Gartner ได้รายงานยอดขายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของไตรมาสแรกประจำปี 2008 ตลาดรวมมีขนาดโตขึ้น 7.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2007 ยอดขายรวมคิดเป็นมูลค่า 13.6 พันล้านเหรียญ เซิร์ฟเวอร์ถูกขายออกไป 2.3 ล้านเครื่อง
ที่น่าสนใจคือ HP พลิกจากเบอร์สองขึ้นมาแซง IBM ได้สำเร็จ โดย HP มีส่วนแบ่งตลาด (คิดตามรายรับ) 29.6% ส่วน IBM ตามมาติดๆ ที่ 28.9% อันดับถัดไปเป็นของ Dell 12.1%, Sun Microsystems 9.7%, Fujitsu Siemens 5.4% และที่เหลือเป็นของรายเล็กๆ รวมกันคิดเป็น 14.3%
ถึงแม้ IBM จะเสียส่วนแบ่งตลาดให้ HP แต่ว่ารายรับคิดเป็นเงินของบริษัทก็เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ HP, Dell และ Fujitsu Siemens มีเพียง Sun เจ้าเดียวเท่านั้นที่ทั้งส่วนแบ่งตลาดและรายได้ลดลง
IBM พยายามที่จะใช้อัลกอริทึมเชิงซ้อนเพื่อมาจัดการในการตอบสนองภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น นักวิจัยได้เพิ่มให้หน่วยประมวลผลมีความสามารถที่สูงและเร็วขึ้น ในการคำนวณอัลกอริทึม เพื่อสามารถมาจัดการวัดระดับ และสร้างโมเดลที่ยืดหยุ่นได้ ในการรับมือภาวะวิกฤติ
Dr. Gyana Parija. นักวิจัยของ IBM กล่าวไว้ว่า
เราได้สร้างกลุ่มของคุณสมบัติสติปัญญาและซอฟท์แวร์ ที่สามารถมาใช้วัดระดับ และ ปรับปรุงระดับของการเตรียมพร้อมที่จะรับมือหรือหยุดภัยธรรมชาติที่ไม่ได้คาดคิด ปัญหาส่วนใหญ่ในความเป็นจริงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และนี้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างเครื่องมือที่จะจัดการและต่อกรกับภัยธรรมชาติ
ไอบีเอ็มควักกระเป๋าลงทุน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในบริษัทซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลโอเพนซอร์ส EnterpriseDB ที่พัฒนาซอฟต์แวร์จาก PostgreSQL เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้กับเบอร์หนึ่งอย่าง Oracle เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของ Oracle ย้ายมาใช้ซอฟต์แวร์ของ EnterpriseDB ได้ง่ายขึ้น
ไอบีเอ็มเองนั้นเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล DB2 อยู่เช่นกัน
ในแง่ของสินค้า บริษัท EnterpriseDB นั้นวางซอฟต์แวร์ของตนไว้ตรงกลางระหว่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและซอฟต์แวร์ระดับองค์กร โดยนอกจากจะต้องแข่งขันกับ Oracle แล้วอีกด้านหนึ่ง EnterpriseDB ก็ต้องแข่งขันกับ MySQL ด้วยการออกซอฟต์แวร์ช่วยในการย้ายฐานข้อมูล
ไอบีเอ็มประกาศว่าเร็ว ๆ นี้ซีพียู Cell บน PlayStation 3 นั้นจะเปลี่ยนมาใช้ Cell ที่ใช้มาตราฐานการผลิตขนาด 45nm แล้ว
