ต่อจากข่าว Ubuntu จะออก Unity 2D สำหรับเครื่องที่ไม่รองรับ OpenGL ทาง David Barth ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของ Canonical ออกมายืนยันว่า Unity 2D ยังไม่พร้อมสำหรับ Ubuntu 11.04 Natty Narwhal ที่จะออกในเดือนเมษายนนี้
Barth บอกว่า Natty จะใช้ Unity 3D เป็นระบบเดสก์ท็อปหลัก และถ้าฮาร์ดแวร์รองรับไม่ไหว ก็จะถอยกลับไปใช้ GNOME รุ่นมาตรฐานแทน แต่ถ้า Unity 2D เดินหน้าไปตามแผน ก็อาจพิจารณาเพิ่มเข้ามาเป็นทางเลือกที่สามด้วย
Unity 2D นั้นเขียนด้วย Qt และแชร์โค้ดบางส่วนกับ Unity 3D (ซึ่งเป็น GTK+) นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไม Canonical อยากรวมไลบรารี Qt เข้ามาในดิสโทร
บริษัทผู้ผลิต IDE แบบโอเพนซอร์สสองบริษัทคือ Appcelerator และ Aptana ได้รวมตัวกันแล้วเมื่อ Appcelerator เข้าซื้อ Aptana โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Appcelerator นั้นมีแพลตฟอร์มของตัวเอง โดยอาศัยการพัฒนาผ่านทาง HTML, JavaScript, Ruby, และ Python แล้วสามารถคอมไพล์เป็นแอพพลิเคชั่นแบบ native ได้บนเดสก์ทอปและโทรศัพท์มือถือ ส่วน Aptana นั่นเชี่ยวชาญในสองแพลตฟอร์มคือ เว็บ และ Adobe Air พร้อมกับมีเทคโนโลยีฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง
แถลงการเข้าซื้อระบุว่าทั้งสองบริษัทจะปล่อย IDE ที่รวมความสามารถของทั้งบริษัทเป็นพรีวิวแรกในเดือนมีนาคมนี้
Mark Shuttleworth ประกาศผ่านบล็อกว่า Ubuntu กำลังจะรวมไลบรารี Qt เข้ามาใน Ubuntu 11.10 และจะพิจารณาว่าควรรวมโปรแกรมที่สร้างด้วย Qt เข้ามาในซีดีหรือไม่
Shuttleworth บอกว่าโปรแกรมที่สร้างด้วย Qt ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ แต่มีปัญหาในเรื่องการทำงานร่วมกับเดสก์ท็อปของ GNOME (เช่น การตั้งค่าที่ใช้คนละแบบ ไม่ใช่ระบบตั้งค่ากลางของ GNOME) ทางแก้ของ Canonical ก็คือเชื่อมระบบตั้งค่า dconf เข้ากับ Qt เพื่อให้โปรแกรมที่สร้างด้วย Qt สามารถใช้ระบบตั้งค่าของ GNOME ได้ (ถ้านักพัฒนาสนใจจะทำ)
ถึงแม้ซีอีโอจะขอลาป่วยจนน่าจะเป็นข่าวลบต่อบริษัท แต่ผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ผ่านมาของแอปเปิล ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2010 ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่ 1 ปี 2011 ของบริษัทก็ออกมาให้เป็นข่าวดีอีกครั้ง (ดูผลประกอบการไตรมาสที่แล้ว)
เว็บไซต์ Engadget รายงานว่าได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้เกี่ยวกับแท็บเล็ตตัวใหม่ที่กำลังอยู่ในการพัฒนาจาก HP และใช้ระบบปฏิบัติการ webOS โดยแท็บเล็ตตัวนี้มี 2 รุ่นคือขนาด 9 นิ้ว รหัส "Topaz" และรุ่นขนาด 7 นิ้ว รหัส "Opal"
เมื่อเวลาประมาณ 23:20 น. ของวันที่ 18 มกราคม 2554 ตามเวลาประเทศไทย S.M.Entertainment Official YouTube Channel ได้ปล่อยวิดีโอเพลง Visual Dreams (Pop! Pop!) Song ซึ่งเป็น เพลงที่ทาง Intel ร่วมมือกับทาง S.M.Entertainment วิดีโอโปรโมตสินค้าขึ้นมาในชื่อ Intel Collaboration Song ของ 9 สาว 소녀시대 (So Nyeo Shi Dae, SNSD หรือ Girls` Generation)
