JetBrains เปิดตัว Qodana (อ่านว่า โคดานา) เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพโค้ดอย่างเป็นทางการ หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปี 2021
Qodana เป็นเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพโค้ด (code quality platform) โดยจะดึงซอร์สโค้ดมาอ่าน วิเคราะห์หาบั๊ก หาปัญหาประสิทธิภาพ หาช่องโหว่ความปลอดภัย หาการใช้โค้ดจากภายนอก (เผื่อเจอปัญหาไลเซนส์) ทั้งหมดสามารถทำงานได้กับระบบ CI/CD ใดๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ของ JetBrains (จะเชื่อมกับ GitHub Actions, GitLab, CircleCI, Jenkins, Azure Pipelines ได้หมด) รองรับการวิเคราะห์โค้ดกว่า 60 ภาษาและเฟรมเวิร์คชื่อดังต่างๆ
Unity เริ่มเปิดให้นักพัฒนาเข้าใช้เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับ visionOS ระบบปฏิบัติการโลก 3D ของแอปเปิล ตามที่ประกาศไว้ในงาน WWDC23
การทดสอบยังไม่เปิดทั่วไป ต้องสมัครเข้าร่วมโครงการ Beta ของ Unity และได้รับการคัดเลือกก่อน
AMD ออกไลบรารีกราฟิกสำหรับนักพัฒนาเกม AMD FidelityFX SDK เวอร์ชัน 1.0 อย่างเป็นทางการ
เหล่าเกมเมอร์อาจคุ้นเคยกับชื่อเทคโนโลยี AMD FidelityFX Super Resolution (FSR) ที่ใช้ขยายความละเอียดของเฟรมภาพโดยยังคงรายละเอียดเท่าเดิม (เทียบได้กับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA) แต่ FSR เป็นแค่เทคโนโลยีตัวหนึ่งในชุด FidelityFX เท่านั้น ในชุดยังมีเทคโนโลยีด้านกราฟิกอีกหลายอย่าง ได้แก่
ความนิยมของ VS Code ทำให้เกิดส่วนขยาย (extension) จำนวนมาก จนถึงขั้นฟอร์แมตส่วนขยายของ VS Code กลายเป็นมาตรฐานของวงการ และมี IDE ตัวอื่นนำไปใช้งาน โดยเฉพาะ IDE ที่ดัดแปลงต่อยอดมาจาก VS Code เช่น Code-OSS (VS Code เวอร์ชันไม่มีแบรนด์ไมโครซอฟท์), Eclipse Theia, Gitpod, Salesforce Code Builder, SAP Business Application Studio เป็นต้น
Canva เว็บแอพสร้างกราฟิกยอดนิยม ประกาศเปิด Apps SDK และ API สำหรับเชื่อมต่อแอพภายนอก นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อผ่าน API กับแพลตฟอร์ม Canva ได้โดยตรง
Canva Connect API เป็น REST API มีด้วยกัน 5 ตัว ได้แก่
Matt Booty หัวหน้า Xbox Game Studios ที่รับผิดชอบสตูดิโอเกมทั้งหมดของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Axios ชี้ทิศทางของอุตสาหกรรมเกมในตอนนี้ว่า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาพัฒนาเกมอยู่ที่ 4-6 ปีต่อเกมแล้ว เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 2-3 ปีในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟนเกมต้องทำความเข้าใจด้วย
Booty ชี้ว่าสตูดิโอเกมใหญ่ๆ เคยออกเกมได้ 2-3 เกมต่อระยะเวลาทุก 10 ปี แต่ปัจจุบันไม่เป็นแบบนั้นแล้ว ถ้าทำได้ 2 เกมต่อทุก 10 ปีถือว่าโชคดีมากแล้ว
