อีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ GeForce RTX ซีรีส์ 30 คือ NVIDIA RTX IO ที่ออกแบบมาแก้ปัญหาเกมรุ่นใหม่มีขนาดใหญ่ๆ มากๆ ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องการโหลดเกมจากสตอเรจเพราะ SSD รุ่นใหม่เร็วพอ แต่กลับไปคอขวดที่ซีพียูแตกไฟล์ที่บีบอัดเอาไว้ไม่ทัน
NVIDIA บอกว่าเรื่องนี้ไม่เคยเป็นปัญหา เพราะสตอเรจในอดีตช้ากว่ายุคปัจจุบันมาก แต่พอเราเข้าสู่ยุค NVMe ที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ มันจึงกลายเป็นปัญหาขึ้นมา
Microsoft Flight Simulator กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการเบนช์มาร์คพีซี (คล้ายกับ Crysis ของยุคสมัยหนึ่ง) เพราะพีซียุคปัจจุบัน จัดสเปกแบบสุดตัวแล้วยังไม่สามารถทำเฟรมเรตแตะ 60 fps ที่เซ็ตติ้งกราฟิกของเกมระดับ High/Ultra
เว็บไซต์ DSO Gaming ทดสอบโดยใช้พีซีทรงพลัง ซีพียู Intel Core i9-9900K, แรม DDR4 16GB 3600MHz, จีพียู GeForce RTX 2080 Ti, สตอเรจ Samsung 970 Pro NVMe ซึ่งรวมๆ แล้วถือเป็นสเปกที่แรงมากแล้วในท้องตลาด แต่ก็ยังไม่สามารถไปถึง 60 fps บนความละเอียด 1440p ได้อยู่ดี (สูงสุดทำได้ที่ 50 fps, เฉลี่ยแล้วได้ที่ 30-50 fps)
บริษัทวิจัยตลาดฮาร์ดแวร์ Jon Peddie Research (JPR) ออกรายงานว่าเกมจำลองการบิน Microsoft Flight Simulator 2020 จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้เหล่าเกมเมอร์ "อัพเกรด" ฮาร์ดแวร์เกมพีซีกันครั้งใหญ่ในอีก 3 ปีข้างหน้า
JPR ประเมินว่า Microsoft Flight Simulator ภาคนี้จะขายได้ทั้งหมด 2.27 ล้านชุดในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเกมเมอร์เหล่านี้จะต้องอัพเกรดฮาร์ดแวร์เพื่อให้เข้าถึงประสบการณ์ดีที่สุดของเกม คาดว่าจะสร้างยอดขายฮาร์ดแวร์เป็นมูลค่าถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์ หรือเฉลี่ยแล้วค่าอัพเกรดประมาณ 1,000 ดอลลาร์ต่อชุด
หลังเปิดตัว Dimensity 800 ชิประดับกลางที่รองรับ 5G ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันนี้ Mediatek เปิดตัวรุ่นอัพเกรด Dimensity 800U แล้ว
ตัวชิปยังเป็นซีพียูแบบแปดคอร์เช่นเคย ประกอบด้วย Arm Cortex-A76 จำนวน 4 คอร์ และคอร์ Arm Cortex-A55 อีก 4 คอร์เหมือนรุ่น 800 แต่คอร์ A76 เพิ่มสัญญาณนาฬิกาเป็น 2.4Ghz ขณะที่คอร์ A55 ยังมีสัญญาณนาฬิกา 2Ghz เท่าเดิม แต่จีพียูถูกลดสเปกลงเป็น Arm Mali-G57 MC3 จากเดิมเป็น Mali-G57 MC4 ในรุ่น 800 แต่ยังรองรับหน้าจอ 120 Hz และความละเอียด FHD+ อยู่
ในงาน Intel Architecture Day 2020 เมื่อวันก่อน นอกจากการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยประมวลผล Tiger Lake อินเทลยังเปิดเผยข้อมูลของจีพียูซีรีส์ Xe ที่จะจับตลาดทุกระดับ ตั้งแต่การ์ดจอแบบออนบอร์ดไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์
