Absci Corporation บริษัทผู้พัฒนายาโดยใช้ Generative AI ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ AMD เพื่อนำชิปเร่งการประมวลผล AMD Instinct และซอฟต์แวร์ ROCm มาดีพลอยและรองรับเวิร์กโหลดในการพัฒนายาของ Absci โดย AMD จะลงทุนในบริษัทเป็นเงิน 20 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ Absci เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นแนสแดค
อุตสาหกรรมยาและการแพทย์ เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการนำ AI มาช่วยเพิ่มความเร็วและเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปมาก โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม
Sean McClain ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Absci บอกว่าความร่วมมือกับ AMD จะทำใหโซลูชัน AI และการค้นคว้าของบริษัทรวดเร็วและก้าวหน้ามากขึ้น
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Waterloo รายงานถึงความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิคการใช้เรดาร์ในระยะใกล้ผิวหนังเพื่อวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือดแบบเดิมๆ
ทีมวิจัยใช้เรดาร์คลื่นความถี่ย่าน 60GHz ด้วยชิป Infineon BGT60TR13C ที่ราคาไม่แพงนัก (ราคาชุดพัฒนาแบบขายปลีกประมาณ 9,000 บาท) ประกบเข้ากับแผ่น meta-surface ที่ช่วยโฟกัสสัญญาณให้ชัดเจนขึ้น เปิดทางให้สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยอาศัยเซ็นเซอร์ที่แปะอยู่บนข้อมือเท่านั้น
ผลที่ได้ตอนนี้ค่อนข้างมีความหวัง โดยระดับสัญญาณที่ได้จากเรดาร์ล้อไปกับระดับน้ำตาลในตัวอย่างจำลองอย่างชัดเจน ตัวเซ็นเซอร์ใช้พลังงานจาก USB และหากมีการปรับปรุงก็น่าจะทำให้ทำงานด้วยแบตเตอรี่ได้ เปิดทางเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลต่อเนื่อง
ARPA-H หน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับสูงของสหรัฐฯ ประกาศโครงการ Transplantation of Human Eye Allografts (THEA) ที่สนับสนุนหน่วยงานวิจัยให้สามารถปลูกถ่ายดวงตาจนผู้รับดวงตาสามารถกลับมามองเห็นได้
ผู้ได้รับทุนจาก THEA จะวิจัยเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการปลูกถ่ายดวงตา แบ่งเป็นสามด้าน (technical areas - TA) ได้แก่
ตอนนี้มี 4 ทีมวิจัยร่วมโครงการ THEA ได้แก่
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศรับรองวัคซีน LC16m8 สำหรับโรค mpox หรือฝีดาษลิง หลังจากมีรายงานแพร่กระจายไป 80 ประเทศ รวมผู้ป่วย 39,000 โดยเป็นกระบวนการรับรองฉุกเฉิน (Emergency Use Listing - EUL) ที่เคยใช้ตอนอนุมัติวัคซีน COVID-19
LC16m8 เป็นวัคซีนเชื้อตายพัฒนาโดย Chiba Serum Institute มาตั้งแต่ปี 1975 เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองสำหรับไข้ทรพิษ (smallpox) มาก่อน จากนั้นจึงส่งต่อ KM Biologics โดยกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นมีการสต็อก LC16m8 เพื่อความมั่นคงตลอดมา การอนุมัติครั้งนี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถบริจาควัคซีนได้ถึง 3.05 ล้านโดส
หลังจากกูเกิลร่วมวิจัยการใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์อาการเบาหวนขึ้นตา (diabetic retinopathy) ร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถีมาตั้งแต่ปี 2018 และรายงานว่าวิเคราะห์ได้ระดับเดียวกับผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ปี 2022 ตอนนี้ก็มาถึงเฟสเตรียมการใช้งานแล้ว โดยกูเกิลกำลังศึกษาเรื่องนี้กับกรมการแพทย์ของไทย
