เมื่อปี ค.ศ. 2008 ไอบีเอ็มเซ็นสัญญากับหน่วยงานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (หรือ DARPA) ว่าจะพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังเพตาฟลอปชื่อ Blue Water ให้เร็วกว่า Roadrunner ซึ่งเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในสมัยนั้น (ข่าวเก่า) โดยไอบีเอ็มได้พัฒนา Blue Water มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเดือนสิงหาคมปีนี้ ไอบีเอ็มได้ยุติสัญญาที่จะพัฒนา Blue Water ต่อไป สาเหตุเพราะไอบีเอ็มไม่ได้กำไรจากโครงการนี้ ในแหล่งข่าวกล่าวว่าเป็นการถอนตัวที่น่าอัปยศอดสูของไอบีเอ็มกันเลยทีเดียว
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอ หลังจากที่ซีอีโอปัจจุบัน Samuel J. Palmisano นั่งตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2002
ซีอีโอคนใหม่เป็นผู้หญิงคือ Virginia M Rometty (ชื่อเล่นในบริษัทคือ "Ginni") ซึ่งเป็นลูกหม้อของ IBM มาตั้งแต่ปี 1981 ปัจจุบันเธอเป็นรองประธานอาวุโสฝ่ายขายและการตลาด ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีทักษะด้านปฏิบัติการ (operation) อย่างสูง
Virginia Rometty จะขึ้นเป็นซีอีโอคนที่เก้าของ IBM อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2012 ส่วน Sam Palmisano จะเขยิบขึ้นเป็นประธานบอร์ดของบริษัท
IBM รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ส่วนรายได้เพิ่มขึ้น 8% เป็น 2.62 หมื่นล้านดอลลาร์ ถึงแม้อัตราการเติบโตจะน้อยลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ผลประกอบการของ IBM เป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าการใช้จ่ายในด้านเทคโนโลยีของลูกค้าองค์กรยังคงดีอย
งานวิจัยจาก IBM Research ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 345 คนว่าการค้นหาอีเมลด้วยคำสั่ง search ในโปรแกรมอีเมล กับการจัดระเบียบอีเมลแยกตามโฟลเดอร์ต่างๆ มีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างไร
ผลคือการค้นด้วยคำสั่ง search ใช้เวลาเฉลี่ย 17 วินาที ส่วนการค้นหาอีเมลตามโฟลเดอร์ใช้เวลาเฉลี่ย 58 วินาที
ผลการศึกษาสรุปว่าการจัดระเบียบอีเมลในโฟลเดอร์ที่ซับซ้อน มีจุดประสงค์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในตอนค้นหา แต่ผลการทดลองพบว่าไม่ได้ช่วยให้หาเร็วขึ้นสักเท่าไร สิ่งที่ช่วยให้หาอีเมลเร็วขึ้นกลับเป็นความสามารถด้าน search และการจัดกลุ่มอีเมลตาม thread มากกว่า
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศข่าวซื้อกิจการบริษัท Q1 Labs ซึ่งทำซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันมาช่วยประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยขององค์กร
ในโอกาสเดียวกันนี้ IBM ก็ประกาศตั้งฝ่ายธุรกิจด้านความปลอดภัย (IBM Security Systems) โดยรวมผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกัน และมอบหมายให้ Brendan Hannigan ซีอีโอของ Q1 Labs เป็นหัวหน้า
ซอฟต์แวร์ของ IBM ที่จะเข้ามาอยู่ใต้ IBM Security Systems ได้แก่ Tivoli, Rational, i2 และซอฟต์แวร์อื่นๆ รวม 10 แบรนด์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัย ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของ IBM อีกหลายแห่ง
