ทิศทางของเทคโนโลยีไมโครชิปยุคต่อไปนั้นค่อนข้างแน่ว่าเทคโนโลยีด้านออปติคอลจะเข้ามามีผลมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ทุกวันนี้เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการส่งข้อมูลความเร็วสูงกันได้แล้ว แต่เรายังมีข้อจำกัดที่ต้องแปลงสัญญาณโฟตอนเหล่านั้นมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อจัดเก็บและประมวลผลในชิปแบบดั้งเดิม
แต่ตอนนี้อนาคตอาจจะเข้าใกล้เรามากขึ้น เมื่อนักวิจัยที่ไอบีเอ็มสามารถสร้างชิปเพื่อ "หน่วง" สัญญาณโฟตอนไว้ในไมโครชิปได้เป็นเวลา 0.5 นาโนวินาที โดยก่อนหน้านี้การหน่วงสัญญาณต้องใช้สายไฟเบอร์ออปติกที่มีขนาดใหญ่และราคาแพง การสร้างไมโครชิปเพื่อทำหน้าที่นี้ทำให้เราสามารถกักเก็บสัญญาณโฟตอนไว้ได้ในอุปกรณ์ราคาถูก
การ์ดเมมโมรีทุกวันนี้ที่เราใช้งานกันอยู่ล้วนอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยี NAND Flash ทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมาเทคโนโลยีนี้ก็ทำหน้าที่ของมันได้เป็นอย่างดี ด้วยราคาที่ถูกมากและอายุการใช้งานที่ยาวนานพอ แต่ข้อจำกัดด้านความเร็วอาจจะทำให้หลายๆ คนต้องบ่นๆ กันอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยี NAND Flash นี้มีข้อจำกัดด้านความเร็วโดยเฉพาะความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่มาก
แต่เมื่อวานนี้ทางไอบีเอ็มก็ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาหน่วยความจำด้วยเทคโนโลยี PCM (Phase-Change Memory) ที่ทางไอบีเอ็มระบุว่ามีความเร็วกว่า NAND Flash ถึงห้าร้อยเท่าตัว เพียงพอที่จะใช้แทนที่หน่วยความจำปรกติได้ และยังใช้พลังงานเพียงครึ่งเดียวของ NAND Flash
เริ่มที่ข่าวแรก สำหรับแฟนๆ ORM ตอนนี้ Hibernate ORM ชื่อดังออกเวอร์ชั่นใหม่ออกมาแล้วครับ ซึ่งเวอร์ชั่นนี้ผ่าน certified JPA(Java Persistence API) ด้วยครับ
และข่าวถัดไปสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่ต้องสร้างหน้ารายงานด้วย Java คงจะคุ้นเคยกับ iReport ดี แต่ตอนนี้เจ้าของบัลลังค์อย่าง Crystal Reports ได้ออก Crystal Reports for Eclipse Professional มาแล้วครับ ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ เวบของ BusinessObject สนนราคาอยู่ที่ $495 ต่อ 1 Server ครับ
กระแส Web 2.0 และ Social Network เริ่มกระจายจากตลาด consumer สู่โลกธุรกิจ เมื่อ IBM ประกาศว่ากำลังทดสอบแนวคิดเหล่านี้ และมีแผนจะเอาไปรวมกับ Lotus Notes ในอนาคต
ไม่รู้ว่าหมดโลกไปรึยัง แต่แบตเตอรี่ที่ผลิตโดยโซนี่ก็ถูกเลโนโวประกาศเรียกคืนไปแล้วกว่าห้าแสนชุด โดนหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นชุดนั้นอยู่ในอเมริกา และอีกกว่าสองเท่าทั่วโลก แบตเตอรี่ที่ถูกเรียกคืนนี้ถูกติดตั้งลงในโน้ตบุ๊กที่ผลิตในช่วงกุมภาพันธ์ปีนี้เป็นต้นมา รุ่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ R Series (R51e, R52, R60, R60e), T Series (T43, T43p, T60), และ X Series (X60, X60s) นอกจากนี้ผู้ซื้อที่สั่งซื้อแบตเตอรี่ก้อนที่สองในสายการผลิต T4x และ R5x ทั้งหมดควรเข้าไปตรวจสอบหมายเลขแบตเตอรี่ให้ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
