SpaceX ประสบความสำเร็จในการนำจรวดขั้นแรกกลับมาลงจอดและใช้งานซ้ำได้ 2-3 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้อุตสาหกรรมอวกาศฝั่งยุโรปเริ่มให้ความสนใจแนวทางนี้บ้างแล้ว โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้เงินสนับสนุนโครงการ RETALT เพื่อศึกษาการสร้างจรวดแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมเป็นเงิน 3 ล้านยูโร
RETALT หรือ RETro propulsion Assisted Landing Technology เป็นโครงการร่วมของ 5 บริษัทเอกชนและองค์กรอวกาศเยอรมัน โดยจะสร้างจรวดที่ไม่ได้ใช้ยิงจริง แต่เป็นโมเดลสำหรับจำลองในอุโมงค์ลม, โมเดลจำลองในคอมพิวเตอร์, และการทดสอบภาคพื้นดิน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาจรวดที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้แบบเดียวกับ Falcon ของ SpaceX
ตอนนี้เว็บไซต์หลายแห่งทั่วยุโรป ได้แก่ Wikipedia, Twitch, PornHub, Reddit ได้ประท้วงกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ใหม่ของสหภาพยุโรปซึ่งมีกำหนดการโหวตครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 มีนาคมนี้
กฎหมายที่กำลังอยู่ในความสนใจนี้คือ EU Copyright Directive ซึ่งเป็นการอัพเดตกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ให้เหมาะสมยุคอินเทอร์เน็ต แต่มีอยู่สองข้อที่ถูกมองว่าเป็นอันตราย ได้แก่
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) โดยกรรมาธิการด้านการผูกขาด ประกาศสั่งปรับ Google เป็นจำนวนเงิน 1.49 พันล้านยูโร (หรือประมาณ 1.69 พันล้านดอลลาร์) เนื่องจากความพยายามในการลดการแข่งขันในตลาดโฆษณาออนไลน์ ด้วยวิธีการการผลักดันโฆษณาจากแพลตฟอร์ม AdSense ของตนเองด้วยข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
ประกาศดังกล่าวนี้แถลงโดย Margreth Vestager กรรมาธิการด้านการผูกขาดของ EC เธอระบุว่าแนวทางของ Google ทำให้ลดการแข่งขันในตลาดโฆษณาออนไลน์โดยรวม เนื่องจากบีบบังคับให้คู่สัญญาที่ใช้บริการของ AdSense ต้องดำเนินการตามกรอบของบริษัทเท่านั้น และใช้อิทธิพลในฐานะเจ้าของระบบการค้นหาออนไลน์รายใหญ่ ในการควบคุมและทำสัญญา
Mozilla ได้ส่งจดหมายถึงคณะกรรมการยุโรป โดยกล่าวถึงความไม่โปร่งใสในเรื่องการจัดการข้อมูลการโฆษณาการเมืองบนแพลตฟอร์มของ Facebook ว่าแม้ Facebook จะส่งท่าทีที่จริงจังในการจัดการ แต่ก็ยังไม่โปร่งใสเพียงพอ
Mozilla ระบุว่า Facebook ได้พยายามป้องกันไม่ให้บุคคลที่สามทำการดำเนินการวิเคราะห์โฆษณาบนแพลตฟอร์ม โดย Facebook ได้มีท่าทีในการกีดกันนักพัฒนา, นักวิจัย หรือองค์กรในการพัฒนาเครื่องมือและวิจัยเพื่อให้การศึกษาและให้อำนาจผู้ใช้เข้าใจและทนต่อแคมเปญการส่งข้อมูลปลอมแบบเลือกกลุ่มเป้าหมายได้
ตามที่กูเกิลได้เตรียมเรียกเก็บเงินจากผู้ผลิตอุปกรณ์ Android ในยุโรป เพื่อชดเชยรายได้จากคำสั่ง EU ที่ทำให้ไม่สามารถบังคับให้ลงแอปกูเกิลพื้นฐานได้แบบอดีต แต่ตอนนั้นยังไม่มีข้อมูลว่าราคาที่ผู้ผลิตต้องจ่ายอยู่ที่เท่าใดกันแน่