การศึกษาครั้งนี้เตรียมเปิดทางความร่วมมือระหว่าง Perceptra บริษัทปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ในไทย และกรมการแพทย์ ในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้คัดกรองโรคในประชากรวงกว้าง
DeepMind เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ AlphaProteo ที่สามารถออกแบบโปรตีนยาเพื่อให้ไปจับ (binding) กับโปรตีนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับโชว์ว่าสามารถออกแบบโปรตีนเพื่อจับกับโปรตีนไวรัสหรือโปรตีนก่อโรคต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
นอกจากความเร็วในการออกแบบโปรตีนแล้ว ทีมงานยังพบว่าโปรตีนที่ออกแบบได้มีความสามารถจับโปรตีนเป้าหมายได้ดีกว่าโปรตีนเดิมๆ ที่เคยมีการออกแบบกันมาก เช่น BHRF1 โปรตีนของไวรัสก่อมะเร็งสามารถจับในหลอดทดลองได้ถึง 88% ขณะที่ความแน่นในการจับก็แน่นกว่าโปรตีนที่เคยออกแบบกันมาด้วย
Samsung Medison แผนกพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ของซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศว่าการเข้าซื้อกิจการ Sonio สตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีการแพทย์จากฝรั่งเศสเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากทั้งสองบริษัทประกาศแผนซื้อกิจการเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้
Sonio เป็นสตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medtech) เน้นด้านอัลตร้าซาวด์สำหรับสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา โดยนำ AI มาช่วยในการเขียนรายงานสรุปผล มีโซลูชันเด่นคือ Sonio Detect ที่ช่วยตรวจจับความผิดปกติจากผลอัลตร้าซาวด์ ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก FDA หรือองค์การอาหารและยาของสหรัฐในปี 2023
Samsung Medison บอกว่าการซื้อกิจการ Sonio นี้ จะเป็นการนำเทคโนโลยีมาเสริมบริการเทคโนโลยีการแพทย์ต่าง ๆ ของบริษัท
ทีมวิจัยจากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัย Pennsylvania รายงานถึงการพัฒนาวัคซีน H5 mRNA-LNP วัคซีน mRNA สำหรับป้องกันไข้หวัดนก H5N1 และทดลองในตัวเฟอร์เรต (ferret) ได้ประสิทธิภาพดีมาก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนมีอาการน้อย, ภูมิขึ้นสูง, และไม่มีการเสียชีวิตหลังได้รับเชื้อเลย
Mayo Clinic รายงานถึงการพัฒนา RadOnc-GPT ผู้ช่วยวิเคราะห์โรคมะเร็งที่อาศัยข้อมูลการรักษามะเร็งในโรงพยาบาล Mayo Clinic เอง นำมา finetune โมเดล Llama 2 ของ Meta กระบวนการฝึกและการใช้งานทั้งหมดอยู่ในเน็ตเวิร์คของโรงพยาบาลเอง
Google DeepMind เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ AlphaFold 3 ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์สำหรับการทำนายโครงสร้างของโมเลกุล หลังจากเปิดตัว AlphaFold 2 มาตั้งแต่ปี 2020 และใช้สร้างฐานข้อมูลโครงสร้างโปรตีนเมื่อปี 2022 เปิดให้นักวิจัยเข้าใช้งานได้ฟรี
ทาง DeepMind ระบุว่าจนถึงตอนนี้งานวิจัยที่อ้างอิงกลับมายัง AlphaFold มีจำนวนมากกว่า 20,000 รายงานวิจัย และถูกใช้ในการออกแบบวัคซีนมาลาเรีย, มะเร็ง, ตลอดจนการออกแบบเอนไซม์
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA ประกาศว่าเครื่องมือตรวจสอบอาการ AFib (Atrial Fibrillation) หรือหัวใจเต้นพริ้ว ใน Apple Watch ผ่านเกณฑ์ที่สามารถนำใช้งานได้ในโปรแกรมเครื่องมือพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ (MDDT - Medical Device Development Tool)
