หลังญี่ปุ่นร่างกฎหมายควบคุมแอปเปิลและกูเกิลเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้รัฐสภาญี่ปุ่นก็ได้ผ่านกฎหมายลักษณะเดียวกับ Digital Markets Act (DMA) ของฝั่งยุโรปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
กฎหมายฉบับนี้ ห้ามบริษัทขนาดใหญ่อย่างแอปเปิลและกูเกิลใช้สโตร์, แพลตฟอร์มหรือระบบปฏิบัติการของตัวเองแทรกแซงหรือกีดกันการขายแอปพลิเคชันใด ๆ ที่ไม่ได้สร้างจากบริษัทของตัวเอง รวมถึงห้ามให้ลำดับความสำคัญกับสินค้าและบริการของตัวเองก่อนบริษัทอื่น ๆ บนหน้าการค้นหา
จุดประสงค์ในการออกกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นเพราะญี่ปุ่นต้องการที่จะป้องกันไม่ให้บริษัทใหญ่ผูกขาดและมีอำนาจเหนือตลาด รวมถึงเพิ่มการแข่งขันในตลาดธุรกิจแพลตฟอร์ทดิจิทัล
ประเด็นการแบนสินค้าและบริการจากจีนได้รับความสนใจอย่างมาก หลังกฎหมายแบน TikTok มีผลบังคับใช้ แต่ดูท่ามันจะไม่จบแค่ TikTok เท่านั้น
Elise Stefanik ส.ส. สหรัฐอเมริกาสังกัดพรรครีพับลิกัน กำลังนำเสนอร่างกฎหมายแบนการใช้โดรนจากจีน (Countering CCP Drones Act) ที่มุ่งเป้าไปยังโดรนของ DJI
จากกรณีกฎหมายข่าวออนไลน์ของแคนาดา ที่บังคับแพลตฟอร์มต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้สำนักข่าว จนเป็นผลให้ Google และ Meta ตัดสินใจปิดกั้นการมองเห็นข่าวของผู้ใช้ในแคนาดา เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย
สัปดาห์ที่แล้ว แคนาดาเกิดเหตุไฟป่าใหญ่ในเขต Northwest Territories ทางตอนเหนือของประเทศ ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องอพยพ อย่างไรก็ตาม ชาวแคนาดาที่ต้องการแชร์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไฟป่ากลับไม่สามารถทำได้ เพราะระบบตรวจจับข่าวของ Meta ไม่อนุญาตให้โพสต์ ผู้ใช้หลายคนจึงต้องเลี่ยงไปใช้วิธีแคปหน้าจอข่าวแล้วโพสต์แทน ซึ่งทำให้ไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลละเอียดได้
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU-U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
รัฐบาลแคนาดา ประกาศยกเลิกโฆษณาบน Facebook, Instgram, และแพลตฟอร์มในบริษัทแม่ หลังจาก Meta เริ่มแบนเนื้อหาข่าวสำหรับผู้ใช้ภายในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากกฎหมาย แบ่งปันรายได้ให้สื่อท้องถิ่น (Bill C-18)
Pablo Rodriguez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมรดกวัฒนธรรม ประเทศแคนาดา คาดว่า การตัดสินใจยกเลิกโฆษณาทั้งหมดบนแพลตฟอร์มของ Meta ทำให้บริษัทสูญเงินราว 7.54 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดมากกว่า 116 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 ที่ผ่านมาของ Meta นับว่าไม่ได้มีผลกระทบมากเท่าไหร่สำหรับบริษัท
กูเกิลประกาศถอดลิงก์ข่าวออกจากบริการในเครือได้แก่ Search, News, Discover สำหรับผู้ใช้ในแคนาดา หลังกฎหมายฉบับใหม่ Online News Act (Bill C-18) มีผลบังคับใช้
ประกาศของกูเกิลเกิดขึ้นหลัง Meta ที่ประกาศถอดลิงก์ข่าวบน Facebook/Instagram ไปก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน
กฎหมาย Bill C-18 ของแคนาดา ออกมาเพื่อบีบให้บริษัทแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องแบ่งรายได้จากโฆษณาให้กับสื่อมวลชน แต่แคนาดาไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายลักษณะนี้ เพราะมีออสเตรเลียเริ่มทำมาก่อน และผ่านกฎหมายแบบนี้สำเร็จในปี 2021 แต่กฎหมายของออสเตรเลียผ่อนปรนมากกว่า
ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของยุโรป 27 ประเทศ ลงมติเห็นชอบกฎหมายสินทรัพย์คริปโต Markets in Crypto-assets (MiCA) ที่เริ่มเสนอกันมาตั้งแต่ปี 2022 ทำให้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาคที่มีข้อกฎหมายด้านคริปโตอย่างชัดเจน
สาระสำคัญของ MiCA เป็นเรื่องการขอใบอนุญาตทำธุรกิจด้านคริปโต ซึ่งเป็นใบอนุญาตเดียวทั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป, การเปิดเผยข้อมูล และการสำรองสินทรัพย์ค้ำประกัน stablecoin