Xe (อ่านว่า เอ็กซ์อี) เป็นความพยายามครั้งใหญ่ของอินเทลในการกลับเข้าสู่ตลาดจีพียูอีกครั้ง หลังจากล้มเหลวมาตลอด (ถ้ายังจำ Larrabee กันได้) และถึงขั้นต้องดึง Raja Kouduri อดีตหัวหน้าฝ่าย Radeon จาก AMD เข้ามาทำงานด้วย (Raja เป็นคนพรีเซนต์หลักของงานรอบนี้)
Qualcomm เปิดตัวระบบชาร์จเร็วเวอร์ชันใหม่ Quick Charge 5 ที่รองรับกำลังไฟ 100 วัตต์ สามาสารถชาร์จแบตสมาร์ทโฟนขนาด 4500mAh จาก 0% เป็น 50% ภายในเวลา 5 นาที ถือเป็นระบบชาร์จเร็วที่สุดในตอนนี้
Qualcomm เทียบประสิทธิภาพของ Quick Charge 5 ว่าดีขึ้นจาก Quick Charge 4 ราว 70% ถ้าเทียบกับ Quick Charge 1 จะเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า, ในแง่อุณหภูมิระหว่างชาร์จน้อยลงจาก Quick Charge 4 ที่ 10 องศา
จากข่าว Xbox เผยข้อมูล Xbox Velocity Architecture ระบบ I/O ใหม่บน Xbox Series X ถึงแม้ไมโครซอฟท์ไม่ได้พูดออกมาเองตรงๆ แต่ก็มีคนมาคำนวณให้แล้วว่าระบบ I/O โดยรวมของ Xbox Sereis X จะเร็วกว่า PS5
หลังการเปิดตัวคอนโซลเจนใหม่ทั้ง Xbox Series X และ PlayStation 5 มีแค่ฝั่งโซนี่เท่านั้นที่พยายามขายและชูจุดเด่นเรื่องความรวดเร็วในการโหลดเกมหรือเปลี่ยนฉาก จากระบบ I/O และ SSD ใหม่บน PlayStation 5
ทว่าฝั่งไมโครซอฟท์กลับแทบไม่พูดถึงประเด็นนี้เท่าไหร่นัก นอกจากการบอกว่าใช้ SSD รุ่นใหม่และรองรับ Quick Resume สลับเกมไปมาได้หลายเกมอย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลาโหลด แต่ล่าสุด Jason Ronald ผอ. ฝ่ายการจัดการโปรแกรมของ Xbox Series X เพิ่งเขียนบล็อคอธิบาย Xbox Velocity Architecture สถาปัตยกรรม I/O ใหม่บน Xbox Series X ที่เจ้าตัวบอกว่าหากหน่วยประมวลผลเป็น "หัวใจ" Xbox Velocity Architecture ก็เป็น "จิตวิญญาณ" (soul) ของคอนโซลรุ่นใหม่ก็ว่าได้
อินเทลเปิดตัวสเปกของ Thunderbolt 4 ที่ทิ้งช่วงจาก Thunderbolt 3 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นเวลา 5 ปี
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคุ้นเคยว่าพอร์ต USB กับ Thunderbolt เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่ช่วงหลังๆ มาตรฐานสองค่ายเริ่มควบรวมกัน ตั้งแต่ Thunderbolt 3 ที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C และล่าสุดคือ USB 4 ที่พัฒนาขึ้นจากสเปกของ Thunderbolt 3 อีกที
พอมี Thunderbolt 4 เข้ามาอีกตัว เลยชวนสับสนว่าความต่างของ Thunderbolt 3, 4, USB 4 คืออะไรกันแน่
โซลูชันความปลอดภัยองค์กรเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จากการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลขององค์กรที่มากขึ้น และรูปแบบการโจมตีของฝั่งแฮกเกอร์ที่หลากหลาย ซับซ้อน และเนียบเนียนมากขึ้น
โจทย์ขององค์กร จึงอาจไม่ใช่แค่การหาโซลูชันมาป้องกันแต่เพียงอย่างเดียวแล้วจบ แต่ต้องหาโซลูชันที่สามารถรับมือภัยคุกคามในเชิงรุก และครอบคลุมมิติความปลอดภัยหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่ง Lenovo ThinkShield เป็น โซลูชันความปลอดภัยครบวงจรแบบ end-to-end ทั้งบนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการเสริม ที่มีทางเลือกให้องค์กรสามารถเลือกและปรับแต่ง ให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความปลอดภัยได้ตามต้องการ
