ทิศทางของซอฟต์แวร์องค์กรที่อยู่บนเว็บนั้นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเว็บรายใหญ่อย่าง Google Apps, ราชาอย่างไมโครซอฟท์ที่ดัน Office 365 และรายล่าสุดก่อนหน้านี้คือ Cloud Office จากออราเคิล
IBM ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดซอฟต์แวร์องค์กรไม่น้อย โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ตระกูล Lotus ก็เริ่มขยับขยายมาบุกตลาดนี้เช่นกัน ก่อนหน้านี้ IBM มีแบรนด์ LotusLive สำหรับซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆอยู่แล้ว คราวนี้จึงนำ Lotus Symphony ชุดโปรแกรมสำนักงานของตัวเอง (พัฒนาจาก OpenOffice.org อีกที) ขึ้นมาอยู่บนกลุ่มเมฆเช่นกัน
บริษัทที่เราคุ้นเคยกันมานานอย่างไมโครซอฟท์ แอปเปิล ออราเคิล มีอายุประมาณ 30 กว่าปีเท่านั้น ส่วนบริษัทที่เก่ากว่านั้นก็ล้มหายตายจากกันไปมาก
แต่บริษัทที่อยู่ยั้งยืนยงในโลกคอมพิวเตอร์มานาน ไม่มีใครโดดเด่นไปกว่า "ตำนาน" อย่าง IBM ซึ่งจะฉลองครบรอบ 100 ปีของบริษัทในปีนี้
IBM เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1911 ในชื่อ Computing Tabulating Recording Corporation (CTR) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น International Business Machine ในปี 1924 ภายใต้ยุคทองของ Thomas J. Watson
คนแถวนี้คงคุ้นกับข่าวการแข่งขันหมากรุกระหว่างคอมพิวเตอร์ Deep Blue ของ IBM กับแชมป์โลก Garry Kasparov ในปี 1997 ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของ Deep Blue
ข้ามเวลามาอีกสิบกว่าปี IBM กำลังจะแข่งในลักษณะเดียวกัน โดยส่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson (ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งบริษัท Thomas J. Watson) แข่งเกมโชว์ตอบคำถามความรู้รอบตัว Jeopardy! กับแชมป์ตลอดกาลของรายการนี้ 2 คน
นักวิจัยของ IBM ระบุไว้ในรายงานพยากรณ์ประจำปี "IBM Next Five in Five" ฉบับที่ 5 ว่าอีกห้าปีข้างหน้า บริษัทผู้ผลิตมือถือจะมีเทคโนโลยีต้นแบบในการสร้างภาพฮอโลแกรมสามมิติ (3D Hologram) ขนาดเท่าของจริงฉายตกกระทบวัตถุชนิดใดก็ได้
เทคโนโลยีนี้อาจประยุกต์ใช้กับการสร้างภาพเสมือนจริงของคู่สนทนา เพื่อเพิ่มความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด คุณอาจจะเดินไปที่ฝาผนังบ้านขณะสนทนากับแล้วเอามือแตะบ่าเพื่อนของคุณได้ (ในร่างของฮอโลแกรม) หรือใช้กับการวิเคราะห์แก้ปัญหาทางไกล เช่น ช่างซ่อมบำรุงโทรมาขอคำปรึกษาเรื่องวิธีแก้ปัญหาเครื่องยนต์ คุณก็สามารถให้เขาส่งสัญญาณเพื่อฉายภาพฮอโลแกรมใหญ่ๆ ของเครื่องยนต์ แล้วคุณก็เดินเข้าไปสำรวจข้างในเพื่อหาจุดที่เสียด้วยตา แทนที่จะเปิดหนังสือคู่มือแล้วคลำหาสาเหตุอย่างยากลำบาก
ยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ได้สอบถามความเห็นจากนักวิจัยของตัวเอง 3,000 คนว่าเทคโนโลยีอะไรบ้างที่มีโอกาสเป็นจริงได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า คำตอบ 5 อันดับแรกได้แก่ (ไม่เรียงลำดับ)
IBM ใกล้ถึงฝั่งฝันในการนำเทคโนโลยีเพิ่มความจุเก็บข้อมูลที่มีชื่อว่า "Racetrack Memory" จากห้องทดลองออกสู่ตลาดแล้ว เทคโนโลยีนี้น่าจะช่วยให้สมาร์ทโฟนของพวกเราเก็บภาพยนตร์ของฮอลีวู้ดที่ออกฉายตลอดทั้งปีได้ครบทุกเรื่องทีเดียว