ว่าง่าย ๆ ว่าซีพียู Next-Gen ของ Cell นั้นจะใช้พลังงานน้อยกว่าเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ถ้าดูจากซีพียู Cell ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ความต้องการในการลดความร้อนภายใน PS3 นั้นลดลงมาก ซึ่งส่งผลให้การผลิตนั้นมีราคาถูกลง รวมไปถึงเครื่องที่ถูกส่งเคลมอาจจะน้อยลงด้วยเช่นกัน (ปัญหาเกิดจากความร้อน)
ซึ่งก็หมายความว่าโซนี่จะมีต้นทุนในการผลิตที่ลดลงอย่างมาก และยังสามารถลดขนาดของตัวเครื่อง PS3 เองได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าโซนี่ต้องการยอดขายที่เพิ่มขึ้น การลดราคาอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไปถ้าต้นทุนของเครื่องนั้นลดลง
ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป เซิร์ฟเวอร์ตระกูล xSeries ของไอบีเอ็มนั้นจะเปลี่ยนมาเป็นซับแบรนด์ภายใต้การดูแลของ Lenovo แทนแล้ว
แม้จะดูเหมือนว่าไอบีเอ็มกำลังพยายามที่จะหนีจากการผลิตฮาร์ดแวร์ แต่ทั้งไอบีเอ็มและ Lenovo เองยังปฏิเสธเรื่องนี้ พร้อมกับบอกว่าการขายผ่านแบรนด์ Lenovo นั้นจะเป็นการนำเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ไปดูตลาดใหม่และลูกค้าใหม่ ส่วนไอบีเอ็มยังคงขายเซิร์ฟเวอร์ตระกูล zSeries เอง
ปัญหาตอนนี้คือลูกค้าเก่าของไอบีเอ็มบางคนรับไม่ได้ ที่จะต้องมาใช้แบรนด์ Lenovo แทน หนึ่งในนั้นกล่าวว่า "ถ้าหาก xSeries จะไม่ได้ใช้แบรนด์ไอบีเอ็มแล้ว เราคงจะต้องเปลี่ยนไปใช้ HP แทน"
IBM เตรียมออก Lotus Notes เวอร์ชัน iPhone และ iPod touch ในงาน Lotusphere สัปดาห์หน้า โดยผู้ที่มี Lotus Web-access license อยู่แล้วสามารถใช้งานได้ฟรี ส่วนผู้ใช้ใหม่คิด 39 ดอลลาร์ต่อคน
นี่เป็นสัญญาณที่ดีว่า iPhone กำลังรุกคืบเข้าไปในโลกธุรกิจที่ BlackBerry ยึดหัวหาดอยู่ ปัจจุบันมีผู้ใช้ Lotus Notes อยู่ 135 ล้านราย โดยส่วนมากเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ (เช่น บริษัทตรวจสอบบัญชี 4 รายใหญ่ของโลก ต่างใช้ Notes กันหมด) ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของ Notes เวอร์ชัน iPhone ออกมา แต่มีข่าวลือมาว่าเป็นโปรแกรมตัวแรกๆ ที่พัฒนาบน iPhone SDK ซึ่งแอปเปิลแจกให้พาร์ทเนอร์ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว
อันนี้เป็นข่าวต่อจากความร่วมมือโครงการ DataPortability อ้างถึงแหล่งข่าวระดับสูง ว่าทั้งสามเริ่มมีการพูดคุยกับ OpenID foundation ถึงการสนับสนุนมาตราฐานที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทั่วไปโดยการใช้ชื่อบัญชีผู้
ใช้เดียวกับบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ตามหลัง Digg, Technorati, Microsoft, AOL, Plaxo และ Wikipedia ที่ประกาศก่อนหน้านั้น โดยข่าวอย่างเป็นทางการจะออกมาเร็วๆ นี้