มหกรรมโน้ตบุ๊คระเบิดเริ่มต้นขึ้นแล้ว คราวนี้เป็นคิวของ Thinkpad และที่พิเศษคือเป็น Thinkpad ของคนดังอย่าง Alan Cox
ถ้าใครไม่รู้จัก Alan Cox เป็นโปรแกรมเมอร์หลักของเคอร์เนลลินุกซ์รองจากตัว Linus สำคัญขนาดมีเวอร์ชันเคอร์เนลเป็นของตัวเอง (จะมี -ac ตามหลังเลขเวอร์ชัน เช่น 2.4.13-ac1)
Thinkpad รุ่นที่ระเบิดเป็น IBM Thinkpad 600 ที่ใช้แบตสั่งซื้อจาก eBay (ยังไม่ชัวร์ว่าเป็นแบตแท้หรือเปล่า) เข้าไปดูรูปซากเครื่องและคำบรรยายได้จากบล็อกของแฟน Alan Cox ตามลิงก์
ที่มา - After the thinkpad exploded
Blognone เคยลงข่าว SmackBook ซึ่งใช้ประโยชน์จาก Motion Sensor ใน MacBook Pro ทำให้เราตบเครื่องเพื่อสลับหน้าจอได้
ตอนนี้มีคนทำ SmackPad โปรแกรมแบบเดียวกันสำหรับ ThinkPad ซึ่งมี Motion Sensor หรือที่ไอบีเอ็มเรียกว่า Active Protection System มาให้แล้ว (แต่ต้องรันบนลินุกซ์นะครับ) ใครใช้ Thinkpad อยู่ก็ลองเอามาลงเล่นกันได้ ถ่ายวิดีโอมาให้ดูด้วยจะลงหน้าหนึ่งให้อาทิตย์นึงเลย
หลังจากเกิดปัญหาแบตระเบิดและการเรียกคืนแบตเตอรี่ล็อตใหญ่ของโน้ตบุ๊คหลายค่าย ทางผู้ผลิตโน้ตบุ๊คจึงจัดการประชุมเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยทางออกคือกำหนดมาตรฐานของแบตโน้ตบุ๊คแบบ Lithium-ion ใหม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จภายในไตรมาสที่สองของปี 2007 นอกจากประโยชน์ด้านความปลอดภัยแล้ว ข้อดีของแบตมาตรฐานคือช่วยลดราคาในการผลิตลง เนื่องจากไม่ต้องลงทุนในการออกแบบแบตทุกครั้งที่ออกโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่
ผู้ร่วมประชุมมี Dell, HP, Lenovo, Polycom Inc. แอปเปิลตอนแรกบอกจะมาแต่สุดท้ายไม่โผล่ ส่วน Sony เจ้าของแบตเจ้าปัญหานั้นไม่ได้รับเชิญเข้าประชุมนี้
ต่อเนื่องกันมาทีละเจ้าจนจะครบวง ล่าสุด ThinkPad (ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็น IBM หรือ Lenovo) ก็ไประเบิดเอากลางสนามบินลอส แองเจลลิสโชว์ผู้โดยสารและพนักงานจำนวนมาก
งานนี้เจ้าของเครื่องระบุว่าเครื่องของเขานั้น ไม่ได้อยู่ในรายการที่ต้องส่งแบตเตอรี่คืนบริษัทแต่อย่างใด แน่นอนว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเรายังไม่เห็น ThinkPad โดนเรียกกลับบริษัทกันแต่อย่างใด
ข่าวที่ต่อเนื่องอย่างนี้ เชื่อได้เลยว่าในไม่กี่เดือนข้างหน้า จะมีมาตรการห้ามนำโน้ตบุ๊กขึ้นเครื่องบินในทุกสายการบินแน่นอน
บ้านเรามีข่าวแบตมือถือระเบิดกันไปพักนึง ตอนนี้เงียบไปแล้ว ใครพอรู้บ้างว่าเรื่องมันไปถึงไหนกันบ้าง?
