ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio Code เวอร์ชัน 1.75 อัพเดตรอบเดือนมกราคม 2023 ของใหม่ที่สำคัญคือระบบ Profile เพื่อให้นักพัฒนาเซฟการตั้งค่า ส่วนขยาย ของตัว IDE ฯลฯ และสลับไปมาระหว่างโปรไฟล์ได้ (เช่น ตั้งเป็น Work, Demo)
Profile ยังสามารถ import/export ไปใช้ในเครื่องอื่นๆ ได้ รวมถึงการช่วยเพื่อนร่วมงานสร้าง Profile ที่เหมาะสมกับงานโปรเจคนั้น แล้วแชร์ให้กันได้
ฟีเจอร์ใหม่อย่างอื่นของ VS Code 1.75 คือ การบังคับส่วนขยายใน VS Marketplace ต้อง sign เป็นดีฟอลต์เพื่อความปลอดภัย, ปรับปรุงการใช้งานร่วมกับ screen reader, ลากมุมเพื่อปรับขนาด multiple views ได้พร้อมกัน, รองรับ TypeScript 5.0, ธีมใหม่ Dark+ V2 และ Light+ V2 เป็นต้น
กูเกิลออก Android Studio เวอร์ชันใหม่ โค้ดเนมปลาไหลไฟฟ้า Electric Eel (2022.1.1) ตามแนวทางตั้งชื่อเป็นสัตว์เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ (ตัวก่อนหน้านี้คือ Dolphin, ตัวถัดไปจะชื่อ Flamingo) เวอร์ชันนี้มีของใหม่หลายอย่างดังนี้
ค่ายอินเทลมี oneAPI ที่เป็นชุด API สำหรับทำงานบนหน่วยประมวลผลหลายประเภท (CPU/GPU/FPGA) แต่ที่ผ่านมา มันยังทำงานได้เฉพาะบนผลิตภัณฑ์ของอินเทลเท่านั้น
ล่าสุด oneAPI รองรับการทำงานบนจีพียูของ NVIDIA และ AMD แล้ว โดยเป็นผลงานของ Codeplay บริษัทด้านทำซอฟต์แวร์ข้ามหน่วยประมวลผล (อินเทลเพิ่งซื้อกิจการมาเมื่อกลางปีนี้ แต่ Codeplay เริ่มพัฒนามาก่อนนานแล้ว) การซัพพอร์ตอยู่ในรูปการออกปลั๊กอินให้ oneAPI รองรับจีพียูค่ายอื่น
สัปดาห์ที่ผ่านมา PHP ออกเวอร์ชัน 8.2 ตามนโยบายการออกรุ่นใหญ่ปีละ 1 รุ่น ของใหม่ที่สำคัญในระดับของภาษาได้แก่
ฟีเจอร์ทั้งหมดดูได้จาก PHP 8.2
.NET Core 3.1 ซึ่งเป็น .NET ยอดนิยมอีกรุ่นหนึ่ง หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้วเมื่อวานนี้ 13 ธันวาคม 2022 โดยไมโครซอฟท์ออก .NET Core 3.1.32 รุ่นอุดช่องโหว่ที่พบล่าสุดมาให้เป็นรุ่นสุดท้าย และจะไม่ออกอัพเดตให้อีกแม้พบช่องโหว่ในอนาคต
ไมโครซอฟท์แนะนำให้ผู้ใช้ .NET Core 3.1 อัพเกรดไปใช้ .NET 6.0 ที่เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว 3 ปี (LTS) หรือถ้าไม่ต้องการ LTS ก็สามารถอัพเกรดไปเป็น .NET 7.0 ที่เพิ่งออกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็ได้เช่นกัน (ทั้งสองรุ่นจะหมดระยะซัพพอร์ตปี 2024)
นโยบายการออกรุ่น .NET ในปัจจุบันคือออกปีละรุ่น โดยเวอร์ชันเลขคี่มีระยะซัพพอร์ต 18 เดือน และเวอร์ชันเลขคู่มีระยะซัพพอร์ต 3 ปี
GitHub เปิดบริการ AI ช่วยเขียนโค้ด Copilot for Business สำหรับลูกค้าภาคธุรกิจ ในราคา 19 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน หลังจากเปิดบริการสำหรับลูกค้ารายย่อยมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022
