Windows AI Studio ชุดเครื่องมือพัฒนา AI บนวินโดวส์ ที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวในงาน Ignite 2023 ตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดมาทดสอบแล้วแบบพรีวิว
Windows AI Studio อยู่ในรูปส่วนขยายของ VS Code นั่นแปลว่าเราต้องติดตั้ง VS Code บนวินโดวส์ซะก่อน แต่ที่ย้อนแย้งคือถึงแม้ชื่อมันมีคำว่า Windows นำหน้า แต่การรันจำเป็นต้องมี Windows Subsystem for Linux (WSL) และ Ubuntu 18.04 ขึ้นไปอยู่ในเครื่องด้วย แถมตอนนี้ยังรองรับเฉพาะการ์ดจอค่าย NVIDIA เท่านั้น
แอปเปิลประกาศว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2024 เป็นต้นไป นักพัฒนาที่เป็นสมาชิก Apple Developer Program จะได้สิทธิใช้งาน Xcode Cloud จำนวน 25 ชั่วโมงต่อเดือนรวมอยู่ในค่าสมาชิกเลย ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ประกาศเป็นช่วงทดลองใช้งานฟรี
Xcode Cloud เป็นบริการ CI/CD บนคลาวด์สำหรับนักพัฒนา ใช้คอมไพล์และทดสอบแอพพลิเคชันบนคลาวด์ ซึ่งเปิดตัวในปี 2021 และเริ่มให้ใช้งานตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งในช่วงแรกก็เปิดให้ใช้งานฟรี 25 ชั่วโมงต่อเดือน และกำหนดสิ้นสุดโปรโมชันในปี 2023 ประกาศนี้จึงเป็นการให้ใช้ Xcode Cloud ฟรี 25 ชั่วโมงต่อไป ในส่วนประโยชน์ของสมาชิก
Android Studio ออกเวอร์ชันใหม่ Hedgehog นับเลขเวอร์ชันเป็น 2023.1.1 โดยอัพเกรดมาใช้แพลตฟอร์ม IntelliJ IDEA เวอร์ชัน 2023.1 เป็นฐาน
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
สัปดาห์ก่อนไมโครซอฟท์ออก Visual Studio เวอร์ชัน 17.8 รุ่นเสถียร มีของใหม่ที่สำคัญคือสามารถกดสร้าง Pull Request ได้จากตัว IDE โดยตรง ไม่ต้องสลับไปหน้าจออื่นอีกต่อไป
ไมโครซอฟท์บอกว่าฟีเจอร์ Pull Request เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้เรียกร้องเข้ามามากที่สุด เพราะปัจจุบันการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องพึ่งการดึงโค้ดจากระบบ Git กันมากแล้ว วิธีใช้งานสามารถเรียกได้จากเมนู Git เลย หรือจะคลิกขวาในหน้าต่าง Git Repository ก็ได้เช่นกัน ฟีเจอร์นี้ยังรองรับการเขียน markdown ในหน้าคำอธิบาย Pull Request ด้วยพร้อมสรรพ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows AI Studio เป็นส่วนขยายของ VS Code ช่วยให้การรันโมเดลในเครื่องพีซีทำได้สะดวกขึ้น
ยุคสมัยนี้เราอาจคุ้นกับคำว่า Large Language Model (LLM) แต่ไมโครซอฟท์บอกว่ายังมีโมเดลขนาดเล็ก Small Language Model (SLM) ที่ขนาดเล็กพอสำหรับรันในเครื่องพีซี ตัวอย่างที่เปิดตัวมาพร้อมกันคือโมเดล Phi ของไมโครซอฟท์เอง ที่แยกย่อยเป็น Phi-1.5 (1.3B) และ Phi-2 (2.7B) รวมถึงโมเดลยอดนิยมจากบริษัทอื่นๆ อย่าง Llama 2-7B, Llama 2-7B, Mistral-7B, Falcon-7B, Stable Diffusion XL
พบกันทุกเดือนพฤศจิกายน ไมโครซอฟท์ออก .NET 8 รุ่นเสถียร หลังออกรุ่นพรีวิวมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2023 โดย .NET 8 เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS ตามนโยบายไมโครซอฟท์ที่นับรุ่นเลขคู่เป็น LTS
หลังจากไมโครซอฟท์หลอมรวม .NET เสร็จสมบูรณ์ใน .NET 7 (ชิ้นส่วนสุดท้ายคือ .NET MAUI ที่เสร็จไม่ทัน .NET 6) งานในยุคถัดมาคือการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ และรีดประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม
กูเกิลออกกฎใหม่ของ Google Play Store เพื่อป้องกันแอพคุณภาพแย่เข้ามารกในสโตร์ จนสร้างประสบการณ์ไม่ดีให้ผู้ใช้งาน
เมื่อกลางปีนี้ กูเกิลเพิ่งออกกฎการตรวจสอบตัวตนของนักพัฒนาบน Google Play ให้เข้มงวดขึ้น (ด้วยวิธีเรียกว่า D-U-N-S Number) ล่าสุดนโยบายนี้ถูกใช้กับนักพัฒนาที่ลงทะเบียนก่อนเดือนกันยายน 2023 ว่าต้องทยอยไปยืนยันตัวตนกันด้วย โดยกูเกิลยังใจดี เปิดให้นักพัฒนาระบุเส้นตายของวันยืนยันตัวตนที่เหมาะสมได้เอง แล้วไปยืนยันตัวตนให้ได้ตามที่สัญญาไว้
GitHub ประกาศออกแพ็กเกจ Copilot Enterprise บริการ AI ช่วยเขียนโค้ดสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยเป็นแพ็กเกจใหญ่ขึ้นจาก GitHub Copilot for Business ที่เปิดตัวช่วงปลายปี 2022
ความแตกต่างของ Copilot Enterprise ที่เพิ่มมาจากแพ็กเกจ Copilot for Business คือ
JetBrains ประกาศว่า Kotlin Multiplatform (KMP) ที่ช่วยให้เขียนโค้ดเป็นภาษา Kotlin แล้วแชร์โค้ด (ส่วนใหญ่หรือทั้งหมด) ข้ามแพลตฟอร์มได้ เข้าสถานะเสถียรพร้อมสำหรับงานโปรดักชันแล้วใน Kotlin 1.9.20 เวอร์ชันล่าสุด
Kotlin Multiplatform เริ่มจากการใช้งานเขียนแอพบนมือถือ Kotlin Multiplatform Mobile (KMM) โดยแปลงโค้ดจากฝั่ง Android ที่เขียนด้วย Kotlin อยู่แล้วให้ไปรันแบบเนทีฟบน iOS ได้ด้วย ช่วยลดการดูแลโค้ดลง และภายหลังก็ขยายมายังแพลตฟอร์มอื่นอย่างเดสก์ท็อปและเว็บ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Kotlin Multiplatform (KMP) ให้ครอบคลุมมากขึ้น
ไมโครซอฟท์พัฒนา ตัวจัดการส่วนขยาย (Extension Manager) ตัวใหม่ของ Visual Studio โดยเริ่มใช้งานแล้วใน Visual Studio 17.8 Preview 3
Extension Manager ตัวใหม่เปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เฟซแบบ 2 คอลัมน์ แทนแบบเดิมที่เป็น 3 คอลัมน์ โดยนำคอลัมน์ซ้ายสุดของเดิมที่เป็นการแยกหมวด Installed, Updates, Roaming เปลี่ยนไปเป็นแท็บด้านบนแทน เพื่อให้มีพื้นที่แสดงเนื้อหาของส่วนขยายมากขึ้น
ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงระบบหมวดหมู่ ฟิลเตอร์ และการค้นหาส่วนขยาย เพื่อให้จัดการส่วนขยายจำนวนมากๆ ได้ดีกว่าเดิม ตรงนี้คล้ายกับตัวจัดการส่วนขยายของ VS Code แต่ก็ไม่เหมือนซะทั้งหมด
ไมโครซอฟท์บอกว่าจะเพิ่มวิธีการติดตั้งส่วนขยายผ่านไฟล์ vsconfig ด้วย ซึ่งจะเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชันถัดๆ ไป
Unity ออกมาขอโทษชุมชนนักพัฒนาเกมอย่างเป็นทางการ พร้อมประกาศแนวทางใหม่ของการคิดเงินค่าใช้งาน Unity Engine ดังนี้
ผู้ใช้เอนจิน Unity Personal ตัวฟรี จะไม่ถูกคิดเงินค่า Runtime Fee ใดๆ, ขยายเพดานรายได้จากเกมที่มีสิทธิใช้ Unity Personal จากเดิม 100,000 ดอลลาร์เป็น 200,000 ดอลลาร์, ยกเลิกเงื่อนไขบังคับแสดงหน้าจอ Made with Unity ออกให้ด้วย
ผู้ใช้เอนจิน Unity Pro และ Unity Enterprise มีเงื่อนไขการคิดเงินใหม่ดังนี้
JetBrains เปิดตัว IDE ใหม่ (อีกแล้ว) สำหรับภาษา Rust ชื่อว่า RustRover ใช้ตัวย่อในไอคอน RR
RustRover ใช้ฐานจากตัว IntelliJ Platform แต่ปรับปรุงให้เหมาะกับการเขียนภาษา Rust เพียงอย่างเดียว โดยปรับปรุงจากปลั๊กอิน Rust ของ IntelliJ IDEA ที่มีอยู่เดิม