Racetrack เป็นเทคโนโลยีที่ Stuart Parkin หัวหน้านักวิจัยของ IBM นำทีมพัฒนาตั้งแต่ปี 2004 และมีหลักการทำงานต่างจากฮาร์ดดิสก์ที่ใช้มอเตอร์เคลื่อนจานแม่เหล็ก (ที่เต็มไปด้วยอะตอมประจุบวกลบหมุนไปรอบแกน) ตรงที่ Racetrack จะใช้กระแสไฟฟ้าขับเคลื่อนกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่เรียกว่า "magnetic domain wall" ขึ้นลงๆ บนเส้นลวดที่เล็กมากแทน หรืออีกนัยคือเป็นคลื่นแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่อาศัยการย้ายอะตอมเลย
ไอบีเอ็มเข้าซื้อบริษัท Netezza ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านคลังข้อมูล (data warehouse) และการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (business analytics) หลังจากประกาศการเข้าซื้อครั้งนี้ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา วันนี้ก็การซื้อขายก็สิ้นสุดลง
Netezza เป็นบริษัทที่มีสินค้าทับซ้อนกับไอบีเอ็มค่อนข้างมาก โดยสินค้าหลักของบริษัทคือแอพพลิแลนซ์ (appliance) สำหรับการทำคลังข้อมูลที่มีราคาถูกกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ ขณะที่มันรองรับการขยายตัวของระบบได้ดี
ไอบีเอ็มระบุว่าบริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับเทคโนโลยีที่ได้รับมานี้ โดยอาจจะเป็นไปได้ทั้งการออกแอพพลิแลนซ์รุ่นใหม่ภายใต้แบรนด์ไอบีเอ็มเอง หรือนำซอฟต์แวร์ออกมารวมกับชุดซอฟต์แวร์อื่นๆ ของไอบีเอ็มเอง
ข่าวเครื่อง x86 บุกยูนิกซ์และเครื่องเมนเฟรมนั้นมีอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย แต่ทาง eWEEK ก็ไปสัมภาษณ์ Tom Rosamilia ผู้จัดการฝ่าย Power (ซีพียู) และ System z (เซิร์ฟเวอร์) ถึงสถานะการณ์ปัจจุบันจากมุมมองของไอบีเอ็ม
Rosamilia ระบุว่า System z นั้นยังคงแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่ผ่านมารายได้จาก System z ของไอบีเอ็มเติบโตขึ้นร้อยละ 15 ขณะที่พลังประมวลผลที่ส่งมอบให้ลูกค้าทั้งปีเติบโตขึ้นร้อยละ 54 โดยการเติบโตนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศที่เจริญแล้ว แต่ตลาดใหม่ๆ อย่างเกาหลี, นามิเบีย, และรัสเซีย ก็มีการติดตั้ง System z กันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
คนอย่างเราๆ อาจจะใช้งาน Google Analytics กันเป็นเรื่องปรกติจนชิน แต่กับองค์กรธุรกิจที่ต้องการวัดผลในรูปแบบเฉพาะและวิเคราะห์ทำรายงานในเชิงลึกแล้วก็เป็นจำต้องซื้อเครื่องมือมาใช้ในการวัดผล หนึ่งในนั้นคือ Cognos 10 ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
Cognos 10 จะมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลทั้งทวิตเตอร์, เฟชบุ๊ก, และบล็อกต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามเวลาจริงได้
ไอบีเอ็มลงทุนกับเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา เฉพาะการเข้าซื้อบริษัทต่างๆ ก็นับรวมได้ 24 บริษัท มูลค่า 14,000 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้ากลุ่มนี้สร้างรายได้ให้ไอบีเอ็ม 9,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2009 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 16,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2015