ล่าสุด The Verge อ้างว่าได้รับเอกสารที่กูเกิลแจ้งกับผู้ผลิตอุปกรณ์ Android เกี่ยวกับราคาสำหรับการลงแอปบริการของกูเกิลในอุปกรณ์ ซึ่งรวมทั้ง Google Play Store โดยราคาแตกต่างกันไปตามประเทศ และชนิดอุปกรณ์ ซึ่งจะมีผลกับอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2019 เป็นต้นไป
กูเกิลปรับเงื่อนไขการใช้แอปพื้นฐานบน Android สำหรับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนในยุโรป หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป หรือ EU ได้ออกคำสั่งปรับกูเกิล 4.3 พันล้านยูโร เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากกูเกิลบังคับให้ผู้ผลิตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งกูเกิลให้ไลเซนส์ฟรี โดยต้องลงแอปกูเกิลเสิร์ช และเบราว์เซอร์ Chrome เป็นพื้นฐานตามด้วย ซึ่ง EU มองว่าเป็นการผูกขาดทางการค้า
ข้อกำหนดใหม่ของกูเกิลสำหรับในยุโรป ได้แก่ ผู้ผลิตอุปกรณ์ Android สามารถเลือกใช้กูเกิลแอปหรือ fork ได้อิสระ ไม่มีข้อกำหนดแบบเงื่อนไขเดิมที่ต้องมีแอปกูเกิลเป็นพื้นฐานเสมอ
จากข่าวใหญ่วันนี้ สหภาพยุโรปสั่งปรับกูเกิล 168,000 ล้านบาท จากข้อหาผูกขาดทางการค้าผ่าน Android ทางซีอีโอ Sundar Pichai ออกมาตอบโต้ผ่านบล็อกของบริษัท มีประเด็นหลายอย่างดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ EU ออกคำสั่งปรับกูเกิล เป็นเงิน 4,342,865,000 ยูโร หรือประมาณ 168,000 ล้านบาท เนื่องจากทำผิดข้อกำหนดเรื่องการผูกขาดทางการค้า จากการที่กูเกิลสร้างเงื่อนไขกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ให้ต้องลงแอปกูเกิลเสิร์ช และเบราว์เซอร์ Chrome เป็นพื้นฐาน รวมทั้งพยายามกีดกันผู้ผลิตที่ใช้ Android ปรับแต่ง (fork) นอกจากนี้ EU ยังบอกว่ากูเกิลมีการจ่ายเงินให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ เพื่อให้มีแอปกูเกิลเสิร์ชในโทรศัพท์
คณะกรรมการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในสหภาพยุโรปได้ออกประกาศให้ Airbnb ปรับปรุงวิธีการแสดงราคาใหม่ให้ชัดเจน รวมถึงปรับข้อตกลงการใช้บริการเพื่อปกป้องลูกค้าผู้เช่าห้องด้วย
ปัญหาอย่างหนึ่งของ Airbnb ในยุโรปคือการไม่อธิบายให้คนจองห้องพักที่จะมาเที่ยวยุโรปทราบอย่างชัดเจนว่าเจ้าของห้องนั้นเป็นการปล่อยเช่าที่พักส่วนตัวหรือเป็นผู้ทำธุรกิจ (อียูมีกฎที่ควบคุมห้องพักสองแบบนี้แยกกัน) และ Airbnb ควรจะเปลี่ยนแปลงระบบที่แสดงข้อมูลราคา คือราคาจองที่ผู้ใช้เห็นตอนค้นหาครั้งแรกต้องรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เช่นค่าบริการหรือค่าทำความสะอาดด้วย แต่กรณีไม่สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ก็ต้องอธิบายให้ชัดเจนกว่านี้ว่าอาจคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
Apple เพิ่งประกาศเข้าซื้อ Shazam บริการค้นหาเพลงด้วยมูลค่าราว 400 ล้านดอลลาร์ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ล่าสุดทางคณะกรรมการ European Commission จะเริ่มพิจารณาดีลดังกล่าวว่าจะอนุญาตให้ทั้งสองบริษัทควบรวมกันได้หรือไม่ เนื่องจากมีคำขอจากประเทศสมาชิก
หลายประเทศในสหภาพยุโรปอย่างออสเตรีย, ฝรั่งเศส, ไอซ์แลนด์, สวีเดน, นอร์เวย์ และสเปนได้ขอให้ทางคณะกรรมการยุโรปทำการพิจารณาการเข้าซื้อ Shazam ของ Apple ภายใต้กฎการควบรวมบริษัทของสหภาพยุโรป โดยทางคณะกรรมการจะพิจารณาว่าการเข้าซื้อ Shazam ของ Apple จะมีผลต่อการแข่งขันในท้องถิ่นมากขนาดไหน
