นานๆ ทีเราจะเห็น AWS ทำเรื่องความสวยความงานกันบ้าง ของใหม่อย่างหนึ่งในงาน AWS reInvent 2024 คือ AWS Management Console ปรับปรุงหน้าตาใหม่ให้สวยงาม ใช้งานง่ายขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือ เปลี่ยนสไตล์มาใช้กรอบมุมโค้งตามสมัยนิยม, เพิ่มความชัดเจนของเส้นแบ่ง (separator) ระหว่างเซคชั่น, เอาพื้นหลังสีเทาและเงา drop shadow ออก เปลี่ยนมาใช้สีขาวล้วนเรียบๆ, ปรับขนาดฟอนต์ให้ใหญ่ขึ้น สีเน้นที่ชัดขึ้น, เลือกใช้สีไฮไลท์ที่สดใส สะดุดตากว่าเดิม
เมื่อเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงครบรอบ 10 ปีบริการ AWS Lambda หนึ่งในบริการ serverless ตัวหลัก โดยแนวทางของ Amazon นั้นเมื่อมีทีมงานต้องการเสนอโครงการ จะเขียน "จดหมายข่าว" (press release - PR) ขึ้นมาเพื่อแสดงให้ผู้พิจารณาเห็นภาพว่าบริการที่กำลังจะทำนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร และลูกค้าได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง แม้แนวทางการทำงานนี้เป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน แต่ตัวเอกสารจริงๆ ก็มักเป็นความลับทางการค้า แต่ในโอกาสครบรอบ 10 ปี AWS Lambda Dr. Werner Vogels CTO ของ AWS ก็นำเอกสารมาเปิดให้อ่านกัน
AWS เปิดตัวบริการ Data Transfer Terminals เปิดให้ลูกค้าสามารถเอาอุปกรณ์สตอเรจของตัวเองไปอัพโหลดขึ้นคลาวด์ AWS ได้ทางกายภาพ รวดเร็วกว่าการอัพโหลดผ่านเครือข่ายหากข้อมูลมีปริมาณมากๆ
ตอนนี้ศูนย์บริการ Data Transfer Terminals เปิดแล้วสองแห่งในแอลเอและนิวยอร์ก ลูกค้าสามารถจองเวลาล่วงหน้าได้จาก AWS Management Console โดยระบุชื่อของบุคคลที่จะนำข้อมูลไปอัพโหลด เมื่อไปถึงสถานที่ปลายทาง (ซึ่งเป็นสำนักงานทั่วไป ไม่ใช่ศูนย์ข้อมูลของ AWS) จะมีสต๊าฟ พาขึ้นไปยังห้องที่มีคอมพิวเตอร์ต่อตรงกับเครือข่ายของ AWS ผ่านสายเคเบิล 100G LR4 QSFP ที่ช่วยให้อัพโหลดขึ้นคลาวด์ AWS ได้อย่างรวดเร็ว
Microsoft Azure เปิดตัวเครื่อง VM รุ่นใหม่ Azure HBv5 มีจุดเด่นที่การใช้แรม high bandwidth memory (HBM) อัตราการส่งข้อมูลสูงถึง 6.9 TB/s สูงกว่าตัวเลือกอื่นในตลาดหลายเท่า
เครื่อง VM รุ่นนี้ใช้ซีพียู AMD Epyc 4th Gen แกน Zen 4 รุ่นคัสตอมพิเศษที่ AMD ผลิตให้ไมโครซอฟท์โดยเฉพาะ หากเทียบแบนด์วิดท์กับเครื่อง Azure HBv3 รุ่นก่อนหน้า ที่ใช้ Epyc 3rd Gen (Milan-X) จะสูงกว่ากันเกือบ 20 เท่า
การที่เครื่อง Azure HBv5 มีแบนด์วิดท์หน่วยความจำเยอะขนาดนี้ จึงเหมาะกับงานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ที่ต้องส่งข้อมูลจำนวนมากๆ โดยผู้เช่าเครื่อง VM สามารถเลือกเช่าซีพียูได้สูงสุด 352 คอร์ และอัดแรมได้สูงสุด 9GB ต่อคอร์
ไมโครซอฟท์อัพเดต Azure Stack HCI เดิมเป็นชื่อใหม่ว่า Azure Local ระบบจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้ง virtual machine, เน็ตเวิร์ค, สตอเรจ, และ Kubernetes โดยเชื่อมกับ Azure แล้วสั่งงานผ่านคลาวด์ จัดการอัพเดตตามรอบรายเดือนได้อัตโนมัติโดยเวิร์คโหลดยังทำงานต่อไปไม่ต้องปิดการทำงาน