รัฐสภาเกาหลีใต้ ลงมติผ่านการแก้ไขกฎหมายด้านภาษีของบริษัทผู้ผลิตชิป ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมายสนับสนุนการลงทุนของบริษัทผลิตชิปในประเทศ เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลง และสามารถแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศได้
โดยรายละเอียดของกฎหมายนี้ ได้ปรับเพิ่มเครดิตลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทผู้ผลิตชิป สำหรับค่าใช้จ่ายจากการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านเซมิคอนดักเตอร์ โดยเพิ่มจาก 8% เป็น 15% สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น Samsung Electronics และ SK hynix ส่วนบริษัทขนาดกลาง-เล็ก เพิ่มอัตราลดหย่อนจาก 16% เป็น 25%
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา เขียนบทความลง Wall Street Journal เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน ช่วยกันผ่านกฎหมายเพื่อควบคุมบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ (Big Tech) มากขึ้น
ข้อเรียกร้องของไบเดนมีด้วยกัน 3 ด้านคือ
รัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมแก้ไขกฎหมาย K-Chips Act เพื่อลดหย่อนภาษีให้บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ โดยจะเพิ่มเงินการลดหย่อนภาษีให้กับบริษัททั้งรายใหญ่และรายเล็กตามนโยบายกระตุ้นภาคส่วนผลิตชิปของประธานาธิบดี Yoon Suk Yeol เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาและจีน
หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งรัฐนิวยอร์กผ่านร่างกฎหมาย Digital Fair Repair Act (หรือที่มักจะเรียกกันว่า Right to Repair) มานานกว่า 6 เดือน เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา นาง Kathy Hochul ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กก็ลงนามให้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคย กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจำหน่ายอะไหล่ รวมทั้งเปิดเผยคู่มือการซ่อมอุปกรณ์และซอพต์แวร์ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้บริโภคและร้านซ่อมอิสระ ในระดับเดียวกับศูนย์บริการของผู้ผลิต ทำให้ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกร้านซ่อม ช่วยให้การซ่อมอุปกรณ์มีราคาจับต้องได้มากขึ้น ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
รัฐแคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายระดับรัฐ (Senate Bill 1398) แบนการโฆษณาฟีเจอร์ขับขี่อัตโนมัติแบบเกินจริง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
ในกฎหมายใช้คำว่ารถยนต์ที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติบางส่วน (partial driving automation feature) ที่เทียบเท่ากับขับ Level 2 ตามนิยามของ Society of Automotive Engineers (SAE) จะต้องทำความเข้าใจกับผู้ซื้อว่ามีข้อจำกัดอย่างไร และห้ามตั้งชื่อหรือโฆษณาชวนให้เข้าใจผิดว่าเป็นการขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ
วุฒิสภาสหรัฐโหวตเห็นชอบร่างกฎหมาย No TikTok on Government Devices Act ด้วยคะแนนเอกฉันท์ กฎหมายนี้จะห้ามการใช้งาน TikTok ในอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหลไปยังประเทศจีน
แวดวงการเมืองสหรัฐในช่วงนี้ โดยเฉพาะฝั่งพรรครีพับลิกัน เริ่มผลักดันการแบน TikTok กันมากขึ้นเรื่อยๆ ข่าวก่อนหน้านี้คือ Greg Abbott ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส (จากพรรครีพับลิกัน) เพิ่งออกคำสั่งแบบเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ในระดับรัฐ ส่วนข่าวนี้คือกฎหมายที่มีผลกับรัฐบาลกลางด้วย เสนอโดยวุฒิสมาชิก Josh Hawley จากพรรครีพับลิกันเช่นเดียวกัน
