Eric Schmidt ไปพูดที่งานสัมมนาด้านสื่อชื่อ DLD ในเยอรมนี เขายืนยันว่ามีสัมพันธภาพที่ดีเยี่ยมกับ Larry Page ว่าที่ซีอีโอคนใหม่ โดยระบุว่ามีความเห็นตรงกันเกือบหมด และชม Page ว่าเป็น "นักคิด" ที่ลุ่มลึกกว่าใคร
Schmidt บอกว่าเขาเฝ้ารอการทำงานกับกูเกิลใน "ทศวรรษถัดไป" ด้วยความใจจดใจจ่อ โดยบอกว่าต่อจากนี้ไปจะให้เวลากับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล (ซึ่งเป็นจุดอ่อนของกูเกิลมาโดยตลอด) มากขึ้น และปฏิเสธว่ากูเกิลไม่มีปัญหาเรื่องเสียพนักงานเก่งๆ ไปให้คู่แข่ง เพราะอัตราการเปลี่ยนงานของพนักงานคงที่มาประมาณ 7 ปีแล้ว
ที่มา - Reuters
Martin Essl ตัวแทนจาก Sony Ericsson ประกาศในงาน Inside Social Apps ว่ามือถือแอนดรอยด์ที่จะวางขายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จะรวมเอาฟีเจอร์ Facebook Single Sign On และพรีโหลด Facebook App มาให้ทุกรุ่น
นี่แปลว่าต่อจากนี้ไป ถ้าซื้อมือถือจาก Sony Ericsson เราอาจต้องใส่รหัสผ่าน 2 ชุดคือ Google/Facebook จากนั้นก็จะล็อกอินแอพหลายๆ ตัวได้อัตโนมัติทันที
ใกล้เคียงกับคำว่า "Facebook Phone" เข้าไปทุกทีแล้วสินะ
ที่มา - TechCrunch
ไม่นานหลังจาก Firefox 4 Beta 9 ทางค่าย Mozilla ก็ออก Beta 10 ตามมาอย่างรวดเร็ว
การเปลี่ยนแปลงในรุ่นนี้ได้แก่ ปรับปรุงเสถียรภาพของ Flash บน Mac OS X, ลดการบริโภคหน่วยความจำ และบล็อคการใช้ hardware acceleration สำหรับการ์ดจอรุ่นที่มีปัญหา
ทาง Mozilla บอกว่าจะมี Beta 11 อย่างแน่นอน และถ้าเก็บบั๊กไม่หมด เราจะเห็น Beta 12 ด้วย
ในสหรัฐอเมริกามีธรรมเนียมว่า ประธานาธิบดีต้องแถลงผลงานและนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาในเดือนมกราคมทุกๆ ปี ซึ่งแถลงการณ์นี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า State of the Union
ตามปกติแล้ว State of the Union จะถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์พร้อมกันทุกช่อง แต่ประธานาธิบดีรุ่นใหม่อย่างบารัค โอบามา ที่ชนะการเลือกตั้งมาด้วยอินเทอร์เน็ต ก็ใช้เครื่องมือออนไลน์หลายชนิดเพื่อชักชวนให้ประชาชนสหรัฐมีส่วนร่วมกับการแถลงนโยบายประจำปีมากขึ้น ดังนี้
Bret Taylor ซึ่งเป็น CTO ของ Facebook (เขาเป็นผู้ก่อตั้ง FriendFeed และเข้ามาทำงานกับ Facebook หลังถูกซื้อกิจการยกบริษัท) ขึ้นเวทีงานสัมมนา Inside Social Apps บอกว่า Facebook จะให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มมือถือมากเป็นอันดับหนึ่งในปีนี้
Taylor บอกว่ามือถือเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับ social เป็นอย่างมาก เพราะเป็นอุปกรณ์เฉพาะบุคคล และมีข้อมูลของเพื่อนๆ อยู่ตั้งแต่แรกใน Contacts ของมือถือ แถมมือถือรุ่นใหม่ๆ ยังใช้ประโยชน์จากพิกัดและข้อมูลสถานที่ได้อีกด้วย
ดูเหมือนกูเกิลกำลังขยายตลาดในเอชียมากขึ้น และใกล้ตัวของเรามาเรื่อยๆ ล่าสุดได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของเรา หรือในกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียนั่นเอง