ความเปลี่ยนแปลงของ Azure Local ในรอบนี้คือมันรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมากๆ ด้วย เริ่มต้นต้องการดิสก์เพียงสองลูก (ดิสก์บูต และดิสก์ข้อมูลแบบ SSD) หากต้องการทำ high availability ก็ต้องการการเชื่อมต่อ 1Gbps เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งแบบไม่ใช้ Active Directory แต่ยังได้ฟีเจอร์ Live Migration อยู่
Equinix ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ที่เพิ่งประกาศลงทุนในไทย แจ้งลูกค้าว่าจะยกเลิกบริการ Equinix Metal ในเดือนมิถุนายน 2026 แม้จะเพิ่งเปิดบริการมาไม่กี่ปี
บริการนี้ Equinix ได้มาจากการซื้อบริษัท Packet มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี 2020 แต่หลังจากนั้น Zac Smith ซีอีโอของ Packet ก็เพิ่งลาออกไปเมื่อปีที่แล้ว หลังจากนั้นบริการก็ไม่ได้มีอัพเดตอะไรนัก
ทาง Equinix ระบุว่าจะหันไปโฟกัสกับธุรกิจ colocation และบริการศูนย์ข้อมูลระดับ hyperscale ให้มากขึ้น โดยย้ำว่าลูกค้ายังได้บริการเหมือนเดิมจนวันหยุดให้บริการ แต่หากลูกค้ารายใดทำสัญญาไว้เกินกำหนดก็จะหาทางออกให้ลูกค้าต่อไป
คนในแวดวง AI คงรู้จักบริษัท Hugging Face ในฐานะศูนย์รวมคลังโมเดลขนาดใหญ่ (มีโมเดลเกิน 1 ล้านตัวแล้ว) วิธีการหารายได้ของ Hugging Face ที่ผ่านมาคือการให้เช่าเซิร์ฟเวอร์สำหรับเทรน-ปรับแต่ง-รันโมเดลเหล่านี้ได้ทันที
คราวนี้ Hugging Face ขยายโมเดลธุรกิจของตัวเอง โดยนำซอฟต์แวร์ที่ใช้รันโมเดลข้างต้น เปิดให้ลูกค้าเช่าใช้งานซอฟต์แวร์นี้บนระบบไอทีของตัวเองได้ด้วย ใช้ชื่อว่า Hugging Face Generative AI Services หรือตัวย่อ HUGS
David Heinemeier Hansson (@dhh) รายงานผลการย้ายบริการทั้งหมดของบริษัท 37signals ออกจากคลาวด์ พบว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายคลาวด์ลดลงจาก 3.2 ล้านดอลลาร์ต่อปีเหลือ 1.3 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น เพราะเหลือสตอเรจ 10PB ที่อยู่ใน AWS S3
สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจย้ายสตอเรจออกทีหลังเพราะติดสัญญา 4 ปีกับ AWS และจะหมดสัญญาในปีหน้า หลังจากนั้นเตรียมจะใช้ Pure Storage แบบ dual-DC ขนาด 18PB มาแทน โดยค่าอุปกรณ์น่าจะพอๆ กับค่าคลาวด์ทั้งปี คาดว่าอายุการใช้งาน 5 ปีจะประหยัดไป 4 ล้านดอลลาร์ โดยปีนี้ AWS ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมขนข้อมูลออกในกรณีที่ลูกค้าจะย้ายออก ทำให้ไม่เสียค่าขนถ่ายข้อมูลอีกด้วย
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ VM ที่รันอยู่บนซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง หลังจากเปิดรันแบบทดสอบมาสักระยะหนึ่ง ตอนนี้เปิดให้บริการทั่วไป หรือ generally available แล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวซีพียู Cobalt 100 ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยเป็นสถาปัตยกรรม Arm64 ตัวแรกที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเองทั้งหมดเพื่อรันงานบน Azure