เหตุผลมาจากความซับซ้อนของเกมสมัยใหม่ที่เพิ่มจากเดิมมาก เพราะต้องตอบโจทย์เรื่องกราฟิกความละเอียด 4K หรือระบบแสงภายในเกม อีกด้านคือความคาดหวังของเกมเมอร์ก็สูงขึ้นด้วยว่าเกมต้องมีมาตรฐานกราฟิกที่ดีขึ้น
อินเทลแจกฟอนต์สำหรับเขียนโค้ด Intel One Mono เป็นฟอนต์แบบ monospace ความกว้างเท่ากันทุกตัวอักษร เน้นความอ่านง่าย สบายตา ช่วยลดการล้าของสายตาโปรแกรมเมอร์
ฟอนต์ตัวนี้อินเทลจ้างบริษัทออกแบบฟอนต์ Frere-Jones Type พัฒนาขึ้น โดยมีจุดประสงค์จับกลุ่มนักพัฒนาที่มีข้อจำกัดทางสายตา (low-vision) และผ่านการรับฟังความเห็นจากนักพัฒนากลุ่มนี้ในช่วงทดสอบแล้ว ฟอนต์ยังมีแต่ตัวอักษรภาษาละติน มี 4 น้ำหนักคือ Light, Regular, Medium, Bold ทั้งตัวปกติและตัวเอียง รองรับฟีเจอร์ของ OpenType หลายอย่างด้วย
ตัวฟอนต์เป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด ดาวน์โหลดได้จาก GitHub
แอปเปิลออก Xcode 15 Beta ตามรอบการออกรุ่นปีละครั้ง ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
Unity ประกาศออกตัวรันไทม์ของเอนจินที่ทำงานบน Windows on Arm แบบเนทีฟ ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ในงาน Build 2023 เท่ากับว่าตอนนี้เกมหรือแอพต่างๆ ที่สร้างด้วย Unity จะสามารถรันบนอุปกรณ์ Windows ที่ใช้ชิป ARM64 ได้แบบเนทีฟ ได้ประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ เพราะไม่ต้องผ่านอีมูเลเตอร์
ตอนนี้ Unity ยังรองรับ Windows on Arm เฉพาะตอนรันเท่านั้น ส่วนตอนสร้างและคอมไพล์บน Unity Editor ยังต้องใช้เครื่องที่เป็น x86 ซึ่ง Unity สัญญาว่ากำลังพัฒนาตัว Editor ให้รันบน Windows on Arm
ไมโครซอฟท์เปิดให้ดาวน์โหลด Dev Home โหมดเดสก์ท็อปสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เปิดตัวในงาน Build 2023 แล้ว
Dev Home เป็น shell ที่ครอบ Windows 11 อีกชั้น เพื่อสร้างหน้าจอแดชบอร์ดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เชื่อมบัญชี GitHub เข้ากับเดสก์ท็อปเพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผล และมีฟีเจอร์ Dev Drive สร้างไดรฟ์ระบบไฟล์ ReFS ที่ประสิทธิภาพดีขึ้น 30%
Dev Home ยังรองรับการสร้างส่วนขยาย (การเชื่อมบัญชี GitHub อยู่ในรูปส่วนขยายที่ติดตั้งมาให้แบบดีฟอลต์) โดยไมโครซอฟท์ระบุว่ากำลังทำส่วนขยาย Azure DevOps, ส่วนขยาย Microsoft Game Development Kit (GDK) และจะเปิดระบบ marketplace สำหรับส่วนขยายจากทางบ้านในอนาคต
ปีที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศแผนการใหญ่เรื่องการผลักดันซอฟต์แวร์สายนักพัฒนาให้รองรับ Windows on Arm แบบเนทีฟ โดยเริ่มจาก Visual Studio และ .NET ของตัวเอง แต่ก็ตั้งเป้าขยายไปยังซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ นอกบริษัทด้วย
เวลาผ่านมาหนึ่งปี ไมโครซอฟท์อัพเดตความคืบหน้าของโครงการนี้ดังนี้
ของใหม่อีกอย่างในงาน Build 2023 คือ Dev Home โหมดใหม่สำหรับ Windows 11 ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์บน Windows