หน่วยงานดูแลมาตรฐานเว็บ W3C ออกโลโก้ของ HTML5 และเทคโนโลยีในชุด เพื่อกระตุ้นให้คนสนใจเทคโนโลยี HTML5 มากขึ้น
โลโก้ในชุดประกอบด้วยโลโก้ HTML5 สีแดงส้ม และตราสัญลักษณ์ (badge) แทนเทคโนโลยีย่อยแต่ละหมวดอีก 8 อัน เช่น Semantics, Offline & Storage, 3D เป็นต้น (รายละเอียดของโลโก้ดูได้จาก W3C HTML5 Logo)
หลังประกาศโลโก้ออกมา บริษัทไอทีหลายแห่งก็เริ่มขานรับโลโก้นี้แล้ว ตามข้อมูลของ W3C บอกว่าไมโครซอฟท์และกูเกิลจะนำโลโก้นี้ไปใช้บนเว็บโชว์ HTML5 ของตัวเอง
ที่มา - ZDNet
ข่าวลือจากเว็บที่ไม่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้อย่าง Three Guys and a Podcast อ้างว่าแอปเปิลพยายามที่จะรวม iTunes เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Safari ภายในปีนี้ โดย Safari จะกลายเป็นเบราว์เซอร์ที่สามารถเปิดได้ทั้งเว็บ และเป็นโปรแกรมเล่นไฟล์มีเดียด้วย
โดยจากรายงานดังกล่าว สาเหตุที่แอปเปิลต้องการรวมสองโปรแกรมเข้าด้วยกันก็เพื่อที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของ Safari โดยทุกวันนี้แอปเปิลยังมีส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์ไม่ถึง 5% โดยการผูก iTunes เข้ากับ Safari แอปเปิลหวังว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์ของ Safari ได้
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เว็บ MacRumors เองยังไม่เชื่อว่าข่าวลือนี้จะเป็นจริงแต่อย่างใด โดยทั้งหมดนี้ดูเหมือนว่ามาจากการคาดเดาทั้งสิ้น
ต้องย้อนข่าวเก่าเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว Windows Phone 7 ถูกแฮกให้ลงแอพฯ โดยไม่ต้องผ่าน Marketplace ได้แล้ว! โดยฝีมือของทีม ChevronWP7 (ซึ่งภายหลังไมโครซอฟท์ขอให้ทีมนี้เอาซอฟต์แวร์ออกจากเว็บ)
ล่าสุดทางทีม ChevronWP7 ได้โพสต์ภาพถ่ายของการประชุมร่วมกับพนักงานฝ่าย WP7 ของไมโครซอฟท์ โดยเนื้อหาในการประชุมก็คือแผนการพัฒนาแอพแบบ homebrew (แจกจ่ายและติดตั้งกันเอง ไม่ต้องผ่าน Marketplace) ของไมโครซอฟท์ในอนาคต
ตัวซอฟต์แวร์ ChevronWP7 คงหมดอนาคตในฐานะซอฟต์แวร์สำหรับ jailbreak เพราะไมโครซอฟท์ประกาศปิดรูรั่วที่ ChevronWP7 ใช้ประโยชน์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ทีมงาน ChevronWP7 จะมีภารกิจใหม่ด้านการพัฒนาระบบ homebrew บน WP7 อย่างแน่นอน
ข่าวนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับ ยอดขายนิตยสารดิจิทัลใน iPad ลดลง ควรอ่านข่าวเก่าประกอบ
หนังสือพิมพ์ The New York Times มีรายงานว่าเครือสิ่งพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐหลายราย ซึ่งทำแอพนิตยสารลง iPad กันถ้วนหน้า ยังไม่พอใจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่นัก
เหตุผลสำคัญก็คือ "แอปเปิลควบคุมมากเกินไป" และแอปเปิลยังไม่ยอมเปิดบริการที่สำคัญ 2 อย่าง ได้แก่
โครงการ Apache ออก Tomcat 7.0.6 ซึ่งเป็นรุ่นเสถียรรุ่นแรกของ 7.x แล้ว หลังออกรุ่นทดสอบมาหลายรุ่นในปีที่แล้ว