FDA บอกว่าฟีเจอร์ AFib ใน Apple Watch นี้ เป็นอุปกรณ์สุขภาพดิจิทัลตัวแรกที่ได้รับการรับรองใน MDDT สามารถช่วยประเมินอาหาร AFib เบื้องต้น นำไปใช้เป็นข้อมูลในการทดลองศึกษาทางคลินิกได้
ฟีเจอร์ตรวจวัดอาการหัวใจเต้นพริ้ว เริ่มมีให้ใช้งานตั้งแต่ Apple Watch Series 4 โดยในไทยเริ่มเปิดให้ใช้งานบน watchOS ตั้งแต่ปี 2021
ทีมวิจัยจาก Stanford Medicine รายงานถึงการทดลองใช้ GPT-4 มาช่วยร่างข้อความสำหรับแอปต่างๆ ที่แพทย์แพลพยาบาลใช้งาน โดยข้อความทั้งหมดเจ้าหน้าที่ต้องมาตรวจสอบก่อนส่งอีกครั้ง
การทดลองครั้งนี้มีแพทย์และพยาบาลเข้าร่วม 162 คน ทดสอบเป็นเวลา 5 สัปดาห์ และเนื่องจากมีแอปที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้งานหลากหลาย แอปที่รองรับ GPT-4 จริงๆ คิดเป็น 20% ของการตอบข้อความทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ ข้อความมีหลากหลาย เช่น คนไข้ถามอาการข้างเคียงของยา, หรือการรักษาอาการเบื้องต้น
ผลทดสอบไม่พบว่าเวลาการตอบข้อความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อนำผลทดสอบความรู้สึกว่างานหนัก หรือความเหนื่อยล้าจากการทำงาน หลังใช้งาน GPT-4 ช่วยลดคะแนนทั้งสองตัวลงได้ แสดงให้เห็นว่า GPT-4 น่าจะช่วยลดโหลดงานของเจ้าหน้าที่ลงได้บางส่วน
ทีมวิจัยของ NIST หน่วยงานออกมาตรฐานอุตสาหกรรมสหรัฐฯ รายงานถึงการพัฒนาเซ็นเซอร์กลูโคสโดยอาศัยการดัดแปลงจากเซ็นเซอร์แม่เหล็กที่มีในโทรศัพท์สมัยใหม่แทบทุกเครื่องอยู่แล้ว
กระบวนการวัดระดับน้ำตาลจริงๆ จะอาศัยแผ่นไฮโดรเจลที่ยืดหรือหดลงเมื่อระดับน้ำตาลในตัวอย่างที่นำมาทดสอบต่างกันไป ที่ปลายแผ่นไฮโดรเจลติดสารแม่เหล็กเอาไว้ทำให้ระดับสนามแม่เหล็กเปลี่ยนไป และนำมาแปลงค่าแสดงในโทรศัพท์มือถือด้วยเซ็นเซอร์เข็มทิศอีกที
ก่อนหน้านี้ Neuralink บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีชิปเชื่อมต่อกับสมองมนุษย์ของ Elon Musk ได้ประกาศว่าประสบความสำเร็จในการทดลองฝังอุปกรณ์ในสมองมนุษย์คนแรกแล้ว ล่าสุด Neuralink จึงนำเสนอรายละเอียดการทำงานของระบบสั่งการคอมพิวเตอร์จากสมองมนุษย์จากผู้ทดสอบรายนี้
โดย Neuralink ได้ไลฟ์ผ่าน X เปิดเผยว่าผู้ทดสอบนี้คือ Nolan Arbaugh อายุ 29 ปี ซึ่งเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เขาบอกว่าหลังฝังชิปในสมองแล้ว สิ่งที่ต้องฝึกฝนคือการแยกการสั่งการสมองระหว่าง "แค่คิดเฉย ๆ" กับ "คิดเพื่อสั่งการ" โดยการสาธิตนั้นเป็นการควบคุมเคอร์เซอร์ในหน้าจอคอมพิวเตอร์
ทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยวัคซีนมหาวิทยาลัย FAU Erlangen-Nürnberg ในเยอรมนีรายงานถึงชายอายุ 62 ปีผู้หนึ่งที่รับวัคซีน COVID-19 มาแล้วถึง 217 เข็ม ตลอดช่วงเวลาที่มีวัคซีนให้บริการ โดยได้รับวัคซีนทั้งแบบ Johnson&Johnson, AstraZeneca, Moderna, BioNTech/Pfizer, GSK/Sanofi ตลอดจนสูตร booster สำหรับเร่งภูมิแบบต่างๆ รวม 8 แบบ
ทีมวิจัยรู้จักชายผู้นี้หลังจากเขาถูกสอบสวนเนื่องจากไปรับวัคซีนมากถึง 130 เข็มตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา แม้ภายหลังอัยการจะไม่ได้ดำเนินคดีต่อ แต่ทีมวิจัยก็ติดต่อขอตัวอย่างเพื่อมาศึกษาภูมิที่ได้ และผลเสียจากการรับวัคซีนมากขนาดนี้
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ประกาศอนุญาตขายเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (continuous glucose monitor - CGM) ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถซื้อใช้งานได้เอง (over-the-counter) คือเครื่อง Dexcom Stelo Glucose Biosensor System (Stelo)
