YouTube ออกนโยบายใหม่เพื่อสู้ข่าวปลอมและโฆษณาชวนเชื่อ โดยจะแสดงข้อความอธิบายด้านล่างคลิปข่าวหากสื่อผู้ผลิตข่าวนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และจะแทรกลิงก์ไปยังวิกิพีเดียเพื่อให้คนเสพข่าวสารได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสื่อนั้นๆ เพิ่มเติม โดยฟีเจอร์ใหม่นี้เปิดใช้งานแล้วในสหรัฐฯ
The Wall Street Journal รายงานว่านโยบายใหม่ของ YouTube ครอบคลุมสื่อของสหรัฐฯอย่าง Public Broadcasting Service (PBS) โดยข้อความใต้คลิปอธิบายว่า "PBS เป็นสื่ออเมริกันที่ได้รับเงินทุนจากภาครัฐ" นอกจากนี้ยังครอบคลุม RT หรือสื่อจากรัสเซียด้วย โดยข้อความใต้คลิปอธิบายว่า "RT ได้รับเงินทุนทั้งหมดหรือบางส่วนจากรัฐบาลรัสเซีย"
Neal Mohan หัวหน้าผลิตภัณฑ์ YouTube บอกกับ The Wall Street Journal ว่า หลักเกณฑ์ของนโยบายนี้คือให้ข้อมูลของแหล่งข่าวเพิ่มเติม และให้ผู้ใช้ตัดสินความน่าเชื่อถือด้วยตัวเอง
จากประเด็น Coincheck ถูกขโมยเหรียญครั้งใหญ่ ถึงแม้บริษัทประกาศชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด แต่เรื่องนี้ก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงเรื่องการกำกับดูแลเงิน cryptocurrency และวงการ Fintech ในญี่ปุ่น เพราะมีความเสียหายถึง 5.8 หมื่นล้านเยน (ราว 1.7 หมื่นล้านบาท)
Financial Services Agency (FSA) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของญี่ปุ่น จะเข้ามาสอบสวนกรณีนี้ โดยสั่งให้ Coincheck ส่งรายละเอียดการแฮ็ก และประกาศให้บริษัทซื้อขายเหรียญทุกรายในญี่ปุ่น ส่งแผนประเมินความปลอดภัยของตัวเองมาให้พิจารณา โดยระบุชัดเจนว่าให้ฝ่ายบริหารของบริษัทต้องลงมาดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่สั่งพนักงานอย่างเดียว
ในงาน World Economic Forum 2018 ที่เมือง Davos นอกจากที่ George Soros ให้สัมภาษณ์พูดถึง Facebook และ Google เป็นภัยคุกคามต่อความเป็นอิสระ ซึ่งก็ไม่ใช่มีแต่ Soros เท่านั้น แต่ซีอีโอบริษัทไอทีรายใหญ่อีกแห่งก็คิดเหมือนกัน
โดย Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce ให้สัมภาษณ์ในงานนี้เช่นเดียวกัน บอกว่าหน่วยงานรัฐควรดูแล Facebook ในลักษณะเดียวกับที่กำกับดูแลบริษัทบุหรี่ กล่าวคือมันทำให้เกิดการเสพติด คนรู้ว่ามากไปไม่ดี ฉะนั้นจึงควรมีการควบคุมดูแล
นอกจากนี้เขายังบอกทิ้งท้ายว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเองควรได้รับการกำกับดูแลจากรัฐ ในลักษณะเดียวกับที่ดูแลอุตสาหกรรมอื่นอย่าง สุขภาพ หรือการเงิน ซึ่งเขามองว่าที่รัฐควบคุมตอนนี้ยังไม่มากพอ
เทศบาลเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี เคยสร้างชื่อจากการย้ายระบบมาใช้ลินุกซ์เมื่อหลายปีก่อน และเป็นต้นแบบของการใช้งานโอเพนซอร์สในภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม มิวนิคกำลังจะย้ายกลับมาใช้ Windows 10 โดยมีเป้าหมายว่าจะต้องย้ายเสร็จในปี 2020
เหตุผลสำคัญมาจากผู้ใช้งานต้องการซอฟต์แวร์บางตัวที่มีเฉพาะบนวินโดวส์เท่านั้น ถึงแม้ทางทีมงานจะหาวิธีแก้ไข (workaround) แต่ก็ไม่สามารถใช้งานได้ทุกกรณี และไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทางสภาเทศบาลจึงเตรียมโหวตอนุมัติแผนการย้ายกลับมาใช้ Windows 10 ในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้
ปัจจุบัน 40% ของเจ้าหน้าที่ 30,000 คนใช้เครื่องที่เป็นวินโดวส์อยู่แล้ว และแผนการย้ายครั้งนี้จะย้ายเครื่องที่เหลือทั้งหมดมาเป็นวินโดวส์