ที่มา - IBM
ยักษ์สีฟ้าไอบีเอ็มได้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่มีมูลค่ากิจการตามราคาในตลาด (Market Capitalization) สูงที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 เมื่อคืนนี้หลังปิดการซื้อขายในตลาดหุ้นอเมริกา ด้วยมูลค่าบริษัท 2.14 แสนล้านดอลลาร์ แซงหน้าอันดับ 2 เดิมอย่างไมโครซอฟท์ซึ่งมีมูลค่าบริษัทเมื่อคืนนี้ 2.132 แสนล้านดอลลาร์ โดย
Huawei ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากจีน เตรียมขยายกิจการสู่ตลาดโลกให้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกา
ในอดีต Huawei ไม่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรในสหรัฐมากนัก เนื่องจากเป็นบริษัทจีนที่อาจมีอิทธิพลด้านความมั่นคงของสหรัฐ ทำให้ที่ผ่านมา Huawei ซื้อกิจการบริษัทในสหรัฐล้มเหลวหลายครั้ง
ทางแก้ไขล่าสุดของ Huawei คือจ้างบริษัทสหรัฐอย่าง IBM มาให้คำปรึกษาว่าควรจะวางแบรนด์อย่างไร กำหนดจุดยืนในตลาดว่าอยู่ตรงไหน โดย IBM จะส่งทีมที่ปรึกษา 25 คนไปดูการทำงานของ Huawei และให้คำแนะนำ ซึ่งจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้
Huawei มีความใกล้ชิดกับ IBM มาตั้งแต่ปี 1998 โดยสองบริษัทนี้มีโครงการร่วมกันหลายอย่าง
ห้องวิจัยของบริษัท IBM ที่เมือง Almaden ประสบความสำเร็จในการสร้าง "ไดรฟ์" เก็บข้อมูลขนาด 120 PB (PB = petabyte = 1 ล้าน GB)
อย่าเพิ่งตกใจกับความจุมโหฬารของมัน เพราะไดรฟ์ตัวนี้สร้างจากฮาร์ดดิสก์ปัจจุบันจำนวน 200,000 ตัวทำงานรวมกัน (จริงๆ ควรจะเรียกว่า storage array มากกว่า) เป้าหมายของมันคือเป็นไดรฟ์เก็บข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับงาน simulation ที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ
ความสำเร็จของ IBM อยู่ที่ความจุของไดรฟ์ที่ 120 PB เพราะก่อนหน้านี้มีไดรฟ์ที่ใหญ่ที่สุดเพียง 15 PB เท่านั้น วิศวกรของ IBM ได้พัฒนาเทคนิคด้านการเก็บข้อมูลขั้นสูงหลายอย่าง เช่น วิธีการวางฮาร์ดดิสก์ให้ใช้พื้นที่น้อยลง และการทำความเย็นด้วยน้ำแทนที่จะเป็นพัดลม
Blue Gene เป็นชื่อโครงการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM ซึ่งที่ผ่านมาก็มี "สถาปัตยกรรม" ซูเปอร์คอมออกมาแล้วหลายรุ่น เช่น รุ่นแรก Blue Gene/L ที่เคยโค่น Earth Simulator เป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก, รุ่นสอง Blue Gene/P ที่ใช้กับซูเปอร์คอมที่เร็วที่สุดในยุโรป
ขยายความจากข่าว กูเกิล: "สิทธิบัตรซอฟต์แวร์เป็นตัวขัดขวางนวัตกรรมใหม่" ที่ระบุว่ากูเกิลกำลังไล่ซื้อสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 รายการ ตอนนี้มีข้อมูลออกมาแล้วว่าผู้ขายคือ IBM
สิทธิบัตรที่กูเกิลซื้อจาก IBM มีหลากหลาย ทั้งไมโครโพรเซสเซอร์ ฐานข้อมูล การผลิตหน่วยความจำ ฯลฯ โฆษกของกูเกิลพูดถึงเรื่องนี้สั้นๆ ว่ากูเกิลเป็นเหมือนบริษัทอื่นๆ ที่ต้องซื้อสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเอง ส่วนโฆษกของ IBM ไม่ตอบคำถามเรื่องนี้
ยักษ์ใหญ่สีฟ้า IBM รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 โดยตัวเลขออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้ รายได้เพิ่มขึ้น 12% เป็น 2.67 หมื่นล้านดอลลาร์ กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 พันล้านดอลลาร์