Stelo เป็นเซ็นเซอร์แบบติดแขนและส่งข้อมูลระดับน้ำตาลต่อเนื่องไปยังโทรศัพท์ทุกๆ 15 นาที โดยผลการทดสอบพบว่า Stelo มีประสิทธิภาพดีพอๆ กับเครื่องวัดน้ำตาลอื่นในตลาด
FDA จำกัดการใช้งาน Stelo โดยไม่อนุญาตสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้อินซูลิน หรือผู้ป่วย hypoclycemia ที่ระดับน้ำตาลต่ำ โดยอาจใช้งานในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการมอนิเตอร์ระดับน้ำตาลในเลือดหลังออกกำลังกาย
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) รับรองยา Xolair สำหรับการลดอาการแพ้อาหาร โดยใช้สำหรับการป้องกันก่อนการทานอาหาร ทำให้อาการแพ้เมื่อกินอาหารที่แพ้โดยไม่ตั้งใจเบาลง
Xolair หรือ omalizumab เป็นยาสำหรับรักษาอาการแพ้มาน มีการพัฒนายามาตั้งแต่ช่วงปี 1990 และ FDA ก็อนุญาตให้ใช้ยาตัวนี้รักษาอาการหอบหืดตั้งแต่ปี 2003 แต่การอนุญาตครั้งนี้เป็นการเพิ่มข้อบ่งชี้การใช้งาน ขณะที่ยาแก้แพ้อาหารนั้นก็มีการรับรองใช้งานมาก่อนแล้ว แต่ Xolair เป็นตัวแรกที่สามารถใช้กับอาการแพ้อาหารหลายชนิดได้พร้อมกัน
ทีมวิจัยจากสถาบัน Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รายงานถึงผลทดสอบการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ว่าแม้จะมีข่าวว่า LLM สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างน่าทึ่งแต่ก็มีความผิดพลาดสูง ต้องระมัดระวัง
ทีมงานทดสอบการใช้งาน LLM โดยใช้โมเดล 4 ตัว ได้แก่ GPT-4, Claude 2.1, Mistral Medium, และ Gemini Pro เฉพาะ GPT-4 นั้นสร้างแอป retrieval augmented generation (RAG) ครอบอีกชั้นเพื่อทดสอบ โดยวัดว่าเวลาที่ LLM เหล่านี้ตอบคำถามแล้ว สามารถสร้างคำตอบโดยมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องหรือไม่
ทีมวิจัยจาก Children’s Hospital of Philadelphia (CHOP) ประกาศความสำเร็จในการรักษาอาการหูหนวกในเด็กอายุ 11 ปี หลักจากเริ่มกระบวนการรักษาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยตอนนี้อาการของคนไข้เหลือเพียงสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง คนไข้สามารถฟังเสียงพูดคุย, ได้ยินเสียงรถยนต์, หรือเสียงตัดผมของตัวเองได้
คนไข้รายนี้มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดเนื่องจากยีน otoferlin (OTOF) กระบวนการรักษาอาศัยการผ่าตัดเข้าไปหูชั้นในรูปหอยโข่ง (cochlea) แล้วให้ยายีนบำบัด AK-OTOF เป็นการนำยีน OTOF ที่ปกติเข้าไปแทนยีนเดิมด้วยไวรัส (viral vector) เมื่อเซลล์ได้รับยีนนี้แล้วจะตอบสนองต่อเสียง และส่งสัญญาณประสาทตามที่ควรจะเป็น
ทีมวิจัยของ MIT ประกาศความสำเร็จในการออกแบบยาต้านแบคทีเรีย methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ในจานเพาะเชื้อได้สำเร็จโดยอาศัยการออกแบบและทำนายประสิทธิภาพจากโมเดลปัญญาประดิษฐ์
โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เป็น deep learning ฝึกจากฐานข้อมูลสาร 39,000 แบบพร้อมโครงสร้างทางเคมีเพื่อสร้างโมเดลนำนายว่าสารใดควรมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค นอกจากนี้ทีมงานยังสร้างโมเดลอีก 3 ชุดเพื่อทำนายว่าสารใดเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หลังจากนั้นรันโมเดลกับสารประกอบ 12 ล้านแบบเพื่อหาว่าสารใดน่าจะเป็นยาได้
ผลการทำนายพบว่ามีสาร 5 กลุ่มที่น่าจะใช้งานได้ ทีมวิจัยจึงซื้อสารมาทดลองทั้งหมด 280 แบบ ทดลองในจานเพาะเชื้อ พบว่ามีสองแบบที่น่าจะใช้เป็นยาได้จริงๆ