ในช่วงเวลานี้ที่วิกฤติพลังงานแผ่ขยายไปทุกประเทศทั่วโลก ภาครัฐของหลายประเทศก็ต้องคิดเรื่องนโยบายและข้อกำหนดต่างๆ เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่กฏหมายบางอย่างก็อาจต้องแลกมาด้วยเสียงคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก เช่นเดียวกับกฎหมายใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามผลักดันให้หน่วยงานรัฐมีอำนาจสามารถสั่งปิดเครื่องปรับอากาศในบ้านประชาชนได้จากการสั่งงานระยะไกล เพื่อควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาพรวม
เพื่อให้เป็นการสอดรับกับแนวทางการใช้พลังงานสะอาดประเภทอื่นให้มากขึ้นและลดการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ให้น้อยลง วุฒิสภาของฝรั่งเศสจึงได้ผ่านกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้ลานจอดรถที่มีขนาดจอดรถได้ตั้งแต่ 80 คันขึ้นไปต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
สำหรับลานจอดรถขนาด 80-400 คันจะต้องติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ส่วนลาดจอดรถขนาดใหญ่กว่านั้นจะต้องติดตั้งให้แล้วเสร็จเร็วยิ่งขึ้นภายในช่วงเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะต้องครอบคลุมพื้นที่ขนาดอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของลานจอดรถนั้น
สืบเนื่องจากประเด็นที่ CCI คณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าของอินเดียได้สั่งปรับเงิน Google รวม 2 ครั้งเป็นจำนวนเงินราว 10.4 พันล้านบาท โดยระบุว่าเป็นโทษปรับเนื่องจาก Google มีพฤติกรรมการทำธุรกิจที่ผูกขาดในหลายตลาดของอินเดียส่งผลให้นักพัฒนาและผู้ประกอบการในอินเดียเสียผลประโยชน์ที่พึงได้จากการแข่งขันทางการค้า
โดยนอกเหนือจากคำสั่งปรับเงินแล้ว CCI ยังได้ระบุให้ Google แก้ไขแนวทางการดำเนินงานต่างๆ รวมทั้งรายละเอียดข้อตกลงที่ Google ทำกับนักพัฒนาตลอดจนบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเกือบ 2 สัปดาห์ที่แล้ว Competition Commission of India (CCI) คณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย ได้สั่งปรับเงิน Google เป็นจำนวน 133.78 พันล้านรูปี (คิดเป็นเงินไทยราว 6.2 พันล้านบาท) ในประเด็นการผูกขาดทางการค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ Android ล่าสุด CCI ได้มีคำสั่งปรับเงินจากประเด็นเดียวกันเพิ่มอีก 93.64 พันล้านรูปี (ประมาณ 4.2 พันล้านบาท) เท่ากับว่าภายในเดือนเดียว CCI สั่งปรับเงิน Google รวม 10.4 พันล้านบาท
EU เห็นชอบร่างกฎใหม่ที่จะแบนการผลิตรถยนต์โดยสารที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (หรือแปลง่ายๆ ก็คือรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน) ตั้งแต่ปี 2035 และเพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้นได้มีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 รถยนต์โดยสารจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ 50%
EU ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลที่จริงจังเข้มงวดกับมาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ว่าด้วยเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากหากเทียบกับภูมิภาคอื่นในโลกขณะนี้ ปัจจุบัน EU บังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ที่ขายในยุโรปจะต้องผลิตรถที่ปล่อยก๊าซเฉลี่ยไม่เกิน 95 กรัมต่อระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร
วุฒิสภาของประเทศเม็กซิโก โหวตเห็นชอบกฎหมายยกเลิกระบบเวลาแบบชดเชยแสงอาทิตย์ (daylight saving time หรือ DST) ทำให้ไม่ต้องปรับนาฬิกาในฤดูหนาวอีกต่อไป
กฎหมายฉบับนี้ยังมีข้อยกเว้นให้เมืองที่อยู่ติดชายแดนสหรัฐอเมริกา (ที่ยังมี daylight saving time) ยังคงระบบเวลาแบบเดิมไว้ได้ เพื่อให้เข้ากันได้กับสหรัฐ
Meta แถลงผ่านบล็อกว่าบริษัทกำลังพิจารณาว่าอาจปิดไม่ให้ผู้ใช้งาน Facebook ในแคนาคาทำการโพสต์บทความข่าวบนแพลตฟอร์ม หลังจากที่แคนาดาเตรียมออกกฎหมาย Online News Act (Bill C-18) ซึ่งระบุว่าผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์เช่น Facebook ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้สำนักข่าวท้องถิ่น