ประเทศเอสโตเนียทำบริการภาครัฐด้วยระบบดิจิทัลมานาน ประชาชนเข้าถึงบริการจากรัฐได้ด้วย national ID และยังใช้ในการโหวตเลือกตั้งและธนาคารออนไลน์ ประเทศเอสโตเนียยังใช้ระบบ Blockchain เป็นแกนหลักในการบริการประชาชนด้วย แต่ล่าสุดมีผู้เชี่ยวชาญพบข้อบกพร้องใหญ่ของ national ID ที่อาจกระทบประชาชนกว่า 7 แสนราย เสี่ยงต่อการถูกปลอมแปลงตัวตน ช่วงวันหยุดที่ผ่านมารัฐบาลจึงบล็อค ID ส่วนใหญ่จากการเข้าถึงระบบออนไลน์ไปก่อน
ID ประชาชนที่เริ่มทำในช่วง ตุลาคม 2014 - 2017 จะถูกระงับไว้ก่อน จนกว่าเจ้าของ ID จะมายื่นขอใบรับรองเพื่อให้แก้ไข ซึ่งสามารถทำผ่ายออนไลน์ได้ แต่ระบบออนไลน์มีปัญหาทำให้คนไปกระจุกตัวกันที่สถานีตำรวจและหน่วยงานราชการอื่นเพื่อขอรับรหัสอัพเดต
สำนักข่าว The New York Times รายงานว่า รัฐบาลอัฟกานิสถานได้แบน WhatsApp ชั่วคราว โดยส่งจดหมายไปที่บริษัทด้านการโทรคมนาคมเอกชนให้บล็อกบริการ ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทกำลังตัดสินใจว่าจะแบนตามคำขอของรัฐบาลหรือไม่ ในขณะที่ฝั่ง Salaam Telecom ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของรัฐบาลมีผู้ใช้รายงานว่า WhatsApp และ Telegram ไม่สามารถใช้งานได้มาสักพักแล้ว
ปัจจุบัน บริษัทไอทีหลายแห่งจะมีข้อมูลที่เก็บไว้ต่างประเทศ และเมื่อรัฐบาลต้องการข้อมูลก็จะติดปัญหาด้านกฎหมาย ซึ่งหากมีการสอบสวนก็ทำให้ล่าช้าไปมาก
ล่าสุด สำนักข่าว Financial Times รายงานว่า ตอนนี้สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรเตรียมลงนามข้อตกลงให้บริษัทไอทีที่อยู่ทั้งสองประเทศ ต้องส่งมอบข้อมูลที่เจ้าหน้าที่รัฐร้องขอตามกฎหมาย
อินเดียกำลังเป็นอีกประเทศที่ผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า โดย Reuters รายงานว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาร่างกฎหมายและโร้ดแม็พ คาดว่าจะแล้วเสร็จและประกาศใช้ภายในสิ้นปีนี้ คร่าวๆ คือรถยนต์ทุกคันในอินเดียจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030
ถึงแม้นโยบายจะยังไม่ประกาศใช้ แต่รัฐบาลก็เริ่มแจ้งเตือนบริษัทในอุตสาหกรรมรถยนต์ของอินเดียให้เริ่มเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านนโยบาย ขณะที่หลากบริษัทก็เริ่มแผนการไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยตอนนี้มีเพียง Mahindra & Mahindra เป็นบริษัทเดียวในอินเดียที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
ทั้งนี้สิ่งที่บริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่กังวลคือจำนวนสถานีชาร์จไฟในอินเดีย ซึ่งก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะมีแผนผลักดันเรื่องสถานีชาร์จนี้ด้วย
รัฐบาลของรัฐอิลลินอยส์ (Illinois) ในสหรัฐอเมริกา เตรียมทำโครงการนำร่องเทคโนโลยี blockchain มาใช้เก็บข้อมูลสูติบัตรของประชาชน
โครงการนี้เป็นการเก็บเอกสารยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (digital identity) ไว้ในสายโซ่ blockchain โดยเมื่อมีเด็กเกิดใหม่ หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจะนำข้อมูลต่างๆ เช่น ชื่อ วันเกิด เพศ กลุ่มเลือด มาเก็บไว้ใน chain แล้ว sign เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูล
เดิมรัฐบาลเกาหลีใต้มีนโยบายลดภาษีให้กับบริษัทที่ลงทุนด้านหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอยู่ที่ 3-7% ขึ้นอยู่กับขนาดของการลงทุน เพื่อเป็นการกระตุ้นกระทรวงด้านนี้ในประเทศ โดยนโยบายนี้จะหมดอายุในปี 2019
