ได้ทำการปรับปรุงหลายอย่าง
คร่าวๆ มีดังนี้ครับ
Macworld.co.uk รายงานว่าขณะนี้สต็อกสินค้าแอปเปิลบางรายการน้อยมาก ๆ แล้ว สินค้าเหล่านั้นได้แก่ Mac mini ทุกรุ่น, Combo-drive iMac, MacBook Pro รุ่นระดับกลางรวมไปถึง MacBook สีดำ, iPod nano ทุกรุ่นและลำโพง iPod HiFi
ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ผ่านมาหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสต็อกสินค้าแอปเปิลเริ่มน้อยลงมักจะเกิดจากการที่แอปเปิลได้เลิกผลิตสินค้ารุ่นนั้น ๆ เพื่อที่จะเตรียมการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ออกมา แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งหมดนี้อาจจะเกิดจากความต้องการสินค้าของแอปเปิลนั้นมากขึ้นนั่นเอง
สิ่งที่พอจะคาดการณ์ได้ตอนนี้คือน่าจะมีสินค้าแอปเปิลเปิดตัวใหม่ภายในเดือนนี้ หรือไม่แอปเปิลก็จะเร่งการผลิตสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น
My Yahoo หนึ่งในบริการของ Yahoo! ที่ให้บริการรวมข้อมูลและบริการต่างๆ แบบส่วนตัว โดยผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลได้ จะทำการปรับปรุงในเร็วๆ นี้ (บริการดังกล่าวเปิดให้บริการมาตั้งแต่ กรกฎาคม 1996)
โดย CEO Terry Semel กล่าวใน Morgan Stanley Technology Conference ว่า "ในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงใหม่ของ My Yahoo"
ที่มา - MacWorld
คนอ่านเว็บนี้จำนวนมากคงเคยเล่น Google Map กันมาบ้างแล้ว และคงเห็นว่าภาพถ่ายดาวเทียมที่ความชัดระดับเห็นหลังคาบ้านนี้มันน่าทึ่งขนาดไหน แต่ที่คนส่วนมากไม่รู้คือนอกจากการซูมสิบกว่าระดับที่กูเกิลให้เราคลิกแล้ว ยังมีการซูมในระดับที่ละเอียดกว่านั้นอยู่ใน Google Map ด้วย ล่าสุดมีผู้พบบริเวณที่สามารถซูมได้ถึงระดับ 23 ที่สามารถเห็นอูฐเต็มๆ ตัว และแทบจะจำหน้าของคนที่ยืนแหงนหน้ามองฟ้าอยู่ได้
Thomas Rubin ที่ปรึกษาของไมโครซอฟท์ได้กล่าวในงาน สมาคมผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ที่นิวยอร์กเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า เครื่องมือค้นหาของไมโครซอฟท์นั้นให้ความสำคัญกับการปกป้องลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของ ซึ่งคู่แข่งอย่างกูเกิลไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้ แม้ว่ากูเกิลจะบอกกับเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหลายให้เชื่อในระบบของกูเกิล และการใช้งานระบบของกูเกิลช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับเจ้าของผลงาน แต่กูเกิลกลับเก็บข้อมูลไว้ใช้ในธุรกิจด้านอื่น
เขายกตัวอย่างโฆษณาจากเว็บไซต์ที่เป็นเว็บดาว์นโหลดผิดกฎหมาย ทั้งหนังและเพลง กูเกิลรับเงินจากการค้นหาคำอย่างเช่น "bootleg movie download" และ "pirated"
ด้วยความเป็นเจ้าของแบนวิดท์จำนวนมหาศาลในอินเทอร์เน็ต กูเกิลเริ่มเสนอบริการส่งข้อมูลขนาดใหญ่มากให้กับนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม ด้วยการส่งฮาร์ดดิสก์ไปทางไปรษณีย์!!!
โครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก จิม เกรย์ ที่ทำงานในหน่วยวิจัยของไมโครซอฟท์ที่เริ่มโครงการส่งข้อมูล Terraserver ไปทั่วโลกมาก่อนหน้านี้ โดยโครงการของกูเกิลนี้เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการส่งข้อมูลปริมาณระดับเทราไบต์ให้แก่กัน
หนึ่งในข้อมูลที่ใช้บริการนี้คือข้อมูลจากกล้องฮับเบิลที่มีขนาดถึง 120 เทราไบต์ คิดง่ายๆ ก็ฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 กิกะไบต์ แค่ไม่กี่ลัง ข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านมีการเก็บสำเนาไว้ที่กูเกิลอีกหนึ่งชุด โดยหวังว่าสักวันหนึ่งความเร็วอินเทอร์เน็ตจะสูงพอให้ทุกคนเข้าไปดูข้อมูลเหล่านี้ได้