ไมโครซอฟท์เรียก Dev Home ว่าเป็น "control center" มีลักษณะคล้ายกับ Xbox Game Bar ที่เป็น shell สำหรับเกมเมอร์ซ้อนทับบน Windows อีกทีหนึ่ง กรณีของ Dev Home คือเป็น shell สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถผูกบัญชี GitHub เพื่อดึงข้อมูลเข้ามายัง Windows โดยตรงได้เลย (ดูไฟล์ใน repository ได้จาก File Explorer), มีระบบแดชบอร์ดพร้อม widget สำหรับดูข้อมูลสำคัญต่างๆ และเขียน extension แสดงข้อมูลได้เอง, รองรับการติดตั้งซอฟต์แวร์ผ่านคอมมานด์ไลน์ด้วย WinGet
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2022 – 17.6 ต้อนรับงาน Build 2023 ช่วงปลายเดือนนี้ มีของใหม่ที่เป็นประโยชน์กับนักพัฒนาหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากหลายจุด
Xamarin แพลตฟอร์มเขียนแอพด้วย C# ข้ามระบบปฏิบัติการ ประกาศอัพเดต Xamarin.Forms และ Xamarin.Essentials ให้รองรับ Android 13 เป็นค่าดีฟอลต์ ตามนโยบายของกูเกิลว่าแอพบน Play Store จะต้องตั้งเป้า (target) Android 13 ขึ้นไปในเดือนสิงหาคม 2023
Xamarin ยังประกาศว่าจะรองรับ Android 13 เป็นเวอร์ชันสุดท้ายแล้ว เพราะระยะซัพพอร์ตของ Xamarin จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 พฤษภาคม 2024 หลังจากนั้นจะดันให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ .NET 7 และ .NET MAUI ที่เป็นอนาคตของ Xamarin แทน
กูเกิลและ JetBrains โชว์การนำภาษา Kotlin มาเขียนเว็บ โดยคอมไพล์เป็น WebAssembly เพื่อให้รันในเบราว์เซอร์ได้ มีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่าเนทีฟ
ในยุคสมัยที่โลกมี 3 แพลตฟอร์มใหญ่คือ Android, iOS และเว็บ การมีแอพ 3 เวอร์ชันเป็นภาระในการดูแล จึงมีคนหาวิธีสร้างแอพด้วยภาษา-เครื่องมือเดียวกันกับทุกแพลตฟอร์ม (ด้วยวิธีการทางเทคนิคที่ต่างกัน แต่เป้าหมายเดียวกัน) เช่น .NET/Xamarin (C#) หรือ Flutter (Dart)
Android Studio เปิดตัวฟีเจอร์ Studio Bot เป็น AI ช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับโค้ด-แนะนำโค้ดในตัว IDE โดยตรง คล้ายกับ GitHub Copilot หรือ Copilot X ของฝั่งไมโครซอฟท์
เบื้องหลังของฟีเจอร์ Studio Bot ใช้โมเดลช่วยเขียนโค้ด Codey ที่แตกย่อยมาจาก PaLM2 รุ่นใหม่ล่าสุดของกูเกิล
วิธีการใช้งานเป็นแช็ทบ็อทถาม-ตอบในแถบ sidebar ด้านข้าง โดยที่กูเกิลไม่ได้อ่านโค้ดของเราในช่อง Editor และเราไม่จำเป็นต้องส่งโค้ดกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์กูเกิล (มีเฉพาะข้อความแชทที่ถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์) แต่ถ้าอยากให้บ็อทวิเคราะห์โค้ดก็สามารถนำโค้ดไปถามได้
ปัญหาของนักพัฒนาเว็บช่วงหลังที่เจอกันบ่อยคือแม้จะมี API ใหม่ๆ ให้ใช้งาน และหลายครั้งออกเป็นมาตรฐานแล้ว แต่เบราว์เซอร์แต่ละยี่ห้อก็รองรับไม่พร้อมกัน ทำให้นักพัฒนาต้องมาระวังว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ที่ผ่านมาแม้จะมีการจัดมาตรฐานมาทำเป็นชุดทดสอบ เช่น Interop แต่สุดท้ายนักพัฒนาก็ต้องมาดูเองอยู่ดีว่าเบราว์เซอร์ใดผ่านข้อไหนบ้าง ในงาน Google I/O ปีนี้กูเกิลจึงเปิดตัว Baseline โลโก้แจ้งนักพัฒนาว่าฟีเจอร์ใดพร้อมใช้งานโดยทั่วไปแล้ว
