หลังจากวิกิพีเดียเพิ่งครบล้านบทความไป ในวันนี้เจ้าของไอพอดทุกท่านก็จะมีทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงสารานุกรมเสรีนี้ ทางไอพอดของเขาเอง
งานนี้ต้องการลินุกซ์บนไอพอด แต่หลายๆ คนก็คงจะลงกันอยู่แล้ว เลยคิดว่าไม่น่าลำบากอะไร ที่เหลือก็แค่ใส่วิกิพีเดียลงไปเท่านั้น อ่านขั้นตอนการลงได้ที่เว็บเอง
เท่าที่อ่านดูลงได้ทุกเวอร์ชั่น แน่นอนว่าไม่รวม iPod shuffle
ที่มา - Encyclopodia
เอ่ยชื่อ Will Wright เฉยๆ อาจไม่มีใครรู้จัก แต่ว่าถ้าบอกเกมที่เขาเป็นคนสร้างแล้วยังไม่รู้จัก ก็ควรพิจารณาตัวเองได้เลย เพราะว่าเกมของพี่แกมีดังๆ แค่สองเกมเองครับ Sim City กับ The Sims
ตอนนี้ Will Wright กลับมาอีกครั้งกับเกม Spore หรือชื่อเดิม Sim Everything ผมไม่รู้จะอธิบายว่า Spore มันเป็นเกมยังไง ถ้าให้เทียบใกล้เคียงที่สุดคงคล้ายกับเกม Populous เอาเป็นว่าไปดูวิดีโอความยาว 35 นาทีที่โชว์ในงาน Game Developer's Conference อาจจะยาวนิด โหลดนานหน่อย แต่ยืนยันว่าคุ้มชัวร์ๆ มันบรรเจิดมาก
พักหลังมีคนทักผมว่าข่าว Blognone เริ่มช้า งั้นขอแก้ตัวด้วยข่าวที่ไม่มีวันหาเจอจากที่อื่น และสดมากเนื่องจากผมแกะมาจาก newsgroup เลย ว่าด้วยหน้าตาของ Firefox 2 ครับ
ผมเคยเขียนไปทีนึงแล้วว่า Firefox 2 จะมีสิ่งที่เรียกว่า Place (ไปอ่านเอาเองน่อ)แต่นอกเหนือไปจากนั้น ทาง Mozilla กำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงหน้าตาครั้งยิ่งใหญ่อยู่ ดูจากร่างสเปกแรกสุดมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
กระแส AJAX กำลังมาแรง ฝั่งไอบีเอ็มก็ส่ง AJAX Toolkit Framework ซึ่งส่วนหนึ่งของ Emerging Technologies Toolkit (ETTK) ที่ไอบีเอ็มกำลังสนับสนุน ตัวอื่นในซีรีย์ ETTK ก็มีพวก RFID เป็นต้น
คิดว่าคนแถวนี้คงใช้ Google Talk กันถ้วนหน้า แต่โปรแกรมต้นฉบับมันมีแต่บนวินโดวส์ ผมที่ใช้ทั้งแมคและลินุกซ์ย่อมต้องหาโปรแกรมอื่น (3rd party) ที่ต่อกับเครือข่าย Gtalk ได้มาแทน
สถิตินี้ไม่รวมการคุยผ่านหน้าเว็บ Gmail นะครับ (นับเป็น 1st party) อันดับหนึ่งคือ Gaim (48%) ตามมาด้วย iChat (14%) และ Trillian (11%) ที่น่าสนใจคือเว็บแชทอย่าง Meeboมีคนใช้เยอะระดับนึงเหมือนกัน (6%)
แหล่งข่าวในกูเกิลระบุว่ากูเกิลกำลังเริ่มใช้ซีพียูออปเทอรอน 64 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่จะซื้อในระยะนี้ เรื่องนี้ทำเอาหุ้นเอเอ็มดีทะยานขึ้นกันเป็นเรื่องเป็นราว เพราะก่อนหน้านี้เซิร์ฟเวอร์กว่าสองแสนตัวของกูเกิลนั้นใช้ชิปอินเทลเป็นหลัก
โฆษกของเอเอ็มดีไม่ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ แต่บอกเพียงว่ากูเกิลนั้นเลือกซื้อเซิร์ฟเวอร์โดยอาศัยราคาและประสิทธิภาพเป็นหลัก ด้านนักวิเคราะห์มีการคาดว่ากูเกิลกำลังจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเอเอ็มดีในไม่ช้า
แต่เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกของกูเกิลที่ผมจำได้นี่ มันใช้ซันด้วยนะ
ออราเคิลเริ่มเข้่าสู่ตลาดเสิร์ชด้วยการส่ง Oracle Secure Enterprise Search 10g เข้าสู่ตลาด โดยโปรแกรมนี้จะมีความสามารถในการค้นหาเอกสารหลายรูปแบบตั้งแต่อีเมล เอกสาร ไปจนถึงข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งเป็นจุดแข็งของออราเคิลอยู่แล้ว
โปรแกรมของออราเคิลจะมีฟีเจอร์ในการตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงในทุกๆ ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงไม่สามารถเสิร์ชไปยังข้อมูลนั้นได้