Google ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของสหภาพยุโรปเรื่องการปรับ 2.4 พันล้านยูโรในข้อหาแสดงผลเปรียบเทียบราคาจากบริการ Google Shopping เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่น
แม้ว่า Google จะขอให้อุทธรณ์คำสั่ง แต่โฆษกของศาลเผยว่าทางบริษัทไม่ได้ขอให้ศาลหยุดคำสั่งของสหภาพยุโรปชั่วคราว ซึ่งหมายความว่าระหว่างที่อุทธรณ์ ทาง Google จะยังคงต้องปรับปรุงผลการค้นหาตามคำสั่งของสหภาพยุโรป และจะต้องเลิกแสดงผลการเปรียบเทียบราคาในวันที่ 28 กันยายนตามกำหนดการเดิม
กรรมการธิการสหภาพยุโรปด้านการค้าออกคำสั่งปรับกูเกิล 2,424,495,000 ยูโร หรือประมาณ 92,680 ล้านบาท จากการแสดงผลเปรียบเทียบราคาจากบริการ Google Shopping เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่น
การสอบสวนกินเวลานาน 7 ปี โดยร้องเรียนจากกลุ่ม FairSearch ที่ระบุว่ากูเกิลแสดงผลค้นหาอย่างไม่ยุติธรรม โดยไม่ได้เรียงลำดับผลการค้นหาจากความเกี่ยวข้องกับคำค้นหรือหาราคาถูกที่สุด ตัวกลุ่ม FairSearch ประกอบไปด้วยเว็บรีวิวต่างๆ เช่น Yelp, TripAdvisor, Foundem, รวมถึง News Corp
การสอบสวนมีตั้งแต่การวิเคราะห์การแสดงผลค้นหา 1.7 พันล้านครั้ง ที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าของกูเกิลมักได้แสดงเหนือกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือ รวมถึงคู่แข่งหลายรายอยู่ๆ ก็มีทราฟิกเข้าเว็บลดลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ 80-92%
สหภาพยุโรปพยายามแก้ปัญหาอัตราค่าใช้งานโรมมิ่งระหว่างประเทศ (international roaming) ราคาแพงมานาน (ข่าวเก่าปี 2013) เพราะมองว่าเป็นกำแพงขวางกั้นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนในยุโรป และในที่สุด คนในยุโรปจะไม่ต้องจ่ายค่าโรมมิ่งแล้วในวันที่ 15 มิถุนายน 2017 เป็นต้นไป
สิ่งที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ทำคือกำหนดเพดานของอัตราการใช้โรมมิ่งแบบขายส่ง (wholesale roaming) ที่โอเปอเรเตอร์ใช้คิดเงินระหว่างกัน ถ้าลูกค้ามีแพ็กเกจการใช้งานมือถืออยู่แล้ว ก็ใช้งานในยุโรปได้ในอัตราปกติ และถ้าหากใช้งานเกินแพ็กเกจที่กำหนดระหว่างอยู่นอกประเทศ ก็จะเสียเงินเพิ่มในราคาไม่เกินอัตราของ European Commission เท่านั้น
สืบเนื่องจากกรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินว่า ประเทศไอร์แลนด์ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีแก่แอปเปิล เป็นจำนวนเงินกว่า 13 พันล้านยูโรนั้น ล่าสุดรัฐบาลไอร์แลนด์ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย พร้อมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลยุโรป
Michael Noonan รัฐบาลคลังของไอร์แลนด์ ได้ขึ้นกล่าวต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป (Economic and Monetary Affairs Committee) ว่าด้วยประเด็นทางเศรษฐกิจของไอร์แลนด์ โดยในช่วงท้าย นาย Noonan ได้ระบุว่ารัฐบาลไอร์แลนด์ ไม่เห็นด้วยโดยหลักการกับคำตัดสินของคณะกรรมาธิการยุโรปในประเด็นดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยื่นอุทธรณ์ต่อศาลยุโรปในวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)