Visual Studio Code เวอร์ชัน 1.78 รอบเดือนเมษายน 2023 มีของใหม่หลายอย่าง ที่สำคัญคือธีมใหม่ Dark Modern และ Light Modern ที่มาแทนธีมดีฟอลต์ของเดิม Dark+ และ Light+
GitLab ประกาศฟีเจอร์ทดลองโดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์หลายด้าน ได้แก่
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Meta เปิดตัวโครงการ Velox เป็น unified execution engine กลางสำหรับฐานข้อมูลหรือระบบจัดการข้อมูลหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ระดับโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทใหญ่ระดับ Meta ที่ต้องใช้ฐานข้อมูลหลากหลาย และซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ
Velox จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดระเบียบวิธีการเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการพัฒนา และรีดประสิทธิภาพของการเก็บข้อมูลให้ดีขึ้น แก้ปัญหาเอนจินแต่ละตัวมีวิธี optimized ที่แตกต่างกัน
เบื้องต้น Velox รองรับฐานข้อมูล 3 รูปแบบ ได้แก่ Apache Spark, Presto, PyTorch สำหรับงานปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งทั้ง 3 แบบเป็นระบบที่ใช้บ่อยภายในบริษัท Meta
กูเกิลเล่าผลงานการปรับแต่ง Chrome ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ความเร็วในการประมวลผลหน้าเว็บสูงขึ้นในช่วงหลังๆ โดยทำหลายอย่างประกอบกัน
ตัวแทนกูเกิลไปขึ้นเวทีงาน KotlinConf '23 เล่าสถิติการใช้งานภาษา Kotlin ในหมู่นักพัฒนาสาย Android และสถิติภายในของกูเกิลเอง
แวดวง Android
Compose Multiplatform เฟรมเวิร์คสำหรับเขียน UI ของภาษา Kotlin ที่พัฒนาโดย JetBrains และออกเวอร์ชันแรกในปี 2021
รากเหง้าของ Compose มาจาก Jetpack Compose ที่กูเกิลสร้างขึ้นเพื่อเขียน UI บน Android โดย JetBrains นำมาพัฒนาต่อให้รองรับแพลตฟอร์มอื่นๆ คือบนเดสก์ท็อป (Windows, macOS, Linux)
ล่าสุด JetBrains เปิดตัว Compose Multiplatform สำหรับ iOS แล้ว สถานะยังเป็นรุ่นทดสอบแบบ Alpha และจำเป็นต้องใช้ Xcode บน macOS ช่วยคอมไพล์ออกมาเป็นแอพบน iOS ให้
Gradle ซอฟต์แวร์ build automation ชื่อดัง เดิมทีต้องใช้ภาษา Groovy เขียนสคริปต์คอนฟิกวิธีการ build แต่ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ภาษา Kotlin เป็นดีฟอลต์แทนแล้ว
Gradle เริ่มสร้างในปี 2008 โดยตอนนั้นยังรองรับเฉพาะ Groovy เป็นภาษาแบบ domain-specific language (DSL) เพื่อเป็น build script แต่ในปี 2016 ก็เพิ่ม Kotlin DSL เข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
Android Studio ออกเวอร์ชันใหม่ Flamingo (2022.2.1) ซึ่งอิงจากฐานของ IntelliJ Platform 2022.2
ของใหม่เวอร์ชันนี้มีหลายอย่าง เน้นไปที่ Jetpack Compose