Lotus Symphony คือซอฟต์แวร์ของ IBM ที่พัฒนาต่อจาก OpenOffice.org แต่เขียนส่วนติดต่อผู้ใช้ของตัวเองขึ้นมาครอบแทน ตอนนี้มันออกรุ่น 3.0 แล้ว
Lotus Symphony 3 พัฒนาจาก OpenOffice.org 3.x จึงได้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ตามมาด้วย โดยเฉพาะความสามารถในการอ่านฟอร์แมตเอกสารเพิ่มมาอีกหลายแบบ รายการของใหม่ทั้งหมดอ่านได้จาก Release Notes
Lotus Symphony ประกอบด้วยโปรแกรม 3 ตัวในชุดคือ Documents, Presentations, Spreadsheets ทำงานได้บนวินโดวส์ แมค และลินุกซ์ ตัวนี้ไม่ใช่โอเพนซอร์สแต่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี
สินค้าด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กรไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก แต่ไอบีเอ็มกำลังวางตลาดซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยชุดใหม่โดยให้ลูกค้าเลือกซื้อเป็นบริการแทนที่จะเป็นการขายเครื่องมือไปเปล่า โดยบริการทั้งสามแบบคือ
เป็นเรื่องช็อควงการจาวาอีกครั้ง เพราะ IBM เปลี่ยนทิศทางแบบฉับพลัน ทิ้งโครงการ Apache Harmony ที่สนับสนุนมาตลอด หันไปจับมือกับ OpenJDK ภายใต้การดูแลของออราเคิลแทน
IBM นั้นมีปัญหากับซันในเรื่องทิศทางของจาวามานาน ในช่วงปี 2005-2006 ซึ่งซันถูกกดดันอย่างหนักให้โอเพนซอร์ส Sun JVM ทางบริษัทและองค์กรอื่นๆ ได้แยกกันไปสร้างจาวาเวอร์ชันโอเพนซอร์สกันเอง หนึ่งในนั้นก็คือ Apache Harmony ซึ่งมี IBM และอินเทลเป็นผู้สนับสนุนหลัก และภายหลังกูเกิลได้นำ Harmony ไปใช้ใน Dalvik ของ Android
โลกของซีพียูมาตันที่สัญญาณนาฬิกา 3GHz กว่าๆ กันอยู่นานจนเลิกตื่นเต้น ส่วนซีพียูต้นแบบที่ทำสัญญาณนาฬิกาได้สูงมากๆ ก็มักอยู่แต่ในห้องทดลองเสียเป็นส่วนใหญ่
แต่ IBM ได้เปิดตัวซีพียู 5.2GHz ที่ทำงานได้จริง ขายจริง จับต้องได้จริงแล้ว ชื่อของมันคือ z196 มันเป็นซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ zEnterprise ตัวซีพียูผลิตที่ 45 นาโนเมตร และใช้เทคโนโลยี embedded DRAM (eDRAM) ของ IBM ทำให้บีบพื้นที่การวางหน่วยความจำแคชได้มากขึ้น ตอนนี้ตำแหน่งซีพียูที่ทรงพลังที่สุดในโลกคงเป็นของ z196 แบบไม่ต้องสงสัย
ส่วนตัวเซิร์ฟเวอร์ zEnterprise 196 ประกอบด้วยซีพียู z196 จำนวน 96 ตัว IBM อ้างว่ามันช่วยให้ทำงานประมวลผลข้อมูลแบบหนักๆ ได้เร็วขึ้น 60% เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ System z10 ที่กินไฟเท่ากัน
หลังจากคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป จัดการปรับไมโครซอฟท์และอินเทลจนเป็นที่โด่งดังไปแล้ว คราวนี้คดีล่าสุดคือ IBM กับการผูกขาดตลาดเมนเฟรม
ผู้ฟ้องร้องคือบริษัท T3 Technologies ซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ Liberty สำหรับย้ายงานบนเมนเฟรมเก่า ไปรันบนเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ ซึ่งทาง T3 อ้างว่าถูก IBM กีดกันไม่ให้นำซอฟต์แวร์ของ T3 ไปใช้บนเมนเฟรมของ IBM
ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวเป็นเรื่องที่เราเห็นกันมานานแล้ว แต่คราวนี้ IBM มาแปลก สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ระบายความร้อนด้วย "น้ำร้อน"