กูเกิลเพิ่งร่วมมือกับบริษัท BearingPoint เพื่อเตรียมให้บริการที่คล้ายๆ กันในเดืิอนที่แล้ว ในตอนนี้จึงเหมือนว่าทั้งสองบริษัทกำลังจะเป็นคู่แข่งกันเต็มตัวไปแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ริชาร์ด สตอลแมนได้ไปพูดถึง GPLv3 ที่งาน FOSDEM 2006 ผมเห็นว่าน่าจะเป็นบทบรรยายที่ให้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของ GPL ไปได้ดี พร้อมกับการอธิบายเหตุผลจากตัวสตอลแมนเอง เลยได้ขออนุญาตทาง IFSO ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์บทพูดนี้ไป
ในวันนี้การแปลก็เสร็จแล้ว จริงๆ แล้วผมยังคิดว่าน่าจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็น่าจะอยู่ในระดับที่อ่านรู้เรื่อง ยังไงก็ลองไปอ่านกันดู (ที่นี่)
อ่านแล้วพบบั๊กตรงไหนเอามาแจ้งกันด้วยนะครับ
จากข่าว วิกิพีเดียภาษาอังกฤษครบ 1 ล้านบทความ หลายคนอยากให้ฉบับภาษาไทยมีข้อมูลเยอะๆ แบบนั้นบ้าง อย่าเอาแต่คิดแล้วจบลงแค่นั้นเลยครับ มาช่วยกันทำมันให้เป็นจริงดีกว่า
หมวดที่ยังขาดอยู่มากคือเรื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมคิดว่าคนอ่านของเรามีความสามารถ ต่อไปนี้ผมจะพยายามคัดหัวข้อที่น่าสนใจมาให้ประมาณอาทิตย์ละเรื่อง ช่วยกันเขียนให้เสร็จเป็นหมวดย่อยไป
ถ้าไม่รู้จักวิกิพีเดีย หรือรู้จักแต่ไม่เคยเขียนมาก่อนเลย ขั้นตอนง่ายๆ มีดังนี้
วิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอันที่คนเข้ามากที่สุด มีบทความครบ 1 ล้านบทความแล้ว โดยบทความที่ 1 ล้านนั้นคือ Jordanhill railway station ซึ่งเป็นสถานีรถไฟในเมืองกลาสโกลว์ สกอตแลนด์ เริ่มเขียนโดย Ewan Macdonald
สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทยตอนนี้มีประมาณ 7,500 บทความ ยังขาดอีกมากโดยเฉพาะบทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่คนอ่าน Blognone น่าจะช่วยกันเขียนได้ง่ายที่สุด
ที่มา - Wikipedia Press Release
ช่วงหลังนี้ข่าวของ Vista เริ่มเยอะ ก็จะพยายามคัดอันที่ไม่ซ้ำของเก่ามานะครับ
หลังออก Vista CTP ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่ ActiveWin มีรีวิวตัว CTP ตัวนี้ (Build 5308) ซึ่งถือเป็นตัวที่ฟีเจอร์ครบแล้ว (ต่อไปจะเป็นการแก้บั๊กอย่างเดียว)
การติดตั้งยังใช้เวลานานพอสมควร 40-50 นาที และต้องบูตเครื่องใหม่หลายครั้ง เนื้อที่บนดิสก์ที่หลายคนอยากรู้ สรุปว่าใช้ประมาณ 8 กิกะไบต์
GCC หรือ GNU Compiler Collection ออกเวอร์ชัน 4.1 แล้ว ถ้าสนใจว่ามีอะไรใหม่คงต้องอ่าน changelog กันเอง เพราะผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องคอมไพเลอร์เท่าไร แต่ที่ดูคร่าวๆ ซีรีย์ 4.x นี้เน้นประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของ GCC มายาวนาน และคิดว่าอนาคตอีกซักพักคงเข้าใกล้ Intel Compiler มากขึ้น
ใน Fedora Core 5 ที่จะออกกลางเดือนมีนาคมนี้ ใช้ GCC 4.1 เป็นคอมไพเลอร์หลักเลย
ที่มา - OSNews
แล้วเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดก็เกิดจนได้ เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มเดินหน้าตั้งเซิร์ฟเวอร์สำหรับ TLD (Top Level Domain) ที่เราเห็นเป็น .com, .org, หรือ .net กันในทุกวันนี้เป็นของตัวเอง
โดยจีนสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับสาม TLD ด้วยกันคือ .cn, .com และ .net ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ของทางจีนจะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับทางสหรัฐแม้แต่น้อย
ถึงแม้ว่ายุคนี้มหาลัยจะมี access point ให้ใช้กันเป็นเรื่องธรรมดา และนักศึกษาก็เดินถือโน้ตบุ๊คกันเกลื่อน แต่การที่ทุกคนจะใช้โน้ตบุ๊คยังดูเป็นเรื่องห่างไกลอีกนาน กว่าจะเป็นจริงได้
แต่มันไม่เป็นอย่างงั้นต่อไปอีกแล้ว เมื่อมหาวิทยาลัย Indiana State University ได้ประกาศว่า นักศึกษาใหม่ปีหน้าทุกคนจะต้องมีโน้ตบุ๊ค!