ความแตกต่างหลักของ Copilot for Business คือตัวโค้ดที่เป็นทรัพย์สินและความลับขององค์กรจะถูกจัดการแยกต่างหาก โดย GitHub จะอ่านโค้ดเพื่อช่วยแนะนำโค้ดเท่านั้น เสร็จแล้วจะลบทิ้ง ไม่เก็บข้อมูลใดๆ ของโค้ดอ่านและที่สร้างขึ้นเอาไว้เลย
ฟีเจอร์อื่นๆ ของ Copilot for Business เป็นเรื่องการจัดการ เช่น การกำหนด policy ของทั้งองค์กร และการจัดการไลเซนส์ของนักพัฒนาในทีมที่ง่ายขึ้น ส่วนตัวเอนจิน AI ช่วยเขียนโค้ดก็เหมือนกับเวอร์ชันลูกค้าปลีกทุกอย่าง
AWS เปิดบริการ CodeCatalyst บริการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ที่เตรียมทั้งเครื่องสำหรับพัฒนา, IDE บนคลาวด์, บริการ CI/CD, ระบบจัดเก็บซอร์สโค้ด, และระบบจัดการบั๊ก (issue tracker) เข้าไว้ด้วยกัน
เซิร์ฟเวอร์สำหรับพัฒนาจะถูกกำหนดสเปคด้วย devfile ทำให้นักพัฒนาที่เปิดพื้นที่พัฒนา (Dev Environment) ขึ้นมาใช้งานก็สามารถเริ่มพัฒนาได้ทันที ส่วนตัว IDE ใช้ AWS Cloud9 หรือจะใช้งานจาก IDE อื่นๆ ที่ AWS ซัพพอร์ตก็ได้เช่นกัน เช่น VS Code นั้นทาง AWS สามารถเชื่อมต่อกับ CodeCatalyst ผ่านทาง AWS Toolkit for VS Code
กูเกิลประกาศนโยบายว่าแพลตฟอร์มสมาร์ททีวี Android TV และ Google TV จะเริ่มบังคับใช้แพ็กเกจแอพแบบใหม่ Android App Bundle (.aab) มีผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 เป็นต้นไป
Android App Bundle (AAB) เป็นเทคนิคการแจกจ่ายไฟล์แอพแบบใหม่ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2018 แนวคิดคือให้ Google Play Store ตัดสินใจเลือกแพ็กเกจที่จำเป็นต่ออุปกรณ์นั้นๆ ไม่จำเป็นต้องโหลดไฟล์ APK ไปทั้งก้อน (แล้วไม่ได้ใช้บางส่วนอยู่ดี) ผลคือประหยัดเนื้อที่สตอเรจมากขึ้น โดยเฉพาะกรณีของสมาร์ททีวีที่อาจมีสตอเรจเพียง 8GB ก็น่าจะช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ได้เพิ่มขึ้นมากนั่นเอง
Gabriele Svelto วิศกรของ Mozilla เขียนบล็อกเล่าถึงทริกการลดอัตราการแครชของไฟร์ฟอกซ์บนวินโดวส์ที่ใช้ตั้งแต่เวอร์ชั่น 105 ว่าสาเหตุสำคัญของการแครชอย่างหนึ่งคือแรมหมดทั้งแรมจริงๆ และไฟล์ swap ของระบบปฎิบัติการ
ปกติแล้วหากหน่วยความจำหมดทั้งหน่วยความจำจริงๆ และ swap นั้นระบบปฎิบัติการจะคืนค่า error เมื่อซอฟต์แวร์ร้องขอหน่วยความจำเพิ่มเติม จากนั้นตัวโปรแกรมก็จะปิดตัวเองไป
แต่ในไฟร์ฟอกซ์ 105 ทีมพัฒนาเปลี่ยนกลไกส่วนนี้ในวินโดวส์ เนื่องจากวินโดวส์มีความสามารถเพิ่มขนาดไฟล์ swap ได้เองเมื่อพื้นที่ใกล้เต็ม ดังนั้นหากตัวเบราว์เซอร์รออีกสักหน่อยแล้วขอหน่วยความจำอีกครั้งก็มักจะขอได้