ไอบีเอ็มประกาศเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งช่วยให้นำเศษซิลิคอนเวเฟอร์มาใช้ประโยชน์ต่อได้
การผลิตชิปทั่วไปนั้นจะพิมพ์ลายวงจรลงบนแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์เหล่านี้แล้วนำไปตัด ปัญหาคือมีเศษซิลิคอนต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก (ในข่าวให้ข้อมูลว่าเอามารวมกันตกประมาณ 3 ล้านแผ่นเวเฟอร์ต่อปี) และบริษัทผู้ผลิตชิปก็ไม่นิยมนำไปรีไซเคิลเพราะว่าบนเศษซิลิคอนยังมีลายวงจรอยู่ ซึ่งบริษัทถือเป็นความลับทางการค้า
AppleInsider รายงานว่า Leopard หรือ Mac OS X 10.5 อาจจะเป็นระบบปฏิบัติการตัวสุดท้ายจากแอปเปิลที่ยังคงสนับสนุนการใช้งานบนระบบ PowerPC
หลาย ๆ คนที่อยู่ในวงการแอปเปิลมานานคงจะเริ่มรู้ตัวแล้วว่า Mac OS X 10.6 อาจจะไม่สามารถติดตั้งบนเครื่องแมคที่ใช้ระบบ PowerPC ของ IBM โดยเครื่องแมคที่สามารถรองรับระบบปฏิบัติการใหม่ได้นั้นอย่างน้อยจะต้องเป็นเครื่องแมคที่ใช้ชิปจากอินเทล ซิ่งเริ่มวางขายตั้งแต่ช่วงต้นปี 2006 มาแล้ว
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแอปเปิลยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากมาดูจากวงจรการผลิตระบบปฏิบัติการของแอปเปิลแล้วนั้น Mac OS X 10.6 ไม่น่าจะออกจนกว่าปี 2009
หลังการประกาศความร่วมมือกับทางซันเข้าพัฒนาโอเพนออฟฟิศอย่างเต็มตัว ไอบีเอ็มก็ประกาศเปิดตัวออฟฟิศตัวใหม่ในชื่อว่า Lotus Symphony ที่ใช้แกนกลางจากโอเพนออฟฟิศแล้วใช้ชุด UI จาก Eclipse RCP ที่น่าสนใจที่สุดสำหรับชุดออฟฟิศนี้คือมันแจกฟรีเช่นเดียวกับโอเพนออฟฟิศ ส่วนตัวที่ขายนั้นจะรวมอยู่ใน Lotus Notes อย่างไรก็ตามยังไม่แน่ว่า Lotus Symphony นี้จะเป็นโอเพนซอร์สหรือไม่
เท่าที่ลองดูหน้าจอจะค่อนข้างแปลกๆ ไปสักหน่อยเมื่อชินกับการใช้งานโอเพนออฟฟิศแล้ว แต่ยังไงมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
มีใครสนใจจะรีวิวบ้างมั๊ยครับ...
ที่มา - Lotus Symphony
แม้จะสนับสนุนอยู่เรื่อยมา แต่ทางไอบีเอ็มก็เพิ่งประกาศตัวเข้าร่วมพัฒนาโปรแกรมชุด OpenOffice.org อย่างเต็มรูปแบบแล้วในวันนี้ พร้อมประเดิมด้วยการบริจาคโค้ดจากโปรแกรมของทางไอบีเอ็มเช่น Lotus Notes และโค้ดอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งให้เป็นก้อนแรก พร้อมคำมั่นว่าจะมีการใช้ทรัพยากรของทางไอบีเอ็มอีกบางส่วนมาเพื่อช่วยพัฒนาต่อไป
งานนี้นอกจากซันที่ออกมาแสดงความยินดีที่ไอบีเอ็มเข้าร่วมอย่างเต็มตัวแล้ว ยังมีบรรดาผู้ผลิตดิสโทรต่างๆ ของลินุกซ์พากันออกมาแสดงความยินดีอย่างครบถ้วนนับแต่ Red Hat, Ubuntu และ Red Flag Linux
หวังว่าเราคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ OpenOffice.org เร็วขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้ไป