เมื่ออดีตอันไกลโพ้นปี 2014 AMD เคยประกาศแผน 25x20 ที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน (energy efficiency) ให้ได้ 25 เท่าภายในปี 2020
บัดนี้ถึงปี 2020 แล้ว AMD ออกมาประกาศว่าแผนการสำเร็จลุล่วง หลัง Ryzen 4000 Mobile หรือโค้ดเนม "Renoir" หน่วยประมวลผลสำหรับโน้ตบุ๊ก (เป็น APU ที่รวม CPU+GPU) สามารถเพิ่มค่าประหยัดพลังงานได้ 31.7 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขปี 2014
AMD เคยเป็นเจ้าแห่งโลกซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่พักหนึ่ง โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray Titan ที่ใช้ซีพียู Opteron เคยครองแชมป์ของ TOP500 ช่วงปี 2012 แต่พอ AMD เข้าสู่ "ยุคมืด" ทำให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นหลังๆ แทบไม่มีเครื่องที่อันดับสูงๆ ใช้ซีพียู AMD เลย
เมื่อ AMD "คัมแบ็ค" กลับมาด้วยซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สิ่งที่ต้องจับตาคืออันดับของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู EPYC ว่าจะไต่กลับเข้ามาเมื่อไร
ในการประกาศผล TOP500 รอบล่าสุด (กลางปี 2020) ในที่สุด AMD ก็สามารถกลับคืนสู่ TOP 10 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกได้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นกว่าก็คือ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ Selene ของคู่แค้น NVIDIA ที่เลือกใช้ซีพียู EPYC จาก AMD
ซัมซุงเปิดตัวชิปความปลอดภัยบนสมาร์ทโฟนรุ่นที่ 2 (S3FV9RR) หลังรุ่นแรกเพิ่งเปิดตัวไปไม่นานและถูกใช้ใน Galaxy S20 ยังคงใช้เก็บรหัสผ่าน กุญแจดิจิทัล ไปจนถึงข้อมูลการทำธุรกรรมสกุลเงินคริปโต
ซัมซุงระบุด้วยว่าชิปมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ระดับของฮาร์ดแวร์ (hardware root of trust) และได้รับการรับรองมาตรฐาน CC EAL 6+ เบื้องต้นคาดว่าชิปนี้จะถูกนำไปใช้งานบนอุปกรณ์ที่จะออกในราวไตรมาส 3 ของปีนี้
ที่มา - The Next Web
ใครอยู่ที่วงการ Wi-Fi มาบ้างคงคุ้นกับชื่อ Killer Wi-Fi ในฐานะชิปที่ชูจุดเด่นเรื่องความเร็วและประสิทธิภาพของการส่งข้อมูล และนำไปใช้งานโดยแบรนด์เกมมิ่งพีซีหลายยี่ห้อ ล่าสุดอินเทลประกาศซื้อกิจการ Rivet Networks ต้นสังกัดของแบรนด์ Killer แล้ว
อินเทลให้เหตุผลว่าซื้อ Rivet Networks เพราะมีเทคโนโลยีด้าน W-Fi ที่โดดเด่น และมีฐานลูกค้ากลุ่มเกมเมอร์-ผู้ใช้ที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพ
ในงาน CES 2017 นั้น AMD ได้ประกาศว่าจะสนับสนุนซ็อคเก็ต AM4 ไปจนถึงปี 2020 ซึ่งก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ แต่มีการประกาศออกมาว่า ถ้าจะใช้ซีพียู Ryzen รุ่นหน้าที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen 3 หรือ Ryzen 4000 Series นั้น จะต้องใช้กับเมนบอร์ดชิปเซ็ตซีรี่ย์ 500 ขึ้นไป ได้แก่ X570 และ B550 เท่านั้น ทำให้ทาง AMD ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากอยู่พอสมควรในเรื่องนี้
การเปิดตัว Intel Core 10th Gen สำหรับเดสก์ท็อปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ผู้ขายพีซีเกมเมอร์รายยี่ห้อ ทยอยเปิดตัวเกมมิ่งเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ๆ ตามกันมา
แบรนด์ที่น่าสนใจคือ HP Omen ที่เปิดตัวเดสก์ท็อปดีไซน์ใหม่มา 2 ขนาดคือ Omen 25L และ Omen 30L (ตั้งชื่อรุ่นตามความจุเป็นลิตรในตัวทาวเวอร์)
จุดเด่นของเครื่องรุ่นนี้คือ
จุดเด่นอีกประการของซีพียูฝั่ง AMD คือการใช้ซ็อคเก็ต AM4 มาต่อเนื่องยาวนาน (อยู่มาตั้งแต่สถาปัตยกรรม Excavator ที่ออกในปี 2015) ล่าสุด AMD ออกมาการันตีว่า Ryzen รุ่นหน้าที่จะใช้สถาปัตยกรรม Zen 3 (น่าจะนับเป็น Ryzen ซีรีส์ 4000 บนเดสก์ท็อป) ก็จะยังใช้ AM4 ต่อไป
แต่ถึงแม้ตัวซ็อคเก็ตยังเป็น AM4 เหมือนเดิม แต่ Ryzen แกน Zen 3 จะต้องใช้กับชิปเซ็ตรุ่นใหม่คือ X570 และ B550 เท่านั้น (เท่ากับว่ามีบอร์ดเก่ากว่านั้นก็ต้องเปลี่ยนบอร์ดอยู่ดี ส่วนคนที่มีบอร์ด X570/B550 อยู่แล้วต้องอัพเดต BIOS)
AMD ระบุว่าไม่มีแผนรองรับ Ryzen แกน Zen 3 กับชิปเซ็ตที่เก่ากว่าซีรีส์ 500 ลงไป ด้วยเหตุผลว่าชิปหน่วยความจำแฟลชที่เก็บข้อมูล BIOS มีพื้นที่จำกัด และไม่สามารถหาพื้นที่มาใช้เก็บค่าคอนฟิกเหล่านี้ได้
เราเห็นตัวเข้ารหัส/ถอดรหัสวิดีโอแบบใหม่ AV1 เปิดตัวในช่วงต้นปี 2018 โดยชูจุดเด่นเรื่องการบีบอัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม 30% และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็มีบริการวิดีโอออนไลน์ดังๆ หลายราย เช่น Netflix, YouTube, Facebook ทยอยใช้งาน AV1 กับวิดีโอของตัวเอง
ปกติแล้วคนที่ใช้จีพียูอินเทล จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เวอร์ชันของ OEM (ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กหรือผู้ผลิตบอร์ด) ด้วยเหตุผลเรื่องการคอนฟิกและปรับแต่งให้เข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ทั้งระบบ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ OEM มักไม่ค่อยขยันอัพเดตไดรเวอร์จีพียูสักเท่าไรนัก
ล่าสุด อินเทลแก้ปัญหานี้ด้วยการเปิดอัพเดตไดรเวอร์ตรง (generic driver) ผู้ที่อยากได้ไดรเวอร์จีพียูอินเทลเวอร์ชันล่าสุด สามารถดาวน์โหลดได้จาก หน้าเว็บของอินเทล โดยตรง (รองรับซีพียูอินเทล 6th Gen ขึ้นไป และต้องเป็น Windows 10 v1709 ขึ้นไป)
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดของ Xbox Series X คือการดีไซน์ฮาร์ดแวร์คอนโซลใหม่เป็นแนวตั้ง ด้วยเหตุผลเรื่องการระบายความร้อนเป็นสำคัญ