JetBrains ยังเดินหน้าสร้าง IDE ใหม่ในวงศาคณาญาติของตัวเองอยู่ตลอดเวลา (ใครจำชื่อได้หมดบ้าง?) IDE ตัวใหม่ล่าสุดชื่อว่า Aqua สำหรับงาน test automation ทั้งสามระดับคือ unit test, web API test, UI test
JetBrains Aqua รองรับการทำงานหลายภาษา (เช่น JVM, Kotlin, Python, JavaScript, TypeScript) มีเครื่องมือสำหรับการทดสอบประเภทต่างๆ มาใช้ครบครัน เช่น มี HTTP client ในตัว, มีตัวจัดการฐานข้อมูล, Docker, test management system (TMS), web inspector สำหรับ UI automation
ฝั่งของการทดสอบโปรแกรม มีตัวช่วยรัน unit test ตามเฟรมเวิร์คยอดนิยมต่างๆ เช่น JUnit, TestNG, Pytest, Jest, Mocha และดูผลลัพธ์ได้จากตัว IDE แบบ tree view
GitHub ประกาศเปิดบริการ Codespaces สภาพแวดล้อมการพัฒนาที่รันในคลาวด์ นักพัฒนาเขียนโค้ดและคอมไพล์ได้จากเบราว์เซอร์ ให้กับผู้ใช้ GitHub ทุกคนฟรี มีโควต้าใช้งานเดือนละ 60 ชั่วโมง
เดิมที GitHub Codespaces ยังรองรับเฉพาะ VS Code เป็น IDE แค่อย่างเดียว ล่าสุด GitHub จับมือกับ JetBrains รองรับ IDE ทุกตัวของค่าย JetBrains แล้ว หากมีไลเซนส์ของฝั่ง JetBrains อยู่แล้วก็นำมาใช้บน Codespaces ได้เลย (รายละเอียด)
วันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 4 ปี ที่ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ GitHub เสร็จสมบูรณ์
ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา GitHub เติบโตขึ้นมาก สถิติล่าสุดของ GitHub ในงานแถลงผลประกอบการของไมโครซอฟท์ คือมีผู้ใช้งาน 90 ล้านคน และทำเงินได้ 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
เอนจินเกมชื่อดัง Unity ประกาศรองรับ Windows on Arm ที่ไมโครซอฟท์กำลังผลักดันเต็มที่ ด้วยการประกาศว่าจะนำเอนจิน Unity มารันแบบเนทีฟบน Windows on Arm ด้วย แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาว่าจะเห็นกันเมื่อไร
ประกาศของ Unity มาพร้อมกับการวางขาย Windows Dev Kit 2023 ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์สำหรับพัฒนา Windows on Arm ซึ่งเป็นสัญญาณว่าไมโครซอฟท์เริ่มเอาจริงแล้ว (สักที)
การได้เอนจินเกมดังอย่าง Unity เพิ่มเข้ามา ก็น่าจะช่วยให้ ecosystem ของ Windows on Arm เข้มแข็งมากขึ้น ก่อนหน้านี้มี Spotify ที่ออกแอพเวอร์ชัน Arm มาให้แล้ว
หลังเปิดตัวแอพ Fleet ที่เป็น IDE ขนาดเบามาแข่งกับ VS Code ผ่านมาเกือบ 1 ปีเต็ม JetBrains ก็เพิ่งเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลด Fleet แบบ Public Preview มาทดลองใช้งานกัน (หน้าดาวน์โหลด)
Fleet เป็นการนำเอนจินเบื้องหลังของ IntelliJ Platform มาใส่ UI ใหม่ และปรับสถาปัตยกรรมของแอพมาเป็นแบบ distributed ให้สามารถรัน Fleet แบบรีโมทได้ง่าย