ไมโครซอฟท์บอกว่า Cobalt 100 ให้ประสิทธิภาพดีกว่าซีพียู Arm ตัวก่อนๆ บน Azure (ไม่ได้เทียบกับ x86) เฉลี่ย 1.4 เท่า, งาน Java ประสิทธิภาพดีขึ้น 1.5 เท่า, งานเว็บเซิร์ฟเวอร์และ .NET ดีขึ้น 2 เท่า หากเทียบประสิทธิภาพต่อราคาดีขึ้น 50%
Oracle และ Amazon Web Services (AWS) เปิดตัวบริการ Oracle Database@AWS ที่เปิดให้ลูกค้าสามารถใช้งานฐานข้อมูลอัตโนมัติของ Oracle ได้บนโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการ และบริการ Oracle Exadata Database Service บน AWS ทำให้โครงสร้างของ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) ทำงานร่วมกับ AWS ได้อย่างต่อเนื่อง
Larry Ellison ประธานและซีทีโอ Oracle กล่าวว่าลูกค้าจำนวนมากมีความต้องการใช้งานฐานข้อมูลแบบมัลติคลาวด์ เพื่อรองรับความต้องการนี้จึงเป็นความร่วมมือกับระหว่าง Amazon กับ Oracle ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้งานแพลตฟอร์มดีที่สุดที่ต้องการใช้งาน
Amazon เปิดบริการ AWS Parallel Computing Service (PCS) แพลตฟอร์มจัดการคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ( high performance computing หรือ HPC) ที่เครื่องทั้งหมดอยู่บน AWS EC2
PCS เป็นการนำ AWS ParallelCluster ซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ HPC ที่ Amazon เปิดเป็นโอเพนซอร์สในปี 2018 มาผนวกกับเครื่องมืออื่นๆ แล้วจัดการระบบทั้งหมดโดย Amazon เอง (fully managed) สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากดูแลคลัสเตอร์เอง
ทีมวิศวกรรมของ LinkedIn เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการย้ายระบบของ LinkedIn ที่เดิมรันอยู่บน CentOS 7 มาใช้ Azure Linux ของไมโครซอฟท์
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
Google Cloud มีบริการรันงานแบบ serverless / event-driven อยู่สองตัวคือ Cloud Functions ที่เปิดตัวครั้งแรกปี 2016 ใช้ระบบจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่กูเกิลพัฒนาเอง จำกัดภาษาโปรแกรมเท่าที่กูเกิลรองรับ รันได้เฉพาะบน GCP และ Cloud Run ที่เปิดตัวปี 2019 ใช้ Kubernetes (Knative) รันบนคลาวด์ยี่ห้ออื่นได้ ใช้รันไทม์ใดๆ ก็ได้ตามต้องการ
ทิศทางของกูเกิลชัดเจนว่า Cloud Run คืออนาคต และล่าสุดกูเกิลแปลงร่าง Cloud Functions เดิมมาทำงานบนเทคโนโลยีของ Cloud Run และใช้ชื่อใหม่ว่า Cloud Run Functions
นักวิจัยจาก Loughborough University พบว่า ข้อมูลส่วนมากบนคลาวด์จัดเป็น Dark data คือถูกใช้ครั้งเดียว แล้วถูกลืมไว้ใน Data center กินพลังงานไปเรื่อย ๆ โดย The Guardian บอกว่าอีเมลและมีมที่เราส่งให้คนอื่นอาจจัดอยู่ในข้อมูลแบบนั้นเช่นกัน
งานวิจัยพบว่า ข้อมูลที่ใช้กันในบริษัทกว่า 2 ใน 3 (68%) จะไม่ถูกนำกลับมาใช้อีก และการใช้งานข้อมูลก็มีทิศทางคล้ายกันในการใช้งานส่วนบุคคล
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าแอพ Windows App เข้าสถานะเปิดใช้งานทั่วไป (general availability)