รายได้จากส่วนธุรกิจฮาร์ดแวร์เติบโต 17% จากปีก่อน เช่นเดียวกับซอฟท์แวร์ที่เติบโต 17% เช่นกัน โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม WebSphere ยอดขายเพิ่มสูงถึง 55% มีสัญญาการให้บริการใหม่ที่ทำขึ้นในไตรมาสนี้รวม 1.43 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เมื่อแยกรายได้ตามพื้นที่ ในอเมริกาเพิ่มขึ้น 8% ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) เติบโตถึง 13%
นักวิเคราะห์มองว่าผลประกอบการ IBM ช่วยยืนยันอีกทางหนึ่งว่าการใช้จ่ายด้านไอทีในระดับองค์กรนั้นยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
หลังจากออราเคิลส่งมอบโค้ด OpenOffice.org ให้กับ Apache Foundation ไปก่อนหน้านี้แล้ว วันนี้ทางไอบีเอ็มก็ประกาศตามมาว่าจะส่งโค้ดของ Symphony ซึ่งเป็นชุดออฟฟิศที่ดัดแปลงมาจาก OpenOffice.org อีกทีหนึ่งให้เป็นของ Apache Foundation ด้วยเช่นกัน
ไอบีเอ็มสัญญาว่าจะส่งคนมาช่วยพัฒนา Symphony ต่อไป โดยการมอบโค้ดทั้งหมดให้องค์กรกลางอย่าง Apache Foundation น่าจะช่วยให้นักพัฒนาภายนอกสะดวกใจที่จะเข้าร่วมพัฒนามากขึ้น
โค้ดของ Symphony มีหลายส่วนที่ปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานกับไฟล์ ODF เอาไว้ โค้ดเหล่านี้อาจจะถูกรวมเข้าไปใน OpenOffice.org ในเร็วๆ นี้
แม้ว่าเครื่องเมนเฟรมจะเสื่อมความนิยมไปจากตลาดหลักแล้วก็ตาม แต่บริษัทอย่างไอบีเอ็มก็ยังทำรายได้จากเมนเฟรมอย่างเป็นกอบเป็นกำ และวันนี้ไอบีเอ็มก็เปิดตัวเครือง zEnterprise 114 ซึ่งเป็นเมนเฟรมที่มาราคาเริ่มต้น 75,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,200,000 บาทเทียบกับรุ่นปีที่แล้วคือ zEnterprise 196 ที่ราคาเริ่มต้น 100,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 3,000,000 บาท
ขอเปลี่ยนบรรยากาศ มา Review Server Platform บ้างนะครับ แก้เลี่ยนการรีวิวกองทัพหุ่นยนต์
ทีมงานของผมได้มีโอกาสร่วมติดตั้งระบบคลัสเตอร์สมรรถนะสูง PHOENIX ของ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบคลัสเตอร์แรกในประเทศไทย ที่สร้างด้วยแพลตฟอร์ม IBM iDataPlex แบบเต็มรูปแบบ วันนี้เลยจะลองนำเสนอรายละเอียดของเจ้า แพลตฟอร์มตัวนี้ว่าของจริงเป็นอย่างไรครับ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ บริษัท eLife System จำกัด โดย 2BeSHOP.com และบริษัท IBM ประเทศไทย ในส่วนของฮาร์ดแวร์ต่างๆ รวมไปถึงรูปภาพเกือบทั้งหมดในบทความนี้ และทางภาควิชาเคมี ที่อนุญาตให้เขียนรีวิวฉบับนี้ครับ
ดูเหมือน AMD กำลังบุกกินส่วนแบ่งตลาดเกมคอนโซลของ NVIDIA อย่างหนัก จากก่อนหน้าที่บริษัทประกาศว่า Wii U จะใช้ชิปกราฟิก Radeon จนถึงข่าวลือล่าสุดที่ว่าเกมคอนโซลรุ่นถัดไปจาก Sony และ Microsoft ก็จะใช้ GPU จาก AMD เช่นกัน ซึ่งแต่เดิมนั้น PlayStation 3 นั้นใช้ชิปที่พัฒนาโดย NVIDIA (Xbox 360 และ Wii นั้นใช้ชิปของ AMD อยู่แล้ว)
ยังมีข่าวลือต่ออีกว่า เกมคอนโซลรุ่นถัดไปของ Microsoft จะใช้ CPU จาก IBM (แนวทางเดียวกับที่ Wii U ที่ใช้ซีพียูตระกูล Power รุ่นพิเศษ) และ Microsoft จะเลื่อนการปล่อยเกมคอนโซลรุ่นใหม่ออกไปเนื่องจากการประสบความสำเร็จอย่างสูงของ Kinect สำหรับ Xbox 360