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออก DirectStorage 1.1 ที่มีฟีเจอร์ใหม่ GPU Decompression ให้นักพัฒนาเริ่มใช้งานในช่วงปลายปี 2022
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectStorage 1.0 มาตั้งแต่กลางปี 2021 (อัพเดตให้ผู้ใช้จริงๆ ในเดือนมีนาคม 2022) ช่วยให้ดึงไฟล์ assets ของเกมจากสตอเรจแบบ SSD NVMe ได้ประหยัดพลังซีพียูมากขึ้น โหลดไฟล์เร็วขึ้นสูงสุด 40% (ตัวอย่างเกมที่นำไปใช้งานคือ Forspoken ของ Square Enix)
ภาษา Kotlin ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หลังกูเกิลเลือกเป็นภาษาหลักในการสร้างแอพบน Android ถึงขั้นมีบางองค์กร เช่น Netflix เริ่มผลักดันการใช้ Kotlin เขียนแอพมือถือทั้ง Android/iOS ไปพร้อมกันเลย
ทีม JetBrains เองก็รับลูกแนวทางนี้ และพัฒนาออกมาเป็น SDK ชื่อว่า Kotlin Multiplatform Mobile (KMM) ที่ตอนนี้เข้าสถานะ Beta แล้ว
VMware ประกาศปรับรูปแบบการออฟซอฟต์แวร์ จากเดิมที่ซอฟต์แวร์จะออกรุ่นทดสอบต่างๆ แล้วออกเป็นรุ่นจริง (general availibity - GA) มาเป็นการออกรุ่นเริ่มต้น initial availability หรือ IA ก่อน
เวอร์ชั่น IA นั้นผ่านกระบวนการตรวจสอบจากพันธมิตรของ VMware เรียบร้อย และผ่านเงื่อนไขการตรวจสอบคุณภาพตามปกติแล้ว จึงพร้อมสำหรับการใช้งานบนโปรดักชั่น แต่ในชีวิตจริง ลูกค้าจำนวนมากก็ต้องการรอไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อใช้งานบนโปรดักชั่นแล้วไม่มีปัญหาอะไร ทาง VMware จะเก็บผลการใช้งานจริงที่ลูกค้าใช้งานช่วง IA เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ แล้วรายงานให้กับลูกค้าก่อนจะออกเวอร์ชั่น GA
เก็บตกประเด็นเล็กๆ ที่น่าสนใจจากงานแถลงข่าวอินเทลเมื่อคืนนี้คือ อินเทลจะเปิดบริการ Intel Developer Cloud ให้เช่าเครื่องผ่านคลาวด์เหมือนกับบริการคลาวด์อื่นๆ
สิ่งที่ต่างออกไปคือ อินเทลจะเปิดให้นักพัฒนาสามารถใช้งานซีพียูและจีพียูใหม่ๆ ของอินเทล ที่เปิดตัวแล้วแต่ยังไม่วางขายจริงได้ก่อนใคร เพื่อให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งซอฟต์แวร์ของตัวเองเข้ากับซีพียู-จีพียูเหล่านี้ได้ล่วงหน้า
กูเกิลออก Android Studio Dolphin (2021.3.1) รุ่นเสถียร ตามแนวทางโค้ดเนมชื่อสัตว์เรียงตามตัวอักษร (รุ่นก่อนหน้านี้คือ Chipmunk (2021.2.1) ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022) ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
แอปเปิลแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมของบริการ Xcode Cloud บริการ CI/CD ที่ให้นักพัฒนาแอป สามารถคอมไพล์และทดสอบแอปได้บนคลาวด์ ไม่ต้องทดสอบด้วยทรัพยากรเครื่องของตนเอง ซึ่งเปิดตัวแบบเบต้าจำกัดกลุ่มในปีที่แล้ว และประกาศให้นักพัฒนาทุกคนใช้งานได้ในงาน WWDC ที่ผ่านมา