แอพชื่อ Windows App เปิดตัวครั้งแรกช่วงปลายปี 2023 มีไว้ใช้งานเดสก์ท็อปบนคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ได้แก่บริการ Azure Virtual Desktop, Windows 365 สำหรับลูกค้าธุรกิจ, Microsoft Dev Box สำหรับนักพัฒนา
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows App เวอร์ชัน Windows, iOS, macOS, เว็บเข้าสถานะ GA เรียบร้อยแล้ว และประกาศทำเวอร์ชัน Android เพิ่ม โดยจะเปิดให้ทดสอบในเร็วๆ นี้
AIS จับมือกับ Oracle ให้บริการไฮเปอร์สเกลคลาวด์ครั้งแรกในไทยบน AIS Cloud โดยพร้อมให้บริการในไตรมาสที่ 1 ปี 2025
แม้โลกแห่งคลาวด์ถูกปกครองโดย AWS มาช้านาน และบริการของ AWS ที่มาก่อนใครเพื่อนก็เรียกได้ว่าเป็น "มาตรฐานอุตสาหกรรม" ที่คู่แข่งต้องทำตาม หรืออ้างอิง API เพื่อรักษาความเข้ากันได้ (ตัวอย่าง) แต่จริงๆ แล้วก็มีบริการบางตัวของ AWS ที่แข่งขันไม่ได้เช่นกัน
ล่าสุด AWS บอกว่าเตรียมหยุดให้บริการที่มีคนใช้น้อยๆ จำนวนหนึ่ง ได้แก่ AWS CodeCommit, S3 Select, CloudSearch, Cloud9, SimpleDB, Forecast, Data Pipeline
เมื่อวานนี้นอกจากเหตุการณ์ CrowdStrike อัพเดตเครื่องวินโดวส์แล้วพัง ยังมีอีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไล่เลี่ยกัน (แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน) คือ Microsoft Azure ล่มในบางพื้นที่
รายงานของไมโครซอฟท์ระบุว่าระบบของ Azure มีปัญหาเฉพาะในเขต Central US ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ราวตีห้าของประเทศไทย และฟื้นกลับมาได้ทั้งหมดราว 1 ทุ่ม (การล่มเกิดก่อนปัญหา CrowdStrike ทำจอฟ้า) สาเหตุเกิดจากปัญหาสตอเรจทำงานผิดพลาด ทำให้จำนวนเครื่อง VM ในระบบมีไม่เหลือพอให้ใช้บริการ ระบบไอทีใดๆ ที่เรียกใช้บริการ VM และสตอเรจบน Azure จึงได้รับผลกระทบ
Amazon Web Services หรือ AWS ประกาศทำข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อให้บริการคลาวด์ระดับความลับสุดยอดบน AWS (Top Secret Cloud) สำหรับงานข่าวกรองและความมั่นคง มูลค่าของสัญญา 2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 4.9 หมื่นล้านบาท
TS Cloud นี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญไว้อย่างปลอดภัย รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานข่าวกรองกับกองทัพของออสเตรเลีย โดยยังรองรับการนำ AI และ ML มาเสริมประสิทธิภาพการจัดการข้อมูล ลดขั้นตอนบางอย่างที่ไม่จำเป็น และยังใช้งานได้อย่างปลอดภัยรัดกุม
GreenNode ธุรกิจด้านศูนย์ข้อมูลในเครือ VNG กลุ่มบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของเวียดนาม เปิดตัวคลัสเตอร์ AI ขนาดใหญ่ในศูนย์ข้อมูลที่กรุงเทพ
เครื่องคลัสเตอร์ตัวนี้ใช้จีพียู NVIDIA H100 และระบบเครือข่าย InfiniBand ตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูล STT Bangkok 1 ของบริษัท ST Telemedia จากสิงคโปร์
ธุรกิจของ GreenNode เน้นการให้บริการ GPU cloud โดยแยกเป็น 3 ระดับคือ