แต่ทว่าอาจด้วยความกลัวการเข้ามาแย่งงานมนุษย์ของเครื่องจักรและหุ่นยนต์ รัฐบาลของนาย มุน แจ-อิน ได้ทบทวนมาตรการลดภาษีดังกล่าวหลังหมดอายุ ทำให้หลังปี 2019 บริษัทที่ลงทุนด้านหุ่นยนต์และเครื่องจักรอาจได้รับการลดภาษีเหลือเพียง 1-5% เท่านั้น เพื่อลดแรงดึงดูดในการลงทุนด้านนี้ลงเล็กน้อย
ทั้งนี้ถึงแม้กฎหมายนี้จะไม่ได้เป็นการเก็บภาษีหุ่นยนต์ (Robot Tax) โดยตรงอย่างที่ Bill Gates เคยเสนอ แต่คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมด้านนี้ก็มองว่ามีความใกล้เคียงกัน
วันนี้การประชุม Asia Pacific Regional Internet Governance Forum (APrIGF) ถูกจัดขึ้นโดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ และเมื่อช่วงเช้ามีการจัดเสวนาหัวข้อ "พินิจอินเทอร์เน็ตไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 (?)"
วิทยากรที่เข้าร่วมได้แก่ ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธาน TDRI, คุณมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน), ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และคุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการ iLaw
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) Theresa May นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้แถลงที่หน้าบ้านพักและสถานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี (รู้จักกันในนาม 10 Downing Street หรือ Number 10) โดยระบุว่าอินเทอร์เน็ตต้องถูกควบคุม เพื่อให้มีความปลอดภัยกับพลเมืองของอังกฤษ หลังจากเหตุก่อการร้ายกลางกรุงลอนดอนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง
นายกรัฐมนตรีอังกฤษระบุว่า การควบคุมอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เพราะผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรงใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัย (safe spaces) ในการแผยแพร่ความรุนแรง พร้อมทั้งยังกล่าวโทษบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ว่ายังมีมาตรการป้องกันที่ไม่ดีเพียงพอ และอังกฤษจะไม่ยอมให้ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นที่บ่มเพาะความรุนแรง โดยจะทำงานร่วมกับรัฐบาลชาติพันธมิตรเพื่อสร้างข้อตกลงในการควบคุมอินเทอร์เน็ตที่มีเป้าหมายเพื่อจำกัดพื้นที่ของกลุ่มก่อการร้าย
ทั้งนี้ ท่าทีของรัฐบาลอังกฤษที่แสดงผ่านนายกรัฐมนตรีอังกฤษครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเมื่อปี 2009 Gordon Brown นายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้นก็เคยกล่าวลักษณะเช่นนี้ เพียงแต่ตอนนั้นไม่ได้มาหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเหมือนรอบนี้
ที่มา - The Independent
เมื่อวานนี้สิงคโปร์มีงาน Infocomm Media Business Exchange การแลกเปลี่ยนบริการไอทีสำหรับธุรกิจในสิงคโปร์ รัฐมนตรี Yaacob Ibrahim มากล่าวเปิดงานก็ถือโอกาสประกาศนโยบายด้านไอทีของประเทศไปพร้อมกัน พร้อมกับพูดถึงโครงการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
นโยบายสี่ด้าน ได้แก่
ก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวแล้วสำหรับรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อรัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลและการสื่อสารของสิงคโปร์ ประกาศโครงการ AI.SG ของรัฐบาล นำโดย National Research Foundation ในการผลักดันและร่วมมือกันในด้านการวิจัย พัฒนาและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่ภาครัฐ เอกชนไปจนถึงสตาร์ทอัพ ในทุกๆ อุตสาหกรรม
รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลและการสื่อสารระบุว่าตอนนี้โปรเจ็คนี้มีเป้าหมายอยู่ 3 อย่าง
สิงคโปร์เปิดระบบแชร์ข้อมูลประชาชน MyInfo ที่ใช้ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ ให้กับธนาคารสี่แห่งเข้าใช้งานวันนี้เป็นวันแรก ทำให้ประชาชนสามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลพื้นฐานหรือส่งเอกสารข้อมูลจากภาครัฐ
ธนาคารสี่แห่งแรกได้แก่ OCBC, UOB, DBS, และ Standard Chartered
ระบบ MyInfo เก็บข้อมูลจากภาครัฐสำหรับทั้งพลเมืองสิงคโปร์เองและชาวต่างชาติที่ลงทะเบียนทำงาน มีข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ, นามสกุล, ข้อมูลติดต่อ, ที่อยู่, การศึกษา, รายได้, การครอบครองรถและที่อยู่อาศัย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกประกาศกระทรวงอ้างคำสั่งศาลอาญา เรื่องการระงับการแพร่เนื้อหาข้อมูลที่ไม่เหมาะสมตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ฉบับ 2550 โดยเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไปเลิกติดตาม (follow) ติดต่อและเผยแพร่เนื้อหาจากบุคคล 3 คนบนเฟซบุ๊กได้แก่
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 สั่งแก้ไขกฎหมายด้านการประกอบธุรกิจ เพื่อปรับปรุงให้การประกอบธุรกิจในประเทศไทยสะดวกขึ้น หลังจากธนาคารโลก จัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยอยู่อันดับ 46 จาก 190 ประเทศ
ในประกาศ คสช. มีประเด็นแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ จำนวน 17 ประเด็น โดยประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการลดการใช้เอกสารกระดาษ มีดังนี้
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดงานสัมมนาประจำปีเรื่อง "ปฏิรูปรัฐ ปฏิวัติข้อมูล" หลักการโดยรวมคืออยากให้ภาครัฐกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อจัดการข้อมูล พร้อมทั้งเสนอแนวทางจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลข้ามหน่วยงานเพื่อความสะดวกในการให้บริการประชาชน เปิดข้อมูลเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ภาคประชาชนนำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้
ที่สำคัญ ระบบการศึกษาต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลโดยเฉพาะออกมามากกว่านี้ เพราะปัจจุบันยังมีปัญหาคุณภาพคนกับความต้องการทักษะงานยังไม่สอดคล้องกัน
ในงานสัมมนาแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ Blognone จะสรุปสาระสำคัญให้อ่านกันเป็นรายหัวข้อไป
ท่ามกลางกระแสข่าวของความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและผู้ให้บริการเรียกรถอย่าง Uber จนเกิดความเข้าใจผิดว่าแอพเรียกแท็กซี่อย่าง Grab Taxi, All Thai Taxi นั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายไปด้วย ล่าสุดกรมการขนส่งออกายืนยันอีกครั้งแล้วว่าแอพที่ผิดกฎหมายนั้นคือกลุ่ม Uber, Grab Car ที่เรียกรถป้ายดำมาให้บริการ ไม่ใช่แอพเรียกแท็กซี่ข้างต้น
กรมการขนส่งระบุเหตุผลว่า เนื่องจากเป็นการใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้, ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่กฎหมายกำหนด, ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ, ไม่เคยผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และคนขับไม่ได้เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
