ไมโครซอฟท์ประกาศออก .NET Aspire รุ่นเสถียร (General Availability)
.NET Aspire เป็นชุดซอฟต์แวร์ (stack) สำหรับพัฒนาแอพสาย .NET แบบ cloud native คือรันในคอนเทนเนอร์ โครงการนี้เริ่มต้นแบบพรีวิวมาตั้งแต่ .NET 8 เมื่อปี 2023 และเข้าสถานะเสถียรในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
GitHub Copilot ประกาศเปิดส่วนขยาย Extension ให้พาร์ทเนอร์รายอื่นเข้ามาต่อเชื่อมได้ โดยยังรองรับเฉพาะส่วน GitHub Copilot Chat เท่านั้น
รูปแบบการใช้งานคือ บริษัทเทคโนโลยีภายนอกอย่าง MongoDB, DataStax, Docker, Sentry, Stripe สามารถเข้ามาเชื่อมต่อกับ Copilot Chat ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้อย่างตรงจุด ฝั่งของนักพัฒนาก็ถามปัญหาได้จากหน้าจอ IDE โดยตรง (VS Code หรือ Visual Studio) โดยไม่ต้องสลับแอพไปมา ตัวอย่างที่ไมโครซอฟท์นำเสนอคือถามปัญหาเกี่ยวกับ Docker ว่าวิธีการตั้ง environment variable ทำอย่างไร เป็นต้น
ที่มา - GitHub
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Copilot Runtime ชุดพัฒนาสำหรับสร้างแอปพลิเคชั่นปัญญาประดิษฐ์บนเครื่องผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์ โดยมีส่วนประกอบตั้งแต่ตัวแอปพลิเคชั่นที่ไมโครซอฟท์ให้ไปกับ Copilot+ PC กับ API ต่างๆ เพิ่มเติม
ส่วนประกอบสำคัญคือ Windows Copilot Library ชุดโมเดลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 40 รายการที่รันอยู่บนเครื่องผู้ใช้อยู่แล้ว เปิดทางให้พัฒนาแอปพลิเคชั่นโดยใช้ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น แปลภาษา, แปลงเสียงเป็นข้อความ, ข้อมูลกิจกรรมที่ผู้ใช้ทำบนเครื่อง, ตลอดจน API สำหรับการสร้างแอปพลิเคชั่น RAG เช่น embedding
กูเกิลประกาศซัพพอร์ต Kotlin Multiplatform (KMP) แนวทางการเขียนแอพข้ามแพลตฟอร์มด้วยภาษา Kotlin อย่างเป็นทางการในงาน Google I/O 2024
Kotlin Multiplatform เป็นโครงการของ JetBrains ที่พัฒนาให้ภาษา Kotlin เขียนแอพข้ามแพลตฟอร์มได้ทั้ง Android, iOS, Web, Desktop, Server
แนวคิดของมันคือการที่แอพ Android ยุคใหม่เขียนด้วย Kotlin เป็นหลักอยู่แล้ว ก็นำโค้ดส่วนนี้ไปใช้กับแพลตฟอร์มอื่นๆ จะได้เขียนครั้งเดียวใช้ได้ [เกือบ] ทุกที่ โดยงานฝั่งจัดการ UI ของแต่ละแพลตฟอร์ม ตัวเฟรมเวิร์ค KMP จะช่วยจัดการให้
กูเกิลประกาศปรับนโยบายการออกรุ่น Android Studio ใหม่อีกครั้ง โดยจะแบ่งการออกรุ่นเป็น 2 แบบ ได้แก่ การออกรุ่นตามแพลตฟอร์ม IntelliJ และการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เฉพาะของ Android Studio
ในปี 2020 Android Studio เปลี่ยนมาใช้เลขเวอร์ชันตาม IntelliJ และหันมาใช้โค้ดเนมชื่อสัตว์ โดยใช้แนวทางนี้มาเรื่อยๆ ตลอดเวลา 4 ปี รุ่นเสถียรล่าสุดคือ Jellyfish เลขเวอร์ชัน 2023.3.1