นักวิทยาศาสตร์ของ IBM ได้ออกมาประกาศเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาว่า พวกเขาได้เข้าใกล้วิธีที่จะสามารถจัดเรียงอะตอมเดียวเพื่อสร้าง หน่วยย่อยสำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กและบางที่สุด
ด้วยพลังแห่งศาสตร์นาโนเทคโนโลยีทำให้นักวิทยาศาสตร์ไอบีเอ็มสามารถเข้าใจคุณสมบัติของอะตอมและการจัดการอะตอมนั้น ซึ่งคุณสมบัติอะตอมที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้คือ คุณสมบัติการที่อะตอมทำตัวเป็นแม่เหล็กขนาดเล็ก ถ้าสามารถให้ขั้วแม่เหล็กเรียงตัวอย่างสเถียรได้ตลอดเวลา นั้นจะทำให้สามารถใช้เป็นตัวเก็ยข้อมูลได้ และนี่คือกลไกของการเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสก์
IBM ประกาศว่าคนทั่วไปสามารถใช้งานสิทธิบัตรกว่า 200 รายการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่เสียค่าใช้จ่าย ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นเป็นไปในทางส่งเสริมมาตรฐานเปิด และการทำงานข้ามกันได้ระหว่างระบบ (interoperable)
IBM สนับสนุนมาตรฐานเปิดมานานแล้ว และสิทธิบัตรเหล่านี้ได้แจกให้ใช้ฟรีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องร้องขอไปยัง IBM ก่อนซึ่งมีกระบวนการเอกสารพอสมควร ทาง IBM จึงตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการเป็นเปิดให้ใช้ได้อย่างเสรี
เมื่อต้นสัปดาห์บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ IBM ได้ประกาศควบรวมกิจการกับ Telelogic บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ALM (Application Lifecycle Management) คู่แข่งเจ้าใหญ่ในมูลค่า 745 ล้านเหรียญ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการขยายตัวเข้าไปสู่ตลาดระบบฝังตัวที่ Telelogic ครอบครองอยู่
IBM เปิดตัวโซลูชั่นใหม่เวอร์ชันล่าสุดภายใต้ชื่อคล้ายกับเอนจิ้นของตัวเองคือ OmniFind Enterprise Edition เพื่อทำหน้าที่เป็นแดชบอร์ดช่วยในการค้นหา เสาะหาข้อมูลและวิเคราะห์ให้กับ Lotus Domino และ WebSphere Portal
เจ้าแดชบอร์ดตัวนี้ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ฝังอยู่ภายในฐานข้อมูล Lotus รวมถึงฐานข้อมูลอื่นได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังเป็นเว็บท่าอินทราเน็ต เว็บไซต์และระบบไฟล์ต่างๆ โดยใช้อินเตอร์เฟสสำหรับการค้นหาข้อมูลเดียวกันนี้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลจำนวนมากที่เก็บไว้ในโมดุลซอฟท์แวร์ของ IBM รวมไปถึงโลตัส ดอคิวเมนท์ แมนเนเจอร์, โลตัสควิกอาร์ และโลตัสควิกเพลสดอคคิวเมนท์เป็นต้น
IBM ประกาศความร่วมมือกับบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์หลายแห่ง ซึ่งประกอบไปด้วย Chartered, Samsung, Infineon และ Freescale ภายใต้ชื่อ Common Platform โดยมีจุดประสงค์จะแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการผลิตชิประดับ 32 นาโนเมตรระหว่างกัน ข้อตกลงนี้จะผูกพันไปจนถึงปี 2010