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีชื่อว่า Aquasar ซึ่ง IBM สร้างร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งซูริค (ETH Zurich) ตัวฮาร์ดแวร์ไม่มีอะไรพิสดารเพราะใช้ BladeCenter รุ่นมาตรฐานของ IBM แต่ที่ไม่เหมือนใครคือระบบระบายความร้อน ซึ่งนำน้ำอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มาวิ่งผ่านซีพียูแต่ละตัว
หลักการทำงานคือซีพียูจะมีความร้อนสูงกว่า 60 องศาอยู่แล้ว (อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 85 องศา) น้ำร้อนที่วิ่งผ่านจะกลายเป็นน้ำร้อนกว่าเดิม (ประมาณ 65 องศา) และน้ำนี้จะนำไปผลิตความร้อนให้อาคารของ ETH Zurich
Bob Sutor รองประธานของยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศผ่านบล็อกของเขาว่า IBM ได้ประกาศนโยบายให้ Firefox เป็นเบราว์เซอร์หลักของบริษัทแล้ว
เหตุผลที่เลือก Firefox มีหลายอย่าง เช่น โอเพนซอร์ส รองรับมาตรฐานเว็บ ปลอดภัย ฯลฯ โดยคอมพิวเตอร์ใหม่ทุกเครื่องของ IBM จะลง Firefox มาให้ และ IBM จะส่งเสริมให้พนักงานทุกคนใช้ Firefox รวมถึงพาร์ทเนอร์ของ IBM ด้วย
IBM มีพนักงานทั่วโลกประมาณ 4 แสนคนครับ ถ้ามีพนักงานของ IBM ประเทศไทยอ่านอยู่ ช่วยยืนยันหน่อยว่าได้รับนโยบายนี้แล้วหรือยัง
ที่มา - Bob Sutor
หลังจากที่ผู้บริหารของ ARM เริ่มพูดถึงเซิร์ฟเวอร์เพียงสองสัปดาห์ ก็เริ่มมีข่าวว่าสองผู้ผลิตคือเดลล์และไอบีเอ็ม กำลังทดสอบและดูความเป็นไปได้ที่จะทำตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป ARM
สำหรับเดลล์, นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใจอะไรโดยก่อนหน้านี้เดลล์เคยทำตลาดเครื่อง Dell DCS ที่ผลิตให้กับศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งเป็นพิเศษ โดยศูนย์ข้อมูลนั้นใช้ซีพียู VIA Nano ถึงห้าพันชุด และในข่าวนี้เองทางเดลล์ก็ออกมาให้ข่าวว่าบริษัทได้ทดสอบการทำงานของชุดซอฟต์แวร์ LAMP บนชิป ARM Cortex A8 แล้ว และเตรียมจะทดสอบกับ Cortex A9 ที่ Marvell กำลังจะวางตลาด
หลังจากโชว์ศักยภาพของซีพียู POWER7 ตามงานวิชาการต่างๆ เมื่อปีกลาย ([HOT CHIPS] เปิดตัว Rainbow Falls จากซัน และ POWER7 จากไอบีเอ็ม, POWER7 พลังประมวลผลที่มากกว่า แต่ชิปขนาดเล็กลง) ตอนนี้ก็ได้เวลาที่ IBM จะเปิดตัว POWER7 อย่างเป็นทางการแล้ว
IBM โฆษณาว่า POWER7 มีประสิทธิภาพเหนือกว่า POWER6 เท่าตัว และรองรับการทำ virtualization ได้มากกว่าเดิม 4 เท่า ในขณะที่กินไฟน้อยลงครึ่งหนึ่ง เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ POWER7 รุ่นสูงสุดมี 8 คอร์ แต่ละคอร์มี 4 เธร็ด (thread) นอกจากฟีเจอร์ของซีพียูแล้ว ตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็ยังมีฟีเจอร์ระดับสูงอื่นๆ เพิ่มเข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง
Cell ที่เป็นซีพียูพลังสูงที่ถูกนำไปใช้ในเครื่องเล่นเกมอย่าง PS3 อาจจะกำลังหายไปจากตลาดเร็วกว่าที่คิด เมื่อ IBM ออกมายอมรับว่ามีการยกเลิกแผนการอัพเกรดสายการผลิตของ Cell
การยกเลิกแผนการอัพเกรดไม่ได้หมายความว่า IBM จะเลิกผลิต Cell ไปทีเดียว อย่างไรก็ตามข่าวนี้ทำให้ซีพียู Cell ตกอยู่ในความไม่แน่นอนอีกครั้ง และความเป็นไปได้ว่า Cell จะหายไปจากตลาดก็มีสูงขึ้น