RustRover ยังเปิดให้ใช้งานฟรีในช่วงทดสอบ โดยจะออกตัวจริงเดือนกันยายน 2024 หลังจากนั้นจะประกาศวิธีคิดเงินในภายหลัง ตัวปลั๊กอินฐานที่เป็นโอเพนซอร์สจะยังฟรีตลอดไป แต่ทีมงาน JetBrains จะไม่อัพเดตฟีเจอร์ให้เพิ่มแล้ว หันไปพัฒนาตัวโปรแกรม RustRover แบบเสียเงินแทน
Unity ประกาศวิธีการคิดเงินค่าใช้งานเอนจินเกมใหม่ เปลี่ยนมาคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกม (installs) สร้างเสียงวิจารณ์จากนักพัฒนาเกมจำนวนมาก
ตัวเอนจิน Unity แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Unity Editor ที่ใช้สร้างเกม และ Unity Runtime เป็นเอนจินที่ผนวกไปกับไฟล์ของเกม การเปลี่ยนแปลงนี้คือ Unity คิดเงินค่า Unity Runtime Fee ต่อเมื่อเกมเข้าเงื่อนไขครบ 2 ข้อคือ
Visual Studio Code ออกเวอร์ชัน 1.82 อัพเดตรอบเดือนสิงหาคม 2023 มีฟีเจอร์น่าสนใจคือรองรับการทำ port forwarding ช่วยให้เราสามารถรัน VS Code ในเครื่องโลคัล แล้วแชร์ให้คนอื่นเข้ามาใช้งานแบบรีโมทจากอินเทอร์เน็ตได้
การทำ port forwarding จะตั้งค่าเป็น private โดยดีฟอลต์ ผู้เข้ามาใช้งานจำเป็นต้องล็อกอินบัญชี GitHub อันเดียวกับที่ตั้งค่า port forwarding เพื่อความปลอดภัย แต่สามารถเปลี่ยนค่าเป็น public เพื่อไม่ต้องล็อกอินได้เช่นกัน (รายละเอียด)
นอกจากเอนจินเกมแล้ว Epic Games ยังมีบริการสำหรับนักพัฒนาเกมชื่อ Epic Online Services ที่พัฒนาต่อมาจากระบบออนไลน์ของเกม Fortine รองรับฟีเจอร์ด้านออนไลน์หลากหลายชนิด เช่น matchmaking, achievements, voice chat, leaderboard, anti-cheat บนแพลตฟอร์มหลากหลาย และไม่จำเป็นต้องใช้เอนจิน Unreal ก็ได้ ตัวอย่างเกมดังที่ใช้ระบบของ Epic คือ Hades, Among Us, Football Manager
Nim Language ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่ เขียนง่ายเหมือน Python, เร็วเหมือน C และเขียนมาโครได้เหมือน Lisp ออกเวอร์ชั่น 2.0
ฟีเจอร์ใหญ่ของเวอร์ชั่นนี้คือเปิด ORC memory management และ multi threads เป็นค่าเริ่มต้น. ซึ่ง ORC MM ทำให้ตัวโปรแกรมหลัง compile ไม่ต้องมี garbage collector ทำงานอยู่เบื้องหลังเมื่อรันโปรแกรม. ทำให้ภาษาสามารถใช้กับงานที่ไม่ต้องการให้โปรแกรมหยุดจากการทำงานของ GC เช่นงาน soft real-time.
Stack Overflow ประกาศฟีเจอร์ AI ชุดใหญ่ในชื่อแบรนด์ว่า OverflowAI ภาพรวมคือการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ LLM ช่วยสรุปเนื้อหากระทู้ถาม-ตอบ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์อ่านทำความเข้าใจได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม
กูเกิลเปิดตัว Android Studio Giraffe นับเวอร์ชันเป็น 2022.3.1 ของใหม่ที่สำคัญคือการอัพเกรดมาใช้ฐาน IntelliJ 2022.3 ซึ่งได้ UI แบบใหม่ของ IntelliJ ตามมาด้วย
UI ใหม่ของ IntelliJ ออกแบบโดยเน้นความเรียบง่าย ทันสมัย ลดความซับซ้อนของวัตถุบนจอลง (reduce visual complexity) ปรับปรุงไอคอนใหม่ ตอนนี้ยังมีสถานะเป็น Beta และยังปิดเป็นค่าดีฟอลต์ ต้องเปิดใช้เองในหน้าตั้งค่า Settings > Appearance & Behavior > New UI
ของใหม่อย่างอื่นใน Giraffe ได้แก่
JetBrains เปิดตัว Qodana (อ่านว่า โคดานา) เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพโค้ดอย่างเป็นทางการ หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปี 2021