ระบบส่วนขยาย (Extension) ของ VS Code เขียนด้วย TypeScript/JavaScript แต่ช่วงหลังไมโครซอฟท์ก็เริ่มรองรับ WebAssembly (WASM) เพื่อให้รันไบนารีที่คอมไพล์จากภาษาอื่น เช่น C/C++ หรือ Rust ได้ด้วย ตัวอย่างการใช้งานคือ Visual Studio Code for Education ที่ฝังไบนารีของ Python interpreter (CPython ซึ่งเขียนด้วย C แล้วแปลงเป็น WASM) เพื่อให้ประมวลผลโค้ดภาษา Python บนเว็บได้
Android Studio ออกรุ่นเสถียร Jellyfish เวอร์ชัน 2023.3.1 (โค้ดเนมตัว J) ตามหลัง Android Studio Iguana เพียงไม่ถึง 2 เดือนเต็ม
ฟีเจอร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
GitHub เปิดตัว GitHub Copilot Workspace ซึ่งเป็น developer environment แนวคิดใหม่ที่ทำงานบน Copilot ซึ่งเข้ามาช่วยนักพัฒนาในการระดมสมอง, วางแผน, เขียนโค้ด, ทดสอบ และรันโค้ด ทั้งหมดทำบนภาษาธรรมชาติ (Natural Language) โดยมี AI Copilot ช่วยจัดการงานทั้งหมด ขณะที่นักพัฒนาสามารถเข้ามาควบคุมได้ในทุกขั้นตอน
การเริ่มต้นโครงการบน Copilot Workspace ทำได้โดยเริ่มต้นจากแนวคิดตั้งต้น จากนั้น Copilot จะช่วยวางแผนออกแบบขั้นตอนให้ทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นสามารถเข้าไปแก้ไขผลลัพธ์ปรับแต่งให้ตรงกับที่ต้องการมากขึ้น
ผู้ใช้ Firefox อาจเคยเจอปัญหาแอพแครช และเจอหน้าจอส่งรายงานการแครช Firefox Crash Reporter กลับไปยัง Mozilla เพื่อใช้วิเคราะห์
Firefox Crash Reporter มีสถานะเป็นแอพแยกขาดจาก Firefox แต่บันเดิลมาในชุดติดตั้งเดียวกัน เหตุผลที่ต้องแยกขาดจากกันเป็นเพราะเมื่อ Firefox แครช ตัว Crash Reporter จะยังทำงานได้ต่อไป ไม่ใช่โดนลากให้แครชตามไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม Crash Reporter ถูกเขียนขึ้นมานานมากแล้ว (เบื้องหลังเป็น C++ และบางส่วนเป็น Objective-C สำหรับเวอร์ชันแมค) หลายส่วนเริ่มล้าสมัย เช่น เวอร์ชันแมคจะสร้างไฟล์ไบนารีด้วยเครื่องมือตัวเก่าที่แอปเปิลเองยังเลิกใช้ไปแล้ว โค้ดตัวเดิมจึงกลายเป็นภาระในการดูแลมากขึ้นเรื่อยๆ
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นการใช้ฟีเจอร์ AI ช่วยเติมหรือช่วยเขียนข้อความในช่อง UI ต่างๆ กันมากขึ้น เช่น ในหน้าเขียนอีเมลของ Gmail หรือ Microsoft Editor
อย่างไรก็ตาม การใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้มักต้องใช้บนแอพเฉพาะกิจที่มีฟีเจอร์เหล่านี้เป็นจุดขาย หากเป็นโปรแกรมเมอร์ทั่วไปที่ไม่ได้สังกัดบริษัทใหญ่ๆ อาจยังไม่มีช่องทางทำฟีเจอร์แบบนี้ได้ง่ายๆ นัก
ไมโครซอฟท์กำลังทดลองขยายฟีเจอร์เหล่านี้ไปยังโปรแกรมเมอร์ทั่วไป โดย .NET เพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Smart Component เป็น UI สำเร็จรูป (ที่วงการนี้เขาเรียก component) ลากไปแปะในแอพของตัวเองแล้วใช้งานฟีเจอร์ AI ช่วยเติมข้อความได้ทันที
กูเกิลประกาศนำโมเดล Gemini 1.0 Pro มาใส่ในเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา Android Studio พร้อมรีแบรนด์ Studio Bot ที่เป็น AI ช่วยการเขียนโค้ด ในชื่อใหม่ Gemini in Android Studio เพื่อให้ทิศทางผลิตภัณฑ์ AI ของกูเกิลเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดภายใต้แบรนด์ Gemini