ชะตากรรมของซีพียูสถาปัตยกรรม Cell เริ่มเดินรอยตาม Itanium ไปเรื่อยๆ เมื่อ IBM ประกาศหยุดขายเซิร์ฟเวอร์ตระกูล PowerXCell (ซึ่งเป็น blade server รุ่นหนึ่งของ IBM) ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ปัจจุบัน IBM มี blade server ใต้แบรนด์ BladeCenter อยู่ 3 สถาปัตยกรรม คือ Xeon, POWER และ PowerXCell (รายละเอียด)
สงครามระหว่างออราเคิลและเอชพีนั้นรุนแรงต่อเนื่องกันมานานจนกระทั่งหลายคนคิดไม่ออกว่าสองบริษัทจะกลับไปเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีต่อกันได้อย่างไร แต่ระหว่างนี้นักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าลูกค้าจำนวนมากจะหันไปใช้ไอบีเอ็มแทน
Roger Kay นักวิเคราะห์จาก Endpoint Technologies Associates, Inc. ระบุว่าระหว่างที่เอชพีและออราเคิลกำลังฟ้องร้องกันนี้ ไอบีเอ็มเองก็กำลังกวาดลูกค้าเข้าหาตัวเองได้จำนวนมากโดยทำเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Migration Factory
ไม่ว่าผลลัพธ์จากการฟ้องร้องนี้จะเป็นอย่างไร ลูกค้าองค์กรที่ชินกับการซัพพอร์ตหลังจากสินค้าหมดอายุไปนับสิบปีคงต้องวิตกกับการประกาศหยุดซัพพอร์ตของออราเคิลที่ประกาศออกมาทั้งที่เอชพีและอินเทลยังคงมีแผนการออกสินค้ารุ่นใหม่อยู่
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศบุกตลาดการประมวลผลข้อมูลที่มีรูปแบบไม่คงตัว (unstructured data) และมีจำนวนมหาศาล ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า "Big Data" ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ข้อความทวีต, ข้อมูลการคลิก, รูปภาพ, วิดีโอ, พิกัด GPS, ข้อมูลจากเซ็นเซอร์, ข้อมูลการเคลื่อนไหวของหุ้น ฯลฯ
IBM ได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ตระกูล InfoSphere สำหรับงานประมวลผลลักษณะนี้ 2 ตัว ได้แก่
เทคโนโลยี GPS แม้จะมีมานาน และไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับทุกวันนี้ แต่การนำเทคโนโลยีนี้มาต่อยอดดูเหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุด และล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่ IBM นำเทคโนโลยีทำนายการจราจรออกแสดงสู่สาธารณะ โดยเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า "Smarter Traveler"
ทั้งหมดเป็นจริงได้จากความร่วมมือของ IBM, UC Berkeley และหน่วยงานควบคุมการคมนาคมแห่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอาศัยการทำงานร่วมกันของซอฟต์แวร์วิเคราะห์, เทคโนโลยี GPS และสุดท้ายคือเซนเซอร์ที่ถูกติดตั้งไว้บนท้องถนนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีนี้ เซนเซอร์เหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่แจ้งเตือนเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการจดจำและสร้างรูปแบบการเดินทางของแต่ละบุคคลอีกด้วย! นั่นหมายความว่าระบบสามารถ "เรียนรู้" ได้นั่นเอง
หลังจากสาธิตพลังประมวลผลของ POWER7™ ไปในการแข่งเกมโชว์ Jeopardy! ตอนนี้ก็ถึงเวลาขายของ เมื่อไอบีเอ็มประกาศอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ ตั้งแต่ตระกูล BladeCenter, Power Express, และ Power
ชิป POWER ที่เปิดตัวมาพร้อมกับเซิร์ฟเวอร์มีตั้งแต่ 2.4GHz ไปจนถึง 4.0GHz สูงสุด 8 คอร์ต่อซ๊อกเก็ต โดยแต่ละซ๊อกเก็ตจะรองรับหน่วยความจำได้ 64GB