Cell รุ่นต่อไปที่กำลังอยู่ในการพัฒนานั้นจะมีคอร์หลักเป็น Power เป็นสองคอร์ และมีหน่วยประมวลผล SPE อยู่ถึง 32 ชุด เทียบกับ Cell ใน PS3 ที่มี Power คอร์เดียว และ SPE อีก 8 ชุด (ใช้เลเซอร์ปิดการทำงานไปหนึ่งชุดเหลือ 7)
TOP500 ได้ประกาศผลการจัดอันดับระบบคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกครั้งที่ 34 อย่างเป็นทางการแล้ว โดยระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากบริษัทเครย์ในนามว่า Jaguar ส่งผลให้ Roadrunner จากไอบีเอ็มที่เคยเป็นแชมป์ติดต่อกันถึง 3 สมัยต้องตกไปเป็นที่สอง
สมรภูมิอีเมลองค์กรเริ่มระอุอีกครั้ง เมื่อ Google Apps เจ้าตลาดอีเมลองค์กรแบบที่ไม่ต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์เอง เจอคู่แข่งรายใหญ่ IBM เจ้าของ Lotus Notes ที่รุกข้ามมาจากตลาดอีเมลองค์กรแบบใช้เซิร์ฟเวอร์ภายในบริษัท
IBM ออกผลิตภัณฑ์ตระกูล LotusLive ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่าเป็น Lotus รุ่นที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ IBM และเก็บค่าใช้งานเป็นรายปี ส่วนผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดคือ LotusLive iNotes เป็นเว็บเมลลักษณะเดียวกับ Gmail รุ่น Google Apps
ไอบีเอ็มยุโรปได้เปิดตัวเสิร์ชเอนจิ้นใหม่ ชื่อโครงการว่า SAPIR (Search in Audio-Visual Content Using Peer-to-peer Information Retrieval) มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาภาพหรือวีดีโอที่เกี่ยวข้องกันบนอินเทอร์เน็ต
SAPIR จะใช้รูปภาพวีดีโอในการค้นหาข้อมูล โดยอัลกอริทึมจะค้นหาทุกภาพที่อัพโหลดขึ้นมา แล้วดึงองค์ประกอบของภาพ ทั้งชุดสี โครงสร้างสี เลย์เอาต์ของสี เส้นโครงสร้างของวัตถุในรูป แพตเทิร์นและพื้นผิว แทนที่จะเป็นคำอธิบายข้อมูล (metadata) หรือแท็กของรูปภาพเช่นเดียวกับเสิร์ชเอนจิ้นอื่นอย่าง กูเกิล, Bing, ยาฮู เป็นต้น
HOT CHIPS เป็นงานประชุมเกี่ยวกับไมโครโปรเซสเซอร์สมรรถนะสูง จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนสิงหาคมของทุกปีที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ภายในงานประชุมของปีนี้ ซันกับไอบีเอ็มถือโอกาสเปิดตัวโปรเซสเซอร์หน้าใหม่นั่นคือ Rainbow Falls จากซัน และ POWER7 จากไอบีเอ็ม
ซัน ไมโครซิสเต็มส์ เปิดเผยข้อมูลของ Rainbow Falls ซึ่งจะเป็นโปรเซสเซอร์รุ่นต่อไป (ถัดจาก UltraSPARC T2+) ว่า Rainbow Falls มาพร้อมกับซีพียูคอร์ทั้งหมด 16 คอร์ พร้อมสถาปัตยกรรม SMT ที่ทำให้แต่ละคอร์ประมวลผลชุดคำสั่งได้พร้อมกัน 8 เธรด ส่งผลให้ Rainbow Falls ประมวลผล 128 เธรดพร้อมๆกันได้
ข่าวการซื้อครั้งที่เงียบมากแต่มูลค่าถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นเรื่องช็อกโลกในวันนี้เมื่อทาง IBM ได้ประกาศความสำเร็จในการเจรจาเข้าซื้อบริษัท SPSS ซึ่งเป็นบริษัทขายซอฟต์แวร์สถิติระดับโลก
การเข้าซื้อนี้ไอบีเอ็มจะจ่ายค่าหุ้นในราคา 50 ดอลลาร์ต่อหุ้น ขณะที่ราคาปิดเมื่อวานนั้นอยู่ที่ 35 ดอลลาร์ ใครที่ซื้อหุ้น SPSS เมื่อวานนี้ก็กำไรกันไปร้อยละ 30 ในคืนเดียว ส่วนราคาหุ้นของไอบีเอ็มนั้นตกลงเล็กน้อย
ซอฟต์แวร์ SPSS จะเข้าไปอยู่เป็นสินค้าตัวหนึ่งในตระกูล Information On Demand ของ IBM ต่อไป