IBM ประกาศว่าได้ส่งชิปประมวลผลรหัส "Broadway" ล็อทแรกให้กับนินเทนโดแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่านินเทนโดมีโอกาสผลิตและวางจำหน่าย Wii ได้ทันช่วงคริสต์มาสแน่นอน
ศึกชิงความเป็นสุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลกเริ่มเข้มข้นแล้ว ผมเคยเขียนข่าว ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 1 petaFLOPS จากฝั่งญี่ปุ่นไป ตอนนี้ฝั่งอเมริกาก็อยู่เฉยไม่ได้แล้ว
คอมตัวใหม่จะอยู่ที่แล็บหน้าเก่าอย่าง Los Alamos National Laboratory (คำนวณเกี่ยวกับนิวเคลียร์) มีชื่อเล่นว่า "Roadrunner" จะทำงานที่ความเร็วมากกว่า petaFLOPS เช่นกัน ผู้ที่ชนะการประมูลโครงการนี้คือ IBM และที่น่าสนใจคือมันเป็นคอมพิวเตอร์ลูกผสมระหว่าง Opteron และ Cell
สำหรับผู้ใช้ Eclipse และต้องการใช้ระบบควบคุมเวอร์ชั่นของ Microsoft Visual Studio 2005 Team Foundation Server ตอนนี้มีปลั๊กอิน Teamprise Client Suite ออกมารองรับแ้ล้วครับ
ที่มาของปลั๊กอินตัวนีืก็คือปัจจุบันหลายๆ บริษัทนั้นมีทั้งพัฒนาด้วย .NET และ Java กันทั้งคู่ จึงทำปลั้๊กอินนี้ออกมาขาย เพื่อที่จะใช้ Team Foundation Server จัดการตัวเดียวเลย ไม่ต้องแยกระบบกัน โดยเขียนปลั๊กอินด้วย Java(ใช้ SWT) สนับสนุน Eclipse 3.0 และ 3.1 สนนราคาอยู่ที่ $499 ต่อ 1 ผู้ใช้ครับ
IBM เตรียมเปิดตัว Lotus Notes 7.0.1 เวอร์ชันสำหรับลินุกซ์ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ Notes เวอร์ชันลินุกซ์ใช้พื้นฐานจาก Eclipse Framework เป็นหลัก โดยมีราคาเท่ากับตัวบนวินโดวส์หรือแมคอินทอช ผู้ใช้ Notes เดิมสามารถเปลี่ยนมาใช้เวอร์ชันบนลินุกซ์ได้ฟรี แถม Notes เวอร์ชันนี้สนับสนุน OpenDocument มาในตัวอีกด้วย
จริงๆ IBM ตั้งใจจะเปิดตัว Notes รุ่นสำหรับลินุกซ์ในเวอร์ชันหน้าที่มีโค้ดเนมว่า "Hanover" แต่เนื่องจากมีลูกค้าเรียกร้องเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงตัดสินใจออกในรุ่น 7.0.1 แทน
ที่มา - ZDNet
ช่วงหลังเราเริ่มได้เห็นบริษัทใหญ่ๆ มาเอาใจแฮกเกอร์ที่นิยมภาษาใหม่ๆ กันเยอะ โดยเฉพาะไมโครซอฟท์ที่เอาทั้ง Python และ Ruby กันเลย เพียงแต่ต้องไปคอมไพล์บน .NET หรือก่อนหน้านี้ที่ทางออราเคิลที่รองรับภาษา PHP วันนี้ก็ถึงตาของ Ruby on Rails กับ IBM DB2 บ้าง โดยงานนี้คิดกันไม่ยากว่าไอบีเอ็มหวังจะโหนกระแส Ruby on Rails เพื่อขาย DB2 แต่ก็มองในแง่ดีกว่าอนาคตเราอาจจะมีทางเลือกอื่นๆ นอกจากจาวามาใช้กันในโลกธุรกิจกันมากขึ้น
อย่าอ่านผิดแบบผมตอนแรกนะครับ อันนี้ 500GHz ไม่ใช่ 500MHz
IBM จับมือกับมหาวิทยาลัย Georgia Tech ร่วมกันสร้างชิปสุดยอดความเร็ว โดยมันสามารถทำงานที่อุณหภูมิห้องได้ 350GHz และเมื่อลดอุณหภูมิลงไปที่ -451 องศาฟาห์เรนไฮต์ จะขึ้นไปถึง 500 GHz (ศูนย์องศาสัมบูรณ์ = -459F)