โดยการเปิดสำนักงานในกัวลาลัมเปอร์ นับเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งที่สอง ซึ่งแห่งแรกอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 2007
การที่กูเกิลมาเปิดสำนักงานใหญ่ที่มาเลเซียครั้งนี้ เพื่อเป็นการบุกตลาดการค้นหา และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับท้องถิ่นของแต่ละประเทศในแถบนี้ ตอนท้ายโฆษกของกูเกิลยังกล่าวว่า ในปีนี้จะมีการจ้างพนักงานใหม่ในทวีปเอเชียไม่ต่ำกว่า 500 อัตราอีกด้วย
ข่าวนี้ต้องย้อนถึงข่าวเมื่อต้นปีที่แล้ว ITC จะเข้าสอบสวนแอปเปิลและ RIM ตามคำขอของ Kodak ว่าละเมิดสิทธิบัตรของตัวเองหรือไม่ ทางผู้พิพากษาของ ITC หรือคณะกรรมการพาณิชย์ของสหรัฐ ได้ตัดสินแล้วว่าแอปเปิลและ RIM ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของโกดักแต่อย่างใด
ผู้พิพากษา Paul Luckern ให้เหตุผลว่าสิทธิบัตรของโกดักเป็นการต่อยอดจากสิทธิบัตรอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ทำให้สิทธิบัตรชิ้นนี้ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง แอปเปิลและ RIM จึงไม่มีความผิดแต่อย่างใด ผลการตัดสินนี้จะต้องให้คณะกรรมการ ITC รับรองอีกครั้งหนึ่งจึงจะมีผลอย่างเป็นทางการ
ต่อจากข่าว NVIDIA อาจจะเปิดตัว Tegra 3 ในงาน Mobile World Congress และ NVIDIA จะเปิดตัว "Tegra 2 3D" ที่งาน MWC มีคนได้สไลด์แสดงแผนการของ NVIDIA มาแล้ว
สไลด์แสดงแผนการของ NVIDIA ระบุว่า Tegra 2 3D เป็นตัวต่อของ Tegra 2 และจะเริ่มผลิตในไตรมาสแรกของปี 2011 นี้ มีอุปกรณ์วางขายจริงช่วงกลางปี ส่วน Tegra 3 จะอยู่ถัดจาก Tegra 2 3D อีกทีหนึ่ง และมีอุปกรณ์วางขายจริงช่วงปลายปี
อินเทลประกาศจ้าง Will.i.am นักร้องนำแห่งวง Black Eye Peas เป็นผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสร้างสรรค์ (director of creative innovation)
Will.i.am หรือชื่อจริง William James Adams Jr. เป็นนักดนตรีและโปรดิวเซอร์ที่เคยได้รับรางวัลแกรมมี่มาแล้ว 7 ครั้ง เขาระบุในแถลงการณ์ว่าสนใจเทคโนโลยีอยู่แล้ว และจะนำประสบการณ์ในวงการบันเทิง มาร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของอินเทล เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ด้านการสื่อสารและบันเทิงต่อไป
ในงานแถลงข่าวของอินเทล Will.i.am ยังได้โชว์บัตรพนักงานของอินเทลบนเวที และทวีตข้อความว่า "every beat I make is made with intel" อีกด้วย
กูเกิลซื้อกิจการบริษัท SayNow ซึ่งทำธุรกิจด้าน voice mail บนมือถือและ social network ต่างๆ
SayNow เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2005 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง และฐานผู้ใช้กว่า 15 ล้านคน ในประกาศของ SayNow ระบุชัดเจนว่าจะรวมทีมเข้ากับ Google Voice แต่ยังไม่เปิดเผยโครงการว่าจะทำอะไรบ้าง
ที่มา - SayNow, TechCrunch