พันธมิตรทุกรายต่างเป็นคู่แข่งกับอินเทลในตลาดใดตลาดหนึ่ง จริงๆ อีกบริษัทที่ได้ผลประโยชน์คือ AMD ที่มีสัญญากับ IBM ต่างหากมาก่อนหน้าอยู่แล้ว
สิ่งที่พันธมิตรนี้จะทำคือออก process design kits (PDKs) ซึ่งเปรียบเสมือน API กลางของโรงงานผลิตชิป ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายสามารถแลกเปลี่ยนการดีไซน์ข้ามกันได้ง่ายขึ้น รายละเอียดแบบยาวๆ มีในข่าวต้นฉบับ
IBM เปิดตัวซีพียู POWER6 ตัวใหม่ทำงานที่ 4.7GHz สูงกว่า POWER5 ประมาณสองเท่าทั้งสัญญาณนาฬิกาและผลเบนช์มาร์ค
ข้อมูลพื้นฐานของ POWER6
หลังติดพันธนาการเครื่องเมนเฟรมมายาวนานตลาด New York Stock Exchange ก็เริ่มกระบวนการย้ายโปรแกรมทั้งหมดไปสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ IBM AIX และ ลินุกซ์
สำหรับเหตุผลในการย้ายครั้งนี้ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากราคาค่าบำรุงรักษาที่นับวันเมนเฟรมนั้นจะแพงเอาๆ ขณะที่ลินุกซ์ และยูนิกซ์แบบอื่นๆ นั้นแข่งกันถูกจนเทียบกันไม่ติด แถมความเร็วยังเหนือกว่า
IBM ประกาศความร่วมมือกับบริษัทเกมในบราซิลชื่อ Hoplon Infotainment สร้างระบบเมนเฟรมขนาดใหญ่ เพื่อเป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับเกมออนไลน์ที่ Hoplon กำลังพัฒนาอยู่
IBM เรียกเมนเฟรมตัวนี้ว่า "gameframe" มันจะมีซีพียูหลัก (ยังไม่ระบุ แต่คาดว่าเป็น POWER) ทำงานทั่วๆ ไปของเกมออนไลน์ อย่างเช่นระบบการเชื่อมต่อผู้เล่นเข้ากับเกม และมี coprocessor ซึ่งเป็น Cell ทำหน้าที่จำลองสภาพแวดล้อมทางฟิสิกส์ และงานที่ต้องการพลังประมวลผลเป็นพิเศษอื่นๆ คาดว่าจะอิงจากระบบ System z เดิม ระบบปฏิบัติการที่ใช้จะเป็นลินุกซ์ รันมิดเดิลแวร์ของ Hoplon ที่ชื่อ bitVerse และใช้ Websphere กับ DB2 ตามสูตร
ระบบปฏิบัติการในตำนานอีกตัวอย่าง OS/2 ของ IBM มีอายุครบ 20 ปีในเดือนเมษายน 2007 นี้ (นับจากวันออก OS/2 1.0 ในปี 1987) เว็บ The Inquirer มีสกู้ประลึกถึงประวัติชีวิตของ OS/2 ตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงการตายซ้ำอีกหลายๆ ครั้งถัดมา
สรุปคร่าวๆ ว่า OS/2 เป็นระบบปฏิบัติการที่น่าสงสาร เนื่องจากแนวคิดในเชิงวิศวกรรมดีมาก แต่กินทรัพยากรสูงกว่าเครื่องธรรมดาในสมัยนั้น และ IBM เองบริหารเรื่องสื่อไม่ดี ทำให้โดน Windows 95 ตีแตกไปในที่สุด (ขนาดคนฝั่งฮาร์ดแวร์ของ IBM เองยังไม่ค่อยอยากจะลง OS/2 ไปให้ลูกค้า) แต่ถึงจะถูก IBM ตัดหางปล่อยวัดยังไงก็ตาม กลุ่มคนใช้ OS/2 ที่เหนียวแน่นก็ยังมีอยู่จำนวนพอสมควร
ผมไม่เคยใช้ OS/2 คงต้องรอคนเคยใช้มาเล่าให้ฟังว่าเป็นยังไง