ต่อจากข่าว คณะกรรมการยุโรปตัดสิน แอปเปิลเลี่ยงภาษีในไอร์แลนด์นาน 11 ปี มูลค่า 5 แสนล้านบาท ฝั่งแอปเปิลนำโดยซีอีโอทิม คุก ก็เขียนจดหมายตอบโต้โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ลงมติว่าประเทศไอร์แลนด์ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่แอปเปิลมูลค่า 13 พันล้านยูโร (5 แสนล้านบาท) ซึ่งผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป
รายละเอียดของคดีนี้มีความซับซ้อนสูงพอสมควร ทาง European Commission ทำแผนภาพ infographic มาให้ด้วย ควรดูภาพประกอบจะได้ไม่งงนะครับ
การตรวจสอบโค้ดเพื่อหาช่องโหว่ความปลอดภัยเป็นระยะเพื่อป้องกันแฮกเกอร์พบช่องโหว่เหล่านี้ก่อนเป็นแนวทางที่เอกชนเริ่มให้ความใส่ใจมากขึ้นในช่วงหลัง เช่น Core Infrastructure Initiative หรือ Secure Open Source ตอนนี้ภาครัฐอย่างสหภาพยุโรปก็เริ่มเข้ามามีบทบาทโดยจัดสรรงบประมาณมาตรวจสอบโค้ดโครงการโอเพนซอร์ส
รัฐสภาสหภาพยุโรป (European Parliament) โหวตรองรับแนวทาง (directive) การจัดการความปลอดภัยเน็ตเวิร์คและระบบข้อมูลข่าวสารที่เสนอมาตั้งแต่ปี 2013 เพื่อเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับสหภาพยุโรปโดยรวม ภายใต้แนวทางนี้ทุกชาติสมาชิกจะต้องวางหน่วยงานเพิ่มเติม ได้แก่
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่าคณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ลงนามในข้อตกลงจัดตั้งงบประมาณด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) อยู่ที่ 450 ล้านยูโร (ประมาณ 17,000 ล้านบาท) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัย การคิดค้นนวัตกรรม การลงทุนและเสริมสร้างศักยภาพในด้านนี้ในหมู่สมาชิก
สำนักข่าว Reuters อ้างรายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันจากหนังสือพิมพ์ The Sunday Telegraph ของอังกฤษที่ระบุว่า EC หรือคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เตรียมเรียกค่าปรับจาก Google ในกรณีผูกขาดระบบการค้นหา (ไม่เกี่ยวกับกรณีล่าสุดเรื่องสมาร์ทโฟน) ซึ่งตัวเลขอาจสูงถึง 3 พันล้านยูโร (ประมาณ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ประกาศเตรียมลงทุนพันล้านยูโรสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีควันตัม มีกำหนดเริ่มโครงการในปี 2018
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ European Cloud Initiative ที่จะลงทุนระบบคลาวด์รวม 6.7 พันล้านยูโร ส่วนหลักๆ เป็นโครงสร้างสำหรับการจัดการข้อมูล 3.5 พันล้านยูโร โครงการเทคโนโลยีควันตัมพันล้านยูโร และโครงการอื่นๆ
รายละเอียดโครงการนี้จะประกาศเพิ่มเติมในงาน Quantum Europe Conference กลางเดือนพฤษภาคมนี้
ที่มา - Nature, European Commission