ชิปต้นแบบนี้ทำด้วยซิลิคอนผสมเจอรมาเนียม เรียกว่าชิปแบบ SiGe ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นโดยกินไฟน้อยลง เพียงแต่จะมีราคาแพง ปัจจุบัน IBM วางขายชิป SiGe ในบางตลาด และอินเทลก็ผสมลงไปนิดหน่อยในชิปปกติเหมือนกัน
เมื่อตอนต้นปี บิล เกตส์ให้สัมภาษณ์ว่า "ไอบีเอ็มน่ากลัวกว่ากูเกิล" (ข่าวเก่า) แต่สตีฟ บอลเมอร์ CEO และหมายเลขสองของไมโครซอฟท์กลับมองว่า กูเกิลและลินุกซ์น่ากลัวกว่าไอบีเอ็ม
บอลเมอร์บอกว่าคู่แข่งที่น่ากลัวคือลินุกซ์และกูเกิล ซึ่งเสนอรูปแบบในการทำธุรกิจแบบใหม่ (โอเพนซอร์สกับการโฆษณา) แต่ก็สรุปได้แบบสวยหรูว่า คู่แข่งที่น่ากลัวกว่าคือไมโครซอฟท์เองจะมีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจใหม่เหล่านี้ได้ขนาดไหนต่างหาก
หลังจากวางตลาดมาก่อนเพื่อน ก็มีข่าวว่า XBox360 กำลังจะถูกอัพเกรดในช่วงต้นปีหน้ากันแล้ว โดยข่าวนี้ออกมาจาก Chartered Semiconductor หนึ่งในผู้ผลิตชิปให้กับเครื่อง XBox ทุกวันนี้ (อีกรายคือ IBM เจ้าของเทคโนโลยีเอง)
ชิปรุ่นใหม่จะถูกผลิตด้วยเทคโนโลยี 65 นาโนเมตร แทนที่เทคโนโลยี 90 นาโนเมตรในปัจจุบัน ซึ่งชิปรุ่นปัจจุบันมีปัญหากับความร้อนค่อนข้างมาก ทำให้ความเสถียรของเครื่องอยู่ในระดับที่แย่เอาทีเดียว
ออกเวอร์ชั่นใหม่กันมาแล้วสำหรับ WebSphere Application Server Community Edition ซึ่งมีรากฐานมาจาก Apache Geronimo ซึ่งเข้ากันได้กับ J2EE 1.4 เ็ป็นอย่างดี ดูความสามารถใหม่ๆได้ที่ Key Features ครับ (ดูแล้วน้อยจริงๆ) และดาวน์โหลดได้ที่
ตอนนี้กระแส Dual Core หรือว่า CPU ที่มีหน่วยประมวลผลย่อยสองตัวบนชิปเดียวกัน หรือว่า Cell Processor ที่มีหน่วยประมวลผลย่อยหลาย ๆ ตัว บนชิปเดียวกัน กำลังได้รับการพูดถึงและได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้ได้ใช้กันแล้ว แต่ IBM ก็ได้ก้าวล้ำหน้าไปอีก้าวหนึ่ง โดยการประกาศแผนการพัฒนา CPU ที่ชื่อว่า Kilocore1025 ซึ่งมึหน่วยประมาลผลย่อย 1025 ตัว
ระบบไฟล์ซิสเต็มดูจะหยุดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดมานาน (ที่น่าตื่นเต้นหน่อยในช่วงหลังคือ ZFS ของ Solaris) และไฟล์ซิสเต็มส่วนมาก ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดี่ยว
IBM กับห้องวิจัย Lawrence Livermore National Laboratory ได้โชว์ผลการทดสอบไฟล์ซิสเต็มตัวใหม่ GPFS (General Parallel File System) ซึ่งไอบีเอ็มสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2001 อ่านชื่อดูแล้วก็น่าจะรู้ว่าเป็นไฟล์ซิสเต็มสำหรับระบบคลัสเตอร์ โดยมันสามารถทำสถิติความเร็วในการอ่าน/เขียนไฟล์หนึ่งไฟล์ได้ถึง 102 GB ต่อวินาที