IBM สามารถพัฒนาชิพความเร็วสูงซึ่งสามารถใช้ขั้นตอนการผลิตเดิมผลิตขึ้นมาได้ เพียงแต่เปลี่ยนการส่งข้อมูลจากที่ใช้สัญญาณไฟฟ้าเป็นตัวส่งข้อมูลเป็นใช้แสงเลเซอร์ ซึ่งจากการใช้แสงเลเซอร์นี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราถึง 160 Gbits(of data)/second ซึ่งอัตราส่งขนาดนี้ทำให้สามารถรองรับการจัดการโทรศัพท์ทั่วทั้งนิวยอร์คได้เลย แต่อย่างไรก็ตามชิพตัวนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้เพื่อความบ้นเทิง แต่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับเซิฟเวอร์ที่ใช้การประมวลผลมาก
ที่มา - Informationweek
IBM ร่วมมือกับกลุ่มค้นคว้าจานบิน Anomalies Network เปิดตัวเสิร์ชเอนจินสำหรับหาข้อมูล UFO ชื่อ UFOCrawler
เจ้า UFOCrawler นี้ใช้เอนจิน IBM OmniFind Yahoo! Edition enterprise ซึ่งค้นหาจากดัชนีเว็บของ Yahoo! แต่เพิ่มข้อมูลจานบินที่ Anomalies Network มีสะสมไว้เป็นจำนวนมากเข้าไปอีก นอกจากเรื่องจานบินก็ยังมีเรื่องผี, ทฤษฎีสมคบคิด และปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้อีกด้วย
ผมลองเสิร์ชหาผีไทย ปรากฎว่ายังทำไม่ได้แฮะ
ที่มา - NetworkWorld
แมกกาซีน Fortune ได้ทำการจัดอันดับบริษัทที่น่าชื่นชมที่สุด 20 อันดับแรก โดยแอปเปิลนั้นได้อันดับที่ 7 จากการสำรวจผู้ใช้ประเภทไดเรคเตอร์ ผู้บริหาร และนักวิเคราะห์ธุรกิจการเงิน โดยการให้ผู้ใช้กลุ่มนี้กว่า 3,322 คนนั้นเรียงลำดับบริษัทที่พวกเขาชื่นชมมากที่สุด 10 อันดับ
หลังจากที่ Open XML ของไมโครซอฟท์ผ่านการพิจารณาจาก ECMA แล้วเป้าหมายต่อไปของไมโครซอฟท์คือการพยายามนำ Open XML เข้าเป็นหนึ่งในมาตรฐาน ISO เพื่อให้ได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ เริ่มแสดงถึงความต้องการที่จะใช้งานมาตรฐานเปิดที่ได้รับการยอมรับกันเป็นวงกว้าง เมื่อการต่อสู้ถึงจุดที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ไมโครซอฟท์ก็ออกมาแสดงความไม่พอใจไอบีเอ็มในจดหมายเปิดผนึกจากทางไมโครซอฟท์
ช่วงหลังเราจะเห็นว่าค่ายซีพียูหันไปแข่งจำนวนคอร์แทนความเร็วสัญญาณนาฬิกา เนื่องจากติดปัญหาเรื่องพลังงาน (ยิ่งเร็วยิ่งกินไฟ) ซึ่งเอาจริงแล้วมันเป็นคนละเรื่องกัน คอร์เยอะหมายถึงจำนวนงานที่ทำได้พร้อมกันมีเยอะขึ้น ส่วนความเร็วสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้นคือทำงานอันเดิมได้เร็วขึ้น
แน่นอนว่าสงครามสัญญาณนาฬิกายังไม่จบ
ไอบีเอ็มเปิดเผยรายละเอียดของซีพียูใหม่ 2 รุ่น ตัวแรกคือ Power6 ที่จะออกภายในปี 2007 นี้ มันทำงานได้ที่ 4GHz และ 5GHz ใน "high-performance mode" กินไฟต่ำกว่า 100 วัตต์ (ซึ่งเทียบกับ 95 วัตต์ของ Opteron หรือ 80 วัตต์ของ Xeon แล้วก็พอไหว) ใช้การผลิตขนาด 65 นาโนเมตรเลยทั้งเร็วและกินไฟน้อย