หลังจากที่ปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) ได้เปิดการสอบสวนเรื่องการผูกขาดในตลาดสมาร์ทโฟนที่เป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนเรื่องการผูกขาดของ Google (ข่าวเก่า) ล่าสุด คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีหนังสือแจ้งไปถึง Google และ Alphabet (ในฐานะบริษัทแม่) ว่ามีพฤติกรรมการผูกขาดในตลาดสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของระบบปฏิบัติการ Android
ในแถลงการณ์ของ EC ระบุว่า Google ในฐานะบริษัทที่มีเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ มีการบังคับให้ติดตั้งระบบค้นหาของตัวเองลงไปในสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในยุโรปและใช้ Android โดยบังคับให้เป็นค่ามาตรฐาน ซึ่งทำให้คู่แข่งรายอื่นๆ ทั้งในตลาดเครื่องมือค้นหา (search engine) และสมาร์ทโฟน ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเสรี (ในแถลงการณ์ระบุถึงขั้นมีการใช้เงินเพื่อให้แรงจูงใจในการไม่ติดตั้งระบบค้นหาของเจ้าอื่น) ซึ่งทำให้ทางคณะกรรมาธิการยุโรป ตัดสินใจส่งหนังสือไปหาทั้งสองบริษัท เพื่อแจ้งถึงพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว (เรียกว่า "statement of objections" รายละเอียดเชิงลึก อ่านได้จากที่มา)
ขั้นตอนจากนี้ทาง Google และ/หรือ Alphabet จะต้องส่งหนังสือหรือเข้าพบเพื่อให้การกับ EC โดยตามขั้นตอนแล้วจะไม่มีการกำหนดกรอบเวลาเอาไว้ (แปลว่าเรื่องอาจจะลากยาวไปเป็นปีๆ ได้) ก่อนที่ทาง EC จะมีคำตัดสินเพื่อบังคับให้ Google และ Alphabet ทำตาม (คล้ายๆ กรณีของ Microsoft ที่ต้องออก Windows เวอร์ชันพิเศษเมื่อไปจำหน่ายในตลาดยุโรป)
ที่มา - European Commission ผ่าน Business Insider
ในขณะที่เทคโนโลยี 4G เริ่มกระจายตัวไปทั่วโลก ฝั่งทวีปยุโรปก็เริ่มขยับไปสู่อนาคตอีกครั้ง ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ยื่นข้อเสนอใหม่เพื่อรับการมาของ 5G แล้ว
ร่างข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปว่าด้วยการโยกใช้งานคลื่นความถี่สำหรับใช้กระจายสัญญาณโทรทัศน์ซึ่งปัจจุบันใช้ย่านความถี่ 700MHz UHF เพื่อเปิดทางให้กับการเชื่อมต่อแบบ 5G ที่จะใช้กับอุปกรณ์พกพา และอุปกรณ์ประเภท Internet of Things โดยตั้งเป้าว่าประเทศใน EU จะให้ความร่วมมือภายในปี 2020 นี้
Qualcomm กำลังจะเจอวิกฤตครั้งใหม่ในยุโรปเสียแล้ว หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เริ่มเดินหน้าสอบสวนประเด็นผูกขาดการค้าของ Qualcomm รวดเดียวถึงสองประเด็น
ประเด็นแรกคือทาง EC ตั้งข้อสงสัยว่า Qualcomm อาจใช้วิธีคุมตลาดด้วยการให้แรงจูงใจทางการเงินกับผู้ผลิตที่ใช้ชิปของ Qualcomm ทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด เช่น การขายชิปราคาพิเศษให้กับลูกค้าที่ซื้อยกล็อต หรือจ่ายเงินให้กับพนักงานที่มาดีลด้วย เป็นต้น ส่วนอีกประเด็นระบุว่า Qualcomm อาจยอมขายชิปเซ็ตในราคาที่ต่ำกว่าทุนเพื่อบีบคู่แข่งออกจากตลาด
ถูกตั้งคำถามอีกครั้งสำหรับกูเกิล ที่เพิ่งมีผลการศึกษาของ Tim Wu นักวิชาการทางกฎหมาย และอดีตที่ปรึกษาของคณะกรรมการการค้าเสรี (FTC) หนึ่งในผู้ที่เคยสนับสนุนกูเกิลในช่วงถูกสอบสวนจาก FTC เมื่อปี 2013 (ซึ่งกูเกิลชนะ) ซึ่งคราวนี้ Wu ออกมาต่อต้านกูเกิลที่แสดงผลการค้นหาเข้าข้างบริการของตัวเอง โดยไม่ได้อิงจากผลลัพธ์ที่ดีที่สุด