Gemini in Android Studio เป็นผู้ช่วยการเขียนโค้ดซึ่งสามารถเรียกใช้งานได้โดยตรงใน IDE กูเกิลบอกว่าทำให้การพัฒนาโค้ดคุณภาพสูง ทำได้รวดเร็วขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาโค้ดที่ซับซ้อน สามารถถาม-ตอบ ตลอดจนเพิ่มคอมเมนต์และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ตอนนี้มีให้ใช้งานแล้วใน Android Studio Jellyfish
JetBrains ออกอัพเดตเวอร์ชัน 2024.1 ให้กับ IDE ทุกตัวในสังกัด เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ full line code completion ใช้พลัง AI คาดเดาโค้ดบรรทัดต่อไปที่เราจะพิมพ์ใน editor โดยเป็นการคาดเดา "ทั้งบรรทัด" และสามารถทำงานได้แบบออฟไลน์ ไม่ต้องต่อเน็ต
การทำงานของ full line code completion จะแสดงข้อความสีเทาในบรรทัดถัดไป และสามารถกด tab เพื่อให้ editor เติมบรรทัดนั้นให้เราได้ ฟีเจอร์นี้รองรับโค้ดในภาษา Java, Kotlin, Python, JavaScript, TypeScript, CSS, PHP, Go, Ruby
กูเกิลเขียนโพสต์ประกาศควบรวมเฟรมเวิร์ค Angular และ Wiz อย่างเป็นทางการ หลังประกาศไปก่อนหน้านี้บนเวทีงาน NG Conf 2024
คนทั่วไปรู้จัก Angular กันอยู่แล้ว แต่ Wiz เป็นเฟรมเวิร์คที่ใช้กันเฉพาะภายในกูเกิลเองเท่านั้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้งาน Wiz อยู่แล้วมีทั้ง Google Search, Google Photos, Google Payments รูปแบบการทำงานของ Wiz คือเรนเดอร์หน้าเพจที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server-side rendering) แล้ว "สตรีม" เพจมายังเครื่องของผู้ใช้ เพื่อลดการเรนเดอร์ JavaScript ที่ฝั่งไคลเอนต์ให้มากที่สุด
กูเกิลประกาศควบรวมเฟรมเวิร์ค Angular เข้ากับเฟรมเวิร์คภายในบริษัทอีกตัวชื่อ Wiz
Wiz เป็นเฟรมเวิร์คที่ถูกใช้งานภายในกูเกิลมานานแล้ว แต่ไม่ได้เปิดเผยต่อคนนอก แนวทางการใช้งาน Wiz มักเป็นแอพฝั่งคอนซูเมอร์ เช่น Search, Workspace, YouTube ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง ตอบสนองเร็ว ในขณะที่ Angular ใช้กับแอพฝั่งองค์กร แต่ภายหลังความแตกต่างของเฟรมเวิร์คสองตัวนี้ก็น้อยลงเรื่อยๆ ทำให้ทั้งสองทีมมาหารือกัน และตัดสินใจควบรวมมันเข้าด้วยกัน
ค่าย JetBrains มีซอฟต์แวร์ CI/CD ชื่อ TeamCity ที่ให้บริการมายาวนาน 17 ปี (เก่าระดับว่า เพิ่งมีเวอร์ชันรันบนคลาวด์เมื่อปี 2021 นี้เอง) ปัญหาของ TeamCity คือเป็นซอฟต์แวร์ยุคเก่าที่มีความซับซ้อนสูง ดูแลลำบาก และไม่ใช่ทุกองค์กรมีแอดมินระบบที่ดูแล TeamCity ได้
ล่าสุด JetBrains เปิดตัว TeamCity Pipelines สำหรับใช้งานในองค์กรขนาดเล็ก ปรับแต่ง UI ให้ใช้งานง่ายขึ้น ตัดตัวเลือกที่ไม่สำคัญออกให้หมด ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
JetBrains เปิดตัว New Terminal สำหรับ IDE ทุกตัวในเครือ โดยจะเริ่มเปิดให้ทดสอบแบบ Beta ใน IDE เวอร์ชัน 2024.1 เป็นต้นไป