นอกจากนี้ยังไม่พอ ถ้ายังไม่มีเครื่อง มหาวิทยาลัยก็จัดบริการขายให้ถึงที่ โดยยี่ห้อที่ ISU เลือกคือ Lenovo Thinkpad ถ้ายังไม่คุ้นมันก็คือ IBM เก่าน่ะเอง ในแหล่งข่าวอ่านแล้วเหมือนข่าวประชาสัมพันธ์ Lenovo นิดๆ แต่เอามาเขียนลงเผื่อมหาลัยคุณจะทำตามมั่ง
ข่าวขำๆ ประจำวันนี้ ถ้ามีเงินเหลือจากซื้อแมคมินิตัวใหม่ซัก 400-500 เหรียญ คุณสามารถแต่งตัวแบบเดียวกับสตีฟ จ็อบส์ได้
เครื่องแต่งกายของจ็อบส์ประกอบด้วยเสื้อยืดคอเต่าสีดำยี่ห้อ St. Croix (ไม่รู้จักแหะ) ราคา 155 เหรียญ กางเกงเป็นลีวายส์ 501 ราคา 138 เหรียญ ปิดด้วยรองเท้า New Balance ราคา 130 เหรียญ พร็อบประกอบฉากอื่นๆ อาจเป็นไอพ็อดสีขาวแล้วแต่รุ่น ซึ่งเชื่อว่ามีกันหมดแล้วถ้าคิดจะแต่งตัวอย่างนี้
ถ้าใครลงทุนซื้อจริงๆ แนะนำให้ทำ Keynote ด้วย เดี๋ยวช่วยโปรโมทเต็มที่
ที่มา - Engadget
ที่ Geek Patrol ทำการทดสอบตัว Rosetta โดยใช้ iMac Core Duo spec ดังนี้ครับ
การทดสอบใช้ชุดการทดสอบที่ชื่อ geekbench
ซึ่งผลทดสอบออกมา ตัว Rosetta มีความเร็วประมาณ 40% ถึง 80% ของตัว native บน Power Mac G5 1.6GHz ที่เป็นตัวเปรียบเทียบเลยทีเดียว(ไม่ได้เร็วกว่านะ) โดยเฉพาะ application ที่เป็น single-threaded
Sony Pictures เตรียมวางตลาดภาพยนตร์ 8 เรื่องแรกที่จะออกเป็น Blu-Ray ในวันที่ 23 พ.ค. นี้ โดยจะมีเรื่อง 50 First Dates, The Fifth Element, Hitch และ House of Flying Daggers อีก 8 เรื่องจะตามมาในเดือนมิถุนายน ราคาของแผ่นยังไม่เปิดเผย บอกเพียงแค่ว่าจะแพงกว่าดีวีดีปกติประมาณ 15-20%
การวางตลาดแผ่นจะสอดคล้องกับเครื่องเล่น Blu-Ray ตัวแรกของซัมซุง (ที่ยังไม่เปิดเผยวันจำหน่ายเช่นกัน) แต่คิดว่าตัวเครื่องน่าจะออกก่อน 23 พ.ค. หรือไม่ก็ออกขายวันเดียวกันเลย เครื่องยี่ห้ออื่นๆ ที่รอคิวอยู่มีของโซนี่เองและ Pioneer
จากข่าวเก่า - แอปเปิลจะจัดอีเวนท์สิ้นเดือนนี้
สตีฟ จ็อบส์ ออกมาขายของอีกแล้ว แต่ผลิตภัณฑ์ที่ถูกหมายตาไว้อย่าง iBook ตัวใหม่ หรือ iPod video ยังไม่เผยโฉมแต่อย่างใด โดยในงานนี้มีของใหม่มาขายดังนี้ครับ
Intel Mac mini - หลังจากมี MacBook Pro และ iMac ไปแล้ว ก็ถึงคราวของ Mac mini กันบ้าง โดยมีออกมาสองรุ่นคือ Core Solo ความเร็ว 1.5 GHz และ Core Duo ความเร็ว 1.66 GHz เพิ่มความเร็วของการ์ดเน็ตเวิร์คเป็นกิกะบิต และมี USB เพิ่มให้เป็นทั้งหมด 4 พอร์ต
ไม่รู้จะจัดเข้าหมวดไหน เอาว่าลองเข้ามาดูเองแล้วกัน
ที่มา - ArsTechnica
เว็บพัฒนาของแอปเปิลมีการตีพิมพ์บทความแนะนำ Ruby on Rails นับเป็นการแสดงท่าทีการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกทางหนึ่งของแอปเปิล