ท่าทีของ Meta นี้ได้ถูกสื่อออกมาภายหลังการประชุมของ House of Commons Heritage Committee (CHPC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่กำกับดูแลเกี่ยวกับแผนงานด้านวัฒนธรรม, ศิลปะ, ภาษา, กีฬา และการสื่อสารของประชาชน โดยสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวง Department of Canadian Heritage โดยการประชุมดังกล่าวว่าด้วยเรื่องกฎหมายใหม่ Online News Act นี้ซึ่งไม่ได้มีการเชิญตัวแทน Meta เข้าร่วมหารือด้วย (แต่มีตัวแทนของ Google เข้าร่วมให้ความเห็นหลังการร้องขอจาก Google)
Competition Commission of India (CCI) คณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย ได้สั่งปรับเงิน Google เป็นจำนวน 133.78 พันล้านรูปี (คิดเป็นเงินไทยราว 6.2 พันล้านบาท) ในประเด็นการผูกขาดทางการค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ Android
CCI ได้ออกประกาศการสั่งปรับเงินนี้ โดยอ้างถึงแนวทางที่ Google กำหนดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ Android ต้องติดตั้งชุดแอป Google Mobile Suite ทำให้ Google ได้เปรียบเหนือผู้ให้บริการอื่นหลายอย่างในการเสนอบริการผ่านแอปบนอุปกรณ์เหล่านั้น
อินโดนีเซียเตรียมออกกฎหมายเพื่อผลักดันให้มีการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าว่าจะให้มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 2 ล้านคันภายในปี 2025
Budi Karya Sumadi รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียเป็นผู้ออกมาแถลงถึงนโยบายนี้ โดยเน้นย้ำว่าปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่จะส่งผลให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จได้ ทั้งเรื่องการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, การเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟและสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ และการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของคุณภาพมอเตอร์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา (Department of Labor) ได้เสนอร่างกฎหมายพิจารณาการจัดประเภทคนทำงานในกลุ่ม gig worker อาทิ ไรเดอร์ผู้ให้บริการผ่านแอปสั่งอาหาร, คนขับรถ Uber หรือ Lyft รวมทั้งแรงงานอื่นๆ ที่ทำงานในลักษณะเป็น "คู่สัญญา" กับบริษัทต่างๆ ในการส่งมอบบริการให้แก่ลูกค้า โดยอาจจัดให้คนกลุ่มนี้มีสถานะเป็นเหมือนพนักงานของบริษัทที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงเรื่องอัตราค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ
NTSB (National Transportation Safety Board) คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการคมนาคมแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์เพื่อผลักดันให้มีการออกกฎหมายบังคับผู้ผลิตรถยนต์ทำการติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ของคนขับมาในตัวรถยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากโรงงาน
ทว่าทาง NTSB ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายดังกล่าวได้ด้วยตนเอง การผลักดันจึงเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้ NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration) อันเป็นหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์และการจราจรให้เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการดังกล่าว
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้รถยนต์ที่จะผลิตใหม่และขายในยุโรปต้องติดตั้งระบบจำกัดความเร็วอัจฉริยะที่เรียกว่า ISA (Intelligent Speed Assistance) เพื่อช่วยในการแจ้งเตือนผู้ขับเมื่อใช้ความเร็วเกินกำหนดหรือช่วยจำกัดความเร็วอัตโนมัติ และล่าสุดทางการ New york เองก็เริ่มนำเอาระบบอุปกรณ์นี้มาทดลองใช้งานกับรถราชการแล้ว