Gmail Labs เพิ่มฟีเจอร์ "เล็กๆ แต่สำคัญ" นั่นคือเพิ่มจำนวนอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน ลงใน favicon ของหน้าเว็บ ซึ่งจะปรากฎในไอคอนบนแท็บด้วย และช่วยให้เราเหลือบมองอีเมลได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเปิดแท็บจำนวนมากๆ จนอ่านข้อความ title ไม่เห็น หรือสั่งปักหมุดแท็บ (Pin Tab) ค้างไว้ในเบราว์เซอร์
ฟีเจอร์นี้ต้องสั่งเปิดใช้ใน Settings > Labs ก่อนนะครับ
ที่มา - Gmail Blog
นิตยสาร PC World ได้ทำการจัดอันดับช่องโหว่ที่ใช้ในการจู่โจมเว็บไซต์เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา โดยทั้ง 10 อันดับนี้จะถูกโหวตจากผู้เชี่ยวชาญและจากบุคคลทั่วไป (Open Vote)
ช่องโหว่ทั้ง 10 จัดอันดับได้ดังต่อไปนี้
1. Padding Oracle Crypto Attack: อาศัยช่องโหว่จาก Microsoft's Web Framework ASP.NET ที่ใช้ในการป้องกัน AES encryption Cookies ได้ซึ่งถ้าตัวข้อมูลของ Cookies ที่เข้ารหัสถูกเปลี่ยนแปลงตัว ASP.NET ที่ทำการดูแลข้อมูลพวกนี้อยู่จะหลุดข้อมูลบางอย่างซึ่งสามารถถอดรหัสข้อมูลได้ ด้วยจำนวนครั้งในการเปลี่ยนที่มากพอ แฮคเกอร์สามารถคาดเดาคีย์ที่ใช้ในการเข้ารหัสได้ง่ายขึ้น (โดย Juliano Rizzo และ Thai Duong)
เว็บไซต์ภาษารัสเซียแห่งหนึ่งเผยภาพหน้าจอ Internet Explorer 9 ที่คาดว่าไมโครซอฟท์จะปล่อยเวอร์ชั่น RC (Release Candidate) ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ รายละเอียดมีดังนี้
IE9 เวอร์ชันที่คาดว่าจะเป็น RC
IE9 Beta
กว่า 30 ปีก่อนที่ Harvard ในฝั่งตะวันออกจะมี Facebook นั้น แถว ๆ UC Berkeley ในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ก็มี social network ใช้แล้วครับ
รายการสารคดีของช่อง BBC ตอน The Secret History of Social Networking พาไปชม social network ยุค "เซเว่นตี้ส์" ชื่อ Community Memory ที่เป็นเครื่องโทรพิมพ์ (teleprinter) รุ่น ASR-33 Teletype เชื่อมต่อกับเครื่อง SDS 940 ในซานฟรานซิสโก ตั้งอยู่ข้าง ๆ กระดานข่าวของจริงในร้านขายแผ่นเสียง
Community Memory หรือ CM นี้ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน ในฐานะสื่อกลางของการสนทนาเรื่องบทกวี ดนตรี และเรื่องอื่น ๆ ทั่วไป
หลังจาก Notion Ink ได้ทำการจัดส่ง Adam ชุดแรกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ก็ยังมีปัญหาตามมาหลอกหลอนกันไม่จบ ซึ่งมีปัญหาเด่นดังนี้
กูเกิลแสดงตัวชัดเจนว่าต้องการเข้ามาในธุรกิจส่วนลดร้านค้าต่างๆ หลังจากผิดหวังจากการซื้อ Groupon บริการของกูเกิลนั้นชัดเจนว่าจะมาในชื่อ Google Offers แม้จนวันนี้บริการนี้ยังไม่เปิดตัวเป็นทางการ แต่ทาง TechCrunch ก็พบว่าใน Google Maps นั้นเริ่มมีส่วนลดต่างๆ เข้ามากว่าสี่หมื่นรายการแล้ว
บริการ Offers ใน Google Maps นั้นจะเป็นคูปองให้พิมพ์ไปใช้งานตามห้างร้านต่างๆ ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า อย่างไรก็ดีคูปองที่มีนั้นไม่ได้เป็นส่วนลดที่หวือหวาเหมือนกับใน Groupon หรือบริการดีลอื่นๆ
ความเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งการประมวลผลในยุคหลังนี้มีหลายอย่างที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เราต้องการให้ซอฟต์แวร์ทำงานเร็วที่สุดโดยไม่ต้องสนใจองค์ประกอบอื่นๆ เช่นการกระจายงานไปยังหลายๆ ซีพียู, การประหยัดพลังงาน, หรือการอาศัยฮาร์ดแวร์เฉพาะทางในซีพียูที่ช่วยขยายความสามารถของซอฟต์แวร์ให้รับโหลดได้มากกว่าเดิม
ปัญหาความเป็นส่วนตัวเป็นปัญหาที่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเจอมาก่อนบริษัทอื่นๆ มานานจากการมีเครือข่ายโฆษณาจำนวนมากทำให้กูเกิลมีข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้เว็บจำนวนมากในโลก แม้ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้กูเกิลสามารถส่งโฆษณาได้ตรงใจกับผู้ชมมากที่สุด ที่ผู้ใช้จำนวนมากก็รู้สึกถูกคุกคามจากความสามารถในการเดาความต้องการเช่นนี้ ทางออกในเรื่องนี้คือการให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะเปิดเผยพฤติกรรมการเข้าชมเว็บของตนหรือไม่ด้วยส่วนเสริม Keep My Opt-Outs
เพิ่งวางขาย Nexus S สมาร์ทโฟนจากกูเกิลรุ่นล่าสุดไปได้ไม่นาน ก็มีเซอร์ไพรส์ซะแล้วเมื่อเว็บไซต์ BestBoyZ เว็บไซต์รายงานข่าวสมาร์ทโฟนของประเทศเยอรมนีได้ลงภาพของ Nexus S สีขาว ซึ่งมีสีขาวเพียงฝาหลังเท่านั้น
fflick เกิดจากอดีตพนักงาน 4 คนของ Digg ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2010 ซึ่งเป็นเว็บที่แนะนำ/รีวิวภาพยนตร์ โดยคะแนนการรีวิวนั้นมาจากความคิดเห็นของกลุ่มคนที่ใช้ทวิตเตอร์ด้วยกัน ล่าสุดตอนนี้ fflick โดนกูเกิลเข้าซื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยมูลค่าประมาณ 10 ล้านดอลลาร์
จากข้อสังเกตครั้งแรกเมื่อผมได้อ่านข่าวนี้ และบังเอิญนี้ไปตรงกับวามคิดเห็นของผู้อ่านหลายคนใน TechCrunch ที่คิดว่าทำไมมูลค่าของ fflick จึงสูงถึง 10 ล้านดอลลาร์ทั้งๆ ที่เว็บเพิ่งเปิดตัวได้ไม่ถึงปี, มีผู้ใช้ต่อวันไม่ถึงสองหมื่นคน ก็อาจเป็นไปได้ว่ากูเกิลต้องการตัวพนักงานมากกว่าหรือเปล่า ?
ที่มา - TechCrunch
CareerCast เว็บจัดหางานชื่อดัง ได้ทำการจัดอันดับงานที่น่าทำที่สุดในอเมริกาปี 2011 โดยการให้คะแนนจากปัจจัย 5 อย่างประกอบไปด้วย รายได้, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความต้องการในตลาดแรงงาน, ความเหน็ดเหนื่อยทางร่างกาย และความเครียด ซึ่งอาชีพที่ได้คะแนนรวมอันดับที่ 1 ในปีนี้คืองานตำแหน่ง Software Engineer
ตำแหน่งงาน Software Engineer ในอเมริกา ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ $87,140 ต่อปี (ประมาณเดือนละ 210,000 บาท) ซึ่งถึงแม้รายได้จะเป็นรองอาชีพอย่างแพทย์หรือทนายความ แต่ระดับความเครียดนั้นไม่สูงเท่า มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ใช้แรงงานน้อย และมีความต้่องการจำนวนสูงมาก
ไม่กี่วันก่อนเพิ่งมีข่าวกูเกิลนำลิงก์ Reader ไปซ่อน เปลี่ยนมาเป็น Picasa จนหลายคนมีการวิเคราะห์ว่าเป็นยุคเสื่อมถอนของ RSS หรือเปล่า ?