Gartner รายงานการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ทั่วโลกในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นจาก 5.61 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 6.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นราวๆ 20.4% ปัจจัยสำคัญมาจากการใช้ Generative AI และการปรับปรุงพัฒนาแอปผ่านผู้ขายซอฟต์แวร์อิสระ
ส่วนขององค์กรในไทย Gartner ประเมินค่าใช้จ่ายในปีนี้จะสูงกว่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 30.1% จากปีที่แล้ว โดยกลุ่มบริการ IaaS จะเติบโตสูงสุด เพิ่มขึ้น 39.6% ตามมาด้วย PaaS อยู่ที่ 26%
Huawei Cloud อ้างข้อมูลจากรายงาน Market Share: Services, Worldwide 2023 ของบริษัท Gartner ที่สำรวจส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์แบบ Infrastructure as a Service (IaaS คือนับเฉพาะส่วน infra ไม่รวมบริการอื่นอย่างอีเมล) ของประเทศไทยในปี 2023 วัดตามรายได้ ดังนี้
Huawei Cloud เริ่มให้บริการในไทยครั้งแรก 30 กันยายน 2561 ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลแห่งล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม 2565
Oracle ประกาศด้านความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ทีเดียวทั้งสองรายใหญ่คือ Microsoft Azure และ Google Cloud มีรายละเอียดดังนี้
โดยส่วนของไมโครซอฟท์นั้น Oracle ประกาศขยายความร่วมมือจากเดิม เพื่อให้แพลตฟอร์ม Microsoft Azure Al มาใช้คลาวด์ของ Oracle สำหรับรองรับความต้องการของ OpenAI บริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ไมโครซอฟท์เป็นผู้ลงทุนและให้ความร่วมมือด้านคลาวด์ประมวลผลโดยเฉพาะ ก่อนหน้านี้ Oracle เคยประกาศความร่วมมือกับ Azure มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี
กูเกิลประกาศแผนการลงทุนวงเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ในประเทศมาเลเซีย โดยมีทั้งการตั้งศูนย์ข้อมูลและศูนย์ Google Cloud แห่งแรกในประเทศ อยู่ที่ Elmina Business Park ในรัฐเซอลาโงร์ รวมทั้งแผนอัปสกิลด้านความรู้ดิจิทัลตลอดจน AI ให้กับประชากรในประเทศด้วย
กูเกิลบอกว่าศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่นี้จะรองรับการประมวลผลบริการต่าง ๆ รวมทั้ง Search, Maps และ Workspace ตลอดงานด้าน AI รองรับทั้งผู้ใช้ในภูมิภาคและในมาเลเซีย
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ก็เพิ่งประกาศการลงทุนด้านคลาวด์และ AI ที่มาเลเซีย ด้วยเงินลงทุน 2.2 พันล้านดอลลาร์
ที่มา: กูเกิล
Amazon Web Services หรือ AWS ประกาศตั้ง AWS Asia Pacific (Bangkok) Region แห่งใหม่ในประเทศไทย โดยประกาศกำหนดการว่าจะเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2568 หรือ 2025 ด้วยเงินลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท จนถึงปี 2580 รองรับนักพัฒนา สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร ให้เลือกใช้บริการคลาวด์ในศูนย์ข้อมูลที่ตั้งในประเทศไทย