Tomcat เป็นซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สำหรับใช้งาน Java Servlet และ JSP โดยฟีเจอร์สำคัญในรุ่น 7.x ก็คือรองรับ Java Servlet 3.0 และ JSP 2.2 (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ JavaEE 6) การเปลี่ยนมาใช้ Java Servlet 3.0 ทำให้เปลี่ยนระบบคอนฟิกมาเป็นแบบแยกไฟล์ (annotation) ช่วยให้ระบบปลอดภัยมากขึ้น
รายละเอียดทั้งหมดอ่านได้จาก changelog ครับ
ที่มา - InfoWorld
หลังจากมีข่าวใหญ่โตว่า Facebook อนุญาตให้แอพขอดูที่อยู่บ้านเราได้ และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนัก ทาง Facebook ก็ออกมาประกาศแล้วว่าจะ "หยุดฟีเจอร์นี้ชั่วคราว"
แต่มันจะกลับมาแน่นอนครับ เพราะ Facebook บอกว่า "ฟังเสียงผู้ใช้" แล้วต้องการปรับปรุงให้กระบวนการที่แอพขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลที่อยู่จากเราชัดเจนมากขึ้น โดยให้ผู้ใช้อนุญาตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น การปรับปรุงจะใช้เวลาอีกไม่กี่สัปดาห์ และฟีเจอร์นี้จะกลับมาอีกครั้ง
ที่มา - Facebook Blog, The Register
เป็นบทวิเคราะห์จาก InfoWorld ต่อวงการมือถือ ณ ปัจจุบันครับ
InfoWorld มองว่า iOS และ Android ลอยตัวจากสงครามมือถือไปเรียบร้อยแล้ว ส่วน Nokia กับ Windows Phone ก็หลุดวงโคจรไปเรียบร้อยแล้ว รายอื่นที่ยังต้องรอดูว่าจะอยู่หรือไปคือ BlackBerry กับ webOS
BlackBerry
InfoWorld มองว่าทิศทางของ BlackBerry ในช่วงหลังๆ ยังไม่เข้าเป้าเท่าที่ควร ทั้งที่มีศักยภาพจะขึ้นมาเป็นอันดับสามของตลาดได้
เมื่อตอนอายุ 14 คุณทำอะไรอยู่ แต่เด็กคนนี้ Robert Nay เด็กชายชาวอเมริกันอายุเพียง 14 ปี ได้สร้างเกมที่มีชื่อว่า Bubble Ball มียอดผู้ดาวน์โหลดสูงจนขึ้นเป็นอันดับ 1 ในหมวด Free Apps เบียดแชมป์เก่าอย่างเกม Angry Birds (Lite Version) ที่ครองแชมป์มาอย่างยาวนาน
เกม Bubble Ball เปิดให้ดาวน์โหลดใน App Store เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 53 และถูกดาวน์โหลดไปกว่าล้านครั้ง ภายในเวลา 2 สัปดาห์ จนทะยานขึ้นอับดับหนึ่ง ในหมวด Free Apps และยอดดาวน์โหลดก็พุ่งสูงถึง 400,000 ครั้งในวันที่เกมขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่ง
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (15 ม.ค.) ผมได้ไปร่วมงาน BarCamp Songkhla 2 มาครับ
ตามที่ชื่อบอกไว้ BarCamp ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองของ จ. สงขลา หลังจัดครั้งแรกไปเมื่อปี 2008 คราวนี้ย้ายที่จัดจากเดิมในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาเป็นร้านกาแฟ dot cafe ในตัวเมืองหาดใหญ่ (ขอบคุณคุณ @ifine เจ้าของร้านที่เอื้อเฟื้อสถานที่)
ผลสำรวจจากบริษัท Knowledge Networks ระบุว่าผู้ใช้ iPad จำนวน 86% ตอบว่ายินดีจะ "ดูโฆษณา" เพื่อแลกกับการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ แบบไม่ต้องเสียเงิน
ผู้ใช้ 13% ตอบว่ายินดีจะเสียเงินเพื่อดูรายการทีวีหรืออ่านนิตยสารที่ตัวเองมีอยู่แล้วบนสื่ออื่น และราคาที่ยินดีจ่ายอยู่ที่ 2.60 ดอลลาร์ต่อเนื้อหาหนึ่งชิ้น