ช่วงนี้คนไทยจะได้ยินวลี "ไทยแลนด์ 4.0" และ "ดิจิทัลไทยแลนด์" (Digital Thailand) กันบ่อยๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร ส่งผลอะไรต่อชีวิตเราบ้าง
คนไทยมีชีวิตผูกติดกับดิจิทัลมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ต ซื้อขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น การสื่อสารพูดคุย แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะพาสังคมไทยเข้าสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ได้
นิยามของ ดิจิทัลไทยแลนด์ คือ ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อน พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน
และแล้วในที่สุด Uber ยอมถอยด้วยการระงับการให้บริการอีกหนึ่งประเทศแล้วนั่นคือไต้หวัน หลังสู้รบปรบมือกับรัฐบาลมาหลายปี อย่างไรก็ตามการระงับการให้บริการในทั้งนี้ "อาจจะ" เป็นการชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากทาง Uber ใช้คำว่า "pressing pause" โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
ปัญหา Shadow IT หรือการสร้างระบบไอทีขึ้นใช้เองภายในองค์กร แยกจากระบบไอทีหลักขององค์กร เป็นประเด็นสำคัญในโลกไอทีองค์กรยุคใหม่ Blognone เคยรายงานเรื่องเซิร์ฟเวอร์อีเมลส่วนตัวของ Hillary Clinton สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ไปแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่าทีมงานระดับสูงของ Donald Trump ก็ทำแบบเดียวกัน
เว็บไซต์ Newsweek รายงานว่าทีมงานของ Trump อย่างน้อย 4 คน (รวมถึง Jared Kushner ลูกเขยของเขาด้วย) มีบัญชีอีเมลในเซิร์ฟเวอร์ rnchq.org ของคณะกรรมการพรรครีพับลิกัน (Republican National Committee - RNC) เพื่อใช้พูดคุยในประเด็นด้านการเมือง ที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ
จีนดำเนินนโยบาย Great Firewall ปิดกั้นการเข้าถึงบริการและสื่อสังคมออนไลน์ของต่างประเทศ ทำให้ชาวจีนและชาวต่างประเทศที่อยู่ในจีนหากจะเข้าถึงบริการเหล่านั้น จะต้องมุดผ่าน VPN เอา แต่ล่าสุดทางการจีนตัดสินใจปิดช่องทางนี้อีกช่องทาง พร้อมประกาศว่าบริการ VPN ต่างๆ นั้นผิดกฎหมายแล้ว
กระทรวงอุตสาหกรรมและไอที (Ministry of Industry and Information Technology) ได้ประกาศว่าการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางพิเศษและบริการ VPN นั้นจะต้องได้รับการยินยอมจากรัฐบาลก่อน โดยนโยบายนี้จะมีผลทันทีไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2018
รัฐบาลสิงคโปร์ เตรียมประกาศใช้กฎหมาย National Registration Act (NRA) ฉบับใหม่ มีผลวันที่ 1 มกราคม 2017 เป็นต้นไป
ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง Immigration and Checkpoints Authority (ICA) จะเก็บภาพสแกนม่านตา (iris) ของทั้งประชาชนชาวสิงคโปร์ และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ถาวร (permanent resident) ในฐานะสิ่งยืนยันตัวตน เพิ่มจากภาพถ่ายและลายนิ้วมือที่มีอยู่ก่อนแล้ว
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวการจับกุมแฮกเกอร์ต้องสงสัย 9 รายที่โจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาล โดยผบ.ตร. เป็นผู้ที่สอบสวนหนึ่งในผู้ต้องสงสัยที่มีพฤติกรรมชัดเจนที่สุดด้วยตัวเอง
ในการนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้โชว์ของกลางที่ยึดจากการจับกุม เป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดดิสก์, แผ่น CD/DVD, สมาร์ทโฟน, ซิม และหนังสือ Network Security พร้อมด้วยอาวุธปืนและกระสุนอีกจำนวนหนึ่ง
ที่มา - Nation