เรื่องนี้ Chris Kujawski หัวหน้าทีมออกแบบฮาร์ดแวร์ของ Xbox ให้สัมภาษณ์กับเซคชั่น Digital Foundry ในเครือ Eurogamer ไว้ค่อนข้างละเอียดเมื่อต้นเดือนนี้
แนวทางออกแบบของ Xbox Series X ชัดเจนว่าทุกอย่างพัฒนาขึ้นบนหลักการว่า จีพียูต้องแรงขึ้น 2 เท่าเป็น 12 teraflops โดยที่รักษาระดับเสียงดังเท่ากับ Xbox One X ให้ได้ เมื่อเจอข้อจำกัดขนาดนี้ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือดีไซน์ของตัวคอนโซลจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง
มีคลิป Xbox One X ลายพิเศษ Cyberpunk 2077 Limited Edition ออกมาก่อนกำหนด ฮาร์ดแวร์รุ่นนี้ตกแต่งด้วยโทนสีเหลืองตามเกม Cyberpunk 2077 พร้อมตัวหนังสือ "No Future" ที่จะมองเห็นในที่มืดเท่านั้น ตัวคอนโทรลเลอร์ยังใช้โทนสีขาวดำให้เข้าชุดกันด้วย
Xbox One X Cyberpunk 2077 Limited Edition จะวางขายช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ก่อนเกม Cyberpunk 2077 ที่จะวางขาย 17 กันยายน เป็นเวลานาน 3 เดือน ตัวเครื่องจะแถมเกม Cyberpunk 2077 แบบดิจิทัลมาให้ดาวน์โหลดเมื่อเกมออกด้วย
ตอนนี้เรารู้สเปกของ Xbox Series X อย่างละเอียดกันแล้ว ข้อมูลสำคัญที่เหลืออยู่คงมีแค่วันวางขายและราคา
เว็บเกม IGN ลองประเมินต้นทุนฮาร์ดแวร์ของ Xbox Series X จากชิ้นส่วนที่เปิดเผยออกมา เทียบเคียงกับราคาฮาร์ดแวร์ใกล้เคียงกันในตลาด พบว่าต้นทุนโดยรวมพุ่งทะลุเกิน 1,000 ดอลลาร์ไปแล้ว (แค่ซีพียูราว 300 ดอลลาร์, จีพียู 400 ดอลลาร์ ยังไม่รวมค่าเมนบอร์ด พาวเวอร์ซัพพลาย และชิ้นส่วนอื่นๆ)
IGN ระบุว่าไมโครซอฟท์สั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ย่อมได้ราคาต้นทุนถูกกว่า และการใช้ชิ้นส่วนคัสตอมก็ช่วยลดต้นทุนของสิ่งที่ไม่จำเป็นไปได้มาก แต่จากต้นทุนที่แพงขนาดนี้ การตั้งราคาที่ 600 ดอลลาร์ก็เริ่มเป็นไปได้แล้ว ถือว่าท้าทายเมื่อกำแพงราคาของคอนโซลอยู่ที่ 399-499 ดอลลาร์เท่านั้น (คอนโซลที่เปิดตัวแพงที่สุดคือ PS3 ที่ 599 ดอลลาร์)
หลังจากทยอยปล่อยข้อมูลตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยมานาน ในที่สุดไมโครซอฟท์เผยสเปกละเอียดของ Xbox Series X อย่างเป็นทางการ
เว็บไซต์ iFixit แกะเครื่อง Galaxy S20 Ultra โดยให้คะแนนความซ่อมง่ายที่ 3/10 (ยิ่งเยอะยิ่งดี) จากปัจจัยว่าหน้าจอ แบตเตอรี่ ถูกติดกาวเอาไว้
แต่ประเด็นที่น่าสนใจกว่าคือการแกะ Galaxy S20 Ultra ทำให้เรามีโอกาสได้เห็นโมดูลกล้องแบบชัดๆ ทั้งกล้องเซ็นเซอร์ 108MP ที่ขนาดใหญ่กว่าของเดิมมาก (iFixit เทียบขนาดกับเซ็นเซอร์ของ iPhone 11 Pro พบว่าใหญ่กว่ากันประมาณเท่าตัว) และกล้องซูม 10x ที่วางกระจกเลนส์แนวนอน (periscope) แถมเลนส์สามารถสไลด์ไปมาตามระดับการซูมได้ด้วย (ดูคลิปประกอบ นาทีประมาณ 2:00)
MediaTek เปิดตัวชิป Helio P95 รุ่นต่อของ Helio P90 ที่ออกช่วงต้นปี 2019 โดยเน้นจับตลาดมือถือเกรดพรีเมียมของปี 2020 ที่ยังเป็น 4G อย่างเดียวอยู่ (สำหรับมือถือ 5G มี MediaTek Dimensity ซีรีส์ใหม่ ออกมารอแล้ว)
สเปกของ Helio P95