JetBrains บอกว่าแอพ Terminal เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่มันกลับไม่ถูกพัฒนามานาน จึงตัดสินใจเขียน Terminal ตัวใหม่ที่มีฟีเจอร์ทันสมัย ได้แก่
แสดงคำสั่งบนหน้าจอเป็นบล็อค ไม่ใช่บรรทัด ช่วยแก้ปัญหาคำสั่งที่ให้ผลลัพธ์ยาวๆ จนดูไม่ออกว่าตรงไหนเป็นคำสั่ง-ผลลัพธ์ การเลื่อนจอสามารถเลื่อนทั้งบล็อค (กด Ctrl + ลูกศรขึ้นลง) เพื่อความรวดเร็วในการเลื่อนจอ (ดูภาพเคลื่อนไหวจากลิงก์ต้นทาง)
ชาว .NET ยุคแรกๆ คงคุ้นเคยกับ Windows Presentation Foundation (WPF) ชุดเขียน UI สำหรับแอพบนเดสก์ท็อปที่เริ่มใช้ใน .NET 3.0 (โค้ดเนมของ WPF คือ Avalon)
ไมโครซอฟท์ยังมีทางเลือกในการสร้าง UI บนเดสก์ท็อปอย่างอื่นคือ WinForms ที่เริ่มมาก่อน WPF และภายหลังก็ออก UWP ในยุค Windows 8 ที่พัฒนาต่อจนมาเป็น WinUI
WPF นั้นไม่ถูกอัพเกรดมานานแล้ว แม้แอพเก่าๆ ที่เขียน WPF ยังสามารถรันได้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศแผนอัพเกรด WPF ครั้งใหญ่โดยเราจะเห็นผลลัพธ์บางส่วนใน .NET 9 ที่จะออกตัวจริงช่วงปลายปีนี้
กูเกิลมีเครื่องมือ IDE ผ่านเบราว์เซอร์ชื่อ IDX เปิดตัวมาตั้งแต่กลางปี 2023 รากฐานของมันคือ VS Code เวอร์ชันรันผ่านเบราว์เซอร์ แล้วเพิ่มฟีเจอร์การใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดเข้ามา ลักษณะเดียวกับ GitHub Copilot
ในช่วงแรก โมเดล AI ที่ช่วยเขียนโค้ดยังเป็น Codey ที่พัฒนาต่อจากโมเดลภาษา PaLM 2 แต่เมื่อกูเกิลอัพเกรดโมเดลเป็น Gemini เรียบร้อยแล้ว ทำให้ IDX เปลี่ยนมาใช้ Gemini ตามมาด้วย
ไมโครซอฟท์ออก .NET 9 Preview 1 ตามรอบการออกปีละรุ่น โดย .NET 9 ตัวจริงจะออกช่วงปลายปี เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะปกติ 18 เดือน ต่างจาก .NET 8 ที่เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS
ธีมหลักของ .NET 9 จะเน้นสองเรื่อง อย่างแรกคือการทำงานแบบ Cloud-Native ร่วมกับคอนเทนเนอร์และ Kubernetes ตามแนวทางที่เริ่มมาตั้งแต่ .NET 8 (.NET Aspire) ส่วนธีมที่สองคืองานด้าน AI โดยไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ทั้ง Open AI และโมเดลโอเพนซอร์สอื่นๆ เพื่อให้ทำงานกับแอพพลิเคชันสาย .NET ให้ดีขึ้น
Visual Studio Code อัพเดตเวอร์ชัน 1.86 รอบเดือนมกราคม 2024 มีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือการรองรับคำสั่งเสียง "Hey Code" เพื่อเรียก Copilot Chat มาช่วยงานเราได้
การประมวลผลเสียงจะเกิดขึ้นในเครื่องของเราเอง ไม่ถูกส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ภายนอก ส่วน GitHub Copilot Chat ก็มีความสามารถหลากหลาย ทั้งแปลภาษา ช่วยสรุปหรืออธิบายโค้ดในจุดนั้นๆ เป็นต้น
การใช้ฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องติดตั้งส่วนขยาย GitHub Copilot Chat, VS Code Speech และตั้งค่าโหมด accessibility.voice.keywordActivation ให้ทำงานตามที่เราต้องการ มีทั้งการพูดคุยแบบ inline ในตัว editor เลย และเปิด Chat view ขึ้นมาแยกต่างหาก