Ruby on Rails นั้นเป็นเฟรมเวิร์คการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงหลัง โดยหลายคนมองว่ามันอาจจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของจาวาในอนาคต
บทความนี้ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยพนักงานของแอปเปิลเอง แต่เขียนโดย Mike Clarke นักพัฒนา Ruby on Rails ที่ใช้แมคเป็นหลัก
กำลังอ่าน Python กับ Turbogear จะเปลี่ยนใจดีมั๊ยเนี่ย
โนเกียเคยมีส่วนแบ่งตลาดมือถือสูงสุดในปี 2002 (35.8%) แต่หลังจากนั้นกลับลดลงมาตลอด โดยเฉพาะหลังปี 2004 ที่ลูกค้าต้องการมือถือแบบฝาพับที่มีฟีเจอร์เยอะๆ ในขณะที่ตอนนั้นมือถือของโนเกียส่วนมากไม่ใช่ฝาพับ
หลังจากไปปรับกลยุทธมือถือฝาพับมาใหม่ และรวมกับตลาดล่าง (มือถือราคาถูกรุ่น 1100) ซึ่งเป็นตลาดใหม่ ทำให้ยอดขายของโนเกียพุ่งสูงขึ้นแตะ 35% อีกครั้งในรอบสองปี
สำหรับคนที่ใช้ GNOME อาจจะอึดอัดใจว่า gedit เป็น default text editor ที่ไม่มีความสามารถมากนัก (เทียบกับ kate ของ KDE) ผมเองเวลาเขียนโปรแกรมส่วนมากก็ใช้ vi เพราะมันคุ้นมือกว่า
แต่ใน gedit 2.14 ที่มากับ GNOME 2.14 ซึ่งออกเดือนมีนานี้ ได้รื้อโค้ดใหม่ซะเยอะ ทำให้มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วมากขึ้น เอา UI หลายอย่างจาก Firefox มาใช้ เช่น Find as you type, การแจ้งเตือนแบบไม่ใช้ไดอะล็อกมาให้เกะกะ หรือแท็บที่ย้ายตำแหน่งได้ เป็นต้น และสุดท้ายคือบรรดาปลั๊กอินใหม่ๆ ที่ทำให้ชีวิตคนต้องเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเยอะ อย่าง Code Snippet เป็นต้น
ขณะที่สงครามออปติกคอลไดรฟ์กำลังดุเดือด ดูเหมือนว่าหัวหอกของทั้งสองค่ายนั้นจะไม่ต้องการพลาดการทำตลาดในอนาคตไป ไม่ว่าผลของสงครามจะเป็นอย่างไร โดยก่อนหน้านี้โตชิบาซึ่งเป็นหัวหอกฝั่ง HD-DVD ได้ร่วมมือกับซัมซุงตั้งกลุ่ม TSST ขึ้นมาพัฒนาอุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยี Blu-Ray โดยความเห็นจากโตชิบาในเรื่องนี้คือ โตชิบา "ยัง" ไม่มีแผนจะทำตลาดอุปกรณ์ Blu-Ray แต่อย่างใด
ในวันนี้เองโซนี่ก็มีแผนสำรองแบบเดียวกัน ผ่านทางบริษัท NEC โดยการร่วมทุนกันในบริษัท Sony NEC Optiarc ซึ่งจะสร้างผลิตภัณฑ์ด้านออปติกคอล โดยคาดกันว่าจะมียอดขายในปีแรกถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยืนยันแล้วครับว่าจะมีวินโดวส์วิสตา ทั้งหมด 6 เวอร์ชัน จริงๆ ทั้ง 6 เวอร์ชันนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 2 เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ธุรกิจ 3 เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และ 1 เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ระดับสูง
โดยทั้ง 6 เวอร์ชัน ประกอบด้วย