Qodana เป็นเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพโค้ด (code quality platform) โดยจะดึงซอร์สโค้ดมาอ่าน วิเคราะห์หาบั๊ก หาปัญหาประสิทธิภาพ หาช่องโหว่ความปลอดภัย หาการใช้โค้ดจากภายนอก (เผื่อเจอปัญหาไลเซนส์) ทั้งหมดสามารถทำงานได้กับระบบ CI/CD ใดๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ของ JetBrains (จะเชื่อมกับ GitHub Actions, GitLab, CircleCI, Jenkins, Azure Pipelines ได้หมด) รองรับการวิเคราะห์โค้ดกว่า 60 ภาษาและเฟรมเวิร์คชื่อดังต่างๆ
Unity เริ่มเปิดให้นักพัฒนาเข้าใช้เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับ visionOS ระบบปฏิบัติการโลก 3D ของแอปเปิล ตามที่ประกาศไว้ในงาน WWDC23
การทดสอบยังไม่เปิดทั่วไป ต้องสมัครเข้าร่วมโครงการ Beta ของ Unity และได้รับการคัดเลือกก่อน
AMD ออกไลบรารีกราฟิกสำหรับนักพัฒนาเกม AMD FidelityFX SDK เวอร์ชัน 1.0 อย่างเป็นทางการ
เหล่าเกมเมอร์อาจคุ้นเคยกับชื่อเทคโนโลยี AMD FidelityFX Super Resolution (FSR) ที่ใช้ขยายความละเอียดของเฟรมภาพโดยยังคงรายละเอียดเท่าเดิม (เทียบได้กับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA) แต่ FSR เป็นแค่เทคโนโลยีตัวหนึ่งในชุด FidelityFX เท่านั้น ในชุดยังมีเทคโนโลยีด้านกราฟิกอีกหลายอย่าง ได้แก่
ความนิยมของ VS Code ทำให้เกิดส่วนขยาย (extension) จำนวนมาก จนถึงขั้นฟอร์แมตส่วนขยายของ VS Code กลายเป็นมาตรฐานของวงการ และมี IDE ตัวอื่นนำไปใช้งาน โดยเฉพาะ IDE ที่ดัดแปลงต่อยอดมาจาก VS Code เช่น Code-OSS (VS Code เวอร์ชันไม่มีแบรนด์ไมโครซอฟท์), Eclipse Theia, Gitpod, Salesforce Code Builder, SAP Business Application Studio เป็นต้น
Canva เว็บแอพสร้างกราฟิกยอดนิยม ประกาศเปิด Apps SDK และ API สำหรับเชื่อมต่อแอพภายนอก นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อผ่าน API กับแพลตฟอร์ม Canva ได้โดยตรง
Canva Connect API เป็น REST API มีด้วยกัน 5 ตัว ได้แก่
Matt Booty หัวหน้า Xbox Game Studios ที่รับผิดชอบสตูดิโอเกมทั้งหมดของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Axios ชี้ทิศทางของอุตสาหกรรมเกมในตอนนี้ว่า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาพัฒนาเกมอยู่ที่ 4-6 ปีต่อเกมแล้ว เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 2-3 ปีในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟนเกมต้องทำความเข้าใจด้วย
Booty ชี้ว่าสตูดิโอเกมใหญ่ๆ เคยออกเกมได้ 2-3 เกมต่อระยะเวลาทุก 10 ปี แต่ปัจจุบันไม่เป็นแบบนั้นแล้ว ถ้าทำได้ 2 เกมต่อทุก 10 ปีถือว่าโชคดีมากแล้ว
เหตุผลมาจากความซับซ้อนของเกมสมัยใหม่ที่เพิ่มจากเดิมมาก เพราะต้องตอบโจทย์เรื่องกราฟิกความละเอียด 4K หรือระบบแสงภายในเกม อีกด้านคือความคาดหวังของเกมเมอร์ก็สูงขึ้นด้วยว่าเกมต้องมีมาตรฐานกราฟิกที่ดีขึ้น
อินเทลแจกฟอนต์สำหรับเขียนโค้ด Intel One Mono เป็นฟอนต์แบบ monospace ความกว้างเท่ากันทุกตัวอักษร เน้นความอ่านง่าย สบายตา ช่วยลดการล้าของสายตาโปรแกรมเมอร์
ฟอนต์ตัวนี้อินเทลจ้างบริษัทออกแบบฟอนต์ Frere-Jones Type พัฒนาขึ้น โดยมีจุดประสงค์จับกลุ่มนักพัฒนาที่มีข้อจำกัดทางสายตา (low-vision) และผ่านการรับฟังความเห็นจากนักพัฒนากลุ่มนี้ในช่วงทดสอบแล้ว ฟอนต์ยังมีแต่ตัวอักษรภาษาละติน มี 4 น้ำหนักคือ Light, Regular, Medium, Bold ทั้งตัวปกติและตัวเอียง รองรับฟีเจอร์ของ OpenType หลายอย่างด้วย
ตัวฟอนต์เป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด ดาวน์โหลดได้จาก GitHub