ไอบีเอ็มประกาศบริจาคซอฟต์แวร์พัฒนาเว็บแอพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Maqetta เป็นโอเพนซอร์สให้กับ Dojo Foundation ที่ดูแลโครงการเกี่ยวกับเว็บอยู่จำนวนมาก โดนตัว Maqetta จะเป็นแอพลิเคชั่น Java ให้วางบนเซิร์ฟเวอร์ J2EE แล้วเรียกใช้งานผ่านเบราเซอร์
Maqetta เคยเป็นเครื่องมือภายในสำหรับการออกแบบหน้าจอของแอพลิเคชั่นทั้งเดสก์ทอปและสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยตัว IDE จะมีอุปกรณ์ให้ชุดหนึ่งมาจาก Dojo Tookkit, jQuery UI, และ YUI
ตัว IDE ยังอยู่ในขั้นพรีวิว การใช้งานยังไม่สมบูรณ์นักแต่ก็น่าดูมีศักยภาพที่จะใช้พัฒนาแอพลิเคชั่นในอนาคตได้มาก (ดูรูปท้ายข่าว) โดยตอนนี้ทางทีมพัฒนามีแผนจะทำงานร่วมกับโครงการ Eclipse ต่อไปอีกด้วย
บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็มถูกดำเนินคดีเนื่องจากถูกกล่าวหาจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission - SEC หรือเทียบได้กับหน่วยงานในบ้านเราคือ กลต.) ว่าพนักงานในเกาหลีใต้ได้ยื่นถุงเงินสดให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อจะชนะโครงการ ขณะที่เจ้าหน้าที่ในจีนได้รับผลตอบแทนเป็นการพาเที่ยว
คดีนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเกี่ยวข้องกับพนักงานของไอบีเอ็ม หรือพนักงานของบริษัทลูกตลอดจนบริษัทร่วมทุนต่างๆ กว่า 100 คน ในการสืบสวนในการเกี่ยวโยงการกระทำเหล่านี้ย้อนหลังไปถึงปี 1998 หรือกว่า 12 ปี
หลังจากสร้างความฮือฮาด้วยการชนะมนุษย์ในรายการเกมโชว์ Jeopardy! ไปแล้ว ทีมงานของ IBM ก็เริ่มออกมาให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดในโครงการ Watson มากขึ้น โดยจากบทสัมภาษณ์ของทีมงานเว็บ Reddit นั้น ทีมงานได้ระบุว่าโค้ดส่วนใหญ่ของ IBM Watson เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวา
หลังจากการแข่งขันรอบทดสอบ (ข่าวเก่า) ระหว่างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM กับแชมป์รายการเกมโชว์ Jeopardy! จบลงที่ Watson ชนะไป ล่าสุดศึกการแข่งขันจริงตลอด 3 วันซึ่งเพิ่งออกอากาศทางโทรทัศน์จบลงไป Watson เป็นฝ่ายชนะมนุษย์ในที่สุด
โดยหลังสิ้นสุดเกมการแข่งขันวันที่สาม Watson ได้เงินรางวัลไป 77,147 ดอลลาร์ ส่วนผู้เข้าแข่งขันมนุษย์ซึ่งเป็นแชมป์หลายสมัยของรายการคือ Ken Jennings กับ Brad Rutter คว้าเงินรางวัลไป 24,000 และ 21,600 ดอลลาร์ตามลำดับ
IBM ประกาศจับมือกับบริษัท Range Technology Development จากประเทศจีน สร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่รวม 13 แห่งในเมือง Langfang เมื่อเสร็จแล้วมันจะกลายเป็นศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย รองรับการเติบโตของตลาด cloud computing ของจีนได้เต็มที่
เมือง Langfang อยู่ทางตอนเหนือของจีน อยู่ระหว่างกรุงปักกิ่งกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองเทียนจิน ศูนย์ข้อมูลนี้จะกลายเป็นแกนกลางของเขตพัฒนาเศรษฐกิจ Hebei Langfang Economic Development Zone
สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจะมีพื้นที่ใช้สอย 6.2 ล้านตารางเมตร ขั้นแรกจะประกอบด้วยศูนย์ข้อมูล 7 แห่ง และถ้ามีความต้องการมากพอก็จะสร้างอีก 6 แห่งตามมา กำหนดเสร็จปี 2016