นาย Andreas Pleschek open source and Linux technical sales ที่ดูแลยุโรปตะวันออก จากไอบีเอ็มประเทศเยอรมันนี ประกาศในงาน LinuxForum 2006 ครับ
เค้าบอกว่า
"ไอบีเอ็มจะยกเลิกสัญญากับไมโครซอฟท์สำหรับเครื่อง desktop ของพนักงานไอบีเอ็มเอง ในเดือนตุลาคมปีนี้ซึ่งหมายความว่า ไอบีเอ็มจะไม่เปลี่ยนเป็น Vista สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะของตนเอง ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเป็นต้นไป(version อื่นๆยังใช้ต่อไปนะ) และพนักงานไอบีเอ็มจะเปลี่ยนไปใช้ IBM Workplace ซึ่งเป็น Red Hat-based แทน"
มีคำถามตามมาว่าเฉพาะไอบีเอ็มเยอรมันนีหรือว่าทั่วโลก
กระแส AJAX กำลังมาแรง ฝั่งไอบีเอ็มก็ส่ง AJAX Toolkit Framework ซึ่งส่วนหนึ่งของ Emerging Technologies Toolkit (ETTK) ที่ไอบีเอ็มกำลังสนับสนุน ตัวอื่นในซีรีย์ ETTK ก็มีพวก RFID เป็นต้น
ถ้าใครได้ติดตามข่าวไอทีมานานๆ คงจะจำกันได้ว่าล็อกอินที่เราใช้กับ MSN Messenger ทุกวันนี้ มันไม่ได้เป็นเพียงแอคเคาน์ที่ไว้ใช้คุยกันเท่านั้น แต่ไมโครซอฟท์เคยหวังให้มันเป็นโปรโตคอลกลางในการล็อกอินทุกระบบ
มาในวันนี้ความพยายามที่เคยล้มเหลวไปแล้วของไมโครซอฟท์ก็คืนร่างมาอีกครั้ง ด้วยการประกาศเทคโนโลยี InfoCard ที่จะมาพร้อมในวินโดวส์วิสต้าทุกเครื่อง (เหมือนคราวที่แล้ว) แต่ครั้งนี้ไมโครซอฟท์มามาดใหม่ด้วยการเปิดให้มีผู้ให้บริการรายอื่นๆ นอกจากไมโครซอฟท์ได้ เหมือนอย่างมาตรฐานเปิดอื่นๆ เช่น OpenID
ขณะที่เรากำลังจะได้เห็นเทคโนโลยี 65 นาโนเมตรกันในไม่ช้านี้ ไอบีเอ็มก็ประกาศความสำเร็จในการผลิตชิปที่ความละเอียดขนาด 29.9 นาโนเมตรแล้ว โดยการผลิตที่ความละเอียดขนาดนี้ได้ ก็ด้วยเทคนิคการฉายแสงในน้ำ โดยแผ่นซิลิกอนจะถูกฉายแสงลายวงจรผ่านทางแผ่นน้ำบริสุทธิบางๆ
เทคโนโลยีที่เล็กลง จะทำให้ต้นทุนการผลิตชิปในระยะยาวลดลง และกินพลังงานต่ำลง ถ้าเราไปถึง 30 นาโนเมตรได้ ความฝันของแลปทอปที่ใช้งานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน
ถึงแม้เราจะอยู่ในยุคที่คนเลิกสนใจตัวเลขสัญญาณนาฬิกาบ้าคลั่งแบบแต่ก่อน แต่ไอบีเอ็มบอกว่า เราจะทำทั้งสองทางไปพร้อมๆ กัน ทั้งมัลติคอร์และเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาเลย ว่าแล้วก็เปิดเผยว่าซีพียู Power6 ตัวใหม่จะทำงานระหว่าง 4-5GHz และไปได้สูงถึง 6GHz ในห้องทดลอง
ไอบีเอ็มยังบอกว่ามันมีประสิทธิภาพเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับซีพียูเซิร์ฟเวอร์ของอินเทลและเอเอ็มดีในปัจจุบัน
ปัญหาของไอบีเอ็มคงไม่ใช่เรื่องประสิทธิภาพ แต่เป็นเวลาที่สามารถส่งชิปออกสู่ตลาดได้จริงๆ ต่างหาก โดย Power6 นี้ห่างจาก Power5 ค่อนข้างมาก และน่าจะออกได้อย่างเร็วก็กลางปี 2007