มาวันนี้ผมเข้าเช็ค Gmail ตามปกติ แล้วก็พบกับลิงก์ของ Reader กลับมาอีกครั้ง หลังจากโดนซ่อนไว้ในเมนูย่อย มา 3 วัน ซึ่งการกลับมาครั้งนี้เป็นการเพิ่มจำนวนลิงก์เข้ามาใหม่ ไม่ได้มีการถอดลิงก์อื่นไปซ่อนแต่อย่างใด ดูภาพหลังเบรคครับ
เพิ่มเติม: ทาง @googlereader ได้ออกมาแถลง ผ่านทางทวิตเตอร์แล้วครับว่าเป็นเพียง "อุบัติเหตุ" เท่านั้น
หากเราซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ที่แถมวินโดวส์มาด้วย เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรกวินโดวส์จะให้เรายอมรับข้อตกลงหรือขอคืนเงินเต็มจำนวนจากผู้ผลิต แต่ดูเหมือนว่าในทางปฎิบัติแล้วการขอคืนเงินเช่นนี้ทำจริงแทบไม่ได้ และนำมาสู่การฟ้องร้องในที่สุด
หน่วยงานผู้ฟ้องนี้คือ Associazion per i diritti degli utenti e consumatori (ADUC) ได้เรียกร้องให้ผู้บริโภคที่ซื้อคอมพิวเตอร์แบบติดตั้งวินโดวส์ไว้ล่วงหน้าและพบความยุ่งยากในการขอคืนเงินได้เข้าร่วมการฟ้องแบบดำเนินคดีกลุ่ม (class action lawsuits)
น่าจะเป็นภาพที่หาดูได้ไม่บ่อยครับ เมื่อชาวตูนิเซียที่ประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีเพราะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการกดขี่เสรีภาพในการแสดงออก ใช้ภาพใบหน้าผู้ก่อตั้ง Facebook จากปกนิตยสาร Time มาเทียบกับภาพคนในรัฐบาล และเขียนกำกับว่า Good กับ Evil (ดูภาพได้จากที่มาด้านใน)
เหตุประท้วงรุนแรงในตูนิเซียนั้นปะทุขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้วครับ และยังคงดำเนินยืดเยื้อต่อไปแม้ว่าประธานาธิบดีจะหลบหนีออกนอกประเทศไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ Facebook มีอิทธิพลอย่างมากในสถานการณ์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในไม่กี่ช่องทางที่ใช้กระจายข่าวสารและรวบรวมผู้คน แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นช่องทางให้รัฐติดตามจับกุมผู้ต่อต้าน
Google Cloud Print เป็นโครงการที่เริ่มมาจาก Chrome OS โดยมีแนวคิดคือให้เครื่องพิมพ์รับงานทุกอย่างผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะรับกับ Chrome OS ที่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาพอดี แต่ขณะที่ Chrome OS ยังไม่มีการใช้งานในวงกว้าง กูเกิลก็ปล่อย Cloud Print ให้ผู้ใช้บริการของกูเกิลบนโทรศัพท์มือถือได้ใช้งานกันก่อน
การใช้งานในตอนนี้ต้องเข้าถึงบริการของกูเกิลเช่น Gmail และ Google Docs ผ่านทางเบราเซอร์ โดยเบราเซอร์สำหรับโทรศัพท์ที่รองรับ HTML5 จะมีเมนู Print ขึ้นมาเพื่อให้พิมพ์เอกสารได้
พร้อมกับข่าวนี้กูเกิลระบุว่า Cloud Print จะรองรับลินุกซ์เร็วๆ นี้
ที่มา - Google Mobile Blog