Unity ออกเครื่องมือพัฒนาสภาพแวดล้อมแบบ spatial (จงอย่าเรียกว่า VR) มาต้อนรับการวางขายแว่น Apple Vision Pro หลังจากเปิดทดสอบแบบ Beta มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023
การใช้งานจำเป็นต้องมี Unity 2022 LTS เป็นพื้นฐาน แล้วติดตั้ง visionOS build target โดยรองรับเฉพาะบน Mac ที่เป็นชิป Apple Silicon เท่านั้น
Unity ระบุว่าการสร้าง "ประสบการณ์ spatial" (จงอย่าเรียกว่าแอพ) สำหรับ visionOS มีความเป็นไปได้ 3 แบบคือ
กูเกิลอัพเกรดความสามารถของ IDX โครงการ IDE ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2023 โดยเพิ่ม iOS Simulator และ Android Emulator เพื่อให้นักพัฒนาที่เขียนแอพสำหรับมือถือ (เช่น เว็บแอพหรือ Flutter) สามารถพรีวิวแอพได้จากเบราว์เซอร์โดยตรง
นอกจากนี้ IDX ยังเพิ่มเทมเพลตสำหรับเขียนแอพด้วยเฟรมเวิร์คยอดนิยมอีกหลายตัว เช่น Astro, Go, Python/Flask, Qwik, Lit, Preact, Solid.js, Node.js รวมถึงขยายฟีเจอร์ใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดเพิ่มอีก 15 ประเทศ แต่ยังไม่มีประเทศไทย
NVIDIA มีเครื่องมือม็อดเกมเก่าที่ระดับรันไทม์ชื่อ NVIDIA RTX Remix เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2022 ใช้ม็อดเกม Portal และ Half-Life 2 ยกระดับกราฟิกใหม่ให้เป็นยุค RTX
RTX Remix ถูกโอเพนซอร์สในปี 2023 และล่าสุดออกเวอร์ชัน 0.4 นับเป็น Open Beta พร้อมให้คนทั่วไปทดสอบกันแล้ว
การทำงานของ RTX Remix คือปรับแก้ไปป์ไลน์กราฟิกของเกมเก่าๆ ที่เป็น DirectX 8 และ 9 เปิดให้นำโมเดล เท็กซ์เจอร์ ระบบแสงของยุคใหม่ๆ เข้าไปใส่ในตัวเกมเดิม โดยเพิ่ม GUI และเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ NVIDIA พัฒนาเพิ่มเข้ามาให้ม็อดเดอร์ทำงานง่ายขึ้น
นอกจากที่แอปเปิลประกาศวันวางขายเฮดเซต Apple Vision Pro ในอเมริกาอย่างเป็นทางการ, อัพเดต Xcode สำหรับนักพัฒนาเพื่อรองรับการส่งแอป visionOS ขึ้น App Store แอปเปิลยังอัพเดตคำแนะนำในการส่งแอปเพิ่มเติมสำหรับ visionOS โดยเฉพาะด้วย
โดยคำแนะนำที่แอปเปิลระบุเพิ่มเติม สำหรับการส่งแอปขึ้น visionOS App Store นั้น มีทั้ง การทดสอบแอป, การทำสกรีนชอต, การทำไอคอนที่เป็น 3D ตลอดจนคำสะกดชื่อ visionOS หรือ Apple Vision Pro ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ดูเป็นเรื่องปกติดี แต่มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ
แอปเปิลออกอัพเดต Xcode 15.2 และ TestFlight 3.5 ซึ่งเป็นอัพเดตเพื่อรองรับเฮดเซต Vision Pro ที่แอปเปิลเพิ่งประกาศวันจำหน่ายวันแรกในอเมริกา คือวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้
Xcode 15.2 เปิดให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปบน visionOS ระบบปฏิบัติการของ Vision Pro ได้ รวมทั้ง SDK ของ iOS 17.2, iPadOS 17.2, tvOS 17.2, watchOS 10.2 และ macOS Sonoma 14.2 ส่วน TestFlight 3.5 เปิดให้นักพัฒนาสามารถทำแอปเวอร์ชันทดสอบเบต้าได้ รองทั้งรองรับการใช้แอป iOS และ iPadOS บน Vision Pro