BioNTech ผู้พัฒนาวัคซีน mRNA รายใหญ่ประกาศผลเบื้องต้นของวัคซีน BNT211 ที่เป็นวัคซีนรวมสองเทคนิค คือ cell therapy ด้วย CAR-T cell สำหรับจับ antigen CLDN6 ที่พบได้ในเซลล์มะเร็งหลายประเภท และวัคซีน CARVac ที่ช่วยยืดระยะเวลาการจับเซลล์มะเร็งเพื่อขจัดออกจากร่างกาย โดยผลการตอบสนองการรักษาโดยรวม (overall response rate - ORR) อยู่ที่ 59% และอัตราการคุมโรค (disease control rate - DCR) อยู่ที่ 95%
การทดลองเฟส 1/2 ดูทั้งระดับโดสที่ปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งานไปพร้อมกัน โดยยังมีกลุ่มตัวอย่างไม่มากนัก อยู่ที่ 44 คน เป็นผู้ป่วยมะเร็งเนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์ 16 ราย, มะเร็งรังไข่ 17 ราย และมะเร็งเนื้องอกอื่นๆ 11 ราย รายงานความปลอดภัยพบผลข้างเคียงที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณโดสที่ให้
หลังวีดีโอที่นำเสนอข้อมูลทางการแพทย์แบบผิด ๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วง COVID YouTube จึงประกาศปรับปรุงนโยบายด้านสุขภาพ แบนเนื้อหาเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพ การรักษา และสารต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกับข้อมูลจากหน่วยงานด้านสุขภาพในท้องถิ่นหรือองค์การอนามัยโลก (WHO)
ภายใต้นโยบายนี้ YouTube จะพิจารณาเนื้อหาจากแนวทางการรักษาของหน่วยงานด้านสุขภาพทั่วโลก และประเมินว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความเสี่ยงด้านสาธารณสุขสูงหรือไม่, ขัดแย้งกับข้อมูลที่ถูกต้องเผยแพร่อยู่แล้วหรือไม่ รวมถึงแนวโน้มที่จะเป็นข้อมูลปลอมข้อมูลเท็จมากน้อยแค่ไหนโดย YouTube จะจำแนกเนื้อหาที่ให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่ถูกต้องออกเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่
เครื่องวัดความดันในปัจจุบันถือเป็นเวชภัณฑ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง แม้เป็นเครื่องราคาถูกก็อยู่ที่หลักพันบาทขึ้นไป แถมพกพาไม่ค่อยสะดวก เพราะขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก (UCSD) ตีพิมพ์งานวิจัยเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตขนาดเล็ก ในรูปแบบคลิปหนีบสมาร์ทโฟน ใช้งานง่ายโดยใช้เพียงปลายนิ้วเท่านั้น ที่สำคัญคือราคาถูก โดยต้นทุนการผลิต 1,000 ชิ้น อยู่ที่เพียง 0.8 ดอลลาร์ หรือราวๆ 30 บาทเท่านั้น
สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อสหรัฐฯ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases - NIAID) ประกาศเริ่มทดลองวัคซีน H1ssF-3928 mRNA-LNP วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ mRNA โดยที่ยังอยู่ในเฟสแรกแต่นับเป็นก้าวแรกของการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ mRNA
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแพลตฟอร์มสำหรับวัคซีนแล้ว H1ssF-3928 ยังเปลี่ยนเป้าหมาย โดยไปจับกับโปรตีน hemagglutinin (HA) ของไวรัสที่ส่วนก้าน (stem) แทนที่ส่วนหัว ซี่งส่วนก้านนี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงน้อย ทำให้เป็นไปได้ว่าวัคซีนจะสามารถป้องกันไวรัสได้หลายสายพันธุ์ ไม่ต้องฉีดใหม่ทุกปีเช่นทุกวันนี้
ไมโครซอฟท์ และ Nuance Communications เปิดตัวโซลูชัน Dragon Ambient eXperience Express หรือ DAX Express เป็นเครื่องมือช่วยเขียนเอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วย (Clinical Documentation) แบบอัตโนมัติ โดยใช้ AI ด้านการสั่งงานด้วยเสียงและระบบจัดการข้อมูลสุขภาพที่ Nuance เชี่ยวชาญ รวมกับความสามารถการถอดความเรียบเรียงของ GPT-4