โดยตอนแรกแอปเปิลประกาศให้นักพัฒนาทุกคนใช้ Xcode Cloud ได้ฟรี 25 ชั่วโมงต่อเดือนถึงสิ้นปี 2023 ซึ่งเป็นแพ็คเกจเริ่มต้น แต่นักพัฒนาจำนวนหนึ่งอาจต้องการใช้งานมากกว่าในตอนนี้ แอปเปิลจึงเพิ่มทางเลือกให้นักพัฒนาจ่ายเงินเพื่อเพิ่มชั่วโมงใช้งาน โดยสมัครได้ผ่านแอป Apple Developer
กูเกิลออก Cross device SDK ชุดเครื่องมือช่วยให้นักพัฒนาแอพ Android เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น-อุปกรณ์เสริมผ่านทั้ง Wi-Fi, Bluetooth, Ultra Wideband (UWB) สะดวกขึ้นจาก SDK ตัวเดียว
SDK ตัวนี้ตอบโจทย์ทั้งเรื่องการแชร์ไฟล์ข้ามอุปกรณ์ Android ด้วยกัน (nearby share) และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่น เช่น หูฟัง นาฬิกา สมาร์ททีวี รถยนต์ ฯลฯ ตอนนี้ SDK ยังรองรับแค่สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่เป็น Android 8 ขึ้นไป แต่กูเกิลก็มีแผนจะเปิดให้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ อย่าง ChromeOS, iOS, Windows ใช้งานด้วยในอนาคต
Amazon ประกาศฟีเจอร์ Alexa Game Control ที่ให้เราสั่งงานเกมด้วยเสียงได้ เช่น พูดว่า "swap to my best weapon" เพื่อเปลี่ยนมาสวมใส่อาวุธที่ดีที่สุดของตัวละครนั้น
ฟีเจอร์นี้ใช้เอนจินวิเคราะห์เสียงตัวเดียวกับ Alexa เป็นการทำงานที่ระดับซอฟต์แวร์ล้วนๆ ไม่จำเป็นต้องผ่านลำโพง Echo และไม่ต้องสั่งคำว่า Alexa นำหน้า แต่จำเป็นต้องต่อเน็ตตลอดเวลา และฝั่งนักพัฒนาเกมต้องรองรับด้วย โดย Amazon ระบุว่ามี SDK/plugin ให้กับเกมที่สร้างด้วย UE4, Unity และเอนจินอื่นที่เป็น C++ เบื้องต้นยังใช้ได้เฉพาะเกมพีซีและ Xbox เท่านั้น
โลกของ Visual Studio Code มี Language Server ใช้รองรับภาษาโปรแกรมต่างๆ ให้ทำงานร่วมกับ IDE ได้ดีขึ้น ซึ่งภายหลัง Language Server Protocol เริ่มได้รับการยอมรับในวงการ มี IDE ตัวอื่นนำไปใช้งานบ้าง เช่น Eclipse Che
Microsoft Azure เปิดบริการพรีวิว Dev Box สภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาที่รันใน VM บน Azure ที่เปิดตัวในงาน Build 2022 เมื่อเดือนพฤษภาคม
Microsoft Dev Box คือการย้ายคอมพิวเตอร์ของนักพัฒนาไปไว้บน VM ในคลาวด์ ด้วยเหตุผลเรื่องประสิทธิภาพที่ดีกว่า และเตรียมสภาพแวดล้อมในการพัฒนา เช่น ไลบรารี เครื่องมือ เวอร์ชันของซอฟต์แวร์ ให้พร้อมใช้งานสำหรับแต่ละโปรเจคต์ ทั้งทีมในโปรเจคต์ใช้ VM เหมือนกันหมด
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 เวอร์ชัน 17.3 เป็นอัพเดตย่อยตัวที่สามของซีรีส์ มีของใหม่ที่สำคัญคือ .NET Multi-platform App UI (.NET MAUI) ชุดเครื่องมือสร้าง UI ข้ามแพลตฟอร์มตัวใหม่ เข้าสถานะเสถียรแล้ว