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าจำนวนแอพเฉลี่ยที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดมาคือ 24 ตัว ซึ่งเป็นแอพแบบเสียเงิน 6 ตัว
ที่มา - Mobile Marketing Watch
จุดขายสำคัญอย่างหนึ่งของ LG Optimus 2X คือความสามารถในการถ่ายวิดีโอความละเอียด Full HD (1080p หรือ 1920x1080) ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นมือถือตัวแรกที่ถ่ายวิดีโอละเอียดระดับนี้ได้
ตอนนี้แม้เครื่องจะยังไม่ออก แต่มีเว็บไซต์ไอทีจากประเทศกรีซได้เครื่องไปทดสอบแล้ว และถ่ายวิดีโอ 1080p มาลง YouTube ยั่วน้ำลายให้คนอยากซื้อดูไปก่อน
ที่มา - GSM Arena
เปลี่ยนโหมดความละเอียดของ YouTube กันเองนะครับ
สตีฟ บัลเมอร์ เพิ่งให้สัมภาษณ์ถึง Kinect for PC ไปไม่นาน ล่าสุดมีข่าววงในแว่วมาว่า ไมโครซอฟท์จะออกไดรเวอร์และ SDK ของ Kinect สำหรับพีซีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
ตามข่าวบอกว่าไมโครซอฟท์จะรวมไดรเวอร์และ SDK ของ Kinect มาพร้อมกับ XNA Game Studio รุ่นพรีวิวถัดไป (CTP) และในช่วงแรกจะมีสถานะเป็นเบต้าไปก่อน
ที่มา - WinRumors
จุดอ่อน (หรือจุดแข็ง?) ของ BlackBerry PlayBook คือต้องต่อกับมือถือ BlackBerry เพื่อเรียกใช้ฟีเจอร์อีเมล-ที่อยู่-ตารางนัด ทำให้นักวิเคราะห์มองว่ายอดขายอาจไม่ดีเพราะข้อจำกัดเยอะเกินไป และเมื่อลูกค้าได้ยินชื่อ BlackBerry จะคาดหวังฟีเจอร์เหล่านี้ โดยไม่สนใจว่าเป็นมือถือหรือแท็บเล็ต
RIM ออกมาโต้ข้อกล่าวหานี้ โดยบอกว่า PlayBook เป็นแท็บเล็ตที่ใช้โดยลำพังได้สบาย และมันไม่ใช่อุปกรณ์ที่ต้องพึ่งพิง BlackBerry
อย่างไรก็ตาม RIM ยอมรับว่าผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อแท็บเล็ตแตกต่างกันไป บางคนมองว่ามันเป็นส่วนขยายของมือถือ ในขณะที่บางคนมองว่าเป็นส่วนขยายของโน้ตบุ๊ก ซึ่ง RIM ต้องตอบโจทย์ให้ได้ทั้งสองกลุ่ม
Xfce ระบบเดสก์ท็อปที่ได้รับความนิยมแบบเงียบๆ (หลายคนอาจรู้จักมันจาก Xubuntu) ออกรุ่น 4.8 แล้ว ซึ่งทิ้งห่างจากรุ่นก่อน 4.6 ถึงสองปี
การเปลี่ยนแปลงสำคัญได้แก่ ปรับปรุง panel โดยเขียนใหม่หมด, เพิ่มฟีเจอร์ให้กับตัวจัดการไฟล์ Thunar, และปรับปรุงเรื่องการตั้งค่าของระบบ ดูรายละเอียดพร้อมภาพประกอบจาก Xfce Tour
ที่มา - Xfce, OMG Ubuntu
ไมโครซอฟท์ออกซอฟต์แวร์ CRM องค์กรรุ่นใหม่ Dynamics CRM 2011 (รุ่นก่อนคือ 4.0 ออกปี 2007 รุ่นนี้ถือเป็น 5.0)
การเปลี่ยนแปลงหลักของรุ่น 2011 คือเปลี่ยนมาใช้ Ribbon ตามธรรมเนียมของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์รุ่นใหม่ๆ แต่จุดที่สำคัญกว่าคือ "การแบ่งรุ่น" ของ Dynamics CRM ซึ่งแต่เดิมเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งภายในองค์กรเป็นหลัก มาคราวนี้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเปิดตัว Dynamics CRM รุ่นกลุ่มเมฆก่อน (อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ เรียกว่า Microsoft Dynamics CRM Online) แล้วถึงจะปล่อยรุ่นติดตั้งในองค์กรตามมาช่วงสิ้นเดือน ก.พ.
Disney Mobile เครือข่าย MVNO ของ Softbank ประเทศญี่ปุ่น ประกาศออกมาว่าจะทำโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ของค่าย โดยมีพื้นฐานมาจากตัวเครื่อง Sharp Galapagos 3D รุ่น 003SH โดยมีสเปคเครื่องพื้นฐานเหมือนกันกับตัวเครื่องต้นแบบแทบทุกอย่าง ทั้งหน้าจอ 3.8 นิ้วแบบสามมิติที่ไม่ต้องพึ่งแว่นตาสามมิติ, กล้องดิจิตอล 9.6 ล้านพิกเซล พร้อมฟังก์ชั่นถ่ายรูปแบบสามมิติ, หน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 1 GHz และมีรอม 400 MB
ปัญหาสำคัญที่รบกวนผู้ใช้ Android อย่างมากคือต้องรอผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ "อัพเกรด" เฟิร์มแวร์กันนานมาก ทางเว็บไซต์ Computerworld เลยรวบรวมสถิติมาวัดกันดูว่ายี่ห้อไหนอัพเกรดเร็วกว่ากัน
JR Raphael นักเขียนของ Computerworld ใช้ข้อมูลสมาร์ทโฟนที่วางขายในสหรัฐช่วงปี 2009-2010 มานับวันดูว่าจะได้อัพเป็น Froyo เมื่อไร (ไม่นับมือถือที่วางขายก่อนหน้านั้น และไม่นับรุ่นที่มากับ Froyo ตั้งแต่แรก)
ผลปรากฎว่า Motorola ใช้เวลาน้อยที่สุด 54.5 วันหลังกูเกิลเปิดตัว Froyo และตามติดด้วย HTC ใช้เวลา 56 วัน ในขณะที่ซัมซุงต้องรอถึง 159 วัน และแย่ไปกว่านั้นคือ Dell, LG, Sony ไม่ได้อัพเป็น Froyo ด้วยซ้ำ
ตั้งแต่ปี 2008 โนเกียได้แถมบริการโหลดเพลงฟรีในชื่อ Comes With Music หรือ Ovi Music Unlimited (ชื่อแบรนด์ต่างกันไปตามแต่ละประเทศ) ซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
ล่าสุดโนเกียให้ข่าวแล้วว่าจะหยุดบริการโหลดเพลงฟรีใน 27 ประเทศ โดยยังเหลือแถมฟรีกับเครื่องใหม่เป็นระยะเวลา 12 เดือนในจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และฟรี 6 เดือนในตุรกี บราซิล แอฟริกาใต้ ส่วนบริการแบบไม่ฟรีใน Ovi Store ยังมีอยู่ต่อไปครับ
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะลูกค้าใช้เครื่องรุ่นเก่าที่ไม่รองรับ และเพลงที่ให้โหลดนั้นติด DRM (ล่าสุดโนเกียเอา DRM ออกแล้ว)
ที่มา - Reuters
แอปเปิลแถลงข่าวว่าสตีฟ จ็อบส์ ได้หยุดพักงานเพื่อรักษาสุขภาพ (a medical leave of absence) โดยจะยังดำรงตำแหน่งซีอีโอต่อไป และมีบทบาทในการตัดสินใจระดับยุทธศาสตร์ แต่การดูแลบริษัทจะเป็นหน้าที่ของ Tim Cook (COO ของแอปเปิล) และผู้บริหารคนอื่นๆ
ไม่มีรายละเอียดเรื่องอาการป่วยของจ็อบส์ และทางจ็อบส์เองก็ขอ "ความเป็นส่วนตัว" ในช่วงนี้ด้วย
ไม่นานมานี้ จ็อบส์เพิ่งหายป่วยจากอาการมะเร็งกำเริบ ระหว่างนั้นก็ได้ Tim Cook และทีมบริหารช่วยดูแลบริษัทไปได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร
ที่มา - Apple